Username:

Password:


  • บ้านกลอนน้อยฯ
  • ช่วยเหลือ
  • ค้นหา
  • เข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
บ้านกลอนน้อย - กลอนสบายๆ สไตล์ลิตเติลเกิร์ล >> คำประพันธ์ แยกตามประเภท >> กลอนธรรมะ-สุภาษิต-ปรัชญา-คำคม >> อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
หน้า: [1] 2   ลงล่าง
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา  (อ่าน 1694 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4457
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 622



| |
อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
« เมื่อ: 20, มิถุนายน, 2568, 03:26:38 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา


อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์

กาพย์ทัณฑิกา

   ๑. พระไตรปิฎก......พุทธ์เจ้าสอนยก......แปดหมื่นสี่พัน
แยก"วินัย"ชัด....ข้อวัตรสงฆ์ดั้น....ชาดก"สุตตันฯ"....เท่ากันจำนวน

   ๒.คือ"สองหมื่นหนึ่ง"......"สี่หมื่นสอง"จึง......เหลือ"อภิธรรม"ล้วน
ปรมัตถธรรม....จิตล้ำ,รูปทวน...."เจตสิก,นิพฯ"ถ้วน....พร้อมหลักวิชา

   ๓.อภิธรรมแยก.......เจ็ดคัมภีร์ที่แตก.......ใจศาสนา
"ธัมมสังค์ฯ"ธรรมเด่น....รวมเป็นหมวดหนา....อธิบายครา....แยกประเภทเอย

   ๔."วิภังค์"แยกกลุ่ม......กระจายหลักดุ่ม......วิจารณ์รี่เผย
"ธาตุกถา"....คตินาสอนเชย....เป็นธรรมต้นเอ่ย....เช่นขันธ์,ธาตุตรง

   ๕."ปุคคลฯ"คุณธรรม......จดสูง-ต่ำล้ำ......เรื่องหลุดพ้นบ่ง
"กถาวัตฯ"คำถาม....ตอบตามถูกคง....หลักธรรมเจาะจง....ถูกต้องจริงเอย

   ๖."ยมก"คำถาม......ตั้งเป็นคู่ลาม......แล้วตอบตรงเผย
"ปัฏฐาน"คลี่....ธรรมที่ตั้งเอ่ย....ปัจจัยใดเคย....เกี่ยวข้องซึ่งกัน

   ๗.ทั้งเจ็ดคัมภีร์......พุทธ์เจ้าเทศน์คลี่......พุทธมารดาสรรค์
ตอบแทนพระคุณ....อดุลย์ยิ่งครัน....เทศนาจบพลัน....โสดาบันแล

   ๘.ในปัจจุบัน......คราตายสวดพลัน......อภิธรรมแฉ
นำเจ็ดคัมภีร์....พิธีศพแน่....ส่งกุศลแก่....ผู้ตาย,ญาติเอย

   ๙.สวดเจาะคัมภีร์......แต่ละข้อมี......การบรรยายเผย
ธัมมสังฯเริ่มนา...."กุสลาธัมฯ"เอ่ย....ธรรมกุศลเปรย....ไร้โทษติเตียน

   ๑๐.มีสุขวิบาก......"อกุศลาฯ"ยาก.......ธรรมอกุศลเวียน
มีโทษบัณฑิต....ประชิดติเตียน....ทุกข์ติงยากเปลี่ยน....เป็นวิบากไกล

   ๑๑."อัพยากตา"......ธรรมพระพุทธ์ฝ่า......มิพยากรณ์ไข
เจาะเลวหรือดี....มิชี้ชัดได้....ล้วนเป็นธรรมไซร้....แบบกลางกลางเอย

   ๑๒."กาตะเมฯ"นา.......ธรรมกุศลหนา......เป็นอย่างไรเผย
"ยัสมีฯ"ใดครา...."กาเมวะฯ"เคย....จิตกุศลเอ่ย....ย่อมเกิดขึ้นนา


รายนามผู้เยี่ยมชม : ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ข้าวหอม, ลิตเติลเกิร์ล, หยาดฟ้า, ต้นฝ้าย

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..

แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4457
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 622



| |
Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
« ตอบ #1 เมื่อ: 21, มิถุนายน, 2568, 07:58:12 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
(ต่อหน้า ๒/๑๙) ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์

   ๑๓.พร้อม"โสมนัส".....กอปรด้วยญาณชัด......"รูปารมณ์วา"
กล่าวถึงอารมณ์....ชื่นชมรูปหนา....หรือมีรูปกล้า....เป็นอารมณ์คม

   ๑๔."สัททารมณ์ฯ"เพียง......อารมณ์คือ"เสียง"......เสียงมีอารมณ์
"คันธารมณ์"เด่น....ว่าเป็นกลิ่นสม....หรือมีกลิ่นฉม....เป็นอารมณ์เอย

   ๑๕."รสารมณ์ฯ"จด......อารมณ์คือ"รส".......รส,อารมณ์เผย
"โผฏฐัพพาฯ"นี้....สิ่งที่กายเกย....หรือมีโผฏฐ์ฯเอย....อารมณ์เองเชียว

   ๑๖."ธรรมารมณ"ล้ำ......อารมณ์คือธรรม......เกิดแก่ใจเชี่ยว
ธรรมอารมณ์ใจ....กล่าวไซร้ดีเจียว...."ตัสมีสมฯ"เทียว....สมัยนั้นครา

