
มุตโตทัย : ๑๗.พระอรหันต์ทุกประเภท ทั้ง เจโตวิมุตติ ทั้งปัญญาวิมุตติ ย่อมบำเพ็ญไตรสิกขาบริบูรณ์
เหมันตดิลกฉันท์ ๑๓
๑..เหล่าเกจิแต่งคติครัน
อรหันต์ลุ"เจโตฯ"
เนื่องด้วยสมาธิตริโข
นิรวาณกิเลสไกล
๒.."ปัญญาวิมุตติ" จะขาน
"อริย์"พาน"สุขาฯ"ไว
แน่วแน่"วิปัสสะฯ"ลุใส
มิกระทำสมาธิ์เลย
๓..หลักการจิแย้งวตะมรรค
จะประจักษ์ซิแปดเคย
สำเร็จสกลพหุเผย
ปฏิบัติสิ"สัมมาฯ"
๔..บำเพ็ญสิมรรคบริบูรณ์
ก็วิทูร"วิมุตฯ"พา
เว้นมรรคจิห่างจรหนา
มิประชิด"วิมุตฯ"ธรรม
๕.."ไตรสิกฯ" ประกอบศีละพา
กะสมาธิ"ปัญฯ"นำ
ครบสามสิ"อาสฯ"ธุวจำ
ลุวิโมกข์ละ"วัฏฯ"ลง
๖.."ขีนาฯ"สกลทวิสอง
ผิประคองติ "สิกฯ"คง
"เจโตฯ" และ"ปัญฯ"ดุจะยง
อรหันต์คะคล้ายกัน ฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา: มุตตโตทัย พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ (พระญาณวิริยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เรียบเรียง)
เกจิ=พวกหนึ่ง,บางพวก
คติ=ความคิด ความเชื่อ
เจโตฯ=เจโตวิมุตติ คือความหลุดพ้นด้วยอำนาจแห่งจิตจากราคะด้วยกำลังของญาณจากการทำสมาธิ
นิรวาณ=นิพพาน
ปัญญาวิมุตติ=การบรรลุพระอรหันต์ด้วยปัญญายิ่ง
อริย์=อริยะ คือพระอริยเจ้า ผู้บรรลุธรรมขั้นสูง ๔ ระดับ ตั้งแต่พระโสดาบัน ขึ้นไปจนถึงพระอรหันต์ สูงสุดจึงนิพพาน
สุขาฯ=สุขะวิปัสสกะ คือพระผู้เจริญวิปัสสนาล้วน จึงสำเร็จพระอรหันต์
วิปัสสะฯ=วิปัสสนา คือการฝึกปฏิบัติธรรมให้รู้แจ้งเห็นจริง รู้เท่าทันธรรมชาติของชีวิตที่มีความไม่เที่ยง บังคับไม่ได้ ทำให้เกิดทุกข์ ผู้ปฏิบัติเสมอๆจะทำให้เกิดปัญญาแจ้งในกฎไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
วตะ=ข้อปฎิบัติ
สัมมาฯ=สัมมาสมาธิ คือความตั้งใจมั่น จนจิตสงัดจากอกุศลกรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติฌาน และจตุตถฌาน ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ มีแต่สติที่เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
วิโมกข์ ,วิมุตติ,วิมุติ=หลุดพ้น
วิมุติฯ=วิมุตติธรรม คือความหลุดพ้นจากกิเลส ๕ ประการ ๑) วิกขัมภนวิมุตติ คือการหลุดพ้นกิเลสชั่วคราวโดยอำนาจของญาณ ๒) ตทังควิมุตติ การดับกิเลสด้วยองค์ธรรมตรงกันข้าม ๓) สมุจเฉทวิมุตติ คือการหลุดพ้นโดยเด็ดขาด ๔) ปฏิปัสสัมธิวิมุตติ คือการหลุดพ้นโดยสงบ ๕) นิสสรณ์วิมุตติ คือหลุดพ้นจากกิเลสได้ยั่งยืนตลอดไป เช่น นิพพาน
ไตรสิกฯ=ไตรสิกขา คือข้อที่ต้องปฏิบัติ ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา
ปัญฯ=ปัญญา
อาสฯ=อาสวกขยญาณ คือความรู้เป็นเหตุให้สิ้นอาสวะ,ญาณหยั่งรู้ในธรรมทำให้สิ้นอาสวะ, เป็นความรู้ที่พระพุทธเจ้าได้ในยามสุดท้ายแห่งราตรีวันตรัสรู้
วัฏฏะฯ=วัฏฏสงสาร การเวียนว่ายตายเกิด
ขีนาฯ=พระขีนาสพ,คือ พระอรหันต์ผู้สิ้นอาสวะกิเลสไม่กลับมาเกิดอีกเพราะพ้นแล้วจาก๑)กาม ไม่ติดกามคุณ ๕ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ๒)ภพ ไม่ติดอยู่ในภพ ความเป็นโน่นเป็นนี่ ๓)อวิชชา พ้นจากความไม่รู้จริง ลุ่มหลง
ติ=สาม
สิกฯ=สิกขา
(ขอบคุณเจ้าของภาพจาก อินเทอร์เน๊ต )