แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
(ต่อหน้า ๑๒/๓๐) ๒.ธัมมสังคณี
สังขตะธรรม = ธรรมอันปรุงแต่งได้ แต่จะมีความหมายถึง ธรรมอันเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ใช่สิ่งที่เป็นอมตะ อสังขตะธรรม =คือธรรมอันปรุงแต่งไม่ได้ เป็นธรรมที่คงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เป็นอมตะ เช่น คำสอนที่เป็นอมตะ อย่างปฎิจสมุปบาท เป็นคำสอนที่เป็นความจริง เปลี่ยนแปลงไม่ได้ แม้แต่ ธาตุที่เป็น อสังขตะธาตุ ก็คือ อมตะธาตุ เช่น นิพพานธาตุ เป็นต้น อาสวกิเลส =กิเลสที่หมักหมม นอนเนื่องทับถมอยู่ในจิต ชุบย้อมจิตให้เศร้าหมอง ให้ขุ่นมัว ให้ชุ่มอยู่เสมอ เรียกย่อว่า อาสวะ มี ๔ อย่าง คือ กามาสวะ, ภวาสวะ, ทิฏฐาสวะ, อวิชชาสวะ (๑)กามาสวะ ได้แก่ ความพอใจ, ความใคร่ (๒)ภวาสวะ คือ ความพอใจในภพ, ความกำหนัดในภพ (๓)ทิฏฐาสวะ คือความเห็นว่า โลกเที่ยงก็ดี, ว่าโลกไม่เที่ยงก็ดี, ว่าโลกมีที่สุดก็ดี, ว่าโลกไม่มีที่สุดก็ดี (๔)อวิชชาสวะ คือ ความไม่รู้ในทุกข์, ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย, ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ, ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา, ความไม่รู้ในส่วนอดีต, ความไม่รู้ในส่วนอนาคต, ความไม่รู้ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต, ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น อาสวโคจฉกะ = แม่บทว่าด้วยกลุ่มอาสวะ มี ๖ คู่ ดังนี้ (๑)อาสวทุกะ ก) อาสวา ธมฺมา ~ ธรรมเป็นอาสวะ ได้แก่ สภาวธรรมที่กล่าวแล้วในอาสวกิเลส ข) โน อาสวา ธมฺมา ~ ธรรมไม่เป็นอาสวะ คือ ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ (๒)สาสวทุกะ ก) สาสวา ธมฺมา ~ ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะ คือ รูปขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ข) อนาสวา ธมฺมา ~ ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ คือ มรรค และผลของมรรคที่เป็นโลกุตตระ และอสังขตธาตุ (๓)อาสวสัมปยุตตทุกะ ก) อาสวสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ~ ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ข) อาสววิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ~ ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ (๔)อาสวสาสวทุกะ ก) อาสวา เจว ธมฺมา สาสวา จ ~ ธรรมเป็นอาสวะ และเป็นอารมณ์ของอาสวะ คือ อาสวะเหล่านั้นนั่นแล ชื่อว่า ธรรมเป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ ข) สาสวา เจว ธมฺมา โน จ อาสวา ~ ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะ แต่ไม่เป็นอาสวะ ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ (๕)อาสวอาสวสัมปยุตตทุกะ ก) อาสวา เจว ธมฺมา อาสวสมฺปยุตฺตา จ ~ ธรรมเป็นอาสวะ และสัมปยุต(ประกอบ) ด้วยอาสวะ ได้แก่ □ กามาสวะ สัมปยุตด้วย อวิชชาสวะ □ อวิชชาสวะ สัมปยุตด้วย กามาสวะ □ ภวาสวะ สัมปยุตด้วย อวิชชาสวะ □ อวิชชาสวะ สัมปยุตด้วย ภวาสวะ □ ทิฏฐาสวะ สัมปยุตด้วย อวิชชาสวะ □ อวิชชาสวะ สัมปยุตด้วย ทิฏฐาสวะ ข) อาสวสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา โน จ อาสวา ~ ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะ แต่ไม่เป็นอาสวะ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ (๖) อาสววิปปยุตตสาสวทุกะ ก) อาสววิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา สาสวาปิ ~ ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ แต่ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะ ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ข) อาสววิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา อนาสวาปิ ~ ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ และไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ได้แก่ มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตตระ และอสังขตธาตุ สัญโญชนโคจฉกะ = ธรรมที่ชื่อว่า สัญโญชน์ เพราะ ย่อมประกอบ คือ ผูกพันบุคคลผู้มีสัญโญชน์ไว้ในวัฏฏะ ธรรมนอกจากนั้น ไม่ชื่อว่า สัญโญชน์ มี ๖ ทุกะ คือ (๑) สัญโญชนทุกะ ก) สญฺโญชนา ธมฺมา ~ ธรรมเป็นสัญโญชน์ ได้แก่ สัญโญชน์ ๑๐ (๑.