   ๑๗."ผัสโส,โหฯ"จ่อ......"อายตนะ"ต่อ......ใน-นอกเกิดวิญญ์ฯหนา
"อวิเขฯ"จุ่ง....ไม่ฟุ้งซ่านนา....ย่อมมีอยู่จ้า....จิตแน่วแน่คง

   ๑๘."เยวาปะนะ"......"ตัสะมิง,สะ"......ธรรมหลายเกิดตรง
ก็"อัญเญปิ....อัตถิปฏิจจ์ฯ"ทรง....ธรรมพึ่งจิตบ่ง....อาศัยเกิดแล

   ๑๙."อรูปิโน"......นามธรรมโอ่......ธรรมไร้รูปแล้
"อเม ธัมมา....กุสลา"แน่....ธรรมหลายชื่อแท้....กุศลสุขเอย

   ๒๐.สอง,"วิภังโค"......แยกปัญจักฯโร่.....แจงเป็นข้อเผย
"ปัญจักขันธา"....กองห้าขันธ์เอ่ย...."รูปักขันธ์ฯ"เลย....คือ"กองรูป"ตรง

   ๒๑.รูปสภาพกลาย......เปลี่ยนแตกสลาย.....กอปรธาตุสี่บ่ง
ดิน,น้ำ,ไฟ,ลม....ระดมสิ่งปลง...."สามสิบสอง"ยง....อาการเช่น"เอ็น"

   ๒๒."เวทนาขันธ์".......รู้สึกสุขครัน......ทุกข์หรือเฉยเด่น
"สัญญก์ขันธ์"...."จำ"มั่นหมายเน้น...."สังขาขันธ์"เป็น....คิดปรุงชั่ว,ดี

   ๒๓."วิญญาณักขันธ์ฯ"......รู้แจ้งเกิดครัน......"ตา"กระทบปรี่
กับรูป,เสียง,รส....จรดกลิ่นคลี่....ได้สัมผัสรี่....ทั้งดีและมัว

   ๒๔.ทั้งขันธ์ห้าโอ่......"รูปักขันโธ"......เป็นอย่างใดทั่ว
"ยังจิญฯ รูปังฯ"....รูปทั้งผ่านรัว....ปัจจุบันจั่ว....อนาคตแล

   ๒๕."อัชฌัตตังฯ"นั้น.....ภายใน,นอกครัน.....หยาบ,ละเอียดแฉ
เลวหรือดีไซร้....อยู่ใกล้,ไกลแน่...."อภิสัญฯ"แล้....รวมหมวดเดียวกัน

   ๒๖."อภิสังฯ"ดิ่ง.....ย่นย่อเข้ายิ่ง....."อยังวุจฯ"ดั้น
กองรูปธรรมนา....ตถาคตพลัน....ตรัสชี้ว่าครัน....เป็นรูปขันธ์เอย

   ๒๗.สาม,ธาตุกถา......"สังคโห"นา.....รวมหมวดเดียวเผย
เช่น"รูปขันธ์"ดา...."ธาตุ,อายตาฯ"เอ่ย....เป็นรูปธรรมเอย....พวกเดียวกันแล

   ๒๘."อสังโห".....ไม่รวมเข้าโผล่.......นาม,รูปธรรมแฉ
"สังคหิฯ"ตั้ง...."อสังหิฯ"แล้....ธรรมฝ่ายเดียวแท้....รวมกันได้เอย

   ๒๙."อสังคหิเตน"......"สังคหิฯ"เร้น......คนละฝ่ายเผย
จึงไม่เข้ากัน....นามขันธ์,นามเอ่ย....ธรรมฝ่ายรูปเกย....จึงไม่เข้ากัน

   ๓๐."สังคหิเตน......สังคหิฯ"เด่น......ฝ่ายเดียวรวมครัน
"อสังคะฯ"ชัง....อสังคะฯนั้น....เป็นฝ่ายต่างกัน....ต้องห่างกันไกล

   ๓๑."มัสป์โยโค".......ความประกอบโด่......มีเกิด,ดับไข
อารมณ์ร่วมนา...."เวทนาขันธ์"ไว...."สัญญาขันธ์"ไซร้...."สังขารขันธ์"แล

   ๓๒.นามขันธ์สามขาน......"วิญญาณขันธ์"พาน.....ประกอบกันแฉ
ส่วนรูปขันธ์จะ....ไม่ประกอบแท้....กับสิ่งอื่นแน่....แต่อย่างใดเลย

   ๓๓."วิปปโยโค".......ไม่ประกอบโชว์......พรากอยู่ห่างเผย
เกิด,ดับต่างกัน....รูปขันธ์ขัดเฉย....กับนามขันธ์เอ่ย....สี่นามครรไล

   ๓๔."สัมปยุตเตน"......."วิปปยุตต์ฯ"เด่น.....ธรรมกอปรกันใส
แต่ขัดธรรมอื่น....ธาตุดื่น,ขันธ์ไว....กอปรสี่นามไว้....เว้นรูปขันธ์แล


รายนามผู้เยี่ยมชม : หยาดฟ้า, ลิตเติลเกิร์ล, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ข้าวหอม, ต้นฝ้าย

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4457
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 622



| |
Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
« ตอบ #2 เมื่อ: 21, มิถุนายน, 2568, 05:39:27 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา

(ต่อหน้า ๓/๑๙) ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์

   ๓๕."วิปปยุตเตน"......สัมปยุตต์ฯเค้น......ไม่กอปรใดแฉ
เช่นนามขันธ์สี่....ชี้ไม่กอปรแน่....กับรูปขันธ์แล้....หรือธรรมอื่นใด

   ๓๖."อสังคหิตัง"......หมวดธรรมที่หยั่ง......ประกอบกันได้
ขัดมิกอปรนา....บางครากอปรไว....บางคราไถล....ประกอบร่วมเอย

   ๓๗.สี่"บัญญัติฯ"คุณ.....สูง,ต่ำอดุลย์......การหลุดพ้นเผย
"ฉบัญญัติฯ"....แจ้งชัดหกเอ่ย....ประกาศตั้งเลย....บุคคลหลายแล

   ๓๘."ขันธติปัญญ์ฯ".......บัญญัติห้าขันธ์.....รูป,เวทนา..แฉ
"อายตนะ"....แจงปะต่อแท้....ภายใน-นอกแล้....หู,จมูก,ตา..

