แสงประภัสสร
|
Permalink: มุตโตทัย : ๒๕.การทำจิตให้ผ่องใส ~ ภุชงควิเชียรฉันท์ ๑๒
 มุตโตทัย: ๒๕.การทำจิตให้ผ่องใส ภุชงควิเชียรฉันท์ ๑๒ ๑.กระทำจิตสว่างไว้ นยใฝ่พระพุทธ์ฯสอน กิเลสหมดและทุกข์รอน พหุพุทธะกล่าวขาน ๒.บรมศาสดาเน้น ก็ติเฟ้น"หทัย"กานต์ "วจี" "กาย"สติสาร ปฎิบัติเจาะ"กายา" ๓.ฤทัยช่วยวิจารณ์กาย พิทะปราย ณ กายหนา ก็"กายาฯ"จะค้นคว้า วตภาวนาแล ๔."สติสัมฯ"ระลึกพร้อม มนน้อมสมาธิ์แปล้ หทัยรวม"ฐิตีฯ" แน่ "ขณิกาสมาธิ์ฯ" นำ ๕.ณ "อัปฯ"แน่วเผดิมฌาน ธุวะมาน"ฐิติธรรม" ลุ"เอกัคคตา" ด่ำ ธิติจิตจิรวมหนึ่ง ๖.ตริ"เอกัคฯ"ประพฤติจิต พิระนิตย์สงบพึ่ง เจาะคำสอนพระพุทธ์ฯถึง อธิจิตลุฌานเลิศ ๗.พิจารณ์กายกระทำแจ้ง พระฯแสดงสิบรรเจิด มุ"กายา"ฤ "มูลฯ"เถิด จะริเฝ้าเซาะ"หนัง"วาย ๘.กะ"ผม,ขน"และ"เล็บ,ฟัน" จรผันและเปลี่ยนกลาย ผิ"ธรรม์จักรฯ" "ชรา" หน่าย มร,เกิดแหละทุกข์ตรม ๙.ผิเกิดแล้วมโนกล่อม "ปนะฯ"ยอมประพฤติชม พระธรรมนั้น"อกา"สม จะผลินซิทุกครา ๑๐.ณ "อาโล"กระจ่างเจตน์ ปฏิเวธลุญาณพา ปะ"วิชชา" และ"ปัญญา รุจิจ้ามิปิดบัง ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา: มุตตโตทัย พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ (พระญาณวิริยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เรียบเรียง) พระพุทธฯ=พระพุทธเจ้า พุทธะ=พระพุทธเจ้า ติ=สาม หมายถึง กาย วาจา ใจ สติสัมฯ=สติสัมโพชฌงค์ คือความระลึกได้,สำนึกพร้อมอยู่ ฐิติ=ฐีติ จิตดั้งเดิมที่ไม่มีกิเลส ขนิกสมาธิ์ฯ=ขณิกสมาธิ คือความตั้งมั่นของจิตชั่วขณะ,สมาธิชั้นต้น อัปปนาฯ=อัปปนาสมาธิ คือสมาธิที่ถึงความแนบแน่น พ้นจาก รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส เอกัคคคตา= ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว,มีจิตแน่วแน่อยู่ในอารมณ์เดียว กายานุปัสฯ=กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน คือการใช้สติกำหนดกาย ให้เห็นกายในกาย คือเห็นตามความเป็นจริงของกาย ว่าเป็นเพียงการรวมตัวกันของธาตุทั้ง ๔(มหาภูตรูป คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ) เมื่อจับธาตุต่างๆแยกออกจากกัน สิ่งที่เรียกว่ากายจะหายไป มูลฯ=มูลกรรมฐาน คือกรรมฐานเบื้องต้นที่พระอุปัชฌาย์สอนภิกษุบวชใหม่ โดยพิจารณากาย ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ที่มีความเปลี่ยนแปลงมองเห็นสังขารไม่เที่ยง ไม่ควรยึดติด มีสติรู้ทันจนพัฒนาสู่สมถะ และ วิปัสสนา ธรรมจักรฯ=ธัมมจักรกัปวัตนสูตร คือปฐมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ ปนะ=โอปนยิโก เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้าไว้ในใจ เพิ่อยึดถือเป็นหลักปฏิบัติ อกาฯ=อกาลิโก คือพระธรรมคำสอนจะให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติไม่จำกัดกาลเวลา อาโล=อาโลโก คือญาณ ปัญญา วิชชา และแสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว ปฏิเวธ=ลุล่วงผลการปฏิบัติ วิชชา=ความรู้แจ้งในอริยสัจ ๔ (ขอบคุณเจ้าของภาพจาก อินเทอร์เน๊ต)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: มุตโตทัย : ๒๕.การทำจิตให้ผ่องใส ~ ภุชงควิเชียรฉันท์ ๑๒
