
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๑๒.ตัวอย่างของผู้เข้ากันได้โดยธาตุ
กลอนกลบท สิงห์โตเล่นหาง
๑.สมัยหนึ่งพุทธ์องค์ทรงสถิตย์
"คิชกูฏ"ชิด อร์หันต์ครันหลากหลาย
กำลังเดินจงกรมบ่มทลาย
กิเลสหน่ายมิห่างข้างพระองค์
๒.พุทธ์เจ้าถามภิกษุลุเห็นไหม
"สารีฯ"ไซร้เดินร่วมรวมเหล่าสงฆ์
ภิกษุตอบทรงชี้คลี่ประจง
กลุ่มนี้ทรง"ปัญญา"หล้าเลิศไกร
๓.พุทธองค์ถามซ้ำพร่ำการเห็น
"โมคคคัลฯ"เน้น"มันตาฯ,อานนท์"ศรัย
"อนิรุทธ์ฯ,เทวะฯ"กะ"กัสสฯ"ไว
แยกเดินไกลเป็นกลุ่มดุ่มทุกกาล
๔."โมคคัลลาฯ"ฤทธิ์มากยากใครเหมือน
"กัสส์ปะ"เฉือนธุดงค์บ่งเยี่ยมขาน
อนุรุทธ์ฯตาทิพย์กริบคมงาน
"มันตาฯ"ซ่านแสดงแจงธรรมดี
๕."อุบาลีฯ"วินัยไซร้เลิศขับ
"อานนท์ฯ"ตรับฟังด่ำจำแจ้งปรี่
"เทวทัตฯ"ลามกพก"อยาก"มี
นิสัยดีหรือชั่วมัวห่างแล
๖.ภิกษุดูสัตว์หลายกรายเข้ากัน
ธาตุเดียวนั้นนิสัยใจคอแฉ
เลวกับเลวลงกันมั่นมิแปร
ดีกับดีอยู่แท้แน่ชื่นชม
๗.อดีต,อนาคต,จดตอนนี้
สัตว์หลากรี่ธาตุเหมาะเกาะเกี่ยวสม
นิสัยเลว,ดีผองต้องพร่างพรม
แยกธาตุบ่มนิสัยไซร้คล้ายคลึง ฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา : สังยุตตนิกาย นิทานวัคค์ ๑๖/๑๘๖
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๐๙-๑๑๐.
พุทธองค์=พระพุทธเจ้า
คิชกูฏ=ภูเขาคิชกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์
สารี=พระสารีบุตรเถระ เป็นเอตทัคคะ(ผู้ยอดเยี่ยมทางใดทางหนึ่งเป็นพิเศษ) เลิศทางปัญญา
โมคคัลลา=พระมหาโมคคัลลานเถระ ผู้เลิศทางมีฤทธิ์
มันตาฯ=พระปุณณมันตานีเถระ ผู้เป็นพระธรรมกถึก(ผู้แสดงธรรมเป็นเลิศ)
อานนท์=พระอานนทเถระ เป็นผู้สดับตรับฟังมาก(เป็นพุทธอุปัฏฐาก)
อนิรุทธ์=พระอนุรุทธเถระ เป็นผู้มีทิพยจักษุ
เทวะ=พระเทวทัต ไม่ได้เป็นผู้เลิศพิเศษอย่างใดแต่ เป็นผู้มีความปรารถนาลามก
กัสสะฯ=พระมหากัสสปเถระ เป็นผู้เลิศในการธุดงค์
(ขอบคุณเจ้าของภาพจาก อินเทอร์เน๊ต)