Username:
Password:
บ้านกลอนน้อยฯ
ช่วยเหลือ
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
บ้านกลอนน้อย - กลอนสบายๆ สไตล์ลิตเติลเกิร์ล
>>
ห้องเรียน
>>
ห้องศึกษา กาพย์ โคลง ร่าย
>>
- โคลงดั้นวิวิธมาลี -
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน
หัวข้อ: - โคลงดั้นวิวิธมาลี - (อ่าน 37471 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Black Sword
ผู้บริหารเว็บ
จำนวนผู้เยี่ยมชม:
65535
ออฟไลน์
ID Number: 88
จำนวนกระทู้: 10394
เมื่อ มยุรธุชกางปีกฟ้อน... มวลอักษรก็ร่อนรำ
|
|
- โคลงดั้นวิวิธมาลี -
«
เมื่อ:
05, ธันวาคม, 2564, 10:28:13 PM »
บ้านกลอนน้อยฯ
Permalink:
- โคลงดั้นวิวิธมาลี -
โคลงดั้นวิวิธมาลี
โคลงดั้นวิวิธมาลี
หรือ
โคลงสี่ดั้นวิวิธมาลี
เป็นโคลงสี่ชนิดหนึ่ง ซึ่งนิยมแต่งในช่วงอยุธยาตอนต้น มีลักษณะเหมือนกับ
โคลงดั้นบาทกุญชร
คลิก
ทุกประการ หากเขียนเพียงบทเดียวเดี่ยว ๆ จะไม่สามารถแยกความต่างได้ จะแยกได้ก็ต่อเมื่อมีบทก่อนหน้าหรือบทถัดไปให้สังเกต เพราะสองโคลงนี้
ต่างกันที่การส่งสัมผัสระหว่างบท
ซึ่ง
โคลงดั้นวิวิธมาลี
มีการบังคับส่งสัมผัสระหว่างบทไว้ ๑ แห่ง ในขณะที่
โคลงดั้นบาทกุญชร
มีการบังคับการส่งสัมผัสระหว่างบทไว้ ๒ แห่ง นั่นเอง
โคลงดั้นวิวิธมาลี
- บทหนึ่งมี ๒๘ คำเป็นหลัก (อันยังไม่นับรวม "สร้อยโคลง" ที่เพิ่มได้อีกสองแห่ง แห่งละสองคำ ในท้ายบาทที่ ๑ และท้ายบาทที่ ๓)
คณะโคลงดั้นวิวิธมาลี
-
โคลงสี่ดั้นวิวิธมาลี
หนึ่งบทมี ๒๘ คำเป็นหลัก (ไม่รวมสร้อยโคลง)
ในหนึ่งบทนั้นมี ๔ บาท
แต่ละบาทมี ๒ วรรค ประกอบด้วยวรรคหน้า ๕ คำ และวรรคหลังอีก ๒ คำ รวมแล้วทั้งสี่บาทจึงมี ๒๘ คำเป็นหลัก
การนับคำในโคลง
- การนับคำในโคลงนั้น นับตามเสียงพยางค์ที่เปล่งออกมาหนึ่งครั้งต่อหนึ่งคำ แต่ว่าหากคำใดที่ประกอบด้วยคำมูลที่เป็นลหุแท้ เช่น สวรรค์ พินิจ กุสุม เกษม วิหค ฯลฯ นั้น ผู้ประพันธ์สามารถนับได้ให้เป็น ๑ คำ หรือ ๒ คำก็ได้ แล้วแต่เจตนาของผู้เขียน แต่หากเป็นลหุลอยที่มีความหมายเฉพาะตัว เช่น จะ มิ เพราะ และ เตะ ฯลฯ จะนับเป็น ๑ คำเท่านั้น
และในการแต่ง
โคลงดั้นวิวิธมาลี
นั้น มีจุดต้องใช้
คำสุภาพ
(คำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์) อยู่ ๔ แห่ง
คือ คำที่ ๗ ในบาทแรก ,คำที่ ๕ ในบาทที่สองและบาทที่สาม และ คำที่ ๗ ในบาทที่สี่ นั่นเอง
และเฉพาะคำที่ ๗ บาทที่สี่ (ซึ่งเป็นคำจบของบท) จะไม่ใช้คำตาย เพื่อเอื้อต่อการออกเสียงจริงเวลาอ่านหรือขับโคลง
รายนามผู้เยี่ยมชม :
ข้าวหอม
,
ปิ่นมุก
,
ลิตเติลเกิร์ล
,
ก้าง ปลาทู
,
ขวัญฤทัย (กุ้งนา)
,
ฟองเมฆ
,
ปลายฝน คนงาม
,
กร กรวิชญ์
,
มนชิดา พานิช
,
ลมหนาว ในสายหมอก
,
ชลนา ทิชากร
,
น้ำหนาว
,
เนิน จำราย
บันทึกการเข้า
..