มุตโตทัย: ๒๖.วิธีปฏิบัติของผู้เล่าเรียนมาก
อัศนีฉันท์ ๑๔
๑.พหุเรียนวินัยสิหลาย ก็อุบายกระจายอุฬาร ตะมิเชี่ยวกะจิตประสาน จิตะไหวมิรวมสนิท
๒.เพราะฉะนั้นวิชาริซ่อน ก็ริก่อนริฝึกกะจิต มห"สติ,ปัญญะ"คิด และกำหนดริรู้และทัน
๓.มห"สมฯ"กะ"บัญฯ"นิยม จิตะบ่มก็รู้ประชัน ผิวะเป็นอะไรจะสรรค์ ก็ ณ โลกหทัยกระจ่าง
๔.ปฏิบัติสิมากจะใฝ่ "สมุทัย"และทุกข์มิพราง ผิวะรู้ละเอียดสว่าง จิตะรวมและนิ่งประสงค์
๕.นยจิตมุปัญญะบ่ม มห"สมฯ"สติผจง ตริระลึกกะ"ทุกข์"พะวง "สมุทัย"เจริญระดาษ
๖.จิฉลาดและรวมเหมาะจิต ก็ประชิดสิมรรคพิลาส จะประจักษ์กะใจมิคลาด เพราะสมาธิ์กะศีลและปัญฯ
๗.เพราะสถิตย์ ณ กายกะจิต มุติคิด"อกาฯ"ลุพลัน ผิวิจารณ์กะกายมิหวั่น เจาะอสุภสิเปื่อยและเน่า
๘.ปฏิบัติสิตนจะรู้ สวชูก็"ปัจฯ"มิเพลา ผิประดุจเพาะข้าวเสลา จะกระทำ ณ นาสลิล
๙.ปฏิเวธประดุจซิผล พหุดลสมาธิ์ประทิน ทวิปัญญะศีลมิสิ้น จะดำรง ณ กายฤทัย ฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา: มุตตโตทัย พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ (พระญาณวิริยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เรียบเรียง)
อุบาย=วิธีการแยบคาย,ชั้นเชิง มหาสติ,มหาปัญญา=หัดสติ และปัญญา ให้เป็น มหาสติ,มหาปัญญา กำหนดรู้เท่าทัน มหาสมมติ,มหานิยม ที่ตั้งไว้เป็นอันนั้นอันนี้ เป็นวันเดือนปี อากาศ ดาว และสาระพัดทั้งปวงที่จิตออกไปบัญญัติไว้ เมื่อรู้ทันแล้วว่าอะไรคือทุกข์ และเหตุแห่งทุกข์(สมุทัย)แล้ว จิตจะรวมเป็นหนึ่งได้ สมฯ=สมมต สิ่งที่ยอมรับตกลงกันเองโดยปริยาย โดยไม่คำนึงถึงสภาพแท้จริง บัญฯ=บัญญัติ คือกำหนดขึ้นมาเอง ทุกข์=ความยากลำบาก,ไม่สบายกายและใจ,สภาพที่บีบคั้น ได้แก่ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย สมุทัย=คือสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ได้แก่ตัณหา ๓ อย่าง ๑)กามตัณหา ความอยากได้ในกาม,อยากได้ในกามารมณ์ ๒)ภวตัณหา ความอยากในภพ อยากเป็นโน่นเป็นนี่ ๓)วิภวตัณหา ความไม่ยากเป็นโน่นเป็นนี่,ไม่อยากในภพ มรรค=มรรค คือทางเดินไปสู่การดับทุกข์มี ๘ ประการ อกาฯ=อกาลิโก คือพระธรรมคำสอนจะให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติไม่จำกัดกาลเวลา อสุภ=ซากศพ ปัจฯ=ปัจจัจตัง คือพระธรรมอันผู้บรรลุ จะพึงรู้กับใจตนเอง ปฏิเวธ=ลุผลการปฏิบัติ,เข้าใจตลอด,ทะลุปรุโปร่ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: มุตโตทัย : ๒๕.การทำจิตให้ผ่องใส ~ ภุชงควิเชียรฉันท์ ๑๒
มุตโตทัย: ๒๗.ข้อปฏิบัติเป็นของมีอยู่ทุกเมื่อ
อาขยานิกาฉันท์ ๒๒
๑.ผู้คนเจริญพรต วตหมดละปัญหา หทัยและกายมา นมะรับประพฤติตาม
๒."โอปาฯ"ซิข้อวัตร ธุวชัดริลี้กาม ตริกายและใจขาม ก็"อกาฯ"ลุผลพาน
๓."อาโลฯ"สว่างจ้า รุจิหล้าตลอดกาล ลุมรรคเหมาะ "ปัจฯ"ขาน "อริยา"เฉพาะตน
๔.พุทธ์องค์กะ"อร์หันต์ " เพราะกระทำฉะนี้ล้น มิเลือกซิแห่งหน ขณะไหนอุบัติมี
๕.ผู้เพียรจะได้ทราบ ตนุบาป ฤ ชั่วดี ก็ตนจะรู้รี่ ระดะมากสิทั้งผอง
