แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๒/๔) ๑๓.มหาปรินิพพานสูตร
๑๐.ณ ป่ามะม่วง......สิ"อัมพะฯ"บ่วง......แสดง"สตีฯ" "สัมป์ชัญญ์ฯ"รู้ตัว....จั่วรู้สึกดี...."สตีปัฏฯ"สี่....การฝึกภาวนา เวทนา,กาย......จิต,ธรรมเด่นฉาย......ตั้งมั่นแน่วหนา รู้ความเป็นจริง....ทิ้งความยึดกล้า....หมดอำนาจล้า....กิเลสหมดลง
๑๑.ก็"อัมพะฯ"ชี้.....สิโสภิณี......นิมนต์พระองค์ ฉันภัตต์วันรุ่ง....จุ่งลิจฉ์วีฯบ่ง....ขอทำแทนตรง....แลกเงินแสนไว อัมพ์ปาฯตอบว่า.....แม้"เวสาฯ"หล้า.....ไม่คิดแลกไซร้ พุทธ์เจ้าไม่รับ.....กับคำขอใด....ของลิจฉ์วีไกล....นอกจากอัมพ์ปา
๑๒.พระองค์แสดง......พระธรรมแจรง......กุศีล,สมาธิ์ พร้อมปัญญาพร่าง....แก่นางอัมพ์ปา....ซึ่งได้มอบป่า....นอบน้อมสงฆ์เอย จากนั้นพุทธ์องค์.....จำพรรษาตรง......"เวฬุว์คามฯ"เผย ทรงอาพาธหนัก....จักต้องลาเอ่ย....จึงตั้งจิตเปรย....ดำรงชีพยง
๑๓.ลุหายประชวร.....อะนนท์ตริด่วน......หทัยพะวง พุทธ์องค์ตรัสนำ....สอนธรรมล้วนตรง....อีกชัดเจนบ่ง....ไม่มีนอก-ใน ไม่ปิดบังธรรม.......ไม่ทรงยึดหนำ......ปกครองสงฆ์ไข ไม่คิดว่าสงฆ์....คงเรียนธรรมใด....จากพุทธ์องค์ได้....ด้วยวัยสูงแล
๑๔.พระพุทธ์องค์......ตริอายุบ่ง......อสีติแท้ เหมือนเกวียนเก่าซ่อม....กรอมด้วยไผ่แล....มีแต่พังแน่....ไม่ช้าไม่นาน ทรงเตือนพึ่งตน......ธรรมล้นเพิ่มผล......เน้นสี่"ปัฏฐานฯ" ให้ภิกษุสงฆ์.....จงพฤติธรรมซ่าน....จนสำเร็จงาน....เพิ่มกำลังสำคัญ
๑๕.พระองค์เสด็จ......"ปะวาละฯ"เก็จ......นิมิตกระชั้น โอภาสชัดเจน....เด่น,บอกใบ้นั้น....แก่อานนท์พลัน....ด้วย"อิทธิ์บาท"เอย เป็นธรรมต้องการ......ให้ชีพยืนนาน.....ถึงร้อยปีเผย อานนท์ไม่ทัน....คิดผันความเลย....ไม่อาราธ์นาเอ่ย....จึงต้องพลาดไป
๑๖.ผิมารประโยชน์......เหมาะทูลระโลด......ลุ"นิพฯ"สิไว ไม่ต้องการเพิ่ม....เติมผู้รู้ไซร้....หรืออร์หันต์ได้....ในธรรมเลิศเลอ สัมป์ชัญญ์รู้ดี......จึงปลงใจคลี่.....อีกสามเดือนเอ่อ นิพพานแน่ชัด....เกิดอัศจรรย์เจอ....แผ่นดินไหวเออ....รู้สึกได้เตือน
๑๗.อะนนท์ตริหา.......ก็เหตุธรา......สิไหวสะเทือน ทรงแจ้งแปดข้อ....เหตุก่อไหวเลื่อน....เนื่องด้วย"ลมเคลื่อน"....."ผู้มีฤทธิ์ดล" โพธิ์สัตว์"ก้าวนา......ครรภ์พุทธ์มารดา"......แล้ว"ประสูติ"ล้น ครา"ตรัส์รู้"นำ....แจง"ธัมม์จักรฯ"ผล...."ปลงอายุ"ตน....ดับขันธ์"นิพพาน"
๑๘.พระพุทธองค์......กุ"ขัตติฯ"บ่ง......เจาะอัฏฐะขาน ทรงสอนบรรษัท....ชัดแปดกลุ่มพาน....นับร้อยครั้งชาญ.....กล้าหาญไม่เกรง ราชา,เหล่าพรหมนา......ผู้มั่งคั่งหนา......ชุมนุมสงฆ์เผง เทพชั้นดาวดึงส์....ถึง"จาตุมฯ"เอง....เหล่ามาร,พรหมเก่ง....พุทธ์องค์ปลอดภัย
๑๙.พระองค์ตริแจง......"ภิภายะฯ"แจ้ง......ซิงำระไว เหตุอารมณ์หลาย....เห็นกรายแปดไซร้....เช่นหมายรูปใน....เห็นนอกเล็กนา หมายรูปในยิ่ง......รูปนอกเห็นจริง......มากล้นดาษดา จดรูปไม่มี....นอกนี้เล็กหนา.....ไร้รูปในมา.....เห็นรูปนอกพราว
๒๐.อรูปจรด......สิในจะทด......รูปนอกสีขาว หมายไร้รูปใน....ไซร้นอกเห็นวาว....รูปสีแดงจาว....แปลกแตกต่างกัน รูปไร้หมายใน.......นอกเห็นรูปไกล......มีสีเหลืองสรรค์ แปดข้อรู้ทำ....ครอบงำรูปนั้น.....ไม่ยึดติดครัน....แต่เป็นนายเอย
๒๑.วิโมกข์จะตรัส......สิอัฏฐะจัด.....มลานซิเผย จิตหลุดพ้นหยุด....ยุดอารมณ์เคย....พ้นด้วยฌานเกย....."อาส์วาฯ"สิ้นลง เช่น"มีรูป"ตน.......เห็นรูปนอกก่น......รูปฌานสี่ตรง ผู้ไร้รูปจด....เห็นหมดรูปบ่ง....อยู่ภายนอกคง....เสร็จด้วยรูปฌาน
๒๒.หทัยริงาม......กสิณริตาม......มิมีประมาณ ผู้ทำใจว่า...."อากาศ"มีพาน....ไม่สิ้นสุดผ่าน....ถึง"อากานัญฯ" ผู้ทำใจรุด......วิญญาณไม่สุด....."วิญญานัญฯ"พลัน ผู้ที่ทำใจ....ไม่มีใดยั่น....ถึง"อากิญจัญฯ"....สำเร็จแน่ปอง
๒๓.นราลุผ่าน......"อะกิญญ์ฯ"สราญ......ลุ"เนวสัญญ์ฯ"ผอง แล้วจึงผ่านมา...."สัญญาเวทย์ฯ"ครอง....จำ,เวท์นาตรอง....กิเลสคลายนา สัญญาเวทย์ฯนี้......เป็นญาณสูงชี้........ที่ " อนาคาฯ" อรีย์ขั้นสาม....ลามขั้นสี่หนา....คืออร์หันต์กล้า.....มุ่งหมายเสร็จครัน
๒๔.แหละพุทธองค์......สิตรัสจะปลง.......อะยุละขันธ์ อานนท์ทูลทรง.....ดำรงชีพมั่น....ทรงไม่รับพลัน....พ้นการณ์ผ่านเลย ทรงบอกใบ้แล้ว.......หลายครั้งคราแน่ว.......ราช์คฤห์สิบเผย หก,เวสาลี.....ไม่มีใครเอ่ย....ไม่ใช่กาลเชย.....เปลี่ยนความตั้งใจ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๓/๔) ๑๓.มหาปรินิพพานสูตร
