ธนุ เสนสิงห์
|
Permalink: กาพย์พิจารณ์
ความหมายกาพย์ เมื่อศึกษาจากความที่ถือรากศัพท์บ้าง ตามนัยแห่งภาษา หลายแนวทางประมวลกันแล้วน่าจะได้ความลงที่ “คำแห่งกวี” ตำราดั้งเดิม คือ “ตำรากาพย์สารวิลาสินี” และ“ตำรากาพย์คันถะ” ซึ่งเป็นภาษาบาลี หลังจากนั้น จึงค่อย ๆ มีผู้คงแก่เรียนแต่งขึ้นเป็นภาษาไทย กาพย์ที่มีอยู่ในคัมภีร์โบราณ แต่ไม่นิยมแต่งกันในปัจจุบัน มี ๙ ชนิดคือ กาพย์พรหมคีติ, กาพย์มัณทุกคติ, กาพย์ตุรงคธาวี, กาพย์มหาตุรงคธาวี, กาพย์กากคติ, กาพย์ตรังคนที, กาพย์มหาตรังคนที. กาพย์ทัณฑิกา, กาพย์ภุชงคลิลา,
กาพย์พรหมคีติ
๑ ๐๐๐๐๐1 ๐๐๐1๐๐๐2 ๑ ชวนดูกาพย์โบราณ มาพิจารณ์ตามตำรา ๐๐๐๐๐2 ๐๐๐๐๐๐3 สืบสารการวิชา รักษ์เอาไว้ไม่สาบสูญ ๐๐๐๐๐4 ๐๐๐4๐๐๐3 กาพย์นี้พรหมคีติ เมื่อตรองตริให้จำรูญ ๐๐๐๐๐3 ๐๐๐๐๐๐ ยานีสองบทคูณ เขียนคู่กันเท่านั้นเอย กาพย์ภุชงคลิลา ๑ ๐๐1 ๐ ๐1๐๐ ๑ กาพย์นี้ นามมีอยู่ว่า ๐๐๐๐1 ๐๐๐๐2 ภุชงคลิลา ไพเราะเสนาะดี ๑ ๐๐ ๐๐๐๐2 ๑ ความชัด กะทัดรัดมี ๐๐๐2 ๐๐๐๐ สองสี่สี่สี่ แต่งง่ายดายแล
กาพย์ตุรงคธาวี
๑ ๐๐๐1 ๐๐๐๐1 ๐๐๐๐๐2 ๐๐๐3 ๐๐3 ๐๐๐2 ๐๐๐4 ๐๐4๐๐๐5 ๐๐๐6 ๐๐๐๐6 ๐๐๐๐๐5 ๐๐๐7 ๐๐7๐๐๐5 ๐๐๐8 ๐๐8๐๐๐ ๑ กาพย์โบราณ ร่วมกันสืบสาน ให้อยู่ยงคงไป อย่าแหนงหน่าย ดูดายกันทำไม ช่วยรักษา ต่อค่ายืนยงนาน ชาวกวี มาเลยมาซี เชิญร่วมกันพิจารณ์ มิยากนัก ชี้หลักและแผนกานท์ ร่วมวรรณวงศ์ ตุรงคธาวี
หมายเหตุ หมายส่งและรับสัมผัส ตามหมายเลขที่กำกับด้านหลังเดียวกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ธนุ เสนสิงห์
|
Permalink: Re: กาพย์พิจารณ์
กาพย์ที่เป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบันมีอยู่หลายชนิดคือ กาพย์ยานี ๑๑, กาพย์ฉบัง ๑๖, กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘(มีแต่งแยกออกไปได้เป็น ๔ แบบ), กาพย์สุรางคนางค์ ๓๒, กาพย์สุรางคนางค์ ๓๖,กาพย์ห่อโคลง (โคลง-กาพย์นี ๑๑ ใช้ร้องในพิธีเห่เรือ เรียกกาพย์แห่เรือ), กาพย์ขับไม้(กาพย์สุรางคนางค์ ๓๖-โคลง ใช้ร้องในพิธี เช่นกล่อมช้า เรียกกาพย์ ขับไม้)
กาพย์ยานี ๑๑ ต้นแบบกาพย์ยานี ๑๑ (ของเก่า) ๑ ๐๐๐๐๐1 ๐๐๐1๐๐๐2 ๑ กาพย์ยานีลำนำ สิบเอ็ดคำจำอย่าคลาย ๐๐๐๐๐2 ๐๐๐๐๐๐3 วรรคหน้าห้าคำหมาย วรรคหลังหกยกแสดง ๑ ๐๐๐๐๐ ๐๐๐๐๐๐3 ๑ ครุหรือลหุนั้น ไม่สำคัญอย่าระแวง ๐๐๐๐๐ ๐๐๐๐๐๐ สัมผัสต้องจัดแจง ให้ถูกต้องตามวิธี
(1) และ (2) สัมผัสภายในบท (3) สัมผัสระหว่างบท
กาพย์ฉบัง ๑๖ ต้นแบบกาพย์ฉบัง ๑๖ (ของเก่า)
๑ ๐๐๐๐๐๐1 ๐๐๐๐1 ๑ ฉบังสิบหกคำควร ถ้อยคำสำนวน ๐๐๐๐๐๐2 เลือกให้เพราะเหมาะกัน ๑ ๐๐๐๐๐๐2 ๐๐๐๐2 ๑ วรรคหน้าวรรคหลังรำพัน วรรคหนึ่งพึงสรรค์ ๐๐๐๐๐๐3 ใส่วรรคละหกคำเทอญ ๑ ๐๐๐๐๐๐3 ๐๐๐๐3 ๑ วรรคสองต้องสี่คำเชิญ ฟังเพราะเสนาะเพลิน ๐๐๐๐๐๐ ใครได้สดับจับใจ
(2) และ (3) ตัวที่ 2 ทำหน้าที่รับสัมผัสระหว่างบทด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ธนุ เสนสิงห์
|
Permalink: Re: กาพย์พิจารณ์
กาพย์สุรางคนาง ๒๘ กาพย์สุรางคนาง ๒๘
๑ ๐๐๐๐1 ๑ หมู่ใดในคณะ ๐๐๐๐1 ๐๐๐๐2 เป็นอยู่อย่างละ กาพย์โคลงพากย์หาร ๐๐๐๐ ๐๐๐๐2 บทฉันใดฉงน สืบถามอย่านาน ๐๐๐๐2 ๐๐๐๐3 จูลู่ใช้การ ลิขิตเกี้ยวพันธ์ ๑๐๐๐๐ ๑ หนึ่งวสันตลก ๐๐๐๐ ๐๐๐๐3 คู่ฉันท์โตฎก กาพย์มังกรพันธ์ ๐๐๐๐ ๐๐๐๐ บทอินทรวิเชียร คู่อาริยฉันทร์ ๐๐๐๐ ๐๐๐๐ ผูกไว้ทุกสรรพ์ ทุกพรรณเกี้ยวการณ์
หมายเลขหลังวงกลมเดียวกันสัมผัสกัน
หมายเหตุ กาพย์สุรางคนางค์ นี้เป็นแบบที่ ๔ ที่แพร่หลายที่สุด ยังมีแบบ ๑-๓ ซึ่งมีความแตกต่างกันเล็กน้อยดังนี้ แบบที่ ๑ วรรค ๒ กับวรรค ๓, วรรค ๔ กับวรรค ๕ และ วรรค ๖ กับวรรค ๗ ไม่สัมผัสกัน แบบที่ ๒ วรรค ๒ กับวรรค ๓, วรรค ๖ กับ วรรค ๗ ไม่สัมผัสกัน แบบที่ ๓ มีสัมผัสเชื่อมกันทุกวรรค
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ธนุ เสนสิงห์
|
Permalink: Re: กาพย์พิจารณ์
กาพย์สุรางคนางค์ ๓๒ กาพย์สุรางคนางค์ ๓๒
๑๐๐๐๐1 ๐๐๐๐1 ๑ กาพย์หนึ่งนามอ้าง สุรางคนางค์ ๐๐๐๐1 ๐๐๐๐2 กำหนดบทวาง สามสิบสองคำ ๐๐๐๐3 ๐๐3๐๐2 บทหนึ่งแปดวรรค เป็นหลักพึงจำ ๐๐๐๐2 ๐๐๐๐ วรรคหนึ่งสี่คำ แนะนำวิธี