๖.ตัวอย่างนิกรหนุ่ม ตะละกลุ้มกสิณลอง เกาะอยู่ ณ "รูปฯ"ครอง และ"อรูปฯ"มิก่อเถิน
๗.พุทธ์องค์แนะใจ,กาย วุฒิกรายสิปัญฯเดิน เลาะ"กามภพ"เผิน และ"อรูปฯ"ณ เบื้องบน
๘.แล้วถอยอดีตล่าง ขณะกลางก็"ปัจฯ"ยล ปะหน้า "อนาฯ"ผล เจาะริพิศดูกาย
๙.เบื้องบนตะเท้าโผล่ และอโธตะผมปลาย ริขวางก็กลางผาย เจาะพิจารณ์สิตนตัว
๑๐."ปัจจัตฯ"จะรอบรู้ ดนุอยู่กระจ่างทั่ว ลิแคลงก็หมดมัว มิเสาะหา ณ แห่งไหน ฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา: มุตตโตทัย พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ (พระญาณวิริยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เรียบเรียง)
พรต=ผู้ปฏิบัติธรรม โอปาฯ=โอปนยิโก คือสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาไว้ในจิตใจ เพื่อยึดถือเป็นหลักในการดำรงชีวิต อกาฯ=อกาลิโก คือพระธรรมคำสั่งสอนให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติไม่เลือกกาลเวลา อาโลฯ=อาโลโก หมายถึง ญาณ,ปัญญา, วิชชา และแสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว ปัจฯ=ปัจจัตตัง คือพระธรรมอันผู้บรรลุจะพึงรู้กับใจตนเอง อริยา=พระอริยะ คือ ผู้บรรลุธรรมสูงสุดในพุทธศาสนา มี ๔ เริ่มตั้งแต่ขั้นต้น พระโสดาบันขึ้นไป จนถึงสูงสุดคือพระอรหันต์ อร์หันต์=พระอรหันต์ นิกร=กลุ่มคน ในที่นี้หมายถึง มานพ ๑๖ คน ที่เป็นศิษย์ของ พาวรีพราหมณ์ กสิณ=การเจริญ สมถะกรรมฐาน รูปฯ=รูปภพ คือภพของผู้ที่มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ จะได้รูปฌาน ๔ อรูปฯ=อรูปภพ เป็นที่อยู่ของพรหมที่ไม่มีรูป มีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ สำเร็จอรูปฌาน ๔ กามภพ= เป็นที่เกิดของผู้ที่ยังเกี่ยวข้อง, เสพกามอยู่ รวม ๑๑ กามภูมิได้แก่ อบายภูมิ ๔(นรกภูมิ,ติรัจฉานภูมิ,เปรตวิสัยภูมิ,อสุรกายภูมิ);มนุษยโลก ๑; และสวรรค์ ๖ ชั้น(จาตุมหาราชิกา,ดาวดึงส์,ยามา,ดุสิต,นิมมานรดี,ปรนิมมิตวสวัตตี) ปัจฯ=ปัจจุบัน อนาฯ=อนาคต อโธ=เบื้องต่ำ ปัจจัตฯ=ปัจจัตตัง พระธรรมอันผู้บรรลุจะรู้ได้เฉพาะตน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: มุตโตทัย : ๒๕.การทำจิตให้ผ่องใส ~ ภุชงควิเชียรฉันท์ ๑๒
มุตโตทัย: ๒๘.ได้ฟังธรรมทุกเมื่อ
สุทธวิราชิตาฉันท์ ๑๐
๑.ข้อวัตรผู้ปฏิบัติ จะชัดอุบาย ฟังธรรมเทศน์สุตะฉาย กำหนดหทัย
๒.ทุกวันคืนริตระหนัก ประจักษ์กะใจ "ตา,หู,กายะ"ก็ใฝ่ "จมูก"และ"ลิ้น"
๓.รูปธรรมล้วนรติสด กะ"รส"และ "กลิ่น" "สัมผัส,เสียง"มธุยิน จะลิ้มจะดม
๔.จิตยังรับมติตรึก ฤ คึกระทม ความเสื่อมกายะก็หล่ม แสดงมิเที่ยง
๕.ใบไม้เหลืองระดะหล่น มิพ้นจะเลี่ยง ความไม่เที่ยงตะจะเหวี่ยง เพราะธรรมชาติ
๖.หมู่ชนผู้พิริจิต พิสิษฐ์ฉลาด ใช้ปัญญาสติมาด อุบายฉะนี้
๗.ชื่อว่าได้สุตะหนา วิชาทวี ทั้งคืนวันพลิชี้ เจริญพระธรรม |ะฯ แสงประภัสสร
ที่มา: มุตตโตทัย พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ (พระญาณวิริยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เรียบเรียง)
