แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
(ต่อหน้า ๒/๔) ๘.นารทชาดก
๕.ราชาครันตรัสว่า ทรงฝ่าโง่มักหลง คิดตรงทำดีแล้ว แผ้วสู่สุคติ ตริเพียรทำกุศล ครานี้ยลบุญ,บาป ตราบนี้ไม่มีแล แฉผลกรรมไม่มี ดีเองเมื่อถึงคราว สาวฟังธรรมท่านแล้ ก็ห่อนประโยชน์แท้ มุ่งแม้นขอลา
๖.ราชากลับวังแจ้ง โองการแว้งต่อนี้ ชี้จะไม่ทำการ ขานไร้ประโยชน์เอย เผยไม่มีผลใด ขอไปสุขเพลินยล ไม่ห่วงผลบุญกรรม เกิดคำล่ำลือทั่ว ราชาจั่วหลงผิด คิดเชื่อคำคุณาฯ จะพาบ้านเมืองทราม ความทราบถึงรุจาฯ ร้อนใจหนาบิดา มาเลิกทำทานแล้ว สั่งแป้วรื้อโรงทาน ตั้งพานสี่ทิศลง เพราะหลงเชื่อบาป,บุญ คุณประโยชน์ไม่แกล้ว คราเมื่อถึงกาลแล้ว จุ่งคล้อยสุขศานสติ์ เองแล
๗.รุจาฯกรานราชา ขอทรัพย์นาหนึ่งพัน จะนำไปทำทาน ราชาขานทานนั้น ดั้นไร้ประโยชน์หนา ยากหาผลตอบแทน แดนปรโลกหน้า มิมีอ้าใดเลย เจ้าเคยถือศีลอยู่ ควรจู่เลิกเสียเถิด ไม่เกิดผลใดเลย รุจาฯเผยคนใด ทำบาปไรสะสม บาประดมมากเข้า เขาก็เฝ้ารับผล ที่ก่อดลนั้นเอง เหมือนเผงเรือบรรทุก ซุกของทีละน้อย ยิ่งมากคล้อยเรือจม ซมในที่สุดเอย เผยเปรียบใบไม้ห่อ ของเหม็นจ่อย่อมทำ ใบไม้หนำเหม็นตาม ปราชญ์ลามเลือกคบเพื่อน เกลื่อนคนดีรี่ตาม หากผลลามคบเพื่อนชั่ว ชีพมั่วแปดเปื้อนเบือน เหมือนลูกศรจุ่มด้วย ยาพิษอาบซาบม้วย ย่อมย้ำคันศร หมองมัว
๘.ก่อนนารุจาฯตรึก ระลึกชาติก่อนเกิด เพริดบุตรช่างทางนา ได้คบหามิตรชั่ว ก็จั่วทำชั่วตาม บางชาติผลามมิตรดี ทำทวีบุญได้ คราวไซร้ทำชั่วร้าย ท้ายผลกรรมตามทัน พลันตกนรกอยู่ จู่หลายชาติพ้นทุกข์ บุกทรมานเอย เผยเกิดเป็นมนุษย์ ก็ทรุดลำเค็ญนาน หนีกรรมผลาญหมดแล้ว ผลบุญแผ้วบังเกิด ประเจิดขึ้นลำดับ ผลลัพธ์บุญและบาป ตามติดทาบตัวเรา มิเพลาหยุดลงเลย เผยปิตุเรศแล้ โปรดเชื่อคำเตือนแท้ ลูกแก้วหวังดี มิแช ๙.แลราชามิฟัง ยังคำธิดาเตือน เยือนยึดคำคุณาฯ รุจากลัวคะนึง ถึงผลทุกข์ราชา จะตามมาหลังวาย ฉายจิตอธิษฐาน ขอกรานเทวาอวย อำนวยเปลื้องมิจฉา ทิฏฐิกล้าราชา เกิดสุขหนาปวงชน บัดดลท้าวมหาพรหม นามสม"นารท" พระโพธิ์สัตว์กำลัง บำเพ็ญจังบาร์มี พี"อุเบกขา"แล แฉกรุณาสัตว์ ชัดทรงเล็งประชา หนาจะเดือดร้อนมาก ราชาคิดกรากมิจฉา ทิฏฐิกล้าจึงทรง ลงจากโลกเทวา แปลงกายนาบรรพชิต คิดเอาคนโททอง และตรองคนโทแก้ว เพริศแพร้วใส่คานหาบ แบกทาบบนไหล่สอง เหาะครรลองปราสาท ลอยยาตรหน้าพระพักตร์ ราชาจักตะลึง ตรัสตรึงผู้วรรณะ ปะงามมาจากไหน พระพรหมไวตอบว่า มาจากโลกเทวา ราชาถามเหตุใด มีฤทธิ์ไกลลอยได้ พรหมตอบไซร้ชาติก่อน บำพ็ญผ่อนคุณธรรม นำสี่ประการแล แฉด้วยมี"สัจจะ" "ธรรมะ,ทมะ"น้อม "จาคะ"จึงฤทธิ์พร้อม มุ่งแล้ไปไหน ดังใจ
๑๐.ราชาไวถามว่า ผลบุญนามีหรือ มีจริงครือโปรดแจง พรหมแถลงบาป,บุญ รุนมีผลอยู่จริง มีอิงพ่อแม่แล แฉโลกหน้ามีอยู่ จู่ผู้คนมิทราบ กษัตริย์ทาบทามว่า อ่าโลกหน้ามีจริง อิงขอยืมห้าร้อย จะคล้อยใช้โลกหน้า กล้านารถตอบ ถ้าท่านนอบพฤติธรรม ยืมนำมากกว่านี้ ก็ชี้ให้ยืมได้ ไซร้ผู้มีศีลยง ก็คงคืนทรัพย์แล้ คราท่านนรกแท้ โชคคล้อยหมดทาง ทวงเงิน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
(ต่อหน้า ๓/๔) ๘.นารทชาดก ๑๑.พลางราชานั่งตรึง พรหมจึงทูลหากทรง คิดผิดยงอย่างนี้ ตายลี้นรกทน ทุกข์ผลสาหัสนัก โลกหน้าจักชดใช้ บาปไซร้ก่อชาตินี้ ชี้นรกแจง แถลงการทรมาน ผลาญสัตว์นรก ตกน่าสะพรึงกลัว มัวสยองต่อบาป ราชาซาบสลด จรดผิดทางแล แฉวอนขอพึ่งเกล้า แสงส่องถูกทางเฝ้า แจ่มแจ้งธรรมเกษม ด้วยเทอญ ๑๒.เปรมพระนารท ปะโอกาสตรัสพร สอนธรรมะราชา ตั้งมั่นนาในทาน กรานศีลทางสู่สวรรค์ ครันแจงธรรมเปรียบกาย กับรถรายประกอบ ชิ้นส่วนรอบดีย่อม แล่นกล่อมทางเรียบรื่น สติชื่นดุจปฏัก เพียรจักเป็นบังเหียน ปัญญาเชียรห้ามล้อ เดินทางจ้อปราศภัย พระพรหมให้โอวาท อย่าพลาดคบเพื่อนดี หนีประมาทปล่อยแล้ จงมุ่งพฤติธรรมแท้ พูดแล้วหายไป กับตา ๑๓.ราชาไวทรงมั่น กลั่นในศีลธรรมเอย เผยตรงเริ่มทำทาน พานเลือกคบมิตรนำ กระทำถูกทางควร ขวนราชธรรมสิบ ชนสุขลิบสบาย บ้านเมืองกรายสงบ พบร่มเย็นสมดัง คำขลังพระนารท ให้ละมิตรบาปเสีย เคลียกัลยาณ์มิตร ประชิดบุญละบาป กำซาบไม่ประมาท การยาตรบำเพ็ญตรอง ครอง"อุเบกขาบาร์ฯ" นารทวางเฉย เคยด้วยปัญญาไว ที่ไม่หวั่นไหวรู้ กับผู้เห็นผิดหลาย ทำคนกรายเดือดร้อน สัตว์โลกป้อนตามกรรม ทำดีแลย่อมพริ้ง ทำชั่วเกิดบาปกลิ้ง เชือดชิ้นสยอง ตอบแทน ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา ๑)สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๘ ขุททกนิกาย ชาดก ภาคที่ ๒ นารทชาดก พระไตรปิฎกสำหรับประชาชนหน้า ๖๑๙ ๒)ข้อคิดปริศนาธรรม: นารทชาดก ตอนที่ ๘ บำเพ็ญอุเบกขาบารมี https://www.blockdit.com/posts/นารถชาดก=เป็นเรื่องราวของ พระโพธิสัตว์ เสวยพระชาติเป็น มหาพรหมนารท เพื่อบำเพ็ญอุเบขาบารมี อติราช=พระเจ้า อังคติราช ครองเมืองมิถิลา ราชธรรม=ทศพิศราชธรรม คือจริยวัตร ๑๐ ประการที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรม ประจำพระองค์ หรือเป็นคุณธรรมประจำตนของผู้ปกครองบ้านเมือง ให้มีความเป็นไปโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชนจนเกิดความชื่นชมยินดี ซึ่งความจริงแล้วไม่ได้จำเพาะเจาะจงสำหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือผู้ปกครองแผ่นดินเท่านั้น