   ๓๙."ธาตุบัญญัติฯ"ไว้.....กำหนดธาตุไซร้.....สิบแปดอาการหนา
"สัจจปัญญ์ฯ"ล้ำ....แจงธรรมจริงนา....สี่ประการกล้า....ทุกข์,สมุทัย..

   ๔๐."อินทริยะ"......แจ้งอินทรีย์ปะ......ยี่สิบสองไข
"ปุคคลปัญญ์ฯ"รุก....เรียกบุคคลได้....จากหลุดพ้นไซร้....ยันปุถุชน

   ๔๑."กิตตาวตา".....ปุคคลาฯกล้า......ประมาณไหนพ้น
"สมย์วิมุตฯ"....พ้นรุดถึงผล....สมาบัติดล....ถึงชั่วคราวเอย

   ๔๒.อาสว์กิเลสราน......บางส่วนได้ผลาญ.....อริย์สามเผย
เช่น"โสดาบัน"....ยัน"สกิทาฯ"เอย...."อนาคาฯ"เชย....ชั้นต้นอรีย์

   ๔๓."อสมย์วิมุต".......ขีณาสพหลุด......พ้นยั่งยืนรี่
อาสว์กิเลสหมด....จรดปัญญาคลี่....คืออรหันต์ที่....ลุวิโมกข์ธรรม

   ๔๔."กุปปธัมโม"......ผู้มีธรรมโผล่......ยังไม่ชาญทำ
"รูปสมาบัติ"....ชัด"อรูปฯ"ซ้ำ....อาจเสื่อมถลำ....ฌานสมาบัติลง

   ๔๕."อกุปป์ธัมโม"........สิ้นกำเริบโข.......เสื่อมสมาบัติบ่ง
เพราะเชี่ยวรูปสมาฯ....กล้า"อรูปาฯ"ส่ง....ไม่มีเสื่อมยง....เช่นอนาคามี

   ๔๖.กับพระอรหันต์......ทั้งสองชื่อดั้น....."อกุปป์ธัมฯ"ลี้
วิโมกธรรมล้ำ....ไม่กำเริบปรี่....ธรรมมิเสื่อมหนี....อีกต่อไปนา

   ๔๗."ปริหารธัมโม"......ผู้มีธรรมโร่.....ยังเสื่อมได้หนา
"อปริหานธัมฯ"....มีล้ำธรรมจ้า....มิเสื่อมได้นา....ไม่กำเริบแล

   ๔๘."เจตนาภัพโพ"......ผู้ไม่เสื่อมโง่......เอาใจใส่แฉ
แม้รูปสมาบัติ....มิจัดชาญแท้....ย่อมไม่เสื่อมแน่....จากสมาบ้ติเอย

   ๔๙."อนุรักขนาฯ"......ผู้คอยรักษา......"รูปสมาบัติ"เผย
หรือ"อรูปสมาฯ"....แม้หาเชี่ยวเลย....ก็ไม่เสื่อมเปรย....จากสมาบัติไว

   ๕๐."ปุถุชชโน"......ผู้กิเลสโอ่......หนาแน่นมากไข
ผู้ยังไม่ตัด....ปัดสังโยชน์ได้....กิเลสสามไกล....ยังเพิกอยู่แล

   ๕๑."โคตรภู"ผู้ได้......ธรรมแล้วก้าวใกล้.....อริยธรรมแฉ
หว่างภาวะที่....ชี้หาใช่แน่....ปุถุชนแล้....หรืออริยชน

   ๕๒."ภยูปร์โต"......ผู้เว้นเพราะโง่......กลัวภัยสี่ผล
เจ็ด"เสขะ"เกรง....ภัยเด้งจากดล...."วัฏฏภัย"วน....ทั้ง"กิเลสภัย"

   ๕๓.อีก"อุปวาฯ"......ความติเตียนนา......ชนมี"ศีล"ใกล้
กลัวภัยเพิ่มรุก....คือ"ทุคคติภัย"....ทำผลชั่วไว้....กาย,ใจ,วาจา

   ๕๔."อภยฯ"ไว......ผู้ไม่กลัวภัย......อรหันต์หนา
เพราะได้ตัดบาป....ราบคาบแล้วนา....มีความหาญกล้า....ภัยทอนสิ้นลง

   ๕๕."ภัพพาค์มโน".......ผู้กุศลโร่......ปราศ"อนันตริย์ฯ"บ่ง
ไร้"กิเลสสาฯ"....พาเห็นผิดปลง....ไร้"วิปาฯ"ส่ง....เรื่องโลภ,โกรธเอย