อุบาย=วิธีการอันแยบคาย มธุ=น้ำหวาน,น้ำผึ้ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: มุตโตทัย : ๒๕.การทำจิตให้ผ่องใส ~ ภุชงควิเชียรฉันท์ ๑๒
มุตโตทัย: ๒๙. ปริญเญยยธรรม
อุปฏฐิตาฉันท์ ๑๑
๑.ตรึกธรรม"บริกรรม" จะกระทำฤทัยจด แน่ใจริจรด จิตะนิ่งภวังค์เกิด ๒.เข้าสู่"ฐิติธรรม" ธิตินำสะพรั่งเทิด ถึงขั้น"อุปะฯ"เชิด ก็ละออกสมาธิ์ใส ๓.ปรากฏ"อสุภาฯ" ระดะกล้าและเกลื่อนใกล้ เรียกชื่อ"อุคะฯ"ไว ริวิเคราะห์ซิซากพอ ๔.ปล่อยวางจิตะยั้ง ณ ภวังค์และนิ่งรอ ถึงขั้น"ฐิติฯ"ก่อ จะดำรงอุบัตินาน ๕."เอกัคคะฯ" สงบ ธุวครบฤทัยคราญ เรียก"อัปฯ"ชวสาร หทยาดำรงทรง ๖.เห็นภาพซิเผดิม "ขณิฯ"เริ่มปฐมตรง "อุคคาหะ"จะส่ง "ปฏิภาคฯ"ซิตามท้าย ๗.ฐานจิต ฤ ภวังค์ ธุระยังจะผันผาย "ภาวังคะฯ"จะกราย ปะทะสูงลุหล่นต่ำ ๘."ภวังคจฯ"เกี่ยว จรเที่ยวและเพลินพร่ำ ตกสูงมิถลำ บริสุทธิ์สราญใจ ๙."ภาวังคุฯ" ริจริง วสดิ่งลุฌานใฝ่ กำลังสิไสว เจาะเจริญ"วิปัสฯ"ธรรม ๑๐.พากเพียรตริสงบ ลุปะพบสงัดนำ หยั่ง"ฌานะ"ปะด่ำ มหฌานมลังดล ๑๑.ปัญญาอติหาญ ตริวิจารณ์ภวังค์ก่น บังเกิด"ฐิติฯ"ผล และภวังค์มลายไป
๑๒.เกิดญาณ"ฐิติฯ"กิจ มุตะจิตผละภพไกล ภพหน้านิรไขว่ ละ"ติภพ"ซิพ้นหนี ฯ|ะ แสงประภัสสร
ที่มา: มุตตโตทัย พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ (พระญาณวิริยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เรียบเรียง)
บริกรรมฯ=บริกรรมสมาธิ หรือ ขณิกสมาธิ คือความตั้งมั่นของจิตชั่วขณะ,สมาธิชั้นต้น อสุภา=อสุภะ คือ ซากศพ อุคฯ=อุคคหนิมิต คือนิมิตติดตาที่กำหนดเห็นจนแม่นยำ หลับตาก็มองเห็น ภวังคจิค=จิตที่ไม่รู้สึกตัว อุปะฯ=อุปจารสมาธิ คือสมาธิที่สงบจากอกุศล เป็นระยะที่จวนจะแน่วแน่ใกล้ อัปปนาสมาธิดั้งเดิมที่ผ่องใส ยังไม่มีกิเลส เอกัคคะฯ=เอกัคคตา คือ มีจิตแน่วแน่ในอารมณ์เดียว ได้แก่ สมาธิ อัปฯ=อัปปนาสมาธิ คือสมาธิที่ถึงความแนบแน่น พ้นจาก รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส บริฯ=บริกรรมนิมิต คือนิมิตขั้นเตรียม ได้แก่สิ่งที่กำหนดเป็นอารมณ์ในการทำสมาธิ เช่นเพ่งดูดวงกสิณ,เพ่งดูลมหายใจ อุคคาหะฯ=อุคคหนิมิต คือบริกรรมนิมิตที่เพ่งจนติดตา หลับตาก็ยังมองเห็น ปฏิภาคฯ=ปฏิภาคนิมิต คือนิมิตที่เป็นภาพเหมือนของอุคคหนิมิต แต่จะขยายหรือย่อส่วนได้ มีความสงบของจิตมากกว่า อุคคหนิมิต และมีความผ่องใสกว่าร้อยเท่าพันเท่า ภวังค์ฯ=ภวังคบาท คือ ขณะแรกที่จิตวางอารมณ์เข้าสู่ฐานเดิมของตน ภวังคจฯ=ภวังคจลนะ คือ ขณะที่จิตเริ่มไหวตัวเพื่อขึ้นสู่อารมณ์อีก ภาวังคุฯ=ภวังคุปัจเฉทะ คือขณะที่จิตเคลื่อนจากฐาน ขึ้นสู่อารมณ์ ชาติ=การเกิด ญาณฐิติฯ=ฐีติญาณ คือความรู้ตัดสินว่า ภพเบื้องหน้าไม่มีอีกแล้ว ติภพ=สามภพ ได้แก่ ๑)กามภพ(เป็นที่อยู่ของผู้ที่ยังเสพกามคุณ ๕ ได้แก่ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน มนุษย์ และเทวดา ๒)รูปภพ เป็นที่อยู่ของพรหมที่มีรูป ๓) อรูปภพ เป็นที่อยู่ของพรหมที่ไม่มีรูป)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: มุตโตทัย : ๒๕.การทำจิตให้ผ่องใส ~ ภุชงควิเชียรฉันท์ ๑๒
มุตโตทัย: ๓๐. ชั้นต้นโพธิสัตว์
