กลบทวิกิลิตสทิสา จาก "กลบทศิริวิบุลกิตติ์" โดยหลวงศรีปรีชา (เซ่ง)
๐
บ้างจับเจ่าเหงาจ๋อยพลอยสงสาร
อุระรุ่มกลุ้มรานระโหยหวย
ทวีเ
ทวศเนตรย้อยระทอยทวย
ระงุงวยจับเจ่าเหงาเงื่องงง
ทั้งเทวฤทธิ์รุกข์รัตนพิมานไม้
พลอยโหยละห้อยไห้กันแสงสง
สารโศกทวีเทวศถ้วนทุกองค์
ทุกทั่วเทพต่างทรงโศกาวรณ์
พิริร่ำรำพันกระศัลย์เศร้า
อุราระทมกรมร้าวสะท้อนถอน
ปะทะดวงทรวงแดเข้ารอนรอน
คลุ้มคลั่งยุคลคลอนพักตร์พิมล
ทั้งเทวฤทธิ์สถิตห้องเวหาเหิน
พลอยเกรียมเกริ่นสุรศัพท์โหยหน
หวนไห้สายเนตรนองสุชล
รทโทมนัสสกลระกำกาย
สุโวสุวาพกาพโกร่อน
ก็จะจรลืมกวักใจหักหาย
เงื่องเงียบสงัดเสียงไม่เปรียงปราย
โผผายพะวักพะวนภิรนรวน
เสือสิงห์กระทิงก็เที่ยวเคยเลี้ยวลัด
เงียบดงงงสงัดไม้เหิดหวน
อิแกะก้องที่เคยร้องคะนองรวน
ก็เงื่องก็งวนเจ่าจ๋อยไม่เจิงเริง
ทวิบาทจตุบาทเคยผาดโผน
ไม่ไต่มิโจนไม่อาจมิเอิงเถิง
ฝูงสัตว์เคยคะนองละบองละเบิง
ช่างเรียงเริงสงัดเสียงไม่เกรียงไกร ฯ
๑-----------------------๑
กลบทวิกิลิตสทิสา ปรากฏอยู่ในการประพันธ์ลำดับที่ ๘๕ ของตำรากลบทศิริวิบุลกิตติ์
พิจารณาโดยรวมเห็นว่า มีเพิ่มจากกลอนทั่วไป คือ
๑.) ให้ ๓ คำแรกของ วรรค ๑ ใช้ ม คณะ (
ครุ-
ครุ-
ครุ) นำหน้า
๒.) ให้ ๓ คำแรกของ วรรค ๒ ใช้ ส คณะ (
ลหุ-
ลหุ-
ครุ) นำหน้า
๓.) ให้ ๓ คำแรกของ วรรค ๓ ใช้ ช คณะ (
ลหุ-
ครุ-
ลหุ) นำหน้า
๔.) ให้ ๓ คำแรกของ วรรค ๔ ใช้ ส คณะ (
ลหุ-
ลหุ-
ครุ) นำหน้า
๕.) ให้ ๓ คำแรกของ วรรค ๕ ใช้ ต คณะ (
ครุ-
ครุ-
ลหุ) นำหน้า
๖.) ให้ ๓ คำแรกของ วรรค ๖ ใช้ ต คณะ (
ครุ-
ครุ-
ลหุ) นำหน้า
๗.) คำแรกของ วรรคที่ ๗ ให้ใช้
ครุ นำหน้าวรรค
,จากนั้นวรรคต่อไป ก็ให้วนกลับมาใช้ข้อกำหนดที่ ๑ ไล่ต่อไปเรื่อย ๆ จนจนสำนวนกลอนนั้น
เมื่อนำข้อกำหนดทั้ง ๗ วรรคมารวมกันแล้ว ก็จะได้เป็นฉันทลักษณ์ของ "สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙" นั่นเอง
---------------------------------------------------------------------
[ เกร็ด ] : สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙ = (
ครุ-
ครุ-
ครุ-
ลหุ-
ลหุ-
ครุ-
ลหุ-
ครุ-
ลหุ-
ลหุ-
ลหุ-
ครุ....
ครุ-
ครุ-
ลหุ-
ครุ-
ครุ....
ลหุ-
ครุ)
ม คณะ มาจาก มารุต หมายถึง ลม ประกอบด้วย ครู ๓ เสียงเรียงกัน
ครุ-ครุ-ครุ ส คณะ มาจาก โสม หมายถึง พระจันทร์ ประกอบด้วย
ลหุ ลหุ ครุ ช คณะ มาจาก ชลน หมายถึง ไฟ ประกอบด้วย
ลหุ ครุ ลหุ ต คณะ มาจาก โตย หมายถึง น้ำ ประกอบด้วย
ครุ ครุ ลหุ ** กลบทนี้มีที่มาปรากฏในตำรา
"กลบทศิริวิบุลกิตติ์" ไม่มีปรากฏในกลบท "จารึกวัดพระเชตุพนฯ"
-๐ กลบทที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ๐- • กลบท อินทาธิกร คลิก
• กลบท บวรโตฎก คลิก
• กลบท วสันตดิลกวาที คลิก
• กลบท มาลินีโสภิต คลิก ผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ครับผม
...-๐ Black Sword (หมู มยุรธุชบูรพา) ๐-...

•
กลับสู่หน้าห้องเรียน กลอนกลบท คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน โคลงกลบท คลิก •
กระโดดสู่ห้องศึกษา ภาพโคลงกลบท คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน กาพย์ คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน กลอน คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน โคลง คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน ฉันท์ คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน ร่าย คลิก 