   ๕๖.ผู้มีศรัทธา......ฉันทะ,ปัญญา......มิบ้า,ใบ้เผย
เหมาะเป็นยิ่งนา....ภัพพาฯเปรียบเปรย....ควรลุมรรคเชย....ต่อไปได้ครัน


รายนามผู้เยี่ยมชม : หยาดฟ้า, ลิตเติลเกิร์ล, ข้าวหอม, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ต้นฝ้าย

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4457
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 622



| |
Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
« ตอบ #3 เมื่อ: 22, มิถุนายน, 2568, 09:00:34 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา

(ต่อหน้า ๔/๑๙) ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์

   ๕๗."อภัพพาฯ"แน่.....ผู้ไม่มาแล้.....กุศลธรรมดั้น
ไม่มีสิ่งอวย....กอปรด้วยเครื่องกั้น....สามอย่างขวางพลัน....มรรคผลสิ้นทาง

   ๕๘."นิยโต"แล้.....ผู้เที่ยงแน่แท้.....ก่อ"อนันตริย์"ขวาง
มิจฉาทิฏฐิ....ตริเห็นผิดพร่าง....ตายแล้วมิคลาง....นรกจ่อเลย

   ๕๙.ผู้อริยะ......มรรค,ผลแปดปะ......เที่ยงลุสูงเผย
แน่ตรงสัมฤทธิ์....เสร็จกิจลุเอ่ย...."อนุปาฯ"เชย....กาย,ขันธ์ทำลาย

   ๖๐."อนิยโต".......ผู้ไม่เที่ยงโร่......จิตรวนเรฉาย
ไม่มั่นรัตน์ตรัย....คติไซร้มักกลาย....จะไร้ทางวาย....สู่มรรค,ผลแล

   ๖๑."ปฏิป์นันโก"......ผู้ถึงพร้อมโข.....ในมรรคสี่แฉ
"ผเลฏฐิโต"....ผู้โชว์พร้อมแล้....ลุผลสี่แน่....เข่นโสดาฯยง

   ๖๒."อรหา"ครัน......เป็นพระอรหันต์......ละสังโยชน์บ่ง
คือกิเลสสิบ....ดับลิบหมดลง....ลุนิพพานตรง....สุข,ว่างเอย

   ๖๓."อรหัตตายะ"......."ปฏิปันโน"ปะ......ผู้คงตนเอ่ย
อรหันต์โชติ....สังโยชน์ปลายเผย....ทั้งสี่ละเคย...."รูปราคะ"แล

   ๖๔."กถาวัตถุ".....คัมภีร์ห้าลุ......คำถาม,ตอบแฉ
เพื่อแจงหลักธรรม....ถ้อยคำถูกแล้....นิกายต่างแก้....เพื่อถกถ้อยจริง

   ๖๕."ปุคคโล"......อุปลลัพฯโร่......คำถามแจ้งดิ่ง
สัตว์,ชาย,หญิงนี้....เห็นมีได้จริง....ปรมัตถ์ยิ่ง....ประโยชน์สุดฤา

   ๖๖."อามันตา"ไซร้......ตอบย่อมมีได้....พุทธ์เจ้าตรัสครือ
ในพระสูตรตาม....คือความจริงชื่อ....โดยสมมติถือ....ง่ายอธิบาย

   ๖๗."โย สัจฉิกัตฯ"........ถามความแจ่มชัด......เป็นจริงยิ่งฉาย
ด้วยสัตว์,ชาย,หญิง....มีดิ่งขยาย....อรรถแจ่มแจ้งกราย....โดยปรมัตถ์ฤา

   ๖๘."น เหวัง วัตต์ฯ".......ตอบอย่ากล่าวซัด.....เช่นนั้นเพื่อยื้อ
สัตว์,ชาย,หญิงนั้น.....ครันไม่มีถือ....ไร้สัจจะคือ....ไม่จริงยิ่งเลย

   ๖๙."อาชานิ นิคค์ฯ".......ถามท่านได้พลิก......ถ้อยตอนต้นเอ่ย
รับรองมาแล้ว....แน่วปฏิเสธเอย....ควรรับโทษเผย...."นิคหะ"ถูกข่มแล

   ๗๐."หัญจิ ปุคค์โล"......ถ้าสัตว์หลายโผล่......มีได้จริงแน่
ควรกล่าวเป็นจริง....มียิ่งแจ่มแท้....อรรถขัดเจนแม้....ปรมัตถ์ยิ่งยง

   ๗๑."เตนะ วตะ".......พึงกล่าวถ้อยนะ.......แจ่มแจ้งจริงส่ง
สัตว์,ชน,บุคคล....ท้นชาย,หญิงคง....มีได้แน่ตรง....ตามปรมัตถ์นา

   ๗๒."มิจฉา"เห็นผิด.......ท่านตอบรับชิด......ชน,ชาย,หญิงหนา
มีจริงโดยอรรถ....ชัดแจ่มแจ้งฟ้า....มียิ่งสุดหล้า....คือปรมัตถ์เอย

   ๗๓.แต่ไม่รับรอง......ปัญหาหลังผอง......อรรถจริงยิ่งเผย
ถ้อยคำท่านผิด....เพราะบิดแย้งเอ่ย....ไม่รับรองเลย....ในครั้งหลังแล

   ๗๔.ก็ไม่พึงกล่าว......รับปัญหาฉาว......ครั้งต้นก่อนแล้
สัตว์,ชาย,หญิง,ชน....ข้อต้น,หลังแน่....จึงผิดพลาดแท้....ขัดแย้งกันเอง