รวมบทกลอน "
ที่นี่เมืองไทย...
"
รวมบทกลอน "
ร้อยบุปผา
"
รวม
บทประพันธ์ทั่วไป
"Black Sword (หมู มยุรธุชบูรพา)"
รวมบทประพันธ์
กลบท
"Black Sword (หมู มยุรธุชบูรพา)"
รวมบทประพันธ์
ฉันท์
"Black Sword (หมู มยุรธุชบูรพา)"
กลอน
สุภาษิต-คำพังเพย-สำนวนไทย
บ้านกลอนน้อย
ลานอักษร มยุรธุชบูรพา
..
Black Sword
ผู้บริหารเว็บ
จำนวนผู้เยี่ยมชม:
65535
ออฟไลน์
ID Number: 88
จำนวนกระทู้: 10394
เมื่อ มยุรธุชกางปีกฟ้อน... มวลอักษรก็ร่อนรำ
|
|
Re: โคลงดั้นวิวิธมาลี
«
ตอบ #1 เมื่อ:
05, ธันวาคม, 2564, 10:40:24 PM »
บ้านกลอนน้อยฯ
Permalink:
Re: โคลงดั้นวิวิธมาลี
การแต่งโคลงดั้นวิวิธมาลี
๑.
สัมผัสบังคับ
การสัมผัสในบทของ
โคลงดั้นวิวิธมาลี
นั้น มีจุดบังคับรับ-ส่ง สัมผัสสระภายในบท ตามตำแหน่งที่โยงเส้นดังแสดงไว้ในผัง คือ
๑.๑
สัมผัสบังคับ ภายในบท
(ดูผังด้านบนประกอบ)
โคลงดั้นวิวิธมาลี
นั้น มีสัมผัสบังคับภายในบทเพียง ๒ แห่งเท่านั้น ต่างกับโคลงสี่สุภาพที่ต้องมี ๓ แห่ง คือ
-
คำที่ ๗
ของบาทแรก ให้
ส่งสัมผัสสระ
ไปยัง
คำที่ ๕
ของบาทที่สาม
-
คำที่ ๗ รูปโท
ของบาทสอง
ส่งสัมผัสสระ
ไปยัง
คำที่ ๕
รูปโทของบาทที่สี่ แต่บางกรณีหากจำเป็น ก็อนุโลมร่นมาสัมผัสคำที่ ๔ แทนได้ หากว่าคำหรือเนื้อความบังคับ
แต่มักจะนิยมคำที่ ๕ มากกว่า
๑.๒
สัมผัสบังคับ ระหว่างบท
(ดูผังด้านบนประกอบ)
อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า
โคลงดั้นวิวิธมาลี
นั้น กำหนด
บังคับสัมผัสระหว่างบทไว้ ๑ แห่ง
คือ
คำสุดท้าย
ของ
ในบาทที่ ๔ บทก่อนหน้า
ส่งสัมผัสสระไปยัง
คำที่ ๕ ในบาทที่ ๒
ของ
บทถัดไป
อย่างนี้ตลอดไป เช่น
๐ เชลงกลโคลงอย่างดั้น บรร
ยาย
เสนอชื่อวิวิธมาลี เล่ห์
นี้
ปวงปราชฯทั่วทวย
หลาย
นิพนธ์เล่น เทอญพ่อ
ยลเยี่ยงฉบับพู้น
ชี้
เช่น
แถลง
๐ เปนอาภรณ์แก้วก่อง กาย
กระวี
ชาติเอย
อาตมโอ่โอภาษ
แสง
สว่าง
หล้า
เถกิงเกียรติเกริ่นธร
ณี
ทุกแหล่ง หล้านา
ฦๅทั่วดิน
ฟ้า
ฟุ้ง เฟื่องคุณ ฯ
(จินดามณี)
๒.
