

พระพุทธคุณ ๙ (นวรหคุณ) ๓.วิชชาจรณสัมปันโน
วิปุลลาฉันท์ ๒๔
๑...กุ "วิชฯ" ความรู้วิเศษ
เห็นแจ้งภวเหตุทุกข์เพราะขันธ์
และขันธ์ห้ามิเที่ยงครัน
จะเปลี่ยนและแผลง
๒..."อวิชฯ"ไม่รู้พระธรรม
รอบ"วัฏฏะ"ระกำวนระแวง
พระฯแจ้งวิชฯพิเศษแจง
ลุ"ญาณ"มหันต์
๓..."วิปัสฯญาณ",หนึ่งริทราบ
ขันธ์ห้าก็สภาพจริงสิครัน
เพราะขันธ์,รูปและนามผัน
กุข้องกะไตรฯ
๔...ปะสิ่งตามจริง "อนิจจ์ฯ"
ไม่เที่ยงก็จิบิดแปรประลัย
และทุกข์ฯแปลงจะอยู่ไย
เพราะต้องสลาย
๕..."อนัตฯ"ไม่ใช่ซิตน
ต้องปรามมนดลคิดวะวาย
เพราะขันธ์ใช่จะเทียบกาย
ฤ ตนสกนธ์
๖...นิกรคิดผิดกะขันธ์
ว่าเป็นดนุนั้นมืดผจญ
ริผิดขันธ์สิหลงลน
เกาะกายถนอม
๗...ริผิดตนนี้ก็มี
ขันธ์ห้ามุหะชี้ยึดยอม
ริผิดมีรตีดอม
กะขันธ์เสถียร
๘...และจิตอาศัยกะกาย
ชั่วคราววปุวายวอดเพราะเชียร
ก็ต้องตายซิแปรเปลี่ยน
มิยึดมิขวาง
๙..."มโนฯ" สอง,เนรมิต
ด้วยใจนฤฤทธิ์ดลสล้าง
ลุ"อิทฯ" สามสิกายพราง
แสดงหละหลาย
๑๐...วิเศษสี่ "ทิพพฯ" จิใช้
ด้วยหูสุตะไกลยินขจาย
กุ "เจฯ"ห้าจะรู้ปราย
กะจิตวิสัย
๑๑...มุ "ปุพพฯ" หกระลึก
ย้อนชาติยุรตรึกรู้วิไล
และ "ทิพฯ" เจ็ดกะตาไว
ผิไกลก็เห็น
๑๒...เหมาะ "อาสาฯ"แปดซิรู้
กิเลสอุปะฟูฟ่องสิเป็น
พระฯทรงวิชฯลุแปดเด่น
ลิ"วัฏฯ"วศิน
๑๓..."จรณะ" ทรงประพฤติ
งดงามธุวยึดวัตรผลิน
กุสิบห้าเจาะหลั่งริน
ลุโพธิเสือง
๑๔...พระคุณ "วิชชาฯ" ผู้ถึง
วิชฯแปดจรซึ้งซาบกระเดื่อง
ละกิเลสจิรุ่งเรือง
ลุเช่นพระองค์ ฯ|ะ
แสงประภัสสร
วิชฯ=วิชชา,ความรู้แจ้งในพระพุทธศาสนา ๘ อย่าง เช่นวิปัสสนาญาณ เป็นต้น
ขันธ์ =ขันธ์ ๕ คือส่วนหนึ่งของรูปกับนาม ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
วัฎฯ=วัฏฏสงสาร การเวียนว่ายตายเกิด
ญาณ=อัฏฐญาณ ๘ อย่างคือวิชชาที่พุทธองค์บรรลุ
๑) วิปัสสนาญาณ คือความรู้ที่ทำให้เกิดความเห็นแจ้งเข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ทำให้หลุดพ้นจากกิเลส เห็นแจ้งนามธรรม รูปธรรมตามแนวไตรลักษณ์ โดยความเป็นอนัตตา เห็นแจ้งการเกิดดับแห่งเบญจขันธ์
พระฯ=พระพุทธเจ้า
ไตรลักษณ์=ลักษณะที่เป็นสามัญ ๓ ประการ ได้แก่ ๑)อนิจจลักษณะ ลักษณะไม่เที่ยง มีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา ๒) ทุกขลักษณะ ลักษณะทนอยู่ต่อไปไม่ได้ ถูกบีบค้ำด้วยอำนาจของธรรมชาติ ๓) อนัตตลักษณะ ลักษณะที่ไม่สามารถบังคับให้เป็นไปตามความต้องการได้
มโนฯ=มโนมยิทธิ เป็น ๒ใน ๘ วิชชาที่พุทธองค์บรรลุ จะมีฤทธิ์ทางใจ จะนึกให้เป็นอย่างไร ก็เป็นไปตามที่นึกได้
อิทฯ=อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้ เช่นเนรมิตกายคนเดียวให้เป็นหลายคนได้
ทิพพฯ=ทิพพโสต มีหูทิพย์ มีญาณพิเศษจะฟังอะไรก็ได้ยินตามปรารถนา
เจฯ=เจโตปริญาณ, รู้วาระจิตของผู้อื่น
ปุพฯ=ปุพเพนิวาสานุสติญาณ, ความรู้ที่สามารถระลึกชาติหนหลังได้ว่า ชาติไหนเกิดเป็นอะไร และระลึกชาติของสัตว์อื่นๆได้
ทิพฯ=ทิพพจักขุ, คือตาทิพย์ ทรงมองเห็นทุกสิ่งได้หมดไม่ว่าใกล้หรือไกล
อาสาฯ=อาสาวักขยญาณ, ความรู้ที่ทำลาย อาสวะหมดสิ้นไม่เหลือในขันธสันดานของพระองค์
พระฯ=พระพุทธเจ้า
จรณะ=ความประพฤติอันงดงามมี ๑๕ ประการ
๑)ศีลสังวร ๒)อินทรีย์สังวร ๓)โภชนมัตตัญญุตา ๔) ชาคริยานุโยค ทำความเพียรให้เป็นผู้ตื่นอยู่เสมอ ๕)ศรัทธา ๖)สติ ๗) หิริ ละอายต่อบาป ๘)โอตตัปปะ เกรงกลัวต่อบาป ๙) พาหุสัจจะ เป็นผู้ได้สดับฟังมาก ๑๐) อุปักกะโม เว้นจากพยายามเพื่อฆ่า และพยายามเพื่อลัก ๑๑) ปัญญา ๑๒) รูปญาณ ๔ ปฐมญาณ ๑๓) ทุติยญาณ ๑๔) ตติญาณ ๑๕)จตุตถญาณ
(ขอบคุณเจ้าของภาพจาก อินเทอร์เน๊ต)