กลบทหงส์คาบพวงแก้ว จาก "กลบทศิริวิบุลกิตติ์" โดยหลวงศรีปรีชา (เซ่ง)
๐ จักกลับ
กล่าว กล่าวถึง
มิ่ง มิ่งเมียขวัญ
นับแต่
วัน วันแสน
โศก โศกเศร้าศรี
ไม่วาย
ทุกข์ ทุกข์ถึง
จอม จอมโมลี
แสนสุด
ที่ ที่ทุกข์
ถึง ถึงภัสดา
อยู่ในไพรไพรระหงแดนแดนดงหลวง
ให้เปลี่ยวทรวงทรวงนางร่ำร่ำไห้หา
จนเนิ่นนานนานเลื่อนนับนับเดือนมา
อยู่ในป่าป่าไพรสัณฑ์สันโดษเดี่ยว
จนพระครรภ์ครรภ์นั้นถึงถึงทศมาส
ประสูติราชราชบุตรงามงามสุดเฉลียว
เป็นยามดึกดึกสงัดจัดจริงเจียว
พระองค์เดียวเดี่ยวเอกากายานาง
เจ้าตักต้มต้มน้ำใส่ใส่ก้อนเส้า
ให้คลอเคล่าเคล่าเนตรนองนองหมองหมาง
แลเหนบุตรบุตรงามพักต์พักต์สำอาง
แจ่มกระจ่างกระจ่างจดจดจับใจ
พระกายงามงามดั่งทองทองทั้งแท่ง
ดูสดแสงแสงสุกศรีศรีสุกใส
แลเลิศลอยลอยล้ำแลแลวิไล
พักตร์ประไพประไพพิศเพียงเพียงพักตร์พรหม
เนตรดั่งนิลนิลเนตรเนื้อเนื้อแน่งน้อย
ขนงช้อยช้อยชูเชิดเชิดช่างสม
ดั่งศรสังสังหารรานรานซาบซม
พระศอกกลมกลมดั่งกลึงกลึงเกลากล่อม
พระโอษฐ์อิ่มอิ่มโอษฐ์โอษฐ์อ้าแดง
ดั่งชาดแจ้งแจ้งงามจิ้มจิ้มจิตรถนอม
พระปรางเปรียบเปรียบปรางวัชวัชรินทร์จอม
พระกรรณน้อมน้อมนวลเปรียบเปรียบบุปผาราย
พระทรงงามงามงวงคชเชนทร์รัตน์
นิ้วพระหัตถ์หัตถ์ดังเทียนเทียนทองฉาย
เฉกเฉิดโฉมโฉมงามทรงทรางนาราย
พระเพลาหมายหมายเหมือนลำลำกัทลี
นาสิกดุจดุจขอแก้วแก้ววิเชียร
ที่เสถียรเสถียรทรงองค์องค์โกสีย์
สำหรับไอยไอยรารัตน์รัตน์นาคี
พระทรงศรีศรีดังดวงดวงทินกร
พระชงฆ์ช้อยช้อยเช่นชงฆ์ชงฆ์สุชัม
บดีล้ำล้ำเลิศลักษณ์ลักขณาสร
พระนางทอดทอดเนตรบุตรบุตรบวร
แนบให้นอนนอนอุ่นอกอกอุ่นองค์
จูบปรางจอมปรางเจ้าเจ้าปรางค์จันทร์
จิตรไหวหวั่นหวั่นใจหวิดหวิดพิศวง
นวลถนอมน้อมจำเนียรเนียรจำนง
แอบอุ่นองค์องค์อุระระอุรัน
เนตรนางย้อยย้อยคลอเคล้าเคล้าคลุ่มคลั่ง
นุชกลสั่งสั่งกันแสงแสงเสียวศัลย์
โอ้เจ้าแม่แม่นี้จากจากปรางจันทร์
ใจแม่หวั่นหวั่นถึงวังวังเวงครวญ
ว่าแม้นมิ่งมิ่งดวงแก้วแก้วแม่คลอด
แต่ก่อนยอดยอดยศศักดิ์ศักดิ์แสนส่วน
หมู่แม่นมนมแม่นางนางนิ่มนวล
พี่เลี้ยงล้วนล้วนล้ำเลิศเลิศลอยทรง
จักขับกล่อมกล่อมกล่าวกลอนกลอนเกลี้ยงกล่าว
จักมีท้าวท้าวนางน้อมน้อมประสงค์
มหาดเล็กเล็กติดตามตามติดองค์
ล้วนราชพงษ์พงษ์เผ่าพันธุ์พันธ์ผู้ดี
โอ้ตกอับอับแล้วอกอกกูเอ๋ย
เจ้าจงเชยเชยแต่ชัฏชัฏไพรศรี
เอาอาศรมสมมุติปรางค์ปรางค์รูจี
เอากินรีรี่เริงร่อนร่อนร่ารำ
ต่างนางขับขับชะอ้อนอ่อนเอียงองค์
เอาเหมหงส์หงส์ต่างนางนางนวลขำ
แทนพี่เลี้ยงเลี้ยงประโลมโลมใจจำ
วิไลล้ำล้ำเลิศองค์องค์องค์เอวอ่อน ฯ
๑-----------------------๑
กลบทหงส์คาบพวงแก้ว ปรากฏอยู่ในการประพันธ์ลำดับที่ ๓๑ ของตำราศิริวิบุลกิตติ์
พิจารณาโดยรวมเห็นว่า มีการวางเขียนเป็นกลอนเก้า โดยแบ่งช่วงจังหวะ (๓-๓-๓)
..- ให้มีการซ้ำคำโดยซ้ำคำหรือซ้ำเสียงอยู่ ๒ คู่ภายในวรรคเดียวกัน โดย
คู่แรกอยู่ระหว่าง "คำท้ายของช่วงแรก" กับ "คำแรกของช่วงกลาง" (คำที่ ๓ กับ ๔)
คู่ที่สองอยู่ระหว่าง "คำท้ายของช่วงกลาง" กับ "คำแรกของช่วงท้าย" (คำที่ ๖ กับ ๗)
** ความคิดเห็นส่วนตัว : ถ้าเราเขียนเป็นกลอนชนิดอื่น แต่ว่ายังคงหลักสำคัญของข้อบังคับการซ้ำคำสองจุดเอาไว้ เช่น กลอนแปด แล้วซ้ำคำที่ ๓-๔ และ ซ้ำคำที่ ๕-๖ (๑๒
ก..
กข..
ข๗๘ ) ก็ได้เช่นกัน
** กลบทนี้มีที่มาปรากฏทั้งใน "กลบทศิริวิบุลกิตติ์" และ "จารึกวัดพระเชตุพนฯ"
ผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ครับผม
...-๐ Black Sword (หมู มยุรธุชบูรพา) ๐-...

•
กลับสู่หน้าห้องเรียน กลอนกลบท คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน โคลงกลบท คลิก •
กระโดดสู่ห้องศึกษา ภาพโคลงกลบท คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน กาพย์ คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน กลอน คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน โคลง คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน ฉันท์ คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน ร่าย คลิก