กาพย์ มหานันททายีฟังชื่อก็รู้แล้วว่า "ให้ความบันเทิงใหญ่" แสดงว่า กาพย์นี้ ต้องมีความไพเราะเป็นอย่างมาก
แต่.....ความไพเราะที่ว่านี้ อาจไม่ใช่ลักษณะของคำประพันธ์ เหมือนเราอ่านกลอน ๘ กลอน ๗
ซึ่งเพียงอ่านตามธรรมดาก็มีความไพเราะได้ แต่น่าจะเป็นความไพเราะที่เกิดจากทำนองการขับ(หรือเปล่า)
ซึ่งก็คงจะสูญหายการถ่ายทอดไปเนิ่นนานแล้ว สิ่งที่ยังหลงเหลือก็คือ กฏเกณฑ์ฉันทลักษณ์ วิธีแต่งเท่านั้นชื่องามนามไพเราะ ยิ่งแล้ว
งามสมดังแก้วก่อง อำไพ
งามเพริดพรายแพร้วกว่า มาลี
งามที่สุดไซร้กว่า แม้นสาวงามคม
สมควรจารึกชื่อ ไว้นา
ให้ทั่วโลกพากัน ยกย่อง
คือกาพย์มหานันท์- ทายี
ทั่วหล้าแซ่ซร้องสรร- เสริญเยินยอคุณ
มหากาฬสกุลกาพย์ โบราณ
สืบทอดตำนานบท ขับร้อง
ตรีโลกพยักพยานบอก แจ่มแจ้ง
มาเถิดพวกพ้องเหล่า สุนทรียะชน
สริญ สิริรัฐ ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.watmoli.com/poetry-chapter2/sarawilasini/2118.html๑.๘ กาพย์มหานันททายี กาพย์มหานันททายี เป็นกาพย์ที่มีลักษณะให้ความเพลิดเพลินมาก ในคัมภีร์กาพย์สารวิลาสินี มีบทบัญญัติว่า
ยสฺสา ปน จตุตฺถนฺเต ทฺวิกฺขรา ปกฺขิตา ยทิ
ยสฺสญฺจ วุตฺตลกฺขณํ มหานนฺททายี มตา
แปลว่า “ก็ในท้ายบาทที่ ๔ แห่งกาพย์นันททายีใด เพิ่มเข้าอีก ๒ อักษร หากกาพย์ใดมีลักษณะดังกล่าวนี้ กาพย์นั้นชื่อว่า “มหานันททายี”
จึงถือเอาความได้ว่า กาพย์มหานันททายี บทหนึ่งมี ๔ บาท ๆ ละ ๒ วรรค ตรงกับกาพย์นันททายีทุกประการ แต่เพิ่มคำต่อท้ายอีก ๒ คำ จึงเป็น ๓๐ คำ เฉพาะคำสุดท้ายของบาทที่ ๔ ส่งสัมผัสไปยังคำที่พร้อมจะรับในบทที่จะแต่งต่อไป มีแผนผังและตัวอย่างดังนี้


:10: