กลบท เทพชุมนุม (ขุนธนสิทธิ์ : ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ)
๐-----------------------๐
นิราไกลไร้หน้าพงาเหงา
มาว้าเหว่เอกาอุราเรา
มีแต่เศร้าเปล่าใจให้รันจวญ แสนร้อนนอนเถื่อนเปนเรือนถิ่น
รื่นรื่นกลิ่นคันธมาลย์ร่านรนหวน
ฉุนฉุนชื่นคืนถวิลเหมือนกลิ่นนวล
กลครั่นครวญป่วนปั่นกระสัน
ภักตร์
นึกนึกตรึกโศกวิโยคยาก
ทุกข์จากมากหมกอกจักหัก
อีกโรครุกขุกยากอกพรากรัก
โศกสลักหนักอกวิตกนุช สุดสวาทนาฎขนิษฐสถิตย์เขตร์
อนาถเนตรโอษฐภาษขยาดหยุด
หมดสวาทนาฎสลดกำสรดทรุด
คิดประดุจเด็ดปลิดชีวิต
ลับ
บุพพบคบหยาบบาปประกอบ
บาปตอบลอบลบกระทบปรับ
เจ็บประจวบขวบบาปกระหนาบยับ
ทบทับคับแคบแทบชีวง คะนึงนางต่างหมองทั้งสองข้าง
ต่างร้างทรวงรึงตะลึงหลง
ดังแกล้งทิ้งมิ่งหมางต้องค้างคง
หนึ่งอนงค์นางห้องคงหมอง
งาม
เสื่อมภิรมย์กรมเกรียมแรมถนอม
พิมจผอมกรอมกรมเทียมคมหนาม
แซมรมสมสุมเติมทุ่มยาม
เสื่อมงามทรามถนอมปิ้มตรอมตาย
เหลือละห้อยคอยข่าวเอะสาวน้อย
จะเลมอเพ้อผอยด้วยคอยหาย
กล่าวเฉลี่ยเกลี่ยถ้อยสร้อยภิปราย
ธิบายชื่อ
เทพชุมนุมคณะเอย ฯ
(ขุนธนสิทธิ์ : ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ)
พิจารณาได้ว่า
บทที่ ๑ แม่ ก.กา ,บทที่ ๒ แม่ กน ,
บทที่ ๓ แม่ กก ,บทที่ ๔ แม่ กด ,
บทที่ ๕ แม่กบ ,บทที่ ๖ แม่กง ,
บทที่ ๗ แม่กม และ บทที่ ๘ เป็นถ้อยอธิบาย
กลบท เทพชุมนุม พิจารณาโดยรวมเห็นว่า บังคับพิเศษเพิ่มจากกลอนทั่วไป คือ
– ในหนึ่งสำนวนกลอน บังคับให้แต่ละบทนั้น ต้องใช้คำที่มีมาตราตัวสะกดเดียวกันตลอดทั้งบท ยกเว้น คำสุดท้ายของบท ให้ใช้คำที่มีมาตราตัวสะกดเดียวกันกับมาตราตัวสะกดของบทต่อมา เพื่อการส่งสัมผัสระหว่างบท
(แต่ละมาตราสะกดนั้น ใช้
คำมูลที่ประกอบด้วยสระอำ และ ลหุแท้ เช่น กำสรด (แม่กด) ,รำพึง (แม่กง),กมล (แม่กน) ,ประจวบ (แม่กบ) ,วิโยค (แม่กก) ฯลฯ ก็ได้เช่นกัน)
** กลบทนี้มีปรากฏที่มาเฉพาะในตำรากลบท "จารึกวัดพระเชตุพนฯ" โดยบรมครูขุนธนสิทธิ์ เป็นผู้คิดประดิษฐ์กลบทนี้ขึ้นมาในสมัย
รัชกาลที่ ๓** หมายเหตุ : อีกตัวอย่างกวีนิพนธ์ที่ปรากฏกลบทนี้คือ ตำรากลบทสุภาษิต ของ หลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก) ในสมัย
รัชกาลที่ ๖ กลบท เทพชุมนุม จาก กวีนิพนธ์ กลบทสุภาษิต
โดย รองอำมาตย์เอกหลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก)
หวานเพลิน เกินการ จนหวานสิ้น
ฉุนชื่นลิ้น กลิ่นกลั่น ล้วนสรรค์ผล
เพียรปั้นป้อน ข้อนคั้น ขึ้นปันปน
จวนเจียนจน ยลยวน เช่นชวน
พะวง พึงกริ่งตรอง จองแจ้ง แสร้งสิ่งยั้ง
เฟื่องฟุ้งฟัง พลั้งแพลง คลังแคลงหลง
ปางปอง จองแจ้ง แห่งจริงจง
ง่วงโงงงง ปลงเปลื้อง เครื่องลังเล ปะทะที่ ทีน่า ระอาท้อ
มิใช่ข้อ ส่อแต่ จะแส่เส
ไฉนหนอ ต่อจะรู้ สิปรูเปร
ถ้าคะเน ดูในที น่ามี
ภัย ฯ
พิจารณาได้ว่า บทที่ ๑ แม่ กน ,
บทที่ ๒ แม่ กง ,บทที่ ๓ แม่ ก.กา
"กลบทเทพชุมนุม" โดย รศ. วันเนาว์ ยูเด็น (จากตำรารวมกลบท "รอยทราย")
(รางวัลชมเชยหนังสือดีเด่นประเภทกวีนิพนธ์ปี ๒๕๓๕) สมัย
รัชกาลที่ ๙ ๐ คูณตะเคียน เทียนทัน จันทร์กระถิน
อินทนิล นุ่นขนัน อัญชันป่าน
ลำดวนโดน โคนตะบัน บอนจั่นจาน
สนเสี้ยนลาน ทานตะวัน อินลั่นทม
๐ ท่อมกระทุ่ม กุ่มสุกรม ยมหอมโหม
เคี่ยมเข็มโขม แขมคราม คลุ้มขามขม
พะยอมเนียม เทียมโสม โฉมตูมกลม
ปาล์มชะเอม ชะอม ส้มนมควาย ๐ คำฝอยฝ้าย หวายรำเพย เตยบ๊วยอ้อย
ตะมอยข่อย เอาะลาย เขยตายขลาย
กระชายคุย ปุยคล้าย กุยช่ายกราย
กล้วยกำจาย กระต่อย กลอยกรวย
กวาว ............ ฯลฯ ..........
พิจารณาได้ว่า
บทที่ ๑ แม่ กน ,
บทที่ ๒ แม่ กม ,บทที่ ๓ แม่ เกย
...-๐ Black Sword (หมู มยุรธุชบูรพา) ๐-...

•
กลับสู่หน้าห้องเรียน กลอนกลบท คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน โคลงกลบท คลิก •
กระโดดสู่ห้องศึกษา ภาพโคลงกลบท คลิก 