   ๗๕.หก,"ยมก"กรู......คำถามเป็นคู่......ถ้อยย้อนกันเผย
คิดเทียบเคียงปน....เหตุผลหาเปรย....เข้าใจซึ้งเลย....ทั้งสองแง่แล

   ๗๖."เย เกจิฯ"ยล......ธรรมเป็นกุศล......อย่างหนึ่งครันแฉ
"สัพพเพ เตฯ"กราย....ธรรมหลายเป็นแน่....กุศลมูลแล้....เหง้ากุศลเอย

   ๗๗.มี"อโลภะ".......อีก"อโทสะ"......"อโมหะ"เผย
ต้นเหตุกุศล....ชั่วพ้นไปเอย....เว้นกระทำเลย....ชั่วลดแน่นอน

   ๗๘."เย วา ปนะฯ"......ธรรมหลายใดปะ......กุศลมูลจร
"สัพเพ เตฯ"กราย......ธรรมหลายนั้นช้อน....ล้วนกุศลพร....ทั้งสิ้นครรไล


รายนามผู้เยี่ยมชม : ข้าวหอม, หยาดฟ้า, ต้นฝ้าย, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ลิตเติลเกิร์ล

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4457
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 622



| |
Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
« ตอบ #4 เมื่อ: 22, มิถุนายน, 2568, 03:55:27 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา

(ต่อหน้า ๕/๑๘) ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์

   ๗๙."เย เกจิ"เด่น......ธรรมหลายล้วนเป็น.....กุศลแหล่งใด
"สัพเพ เตฯ"พราย....ธรรมหลายนั้นไว....มีรากมาไซร้....จาก"เอกมูลา"

   ๘๐."เอกมูลา"นับ......ความเดียวกันกับ.....กุศลมูลหนา
"เย วา ปนะฯ"....ธรรมจะเป็นนา....ดั่งเอกมูลา....มูลรากเดียวกัน

   ๘๑."สัพเพ เต"นา....."ธัมมา กุสลา"......ธรรมหลายเหล่านั้น
เป็นกุศลสิ้น....ผลินจิตพลัน....เกิดสุขะสันต์....ควรสะสมเอย

   ๘๒.เจ็ด,"ปัฏฐาน"ไซร้.....ที่ตั้งปัจจัย.....ยี่สิบสี่เผย
แจงสัมพันธ์ชัด....ใดปัจจัยเอ่ย....ของอะไรเปรย....ช่วยเกื้อหนุนแล

   ๘๓."เหตุปัจจโย"......เหตุที่ตั้งโร่......มีหกอย่างแฉ
อกุศลเหตุ....ประเภทสามแล้....โลภะ,โกรธแย่....โมหะ,หลงเอย

   ๘๔.กุศลเหตุดะ.......มี"อโลภะ"......"อโทสะ"เผย
"อโมหะ"ดล....กุศลเหตุเอย....ปัจจัยดีเชย....ช่วยนาม,รูปแล

   ๘๕.เหตุหนุนให้เกิด......นาม,รูป,จิตเชิด.....เจตสิกแฉ
ดั่งรากแก้วไม้....ได้ยึดต้นแท้....ตั้งยั่งยืนแน่....ช่วยไม้งอกงาม

   ๘๖."อารมณ์ปัจจ์โยฯ"......อารมณ์ก่อโต......มีอยู่หกผลาม
โดยเจตสิกหน่วง....ล่วง"รูป,เสียง"ลาม...."กลิ่น,รส,โผฏฯ"ตาม....พร้อมธัมมารมณ์

   ๘๗."ตา"เห็น"รูป"อยู่.....เกิดวิญญาณ"รู้"......รูปารมณ์สม
มองดี,จิตดี....มองรี่ร้ายตรม....ตาไม่มองชม....รูปารมณ์คลาย

   ๘๘.อารมณ์หกนี้.....อย่าใส่ใจชี้......ไร้อำนาจผาย
เหนือจิตใจเขา....โง่เขลาโทษร้าย....มีสติฉาย....คุมอารมณ์ไว

   ๘๙."อธิปติปัจจ์ฯ"......คล้ายอารมณ์ชัด.....สบอารมณ์ใฝ่
เกิดอกุศลติด....เพราะจิต,กายไซร้....ใช่อารมณ์ไม่....คุมสติ,พฤติดี

   ๙๐."อารัมณาฯ"......อารมณ์แรงกล้า......ต้องการยิ่งรี่
"สหชาตาธิปฯ"....ธรรมกริบเกิดคลี่....ในใจมีสี่...."ฉันทาฯ"พอใจ

   ๙๑."วิริยาธิปฯ"......ใจเกิดเพียรพริบ......"จิตตา"ใจใฝ่
"วิมังสาฯนา....ปัญญาเกิดไสว....ทั่งสี่เก่งไซร้....นำธรรมอื่นเอย

   ๙๒.ธรรมสี่หัวหน้า......นำสัมฤทธิ์นา.....ร่วมธรรมอื่นเผย
ทั้งสี่หย่อนทำ....ไม่สำเร็จเลย....หมั่นธรรมสี่เปรย....สำเร็จงดงาม

   ๙๓."อนนัตร์ฯ"ครัน......ธรรมเกิดตามกัน.....ไร้ใดคั่นผลาม
คือจิตเกิดก่อน....แล้วถอนดับตาม....ไร้จิตอื่นลาม....มาคั่นอยู่แล