๒๕.พระองค์ประชุม......พระสงฆ์ลุดุ่ม......ณ "เวสะฯ"ไกล สอนสตีปัฏฐาน....กรานสติสี่ไข...."สัมมัปป์ฯ"เพียรไซร้.....อิทธิ์บาทผลครอง อินทรีย์หน้าที่.......ของตนห้าคลี่......พละธรรมกำลัง โพชฌงค์เจ็ด....เสร็จตรัส์รู้หยั่ง....มรรคแปดทางดัง....ทรงดับทุกข์จริง
๒๖.สิธรรมสกล......"อภิญญ์ฯ"ดล......วิชายะยิ่ง ต้องเตือนสงฆ์ไว้....ไกลปรามาทสิง....มุ่งเพียงธรรมดิ่ง....ให้สำเร็จการ แล้วมุ่ง"ภัณฑ์คาม".......สอน"อรีย์ฯ"ตาม.....ธรรมเลิศสี่ขาน ศีล,สมาธิ์พร้อม....น้อมปัญญาพาน....วิมุติพ้นผ่าน....จากอาส์วะครัน
๒๗.พระองค์คระไล......ณ "หัตถิฯ"ไว.....เลาะ"อัมพะฯ"พลัน สู่"ซัมพุคาม"....ตามด้วย"โภคะฯ"นั้น....เพื่อสอนธรรมดั้น....แด่เหล่าสงฆ์,ชน ทรงแจงพิเศษ....."มหาปเทส".......หลักเทียบเคียงค้น เป็นสัทธรรมจริง....อิงตรวจสอบล้น....กับพระสูตรยล.....และพระวินัย
๒๘.เสด็จ"ปะวาฯ".......พะพร้อมคณา......สิภิกษุไซร้ มีบุตรช่างทอง....ถ่อง"จุนทะ"ใกล้....นิมนต์ฉันไว....ซึ่งเนื้อสุกร ทรงให้ถวาย......เฉพาะองค์กราย......ภัตรอื่นสงฆ์วอน สั่งฝังเนื้อนั้น....พลันอาพาธร้อน....ตกโลหิตซ้อน....สติกลั้นพา
๒๙.เสด็จ"กุสีฯ".......ปะ"ปุกกุฯ"รี่......ก็สนทนา ถวายผ้าสีทอง....ผ่องหนึ่งคู่หนา.....ทรงแนะแบ่งผ้า....อีกหนึ่งอานนท์ อานท์ถวาย.....ผ้าพุทธองค์ฉาย......ทูลผิวงามล้น ทรงตรัสผิวพรรณ....ครันผ่องใสท้น....คราตรัส์รู้ยล....คืนจะนิพพาน
๓๐.พระองค์ตริตรัส.......อะนนท์ซิชัด......ก็"จุนทะ"ทาน อย่าเดือดร้อนใจ....ไหวภัตรเขาผลาญ....พระองค์นิพฯราน....จงบอกเขาไป บิณฑ์บาตรถวาย....ก่อนตรัส์รู้ผาย.....ก่อนนิพพานไข อานิสงส์ล้น....แล้วด้นป่าไม้...."สาละ"ที่ใกล้....กุสินารา
๓๑.พระพุทธ์สิชาญ......ตริเร้าสถาน.......พลังซินา สังเวชนีย์สี่...."ที่ประสูติ"หนา...."ตรัส์รู้"ในหล้า...."แรกแสดงธรรม" "ปรินิพพาน".......เป็นที่เตือนซ่าน......ชีพไม่เที่ยงหนำ พุทธ์บริษัท....ชัดจาริกด่ำ....จิตเลื่อมใสย้ำ....ไปสวรรค์ตรง
๓๒.อะนนท์สินำ.....วิธีกระทำ.....กะกายพระองค์ ทรงบอกเหมือนนัก....จักรพรดิ์บ่ง...ห่อผ้าใหม่คง....ตามด้วยสำลี แล้วห่อสลับ.......กันไปแล้วนับ.....ห้ารอยชั้นมี ใส่รางเหล็กเติม....เสริมน้ำมันคลี่....จิตกาธานปรี่....เผาสิ่งหอมครัน
๓๓.สตูปเสาะสร้าง......เจาะที่กระจ่าง......จะเห็นประชัน ผู้เป็น"ถูปาฯ"....ว่าควรการสรรค์....มีสตูปดั้น....คือพระพุทธ์องค์ ปัจเจกพุทธ์เจ้า.....สาวกพุทธฯเหล่า......และจักร์พรรดิ์บ่ง เพื่อรำลึกถึง....ตรึงบุญคุญส่ง....เพียรทำดีตรง....ของพลเมือง
๓๔.อะนนท์พิลาป.....ก็เสขะทราบ......มิบรรลุเรือง ไม่ถึงอร์หันต์....พลันพุทธ์องค์เปลื้อง....สู่นิพพานเนื่อง....ตรัสปลอบใจไว ธรรม์ดาพรากวาย.....ไม่หยุดเสื่อมกาย.....เมตตา"เรา"ใส ทั้งกาย,วาจา....ใจกล้าบุญใหญ่....เพียรมั่นทำใจ....ย่อมสิ้นอาสฯพลัน
๓๕.แหละตรัสกะสงฆ์.....ก็เสริญผจง......อะนนท์ขยัน พุทธ์อุป์ฐากเด่น....เป็นบัณฑิตลั่น....รู้การจัดสรร....ชนเฝ้าพุทธ์องค์ พหูสูตรยิ่ง.....รู้ธรรมหลายสิ่ง.....จำแม่นยำตรง พุทธ์บริษัท....ชัดพอใจส่ง....มาฟังธรรมคง....เนืองแน่นทุกครา
๓๖.อะนนท์แนะเรื่อง.....มิควรเจาะเมือง....."กุสีนราฯ" ที่ปรินิพพาน....ขานเมืองเล็กนา....ควรเลือกใหญ่กล้า....เช่นโกสัมพี ราช์คฤห์,จัมปา......ตรัส"กุสีฯ"ว่า......เป็นเมืองใหญ่ศรี "กุสาว์ตี"ชื่อ....ลือจักร์พรรดิ์รี่....นาม"สุทัสส์ฯ"นี้....รุ่งเรืองมานาน
๓๗.พระองค์ตริแจง......อะนนท์กุแจ้ง......ลุนิพฯมลาน เหล่ามัลล์กษัตริย์....ชัดเศร้าโศกซาน....บังคมลากราน.....ยามแรกราตรี นักบวชนอกศาสน์...."สุภัทฯ"ไม่พลาด.....ขอถามธรรมปรี่ พุทธ์องค์สอนธรรม....เขาพร่ำบวชรี่....สาวกท้ายที่....ทันเห็นพุทธองค์
๓๘.พระพุทธสิสั่ง......เจาะความซิขลัง.....อะนนท์สิบ่ง หนึ่ง,ธรรม,วินัย....ไซร้"เรา"แจงตรง....บัญญัตแล้วคง....จักเป็นศาส์ดา ของท่านทั้งหลาย.....ตถาคตวาย.....ล่วงลับแล้วหนา พระธรรมยังอยู่....คู่พระสงฆ์กล้า....พร้อมชนมากหน้า....ชั่วกาลนาน
๓๙.ลุสอง ณ ครา......พระองค์ลุลา......คระไลสิผ่าน สงฆ์ไม่ควรเรียก....เพรียกถ้อยคำพาน...."อาวุโส"ขาน....ควรเรียกใหม่แทน เรียกสงฆ์วัยเยาว์......เรียก"ชื่อของเขา"....หรือ"ชื่อโคตร"แก่น พูดกับสงฆ์แก่....แน่"อายัสฯ"แผน...."ภันเต"ยิ่งแม้น....ท่านผู้เจริญ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า๔/๔) ๑๓.มหาปรินิพพานสูตร
๔๐.ริสาม,ผิ"เรา"......ลุล่วงซิเก่า.....ละกฏและเมิน สิกขาบทน้อย....สงฆ์คล้อยเผชิญ....ประโยชน์ไม่เสริญ....ให้ตัดทอนพลัน สี่,"เรา"ล่วงแล้ว.....ทำพรหมทัณฑ์แน่ว....."พระฉันนะ"ผลัน ไม่บำเพ็ญธรรม....ตนซ้ำดื้อรั้น....จงปล่อยไปครัน....ไม่ต้องตักเตือน