จาก หลักภาษาไทย ของกำชัย ทองหล่อ
ตัวเลขหลังวงกลมเดียวกันสัมผัสกัน หมายเหตุ สัมผัสระหว่าง 3 กับ 3 บางตำราไม่กำหนดให้มีสัมผัส แต่ถ้ามีดังนี้จะไพเราะกว่า
กาพย์สุรางคนางค์ ๓๖ กาพย์สุรางคนางค์ ๓๖
๑ ๐๐๐๐1 ๐๐๐๐1 ๐๐๐๐2 ๑ อ้าพ่ออย่าคิด เคยเที่ยวเคยสถิต เคยกินเคยนอน ๐๐๐๐3 ๐๐๐๐3 ๐๐๐๐2 ท่าท่าป่าเปลี่ยว รุงรังรกเรี้ยว งูเงี้ยวเขี้ยวขอน ๐๐๐๐2 ๐๐๐๐2 ๐๐๐๐ อันตรายเบียรบร เหลือบยุงบุ้งหนอน ริ้นร่านตอมตี
กรมหมื่นศรีสุเรนทร
กาพย์สุรางคนางค์ ๓๖ ต่อด้วยโคลง ใช้ขับร้องกับดนตรี เช่นในพิธีกล่อมช้าง เรียกกาพย์ขับไม้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ธนุ เสนสิงห์
|
Permalink: Re: กาพย์พิจารณ์
กาพย์ห่อโคลง ต้นแบบกาพย์ห่อโคลง รัชกาลที่ ๒
(โคลสี่สุภาพ) (โคลงสี่สุภาพ) ๐ ๐ ๐ เอก โท ๐ ๐ ๑ แกงไก่มัสมั่นเนื้อ นพคุณ พี่เอย ๐ เอก ๐ ๐ ๐ เอก โท หอมยี่หร่ารสฉุน เฉียบร้อน ๐ ๐ เอก ๐ ๐ ๐ เอก ชายใดบริโภคภุญช์ พิศวาส หวังนา ๐ เอก ๐ ๐ โท เอก โท ๐ ๐ แรงอยากยอหัตถ์ช้อน อกให้หวนแสวง (กาพย์ยานี ๑๑) (กาพย์ยานี ๑๑) ๑ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๑ มัสมั่นแกงแก้วตา หอมยี่หร่ารสร้อนแรง ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ชายใดได้กลืนแกง แรงอยากให้ใฝ่ฝันหาฯ
หมายเหตุ กาพย์ห่อโคลงลักษณ์นี้ เมื่อใช้ร้องประกอบการเห่เรือ เรียกกาพย์เห่เรือ มีแต่งได้สองลักษณะคือ ขึ้นด้วยโคลงแล้ว ต่อด้วยกาพย์ หลายบท หรือสลับกันก็ได้ แต่ถ้าขึ้นกาพย์ก่อนแล้วตามด้วยโคลง เรียกว่า โคลงห่อกาพย์
ธนุ เสนสิงห์ นำเสนอ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กรกช
ที่ปรึกษาเว็บ
  
จำนวนผู้เยี่ยมชม: 25273
ออฟไลน์ID Number: 68
จำนวนกระทู้: 1858
แม้มิเคยพบหน้า เชื่อเถอะว่า ที่นี่มีรัก
|
Permalink: Re: กาพย์พิจารณ์
ขอบพระคุณ
ครูธนุ เสนสิงห์
ขอรับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|