   ๙๔.จิตที่เกิดหลัง......กลุ่มจิตอื่นยัง.....ไม่มีคั่นแฉ
พุทธ์ฯชี้กฏจร....จิตก่อนดับแล้....จิตพวกเดียวแท้....เกิดตามเร็วพลัน

   ๙๕."สัมนันตร์ฯ"ชัด.....คล้ายอนนัตร์ฯ.....ไร้จิตอื่นคั่น
เปรียบคล้ายกับจ้วง....จิตดวงเดียวกัน....ฉะนั้นจงมั่น....ทำดีตลอดกาล

   ๙๖."สหชาต์ปัจจ์ฯ"......ธรรมเกิดร่วมชัด.....ปัจจัยก่อสาน
เกิดร่วมหนุนไซร้....ตนไม่เกิดพาน....ธรรมอื่นก็ราน....ไม่เกิดเช่นกัน

   ๙๗.นามขันธ์สี่......มหาภูตฯปรี่......เกิดหทัยสรรค์
ล้วนสหชาตา....เกิดหนาด้วยกัน....กายมนุษย์พลัน....เติบโตต่อไป

   ๙๘."อัญญมัญฯ"ครัน.....ธรรมเกื้อกูลกัน.....เหมือนไม้พิงไว้
จึงตั้งคงมั่น....นามขันธ์สี่ไซร้....หนุนกันส่งไว....แต่ละขันธ์จุน
   ๙๙.เกิด"สัมผัส"พรู......"เวทนา"ก็รู้....."สัญญา,จำ"ผลุน
เช่น"เจ็บ"แล้ว"จำ"....จำซ้ำเจ็บหนุน....สลับดุน....เวทนา,สัญญา

   ๑๐๐."นิสสยปัจจ์ฯ"......ธรรมนิสัยชัด......ที่ตั้งอยู่หนา
ปัฐวีธาตุ....ดาษแผ่นดินนา....ให้ธาตุอื่นมา....อาศัยพักกราน


รายนามผู้เยี่ยมชม : ขวัญฤทัย (กุ้งนา), หยาดฟ้า, ข้าวหอม, ต้นฝ้าย, ลิตเติลเกิร์ล

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4457
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 622



| |
Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
« ตอบ #5 เมื่อ: 23, มิถุนายน, 2568, 05:42:36 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา

(ต่อหน้า ๖/๑๙) ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์

   ๑๐๑.วัตถุหกมี....."ตา"ที่ตั้งปรี่.....จักขุวิญญาณ
นามขันธ์สี่....ที่อิงประสาน...."ดิน,น้ำ,ลม"พาน....และ"ไฟ"เช่นกัน

   ๑๐๒."อุปนิสสะฯ"......เป็นนิสัยปะ......อารมณ์กล้าสรรค์
เกิดตามติดมา....ธรรมหามีคั่น....เกิดแรงกล้าพลัน....ไม่เกี่ยวอารมณ์

   ๑๐๓.เหตุทำตนเอง......ทั้งดี-ชั่วเผง......ปกติสม
หาหลักพึ่งตริ....อุปนิสัยบ่ม....ทำจนชินจม....ทั้งเลวหรือดี

   ๑๐๔."ปุเรชาตะฯ"......ธรรมเกิดก่อนจะ......เป็นปัจจัยชี้
ยังมิดับไซร้....ปัจจัยหนุนคลี่....จิต,เจตสิกปรี่....ทำงานต่อไป

   ๑๐๕.เปรียบดวงอาทิตย์.....ดวงจันทร์ประชิด.....ยังมิดับไข
สัตว์โลกพึ่งพิง....เกิดดิ่งอาศัย....ในโลกนี้ไซร้....ไปตลอดกาล

   ๑๐๖."ปัจฉาชาตะฯ"......ธรรมเกิดหลังนะ.....เป็นปัจจัยสาน
จิต,เจตสิกชี้....เกิดทีหลังชาญ....หนุนรูปฯก่อนพาน....ครบอายุแล

   ๑๐๗.อายุรูปนาม......เท่าอายุนำ......จิตสิบเจ็ดแฉ
รูปธรรมอยู่ได้....นานไซร้จิตแน่....อุปถัมภ์แท้....อยู่เจริญชม

   ๑๐๘."อาเสวนาฯ"......ธรรมหน้าที่หนา.....เสพบ่อยอารมณ์
ชวนะจิตชี้....รี่แล่นเร็วสม....ช่วยธรรมเดียวบ่ม....ให้เกิดขึ้นครัน

   ๑๐๙.ชวนะจิต......เป็นกุศลชิด......เกิดหนึ่งดวงสรรค์
ก็ปัจจัยหนุน....เกิดลุ้นต่อพลัน....ดวงสอง,สามยัน....ดวงที่เจ็ดเอย

   ๑๑๐.ถึงดวงที่เจ็ด.....ตัวเจตนาเด็ด......กิจสำเร็จเผย
คล้ายเรียนวิชา....มาแล้วเพิ่มเอ่ย....อย่างเดียวกันเคย....สิ้นการเร็วแล

   ๑๑๑."กัมมปัจจ์ฯ"ไซร้.....กรรมเป็นปัจจัย.....จิต,เจตสิกแฉ
เจตนาแจง....ปรุงแต่งจิตแล้....รูปเกิดพร้อมแท้....ด้วยจิต,กรรมเอย

   ๑๑๒.จิต,เจตสิกรับ......รูปารมณ์ฉับ.....เกิดโลภขึ้นเผย
แสดงออกมา....กาย,วาจาเคย....อำนาจโลภเอ่ย....มูลเจตนา