๔๑.พระองค์ซิบ่ง.....ผิสงฆ์พะวง.....คะแคลงมิเชือน สงสัยพระพุทธ....รุดพระธรรมเกลื่อน....หรือพระสงฆ์เงื่อน....ปฏิบัติใด ให้สงฆ์ถามมา......ทุกข้อต่อหน้า.....พุทธ์องค์ปองไข อานนท์ทูลรี่....มิมีถามไหน....ตรัสห้าร้อยไซร้....ต่ำโสดาบัน
๔๒.เจาะตรัสซิท้าย.....ก็ภิกษุหลาย......จะเตือนกระชั้น สังขารเสื่อมไว....ไม่ประมาทกัน....ให้ถึงพร้อมครัน....ด้วยความสมบูรณ์ หมายถึงให้เร่ง.....พฤติธรรม,ศีลเคร่ง.....สมาธิ์,ปัญญ์ฯพูน วิปัสส์นาเพียร....กิเลสเตียนสูญ....พ้นวัฏฏะพู้น....การเกิดสิ้นราน
๔๓.พระองค์ลุทาง......เลาะนิพฯระหว่าง.....อรูปฌาน รูปฌานแล.....แน่ไม่ติดสาน....ทั้งสองเลิกกราน....ตามลำดับเอย รูปฌานหนึ่งผ่าน......สอง,สาม,สี่ขาน.....ฌานมีรูปเผย อรูปฌานสี่....ไม่มีรูปเลย....เข้าสู่หนึ่งเปรย....สอง,สาม,สี่ครัน
๔๔.เลาะอัฏฐะฌาน......เจาะเก้าสิฐาน......"สมาฯ"ละพลัน สัญญา,เวท์นา....ดับมาแล้วสรรค์....ย้อนฌานแปดยัน....ฌานหนึ่งอีกครา แล้วจากฌานหนึ่ง.....สู่ฌานสองถึง......ฌานสาม,สี่หนา ออกจากฌานสี่....ทรงปรี่"นิพฯ"นา.....แผ่นดินไหวกล้า....เลื่อนลั่นรุนแรง
๔๕.สิ"มัลละฯ"ตั้ง......พระศพก็หวัง.....ซิเทิดแถลง บูชาเจ็ดวัน....ดั้นครบแล้วแจง.....ถวายเพลิงแกร่ง....โดย"กัสส์ปะฯ"กราน สงฆ์ร่ำไห้ครวญ......."สุภัทฯ"ห้ามด่วน.....ควรดีใจฉาน ไม่มีใครห้าม.....ทำตามใจผ่าน....กัสส์ปะคิดอ่าน....สังคายนา
๔๖.ถวายพระเพลิง.......ลุแล้วก็เบิ่ง......"พระอัฏฐิฯ"หนา กษัตริย์,พราหมณ์หลาย....ขอกรายแบ่งคว้า....มัลละฯไม่อ้า ยอมให้ผู้ใด โทณพราหมณ์เกลี้ยกล่อม....เกิดสงบถ้ายอม......แบ่งเท่ากันไป ตกลงกันแล้ว.....แน่วสร้างสตูปไว้.....บรรจุ"ธาตุฯ"ไซร้....บูชาพระคุณ ฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ ชื่อ ทีฆนิกาย มหาวัคค์ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๓๒๓-๓๒๙
อชาติศัส์ฯ, อชาติ์=พระเจ้าอชาติศัตรู วัสส์การฯ,วัสสะ=วัสสการพราหมณ์ อะนนท์=พระอานนท์ พุทธอุปฐาก ของพระโคดมพุทธเจ้า วัชชี=แคว้นวัชชี มีกรุงเวสาลี เป็น ราชธานี สัตตะ=เจ็ด สาเจดีย์ฯ=สารันทเจดีย์ สารีบุตร=พระสาริบุตร อัครสาวก เบื้องขวา ของพระพุทธเจ้า ปาฏ์คามฯ=ปาฏลิคาม สุนิธฯ=สุนิธพราหมณ์ วัสส์ฯ=วัสสการพราหมณ์ มคธ=แคว้นมคธ มีกรุงราชคฤห์ เป็นราชธานี โกฏิ์=โกฏิคาม อรีสัจจ์ฯ=อริยสัจ ๔ สตี=สติ คือความรู้สึกตัว สัมป์ชัญญ์ฯ=สัมปชัญญะ คือ ความไม่เผลอตัว สตีปัฏฯ,ปัฏฐานฯ=สติปัฏฐาน ๔ คือ วิธีปฏิบัติให้บังเกิดผลดีที่สุด เพื่อรู้แจ้งความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวง โดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ มี ๔ อย่าง ๑)กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ พิจารณากายในกาย-กำหนดลมหายใจเข้าออก ๒)เวทนานุปัสสนสติปัฏฐาน- พิจารณา รู้ว่า ทุกข์ สุกข์ หรือ อทุกขมสุขเวทนา ๓)จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ พิจารณาจิต มี ราคะ โทสะ โมหะ หรือไม่ ๔)ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน อัมพะฯ,อัมพ์ปา=นางอัมพปาลี เป็นหญิงนครโสเภณี ลิจฉ์วี=พระเจ้าลิจฉวี เวฬุว์คาม=เวฬุวคาม อสีติ=แปดสิบ ปะวาละฯ=ปาวาลเจดีย์ นิพฯ=ปรินิพานของพระพุทธเจ้า ธรรมจักรฯ=ธรรมจักรกัปวตนสูตร คือธรรมที่ทรงแสดงครั้งแรกแก่พระปัญจวัคคีย์ ขัตติฯ=ขัตติยบริษัท อัฏฐะ=แปด ดาวดึงส์=สวรรค์ชั้นที่ ๒ จาตุมฯ=จาตุมหาราชิกา คือ สวรรค์ชั้นแรก ของ เทวดา ภิภายะฯ=อภิภายตนะ คือ อารมณ์อันครอบงำธรรมะที่เป็นข้าศึก วิโมกข์= คือ ความหลุดพ้น มี ๘ อย่าง กสิณ=การภาวนา ใช้วัตถุเพ่งจูงจิตให้เป็นสมาธิ อนาคาฯ=พระอนาคามี คือพระอริยะ ลำดับที่ ๓ ราชคฤห์=กรุงราชคฤห์ เวสะฯ=เมืองเวสาลี สัมมัปป์ฯ=สัมมัปปธาน ๔ ความเพียรชอบ อิทธิ์บาท๔=ธรรมอันให้บรรลุความสำเร็จ อินทรีย์ ๕=ธรรมอันเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน โพชฌงค์ ๗=ธรรมเป็นเครื่องประกอบให้ตรัสรู้ อภิญญฯ=อภิญญาเทสิตธรรม รวม ๓๗ อย่าง คือ ธรรมที่แสดงแล้ว ด้วยความรู้ยิ่ง ภัณฑ์คาม=ภัณฑคาม กรุงเวสาลี อรีย์ฯ=อริยสัจ ๔ หัตถิฯ=หัตถิคาม อัมพะฯ=อัมพคาม โภคฯ=โภคนคร มหาปเทส=คือหลักอ้างอิงเพื่อสอบสวนข้อกล่าวอ้างของผู้อื่นที่ว่าเป็นธรรม,วินัย คำสอน ของพระพุทธเจ้า ๔ ประการ ปะวาฯ=กรุงปาวา จุนทะ=ผู้ถวาย สูกรมัททวะ(มังสะสุกรอ่อน) แด่พระพุทธเจ้า กุสีฯ=เมืองกุสินารา ที่จะสด็จ ปรินิพพาน ปุกกุฯ=ปุกกุสะ ผู้ถวายผ้าสีทอง สังเวชนีย์=สังเวชณียสถาน ๔ สตูป=ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ถูปาฯ=ถูปารหะ คือ ผู้ควรแก่สตูป กุสาว์ตี=กุสาวตี สุทัสส์ฯ=พระเจ้ามหาสุทัสสนะ จักรพรรดิ์ ครอง เมือง กุสาวตี มาก่อน ภายหลัง เป็น กุสินารา มัลล์กษัตริย์=มัลลกษัตริย์ ผู้ครองเมือง กุสินารา สุภัทฯ=สุภัททะ เป็นปริพพาชก นักบวชนอกศาสนา เรา=ที่นี้ หมายถึง พระพุทธเจ้า อายัสฯ=อายัสมา คือท่านผู้มีอายุ เรียกภิกษุที่แก่กว่า ภันเต=ท่านผู้เจริญ คำเรียกภิกษุที่แก่กว่า พระฉันนะ=เป็นสหชาติ ของพระพุทธเจ้า เกิดวันเดียวกัน ได้ขี่ม้ามาส่งพระพุทธเจ้าออกบวช ต่อมาได้ออกบวช เป็นผู้ดื้อ สอนยาก ชอบวางตนเหนือผู้อื่น ไม่เพียรปฏิบัติธรรม ฌาน=ภาวะที่จิตสงบจากการเพ่งอารมณ์เป็นสมาธิ มี รูปฌาน ๑-๔ และ อรูปฌาน ๑-๔ รูปฌาน ๔= แบ่งเป็น ๑)ปฐมยาม=ฌานที่ ๑. ๒)ทุติยฌาน คือ ฌานที่ ๒ ซึ่ง วิตก(ความตรึก) และ วิจาร(ความตรอง) สงบระงับ ๓)ตติยฌาน เป็น ฌานที่ ๓ ซึ่ง ปีติ(ความอิ่มใจ) สงบระงับ ๔)จตุตถฌาน เป็น ฌานที่ ๔ มีอุเบกขา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข อรูปฌาน ๔=พรหมที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์ แบ่งได้ ๑)เข้าสู่ อากาสานัญจายตนะ เพ่งหาอากาศหาที่สุดมิได้ รูปสัญญา(ความจำที่ยึดรูปเป็นอารมณ์)จึงดับลง ๒)เข้าสู่ วิญญาณัญจายตนะ เพ่งวิญญาณหาสุดมิได้ อากาสานัญจายตนสัญญา จึงดับลง ๓)เข้าสู่ อากิญจัญญายตนะ ได้เพ่งว่าไม่มีอะไรแม้แต่น้อย วิญญานัญจายตนสัญญา จึงดับลง ๔)เข้าสู่ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ที่ได้เพ่งสัญญาคือความจำได้ หรือ กำหนดหมายว่าเป็นของไม่ดี เป็นเหตุให้สัญญาหยุดทำหน้าที่ ทำให้ อากิญจัญญายตนสัญญา ดับลง สมาฯ=สมาบัติ หรือเรียก สัญญาเวทยิตนิโรธ คือ ผู้ที่ไปสู่สัญญาเวทยิตนิโรธ จึงดับสัญญา(จำได้,หมาย, รู้),ดับเวทนา(การเสวยอารมณ์)ได้ อาสวกิเลส=กิเลสที่หมักหมม นอนเนื่องในจิต ชุบย้อมให้จิตเศร้าหมองอยู่เสมอ กัสสปะ=พระกัสสปเถระ ผู้จุดไฟถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า สุภัทฯ=สุภัททะ เป็นภิกษุที่บวชเมื่อแก่ พระอัฏฐิฯ,ธาตุฯ=พระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้า โทณพราหมณ์=พราหมณ์ผู้ไกล่เกลี่ย ให้มัลลกษัตริย์ ยอมแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ให้เมืองต่างๆ หลีกเลี่ยงสงคราม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
ประมวลธรรม : ๑๔.มหาสุทัสสนะสูตร(สูตรว่าด้วยพระเจ้ามหาสุทัสสนะจักรพรรดิ์)
รการวิปุลลาฉันท์ ๓๒
๑.พุทธ์เจ้าตรัสเล่า"กุสาว์ตี" กับพระอานนท์ชี้อดีตผ่าน ของ"กุสีนาราฯ"บุรีขาน ที่"ปรีนิพพาน"พระพุทธ์องค์
๒.เมืองกุสาว์ตีกษัตริย์ครอง นาม"สุทัสส์ฯ"ปกผ่องประเทืองบ่ง พร้อมอุดมสมบูรณ์และมั่งคง เสริมซิแก้วเจ็ดอย่างอุบัติหนา
๓.หนึ่งก็"จักรแก้ว"หมุนสิรอบทิศ ชำนะก่อเกิดมิตรสกลมา สอง,ปะ"ช้างแก้ว"เผือก"อุโบฯ"กล้า สามซิ"ม้าแก้ว"ชื่อ"วลาหก"
๔.สี่,เจอะ"แก้วไพฑูรย์"มณีแผ้ว ห้า,นรี"นางแก้ว"ละไมปรก หก,เสาะ"ขุนคลังแก้ว"สะทรัพย์พก เจ็ดก็"ขุนพลแก้ว"แนะพร่ำสอน
๕.แล้ว"สุทัสส์ฯสัมฤทธิ์เจาะสี่เพิ่ม "รูปตระการ"ชีพเสริมยะยืนพร โรคพยาธิ์มีน้อยมิไหวคลอน ชาวประชา,พราหมณ์ถ้วนรตีหนา
๖.ธรรมชาติร่มรื่น"สระโบกฯ"ตาม สินและปราสาทงามวิจิตรหล้า กรุงเจริญมั่งคั่งวิบูลย์พา สุขลุทั่วฟ้าไกลอลังกาล
๗.พุทธเจ้าตรัสเล่าสุทัสส์ฯกราย ตรึกวะผลดีหลายอุบัติพาน เนื่องเพราะกรรมดีคือเจาะให้"ทาน" "ฝึกฤทัย,สัญญ์มาฯ"ก็สำรวม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๒/๓) ๑๔.มหาสุทัสสนะสูตร
๘.จึงเกาะบำเพ็ญฌานสงบใจ ตรึกละกาม,ฆาตไกลลิเบียนร่วม บรรลุฌานหนึ่ง-สี่เจริญสรวม พรหมวิหารสี่แผ่มนัสหา
๙.ด้วยประกอบ"เมตตา"ริให้สุข "ความกรุณพ้นทุกข์"มุทีตาฯ" พลอยรตียินดีสิเขาหนา มี"อุเบกขา"วางหทัยกลาง
๑๐.แล้วตริลดการเฝ้าซิน้อยลง กาลจะฝึกจิตบ่งสิมากพร่าง แต่สุภัททาพร้อมทหารพลาง ขอสุทัสส์ฯเห็นราชสมบัติ
๑๑.เห็นชิวิตให้ทรงละบำเพ็ญ แต่สุทัสส์ฯตรัสเด่นสิขอชัด ควรจะขอตรงข้ามละทรัพย์ปัด อย่าริเห็นแก่ชีพมิถูกหนา
๑๒.ธรรมดาพรากรักก็เสียใจ ผู้ปะคนตายไซร้ถวิลหา ห่วงพะวงไม่ตัดจะทุกข์มา ถูกติเตียนคิดผิดมิถูกตรง
๑๓.นางสุภัททาขอลุอีกครั้ง ตามสุทัสส์ฯแจงสั่งและฝืนปลง กาลพิลาลัยของสุทัสส์ฯบ่ง พรหมโลกด้วย"พรหมวิหาร"เผย
๑๔.ครันพระพุทธ์เจ้าตรัสพระองค์ชัด คือสุทัสส์ฯจักรพรรดิ์ยะยิ่งเอ่ย พร้อมสะพรั่งสมบูรณ์ธนาเชย คุมนครเขตขัณฑสีมา
๑๕.พุทธองค์ทรงสอนสรุปความ แก่พระอานนท์ตาม"กุสาว์ฯ"นา เจ้าสุทัสส์ฯปกครองนครหนา มากหละหลายแต่ครองกุสาว์ฯหนึ่ง
๑๖.มีคละปราสาทครองตะอยู่ที่ "ธัมมปราสาท"ชี้ซิเดียวพึ่ง มีแหละหลายเรือนยอดตะอยู่ถึง เรือน"วิยูฯ"แห่งเดียวซิเท่านั้น