มุทิงคนาทฉันท์ ๑๔
๑.พระโพธิสัตว์ก็เก่งกาจ ผจงมุมาดพระโพธิ์ญาณ พระหวังสิพุทธะภูมิฐาน จะต้องประกอบกะสี่ธรรม
๒."ขยัน,อฐิษฐ์"กะ "ปัญญา" และ "เมตตะ" พาลุลึกด่ำ พระพร้อมประกอบซิแปดล้ำ ดำรงมนุษย์,บุรุษแน่ ๓."พระสิทฯ"ประสูติตะมารดา "สิรีฯ"บิดา"พระสุทฯ"แล้ พระองค์สะสมกะ"วิทย์"แผ่ เสวยสิราชย์ อะยุเยาว์
๔.ประชาสราญบุรีรมย์ ตะทรงระทมคะนึงเฝ้า เสาะหาซิทางลิเกิดเขลา มิเกิดบ่มีกะป่วย,ตาย ๕.พระองค์มิท้อพิจารณ์ธรรม ฤทัยกระหน่ำสมาธิ์กราย สนมสิหลับนิมิตหมาย ปะซากระดาษ ณ ป่าช้า
๖.นิมิตก็ชี้วะ"เกิด,แก่" กะ"เจ็บ"และ"แน่" ก็"ตาย"นา พระองค์สลดและหน่ายหนา เสด็จละราชะเร็วพลัน
๗.เสด็จผนวช"ภิเนษกรมณ์ อธิษฐ์ลิผมประจงครัน ปะ"อัศฯ" เพราะ"อัฏฐะ"ครบสรร อุบัติเผดิมก็ครั้งเดียว ๘.ปฐมพระสงฆ์คะคล้ายชัด ลุ"อัศฯ"ชงัดสิแน่เจียว ผิหลังพระพุทธและสงฆ์เที่ยว เสาะหากะ"อัฏฐะ"ด้วยตน ๙."ภิเนษฯ"จะเรียก"ปฐมโพ- ธิสัตว์"ก็โอ่พิเศษคน เพราะบรรลุ"สัมมะพุทธ์ฯ"ผล ณ ชาตินี้และแน่นอน
๑๐.ผนวชวิจารณ์นิมิตแรก แวะ"อุคคะฯ"แยกเจาะส่วนก่อน และ"ปาฏิภาคฯ"ตริไม่ถอน กระทำระเรื่อยมิหยุดยาตร ๑๑.ณ โพธิพฤกษ์รวีลับ ลุ"บุพฯ"สดับระลึกชาติ "ปฐมฯ"ริรู้กะเกิดดาษ มนุษย์และสัตว์คะเนลาน ๑๒."จุตูปะ"ก่อนรวีแสง ก็"มัชฯ"ซิแจ้งและเห็นผ่าน เพราะตากะวัฏฏะสงสาร เลาะวนกะเกิดและตายเวียน
๑๓.ฤทัยยะหยั่ง"ฐิตีธรรม" ลุญาณซิด่ำและชมเชียร เจาะ"อาสวักฯ"กิเลสเตียน ลุญาณลิภพมิมีพลาด
๑๔.สภาวะนี้จะตรัส์รู้ "อนุตฯ"จะชูและเชิดศาสน์ ดำรงพระศาสดาปราชญ์ ก็กาละท้าย ณ โพธ์สัตว์
๑๕.พระตรัสรู้เสวยสุข วิมุตติปลุกพระธรรมจัด ณ พฤกษะเจ็ดตระเวณผลัด มุต้นละเจ็ดทิวาวัน
๑๖.ประสงค์แนะสอนประชาชน เสด็จปะยล"พระปัญจ์ฯ"พลัน "พระปัญจ์ฯ"ลุธรรมยะยิ่งสันต์ ประกาศพระศาสน์"ปฐมกาล"
๑๗.พระพุทธ์ฯสิตั้ง"พระสาร์"ว่า ณ"อัคระฯ"ขวาเพราะ"ปัญญ์"พาน "พระโมคฯ"สิซ้ายละเลิศขาน อุดมสิฤทธิ์ระบือนาม
๑๘.พระเทศนากะ"โอวาทฯ" สดมภ์พระศาสน์กะหลักสาม ละชั่วมุดีหทัยงาม จะเป็นสิ"มัชฯ"นะเทศน์กลาง
๑๙.ตะนั้นมุสอนนิกรชน ลุ"ปัญฯ"ซิดลกิเลสสร่าง ก็"โพธิกลาง"ธ ถากถาง ประชาวิโมกข์จำนวนมาก
๒๐.เสด็จละขันธ์ ณ ต้น"สาล์" "กุสีฯ"พระฯว่ามิยุ่งยาก ติสงฆ์ บ ควรประมาทพราก ริเร่งวิโมกข์ระเร็วยิ่ง
๒๑.เพราะเทศน์ก็"ปัจฯ"สิท้ายรุด ลุณาณพิสุทธิ์ละลงดิ่ง ลิ"ขันธะนิพฯ"ละปล่อยทิ้ง ก็"โพธิกาลฯ"สิท้ายแล ฯ|ะ แสงประภัสสร
ที่มา: มุตตโตทัย พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ (พระญาณวิริยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เรียบเรียง)
พระโพธิสัตว์=บุคคลที่ปรารถนาพระโพธิญาณ ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต พุทธะภูมิธรรม ๔=ผู้หวังพุทธภูมิ ต้องประกอบด้วย ๑)เพียร ๒)ปัญญา ๓)ต้องอธิษฐานมั่นคง ๔)เมตตา องคประกอบ ๘=พระโพธิสัตว์ที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้าต้องมี ๑)เป็นมนุษย์ ๒)บุรุษเพศ ๓)มีศักยภาพที่จะลุอรหันต์ ๔)ได้เห็นและได้เฝ้าพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง ๕)ต้องครองเพศบรรพชิตเท่านั้น ๖) ถึงพร้อมด้วยอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ พร้อมตั้งความปรารถนาที่จะสำเร็จด้วย ๗)บริจาคชีวิตถวายแด่พระพุทธเจ้า ๘)ปรารถนาจะลุสัพพัญญุตญาณอย่างแรงกล้าไม่ท้อถอย พระสิทฯ=พระสิทธัตถะ จะได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันมีพระนามว่า พระโคดมพุทธเจ้าหรือพระโคตมะพุทธเจ้า ประสูติในราชวงศ์ศากยะ พระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางสิริมหามายาเป็นพระราชบิดา และพระราชมารดา ภิเนษกรมณ์=การบวชของพระโพธิสัตว์ผู้จะบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า ระยะนี้เรียกปฐมโพธิสัตว์ ภิเนษฯ=มหาภิเนษกรมณ์ คือการเสด็จออกบวชของพระพุทธเจ้า อัฏฐะฯ=อัฏฐะบริขาร คือ เครื่องใช้ เก้าอย่างของพระสงฆ์ อัศฯ=อัศจรรย์ อุคคะ=อุคคหนิมิต คือบริกรรมนิมิตที่เพ่งจนติดตา หลับตาก็ยังมองเห็น ปาฏิภาคฯ=ปฏิภาคนิมิต คือนิมิตที่เป็นภาพเหมือนของอุคคหนิมิต แต่จะขยายหรือย่อส่วนได้ มีความสงบของจิตมากกว่า อุคคหนิมิต และมีความผ่องใสกว่าร้อยเท่าพันเท่า จิ=จะ ตะ=แต่ สิ,ซิ=ใช้เน้นคำที่อยู่ข้างหน้า บุพฯ=บุพเพนิวาสนสติญาณ คือญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้ ตอนปฐมยาม ปฐมฯ=ปฐมยาม จุตูปะฯ=จุตูปปาตญาณ คือรู้การเกิด ตายของสัตว์ มีจักษุทิพย์เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย ระยะตอนนี้เรียก มัชฌิมโพธิสัตว์ ฐิตีธรรมฯ=ฐิติธรรม เป็นธรรมที่แสดงความจริงของสังขารทั้งหลายว่าเป็นอย่างไร ถ้าเห็นจริงถึงที่สุดแล้ว มันจะปล่อยวาง เหมือนการขึ้นไปสู่ นิพพานญาณ อาสวักฯ=อาสวักขยญาณ คือญาณที่ทำให้ตัดกิเลสได้หมด อนุตฯ=อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ คือญาณอันประเสริฐ อันเป็นเครื่องตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้เอง ไม่มีใครสอน ระยะกาลนี้เรียก ปัจฉิมโพธิสัตว์ พระปัญจ์ฯ=พระปัญจวัคคีย์ พระสาร์ฯ=พระสารีบุตร อัครสาวกเบี้องขวา อัคระฯ=พระอัครสาวก ปัญญ์=ปัญญา พระโมคฯ=พระโมคคัลลานะ พระอัครสาวกเบื้องซ้าย โอวาทฯ=โอวาทปาติโมกข์ ทรงเทศน์ในวันมาฆะบูชา แสดงหลักของพุทธศาสนา ได้แก่ ละเว้นชั่ว ทำความดี ทำใจให้บริสุทธิ์อยู่เสม ระยะนี้จัดเป็น มัชฌิมเทศนา โพธิกลาง=มัชฌิมโพธิกาล ที่ทรงสอนชนทั้งหลายเป็นเวลา ๔๕ ปี ปัญฯ=ปัญจจัตตาฬีส แปลว่า ๔๕ ปี ที่เสด็จเผยแผ่คำสอนแก่ประชาชน กุสี=เมืองกุสินารา ที่ทรงปรินิพพาน ระยะนี้จัดเป็น ปัจฉิมโพธิกาล สาล์=ต้นสาละ ที่พระพุทธเจ้า ปรินิพพาน ระหว่างต้นสาละคู่ ปัจฯ=ปัจฉิมเทศนา เป็นระยะใกล้ปรินิพพาน ทรงแสดงโอวาทครั้งสุดท้าย เรื่องความไม่ประมาททรงให้สงฆ์เร่งทำความเพียร เพื่อพระนิพพาน ขันธะนิพฯ=ขันธปรินิพพาน คือ การเสด็จดับขันธ์ของพระพุทธเจ้า โพธิกาล=ปัจฉิมโพธิกาล
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: มุตโตทัย : ๒๕.การทำจิตให้ผ่องใส ~ ภุชงควิเชียรฉันท์ ๑๒
มุตโตทัย: ๓๑.โสฬสกิจ
อินทวสัตตดิลกฉันท์ ๒๕