   ๑๑๓.กรรมหลายที่ทำ.....เป็นปัจจัยหนำ.....เพาะพืชพันธ์หนา
เจตนา,จิตดับ....ลับไปแล้วครา....กรรมเจตนา....ส่งผลต่อไป

   ๑๑๔."วิปากปัจจ์ฯ"......วิบากธรรมจัด.....ผลดี,ชั่วไข
วิบากนามขันธ์....สี่ครันปัจจัย....หนุนซึ่งกันไซร้....เกิดกัมม์รูปฯแล

   ๑๑๕.ช่วย"จิตต์รูปฯ"เกิด.....วิบากที่เชิด.....ปัจจัยหนุนแฉ
คล้ายชราพราก....วิบาก"ชาติ"แท้....แรกทารกแน่....หนุนชราต่อมา

   ๑๑๖."อาหารปัจจ์ฯ"รี่......อาหารมีสี่......หนุนรูป-นามหนา
"กวฬิงฯ"ก้อน....ข้าวป้อนกายนา...."ผัสสาหาร"หล้า....เลี้ยงเวทนาเอย

   ๑๑๗."มโนสัญญา"ไซร้.....เจตนาจงใจ.....หนุนพูด,คิดเผย
"วิญญาณาหาร"....พานอาหารเอ่ย....รูป,เวทนาเปรย....สังขาร,สัญญา

   ๑๑๘."อินทรีย์ปัจจ์ฯ".....ธรรมปัจจัยชัด.....อินทรีย์ยิ่งหนา
ทำยี่สิบสอง....ครองหน้าที่กล้า....ของตนเองนา....ปัจจัยต่อกัน

   ๑๑๙."ฌานปัจจโย"......ฌานปัจจัยโด่.....อารมณ์แน่วครัน
กอปรด้วย"วิตก"....ยก"วิจาร"ดั้น...."ปีติ"ไวพลัน....รู้"เวทนา"

   ๑๒๐."เอกัคค์ตา"เกิด......อารมณ์เดียวเทิด.....ปัจจัยหนุนกล้า
นามขันธ์สี่ล้ำ...กัมมช์รูปหล้า....จิตตชรูปหนา....เกิดขึ้นพร้อมตน

   ๑๒๑.อีกฌานมีสอง....."อารมณ์ณูฯ"ตรอง.....สมถะล้น
"ลักขณูฯ"จัด....วิปัสส์นายล....สองฌานหนุนท้น....ปัจจัยซึ่งกัน

   ๑๒๒."มัคคปัจจ์ฯ"พรู......ธรรมนำทางสู่.....สุคติสรรค์
ทุคติ,นิพพาน....ผ่านมรรคเก้าครัน....ทั้งกุศลดั้น....อกุศล,กลาง


รายนามผู้เยี่ยมชม : ข้าวหอม, ต้นฝ้าย, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), หยาดฟ้า, ลิตเติลเกิร์ล

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4457
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 622



| |
Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
« ตอบ #6 เมื่อ: 23, มิถุนายน, 2568, 03:54:54 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา

(ต่อหน้า ๗/๑๘) ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์

   ๑๒๓.เก้าปัจจัยนำ......หนุนสหชาติธรรม......ที่เกิดพร้อมพร่าง
เข้าสู่อารมณ์....สมกับตนพลาง....ทำกิจเสร็จสาง....ตามหน้าที่ตน

   ๑๒๔.สัมปยุตต์ฯครัน......ธรรมประกอบกัน......เป็นปัจจัยด้น
ทำพร้อมสี่อย่าง....บ้าง"เกิด"พร้อมยล...."ดับก็ดับรน....มี"อารมณ์"เดียว

   ๑๒๕."อยู่ที่เดียวกัน"......จิต,เจตสิกนั้น......เป็นปัจจัยเชียว
หน้าที่ต่างกัน....พลันสัมปยุตต์ฯเปรียว....ประกอบชิดเทียว....เป็นเนื้อเดียวเลย

   ๑๒๖."วิปปยุตต์ปัจจ์ฯ"......ธรรมปัจจัยชัด......มิเข้ากันเผย
เช่นนาม,ปัจจัย....ไซร้แก่"รูป"เอย....เป็นวิปป์ยุตต์ฯเอ่ย....ไม่เข้ากันแล

   ๑๒๗."อัตถิปัจจโย"......มีธรรมอยู่โข......เป็นปัจจัยแผ่
เพราะยังตั้งอยู่....มิจู่ดับแฉ....เพื่อหนุนธรรมแน่....ให้เกิดผลตน

   ๑๒๘.เช่นนามขันธ์สี่......เป็นอัตถิฯรี่.....ปัจจัยกันท้น
ดิน,น้ำ,ไฟ,ลม....สม"นามรูป"ดล....คราชีพเกิดตน....เป็นอัตถิฯกัน

   ๑๒๙."นัตถิปัจจโย"......ไร้ปัจจัยโอ่......ไม่มีธรรมดั้น
จะหนุนธรรมสืบ....คืบต่อไปพลัน....เช่นเจตสิกครัน....เกิดดวงหนึ่งเอย

   ๑๓๐.ดวงหนึ่งอยู่บ่ง......ยังมิดับลง......สองมิเกิดเผย
เหมือนแสงสว่าง....พลางลับแล้วเอ่ย....ความมืดมาเลย....เกิดมีขึ้นนา

   ๑๓๑."วิคตปัจจ์ฯ......ธรรมปลาตชัด......คือธรรมดับหนา
หนุนธรรมให้คลาด....ปราศจากพา....เกิดเช่นเดียวกล้า....นัตถิปัจจ์ฯแล