๑๗.แม้จะมีบัลลังก์สิมากมาย เอกะแค่หนึ่งกรายมิมากครัน แม้จะมีช้างมากก็ขี่ดั้น แค่"อุโบสถ"คราวละตัวเดียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๓/๓) ๑๔.มหาทัสสนะสูตร
๑๘.ม้าเจาะมากอีกหลายก็ขี่ได้ ม้า"วิลาหก"ไซร้ซิปราดเปรียว รถซิมีมากหลายตะใช้เยียว เอกะหนึ่งคัน"เวชยันต์"พราว
๑๙.มีสตรีมากมายตะรับใช้ ทีละคนจริงไซร้ซิหนึ่งคราว ผ้าเจาะคู่กันมีซิมากฉาว เอกะคู่ใช้คราวละหนึ่งคู่
๒๐.ภัตรทะนานมากหลายจะกินได้ หนึ่งทะนานเดียวไซร้ก็พออยู่ ดูอะนนท์สังขารลุล่วงไหล ดับลิไกลปรวนแปรทลายแล้ว
๒๑.เห็นเจาะตัวสังขารมิเที่ยงไซร้ ไม่ยะยืนวางใจจะต้องแคล้ว ควรจะหน่ายสังขารละคลายแน่ว ควรละกำหนัดเพื่อพ้นคระไลเสีย ฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ ทีฆนิกาย มหาวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๒๙-๓๓๑
กุสาว์ตี=กุสาวตี คือชื่อ ราชธานีเก่าในอดีต ของ กุสินารา กุสีนารา=กรุงกุสินารา ที่พระพุทธเจ้า เสด็จดับขันธ์ ปรินิพพาน ปรีนิพพาน=ปรินิพพาน คือ การนิพพานของพระพุทธเจ้า แบบ อนุปาทิเสสนิพพาน(ดับกิเลสพร้อมขันธ์ ๕ สิ้นชีวิต) ส่วนอุปาทิเสสนิพพาน(ดับกิเลสหมด แต่ยังไม่ดับขันธ์ ๕ ยังมีชีวิตอยู่) สุทัสส์ฯ=พระเจ้า มหาสุทัสสนะจักรพรรดิ์ อุโบฯ=อุโบสถ เป็นชื่อของช้างแก้ว สระโบกฯ=สระโบกขรณี สัญญ์มาฯ=สัญญมะ คือ การสำรวมจิต ฌาน=ภาวะที่จิตสงบจากการเพ่งอารมณ์เป็นสมาธิ แบ่งหนึ่ง-สี่ คือ ๑)ฌานหนึ่ง หรือปฐมยาม มีวิตก(ความตรึก),วิจาร(ความตรอง) และปีติ ความอิ่มใจ ๒)ฌานที่สอง หรือทุติยฌาน ซึ่ง วิตกและ วิจาร สงบระงับ เหลือแต่ ปีติ ๓)ฌานสาม หรือตติยฌาน มีปีติ(ความอิ่มใจ) สงบระงับ ๔)ฌานสี่หรือ จตุตถฌาน มีอุเบกขา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข พรหมวิหาร ๔=หลักธรรมที่ทำให้คนปฏิบัติในทางประเสริฐทั้งต่อตนเองและผู้อื่น มี ๔ อย่าง คือ ๑)เมตตา-คิดให้เขาเป็นสุข ๒)กรุณา-คิดให้พ้นทุกข์ ๓)มุทิตา-พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ๔)อุเบกขา-วางใจเป็นกลาง สุภัททา=พระราชเทวี ของ พระเจ้ามหาสุทัสสนะ อะนนท์=พระอานนท์ พุทธอุปฐาก ของพระพุทธเจ้า วิยูฯ=มหาวิยูหะ คือชื่อเรือนยอด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
ประมวลธรรม : ๑๕.ชนวสภสูตร(สูตรว่าด้วยยักษ์ชื่อชนวสภะ)
มุทิงคนาทฉันท์ ๑๔
๑.พระพุทธ์ฯเสด็จ ณ "เวสาฯ" แวะพัก ณ "นาทิคามฯ"กราย "อะนนท์ฯ"ริถามมนุษย์ตาย จะเกิดซิไรลุไหนจด
๒.พระองค์ตริตอบแหละรายคน "พระพิมพิฯ"ด้นตถาคต อุบัติซิยักษ์"ชนาฯ"พรต ณ "จาตุฯ"ชั้นสวรรค์หนึ่ง
๓.พระพิมพิฯหวัง"อรีย์"สูง "สกาทะฯ"จูงซิเหนือถึง และเล่าประชุม ณ"ดาวดึงส์ฯ" ณ ธรรม์สภาคละเทพ,พรหม
๔.สิ,เห็นวะผู้ประพฤติธรรม พระพุทธะล้ำประเทืองสม จะเหนือพระพรหมและเทพข่ม เจาะผิวและยศเสาะใครเทียม
๕.และเล่า"สนังกุมาร"กล่าว ภะษิตคละยาวประชุมเยี่ยม เจาะสัตตเจ็ดแหละเรื่องเอี่ยม กะเทวดาและพรหมวงศ์
๖.เจาะหนึ่งพิบูลย์กะศีลพร้อม พระพุทธและน้อมพระธรรม,สงฆ์ จะถึงสวรรค์"ปราฯ"บ่ง ลุสัตตสูงนิชั้นกาม
๗.และต่ำระ"จาตุฯ"แรกเบิ่ง สุเมรุซิเชิง"อะกาศ"คาม เจาะสุดซิเทพประจำตาม เกาะไม้สิใหญ่ก็"คนธรรพ์"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๒/๓) ๑๕. ชนวสภสูตร
๘.เลาะสองก็อิทธิบาทสี่ ลุเสร็จระคลี่ซิผลดั้น กระทำพระพรหมและสงฆ์สรรค์ แสดงนิมิตรและฤทธิ์ไกล
๙.เลาะสาม"พระพุทธฯ"ตรัส์รู้ ลุโชคติพรูโฉลกไข ก็ผู้คละกามตะพ้นไว ก็ย่อมสุขาลุฌานหนึ่ง
๑๐.เพาะกายวจีหทัยหยาบ กระวนสภาพทุรนตรึง สิหลังสงบสุขีถึง ลุฌานสิสองระเรื่อยสี่
๑๑.นิกรมิรู้อะไรนัว กุศลรึชั่วและโทษมี เหมาะเสพมิควร ฤ ชั่ว,ดี ปะดำปะขาวซิเป็นจริง
๑๒.ผิหลังสดับ"อรีย์ธรรมฯ" ประพฤติเหมาะล้ำและรู้ยิ่ง "อวิชฯ"ละได้ลุ"วิชฯ"สิง สุขีเจาะกล้า"อร์หัตต์"ผล
๑๓.เสาะสี่พระพุทธบัญญัติ "สตีกะปัฏฯ"จรดดล สถานสิจิตเกาะสี่ท้น พิจารณ์กะ"กาย"และ"เวท์นา"
๑๔.วิจารณ์กะ"จิต"และ"ธรรม" หทัยกระทำระลึกหนา สภาวธรรมตระหนักกล้า ฤดีจะรู้สภาพจริง
๑๕.ลุห้า"อรีย์สมาธิ์"นำ ก็เจ็ดพระธรรมสมาธิ์พริ้ง เจริญสมาธิ์วิบูลย์ยิ่ง หทัยอะรมณ์สิหนึ่งเดียว
๑๖.ตริเห็นวะทุกขะเหตุไหน ก็ทางอะไรจะดับเปรียว ตริชอบลิกามมิฆาตเคี่ยว มิเบียดและเบียนกะใครเผย
๑๗.วจีซิชอบมิเท็จ,เสียด มิพูดฉะเฉียดและเพ้อเอย กระทำซิชอบมิฆ่าเลย ขโมยและผิดกะกามทอน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๓/๓) ๑๕.ชนวสภสูตร
๑๘.ตริชีพลุชอบอะชีพไซร้ มิทำซิใครอะดูรร้อน ตริเพียรลุชอบฤดีถอน ลิบาปคะคลายเจาะบุญยิ่ง
๑๙."สตี"ลุชอบพิจารณ์สี่ ระลึกลุปรี่กะความจริง ก็เห็นสิกายเจาะในดิ่ง ลุเวทนาซิในหนา
๒๐.ริเห็นกะจิตตะในจิต ริเห็นประชิดกะธรรมนา ริสี่"สตี"และ"สัมป์ฯ"กล้า มุเพียรลิโลภและเศร้าลง