คำเอก คำโท
ในหนึ่งบทของ
โคลงดั้นวิวิธมาลี
นั้น มีการกำหนดบังคับใช้คำรูปวรรณยุกต์เอกไว้ ๗ แห่ง และโท ๔ แห่งเช่นเดียวกับโคลงสี่สุภาพ ต่างกันตรงที่
คำโทในบาทที่สี่
นั้น ย้ายมาอยู่ในคำที่ ๔ และ ๕ เป็น
คำโทคู่
ชิดติดกัน ดังที่แสดงในผัง และยังใช้รับสัมผัสที่ส่งมาจากบาทที่ ๒ ได้ทั้งคู่อีกด้วย (ดูผังประกอบ)
(วรรณกรรมยุคเริ่มต้นก่อนคลี่คลาย บาทสี่อาจใช้คำโทแบบแยก คือมีคำคั่นคำหนึ่ง หรือคำโทแบบเดี่ยว ๆ ซึ่งปัจจุบันไม่มีแล้ว)
นอกนี้แล้ว คำที่เหลืออีก ๑๗ คำ จะมีรูปวรรณยุกต์หรือไม่ก็ได้ ไม่เป็นไร แต่หากเป็นคำสุภาพได้ก็งามตา
อนึ่ง
ตำแหน่งที่บังคับรูปวรรณยุกต์เอก ๗ แห่งนั้น สามารถใช้ "คำตาย" แทนได้ (คำตาย คือ คำที่ใช้สระเสียงสั้นไม่มีตัวสะกด เช่น เกาะ มิ ชะ มุ และ คำที่สะกดด้วยแม่ กก กบ กด (กบด) เช่น ลูก กาบ มิตร เป็นต้น )
๓.
การสลับตำแหน่งคำเอก-คำโท ในโคลง
ใน
โคลงดั้นวิวิธมาลี
นั้น ตำแหน่งคำเอก คำโท ในโคลงที่บังคับไว้นั้น
สามารถสลับที่กันได้หนึ่งแห่ง นั่นคือ คู่คำเอก-โท ในคำที่ ๔-๕ ของบาทแรกหรือ "บาทต้น" นั่นเอง
ทั้งนี้ทั้งนั้น สลับได้เฉพาะบาทนี้เท่านั้น ตรงตำแหน่งอื่นไม่สามารถสลับได้
๔.
การใช้เอกโทษ-โทโทษ
รายละเอียดเรื่อง
คำเอกโทษ คำโทโทษ
ที่ใช้ในโคลง คลิกอ่านได้
ที่นี่
คลิก
๕.
คำสร้อย
รายละเอียดเรื่องคำสร้อยที่ใช้ในโคลง คลิกอ่านได้
ที่นี่
คลิก
โคลงดั้นวิวิธมาลี
หากเนื้อความยังไม่สิ้นกระแส สามารถใช้สร้อยต่อท้ายในบาทที่ ๑ และบาทที่ ๓ เสริมความให้จบกระแสได้เช่นเดียวกับโคลงสี่สุภาพ
หมายเหตุ :
คำสร้อย นอกเหนือจากบาทที่ ๑ และบาทที่ ๓ แล้ว ใน
บาทที่ ๔
ก็สามารถใช้คำสร้อยได้เช่นกันอีกสองคำต่อท้าย แต่นิยมสร้อยแบบ
ซ้ำคำ
เช่น
เจ็ดสินธุ์สบส่ำแล้ว .......... เจ็ดสาร ก็ดี
ยังไป่ปานชุรชล ............... เกลศกลั้ว
กรรโหยรลุงการ ............... ในเกลศ นางนา
ฉงนชำงือรสดั้ว ................ ด่วน
มาลย์
ใน
มาลย์
ฯ
(โคลงทวาทศมาส)
จากตัวอย่างนั้นคือบาทที่สี่ของโคลง ซึ่งปกติต้องจบแค่ ๗ คำเท่านั้น แต่เติมสร้อยได้อีกสองคำ คือ คำว่า ในมาลย์ ที่เน้นสีแดงไว้ให้เห็น และอย่างที่บอกคือ ใช้แบบสร้อย
ซ้ำคำ
ในที่นี้ คือ คำว่า