บุคคลธรรมดาที่เป็นผู้บริหารระดับสูงในทุกองค์กรก็พึงใช้หลักธรรมเหล่านี้ (๑)ทาน คือการให้ ให้ความรู้ ให้ธรรมะ ให้การศึกษา ให้การงาน ให้โอกาส การพัฒนาแหล่งน้ำ แบ่งปันที่ดินทำกิน เพื่อให้อยู่ดีกินดี การใช้อำนาจเพื่อทำให้ประชาชนเกิดความสุขโดยรวม (๒)ศีล คือ ความประพฤติที่ดีงาม ทั้ง กาย วาจา เพื่อวางตนเป็นแบบอย่าง ไม่ประพฤติผิดจารีตประเพณีและกฎหมายที่คนทั่วไปรักษา (๓)บริจาค คือ การช่วยเหลือผู้ที่กำลังเดือดร้อน การให้เงินเดือนแก่คนที่ทำหน้าที่อย่างเสียสละ เช่นทหารผ่านศึก ไม่ให้ลำบากจนเกินไป เมื่อเกิดข้าวยากหมากแพงฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลทำการเกษตรไม่ได้เศรษฐกิจไม่ดีหรือมีสงคราม ก็ไม่ควรเก็บภาษีจนเดือดร้อนประชาชนที่กำลังลำบาก การให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดความลำบากเช่นฝนแล้งน้ำท่วมหรือเกิดภัยพิบัติต่างๆ การช่วยเหลือคนยากไร้ ดูแลคนเป็นบ้าอนาถาไร้ที่พึ่ง (๔)ความซื่อตรง คือ การสุจริตต่อหน้าที่การงานของตน ต่อมิตรสหาย ต่อองค์กรหรือหลักการของตน เปิดเผยข้อมูล นโยบายที่เป็นประโยชน์ ไม่ปิดบังอำพราง เปิดเผยการใช้จ่ายภาษี ไม่คดโกง (๕)ความอ่อนโยน คือ การมีอัธยาศัยอ่อนโยน เป็นกันเอง ไม่เย่อหยิ่งถือตน (๖)ความเพียร คือ ความเพียรพยายามในการทำความสุขเพื่อส่วนรวม การเสียสละความสุขส่วนตนเพื่อความสุขส่วนรวม (๗)ความไม่โกรธ คือ การไม่แสดงอาการโกรธ เพราะผู้ปกครองที่ขี้โกรธ คนย่อมไม่กล้าทักท้วง ทำให้มีแต่คนยกยอปอปั้น แต่เมื่อเกิดข้อผิดพลาด ต่างจะปกปิดสิ่งผิดพลาด ปิดหูปิดตา จนนำไปสู่ความฉิบหายในที่สุด (๘)ความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสา) คือ ไม่ออกกฎหมายหรือระเบียบที่ทำให้ยากลำบากในการเป็นอยู่จนเกินไป การที่ผู้ปกครองไม่รังแกผู้อ่อนแอกว่า การออกกฎเกณฑ์ปกป้องไม่ให้มีการรังแกกัน (๙)ความอดทน (ขนฺติ) คือการรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนาหรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม มีความมั่นคงหนักแน่นไม่หวั่นไหว เป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้ปกครองย่อมต้องเจอคำนินทา ปัญหาและอุปสรรคนานาประการ (๑๐)ความเที่ยงธรรม (อวิโรธนํ) คือ ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก ไม่หูเบา เชื่อคนง่าย มีหลักการ ไม่เป็นไม้หลักปักขี้เลน เอนไปเอนมาตามคำยุยง มีความยุติธรรม ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
(ต่อหน้า ๔/๔) ๘.นารทชาดก
รุจา=รุจาราชกุมารี พระธิดา ของพระเจ้าอังติราช อำมาตย์ ๓ คน=เป็นที่ปรึกษาของราชา ได้แก่ อลาตอำมาตย์,สุนามอำมาตย์,วิชัยอำมาตย์ คุณาฯ=ชีเปลือยคุณาชีวก มิจฉาทิฏฐิ=ความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม ได้แก่ (๑)เห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มี(๒)เห็นว่า การบูชาพระรัตนตรัยไม่มีผล (๓)เห็นว่า การบูชาเทวดาไม่มีผล (๔)เห็นว่า ผลวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วไม่มี (๕)เห็นว่า โลกนี้ไม่มี (๖)เห็นว่า โลกหน้าไม่มี (๗)เห็นว่า มารดาไม่ (๘)เห็นว่า บิดาไม่มี (๙)เห็นว่า สัตว์ที่จุติและเกิดไม่มี (๑๐)เห็นว่า สมณพราหมณ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รู้ยิ่งเห็นแจ้ง ประจักษ์ซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเองแล้ว ประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ ไม่มีในโลก กัปป์=คือระยะเวลานานมากจนนับไม่ได้ อาจอุปมาได้เหมือนภูเขาศิลาแท่งทึบลูกใหญ่ มีความยาว ๑ โยชน์ กว้าง ๑ โยชน์ สูง ๑ โยชน์ ไม่มีช่อง ไม่มีโพรง พึงเอาผ้าแคว้นกาสีลูบภูเขานั้น ๑๐๐ ปีต่อครั้ง ภูเขาศิลาลูกใหญ่นั้นพึงหมดสิ้นไป เพราะความพยายามนี้ ยังเร็วกว่า ส่วนกัปป์หนึ่งยังไม่หมดสิ้นไป (พระพุทธเจ้าตรัสกับภิกษุว่า กัปป์นานนักหนาอย่างนี้ เธอได้ท่องเที่ยวไป มิใช่ ๑ กัปป์ มิใช่ ๑๐๐ กัปป์ มิใช่ ๑,๐๐๐ กัป มิใช่ ๑๐๐,๐๐๐ กัปป์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ ภิกษุ เพราะเหตุนี้แหละจึงควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรเพื่อหลุดพ้นจากสังขารทั้งปวง) อุเบกขาบาร์ฯ=อุเบกขาบารมี คือ ความเป็นผู้วางเฉยด้วยปัญญา อันหมายถึง วางเฉยที่เป็นกุศลจิต ไม่หวั่นไหว เพราะ มีปัญญา ว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ ตน เป็นต้น (การวางเฉยด้วยความไม่รู้ ไม่ใช่อุเบกขาบารมี) แต่การวางเฉยด้วยจิตที่ไม่เป็นอกุศล ไม่หวั่นไหว ด้วยปัญญา เป็นอุเบกขาบารมี เพราะฉะนั้น ท่านนารทพรหม มีการวางเฉยด้วยปัญญา ที่ไม่หวั่นไหวในการกระทำที่ไม่ดีของพวกที่มีความเห็นผิดทั้งหลายที่ทำให้คนส่วนใหญ่เดือดร้อน เพราะ นารทพรหมโพธิสัตว์ ย่อมเป็นผู้ดูแลสัตว์โลก นึกถึงประโยชน์ความสุขของผู้อื่นเสมอ หากไม่มีปัญญา ก็ย่อมไม่เกิดอุเบกขาบารมี ที่จะวางเฉย แต่เกิดความไม่ชอบ และใช้อำนาจของตน ทำร้ายผู้ที่ทำผิดได้ สัจจะ= คือ ความจริง, ซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจริง ทำจริง ธรรมะ =ธรรม คือ ความดีที่แท้จริง โดยไม่ขึ้นอยู่กับศาสนา แต่เป็นของสากล แบ่งได้ ๒ ได้แก่ (๑)ความดี (บุญ) หมายถึง การทำในสิ่งที่สมควรทำ ซึ่งเป็นผลดีต่อทั้งตนเองและผู้อื่น โดยเกิดจากจิตสำนึกที่ดีของมนุษย์ เช่น ๑.