๑) กามราคสัญโญชน์ - ความพอใจ ความใคร่ (๑.๒) ปฏิฆสัญโญชน์ - ความหงุดหงิด โกรธ (๑.๓) มานสัญโญชน์ - ความถือตน ว่าเด่นกว่าเขา ต่ำกว่าเขา (๑.๔) ทิฏฐิสัญโญชน์ -คือ ทิฏฐิ ที่ผูกสัตว์ไว้ ทำให้ไม่ไปสู่ความเห็นถูก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
(หน้า ๑๓/๓๐) ๒.ธัมมสังคณี
(๑.๕) วิจิกิจฉาสัญโญชน์ - ความลังเลสงสัย (๑.๖) สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ - ความยึดมั่นในศีลพรต (๑.๗) ภวราคสัญโญชน์ - ความอยากในภพ (๑.๘) อิสสาสัญโญชน์ - ความริษยา (๑.๙) มัจฉริยสัญโญชน์ - ความตระหนี่ (๑.๑๐) อวิชชาสัญโญชน์- ความไม่รู้จริง ข)โน สญฺโญชนา ธมฺมา ~ ธรรมไม่เป็นสัญโญชน์ ธรรมนอกจากนั้น ไม่ชื่อว่า สัญโญชน์ (๒) สัญโญชนิยทุกะ ก) สญฺโญชนิยา ธมฺมา ~ ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เพราะเป็นอารมณ์เกื้อกูลกับสัญโญชน์ทั้งหลายด้วยความเกี่ยวข้องกัน ข) อสญฺโญชนิยา ธมฺมา ~ ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ คือธรรมที่ไม่ใช่สัญโญชนิยะ (๓) สัญโญชนสัมปยุตตทุกะ ก) สญฺโญชนสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ~ ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ โดยธรรมที่สัมปยุต(ประกอบ)ด้วย สัญโญชน์ธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ข) สญฺโญชนวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ~ ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ คือธรรมเหล่าใด วิปปยุต(ไม่ประกอบ)จากสัญโญชน์ธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ (๔) สัญโญชนสัญโญชนิยทุกะ ก) สญฺโญชนา เจว ธมฺมา สญฺโญชนิยา จ ~ ธรรมเป็นสัญโญชน์ และเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ โดยสัญโญชนธรรมเหล่านั้นแหละ ชื่อว่า ธรรมเป็นสัญโญชน์และเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์. ข) สญฺโญชนิยา เจว ธมฺมา โน จ สญฺโญชนา ~ ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ แต่ไม่เป็นสัญโญชน์ ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณ (๕)สัญโญชนสัญโญชนสัมปยุตตทุกะ ก) สญฺโญชนา เจว ธมฺมา สญฺโญชนสมฺปยุตฺตา จ ~ ธรรมเป็นสัญโญชน์และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ □ กามราคสัญโญชน์ สัมปยุตด้วย อวิชชาสัญโญชน์ □ อวิชชาสัญโญชน์ สัมปยุตด้วยกามราคสัญโญชน์ □ ปฏิฆสัญโญชน์ สัมปยุตด้วยอวิชชาสัญโญชน์ □ อวิชชาสัญโญชน์ สัมปยุตด้วยปฏิฆสัญโญชน์ □ มานสัญโญชน์ สัมปยุตด้วย อวิชชาสัญโญชน์ □ อวิชชาสัญโญชน์ สัมปยุตด้วยมานสัญโญชน์ □ ทิฏฐิสัญโญชน์ สัมปยุตด้วยอวิชชาสัญโญชน์ □ อวิชชาสัญโญชน์ สัมปยุตด้วยทิฏฐิสัญโญชน์ □ วิจิกิจฉาสัญโญชน์ สัมปยุตด้วย อวิชชาสัญโญชน์ □ อวิชชาสัญโญชน์ สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉาสัญโญชน์ □ สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ สัมปยุตด้วย อวิชชาสัญโญชน์ □ อวิชชาสัญโญชน์ สัมปยุตด้วย สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ □ ภวราคาสัญโญชน์ สัมปยุตด้วย อวิชชาสัญโญชน์ □ อวิชชาสัญโญชน์ สัมปยุตด้วยภวราคสัญโญชน์ □ อิสสาสัญโญชน์ สัมปยุตด้วยอวิชชาสัญโญชน์ □ อวิชชาสัญโญชน์ สัมปยุตด้วยอิสสาสัญโญชน์ □ มัจฉริยสัญโญชน์ สัมปยุตด้วย อวิชชาสัญโญชน์ □ อวิชชาสัญโญชน์ สัมปยุตด้วยมัจฉริยสัญโญชน ข) สญฺโญชนสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา โน จ สญฺโญชนา ~ ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ แต่ไม่เป็น สัญโญชน์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณ (๖) สัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยทุกะ ก) สญฺโญชนวิปฺปยุตตา โข ปน ธมฺมา สญฺโญชนิยาปิ ~ ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ แต่เป็น อารมณ์ของสัญโญชน์ คือ ธรรมที่วิปปยุต(ไม่ประกอบ) จากสัญโญชนธรรมเหล่านั้น ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ข) สญฺโญชนวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา อสญฺโญชนิยาปิ ~ ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ และไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ ได้แก่มรรค และผลของมรรคที่เป็นโลกุตตระ และอสังขตธาตุ คันถโคจฉกะ = มี ๖ ทุกะ คือ (๑) คันถทุกะ ก) คนฺถา ธมฺมา ~ ธรรมเป็นคันถะ ธรรมเป็นคันถะ เพราะผูกเชื่อมต่อบุคคลผู้มีกิเลสไว้ในวัฏฏะ ด้วยอํานาจจุติและปฏิสนธิ คือ คันถะ ๔ ได้แก่ (๑.๑) อภิชฌากายคันถะ จะบังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง (๑.๒) พยาปาทกายคันถะ บังเกิดใน จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสสเวทนา ๒ ดวง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
(ต่อหน้า ๑๔/๓๐) ๒.ธัมมสังคณี
(๑.๓) สีลัพพตปรามาสกายคันถะ และ (๑.๔) อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า คันถธรรม ข) โน คนฺถา ธมฺมา ~ ธรรมไม่เป็นคันถะ ได้แก่ รูป และนิพพาน (๒) คันถนิยทุกะ ก) คนฺถนิยา ธมฺมา ~ ธรรมเป็นอารมณ์ของคันถะ ได้แก่ กุศลในภูมิ ๓, อกุศล วิบากในภูมิ ๓, กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓, และรูปทั้งหมด ข) อคนฺถนิยา ธมฺมา ~ ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ คือ มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ (๓) คันถสัมปยุตตทุกะ ก) คนฺถสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะ คือ จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง, จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง, เว้นโลภะที่บังเกิดในจิตตุปบาทนี้เสีย, จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสสเวทนา ๒ ดวง เว้นปฏิฆะที่เกิดในจิตตุปบาทนี้เสีย ข) คนฺถวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ~ ธรรมวิปปยุตตจากคันถะ ได้แก่ รูป และนิพพาน (๔) คันถคันถนิยทุกะ ก) คนฺถา เจว ธมฺมา คนฺถนิยาจ ~ ธรรมเป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ คันถธรรมเหล่านั้นแล ชื่อว่า ธรรมเป็นคันถะ และเป็นอารมณ์ของคันถะ ข) คนฺถนิยา เจวธมฺมา โน จ คนฺถา ~ ธรรมเป็นอารมณ์ของคันถะ แต่ไม่เป็นคันถะ ได้แก่ อกุศลที่เหลือ และรูปทั้งหมด (๕) คันถคันถสัมปยุตตทุกะ ก) คนฺถา เจว ธมฺมา คนฺถสมฺปยุตฺตาจ ~ ธรรมเป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ ได้แก่ □ สีลัพพตปรามาสกายคันถะ สัมปยุตด้วย อภิชฌากายคันถะ □ อภิชฌากายคันถะ สัมประยุตด้วย สีลัพพตปรามาสกายคันถะ □ อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ สัมปยุตด้วย อภิชฌากายคันถะ □ อภิชฌากายคันถะ สัมประยุตด้วย อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ ข) คนฺถสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา โน จ คนฺถา ~ ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะ แต่ไม่เป็น คันถะ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ (๖) คันถวิปปยุตตคันถนิยทุกะ ก) คนฺถวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา คนฺถนิยาปิ ~ ธรรมวิปปยุตจากคันถะ แต่เป็นอารมณ์ของคันถะ ได้แก่ รูปทั้งหมด ข) คนฺถวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา อคนฺถนิยาปิ ~ ธรรมวิปปยุตจากคันถะ และไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ คือ มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ, สามัญผล ๔ และนิพพาน
