
ประมวลธรรม : ๑.สามัญญผลสูตร(ว่าด้วยผลของความเป็นสมณะ)
กาพย์มหาตุรงคธาวี
๑.พุทธ์เจ้ายั้ง.....ป่ามะม่วงยัง.....หมอดัง"ชีวะฯ"จด
ราชคฤห์ลุ....วันอุโบสถ....สิบห้าค่ำ....เดือนล้ำสิบสองคง
"อชาติศัตร์ฯ"......กษัตริย์ถามจัด......ดีชัดอย่างไรสงฆ์
ครูหกคน....ตอบท้นมิตรง....ถามมะม่วง....กลับจ้วงขนุนไปเลย
๒.พุทธ์องค์ถาม......."อชาติฯ"ตอบความ.....ข้อลามสิบสี่เผย
ทาสของท่าน....บวชผ่านดีเปรย....ได้เรียกกลับ....มารับงานทาสหรือไม่
อชาติศัตร์ฯ......ตอบจนแจ้งชัด......มิจัดคืนแต่อย่างใด
แต่เคารพ....ประกบปัจจัย....พุทธ์องค์ตอบ....ผลชอบการเป็นสงฆ์จริง
๓.คนทำนา......ออกบวชแล้วครา.......เรียกหากลับหรือทิ้ง
พุทธ์องค์ตอบ....ว่าชอบด้วยอิง....ข้อแรกยล.....เป็นผลของสมณะ
พุทธ์เจ้ากล่าว......นิกรบวชพราว.......สกาวด้วยสีละ
อกุศล....ไม่ท้นจิตตะ....หกอินทรีย์.....ตารี่หู,จมูก,กาย
๔.คุมอินทรีย์......มิก่อบาปชี้......ทวี"ความอยาก"ผาย
สัมป์ชัญญะ....คุมสติกราย....บาปเกรงกลัว....ริชั่วละอายตัดรอน
มีสันโดษ......มิแสวงโลด......ตัดโทษ"อยาก"ขจร
ทำสมาธิ์....ละห้านิวรณ์....ปิติเกิด.....สุขเลิศยิ่งปฐมฌาน
๕.ผู้บวชนิ่ง......ใจผ่องใสจริง.......จะทิ้งตรึก,วิจาร
จิตรวมหนึ่ง....สุขซึ่งสราญ....กว่าปฐม.....นิยมเรียกฌานที่สอง
ผลจากบวช......อุเบกขารวด......ปิติงวดมิครอง
สัมป์ชัญญะ....กับสติประคอง.....ประณีตสุข....จะรุกลุฌานสามนา
๖.บวชแล้วได้......ละสุขทุกข์ไกล......ดี,เสียใจจบหนา
สติกาจ....ใจสะอาดกล้า....จึงสุขเลิศ....บรรเจิดในฌานสี่เอย
ผลดีจาก.....บวชเรียนจะมาก.....โดยกรากญาณสูงเผย
น้อม"ญาณทัสส์ฯ"....รู้ชัดปัญญ์ฯเอ่ย....กายแตกง่าย....สลายไปธรรมดา
๗.ใจมีฤทธิ์......."มโนมยิทธิ์ฯ"........นิมิตกายได้หนา
แสดงฤทธิ์.....ด้วย"อิทธิฯ"กล้า.....เสกเป็นคน....สัตว์ดลน้อย,มากจะยล
มีทิพย์โสต.....ใกล้ไกลหลายโยชน์......ก็โลดยินผจญ
มี"เจโต".....รู้โขใจคน....ใครคิดใด.....ก็ใช่รู้ทั้งหมดเอย
๘."ปุพเพฯ"นึก.......อดีตชาติลึก......ย้อนตรึกเป็นใดเผย
"จุตูปปาฯ"....ญาณกล้าเห็นสัตว์เอ่ย....การเกิด-ตาย....สัตว์วายอดีตทุกกาล
ลุ"อาส์วักฯ"........ญาณที่ประจักษ์.......จะผลักกิเลสผลาญ
ผลสูงสุด.....สงฆ์รุดสราญ.....สิบสี่ข้อ.....เลิศรอประโยชน์มากมาย
๙.สิบสี่ข้อ.......พุทธ์องค์ทรงย่อ.......สามอ้อซิง่ายดาย
หนึ่งพ้นผละ......ฐานะเดิมกลาย.....ทาส,ทำนา.....พระราชามีผู้นบ