๑.ความดีต่อตนเอง ตั้งใจเรียนหรือตั้งใจทำงาน มีความพากเพียรพยายาม ขยัน อดทนต่อความยากลำบาก มีความรับผิดชอบ และมีวินัย เป็นต้น ๑.๒.ความดีต่อผู้อื่น เช่น ช่วยเหลือผู้อื่น เสียสละให้แก่ผู้อื่น และให้อภัยแก่ผู้อื่น ซึ่งเกิดจากความเมตตาสงสาร อยากให้ผู้อื่นมีชีวิตที่ดีขึ้น และกระทำด้วยความจริงใจ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน (๒)ความชั่ว (บาป) หมายถึง การทำในสิ่งที่ไม่สมควรทำ หรือการเพิกเฉยไม่ทำในสิ่งที่สมควรทำ ความบาปเกิดจากกิเลสตัณหาที่อยู่ในใจ ได้แก่ โลภ โกรธ หลง ในลาภ ยศ สรรเสริญ ทำให้ตนเองเห็นแก่ตัวฝ่ายเดียว โดยไม่นึกถึงผู้อื่นหรือส่วนรวม ซึ่งนำไปสู่การเอาเปรียบผู้อื่นหรือทำร้ายผู้อื่น แยกเป็น ๒.๑.บาปต่อตนเอง เป็นการทำร้ายตนเอง เช่น ไม่ตั้งใจเรียน ชอบเที่ยวเสเพล เล่นการพนัน เสพยาเสพติด (รวมถึงเหล้า บุหรี่) เป็นต้น ๒.๒.บาปต่อผู้อื่น เช่น การเอาเปรียบผู้อื่น ทำร้ายผู้อื่น และไม่ให้อภัยแก่ผู้อื่น (ทำให้เกิดความอาฆาตพยาบาท) รวมทั้งไม่ช่วยเหลือผู้อื่นหรือเสียสละให้แก่ผู้อื่น (แล้งน้ำใจ) โดยที่ตนเองสามารถกระทำได้โดยไม่ยากลำบากนัก ทมะ= คือ การฝึกฝน, การข่มใจ ฝึกนิสัย ปรับตัว, รู้จักควบคุมจิตใจ ฝึกหัดดัดนิสัย แก้ไขข้อบกพร่อง ปรับปรุงตนให้เจริญก้าวหน้าด้วยสติปัญญา จาคะ =คือ ความเสียสละ, สละกิเลส สละความสุขสบายและผลประโยชน์ส่วนตนได้ ใจกว้าง พร้อมที่จะรับฟังความทุกข์ ความคิดเห็น และความต้องการของผู้อื่น พร้อมที่จะร่วมมือ ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
 ทศชาติชาดก : ๙.วิธุรชาดก ร่ายดั้น ๑.ในเมือง"อินทปัตต์" ชัด"แคว้นกุรุ" "ธนัญชัย"ราชา ปกเมืองหนามีปราชญ์ ฉลาด"วิธุระ" จะกล่าวถ้อยอะไร ผู้อื่นไวเลื่อมใส ใจชื่นชมศรัทธา ครานั้นมีพราหมณ์สี่ เพื่อนที่สนิทกัน ออกบวชพลัน ณ ป่าหิม์พานต์บางครา ฤษีหนาเข้าเมือง เนืองเนืองสอนธรรมชน จนมีเศรษฐีสี่ ปรี่เชิญฤษีเยือน บ้านเตือนรับอาหาร ฤษีพานเล่าเรื่อง ทรัพย์กระเดื่องหลายเมือง แรกทรัพย์เรืองพระอินทร์ องค์สองยินสมบัติ ชัดพญานาคเอย เผยองค์สามได้เล่า เรื่องเก่าพญาครุฑ องค์ท้ายรุดทรัพย์ไว ธนัญชัยราชา เศรษฐีหนาอยากได้ สมบัติไซร้เช่นกัน ครันฤษีสี่ทำทาน ศีลมุ่ง ผดุง ขอเกิดมีพร้อมแล้ ทรัพย์หลาย ๒.ทั้งสี่ตายไปแล้ว อำนาจแผ้วแห่งทาน ศีล,บุญพานไปเกิด คนหนึ่งเพริศ"สักกะฯ" สอง"วรุณ"พญานาค สามเกิดกรากพญาครุฑ สี่เป็นบุตรธนัญชัย ราชาไวสวรรคต ได้จดราชสมบัติ เมืองอินท์ปัตต์ต่อมา ทั้งสี่หนามิพลาด ยาตรศีลอุโบสถ จรดทานเนืองนิตย์ คราหนึ่งจิตประหวัด เผอิญชัดพบกัน ครันสระโบกขรณี มีไมตรีพากัน ถกเถียงยันศีลใคร ประเสริฐไกลที่สุด สักกะฯรุดทรงละ สมบัติ ณ ดาวดึงส์ บำเพ็ญตรึงโลกมนุษย์ บริสุทธิ์กว่าใคร วรุณไวพญานาค กล่าวถากครุฑศัตรู แต่ตนกรูเจอครุฑ มิขุดเคืองข่มไว้ นาคไซร้มีศีลสุด ครุฑกล่าวโต้แย้งนาค อาหารปากของครุฑ แต่ยุดอดกลั้นได้ ศีลไซร้ของครุฑเหนือ ราชาเขือกล่าวเยี่ยม เพราะเรี่ยมละทิ้งวัง สราญจังนารี ศีลดีประเสริฐสุด ทั้งสี่รุดถกเถียง มิเกรียงซึ่งคำตอบ นอบสู่วิธุระ โปรดตัดสินให้ด้วย สู่ผล ๓.ทั้งสี่คนเล่าเรื่อง เขื่องแก่วิธุระ ปะคุณธรรมสี่ เพริศคลี่เชิดชูหนุน เจือจุนกันและกัน ครันมิมีธรรมใด เลิศไกลหรือด้อยเลย เผยผู้ใดมั่นธรรม ทำล้ำสันติยิ่ง สี่คนดิ่งชื่นชม ปัญญาสมวิธุฯ กุแก้ปัญหายอด ตลอดเหตุผลเอย เผยผองสี่บูชา สูงค่า วิธุระ ปราดเปรื่องแลพร้อมช้อย ช่วยชน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
(ต่อหน้า ๒/๔) ๙.วิธุรชาดก
๔.จนวรุณพญานาค กลับจากเมืองมนุษย์ ความผุดแก้วมณี มเหสีทูลถาม มันผลามหายไปไหน วรุณไวตอบให้ ไซร้วิธุระฐาน ปัญญากรานเฉียบแหลม วาจาแซมไพเราะ ตอบธรรมเหมาะยินดี มิใช่มีแต่เรา ให้แก้วเขาแม้แต่ แน่,สักกะ,พญาครุฑ เร็วรุดราชามอบ ของตอบแทนบูชา "วิมลา"มเหสี อยากลีฟังธรรมมาก จัดฉากเป็นไข้เลย เผยนาควรุณมาเยี่ยม หากให้เรี่ยมหายโรค นางโศกทูลอยากหาย ต้องกรายเอาหัวใจ วิทุฯไวมาให้ วรุณไซร้ตกใจ วิทุฯไขผู้คน สกลรักใคร่ยิ่ง จะวิ่งเอาหัวใจ ไม่มีใครสามารถ พระนางยาตรอาการ หนักแกร่ง เทียบหนัก พญานาคมิรู้แท้ อย่างใด
๕.ไย"อริทันตี" ขจีธิดานาค อยากช่วยเหตุวิตก รกใจบิดาครัน พลันทราบแล้วทูลว่า จะจ่าช่วยมารดา นางหนาป่าวประกาศ ฉกาจ"คนธรรพ์,ครุฑ" มนุษย์,นาค,กินนร" หากจรเอาหัวใจ บัณฑิตไววิทุระ นางจะยอมแต่งงาน "ปุณณ์ยักษ์ฯ"หลาน"เวสุวัณ" พลันผ่านมาเห็นนาง พลางนึกรักประสงค์ อยากได้ยงชายา ขอทราบหนาวิธุระ คือใครจะพบไหน ปุณณ์ยักษ์ฯไขราชครู ชูกษัตริย์ธนัญชัย ยากไกลจะได้ตัว รัววางแผนท้าพนัน ยันเล่นสกากับกษัตริย์ เดิมพันชัดวิธุระ คาดว่าชัยได้แล้ แน่นอน
๖.ปุณณ์ยักษ์ฯจรอินท์ปัตต์ จัดท้าพนันไว ธนัญชัยชนะ จะถวายแก้วมณี ทวีเหมาะจักพรรดิ์ และคัดม้าวิเศษ มีเดชแก่ราชา กษัตริย์หนาตกลง ถ้าทรงแพ้จะให้ ใดไซร้แก่ข้าเล่า จงเคร่าเว้น"ตัวเรา" "เมือง"เพรา,มเหสี" อยากมีใดยอมให้ ปุณณ์ฯชอบไซร้คำตอบ นอบเล่นสกาพลัน ครันราชาทอดแพ้ ปุณณ์ยักษ์ฯแท้ทรัพย์เบา จะเอาแค่วิธุระ พระราชาตกใจ ไขวิธุระเปรียบเรา จะเพราให้วิธุระ ปะตัดสินดีกว่า ปุณณ์ยักษ์ฯฝ่าสอบถาม ผลามวิธุระว่า ท่านง่าเป็นทาสกษัตริย์ หรือชัดเสมอราชา หรือสูงกว่าราชา คำตอบหนาเป็นทาส ถ้าทรงยาตรตรัสใช่ วิทุฯไกล่ทำตาม เฉกค่า พนัน รีบเร่งมิช้าคล้อย แน่เผย