๑..กิจ"โสฬะ"ชี้ชัด อริย์สัจก็สี่พาน "ทุกข์,สามุทัย"ขาน กะนิโรธและมรรคล้น "โสดาฯ"สงบพิริยะหมั่น วตครันก็สี่ดล ตรองแล้วสิท่าน"สกิทะฯ"ผล อธิสัจสิแปดชั้น ๒..รีบเร่ง"อนาคาฯ" จริยามุเพียรดั้น สิบสองจะใกล้ฝัน ธุระเสร็จมินานรอ สิบหกสฤษดิ์อริยะผ่าน นิรวาณลิ"วัฏฯ"ขอ ญาณยิ่งอุบัติอรหะฯพอ ระยะมรรคลำดับงาน ๓..มรรคแปด ณ กาย,จิต จะประชิดปะทุกข์ราน เหตุทุกข์"สมาฯ"ผลาญ ก็ลิด้วย"นิโรธ"ตาม ดับทุกข์"นิโรธ"ซิพลิแจ้ง และแจรงสิมรรคความ สัจจาฉะนี้มุรุหะถาม ละขจัดซิโลกธรรม ๔..มรรคอยู่กะจิต,กาย ระดะหลายจมูกนำ ตา,หูและลิ้นพร่ำ ริกะกายซิรวม"อัฏฐ์" รู้ทันเจาะแปดกะมติแล้ว ก็จะแกล้วมิหลงชัด ลาภ,ยศ,ติฉินแหละทุระขัด หฤทัยสิมั่นคง
๕..มรรค,โลกะธรรมแปด อริแฝดแหละรู้ตรง เมื่อมรรคเจริญสงค์ จะลิโลกะธรรมได้ แก้โลกะธรรมเจาะฐิติจิต ธุวะกิจมิหวั่นไหว จิตนิ่งกิเลสลิ มละไกล อติผลอุดมแล ฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา: มุตตโตทัย พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ (พระญาณวิริยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เรียบเรียง)
โสฬะฯ=โสฬสกิจ(โสฬส แปลว่า ๑๖)โสฬสกิจ คือกิจในอริยสัจ ๔ ประการ(ทุกข์,สมุทัย,นิโรธ,มรรค) หมายถึงกิจของพระอริยะมีราม ๑๖ ชั้น ชั้นพระโสดาบันก็ประชุม ๔, พระสกิทาคามี ประชุม ๔, พระอนาคามี ก็ ๔, พระอรหันต์ ก็ ๔ รวมเป็น ๑๖ องค์อริยมรรคเป็นขั้นๆไป ทุกข์=คือความทรมานไม่สบายกาย ใจ สามุทัยฯ,สมาฯ=สมุทัย คือต้นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ นิโรธ=คือการดับสมุทัย ต้นเหตุออกไป มรรค=ทางไปสู่การดับทุกข์ โสดาฯ=พระโสดาบัน เป็นพระอริยบุคคล ขั้นแรก วต=วัตรปฏิบัติ สกิทะฯ=พระสกิทาคามี เป็นอริยบุคคล ขั้นที่ ๒ อธิ=ยิ่งใหญ่ อนาคาฯ=พระอนาคามี พระอริยบุคคล ขั้นที่ ๓ อรหะฯ=พระอรหันต์เป็น พระอริยบุคคลขั้นที่ ๔ บรรลุนิพพาน นิรวาณ=นิพพาน พลิ=มีกำลัง รุหะ=งอกงาม ทุร=สิ่งที่ไม่ดี,ชั่ว โลกธรรม ๘ =เรื่องธรรมดาของโลกที่ครอบงำสัตว์โลก แบ่งเป็น ๑)อิฏฐารมย์ เป็นที่พอใจ ลาถ,ยศ,สรรเสริญและสุข ๒) อนิฐารมย์ ไม่เป็นที่พอใจ ได้แก่ เสื่อมลาภ,เสื่อมยศ,นินทาว่าร้าย และทุกข์ รวมทั้งหมด ๘ จึงเป็นโลกธรรม ๘ อัฏฐ์= หมายถึง มรรคแปด ธุว=มั่นคง อติ=ยิ่งใหญ่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: มุตโตทัย : ๒๕.การทำจิตให้ผ่องใส ~ ภุชงควิเชียรฉันท์ ๑๒
มุตโตทัย: ๓๒.สำคัญตนว่าได้บรรลุอรหัตผล
โตฎกวิเชียรฉันท์ ๒๖
๑.กิระวัจนะถก พระสะวกนะสององค์ แก่อ่อนพรรษะเป็นสขะสงฆ์ พิระมั่นสิห่างไกล
๒.อรหัตต์สิประชัน ยุวพรรษ์สำเร็จไว องค์แก่พรรษ์สมาธิวิไล วสะไหนลุเชี่ยวชาญ ๓.ดนุตรึกริวิมุต ทิฐิผุดวะนิพพาน ผู้อ่อนพรรษ์ซิล่วงชวญาณ ก็แนะพบสิหลายคราว
๔.นิรพานจะเจอะเจอ จรเกลอเจาะถามข่าว สงฆ์อ่อนพรรษ์แนะถ้าอติพราว ก็อธิษฐ์กำเนิดบึง
๕.นิรมิตนิลุบล นุชะดลระบำตรึง เพ่งเจ็ดนางฟะฟ้อนประลุถึง ระคะกามกำเริบพลัน
๖.เพราะกิเลสสิขยาย สวพ่ายลุนิพฯครัน สงฆ์อ่อนพรรษ์แนะเร่งพิรมั่น ริวิปัสสะยืนยง
๗.ปฏิบัตินยสอน ก็จะจรวิโมกข์วงศ์ สงฆ์แก่พรรษ์ประสิทธิ์และดำรง อรหันต์ฉะนี้แล ๘.ดุจะคล้ายนิรมิต ก็พินิจวะช้างแร่ ตกใจหลงจะวิ่งและตริแพ้ สขิใกล้ติเตือนตน
