
น้ำอบนางลอย ส่งกลิ่นหอมหวนอบอวลคู่กับเทศกาลสงกรานต์มายาวนาน
มีการเล่นสาดน้ำ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และสรงน้ำพระที่ไหน ก็จะต้องมีกลิ่นน้ำอบไทยอยู่ด้วยเสมอ
จนเราคนไทยคุ้นชินและจำได้ว่านี่คือ กลิ่นของเทศกาลสงกรานต์
ทำนองเดียวกันกับกลิ่นของต้นตีนเป็ดที่จะโชยมาทุกหน้าหนาว
น้ำอบนางลอยกำเนิดในสมัยรัชกาลที่ 6 โดย นางเฮียง ธ.เชียงทอง
มีอายุอานามเก่าแก่กว่า 100 ปีแล้ว แรกเริ่มน้ำอบของแม่เฮียง
ถูกนำใส่โอ่งไปขายในตลาดนางลอย แถวจักรวรรดิ ให้ลูกค้านำภาชนะมาใส่เอง
ด้วยความที่น้ำอบเป็นสิ่งที่คนในสมัยนั้นนิยมทำใช้กันเองอยู่แล้ว
เมื่อมีผู้ทำออกมาขาย จึงได้รับการตอบรับอย่างดี มีการบอกปากต่อปาก
และได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว ซึ่งการที่ลูกค้าบอกกันปากต่อปากว่า
“น้ำอบนางลอยของแม่เฮียง” นี่เอง ทำให้เกิดชื่อแบรนด์ขึ้นมา
โดยลูกค้าเป็นผู้เรียก ไม่ใช่เจ้าของเป็นผู้ตั้งชื่อ
ปัจจุบันน้ำอบนางลอยได้รับการสืบทอดกิจการมาถึงรุ่นที่ 4
โดยยังมีรุ่นที่ 3 คอยให้คำปรึกษา ประคับประคองอยู่เบื้องหลัง
หลายคนอาจคิดว่าน้ำอบนางลอยเป็นแบรนด์ใหญ่ เป็นกิจการที่ใหญ่โต
แต่ดิษฐพงศ์ ผู้สืบทอดกิจการรุ่นที่ 4 บอกว่า เพราะตำนานของแบรนด์
ก็เลยทำให้ดูเหมือนยิ่งใหญ่ แต่ความจริงแล้วกิจการไม่ใหญ่
จดทะเบียนในรูปแบบร้านค้าเท่านั้น ไม่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัท
โรงงานผลิตก็อยู่ในพื้นที่บ้านที่บางพลัด กรุงเทพฯ มีพนักงานฝ่ายผลิต 15 คน
และพนักงานขนส่งที่หน้าร้านอีก 4 คน รวมทั้งหมด 19 คน
ส่วนการบริหาร การรับออร์เดอร์ ทำบัญชี ครอบครัวทำเอง
ไม่มีตำแหน่ง ไม่มีฝ่าย ไม่มีลำดับขั้นอะไรมาก มีเพียงครอบครัวเจ้าของที่ดูแลกิจการ
และพนักงานระดับปฏิบัติการเท่านั้น

สินค้าไทยที่ยอดขายไม่ตกตามเทรนด์
ถ้ามองด้วยสายตาเราจะเห็นว่า
ในยุคสมัยนี้ แทบไม่มีใครใช้น้ำอบไทยประพรมร่างกายเพื่อให้ความหอมอีกแล้ว
น้ำอบไทยจะถูกใช้กับการสรงน้ำพระและเทศกาลไทย ๆ เท่านั้น
ขณะที่ของใช้ไทย ๆ อื่น ๆ มีแนวโน้มความนิยมลดลงเรื่อย ๆ
แต่"น้ำอบนางลอย"กลับไม่ได้เป็นไปตามเทรนด์นั้น
.................................................
เพื่อน ๆ คงรู้จักน้ำอบนางลอยกันแทบทุกคนนะคะ
สำหรับหนู เห็นน้ำอบนี้มาตั้งแต่รู้ความ จนปัจจุบัน
คุณแม่ ซื้อมาติดบ้านไว้ตลอดเลยค่ะ เป็นน้ำอบที่หอม
ดมแล้วไม่เวียนหัวเหมือนน้ำอบที่ปรุงแต่งในปัจจุบัน
หรือน้ำหอมฝรั่ง ดม หรือแค่ผ่านจมูก คนเวียนหัวแล้ว
ขอบคุณเจ้าของบทความ และภาพทางอินเตอร์เน็ตค่ะ