๗.ราชาเอยฟังคำ วิธะฯกรำพร่ำยอม ก็ทรงตรอมใจนัก วิธุฯปักเข้ากับ ปุณณ์ยักย์ฯนับมิเคย เชยรู้จักมาก่อน วิทุฯค่อนเรื่องจริง พูดยิงสิ่งเป็นธรรม ไม่หลีกหนำฟังธรรม วาจาชิงไพเราะ เหมาะต้องอิงหลักธรรม ราชาพรำทรงเข้าใจ หทัยโทมนัส ต้องเสียชัดวิธุระ พระราชาขอปุณณ์ฯ วิธุฯจุนแจงธรรม นำครั้งสุดท้ายก่อน วิธุฯร่อนธรรมของ ผู้ครองเรือนสงบ จบแล้วปุณณ์ยักษ์ฯขอ วิธุฯคลอตามไป วิธุฯไวขอเวลา สามวันคราสั่งสอน ให้พรหลักลูกเมีย ข้าพูดเยียเป็นจริง อิงธรรมมิเห็นแก่ ใครแน่นอกจากธรรม ข้าทำคุณแก่ท่าน พูดจริงผ่านราชา ขอท่าน ยินยอม ปุณณ์ฯจุ่งเห็นด้วยช้อย อยู่สอน
๘.ตอนวิธุฯกลับบ้าน กว้านบอกบุตรทราบความ ต้องผลามจากลูกไกล จำรีบไวสอนเตือน อย่าลืมเลือนบางครา กษัตริย์หนาอาจถาม พ่อเคยตามสอนธรรม อะไรนำไว้บ้าง เมื่อเจ้าอ้างธรรมไป พอพระทัยอาจให้ นั่งไซร้เสมอราชอาสน์ อย่าพลาดจงจำหนุน ราชสกุลมิมี ใครตีเสมอได้ จงทูลไซร้ขอนั่ง ฝั่งเหมาะฐานะตน หนนี้วิธุระ ดะแสดงธรรมเที่ยง เยี่ยง"ราชวสดีฯ" มีธรรมข้าราชการ พานเจริญก้าวหน้า หลักหล้ายึดทำงาน การแก้ปัญหาเอย วิธุฯเผยข้ารัฐ ชัดสุขุม,ฉลาด คาดหมายมุ่งทำงาน กิจก่อ รอบคอบ กาลบ่งเหมาะรู้แท้ พฤติใด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
(ต่อหน้า ๓/๔) ๙.วิธุรชาดก ๙.จำไคลคลาวิธุฯ มุไปกับปุณณ์ยักษ์ฯ ประจักษ์ระหว่างทาง พลางปุณณ์ยักษ์คิดว่า น่าเอาแต่หัวใจ ไปจะสะดวกนา พยายามฆ่าวิธุฯ ปรุหลายวิธีแล แฉมิสำเร็จเลย วิธุฯเปรยต้องการ รานฆ่าด้วยเหตุใด ปุณณ์ฯเล่าไกลเรื่องราว คราววิธุระฟัง ขลังด้วยปัญญายิ่ง สิ่งแท้นางวิมลา ต้องการหนาฟังธรรม คำเลื่องลือเท่านั้น ควรดั้นธรรมปุณณ์ยักษ์ฯ มิปักใจหลงผิด คิดทำสิ่งไม่ควร จึงขานแจงธรรมสื่อ ชื่อ"สาธุนรธรรม" นำธรรมของคนดี "มีกตัญญูรู้ กู้พระคุณคนเอย เผย"ไม่คิดทำร้าย ป้ายผู้มีคุณ"ยิ่ง ดิ่ง"ไม่ประทุษมิตร" จิตเป็นอิสระ ฉะ"พ้นอำนาจสตรี" ทวีประพฤติผิด ปุณณยักษ์ฯคิดรู้สึก ทำผิดลึกไปแล้ว มิควรแป้วทำร้าย ป้ายวิธุฯคิดพา กลับหนาอินทปัตต์ จะตัดมิอยากได้ ไซร้นางอริทันตี ทีนี้วิธุฯทราบ ทาบทามให้ปุณณ์ยักษ์ จักพาไปเมืองนาค มิกรากเกรงภัยใด ไขไม่เคยทำชั่ว จึงมิกลัวความตาย จะวายเมื่อใดแล สองมุ่ง เมืองนาค กรายเยี่ยม"วรุณ"เฝ้าพร้อง เร่งหนา ๑๐.คราถึงเมืองนาคแล้ว วิธุฯแกล้วทูลนา พญานาควรุณ มีคุณใดจึงได้ ใกล้สมบัติเช่นนี้ วรุณชี้ชาติก่อน ร่อนเกิดเป็นเศรษฐี มีศีล,ให้ทานพูน วิธุฯทูลได้ทรง ตระหนักตรงผลกรรม ขอทรงทำกรรมดี พีต่อไปแม้ว่า เมืองนาคพร่าจะไร้ ไซร้สมณ์พราหมณ์แล แฉไร้ที่ทำทาน ขอให้พานเมตตา ประทุษหนามิทำ จงกระหน่ำมีโชค เทวโลก เลิศนา ดีกว่าภพนี้แท้ นาคแล ๑๑.แฉพญานาควรุณ ฟังธรรมจุนวาจา ไพเราะนาพอใจ ไวเรียกวิมลา มาพบวิธุระ ปะแล้วนางถามจู่ อยู่ในที่อันตราย ไยมิกรายกริ่งเกรง หรือโศกเองอย่างใด วิธุฯไขมิได้ ทำชั่วไซร้มิกลัว มัวเรื่องความตายใด ข้าไวมีหลักธรรม ปัญญานำจึงมิหวั่น พรั่นกลัวภัยใดเลย เผยสององค์พอใจ ในปัญญา,ธรรมมั่นคง วรุณทรงตรัสว่า ปัญญาค่าคือหัวใจ ใสของบัณฑิตแล แฉหาใช่เลือดเนื้อ แล้วเอื้อยกธิดา แก่ปุณณ์ฯหนาทันที ปุณณ์ฯผู้มีตาสว่าง กระจ่างด้วยธรรมเลิก เพิกหลงหญิงจนทำ ผิดพรำจนเสียหาย ปุณณ์ฯกรายส่งวิธุฯ ถึงเขต อินท์ปัตต์ กระเดื่องเมืองบ้านน้อย เช่นเดิม ๑๒.เสริมวิธุฯคืนถิ่น ปิ่นราชาธนัญชัย ใจโสมนัสยิ่ง วิธุฯดิ่งทูลเล่า เรื่องเก่าผ่านมาแล้ว แจ้วทูลท้ายคือธรรม นำเป็นสิ่งสูงสุด บุคคลรุดมีธรรม ปัญญานำไม่ต้อง จ้องหวั่นมหาภัย ชัยจะมีต้องใช้ ไซร้คุณธรรม,ปัญญา ของตนมาประกอบ นอบแสดงธรรมยล แก่บุคคลคือแจง แถลงความจริงชัด เป็นสัจจบารมี วลีวิธุระ พระโพธิสัตว์บำเพ็ญ เห็นทำดีด้วย"จริง" อิงทำอย่างทุ่มเท ไม่เฉทำความ"ตรง" มั่นคงมิหนีเลี่ยง เที่ยงทำความ"แท้"แฉ แลสัตย์ซื่อใจชิด จิตมุ่ง กุศล ถึงนิพพานแผ้วพริ้ง แน่เผย ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา ๑)สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๘ ขุททกนิกาย ชาดก ภาคที่ ๒ วิธุรชาดก พระไตรปิฎกสำหรับประชาชนหน้า ๖๑๙ ๒)ข้อคิดปริศนาธรรม: วิธุรชาดก ตอนที่ ๙ บำเพ็ญสัจจบารมี https://www.blockdit.com/posts/วิธุรชาดก=เป็นเรื่องของพระโพธิสัตว์ ขณะเสวยพระชาติเป็น วิธุรบัณฑิต เพียรบำเพ็ญ สัจจบารมี สัจจบารมี=สัจจบารมี หมายถึง ความทุ่มเทชีวิตจิตใจเพื่อการทำความดีในทุกรูปแบบ ด้วยความ “จริง” “ตรง” และ “แท้” ต่อทั้งคำพูดและการกระทำ โดยมีพระนิพพานเป็นเป้าหมายสูงสุด สัจจะ มีคุณลักษณะ ๓ อย่าง ได้แก่ (๑) ความจริง คือ ทำอะไรทำจริง ทำอย่างทุ่มเท จริงจัง ไม่เล่น ไม่เหลาะแหละ (๒) ความตรง คือ ทำอย่างตรงไปตรงมา ไม่คด ไม่บิดพลิ้ว (๓)ความแท้ คือ ทำด้วยเจตนาสุจริต เป็นไปเพื่อกุศลความดีล้วนๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
(ต่อหน้า ๔/๔) ๙.วิธุรชาดก