๒๑.พระธรรมสิเจ็ดจะช่วยเพิ่ม สมาธิเสริมพิบูลย์บ่ง ฉะนั้นหทัยก็มั่นส่ง สงบกิเลสละคลายเผย ฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ ทีฆนิกาย มหาวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๓๑-๓๓๒
พระพุทธ์ฯ=พระพุทธเจ้า เวสาฯ=กรุงเวสาลี นาทิคาม=ที่พัก ที่พุทธองค์พัก อะนนท์=พระอานนท์ พุทธอุปฐาก ของพระพุทธเจ้า พระพิมพิฯ=พระเจ้าพิมพิสาร ตถาคต=พระพุทธเจ้า คำเรียกแทนตัวพระองค์ ชนาฯ=ชนวสภะ เป็นยักษ์(หมายถึงเทพในสวรรค์ชั้น จาตุมหาราช) พระเจ้าพิมพิสาร ตายแล้วไปเกิดบนสวรค์ชั้น ที่ ๑ จาตุฯ=จาตุมหาราช ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ใน ๖ อรีย์ฯ=อริยบุคคล คือผู้ที่บรรลุธรรมขั้นสูง มี ๔ ชั้น แรกคือ พระโสดาบัน สูงสุดคือ พระอรหันต์ สกาทะฯ=พระสกทาคามี เป็นชื่อพระอริยะขั้นที่ ๒ใน ๔(เริ่มต้น พระโสดาบัน, พระสกทาคามี,พระอนาคามี,พระอรหันต์) ดาวดึงส์=เป็นชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๒ สนังกุมารพรหม=เป็นพรหมผู้มีศรัทธาในพุทธศาสนามาก ภะษิต=ภาษิต ปราฯ=ปรนิมมิตวสวัตตี เป็นสวรรค์ชั้นที่ ๖ (สูงสุดในชั้นกาม) จาตุฯ=จาตุมหาราช เป็นสวรรค์ชั้นแรก อยู่เชิงเขาพระสุเมรุ ในระดับเดียวกับโลก แต่ลอยอยู่บนอากาศ อะกาศ=อากาศ คนธรรพ์=เทพที่อาศัยตามต้นไม้ใหญ่ อิทธิบาท ๔=คือคุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จ มี ๑)ฉันทะ -ใฝ่ใจในสิ่งนั้นอยู่เสมอ ๒)วิริยะ -ทำสิ่งนั้นด้วยความเพียร อดทน เอาธุระไม่ถอย ๓)จิตตะ-ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำ ไม่ปล่อยใจฟุ้งซ่าน ๔)วิมังสา-ความไตร่ตรอง หมั่นใช้ปัญญาหาเหตุผล ตรวจสอบข้อด้อย มีการวางแผน วัดผล แก้ไข ฌาน=ภาวะที่จิตสงบจากการเพ่งอารมณ์เป็นสมาธิ แบ่งหนึ่ง-สี่ คือ ๑)ฌานหนึ่ง หรือปฐมยาม มีวิตก(ความตรึก),วิจาร(ความตรอง) และปีติ ความอิ่มใจ ๒)ฌานที่สอง หรือทุติยฌาน ซึ่ง วิตกและ วิจาร สงบระงับ เหลือแต่ ปีติ ๓)ฌานสาม หรือตติยฌาน มีปีติ(ความอิ่มใจ) สงบระงับ ๔)ฌานสี่หรือ จตุตถฌาน มีอุเบกขา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข อรีย์ธรรมฯ=คือ ธรรมที่พระอริยะบรรลุ อวิชฯ=อวิชชา ความไม่รู้ในอริยสัจ วิชฯ=วิชชา ความรู้แจ้งในอริยสัจ สตีปัฏฯ=สติปัฏฐาน ๔ คือ การตั้งสติพิจารณา กาย, เวทนา,จิต,ธรรม ทั้งภายในภายนอก อรีย์สมาธิ์=คือ ธรรม ๗ อย่าง ที่เป็นเครื่องประกอบการเจริญสมาธิ ได้แก่ ความเห็นชอบ,ความดำริชอบ,การเจรจาชอบ,การกระทำชอบ,การเลี้ยงชีพชอบ,ความเพียรชอบ,การตั้งสติชอบ เห็นชอบ=คือสัมมาทิฏฐิ-ความเห็นชอบ คิดชอบ=สัมมาสังกัปปะ-ความดำริชอบ วจีชอบ=สัมมาวาจา-การเจรจาชอบ ทำชอบ=สัมมากัมมันตะ-การกระทำชอบ อาชีพชอบ=สัมมาอาชีวะ-การเลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ=สัมมาวายามะ-ความเพียรชอบ สตีชอบ=สัมมาสติ-การตั้งสติชอบ สตี=สติ คือความระลึกได้ สัมป์ฯ=สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
ประมวลธรรม : ๑๖.มหาโควินทสูตร(สูตรว่าด้วยมหาโควินทพราหมณ์)
เปษณนาทฉันท์ ๑๖
๑.พระพุทธ์เจ้าทรงประทับ"คิชฌฯ"รี่ ณ "ราชคฤห์"ศรีกะสงฆ์ไพบูลย์ ก็บุตรคนธรรพ์นะ"ปัญจ์ฯ"กราบทูล และเล่าเรื่องพูนปะจากดาว์ดึงส์
๒."สุธัมม์ฯ"แหล่งที่ประชุมได้มี สิ"สักกาฯ"ชี้พระคุณพุทธ์ฯตรึง พระศาสดาล่วง,อนาคตถึง มิเทียบได้พึ่งพระพุทธ์เจ้าเลย
๓.พระคุณพุทธ์เจ้าลุแปดอย่างล้ำ ประเดิมแจงธรรมประโยชน์สุขเอย นรา,โลก,เทพเจาะเหตุทุกข์หาย ลิทางดับเอยจะสุขสำราญ
๔.เจาะสองทรงแจงพระธรรมเห็นได้ ซิตนเองไซร้มิต้องคอยกาล เพราะรู้ทันทีซิควรเรียกขาน ตริตนอย่าผ่านและพ้นเลยไป
๕.เสาะสามทรงบอกกุศลธรรม,ดี มิมีโทษปรี่ตะชั่วโทษไว แสดงสิ่งที่มิควรเสพได้ ลิสิ่งเลวไกลประโยชน์มากล้น
๖.ตริสี่บัญญัติประพฤติข้อวัตร กะสาวกชัดลุนิพพานผล ก็เพื่อตัดทุกข์สิถาวรดล ผละการเกิดพ้นทุรนกายนา
๗.มุห้ามีเสขะมิตรกำลัง มุบำเพ็ญจังอร์หันต์กล้า สขาที่ได้อร์หันต์แล้วหนา มิทรงติดพาสมาบัติเคย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๒/๓) ๑๖.มหาโควินทสูตร
๘.ริหกมีลาภและชื่อเสียงท้น กษัตริย์,ปวงชนรตี,รักเอย ตะฉันอาหารมิเมามัวเผย ประพฤติองค์เชยนิกรศรัทธา
๙.ตริเจ็ดทรงพูดอะไรทำได้ ก็อย่างนั้นไซร้กระทำใดนา ก็พูดอย่างนั้นตระหนักจริงว่า เหมาะเชื่อถือหนาปะน่าเลื่อมใส
๑๐.เจาะแปดธรรมหลายแสดงแล้วพ้น มิลังเลด้นมิเคลือบแคลงใด พระธรรมราบรื่นมิติดขั้นไหน ตริตรองแล้วไกลและสมบูรณ์ยิ่ง
๑๑.ซิพลันมีแสงสว่างจ้าฉาน "สนังกูมารฯ"นิมิตกายหยาบจริง เจาะเทพดาว์ดึงส์ซิเห็นร่างอิง ซิทราบความดิ่งก็เล่า"โชติปาลฯ"