โอฆโคจฉกะ = มี ๖ ทุกะ คือ (๑)โอฆทุกะ ก) โอฆา ธมฺมา ~ ธรรมเป็นโอฆะ คือ ธรรมที่ย่อมท่วมทับ ยังสัตว์มีกิเลสให้จมลงในวัฏฏะ โอฆะ ๔ คือ ห้วงน้ำ ได้แก่ อกุศลธรรม ๔ ประเภท คือ (๑.๑) กาโมฆะ - ความยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นห้วงน้ำที่ทำให้สัตว์โลกจมอยู่ในวัฏฏะ (๑.๒) ภโวฆะ - ความยินดีพอใจในภพ ในชาติ ในขันธ์ (๑.๓) ทิฏโฐฆะ - ห้วงน้ำ คือ ความเห็นผิด ยึดถือนามรูปว่าเป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล จมอยู่อีกแล้วในห้วงน้ำของทิฏฐิ (๑.๔) อวิชโชฆะ - ถ้าสติไม่ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม ก็ยังมีอวิชชาอยู่ ข) โน โอฆา ธมฺมา ~ ธรรมไม่เป็นโอฆะ (๒) โอฆนิยทุกะ ก) โอฆนิยา ธมฺมา ~ ธรรมเป็นอารมณ์ของโอฆะ ชื่อว่า โอฆนิยะ เพราะถูกโอฆธรรมทั้งหลายให้ก้าวล่วงโดยทําให้เป็นอารมณ์ พึงทราบโอฆนิยธรรมว่าเป็นอารมณ์ของโอฆะทั้งหลายนั่นเอง. ข) อโนฆนิยา ธมฺมา ~ ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะ (๓) โอฆสัมปยุตตทุกะ ก) โอฆสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ~ ธรรมสัมปยุตด้วยโอฆะ ข) โอฆวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ~ ธรรมวิปปยุตจากโอฆะ (๔) โอฆโอฆนิยทุกะ ก) โอฆา เจว ธมฺมา โอฆนิยา จ ~ ธรรมเป็นโอฆะและเป็นอารมณ์ของโอฆะ ข) โอฆนิยา เจว ธมฺมา โน จ โอฆา ~ ธรรมเป็นอารมณ์ของโอฆะแต่ไม่เป็นโอฆะ (๕) โอฆโอฆสัมปยุตตทุกะ ก) โอฆา เจว ธมฺมา โอฆสมฺปยุตฺตา จ ~ ธรรมเป็นโอฆะ และสัมปยุตด้วยโอฆะ ข) โอฆสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา โน จ โอฆา ~ธรรมสัมปยุตด้วยโอฆะ แต่ไม่เป็นโอฆะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
(ต่อหน้า ท้าย ๑๕/๓๐) ๒.ธัมมสังคณี
(๖) โอฆวิปปยุตตโอฆนิยทุกะ ก) โอฆวิปฺปยุตฺตา โน ปน ธมฺมา โอฆนิยาปิ ~ ธรรมวิปปยุตจากโอฆะ แต่เป็นอารมณ์ของโอฆะ ข) โอฆวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา อโนฆนิยาปิ ~ ธรรมวิปปยุตจากโอฆะ และไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะ โยคโคจฉกะ = ธรรมที่ชื่อว่า โยคะ เพราะประกอบสัตว์ผู้มีกิเลสไว้ในวัฏฏะ มี ๖ ทุกะ คือ (๑) โยคทุกะ ก) โยคา ธมฺมา ~ ธรรมเป็นโยคะ โยคะในที่นี้ หมายถึง กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในวัฏฏะ หรือ ผูกตรึงไว้ ประกอบสัตว์ไม่ให้หลุดไปจากวัฏฏะได้ มี ๔ ปรอย่าง คือ (๑.๑) กามโยคะ คือ โลภะ ที่มีความยินดีพอใจ ติดข้อง ใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นกิเลสที่ผูกตรึงไว้ ไม่ให้พ้นจากสังสารวัฏฏ์ (๑.๒) ภวโยคะ คือ โลภะที่มีความยินดีพอใจ ในภพ ในขันธ์ (๑.๓) ทิฏฐิโยคะ (ทิฎฐิ) คือ ความเห็นผิด อันเป็นกิเลสที่ตรึงไว้ ไม่ให้พ้นจากสังสารวัฏฏ์ (๑.๔) อวิชชาโยคะ (อวิชชา) คือ ความไม่รู้ อันเป็นกิเลสที่ตรึงไว้ ไม่ให้พ้นจากสังสารวัฏฏ์ ข) โน โยคา ธมฺมา ~ ธรรมไม่เป็นโยคะ (๒) โยคนิยทุกะ ก) โยคนิยา ธมฺมา ~ ธรรมเป็นอารมณ์ของโยคะ พึงทราบโยคนิยธรรม เหมือนโอฆนิยธรรม ข) อโยคนิยา ธมฺมา ~ ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ (๓) โยคสัมปยุตตทุกะ ก) โยคสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ~ ธรรมสัมปยุตด้วยโยคะ ข) โยควิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ~ ธรรมวิปปยุตจากโยคะ (๔) โยคโยคนิยทุกะ โยคา เจว ธมฺมา โยคนิยา จ ~ ธรรมเป็นโยคะ และเป็นอารมณ์ของโยคะ ข) โยคนิยา เจว ธมฺมา โน จ โยคา ~ธรรมเป็นอารมณ์ของโยคะแต่ไม่เป็นโยคะ (๕) โยคโยคสัมปยุตตทุกะ ก) โยคา เจว ธมฺมา โยคสมฺปสยุตฺตา จ ~ ธรรมเป็นโยคะและสัมปยุตด้วยโยคะ ข) โยคสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา โน จ โยคา ~ ธรรมสัมปยุตด้วยโยคะแต่ไม่เป็นโยคะ (๖)โยควิปปยุตตโยคนิยทุกะ ก) โยควิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา โยคนิยาปิ ~ ธรรมวิปปยุตจากโยคะ แต่เป็นอารมณ์ของโยคะ ข) โยควิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา อโยคนิยาปิ ~ ธรรมวิปปยุตจากโยคะ และไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ นีวรณโคจฉกะ = คือ ธรรมที่ชื่อว่า นิวรณ์ เพราะกั้น คือ หุ้มห่อจิตไว้ พึงทราบว่า นีวรณิยธรรม ดุจสัญโญชนิยธรรม มี ๖ ทุกะ คือ (๑) นีวรณทุกะ ก) นีวรณา ธมฺมา ~ ธรรมเป็นนิวรณ์ คือ นิวรณ์ ๖ ได้แก่ (๑.๑) กามฉันทนิวรณ์ - ความพอใจ ความกำหนัด (๑.๒) พยาปาทนิวรณ์ - ความอาฆาต ปองร้าย (๑.๓) ถีนมิทธนิวรณ์ ถีนะ=ความไม่สมประกอบแห่งจิจิต ความท้อแท้ มิทธะ = ความไม่สมประกอบแห่งนามกาย ความปิดบังไว้ภายใน ความง่วงเหงา ความหาวนอน (๑.๔) อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ อุทธัจจะ = ความฟุ้งซ่านแห่งจิต กุกกุจจะ = ความสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร, ความสำคัญว่ามีโทษในของที่ไม่มีโทษ, ความเดือดร้อนใจ (๑.๕)วิจิกิจฉานิวรณ์ = คือปุถุชนเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในส่วนอดีต ,อนาคต ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต (๑.๖) อวิชชานิวรณ์ = ความไม่รู้ในทุกข์, ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย, ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ, ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นนิวรณ์ ข) โน นีวรณา ธมฺมา ~ ธรรมไม่เป็นนิวรณ์ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และ อสังขตธาตุ (๒) นีวรณิยทุกะ ก) นีวรณิยา ธมฺมา ~ ธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ข) อนีวรณิยา ธมฺมา ~ ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ คือมรรค และ ผลของมรรคที่เป็นโลกุตตระ และอสังขตธาตุ (๓) นีวรณสัมปยุตตทุกะ ก) นีวรณสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ~ ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์ คือธรรมเหล่าใดสัมปยุต(ประกอบ) ด้วยนิวรณธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ข) นีวรณวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ~ ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์ ธรรมเหล่าใด วิปปยุต(ไม่ประกอบ) จากนิวรณธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
(ต่อหน้า ๑๖/๓๐) ๒.ธัมมสังคณี
(๔) นีวรณนีวรณิยทุกะ ก) นีวรณา เจว ธมฺมา นีวรณิยา จ ~ ธรรมเป็นนิวรณ์ และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ ก็นิวรณ์เหล่านั้นนั่นเอง ชื่อว่าธรรมเป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์. ข) นีวรณิยา เจว ธมฺมา โน จ นีวรณา ~ ธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ (๕) นีวรณนีวรณสัมปยุตตทุกะ นีวรณา เจว ธมฺมา นีวรณสมฺปยุตฺตา จ ~ ธรรมเป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ □ กามฉันทนิวรณ์ สัมปยุตด้วยนิอวิชชานิวรณ์ □ อวิชชานิวรณ์ สัมปยุตด้วยกามฉันทนิวรณ์ □ พยาปาทนิวรณ์ สัมปยุตด้วยอวิชชานิวรณ์ □ อวิชชานิวรณ์ สัมปยุตด้วยพยาปาทนิวรณ์ □ ถีนมิทธนิวรณ์ สัมปยุตด้วยอวิชชานิวรณ์ □ อวิชชานิวรณ์ สัมปยุตด้วย ถีนมิทธนิวรณ์ □ อุทธัจจนิวรณ์ สัมปยุตด้วยอวิชชานิวรณ์ □ อวิชชานิวรณ์ สัมปยุตด้วย อุทธัจจนิวรณ์ □ กุกกุจจนิวรณ์ สัมปยุตด้วย อวิชชานิวรณ์ □ อวิชชานิวรณ์ สัมปยุตด้วย กุกกุจจนิวรณ์ □ วิจิกิจฉานิวรณ์ สัมปยุตด้วย อวิชชานิวรณ์ □ อวิชชานิวรณ์ สัมปยุตด้วย วิจิกิจฉานิวรณ์ □ กามฉันทนิวรณ์ สัมปยุตด้วย อุทธัจจนิวรณ์ □ อุทธัจจนิวรณ์ สัมปยุตด้วย กามฉันทนิวรณ์ □ พยาปาทนิวรณ์ สัมปยุตด้วย อุทธัจจนิวรณ์ □ อุทธัจจนิวรณ์ สัมปยุตด้วย พยาปาทนิวรณ์ □ ถีนมิทธนิวรณ์ สัมปยุตด้วย อุทธัจจนิวรณ์ □ อุทัจจนิวรณ์ สัมปยุตด้วย ถีนมิทธนิวรณ์ □ กุกกุจจนิวรณ์ สัมปยุตด้วย อุทธัจจนิวรณ์ □ อุทธัจจนิวรณ์ สัมปยุตด้วย กุกกุจจนิวรณ์ □ วิจิกิจฉานิวรณ์ สัมปยุตด้วย อุทธัจจนิวรณ์ □ อุทธัจจนิวรณ์ สัมปยุตด้วย วิจิกิจฉานิวรณ์ □ อวิชชานิวรณ์ สัมปยุตด้วย อุทธัจจนิวรณ์ □ อุทธัจจนิวรณ์ สัมปยุตด้วย อวิชชานิวรณ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์. ข) นีวรณสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา โน จ นีวรณา ~ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์ แต่ไม่เป็น นิวรณ์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ (๖) นีวรณวิปปยุตตนีวรณิยทุกะ ก) นีวรณวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา นีวรณิยาปิ ~ ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ข) นีวรณวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา อนีวรณิยาปิ ~ ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์ และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ คือ มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตตระ และอสังขตธาตุ ปรามาสโคจฉกะ = คือ ธรรมที่ชื่อว่า ปรามาสะ เพราะ ย่อมยึดถือ เช่น ความไม่เที่ยง, เที่ยง บ้าง เป็นต้น กระทําให้เป็นอารมณ์ มี ๕ ทุกะ คือ (๑) ปรามาสทุกะ ก) ปรามาสา ธมฺมา ~ ธรรมเป็นปรามาสะ (ทิฏฐิ) ได้แก่ ทิฏฐิปรามาสที่เกิดขึ้นในจิต ข) โน ปรามาสา ธมฺมา ~ ธรรมไม่เป็นปรามาสะ ได้แก่ อกุศลที่เหลือ, รูป และนิพพาน (๒) ปรามัฏฐทุกะ ก) ปรามฏฺฐา ธมฺมา ~ ธรรมเป็นอารมณ์ของปรามาสะ ได้แก่ ความเห็นผิดที่ผูกไว้แน่นกุศลในภูมิ ๓, อกุศล วิบากในภูมิ ๓, อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓, และรูปทั้งหมด ข) อปรามฏฺฐา ธมฺมา ~ ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ ได้แก่ มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล ๔ และนิพพาน (๓) ปรามาสสัมปยุตตทุกะ ก) ปรามาสสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ~ ธรรมสัมปยุตด้วยปรามาสะ ได้แก่ จิตที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ข) ปรามาสวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ~ ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ ได้แก่ กุศลในภูมิ ๔, วิบากในภูมิ ๔, อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓, รูป และนิพพาน (๔) ปรามาสปรามัฏฐทุกะ ก) ปรามาสา เจว ธมฺมา ปรามฏฺฐา จ ~ ธรรมเป็นปรามาสะและเป็นอารมณ์ของปรามาสะ คือ ปรามาสนั้นนั่นแหละชื่อว่าเป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาส ข) ปรามฏฺฐา เจว ธมฺมา โน จ ปรามาสา ~ ธรรมเป็นอารมณ์ของปรามาสะ แต่ไม่เป็นปรามาสะ ได้แก่ อกุศลที่เหลือ และรูปทั้งหมด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
(ต่อหน้า ๑๗/๓๐) ๒.ธัมมสังคณี
(๕) ปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐทุกะ ก) ปรามาสวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา ปรามฏฺฐาปิ ~ ธรรมวิปปยุสตจากปรามาสะแต่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ข) ปรามาสวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา อปราฏฺฐาปิ ~ ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ ได้แก่ มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์, สามัญญผล ๔, และนิพพาน มหันตรทุกะ = แม่บทคู่ใหญ่ ที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน มี ๑๔ ทุกะ คือ (๑) สารัมมณทุกะ ก) สารมฺมณา ธมฺมา ~ ธรรมมีอารมณ์ ได้แก่ เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, วิญญาณขันธ์ ข) อนารมฺมณา ธมฺมา ~ ธรรมไม่มีอารมณ์ ได้แก่ รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ (๒) จิตตทุกะ ก) จิตฺตา ธมฺมา ~ ธรรมเป็นจิต ได้แก่ จักขุวิญญาณ, โสตวิญญาณ, ฆานวิญญาณ, ชิวหาวิญญาณ, กายวิญญาณ, มโนธาตุ, มโนวิญญาณธาตุ ข) โน จิตฺตา ธมฺมา ~ ธรรมไม่เป็นจิต เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ (๓) เจตสิกทุกกะ ก) เจตสิกา ธมฺมา ~ ธรรมเป็นเจตสิก ได้แก่ เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์ ข) อเจตสิกา ธมฺมา ~ ธรรมไม่เป็นเจตสิก คือ จิต, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ (๔) จิตตสัมปยุตตทุกะ ก) จิตฺตสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ~ ธรรมสัมปยุตด้วยจิต คือ เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์ ข) จิตฺตวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ~ ธรรมวิปปยุตจากจิต คือ รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ (๕) จิตตสังสัฏฐทุกะ ก) จิตฺตสํสฏฺฐา ธมฺมา ~ ธรรมเจือกับจิต คือ เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์ ข) จิตฺตวิสํสฏฺฐา ธมฺมา ~ ธรรมไม่เจือกับจิต คือ รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ (๖) จิตตสมุฏฐานทุกะ ก) จิตฺตสมุฏฺฐานา ธมฺมา ~ ธรรมมีจิตเป็นสมุฏฐาน คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, กายวิญญัติ วจีวิญญัติ หรือรูปแม้อื่นใดซึ่งเกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ ข) โน จิตฺตสมุฏฺฐานา ~ ธมฺมา ธรรมไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ได้แก่ จิต รูปที่เหลือ และอสังขตธาตุ (๗) จิตตสหภูทุกะ ก) จิตฺตสหภุโน ธมฺมา ~ ธรรมเกิดร่วมกับจิต ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, กายวิญญัติ(สื่อสารด้วย กาย เช่น กวักมือ), วจีวิญญัติ(สื่อสารด้วยคำพูด) ข) โน จิตฺตสหภุโน ธมฺมา ~ ธรรมไม่เกิดร่วมกับจิต ได้แก่จิต รูปที่เหลือ และอสังขตธาตุ (๘) จิตตานุปริวัตติทุกะ ก) จิตฺตานุปริวตฺติโน ธมฺมา ~ ธรรมอันเกิดคล้อยตามจิต คือ เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ข) โน จิตฺตานุปริวตฺติโน ธมฺมา ~ ธรรมไม่เกิดคล้อยตามจิต คือ จิต รูปที่เหลือ และอสังขตธาตุ (๙) จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานทุกะ ก) จิตฺตสํสฏฺฐสมุฏฺฐานา ธมฺมา ~ ธรรมเจือกับจิต และมีจิตเป็นสมุฏฐาน ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ข) โน จิตฺตสํสฏฺฐสมุฏฺฐานา ธมฺมา ~ ธรรมไม่เจือกับจิต และไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ได้แก่ จิต รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ (๑๐) จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูทุกะ ก) จิตฺตสํสฏฺฐสมุฏฺฐานสหภุโน ธมฺมา ~ ธรรมเจือกับจิต มีจิตเป็นสมุฏฐาน และเกิดร่วมกับจิต ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ข) โน จิตฺตสํสฏฺฐานสหภุโน ธมฺมา ~ ธรรมไม่เจือกับจิต ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน และไม่เกิดร่วมกับจิต ได้แก่ จิต รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
(ต่อหน้า ๑๘/๓๐.) ๒.ธัมมสังคณี
(๑๑) จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติทุกะ ก) จิตฺตสํสฏฺฐสมุฏฐานานุปริวตฺติโน ธมฺมา ~ ธรรมเจือกับจิต มีจิตเป็นสมุฏฐาน และเกิดคล้อยตามจิต เช่น เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ข) โน จิตฺตสํสฏฺฐสมุฏฺฐานานุปริวตฺติโน ธมฺมา ~ ธรรมไม่เจือกับจิต ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน และไม่เกิดคล้อยตามจิต เช่น จิต, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ (๑๒) อัชฌัตติกทุกะ ก) อชฺฌตฺติกา ธมฺมา ~ ธรรมเป็นภายใน ได้แก่ จักขายตนะ, มนายตนะ ฯ ข) พาหิรา ธมฺมา ~ ธรรมเป็นภายนอก ได้แก่ รูปายตนะ , ธัมมายตนะ ฯ (๑๓) อุปาทาทุกะ ก) อุปาทา ธมฺมา ~ ธรรมอาศัยมหาภูตรูปเกิด เช่น จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร ข) โน อุปาทา ธมฺมา ~ ธรรมไม่อาศัยมหาภูตรูปเกิด เช่น เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์ ,วิญญาณขันธ์, มหาภูตรูป ๔ , และ อสังขตธาตุ (๑๔) อุปาทินนทุกะ ก) อุปาทินฺนา ธมฺมา ~ ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิเข้ายึดครอง คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ และรูปที่กรรมแต่งขึ้น ข) อนุปาทินฺนา ธมฺมา ~ ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิไม่เข้ายึดครอง ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, ธรรมที่เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตตระ และอสังขตธาตุ อายตนะ ๑๒ = เครื่องต่อหรือบ่อเกิด หรือเหตุให้เกิดจิตและเจตสิกได้แก่ อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ ได้แก่ (๑) จักขายตนะ (จักขปสาทรูป) (๒) รูปายตนะ (รูปสี) (๓) โสตายตนะ (โสตปสาทรูป) (๔) สัททายตนะ (รูปเสียง) (๕) ฆานายตนะ (ฆานปสาทรูป) (๖) คันธายนะ (รูปกลิ่น) (๗) ชิวหายตนะ (ชิวหาปสาทรูป) (๘) รสายตนะ (รูปรส) (๙) กายายตนะ (กายปสาทรูป) (๑๐)โผฏฐัพพายตนะ (ดิน ไฟ ลม) (๑๑) มนายตนะ (จิต ๘๙) (๑๒) ธัมมายตนะ (สุขุมรูป ๑๖ เจตสิก ๕๒ นิพพาน) จักขายตนะ = เป็นคำรวมของ จักขุ + อายตนะ “จักขุ” คือ ตา และ “อายตนะ” หมายถึง ที่ประชุม ที่เกิด เพราะฉะนั้น “จักขายตนะ” ก็คือ จักขุซึ่งเป็นที่ประชุม เป็นที่เกิดนั่นเอง ธัมมายตนะ = คือ ธรรมารมณ์ สิ่งที่รู้สึกได้ด้วยใจ หรือสิ่งที่ใจนึก กวฬิงการาหาร = คือ อาหาร(คำ ข้าว) หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง ซึ่งเป็นสิ่งที่ บุคคลจะต้องกลืนกินเข้าไปทางปาก (๑๒) อัชฌัตติกทุกะ ก) อชฺฌตฺติกา ธมฺมา ~ ธรรมเป็นภายใน ได้แก่ จักขายตนะ, มนายตนะ ฯ ข) พาหิรา ธมฺมา ~ ธรรมเป็นภายนอก ได้แก่ รูปายตนะ , ธัมมายตนะ ฯ (๑๓) อุปาทาทุกะ ก) อุปาทา ธมฺมา ~ ธรรมอาศัยมหาภูตรูปเกิด เช่น จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร ข) โน อุปาทา ธมฺมา ~ ธรรมไม่อาศัยมหาภูตรูปเกิด เช่น เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์ ,วิญญาณขันธ์, มหาภูตรูป ๔ , และ อสังขตธาตุ (๑๔) อุปาทินนทุกะ ก) อุปาทินฺนา ธมฺมา ~ ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิเข้ายึดครอง คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ และรูปที่กรรมแต่งขึ้น ข) อนุปาทินฺนา ธมฺมา ~ ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิไม่เข้ายึดครอง ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, ธรรมที่เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตตระ และอสังขตธาตุ อายตนะ ๑๒ = เครื่องต่อหรือบ่อเกิด หรือเหตุให้เกิดจิตและเจตสิกได้แก่ อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ ได้แก่ (๑) จักขายตนะ (จักขปสาทรูป) (๒) รูปายตนะ (รูปสี) (๓) โสตายตนะ (โสตปสาทรูป) (๔) สัททายตนะ (รูปเสียง) (๕) ฆานายตนะ (ฆานปสาทรูป) (๖) คันธายนะ (รูปกลิ่น) (๗) ชิวหายตนะ (ชิวหาปสาทรูป) (๘) รสายตนะ (รูปรส) (๙) กายายตนะ (กายปสาทรูป) (๑๐)โผฏฐัพพายตนะ (ดิน ไฟ ลม) (๑๑) มนายตนะ (จิต ๘๙) (๑๒) ธัมมายตนะ (สุขุมรูป ๑๖ เจตสิก ๕๒ นิพพาน) จักขายตนะ = เป็นคำรวมของ จักขุ + อายตนะ “จักขุ” คือ ตา และ “อายตนะ” หมายถึง ที่ประชุม ที่เกิด เพราะฉะนั้น “จักขายตนะ” ก็คือ จักขุซึ่งเป็นที่ประชุม เป็นที่เกิดนั่นเอง ธัมมายตนะ = คือ ธรรมารมณ์ สิ่งที่รู้สึกได้ด้วยใจ หรือสิ่งที่ใจนึก กวฬิงการาหาร = คือ อาหาร(คำ ข้าว) หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง ซึ่งเป็นสิ่งที่ บุคคลจะต้องกลืนกินเข้าไปทางปาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|