อินทปัตต์=เมืองอินทปัตต์ แคว้นกุรุ มี พระเจ้าธนัญชัยเป็นราชา วิธุระ,วิธุฯ=วิธุรบัณฑิต เป็นปราชญ์ของ ราชสำนักอินทปัตต์ สักกะ=ท้าวสักกะเทวราช วรุณพญานาค= เจ้าแห่ง พญานาค พระนางวิมลา=มเหสีของ วรุณพญานาค อริทันตี=นางอริทันตี ธิดาของวรุณพญานาค ปุณณ์ยักษ์ฯ,ปุณณ์ฯ=ปุณณกยักษ์ เป็นหลานของท้าวเวสุวัณมหาราช ราชวสดีฯ=ราชวสดีธรรม เป็นคำสอน แยกเป็น ก.คำสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติตนต่อกษัตริย์ (๑)ราชเสวก(ผู้รับใช้)ไม่พึงเดินในทางที่จัดไว้สำหรับพระมหากษัตริย์แม้จะทรงอนุญาต (๒)ราชเสวกไม่พึงบริโภคสมบัติอันน่าใคร่ทัดเทียมกับพระมหากษัตริย์ ราชเสวกควรเดินหลังในทุกสิ่งทุกอย่าง (๓)ราชเสวกไม่ควรใช้สอยประดับประดาเสื้อผ้า มาลา เครื่องลูบไล้ทัดเทียมกับพระมหากษัตริย์ (๔)ราชเสวกไม่พึงประพฤติอากัปกิริยา หรือพูดจาทัดเทียมพระมหากษัตริย์ (๕)ราชเสวกไม่พึงทำการทอดสนิทด้วยพระสนมกำนัลใน ราชเสวกไม่ควรเป็นคนฟุ้งซ่าน ไม่คะนองทั้งกาย วาจา ใจ ให้มีปัญญารักษาตน และสำรวมอินทรีย์ให้สมบูรณ์ (๖)ราชเสวกไม่ควรปราศรัยกับสนมกำนัลในที่ลับ (๗)ราชเสวกไม่ควรถือเอาทรัพย์จากพระคลังหลวง (๘)ราชเสวกไม่พึงขึ้นร่วมพระตั่ง บัลลังก์ อาสน์ เรือ รถ พระที่นั่งด้วยอาการทะนงว่าเป็นคนโปรด (๙)ราชเสวกไม่ควรเข้าเฝ้าในที่ใกล้หรือไกลเกินไป (๑๐)ราชเสวกไม่ควรทำเหมือนกับว่าพระมหากษัตริย์เป็นเพื่อนกันกับเรา (๑๑)ราชเสวกไม่ควรถือตัวว่าเป็นปราชญ์ราชบัณฑิตที่ทรงบูชา ราชเสวกไม่ควรเพ็ดทูลด้วยคำหยาบ (๑๒)ราชเสวกผู้ได้รับพระราชทานพระทวารเป็นพิเศษไม่ควรวางใจในพระมหากษัตริย์ทั้งหลาย (๑๓)ราชเสวกไม่ควรเพ็ดทูลคุณและโทษเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงยกย่อง พระโอรส ราชวงศ์ ด้วยแว่นแคว้น (๑๔)ราชเสวกไม่ควรทัดทานเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงปูนบำเหน็จแก่ข้าทหาร (จตุรงคเสนา) ผู้มีชอบแก่ราชการ (๑๕)ราชเสวกพึงโอนไปประดุจคันธนู และพึงไหวไปตามเหมือนไม้ไผ่ (๑๖)ราชเสวกไม่ควรพูดมากเกินไป ไม่ควรนิ่งทุกเมื่อ ควรเปล่งวาจาพอประมาณ ราชเสวกไม่พึงกระทบกระเทียบ พึงเป็นคนพูดจริง พูดอ่อนหวาน ไม่ส่อเสียด ไม่เพ้อเจ้อ (๑๗) ราชเสวกพึงตามเจ้านาย ราชเสวกพึงเป็นผู้รู้จักพระราชอัธยาศัย และพึงปฏิบัติตามพระราชประสงค์ (๑๘)ราชเสวกพึงประพฤติประโยชน์แก่เจ้านายทั้งต่อหน้าและลับหลัง (๑๙)ราชเสวกพึงก้มศีรษะลงชำระพระบาทในเวลาผลัดพระภูษา สรงสนาน (๒๐)ราชเสวกไม่ควรโกรธตอบแม้ถูกกริ้ว (๒๑) บุรุษผู้หวังความเจริญแก่ตนไม่พึงกระทำอัญชลีในหม้อน้ำ หรือพึงประทักษิณนกแอ่นลม หากแต่ควรนอบน้อมต่อพระมหากษัตริย์ผู้เป็นนักปราชญ์สูงสุด ข.การวางตนในฐานะข้าราชการ มีดังนี้ (๑) ราชเสวก(ผู้รับใช้)ไม่ควรกล้าเกินไป ไม่ควรขลาดเกินไป ควรเป็นผู้ไม่ประมาทในการทุกเมื่อ (๒)ราชเสวกอันพระมหากษัตริย์ตรัสใช้ไม่พึงหวั่นไหวในฉันทาคติ ราชเสวกพึงตั้งใจกระทำราชกิจทุกอย่างให้เสมอต้นเสมอปลายเหมือนตราชูที่บุคคลประคองให้มีคันเที่ยงตรงฉะนั้น (๓)ราชเสวกต้องเป็นคนฉลาดในราชกิจ ไม่หวั่นไหวในการทำราชกิจนั้น ไม่ว่าจะทรงตรัสใช้ในเวลาใดทั้งกลางวันหรือกลางคืนก็ตาม (๔) ราชเสวกไม่พึงเห็นแก่การหลับนอน (๕)ราชเสวกไม่พึงดื่มสุราจนเมามาย (๖)ราชเสวกไม่พึงฆ่าสัตว์ในเขตที่ทรงประกาศให้เป็นเขตอภัยทาน (๗)ราชเสวกพึงเป็นผู้มีท้องน้อยเหมือนคันธนู ราชเสวกพึงเป็นผู้ไม่มีลิ้นเหมือนปลา ราชเสวกพึงเป็นผู้ประมาณในโภชนะ พึงมีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตัวให้แกล้วกล้า (๘)ราชเสวกไม่พึงสัมผัสหญิงนักซึ่งเป็นเหตุให้สิ้นเดช (๙)ราชเสวกพึงเป็นคนไม่มักโกรธ (๑๐)ราชเสวกพึงเลี้ยงดูบิดามารดา พึงประพฤติอ่อนน้อม วาจาอ่อนหวานต่อผู้เจริญในสกุล (๑๑)ราชเสวกพึงเป็นผู้ได้รับแนะนำฝึกฝนศิลปศาสตร์ดีแล้ว ราชเสวกพึงเป็นผู้ทำประโยชน์คงที่ อ่อนโยน ไม่ประมาท สะอาดหมดจด ขยัน (๑๒)ราชเสวกพึงเป็นผู้มีความประพฤติอ่อนน้อม เคารพผู้อาวุโส อยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเป็นสุข (๑๓)ราชเสวกพึงเว้นให้ห่างจากทูตที่ส่งมาด้วยความลับ (๑๔)ราชเสวกพึงดูแลเจ้านายของตน ไม่นำความลับไปพูดในราชสำนักอื่น (๑๕)ราชเสวกพึงคบหาสมาคมกับพราหมณ์ และสมณะ ผู้มีศีลเป็นพหูสูตโดยเคารพ แล้วพึงสมาทานรักษาอุโบสถศีลโดยเคารพ (๑๖)ราชเสวกพึงบำรุงเลี้ยงดูพราหมณ์ และสมณะผู้มีศีลเป็นพหูสูตด้วยข้าวน้ำ (๑๗)ราชเสวกไม่พึงทำทานที่เคยพระราชทานแก่พราหมณ์ และสมณะให้เสื่อมไป (๑๘)ราชเสวกไม่ควรห้ามเมื่อเห็นวณิพกซึ่งมาในเวลาพระราชทาน (๑๙)ราชเสวกพึงเป็นคนขยันไม่ประมาท มีปัญญาพิจารณาในงานที่ตนพึงทำมีปัญญาสมบูรณ์ด้วยความรู้ ฉลาดในวิธีจัดราชกิจ และจัดการให้สำเร็จด้วยดี พึงเป็นผู้รู้กาลเทศะ (๒๐)ราชเสวกพึงตรวจตราลานข้าวสาลี ปศุสัตว์และนาเสมอๆ ราชเสวกพึงตวงข้าวเปลือกให้รู้ประมาณ แล้วเก็บในยุ้งฉาง (๒๑)ราชเสวกพึงนับบริวารในเรือนแล้วให้หุงต้มพอประมาณ (๒๒)ราชเสวกไม่ควรตั้งบุตร ธิดา พี่น้อง วงศ์ญาติผู้ไม่ตั้งในศีลให้เป็นใหญ่ ๒๓) ราชเสวกพึงตั้งทาส หรือกรรมกรผู้ตั้งมั่นในศีลเป็นคนขยันให้เป็นใหญ่ (๒๔)ราชเสวกพึงเป็นผู้มีศีล ไม่โลภมาก สาธุนรธรรม=คือ ธรรมของคนดีมี ๔ ข้อ ดังนี้ (๑)เดินตามทางที่ท่านผู้รู้ได้เดินมาแล้ว หมายถึง การรู้จักคุณของผู้มีพระคุณ (กตัญญู) ถ้าเราทำคุณกับผู้ไม่มีคุณธรรม อาจจะได้ผลน้อย ไม่ได้ผล หรือได้ผลร้าย (๒)ไม่เผามืออันชุ่มเสีย หมายความว่า ไม่ประทุษร้าย ท่านผู้มีคุณ (๓) ไม่ประทุษร้ายมิตร (๔)ไม่ตกอยู่อำนาจของอิสตรี หมายถึง สตรีที่ไม่มีคุณธรรม
(ขอบคุณเจ้าของภาพจาก อินเทอร์เน๊ต)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