๑๒.สิ"โชติปาละฯ"ทำหน้าที่ ปุโรหิตนี้กะ"สัมปาฯ"ผ่าน นราหลายเรียกวะ"โควินท์ฯ"ชาญ และสัมปาฯพานสวรร์คตแล้วครัน
๑๓.พระโอรส"เรณุ"เพื่อนโควินท์ฯ ก็ครองราชย์ปิ่นและสมบัติปัน ก็แบ่งเจ็ดส่วนสิหนึ่งองค์มั่น ฉส่วนแบ่งกันระหว่างราช์บุตร
๑๔.จะมีแคว้นสัตตะ"กาลิงคาฯ" ก็"อัสส์กา"หนา"อวันตีฯ"รุด กะแคว้น"โสจีราฯ"วิเทหาฯ"ดุจ เจาะ"อังคาฯ"นุชและ"กาสี"ท้าย
๑๕.ริโควินท์พราหมณ์ฯถวายคำสอน กษัตริย์เจ็ดป้อนเสมอมาปราย ซิกาลต่อมาก็ทูลลาผาย ประพฤติตนกรายกะพรหม์จรรย์ลือ
๑๖.เพราะโควินท์พราหมณ์ซิรับเคารพ ลุจากชนนบนิกรเชื่อถือ สิเป็นราชาซิเหนือใครยื้อ และเป็นพราหมณ์ปรือสิเหล่าพราหมณ์เอย
๑๗.และเป็นเทวาสิของชนมั่ง อุทานชื่อหวังจะรับเอื้อเลย และคราตกใจก็หลุดชื่อเอ่ย และตั้งใจเผยซินามโควินท์ฯ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๓/๓) ๑๖.มหาโควินทสูตร
๑๘.ตริโควินท์ฯได้เจริญฌานมี วิหารพรหมสี่เจาะอารมณ์จินต์ นราหลายมาเสาะฝึกปรือสิ้น ริได้ผลยินและยลมากหลาย
๑๙.แหละนี่เรื่องเล่าสนังกูมาร ซิกล่าวความขาน ณ ดาว์ดึงส์ปราย ตะปัญญ์ฯเล่าต่อพระพุทธ์เจ้ากราย สิทอดหนึ่งง่าย ณ พื้นโลกา
๒๐.พระพุทธ์เจ้าตรัสเสวยชาติชิน มหาโควินท์ ณ ครั้งนั้นหนา ตะครั้งนั้นแค่ซิชี้ทางกล้า ปะกับพรหมนาและอยู่กับพรหม
๒๑.ณ ชาตินี้ทรงแสดงแปดมรรค วิถีทางจักมุนิพพานรมย์ ซิสูงกว่าพรหมเพราะโลกพรหมตรม มิพ้นห่างซมเสมือนนิพพาน ฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ ทีฆนิกาย มหาวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๓๒-๓๓๓
คิชฌ์ฯ=ภูเขาคิชฌกูฏ ราชคฤห์ฯ=กรุงราชคฤห์ ปัญจ์ฯ=ปัญจสิขะ เป็นบุตรแห่งคนธรรพ์ ดาว์ดึงส์=ดาวดึงส์เป็นชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๒ สุธัมม์ฯ=สุธัมมสภา เป็นที่ประชุม สักกาฯ=ท้าวสักกะ หรือพระอินทร์ ผู้ปกครองสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ พุทธ์ฯ=พระพุทธเจ้า สนังกูมารฯ=สนังกุมารพรหม เป็นพรหมผู้มีศรัทธาในพุทธศาสนามาก โชติปาลฯ=โชติปาลมานพ (เป็นพระชาติหนึ่งของ พระโคตมพุทธเจ้า) ได้ทำหน้าที่ปุโรหิตแทนบิดา มีคุณความดีมาก ชนเรียก มหาโควินทพราหมณ์ สัมปาฯ=พระเจ้าทิสัมปติ เรณุ=พระโอรส ของ พระเจ้าทิสัมปติ โควินท์ฯ=มหาโควินทพราหมณ์ เป็นพระชาติหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน กาลิงคาฯ=ชื่อแคว้นกาลิงคะ มีราชธานีชื่อ ทันตปุระ อัสส์นา=ชื่อแคว้นอัสสกะ มีราชธานีชื่อ โปตนะ อวันตีฯ=ชื่อแคว้นอวันตี มีราชธานีชื่อ มาหิสสติ โสจีรา=ชื่อแคว้นโสจิระ มีราชธานีชื่อ โรรุกะ วิเทหาฯ=ชื่อแคว้นวิเทหะ มีราชธานีชื่อ มิถิลา อังคาฯ=ชื่อแคว้นอังคะ มีราชธานีชื่อ จัมปา กาสี=ชื่อแคว้นกาสี มีราชธานีชื่อ พาราณสี วิหารพรหมสี่=พรหมวิหาร ๔ คือธรรมะสำหรับผู้นำและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ประกอบด้วย ๑)เมตตา -ความรักใคร่ อยากให้เขามีความสุข มีจิตแผ่เมตตาให้กับสัตว์ทั่วหล้า ๒)กรุณา-ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์ ๓)มุทิตา-ความยินดีให้ผู้อื่นอยู่เป็นสุข พลอยยินดีเมื่อเขาได้ดี ๔)อุเบกขา-ความวางใจเป็นกลาง ดำรงอยู่ในธรรมที่เห็นด้วยปัญญา มีจิตเรียบตรงดังตาชั่ง ไม่เอนเอียงด้วยรักหรือชัง แปดมรรค=มรรค ๘ คือทางปฏิบัติสู่ความดับทุกข์ มี ๘ อย่าง ที่เป็นเครื่องประกอบการเจริญสมาธิ ได้แก่ ๑)สัมมาทิฏฐิ-ความเห็นชอบ ๒)สัมมาสังกัปปะ-ความดำริชอบ ๓)สัมมาวาจา-การเจรจาชอบ ๔)สัมมากัมมันตะ-การกระทำชอบ ๕)สัมมาอาชีวะ-การเลี้ยงชีพชอบ ๖)สัมมาวายามะ-ความเพียรชอบ ๗)สัมมาสติ-การตั้งสติชอบ ๘)สัมมาสมาธิ-ความตั้งจิตมั่นชอบ จนสามารถทำงานร่วมกับปัญญา ขจัดตัณหาได้รวดเร็ว สงบจิตเป็นอารมณ์เดียว ไม่ไหวหวั่นทั้งพอใจและไม่พอใจ แต่ไม่ติดในอารมณ์ใด เหมือนใบบัวถูกน้ำ แต่น้ำไม่ซึม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
ประมวลธรรม : ๑๗.มหาสมยสูตร(สูตรว่าด้วยการประชุมใหญ่)
ยุวมติฉันท์ ๒๕
๑.พุทธเจ้าประทับ"มหาฯ" "กบิละฯ"หล้าพหุพร้อม พระสงฆ์ก็"ปัญจะฯ"น้อม สดับและตรึกตรอง
๒.กาลสิพรหม ณ"สุทธะวาสฯ" ก็สี่ตริคาดสุระผอง ซิ"โลกะธาตุ"สนอง เจาะสิบแวะมาเฝ้า
๓.เทพซิสี่ริเราเหมาะรุด มุฟังพระพุทธ์ฯนยเร้า พะพร้อมพระ"คาถะ"เพรา สิคนละบทเอย
๔.แล้วแสดงสิตนปะหน้า พระพุทธะกล้าวจะเอ่ย ซิพรรณนาและเปรย กะจุดประสงค์มา
๕.สงฆ์ประพฤติริเพียรลุธรรม และผู้มุหนำถิรหนา พระพุทธ์ฯศรัณย์คุณา มิไปอบายเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๒/๒) ๑๗.มหาสมยสูตร
๖.แล้วพระพุทธเจ้าก็เล่า พระสงฆ์ลุเค้ามหเกย วะเทวดาปะเปรย ประชุมซิใหญ่สุด
