กลบทดำเนินนางสระ (กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์(พระองค์เจ้าคเนจร) : ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ)
๐---------------------๐
โฉมเฉิดเพริศพริ้งทุก
สิ่งสรรพ์ ภักตร์ผ่องส่องศรีฉวีวรรณ
พิศเพี้ยนเจียนจันทร์บุหลันลอย
พุ่มภู่ดูดีเกศีเส้น
ขลับคล้ำดำเด่นทุกเส้นสอย
ยิ่งหย่างนางใจจุไรรอย
เรียบร้อยช้อยชมนิยมยิน
ขอบคันกันก่งขนงน้อม
ขำค้อมง้อมงอนเช่นศรศิลป์
เนตรนุชดุจดำเหมือนน้ำนิล
ค้อนคมสมสิ้นให้ยินยวน
เปรมปรางช่างแช่มเหมือนแย้มยิ้ม
เอี่ยมอิ่มพริ้มพร้อมยังหอมหวร
โอษฐ์เอื้อนเยื้อนย่อมถนอมนวล
ยั่วยวนชวนชายชม้ายมอง
กางกรอ่อนแอกแปรกรถ
ช้อยชดสดศรีไม่มีหมอง
ทรงทรวงพวงพุ่มประทุมทอง
เนื้อน้องผ่องพ้นเกินตนตัว
กิ่วก้อยช้อยเชิดประเสริฐแสน
พื้นเพชรเม็ดแม้นล้วนแหวรหวัว
เล็บเหลืองเรืองรองไม่หมองมัว
แต่งตัวทั่วทั้งประดังเดิร
งดงามยามหย่างจะอ้างอวด
ยิ่งยวดทรวดทรงดังหงส์เหิน
ลอบโลมโฉมเฉิดชมเพลิดเพลิน
บทนี้ฤาชื่อ
ดำเนินนางสระเอย ฯ
(กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์(พระองค์เจ้าคเนจร) : ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ)
กลบทดำเนินนางสระ พิจารณาโดยรวมเห็นว่า เขียนเป็น "กลอนเจ็ด" โดยแบ่งช่วงจังหวะ ( ๒-๒-๓ )
๑.) ภายในวรรคให้มีการสัมผัสอักษร ๓ ชุดใน ๓ ช่วงของกลอนแต่ละวรรค แต่ในช่วงหลังซึ่งวางไว้ ๓ คำนั้น ให้มีสัมผัสอักษรเพียง ๒ คำปลายวรรคเท่านั้น ดังผัง (
กก-
ขข-๕
จจ)
๒.) ภายในวรรคให้มีสัมผัสสระชิดระหว่าง "ช่วงแรก กับ ช่วงกลาง" (คำที่ ๒-๓)
และ สัมผัสสระแทรกระหว่าง " ช่วงกลาง กับ ช่วงหลัง" (คำที่ ๔-๖)
** กลบทนี้มีที่มาปรากฏเฉพาะในกลบท "จารึกวัดพระเชตุพนฯ"
-๐ กลบทที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ๐- • กลบท เบญจวรรณห้าสี คลิก
• กลบท อักษรล้วน คลิก
• กลบท อักษรสลับล้วน คลิก
• กลบท เลวงวางตรวจ คลิก
• กลบท ดวงเดือนประดับดาว คลิก ผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ครับผม
...-๐ Black Sword (หมู มยุรธุชบูรพา) ๐-...
•
กลับสู่หน้าห้องเรียน กลอนกลบท คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน โคลงกลบท คลิก •
กระโดดสู่ห้องศึกษา ภาพโคลงกลบท คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน กาพย์ คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน โคลง คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน ฉันท์ คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน ร่าย คลิก