มาลย์
นั่นเอง
ส่วนศิลปะการสร้างความไพเราะนั้น เช่น การเล่นคำ หรือการนิยมเล่นสัมผัสอักษรระหว่างวรรคหน้าและวรรคหลัง หรืออื่น ๆ นั้น ไม่ต่างกับโคลงสี่ทั่วไป
๐ ------------------------------- ๐
บทเสริม
นอกจากคำสร้อยแบบดังกล่าวในบาทที่สี่แล้ว ตรงนี้คือความแปลกในบาทที่สี่ของโคลงสี่ดั้น คือ ในบางครั้งจะพบว่า บาทที่สี่จะมีการใช้เป็นลักษณะเดียวกับโคลงสี่สุภาพ คือ มี ๙ คำ และคำเอกคำโทนั้นเป็นลักษณะโคลงสี่สุภาพ แต่สัมผัสต่าง ๆ ก็ยังเป็นแบบโคลงดั้น เช่น
จัดการแปลงเปลี่ยนเยื้อง ......... อย่างเคย
แห่แต่โดยวิถีใน ........................ นิเวศน์ท้าว
กระบวนต้นเทียบแต่เกย ........... ศิลาน่า ฉนวนนา
สู่ดุสิตพิมานจ้าว....................... ธเรศไท้จอม
วัง
การเล่นทุกสิ่งล้วน .................... ฝ่ายใน สิ้นแฮ
พิณพาทย์รายทาง
จัง
................ หวะเว้น
เรียงอั้วอิกแทงวิไสย .................. ญวนหก
ล้วนแต่หญิงแกล้งเหล้น ............. อย่างชาย
(โคลงพระราชพิธีแห่โสกันต์ : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
จะเห็นได้ว่า ในบทต้นนี้ที่
เน้นสีแดง
ไว้นั้น ทั้งจำนวนคำ และคำโท ในบาทที่สี่เป็นแบบโคลงสี่สุภาพอย่างที่บอก แต่การส่งสัมผัสต่าง ๆ นั้นเป็นแบบโคลงดั้นวิวิธมาลีอยู่ แบบนี้ท่านก็เรียกไว้ว่า
โคลงดั้นมหาวิวิธมาลี
ไว้เป็นพื้น ซึ่งจะพบแทรกอยู่เป็นระยะ ๆ ในวรรณกรรมต่าง ๆ เท่านั้น
เรื่อง
โคลงดั้นวิวิธมาลี
คงอธิบายไว้เพียงแต่คร่าว ๆ เท่านี้ ด้านล่างต่อไปเป็น
ตัวอย่าง
โคลงดั้นวิวิธมาลี
บางส่วนจากวรรณกรรมต่าง ๆ
รายนามผู้เยี่ยมชม :
ข้าวหอม
,
ปิ่นมุก
,
ลิตเติลเกิร์ล
,
ก้าง ปลาทู
,
ขวัญฤทัย (กุ้งนา)
,
ฟองเมฆ
,
ปลายฝน คนงาม
,
กร กรวิชญ์
,
มนชิดา พานิช
,
ลมหนาว ในสายหมอก
,
ชลนา ทิชากร
,
น้ำหนาว
,
เนิน จำราย
บันทึกการเข้า
..
รวมบทกลอน "
ที่นี่เมืองไทย...
"
รวมบทกลอน "
ร้อยบุปผา
"
รวม
บทประพันธ์ทั่วไป
"Black Sword (หมู มยุรธุชบูรพา)"
รวมบทประพันธ์
กลบท
"Black Sword (หมู มยุรธุชบูรพา)"
รวมบทประพันธ์
ฉันท์
"Black Sword (หมู มยุรธุชบูรพา)"
กลอน
สุภาษิต-คำพังเพย-สำนวนไทย
บ้านกลอนน้อย
ลานอักษร มยุรธุชบูรพา
..