 ทศชาติชาดก : ๑๐.เวสสันดรชาดก รการวิปุลลาฉันท์ ๓๒ ๑.เรื่องเจาะเวสสันดรชะดกเทิด กล่าวพระโพธิ์สัตว์เกิดลุ"เวสสันฯ" ครือพระชาติสุดท้ายสิก่อนครัน ตรัสรู้ล้ำเป็นพระพุทธเจ้า ๒.เรื่องพระเวสสันดรจะเรียกปรก ว่ามหาชาดกเพราะทรงเกลา บารมีครบสิบประการเพรา ต่างกะชาดกเก้าเจริญเดี่ยว ๓.เริ่มซิ"เนกขัมฯบวชริบำเพ็ญ เพียร"วิรียาฯ"เด่นขยันเคี่ยว "เมตตะบาร์มี"เอื้อมนุษย์เจียว ตั้ง"อธิษฐานบารมี"เอย ๔."ปัญญะบาร์มี"ยิ่งทวีศรี มั่นกะ"ศีลบาร์มี"มิขาดเลย "ขันติบาร์มี"อดทนทุรนเผย ใจ"อุเบกขา"วางเหมาะกลางแล ๕."สัจจบาร์มี"พูดสิความจริง "บารมีทาน"ยิ่งกุศลแน่ คราพระเวสสันดรเสาะสิบแฉ พร้อมเหมาะ"สัมมาพุทธเจ้าฯเรือง ๖.ย่อประวัติชาดก"พระสญชัย" ราชะครองราชย์ไซร้"สิพี"เมือง มีมเหสี"ผุสดี"เสือง เป็นธิดาจาก"มัททราช"เอย ๗.ชาติอดีตนางเคยตริขอเป็น พุทธมารดาเด่นพระอินทร์เอ่ย ให้สิพรสิบอย่างประเสริฐเผย ปัจจุบันได้เป็นมเหสี ๘.นางพระครรภ์แก่ใกล้ประสูติเรือง ชมตลาดในเมืองลุเจ็บถี่ จึงอุบัติโอรสเจาะแปลปรี่ ชื่อเหมาะ"เวสสันดร"เคาะร้านค้า 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
(ต่อหน้า ๒/๘) ๑๐.เวสสันดรชาดก
๙.วันประสูติมีช้างซิตกลูก เผือกลุเพศผู้ถูกเจาะนามว่า ช้างวะ"ปัจจัยนาค"กุเกิดหนา คู่พระเวสสันดรตะนั้นเอย
๑๐.เมื่อกุมารเติบโตเจริญวัย มีพระทัยฝักใฝ่สิทานเอ่ย ขอซิตั้งโรงทานจรดเผย ทิศะสี่มุมเมืองเจาะอาหาร
๑๑.ใครจะขอสิ่งใดก็ทรงให้ เป็นกุศลคุณไกลประสบซ่าน "ให้"จะอิ่มเอมใจเพราะเจือจาน ตนก็พ้นจากความตระหนี่เหนียว
๑๒."ผู้ซิรับทาน"คลายลิเดือดร้อน หิวกระหายรอดผ่อนสิแน่เชียว การเสาะ"ให้ทาน"เกิดประโยชน์เจียว คุณลุ"ผู้ให้,รับ"มหาศาล
๑๓.เกียรติคุณเวสสันฯระบือไข เมตตะผู้อื่นไกลเกาะสำราญ ให้สบายมีสุขปะพบพาน จึงมิหวงเก็บทรัพย์กะองค์เอง
๑๔.คราว"กลิงค์ราษฎร์"เกิดเจาะฝนแล้ง ปลูกเพาะพืชสำแดงมิได้เปล่ง ชาวประชาอดอยากก็แจ้งเผง ราชะยืมช้างเผือก ณ สีพี
๑๕.ข่าววะปัจจัยนาคพลังก่น สิงสถิตย์ไหนฝนจะตกคลี่ พืชจะปลูกสมบูรณ์ทวีศรี ถ้าตริขอเวสสันฯจะให้ผาง
๑๖.ราชะส่งแปดพราหมณ์ลุสีพี พบพระเวสสันฯขี่ ณ หลังช้าง ทรงประพาสเยื่ยมชาวประชาพลาง พราหมณ์สิขอปัจจัยฯลิทุกข์ผลาญ
๑๗.ทรงประทานให้ตามสิเขาขอ ชนประจักษ์โกรธส่อหทัยราน ต่อนิเมืองเราแน่วซิยากพาน ไร้คชาปัจจัยฯลิพ้นหนี
๑๘.พลเมืองพากันสิเฝ้าทูล ราชะสญชัยพูนซิโทษรี่ ให้เศวตคู่เมืองลิคุณศรี ควรตริไล่เวสสันฯมลนไกล
๑๙.จำกษัตริย์ต้องขับพระเวสสันฯ ไปละห่างเมืองครันสิว่องไว โดยพระเวสสันดรมิขัดใด รอพระองค์ทรงแจกมหาทาน
๒๐."สัตส์ดกทานฯนี้ก็เจ็ดอย่าง อย่างละเจ็ดร้อยพร่างประชาพาน มี"คเชนทร์,ม้า,ทาส,สตรี"ขาน รถกะแม่โคนมและทาสี
๒๑.คราวพระมัทรีทราบพระเวสสันฯ ต้องเสด็จไกลครันริตามรี่ ขอพระมัทรีตามดะเฝ้าปรี่ จิตรตีรับใช้ลุแห่งหน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
(ต่อหน้า ๓/๘) ๑๐.เวสสันดรชาดก
๒๒.เหล่าประยูรญาติห้ามพระมัทรี ป่าสภาพอยู่ชี้เจาะยากล้น ผุสดีมารดาก็ทูลวน ขอละเว้นโทษเอยมิลงทัณฑ์
๒๓.ราชะตรัสบ้านเมืองจะสุขได้ ราษฎรสุขไซร้กษัตริย์นั้น สุขยะยิ่งถ้าเขาเจาะทุกข์ผลัน ราชะนิ่งเฉยอยู่สิอย่างไร
๒๔.พลเมืองกล่าวเวสฯกุบ้านเมือง ยากระคนทุกข์เขื่องก็ต้องไส แม้พระเวสสันดรแหละลูกไง จำตริทำตามกฏมิหวนหนา
๒๕.ราชะกับผุส์ดีก็วอนขอ หลานพระชาลีจ่อและกัณหา แต่พระมัทรีค้านมิยอมนา ชนก็เกลียดพ่อ,บุตรจะอยู่ยาก
๒๖.พลเมืองโกรธแค้นซิแล้วนา แล้วพระลูกสองหนาจะลำบาก ควรจะออกจากเมืองริเร็วกราก เหล่าประยูรญาติก็จึงยอม
๒๗.สี่พระองค์ทรงรถเลาะห่างหลีก ผู้ริขอรถอีกก็ให้จ่อม แล้วริจรด้วยบาท ณ ป่าจอม ทรงกระทำบำเพ็ญสิพรตเผย
๒๘.ทรงเสด็จถึง"มาตลาฯ"คาบ ราชะ"เจต์ราช"ทราบซิรับเอ่ย ถามริ"เขาวงกต"สิทางเอย เจตราชบอกผ่านวนาไข
๒๙.ป่าซิอันต์รายแล้วจะถึงยัง "โบกข์รณี"ร่มยั้งสบายใจ ผลไม้อาหารสิมากใช้ เจตราชสั่ง"เจต์บุตร"ระวังขวาง
๓๐.เจตุบุตรพรานป่าจะดูแล ทางมิให้ใครแน่เสาะต้นทาง เว้นเฉพาะทูตสีพีจะเชิญพลาง คืนนครนอกนั้นมิให้ผ่าน
๓๑.ถึงสระโบกขร์ณีพระราชวงศ์ สี่ก็บวชรี่บ่งเจาะพรตกราน ภาวนาที่นั้นตลอดขาน เจตุบุตรรักษาสิปากทาง
๓๒.เมืองกลิงค์ราษฎร์มีสิพราหมณ์เฒ่า นามซิชูชกเฝ้าทนงพลาง เป็นวนิพกร่ำและรวยผาง คิดริฝากเพื่อนไว้เพราะกลัวหาย
๓๓.คราวจะไปเอาเงินตะเพื่อนชี้ ใช้ปรุหมดแล้วรี่มิคืนง่าย เพื่อนเจาะจงลูกสาวลิหนี้กลาย นาม"อมิตต์ดา"รับเจาะลูก,เมีย
๓๔.นางอมิตต์ดางามแหละชูชก เลี้ยงเลาะเป็นเมียกกและหลงเยีย นางกตัญญูพ่อตริยอมเคลีย ปรนนิบัติสามีและบ้านเรือน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
(ต่อหน้า ๔/๘) ๑๐.เวสสันดรชาดก
๓๕.เสริญอมิตต์ดาทั่วซิพราหมณ์หลาย ต้องติ,ทุบเมียหน่ายเพราะแชเชือน ไม่ริแลเรือนเหมือนอมิตต์เอื้อน พราหมณีเกลียดชังอมิตต์ฯเอย
๓๖.คราอมิตต์ฯตักน้ำเยาะถูกหยัน พราหมณีรุมกันและทักเผย คิดริมีสามีชราเอย หน้าก็น่าเกลียดนักริเลือกไย
๓๗.อายุยังน้อยไยริมีผัว แก่และรังเกียจกลัวจะหาไผ กาลกิณีเดือดร้อนสิทั่วไป ควรละไกลหมู่บ้านจะดีหนา
๓๘.พราหมณีทุบตีอมิตต์ไห้ ต้องละหนีกลับไวและเล่านา นั่นแหละชูชกบอกตนจะทำหา นางอมิตต์ดาดูมิต้องทำ
๓๙.นางอมิตต์ดากล่าวสิเมียไซร้ ปล่อยละผัวรับใช้มิได้พร่ำ ถ้าผิรักเราจริงก็หานำ คนสิมาให้ใช้จะดีเอย
๔๐.คราเจาะชูชกไร้ซิหาทาส นางอมิตต์เปรื่องปราดแนะจรเปรย หาพระเวสสันดร ณ ป่าเอย ขอพระชาลี,น้องซิข้าเรา
