กลบทจตุรงคประดับ จาก "กลบทศิริวิบุลกิตติ์" โดยหลวงศรีปรีชา (เซ่ง)
๐
พระหน่อไท้ ได้สดับ แสดงกิจ
พระหน่อคิด จิตร
ระวาบ ระหวาบหวาม
พระหน่อตรึก นึกคะเน คะนึงความ
พระหน่อนาม แจ้ง
กระจัด กระจ่างใจ
ไม่ควรคู่ ผู้แสวง สวัสดิ์หวัง
ไม่ควรนั่ง นิ่ง
ตะลึง ตะเลิงไหล
ไม่ควรเฉย เลยสละ สลัดใจ
ไม่ควรไท จะ
ชีวง ชีวังวาย
จำเรารักษ จักตะบึง ตะแบงจร
จำเราร้อน รีบจะเร่ง จะเร้าผาย
จำเราจะชู กู้ตระกูล สกุลกาย
จำเราจะบ่าย เบี่ยงจะแบ่ง จะบากลา
กตัญญูกูจะตู่จะต่อตั้ง
กตัญญังกูจะย้ายจะยักหา
กตัญญางอย่างหนึ่งยอดหนึ่งโยธา
กตัญญากูจะราจะเริงรบ
ขันตีหวังตั้งปะทะเป็นทัพหน้า
ขันตีกล้ารู้ในเช่นในเชิงหลบ
ขันตีแข็งแรงตะบึงตะบันรบ
ขันตีจบภพกระเจิงกระโจมทัพ
ไม่ละลดถดพลังพลากร
ไม่ละหย่อนย่อสยดแสยงขยับ
ไม่ละเลยเคยตระเตรียมตรึกตรองรับ
ไม่ละลับล่วงละเลิงละลานองค์
อุเบกขาข้าจะแต่งจะตั้งกอง
อุเบกของแม่ทัพเมธีประสงค์
อุเบกขาข้าจักวางจักรวรรดิ์วงษ์
อุเบกองค์ทรงนรินทร์นเรศราย
ความสัตย์เทียบเปรียบแสยงสยอนสอน
ความสัตย์รอญรานอะรินอะราหมาย
ความสัตย์จังดั่งลูกศรลั่นสายลาย
ความสัตย์หมายตัดศรีษะศัตรูเปิง ฯ
๑-----------------------๑
กลบทจตุรงคประดับ ปรากฏอยู่ในการประพันธ์ลำดับที่ ๓๘ ของตำรากลบทศิริวิบุลกิตติ์
พิจารณาโดยรวมเห็นว่า มีเพิ่มจากกลอนทั่วไป คือ วางเขียนเป็น "กลอนเก้า"
๑.) กำหนดให้
ใช้คำ ๒ คำเป็นกระทู้คำต้นวรรคตลอดทั้ง ๔ วรรค (๑ บท) เมื่อขึ้นบทใหม่ค่อยเปลี่ยนกระทู้ ๒ คำนี้เป็นคำอื่นต่อไป
๒.) กำหนดให้วรรคหน้า คือวรรคสดับ และ วรรครอง (วรรค ๑ และ ๓) มีการสัมผัสสระชิดระหว่าง
"คำท้ายของช่วงแรก" กับ "คำแรกของช่วงกลาง" ในวรรคกลอนนั้น ๆ (คำที่ ๓-๔)
๓.) ในทุกวรรค ให้สัมผัสอักษรสลับกันระหว่าง "
สองคำท้ายช่วงกลาง" และ "สองคำแรกช่วงหลัง" โดย
คำแรกของแต่ละคู่ เป็นคำซ้ำกัน ,
คำที่สองของแต่ละคู่ สัมผัสอักษรกันธรรมดา ( ๑๒๓-๔
กข-
กข๙ )
** กลบทนี้มีที่มาปรากฏแต่เพียงใน "กลบทศิริวิบุลกิตติ์" ไม่มีปรากฏใน "จารึกวัดพระเชตุพนฯ"
ผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ครับผม
...-๐ Black Sword (หมู มยุรธุชบูรพา) ๐-...
•
กลับสู่หน้าห้องเรียน กลอนกลบท คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน โคลงกลบท คลิก •
กระโดดสู่ห้องศึกษา ภาพโคลงกลบท คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน กาพย์ คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน โคลง คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน ฉันท์ คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน ร่าย คลิก