การแต่งฉันท์ อาจนำเอาคำเชื่อม มาเป็นตัวช่วยแก้ปัญหาเรื่องเสียง "ลหุ" ได้ครับ
คำเชื่อมทั่วไป เช่น จะ, สิ, ก็, ณ, และ, เพราะ, ละม้าย, ประหนึ่ง
คำเชื่อมประยุกต์เสียง (ชื่อนี้ผมเรียกเองนะครับ ไม่มีตำราไหนเขาเขียน

) เช่น
"เหมือน, คล้าย" >> ดุจ (ดุด-จะ, ดุ-จะ)
ประดุจ (ประ-ดุจ, ประ-ดุด-จะ, ประ-ดุ-จะ)
ประเล่ห (ประ-เล่, ประ-เล่-หะ)
กล (กน-ละ, กะำ-ละ)
"ราวกับว่า" >> กวะ (กะ-วะ), กระว่า, ราวกะ
"ถ้าหาก" >> ผิว่า, ผิวะ (ผิ-วะ), ผิว์ (ใช้การันต์ฆ่า ว)
"ว่า" >> วะ
"แต่ละ" >> ตะละ
"กับ" >> กะ
"หรือ" >> ฤ (อ่านว่า รึ)
อ้อ! ไหน ๆ ก็พูดถึงตัวช่วยแล้ว งั้นขอรวมพวกคำที่แปลว่า "ไม่" เข้าไปด้วยกันเลยนะครับ >> บ่, บ, มิ
ตัวอย่าง
ในฟ้าจะหาอรสุรางค์ ดุจนางก็ห่อนมี
ในดินจะหาอรยุพี กลนุชก็สุดหาที่มา: พระนลคำฉันท์แต่ถ้าใช้เยอะเกิน มันก็อาจทำให้งานเสียความงามไปครับ
ศรีเปรื่อง
๒๕ ก.ย. ๒๕๕๖