Black Sword
ผู้บริหารเว็บ
จำนวนผู้เยี่ยมชม:
65535
ออฟไลน์
ID Number: 88
จำนวนกระทู้: 10394
เมื่อ มยุรธุชกางปีกฟ้อน... มวลอักษรก็ร่อนรำ
|
|
Re: โคลงดั้นวิวิธมาลี
«
ตอบ #2 เมื่อ:
05, ธันวาคม, 2564, 10:41:47 PM »
บ้านกลอนน้อยฯ
Permalink:
Re: โคลงดั้นวิวิธมาลี
ตัวอย่าง
โคลงดั้นวิวิธมาลี
บางส่วน
แสดงคำเอก คำโท, คำสร้อย, คำสัมผัสภายในบท
และโดยเฉพาะ
คำสัมผัสระหว่างบท
เพื่อให้เห็นความแตกต่างเด่นชัดกับ
โคลงดั้นบาทกุญชร
คลิก
โคลงดั้นวิวิธมาลี
(ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ : กรมพระปรมานุชิตชิโนรส)
๐ หลังทิศฝ่ายทิศอ้าง อุ
ดร
ด้านเอย
ทิพย์ภัตหุงภัตผอง พวก
ด้าว
แดนเมืองมั่วเมือง
มอญ
มวญเขต เขานา
ตามเผ่าตามพ้อง
จ้าว
จบ
แขวง
๐ อื่นเรื่องอีกเรื่องสร้าง สง
กรานต์
ด้วยแฮ
สองสืบวัดถุ์สืบ
แสดง
ดื่น
ถ้วน
เชิงผนังภาคย์ผนัง
ศาล
สบสี่ ศาลเอย
ลายเลขลาย
ล้วน
สิ้น สรรพ
ศิลา
๐ ติดศิลาจารึกข้อ คำ
โคลง
ไว้เฮย
โคลงบอกเรื่องเล
ขา
คัด
แจ้ง
แจ้งอรรถวัจนลรร
โลง
ลักษณทุก หลังแฮ
ทุกแห่งทั่วห้อง
แสร้ง
สาบประกล
๐ ประกลประกิจแก้ว กระแพงสกัด เฉลียงเฮย
สกัดตรุกระเบื้องปรุยล ยิ่งล้วน
ล้วนเคลือบประกอปมุมจัด แจงรดับ ด่อนนา
รดับทั่วโทข้างถ้วน ถ่องสถาน ฯ
(ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ : กรมพระปรมานุชิตชิโนรส)
โคลงดั้นวิวิธมาลี
(ลิลิตดั้นสดุดีบ้านบางระจัน : พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ))
๐ บัดนายจันทร์หนวดเขี้ยว คิด
กล
แบ่งทัพโอบหลังราญ รบ
เร้า
พม่าถูกไทย
รณ
รุกกระหนาบ
ต่างแตกแยกย้าย
เข้า
ป่า
ดง
๐ นายทัพพม่าม้วย กลาง
สมร
ภูมิเฮย
พลพม่าถูกไทย
ปลง
ชีพ
สิ้น
เหลือบ้างต่างซอก
ซอน
ซนกลับ
ที่บาดเจ็บล้ม
ดิ้น
ดื่น
ไป
๐ ไทยรักษาค่ายบ้าน บาง
ระจัน
ตีพม่าประ
ลัย
เจ็ด
ครั้ง
นับได้สี่เดือน
ขัน
ขับเคี่ยว รบแฮ
ด้วยจิตหาญกล้า
ทั้ง
อดทน
๐ ทัพชาวบ้านบากสู้ ทัพกรุง ม่านเฮย
ยอมสละผละชนม์ ชีพให้
ด้วยจงรักชาติผดุง แดนเกิด
น่าจดจำไจ้ไจ้ จอดคุณ
(ลิลิตดั้นสดุดีบ้านบางระจัน : พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ))
โคลงดั้นวิวิธมาลี
(โคลงดั้นนิราศตามเสด็จทัพลำน้ำน้อย : พระยาตรัง)
๐ สาวสวาแมกไม้มุ่ง หมาย
ทาง
ถึกถโมนไพรเหลียว หลิ่ว
คิ้ว
เมียงมองย่องเฟ็ด
หาง
หันหก ทับแฮ
หนุ่มบ่ชาญเกรี้ยว
กริ้ว
โกรธ
เขย็ง
๐ เนินคาท่งป่าล้อม ล้อม
เสมา
เขียวระบัดไซ
เซ็ง
ซ่าน
เลื้อย
แหนหนองป่งหล่ม
เลา
ลำล่อน
เหมืองละมาน
เฟื้อย
อ้อ อ่อน
