
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๑๘.ขันธ์(กอง) ๕ มีอะไรบ้าง
โคลงสี่สุภาพ
๑.ขันธ์แปล"กอง"ที่ชี้.......................รูป,นาม
ขันธ์แบ่ง"ปัญจ์"แยกตาม....................ต่างแท้
"รูปขันธ์,หนึ่ง"มองงาม........................ธาตุสี่กอปรกัน
เป็นร่างหญิง,ชายแล้..........................เลิศไซร้แลหา
๒."เวท์นา,สอง"รับรู้...........................สุข,ทุกข์
หรือไม่สุข,ทุกข์รุก..............................ซุ่มเร้า
"สัญญา"อยู่สามชุก.............................หมายมุ่ง
จำรูป,เสียงเคียงเฝ้า............................ไม่พลั้งลืมเผลอ
๓.เจอ"สังขาร,สี่"แจ้ว..........................คิด,ปรุง
ดี,ชั่วทำหลากมุง.................................จิตดิ้น
"วิญญาณ"รับทราบผลุง.......................ตาผ่าน
หู,จมูก,กาย,ใจ,ลิ้น...............................บ่งแจ้งปัญจ์ขันธ์ ฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา : วิภังค์ อภิธัมปิฎก ๓๕/๕๔๒
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๑๓
ขันธ์=ส่วนของรูป กับ นาม แยกเป็น ๕ กอง เรียกขันธ์ห้า ได้แก่ รูปขันธ์, เวทนาขันธ์,สัญญาขันธ์,สังขารขันธ์,วิญญาณขันธ์
ปัญจ์=ปญจ แปลว่า ห้า
รูปขันธ์=เป็นสภาพที่ไม่รู้ คือ กาย มีทั้งหมด ๒๘ รูป(แบ่งเป็น อุปาทยรูป ๒๔ และมหาภูตรูป ๔ ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่ประกอบกันเป็น กายคน)
เวท์นา=เวทนาขันธ์ คือความรู้สึก มีทั้งหมด ๕ ได้แก่ สุขกาย, สุขใจ,ทุกข์กาย,ทุกข์ใจ,อุเบกขาทางใจ
สัญญาขันธ์=คือความจำได้ รู้จำได้กับสิ่งที่ปรากฏทาง ตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย และความรู้สึกทางใจ(ด้วยเวทนา สัญญา สังขาร)
สังขารขันธ์=คือการคิด ปรุงแต่งจิตให้จิตมีอารมณ์ และกริยาหลากหลาย มีรวม ๕๐ สังขาร
วิญญาณขันธ์=เป็นสภาพรับรู้ จากทวารทั้ง ๖ คือตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ
(ขอบคุณเจ้าของภาพจาก อินเทอร์เน๊ต)