๔๑.กลัวเลาะป่าชูชกมิอยากดิ่ง แต่ก็เกรงเมียทิ้งริทำเนา เร่งมุเขาวงกตริลวงเขา เจตุบุตรว่าตนสิทูตบ่ง
๔๒.เชิญพระเวสสันดรสิเร็วรี่ คืนนครสีพีสง่าคง เจตุบุตรหลงเชื่อแนะชี้ตรง ทางลุอาศรมภาวนายล
๔๓.ถึงอะศรมชูชกชลอก่อน ให้พระมัทรีจร ณ ป่าพ้น จึงจะเข้าขอสองกุมารผล ถ้าริเข้าตอนนี้มิได้การ
๔๔.คราพระนางรู้สึกระวนจัด ฝันมิดียักษ์ตัดพระกรฝาน ควักพระเนตรซ้าย,ขวาหทัยราน พิสวงมีเหตุร้ายกุเกิดดล
๔๕.นางละล้าไม่อยากคระไลไกล จากอะศรมจำไปเสาะไม้ผล ทรงเกาะจูงลูกรักกะพ่อยล ช่วยชะแง้แลและเรียกหา
๔๖.นางก็เล่าความฝันซิกลัวยิ่ง ทรงลุหยั่งรู้จริงสิเหตุมา มีซิผู้มาขอพระลูกหนา แต่พระองค์ไม่บอกพระนางตรง
๔๗.ถ้าริบอกตรงแล้วหทัยนาง ต้องทุรนครวญครางมิรับบ่ง ว่าพระองค์ใจมั่นกระทำยง แน่วละทรัพย์,กายนอกและในเผย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
(ต่อหน้า ๕/๘) ๑๐.เวสสันดรชาดก
๔๘.แม้ชิวิตเลือดเนื้อพระองค์แล้ว ใครจะขอให้แคล่วมิหวาดเอย แน่พระองค์รับฝากจะดูเชย นางเสด็จเข้าป่าเสาะอาหาร
๔๙.กาลเหมาะชูชกรุด ณ อาศรม ขู่กุมารสองขรมลุกลัวราน แล้วมุทูลอ้อมค้อมจะขอกราน ตัวพระชาลี,น้องสิทาสหนอ
๕๐.คราพระเวสสันดรรตีมาน ทรงกระทำบุตรทานเพราะหมายจ่อ ตัดกิเลส,เลิกหวงกะทรัพย์คลอ คนซิรักสุดยิ่งก็ให้แฉ
๕๑.แต่พระองค์ ขอผลัดวะลูกยา ควรจะลามารดาสิก่อนแล กักขละชูชกค้านมิรอแล้ว นางจะหวงแหนไม่ยกพระลูกขวัญ
๕๒.ถ้าจะทำทานแล้วพระองค์ควร มอบกุมารให้ด่วนสิทันควัน จำพระเวสสันดรก็ยอมครัน เรียกพระลูกแก้วเอยซิมาหา
๕๓.สองกุมารอยู่ใกล้จะยินความ หลบละหนีผลามลงสระบัวนา ใบกมุทบังหัวมิเห็นหนา เฒ่าประชดไม่เต็มหทัยจริง
๕๔.ทรงเสาะหาบุตรสองชม้ายเห็น บ่งซิรอยเท้าเด่นและชัดยิ่ง ตรัสวะขึ้นมาเถิดซิอย่านิ่ง พราหมณ์จะเย้ยคำพ่อมิมีสัจจ์
๕๕.พ่อมุบำเพ็ญทานกิเลสพ้น เพื่อลุโพธิ์ญาณ,ชนสิพึ่งชัด พ้นซิเวียนตายเกิดลุช่วยปัด ทุกขะของสัตว์โลกลุล่วงเถิด
๕๖.สองกุมารทรงนึกซิหน้าที่ บุตรจะต้องพฤติดีและเชื่อเพริศ ตรึกระลึกความเพียรสิพ่อเกิด วงค์กษัตริย์ไม่ควรประหวัดฝาน
๕๗.จึงเสด็จขึ้นจากสระบัวงาม มอบพระบุตรแก่พราหมณ์สิเป็นทาน เฒ่าก็ฉุดลากสองกุมารซาน เพื่อจะให้ยำเกรงสิต่อไป
๕๘.ครันพระมัทรีกลับสิค่ำพลบ หาพระบุตรไม่พบก็ถามไถ่ กับพระเวสสันฯแต่พระองค์ไซร้ เกรงพระนางไม่ทนกะเศร้าใจ
๕๙.แสร้งติเตียนมัทรีถไลปลื้ม คงจะรื่นรมย์ลืมพะวงใด นางก็เสียใจเล่าเจอะสัตว์ใกล้ รอซิสัตว์ไปก่อนเลาะกลับคืน
๖๐.นางก็ทูลใจซื่อมิคิดแล สุขสบายตนแม้ตะน้อยชื่น บุตรละหายจำต้องเสาะแหล่งอื่น วนปะลูกทั้งสองซิแน่นอน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
(ต่อหน้า ๖/๘) ๑๐.เวสสันดรชาดก
๖๑.คราพระนางเพียรตามสถานใกล้ ไม่พะพานเห็นไผ ณ ทางจร จนสลบสิ้นแรงมิคลายถอน จนพระเวสฯนำน้ำปะพรมหาย
๖๒.แล้วพระเวสฯเล่าได้กุทานหนา แจกพระบุตรจงสาธุบุญฉาย คราพระนางคลายโศกกะบุญกราย บารมีทานยิ่งใหญ่ฉะนี้เอย
๖๓.สักกะเทว์ราชเล็งผิใครมา ขอพระมัทรีอีกนาพระเวชฯเกย ยากจะหาภัตรมาประทังเผย จึงมิได้บำเพ็ญสิเต็มที่
๖๔.สักกะแปลงเป็นพราหมณ์ประสงค์ดัก ขอเพราะอยากปกปักพระมัทรี แลพระเวชฯยินดีและมอบรี่ โดยพระนางเต็มใจประกอบทาน
๖๕.สักกะคืนร่างเดิมริเสริญหนา โมทนาทานบารมีฉาน ของพระเวสสันฯแล้วถวายกราน คืนพระนางมัทรีเผดิมพร่าง
๖๖.ฝ่ายซิชูชกพากุมารสอง ผ่านพนาครรลองตะหลงทาง ถึงนครสีพีเผอิญย่าง ที่ประทับสญชัยและทรงเห็น
๖๗.สองพระนัดดาแล้วระลึกได้ สั่งลุเข้าเฝ้าใกล้เจาะความเป็น เฒ่าริทูลเวสสันฯซิยกเด่น สองกุมารเป็นทาสมุเดินรุด
๖๘.เหล่าอมาตย์,ชนล้วนสิสงสาร แลติเวสสันฯพานมิห่วงบุตร คราพระชาลียินติพ่อสุด ทรงกุกล่าวเวสสันฯผนวชเอย
๖๙.ทรงมิมีสมบัติอะไรชัด ตั้งหทัยมั่นตัดกิเลสเอ่ย ไม่ตริหวงแหนโภคทรัพย์เลย ผู้สิเป็นที่รักก็ละได้
๗๐.มีพระทัยมั่นในพระโพธิ์ญาณ เป็นประโยชน์ก่อขานกะชนไกล โลภะ,โกรธ,รัก,ชังกิเลสไว นั้นจะขวางกั้นทางลุโพธิ์ญาณ
๗๑.ด้วยบิดามั่นตัดกิเลสอยู่ การติเตียนองค์พรูมิควรกราน องค์กษัตริย์ฟังแล้วรตีขาน เรียกพระชาลีมาใกล้ตะหามา
๗๒.คราพระชาลีตรัสซิทาสตรอง ราชะขอไถ่สองกุมารนา ตรัสบิดาตีค่าพระองค์หนา ครือเจาะพันตำลึงเพราะเป็นชาย
๗๓.แต่พระกัณหาเป็นสตรีเทิด ตรงเหมาะค่าตัวเลิศขยายปราย จากพระชาลีครือเจาะสิ่งผาย อย่างละร้อย"ช้าง,ม้าเสาะโคผู้"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
(ต่อหน้า ๗/๘) ๑๐.เวสสันดรชาดก ๗๔.มีซิ"แม่โคนม,กะทาสี" "ทาสและรถ"รวมรี่สกลพรู สัตตะสิ่งค่าตัวซิมากหรู ราชะไถ่ตัวหลานระเร็วพลัน ๗๕.ราชะโปรดชูชกซิอาหาร รสอร่อยไม่พานเจอะเลยฝัน เสพดะล้นเกินจึงแหวะออกครัน ชีพมลายถึงตายสิต่อมา ๗๖.ราชะโปรดหาผู้สิทายาท ได้เสาะแล้วคงพลาดมิมีนา เหล่าประชาคิดเวสฯประกอบหนา บารมีทานยิ่งมหันต์เอย ๗๗.เพื่อประโยชน์ชนแท้มิใช่องค์ ทูลเสนอรับตรงสนิทเชย ทั้งพระเวสฯ,มัทรีซิหวนเกย ตรัสกระบวนรถเชิญเสด็จแน่ว ๗๘.ถึงอะศรมหกองค์รตียิ่ง ราชะตรัสชนดิ่งตริได้แล้ว องค์พระเวสฯ,มัทรีริยอมแจว ถึงนครสญชัยละครองราชย์ ๗๙.โปรดพระเวสสันฯครอง ณ สีพี ทรงริกอปรทานรี่มิทรงพลาด มีเสมอทุกวันประชาดาษ เมืองสิใกล้รับเมตตะเหมือนกัน ๘๐.ชน ณ สีพี,ใกล้เคียงก็ร่มเย็น ต่างตริเอื้อบำเพ็ญพระธรรมดั้น โลภะไม่มีอยากหทัยกลั่น จิตก็ผ่องใสสุขยะยืนนาน ๘๑.