๙.เพราะมิใช่วปุช้าง สติพร่างก็ภาพดล เพื่อนช่วยสอนพิจารณ์วตะผล อธิคมลุนิพพาน
๑๐.คตินี้สขิชัด อนุวัตพระธรรมหาญ ร่วมเป็นมิตรสนิทปณิธาน กิจะร่วมประโยชน์หนา ฯ|ะ แสงประภัสสร
ที่มา: มุตตโตทัย พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ (พระญาณวิริยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เรียบเรียง)
กิระ=คำล่ำลือ พระสะวก=พระสาวก สข,สิขะ=เพื่อน พิระ=เพียร วสะ=ความตั้งใจ ดนุ,วปุ,สว=ตนเอง วิมุต=ความหลุดพ้น ทิฐิ=ความเห็นผิด วะ=ว่า สิ,ซิ=ใช้เน้นคำที่อยู่ด้านหน้า ชว=ไว นิร=ไม่มี อติ=ยิ่งใหญ่ อธิษฐ์=ผู้ตั้งมั่น,ผู้ปรารถนายิ่ง นิพฯ=นิพพาน วิโมกข์=หลุดพ้น แร่=รี่,ตรงเข้ามา อธิคม=ความสำเร็จ อนุวัต=ทำตาม,ประพฤติตาม ปณิธาน=ตั้งความปรารถนา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: มุตโตทัย : ๒๕.การทำจิตให้ผ่องใส ~ ภุชงควิเชียรฉันท์ ๑๒
มุตโตทัย: ๓๓.อุณหัสสวิชัยสูตร
วังสัฏฐฉันท์ ๑๒
๑."พระรัตน์ฯ"สถิตย์หล้า กรุณานิกรเกษม ผู้ถึงจะปรีดิ์เปรม อนุศาสน์ประพฤติพระธรรม
๒."สราณะ"สามดล ชยพ้นกะทุกข์ระกำ "อุณ์หัสฯ"สิร้อนนำ ดนุก่อซินอกและใน ๓.ก็ร้อนเจาะใน,นอก พหิบอกสิภูติ ฤ ภัย ภายในกิเลสไหว ตะ"พระรัตน์ฯ"ชนะสกล
๔.พระธรรมวิศิษฐิ์โชค ณ ติโลกลิร้อนทุรน ไป่หมดอะยุคน มรณาจะเลื่อนละไกล
๕.พระคุณพระรัตน์ฯเลิศ นม เทิดกรุณวิไล ที่พึ่งทแกล้วใส มรณาชะลอเพราะบุญ
๖."ปิฎกฯ"ซิกล่าวไว้ ณ สมัย"พระพุทธ์"อดุลย์ ห้าร้อยพระสงฆ์หนุน ณ พนา"กบิลฯ"บุรี
๗.ก็เทวะทั้งหลาย อธิบาย"สราณะ"นี้ คนพ้นอบายหนี จตุภูมินรกสิพลัน
๘.ละโลกจะดิ่งตรง และดำรงสถานสวรรค์ เสพสุขะนานครัน จิระกาลเขษมมิซา
๙."สราณะ"สามชัด ก็"พระรัตน์"เมลือง ณ หล้า จิตถึงวิบูลย์หนา ภยคลาดกระวนมลาน ฯ|ะ แสงประภัสสร
ที่มา: มุตตโตทัย พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ (พระญาณวิริยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เรียบเรียง)
สราณะ=สรณะ เป็นที่พึ่ง อุณ์หัสฯ=อุณหัสส ความร้อน พระรัตน์ฯ=พระรัตนตรัย หมายถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่พึ่งของสัตว์ จะช่วยทำลายความร้อน ทุกข์ ภัย ทั้งภายนอกภายในกายของมนุษย์ได้ อนุศาสน์=คำสั่งสอน ชย=ชัยชนะ ดนุ=ตนเอง พหิ=มาก สกล=ทั้งหมด วิศิษฐิ์=เลิศ ติ=สาม สามโลก=ทางพุทธศาสนาหมายถึง๑)กามโลก เป็นภพที่อยู่ของผู้ที่ยังเสพกามคุณได้แก่สัตว์ที่อยู่ในอบายภูมิ ๔, โลกมนุษย์และเทวดา ๒)รูปโลก ที่อยู่ของพรหมที่มีรูป ๓)อรูปโลก ที่อยู่ของพรหมที่ไม่มีรูป ทแกล้ว=ผู้กล้า ปิฎกฯ=พระไตรปิฎก กบิลฯ=เมืองกบิลพัสดุ พระพุทธเจ้าประทับ บริเวณป่ามหาวัน พร้อมภิกษุ ๕๐๐ รูป เทวดาได้มาเฝ้า และกล่าวพระคาถา ว่าบุคคลใดถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ย่อมไม่ไปสู่อบายภูมิ ๔ และเมื่อละโลกมนุษย์แล้ว จักไปเป็นหมู่เทพยดาทั้งหลาย จตุภูมิ=หมายถึงอบายภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย และเดรัจฉาน วิบูลย์=บริบูรณ์ ภย=ภัย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|