สองบ่มใจ.......จิตสมาธิ์ไซร้......ฌานใฝ่หนึ่ง-สี่ครบ
ฌานพลัง.....ระวังกิเลสจบ....ลงไปบ้าง......มิจางยังไม่หมดลง
๑๐.สามริ่มจาก......."ญาณทัสส์"รู้กราก.....ถึงฟาก"อาส์วักฯ"บ่ง
"อาส์วัก์"เดช.....กิเลสหมดปลง......ลุนิพพาน.....มิผ่านการเกิดนิรันดร์
อชาติศัตร์ฯ.....ขอถึงพระรัตน์......บอกชัดที่พึ่งพลัน
ขอขมา.....ที่ฆ่าพ่อครัน.....เพราะเชื่อหลง.....ผจงทำผิดพลาดไป
๑๑.ครา"อชาติฯ"......กราบทูลลาคลาด.......ปลาตกลับไปไกล
พุทธ์องค์กล่าว......เรื่องราววิสัย.....อชาติศัตร์....ต้องขัดแค้นปลงพระชนม์
บาปมหันต์.......ฟังธรรมก็ครัน........มิประชันใดดล
ถ้าไม่ฆ่า.....ดวงตาจะยล....ลุพระธรรม....เลิศล้ำยิ่งโสดาบัน ฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ ทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๒๙๓-๒๙๕
ป่ามะม่วง= ของหมอชีวกะ ใกล้กรุงราชคฤห์
ชีวะฯ=หมอชีวกะ เป็นหมอประจำองค์พระพุทธเจ้า
อชาติศัตร์ฯ,อชาติฯ=พระเจ้าอชาติศัตรุ คือผู้ที่วางแผนฆ่าพ่อ(พระเจ้าพิมพิสาร) แล้วขึ้นครองราชย์แทน
ครูหกคน=คือ ๑)ปูรณะ กัสสป ๒)มักขลิ โคสาละ ๓)อชิตะ เกสกัมพล ๔)ปกุธะ กัจจายนะ ๕)นิคัณฐะ นาฏบุตร ๖)สัญชัย เวลัฏฐบุตร
นิวรณ์ห้า=คือ อารมณ์ทางความคิด ที่ขัดขวาง ปิดกั้นมิให้จิตลุความดี เป็นอุปสรรคต่อการลุธรรม แบ่งเป็น ๕ อย่าง ๑)กามฉันทะ -ความพอใจในกาม ความรัก ความปรารถนา หลงใหล ๒)พยาบาท -ความปองร้าย ๓)ถีนมิทธะ-ความง่วงเหงา หดหู่ เกียจคร้าน ๔)อุทธัจจะกุกกุจจะ-ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ วิตกกังวล ๕)วิจิกิจฉา-ความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ
ญาณทัสส์=ญาณทัสสนะ (หรือวิปัสสนาญาณ )คือความรู้เห็นด้วยปัญญา
มโนมยิทธิ์ฯ=มโนมยิทธิ คือฤทธิ์ทางใจ นิรมิตร่างกายอื่น จากกายนี้ได้
อิทธิฯ=อิทธิวิธิ คือแสดงฤทธิ์ได้ เช่น น้อยคนทำให้เป็นมากคน มากคนทำให้เป็นน้อยคน เดินในน้ำ ดำดิน เป็นต้น
ทิพย์โสต=มีหูทิพย์ ได้ยินเสียงใกล้ไกล ที่เกินวิสัยหูมนุษย์ธรรมดา
เจโตฯ=เจโตปริยญาณ คือ กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้
ปุพเพฯ=ปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือระลึกชาติในอดีตได้
จุตูปปาฯ=จุตูปปาตญาณ คือ ญาณรู้ความตาย ความเกิดของสัตว์ได้ โดยเห็นด้วยตาทิพย์
อาส์วักฯ=อาสวักขยญาณ คือ ญาณที่ทำอาสวะ กิเลสที่หมักหมม หรือหมักดองในสันดานให้สิ้นไป
(ขอบคุณเจ้าของภาพ จากอินเทอร์เน๊ต)