แขนง
๐ กาสรสุรโดดดั้น เดิน
ดง
กำเลาะกำลัง
แรง
ร่าน
ร้าย
ขวิดเสี่ยวศิขร
ผง
ผุยผ่า
เป็นประกายฟุ้ง
คล้าย
คลอกแขม
๐ พยัคฆ์โจมจับมฤคพลิ้ว พลิกกาย ลงแฮ
เปล่งปลาบแสงตาแพลม พลุ่งย้อย
คะมำคำรามทราย คอนโลด
ถอนถีบสี่เท้าคล้อย คลาศทาง
(โคลงดั้นนิราศตามเสด็จทัพลำน้ำน้อย : พระยาตรัง)
โคลงดั้นวิวิธมาลี
(โคลงนิราศวัดสมุหประดิษฐ์ : หลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก))
๐ อโยทธเยนทรยศยิ่งสร้อย สรวง
สวรรค์
เพียงพิมานแมนไข เขต
หล้า
เกริกเกียรดิขจร
บรร
เจิดทวีป เว้นฤๅ
ชูพิภพฟื้น
ฟ้า
เฟื่อง
ดิน
ฯ
๐ สมภารสมภพพร้อม ไพร
บูลย์
เรืองรัตนโก
สินทร์
สุข
ล้ำ
เพิกพื้นพิภพ
พูน
เผยโลก กว้างแฮ
บุญพระฟื้นฟ้า
ขว้ำ
ไขว่
หงาย
ฯ
๐ เสร็จยอพระยศอ้าง ออก
แสดง
ปางรํ่านิราศ
สาย
สวาดิ
น้อง
จำจากเจ็บจิต
แหนง
ขนางเสน่ห์ นางนา
ฝากโศกยอดสร้อย
ซ้อง
สั่งสาร ฯ
๐ เด็ดใจเจียรจากแก้ว กับอก อรเอย
ทุบทุ่มอุราราน ร่ำเศร้า
สะอื้นอัดอุรกรรศก สังเวช ตนแฮ
หวนคิดคืนเข้าห้อง สั่งขวัญ ฯ
(โคลงนิราศวัดสมุหประดิษฐ์ : หลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก))
โคลงดั้นวิวิธมาลี
(โคลงพระราชพิธีแห่โสกันต์ : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
๐ เวียงวังบรมราชเจ้า จอม
สยาม
ปราสาทรัตนพิมาน หยาด
ฟ้า
สรรพสิ่งวิจิตร
งาม
ฉลักลวด ลายแฮ
แสงสุวรรณไล้
จ้า
จับ
หาว
๐ สถลมารคสะอาดล้วน เส
ลา
ปูแฮ
ตึกหมู่แถวเต๊ง
ยาว
ยืด
สล้าง
ตำหนักพระวง
ษา
นุวงษ์เรียบ เรียงแฮ
ทุกแหล่งเลิศล้ำ
สร้าง
สืบ
มา
๐ แซ่ซ้องนองเนื่องหน้า อเนก
นันต์
ต่างศุขเขยมเปรม
ปรา
ชื่น
หน้า
หญิงป่วนปะปน
กัน
สนุกนิ์รื่น เริงแฮ
บ้างเร่นั่งร้าน
ค้า
ทุกพรรณ
๐ ปางทรงดำริห์ให้ แห่โส กันต์แฮ
พระราชกนิษฐอัน สนิทไท้
เพื่อพระเกียรดิภิญโญ เจริญยิ่ง ยศนา
เหตุนิยมไว้ให้ ฟ่องใจ
(โคลงพระราชพิธีแห่โสกันต์ : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
โคลงดั้นวิวิธมาลี
(โคลงลิลิตดั้นตำนานพระพุทธบาท : กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์)
๐ อาราธบรมบาทเจ้า จอม
สงฆ์
เสด็จรับบิณฑบาตร์บุกูล พ่อ
ค้า
เห็นพุทธดุษณี
ทรง
รับนิ มนต์แฮ
รีบกลับเตรียมให้
ข้า
จัด
เสบียง
๐ รุ่งเช้าพุทธเจ้าเสด็จ มา
ดล
ถวายโพชนาหาร
เผดียง
แด่
ไท้
อวยอรรถภัตมง
คล
ควรชื่น ชมแฮ
ยิ่งสดับยิ่งปลื้ม
ให้
ศรัท
ธา
๐ เรียกนายโกฐาศน์ทั้ง สอง
ตน
มารา
มอบสรรพทรัพยะโภ
คา
แก่
น้อง
ตามเสด็จสู่เชตุ
พน
ขอบรรพ ชาแฮ
เปนภิกษุสิ้น
ข้อง