๗.ทรงประกาศสิชื่อประเภท ประชุมเจาะเทพ,อมนุษย์ ซิยักษ์คละหลายก็รุด จะใกล้สิสองหมื่น
๘.นาคกะครุฑและเทพสวรรค์ สิหกก็พลันจรชื่น พระอินทร์พระพรหมดะดื่น ซิมารและคนธรรพ์
๙.เทพพระพรหมกะเหล่าคละกลุ่ม จะมาประชุมเยอะแยะครัน ก็น้อมพระพุทธ์ฯและมั่น เพราะ"พุทธ์ฯ"สะอาดใส
๑๐."พุทธะ"ปราศกิเลสสงบ เพราะทุกข์ลุจบนิรใกล้ เพราะปัญญะรู้ซิไข เจาะเหตุลิทุกข์หาย ฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ ทีฆนิกาย มหาวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๓๓-๓๓๔
มหาฯ=ป่ามหาวัน กบิละฯ=กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ปัญจะฯ=ปัญจสต แปลว่า ห้าร้อย สุทธะวาส=สุทธาวาส คือ ที่อยู่ของพระพรหม ระดับ อนาคามีอริยบุคคลในพุทธศาสนา โลกะธาตุ=โลกธาตุ คือจักรวาล สรรพสิ่งต่างๆล้วนเป็นธาตุ จึงเรียกว่าโลกธาตุ คาถะ=คาถา คือคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองในภาษาบาลี พระพุทธะ,พระพุทธ์ฯ,พุทธะ,พุทธ์ฯ=พระพุทธเจ้า อมนุษย์=ผู้ที่มิใช่มนุษย์ เช่น เทพ, พรหม, สัตว์นรก, เปรต,อสุรกาย,ภูตผี,ปีศาจ ยักษ์=เทวดาพวกหนึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่าง มนุษย์กับคนธรรพ์ ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช นาค=เป็นบริวารของท้าววิรูปักษ์ หนึ่งในโลกบาลผู้พิทักษ์ทิศตะวันตก บนเขาพระสุเมรุ เพื่อปกป้องสวรรค์ชั้นดาวดึงส์จากอสูร ครุฑ=เทวดาชั้นล่างประเภทหนึ่ง อาศัยอยู่ในวิมานสิมพลีอยู่ใต้ปกครองของท้าววิรุฬหก ครุฑกำเนิดมาจากมนุษย์ผู้ทำบุญเจือด้วยโมหะ หลงผิดว่าฆ่าสัตว์ไม่บาป กรรมจึงนำมาให้เกิด มีที่อยู่ในป่าหิมพานต์ เชิงเขาสิเนรุ และสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช มาร=คือสิ่งใดๆที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากคุณความดี แบ่งได้ ๑)กิเลสมาร-ขัดขวางไม่ให้ทำความดี เช่น นิวรณ์ ๕. ๒)ขันธมาร-คือขันธ์ที่บกพร่องผลาญตัวเอง เช่น อยากฟังธรรมแต่หูหนวก ๓)อภิสังขารมาร-คือความคิดนึกประกอบกับอารมณ์เป็นมาร เป็นตัวปรุงแต่งกรรมทำให้เกิด ชาติ ชรา มรณา ขัดขวางมิให้หลุดจากทุกข์ในสังสารวัฏ ๔)เทวปุตตมาร-เทวดาที่เป็นมาร คือท้าว ววสวัตดี จอมเทพแห่งสวรรค์ชั้น ปรนิมมิตวสวัตดี ๕)มัจจุมาร-คือความตายที่ตัดโอกาสทำความดีของตนเอง คนธรรพ์=คือชาวสวรรค์พวกหนึ่ จัดเป็นเทพชั้นต่ำ เป็นบริวารของ ท้าวธตรฐ ชำนาญในด้านดนตรี และขับร้อง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
ประมวลธรรม : ๑๘.สักกปัญหสูตร(สูตรว่าด้วยปัญหาของท้าวสักกะ)
ร่ายสุภาพ
๑.พุทธ์องค์เสด็จถึง ตรึง"ถ้ำอินท์สาละ" จะใกล้"ภูเวทฯ"ใหญ่ ตอนเหนือไซร้อัมพ์สณฑ์ ชนราช์คฤห์แล้ แท้ท้าวสักกะชวน "ปัญจ์สิฯ"ขวนด่วนเฝ้า พุทธ์องค์เร้าด้วยกัน ปัญจ์ฯคนธรรพ์ถือพิณ เคยชินติดมือไป สักกะไวขอปัญจ์ฯ ครันเล่นดนตรีถวาย ปัญจ์กรายดีดพิณพร้อม น้อมกล่าวคาถาเนื่อง เรื่องพระพุทธ,พระธรรม นำพระสงฆ์,อรหันต์ และกามครันจบลง พุทธ์องค์ตรัสชม เสียงพิณสมเสียงเพลง คาถาเองแต่งมา คราตอนไหนเร่งจู้ คราวล่วงทรงตรัสรู้ ที่ต้น"อช์ปาลฯ" เนรัญฯ
๒.สักกะพานเข้าเฝ้า พุทธ์เจ้ากล่าว"สัมโมฯ" บุญโขที่ทำแล้ว ชนใจแผ้วแช่มชื่น ใจรีบอยากทำก่อ สักกะต่อทูลความ ขอถามหลายข้อยาว มีพราวดังนี้แล แฉเทพ,มนุษย์,นาค คนธรรพ์ยาก,อสูร ประยูรสัตว์มากชัด ถูกใดมัดเอาไว้ แม้ไร้จองเวรแล้ว มีแคล้วอาชญา หามีศัตรูเลย เผยไม่เบียดเบียนใคร อยู่อย่างไม่มีเวร แต่ยังเอนเอียงทำ ก่อหนำจองเวรเขา ยังต้องเอาอาช์ญา ยังมีหนาศัตรู กรูก่อเบียดเบียนกร่าง และอยู่อย่างมีเวร ก็กฏเกณฑ์เหล่านี้ ทรงบ่ง"ริษยา"ชี้ ตระหนี่แท้เหตุมัด ตรึงหนา
๓.สักกะจัดถามต่อ ก่อริษยา,ตระหนี่ เกิดรี่มาจากไหน พุทธ์องค์ไวตอบเปิด เกิดจากสิ่งที่รัก หรือสิ่งจักไม่รัก เมื่อไม่ปักทั้งสอง ไม่ครองริษยา ตระหนี่หามิมี "สักกะ"ดีถามดิ่ง สิ่งรัก,ไม่รักเกิด เพริดจากอะไรกัน พุทธ์องค์ครันตอบไป จาก"พอใจ"เกิดแล้ว ก็แจ้ว"แสวงหา" ได้มาแล้วติดใจ หทัยใฝ่"ใช้สอย" คอยสะสมมากหลาย หรือทลายไม่เอา พุทธ์องค์เกลาชนไร้ ความพอใจจะคลาด พลาดไม่มีสิ่งรัก จักไม่เป็นที่รัก ท้าวสักกะถามต่อ พอใจส่อเกิดไหน พุทธ์องค์ไวตอบมา "พอใจ"หนาเกิดได้ จากมุ่งวิตกไซร้ คิดยั้ง"พอใจ" สลาย
๔.สักกะกรายถามความ การ"ตรึก"ลามเกิดไหน พุทธ์องค์ไขเกิดได้ ไซร้"ปปัญจ์สัญญาฯ" พากิเลสปรุงช้า คว้ายืดเยื้อยืนนาน ครอบงำกรานนิสัย ใจชินเป็นสันดาน พาลขัดขวางปิดทาง และพรางรู้ความจริง ติงเครื่องครอบงำแจง แถลง"ราคะ"ใคร่ ใฝ่"โทสะ"โกรธง่าย พ่ายกับ"โมหะ"หลง คง"ตัณหา"ยิ่งแล้ มี"ทิฏฐิ"งมแท้ มุ่งพร้อม"มานะ" ถือตน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|