ด้วยพระเวสฯตั้งมั่นเสาะแจกทรัพย์ ความ"ตระหนี่,โลภ"ขับจะถูกราน ผู้สิ"รับ"ทานได้ประโยชน์กราน โสมนัสยิ่งกับทานซิแน่ไว ๘๒.ผู้ตริ"ให้"เอมใจเพราะได้ช่วย ยังประโยชน์เขาด้วยเจาะสุขไข "ผู้ริให้,ผู้รับ"ก็ปลื้มใจ ปีติเกิดดื่มด่ำเพราะยินดี ๘๓.บารมีบำเพ็ญสิ"ทาน"ครัน สอนกระทำดีมั่นมิท้อหนี เพียรประกอบทานจาคะเร็วรี่ ชื่อก็เสริญเยินยอยะยืนนาน ๘๔.โพธิสัตว์เวสสันฯกระทำครบ บารมีสิบจบก็เสร็จงาน ชาติสิสุดท้ายก่อนประสูติ์กาล เป็นพระโคดมพุทธเจ้าหนา ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา ๑)สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๘ ขุททกนิกาย ชาดก ภาคที่ ๒ เวสสันดรชาดก พระไตรปิฎกสำหรับประชาชนหน้า ๖๑๙ ๒)ข้อคิดปริศนาธรรม: เวสสันดรชาดก ตอนที่ ๑๐ บำเพ็ญทานบารมี https://www.blockdit.com/posts/
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ทศชาติชาดก : ๑.เตมียชาดก ~กาพย์มหาตรังคนที
(ต่อหน้า ๘/๘) ๑๐.เวสสันดรชาดก
เวสสันฯ,เวสฯ=พระเวสสันดร เป็นผู้เสวยชาติเป็นพระโพธิสัตว์ ชาติสุดท้ายก่อนจะประสูติ เพื่อบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า เวสสันดรชาดก=หรือเรียก มหาเวชสันดรชาดก เป็นชาดกที่มีความสำคัญมากกว่าชาดกอื่น ๆ เพราะพระบารมีของพระโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญบริบูรณ์ในพระชาตินี้ ๑๐ บารมี คือ (๑)ทานบารมี =ทรงบริจาคทรัพย์สิน ช้าง ม้า ราชรถ พระกุมารทั้งสองและพระมเหสี (๒)ศีลบารมี = ทรงรักษาศีลอย่างเคร่งครัดระหว่างทรงผนวชอยู่ ณ เขาวงกต (๓)เนกขัมมบารมี = ทรงครองเพศบรรพชิตตลอดเวลาที่ประทับ ณ เขาวงกต (๔)ปัญญาบารมี = ทรงบำเพ็ญภาวนามัยปัญญาตลอดเวลาที่ทรงผนวช (๕)วิริยาบารมี = ทรงปฏิบัติมิได้ย่อหย่อน (๖)สัจจบารมี = ทรงลั่นพระวาจายกกุมารให้ชูชก เมื่อพระกุมารหลบหนีก็ทรงติดตามให้ (๗)ขันติบารมี = ทรงอดทนต่อความยากลำบากต่าง ๆ ขณะที่เดินทางมายังเขาวงกต และตลอดเวลาที่ประทับ ณ ที่นั่น แม้แต่ตอนที่ทอดพระเนตรเห็นชูชกเฆี่ยนตีพระกุมารอย่างทารุณพระองค์ก็ทรงข่มพระทัยไว้ได้ (๘)เมตตาบารมี = เมื่อพราหมณ์เมืองกลิงคราษฎร์ มาทูลขอช้างปัจจัยนาค เนื่องจากเมืองกลิงคราษฎร์ฝนแล้ง ก็ทรงพระเมตตตาประทานให้ และเมื่อชูชกมาทูลขอสองกุมาร อ้างว่าตนได้รับความลำบากต่าง ๆ พระองค์ก็มีเมตตาประทานให้ด้วย (๙)อุเบกขาบารมี = เมื่อทรงเห็นสองกุมารถูกชูชกเฆี่ยนตี วิงวอนให้พระองค์ช่วยเหลือ ทรงบำเพ็ญอุเบกขา คือทรงวางเฉย เพราะทรงเห็นว่าได้ประทานเป็นสิทธิ์ขาดแก่ชูชกไปแล้ว (๑๐)อธิษฐานบารมี = คือทรงตั้งมั่นที่จะบำเพ็ญบารมีเพื่อให้สำเร็จโพธิญาณาเบื้องหน้าก็มิได้ทรงย่อท้อ จนพระอินทร์ต้องประทานความช่วยเหลือต่างๆ เพราะพระทัยอันแน่วแน่ของพระองค์ วิรียาฯ=วิริยบารมี เมตตะบาร์มี=เมตตาบารมี ปัญญะบาร์มี=ปัญญาบารมี ขันติบาร์ฯ=ขันติบารมี อุเยกขา=อุเบกขาบารมี สัจจบาร์มี=สัจจบารมี สัมมาพุทธเจ้าฯ=พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สิพี=เมืองสีพี พระสญชัย=พระเจ้าสญชัย ครองกรุงสีพี พระราชบิดาของพระเวสสันดร ผุสดี=พระนางผุสดี มเหสีของพระเจ้าสญชัย คำอธิษฐานของพระนางผุสดี= พระอินทร์ประทานพร ๑๐ ประการแก่พระนาง ก่อนที่จะจุติลงมาเป็นพระราชมารดาของพระเวสสันดร (แต่ปางก่อนนั้นผุสดีเทวีเสวยชาติเป็นอัครมเหสีของพระอินทร์ เมื่อจะสิ้นพระชนมายุ จึงขอพรจากพระอินทร์ได้ และยังเคยโปรยผงจันทร์แดง ถวายพระวปัสิสีพุทธเจ้าและอธิษฐานให้ได้เกิดเป็นมารดาพระพุทธเจ้าด้วย พร ๑๐ ประการ คือ (๑)ขอให้เกิดในกรุงมัททราช แคว้นสีพี (๒)ขอให้มีดวงเนตรคมงามและดำขลับดั่งลูกเนื้อทราย (๓)ขอให้คิ้วคมขำดั่งสร้อยคอนกยูง (๔)ขอให้ได้นาม "ผุสดี" ดังภพเดิม (๕)ขอให้มีพระโอรสเกริกเกียรติที่สุดในชมพูทวีป (๖)ขอให้พระครรภ์งาม ไม่ป่องนูนดั่งสตรีสามัญ (๗)ขอให้พระถันเปล่งปลั่งงดงามไม่ยานคล้อยลง (๘)ขอให้เส้นพระเกศาดำขลับตลอดชาติ (๙)ขอให้ผิวพรรณละเอียดบริสุทธิ์ดุจทองคำธรรมชาติ (๑๐)ขอให้ได้ปลดปล่อยนักโทษที่ต้องอาญาประหารได้ พระนางมัทรี=พระชายา ของพระเวสสันดร ทรงมีโอรส คือ พระชาลี พระธิดา คือ พระกัณหา ปัจจัยนาค=ช้างเผือกคู่บุญบารมีของพระเวสสันดร เกิดในวันเดียวกันกับพระเวสสันดร กลิงค์ราษฎร์=เมืองกลิงคราษฎร์ สัตส์ดกทาน=สัตสดกทาน การบริจาคทาน ๗ สิ่งๆละ ๗๐๐ ก่อนที่พระเวสสันดรจะเสด็จไปบวช ได้พระราชทาน ช้าง ๗๐๐ เชือก, ม้า ๗๐๐ ตัว, รถม้า ๗๐๐ คัน, สตรี ๗๐๐ คน, แม่โคนม ๗๐๐ ตัว, ทาสชาย ๗๐๐ คน, ทาสหญิง ๗๐๐ คน มาตลาฯ=มาตลนคร เจต์ราช=กษัตริย์เจตราช เจตุบุตร=พรานป่าเจตุบุตร สระโบกขร์ณี=สระโบกขรณี คือ สระบัว เขาวงกต=ชื่อภูเขาลูกหนึ่งในเรื่องมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งมีทางเข้าออกวกวนอาจทำให้หลงทางได้ ชูชก=พราหมณ์เฒ่า หาเลี้ยงชีพด้วยการขอทาน อมิตต์,อมิตต์ดา=นางอมิตตดา ภรรยาชูชก ท้าวสักกะเทวราช=ศาสนาพราหมณ์ เรียก พระอินทร์ ค่าไถ่ตัวพระชาลี,พระกัณหา=พระเวสสันดรกำหนดค่าตัวสองกุมารไว้ดังนี้ (๑)พระชาลี มีค่าตัว ๑,๐๐๐ ตำลึงทอง (๒)พระกัณหา มีค่าตัวสูงกว่า(เนื่องจากเป็นหญิง) คือ ๑,๐๐๐ ตำลึงทอง โคผู้ ๑๐๐ โคนม ๑๐๐ ช้าง ๑๐๐ ม้า ๑๐๐ ทาสชาย ๑๐๐ ทาสหญิง ๑๐๐ รถ ๑๐๐
(ขอขอบคุณภาพจาก อินเทอร์เน๊ต)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|