ขุ่นกศัลย์
๐ เรียนกรรมฐานถ่องแจ้ง จริยะวัต แล้วรา
ลากลับกรุงสุนาปรันต์ แหล่งบ้าน
อาไศรย์ที่สงัดดัด แดเพ่ง นิพานพ่อ
ทุกครู่ฤๅรู้คร้าน ครุ่นเพียร
(โคลงลิลิตดั้นตำนานพระพุทธบาท : กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์)
บ้านกลอนน้อยลิตเติลเกิร์ล
- Black Sword -
(หมู มยุรธุชบูรพา)
•
กลับสู่หน้า
สารบัญ
โคลง
คลิก
•
กระโดดสู่ห้องเรียน
กาพย์
คลิก
•
กระโดดสู่ห้องเรียน
กลอน
คลิก
•
กระโดดสู่ห้องเรียน
ฉันท์
คลิก
•
กระโดดสู่ห้องเรียน
ร่าย
คลิก
•
กระโดดสู่ห้องเรียน
กลอนกลบท
คลิก
•
กระโดดสู่ห้องเรียน
โคลงกลบท
คลิก
•
กระโดดสู่ห้องศึกษา
ภาพโคลงกลบท
คลิก
รายนามผู้เยี่ยมชม :
ข้าวหอม
,
ปิ่นมุก
,
ลิตเติลเกิร์ล
,
ก้าง ปลาทู
,
ขวัญฤทัย (กุ้งนา)
,
ฟองเมฆ
,
ปลายฝน คนงาม
,
กร กรวิชญ์
,
มนชิดา พานิช
,
ลมหนาว ในสายหมอก
,
ชลนา ทิชากร
,
น้ำหนาว
บันทึกการเข้า
..
รวมบทกลอน "
ที่นี่เมืองไทย...
"
รวมบทกลอน "
ร้อยบุปผา
"
รวม
บทประพันธ์ทั่วไป
"Black Sword (หมู มยุรธุชบูรพา)"
รวมบทประพันธ์
กลบท
"Black Sword (หมู มยุรธุชบูรพา)"
รวมบทประพันธ์
ฉันท์
"Black Sword (หมู มยุรธุชบูรพา)"
กลอน
สุภาษิต-คำพังเพย-สำนวนไทย
บ้านกลอนน้อย
ลานอักษร มยุรธุชบูรพา
..
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
พิมพ์
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
บ้านกลอนน้อย ลิตเติลเกิร์ล - มยุรธุชบูรพา
-----------------------------
=> อ่านข้อกำหนด กฎระเบียบต่าง ๆ - สมาชิกใหม่ ทักทาย แนะนำตัวที่นี่
=> ห้องกลอน คุณอภินันท์ นาคเกษม
=> ห้องกลอน คุณคนบอ มือสี่
=> สารบัญกลอน สมาชิกนักกลอน
-----------------------------
ห้องเรียน
-----------------------------
=> ห้องเรียนรู้คำประพันธ์ ประเภทกลอน
=> ห้องเรียนฉันท์
=> ห้องเรียน กลบท
=> ห้องเรียน โคลงกลบท
=> ห้องศึกษา ภาพโคลงกลบท
=> ห้องศึกษา กาพย์ โคลง ร่าย
=> ห้องหนังสือ บ้านกลอนน้อย
=> ห้องฟัง การขับ เสภา และอื่น ๆ
-----------------------------
คำประพันธ์ แยกตามประเภท
-----------------------------
=> กลอน ร้อยกรองหลากลีลา
=> คำประพันธ์เนื่องในโอกาสพิเศษต่าง ๆ
=> กลอนธรรมะ-สุภาษิต-ปรัชญา-คำคม
=> กลอนเปล่าสบาย ๆ
=> กลอนจากที่อื่น และจากกวีที่ชื่นชอบ
=> โคลง-กาพย์-ฉันท์-ร่าย-ลิลิต
=> กลบท
=> นิยาย-เรื่องสั้น-บทความ-ความเรียง-เรื่องเล่าทั่วไป
=> ห้องนั่งเล่นพักผ่อน
===> เส้นคั่นสวย ๆ
===> รูปภาพน่ารัก
กำลังโหลด...