   ๑๓๒."อวิคต์ปัจจ์ฯ......ธรรมไร้ปราศจัด.....ยังมิดับแฉ
ปัจจัยช่วยเหลือ....มีเอื้อกันแน่....เช่นเดียวกันแท้....อัตถิปัจจัย

   ๑๓๓.สรุปความหมาย.....สวดอภิธรรมปราย.....กล่าวธรรมยิ่งไข
"จิต,เจตสิก"กริบ...."รูป,นิพพาน"ไว้....สภาพธรรมไซร้....ถือไร้บุคคล

   ๑๓๔.มีแต่สิ่งรวม.....ประชุมกันสรวม.....จิต,เจตสิกด้น
และนิพพานครือ....ส่วนชื่อเรียกนั่น....เรียกนี่แล้วพลัน....ล้วนสมมตินาม

   ๑๓๕.สวดพระอภิธรรม......แจงความจริงล้ำ.....ชีพกอปรรูป,นาม
รูปคือกายเชิด....เกิดด้วยธาตุผลาม...."ดิน,น้ำ,ไฟ"ลาม...."ลม"ประชุมกัน

   ๑๓๖.นามกอปรด้วย"จิต"......เจตสิกประชิด.....ทำงานร่วมสรรค์
นามขันธ์สี่มา....เวทนารู้ครัน....สัญญา,จำมั่น....สังขาร,คิดปรุง

   ๑๓๗.อีกวิญญาณบ่ม......รู้แจ้งอารมณ์......ผ่านตา,หู..ผลุง
สัจจะธรรมหนา....ปัญญาญาณจรุง....ลุนิพพานฟุ้ง....กิเลสสิ้นพลัน ฯ|ะ

แสงประภัสสร

ที่มา : ๑)อภิธรรมปิฎก พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๖๔๘
           ๒)คำแปลอภิธรรม ๗ คัมภีร์ https://www.watsacramento.org/w-article-074B-t.htm

พระไตรปิฎก = เป็นคัมภีร์ที่บันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้า รวม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็น ๓ หมวดใหญ่ ๆ คือ (๑)พระวินัยปิฎก ว่าด้วยพระวินัยสิกขาบทต่าง ๆ ของภิกษุและภิกษุณี มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ (๒)พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระสูตรซึ่งเป็นพระธรรมเทศนาของพระโคตมพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก ที่แสดงแก่บุคคลต่างชั้นวรรณะและการศึกษา ต่างกรรมต่างวาระกัน มีทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง มีรวม ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ (๓)พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยปรมัตถธรรม ซึ่งเป็นธรรมะขั้นสูง อธิบายด้วยหลักวิชาล้วนๆ โดยไม่อ้างอิงเหตุการณ์และบุคคล มีรวม ๔๘,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
พระอภิธรรม =ว่าด้วยเรื่องของปรมัตถธรรม มี ๔ ประการ อันได้แก่ (๑)จิต (๒) เจตสิก (๓)รูป และ (๔)นิพพาน เป็นสภาวธรรม ล้วนๆ  ทางพระอภิธรรมถือว่าบุคคลนั้นไม่มี มีแต่สิ่งซึ่งเป็นที่ประชุมกันของ จิต เจตสิก รูป เท่านั้น


รายนามผู้เยี่ยมชม : ขวัญฤทัย (กุ้งนา), หยาดฟ้า, ต้นฝ้าย, ข้าวหอม, ลิตเติลเกิร์ล

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4457
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 622



| |
Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
« ตอบ #7 เมื่อ: 24, มิถุนายน, 2568, 09:29:08 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา

(ต่อหน้า ๘/๑๙) ๑.อภิธรรม ๗ คัมภีร์

พระอภิธรรมปิฎก= แบ่งเป็น ๗ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ) คือ
(๑)ธัมมสังคณี -รวมข้อธรรมเข้าเป็นหมวดหมู่แล้วอธิบายทีละประเภทๆ (๒)วิภังค์ -ยกหมวดธรรมสำคัญ ๆ ขึ้นตั้งเป็นหัวเรื่องแล้วแยกแยะออกอธิบายชี้แจงวินิจฉัยโดยละเอียด (๓)ธาตุกถา -สงเคราะห์ข้อธรรมต่าง ๆ เข้าในขันธ์ อายตนะ ธาตุ (๔)ปุคคลบัญญัติ -บัญญัติความหมายของบุคคลประเภทต่างๆ ตามคุณธรรมที่มีอยู่ในบุคคลนั้น (๕)กถาวัตถุ -แถลงและวินิจฉัยทัศนะของนิกายต่างๆ สมัยสังคายนาครั้งที่ ๓ (๖)ยมก (ภาค ๑, ภาค ๒) ยกหัวข้อธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบ โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ (๗)ปัฏฐาน หรือ มหาปกรณ์ (ภาค ๑, ภาค ๒, ภาค ๓, ภาค ๔, ภาค ๕, ภาค ๖) อธิบายปัจจัย ๒๔ แสดงความสัมพันธ์เนื่องอาศัยกันแห่งธรรมทั้งหลายโดยพิสดาร
การสวดอภิธรรม ๗ คัมภีร์=ครั้งพุทธกาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จโปรดพุทธมารดา ได้ยกพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ แสดงแก่พุทธมารดาฟัง ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พร้อมทั้งเหล่าเทวดาทุกชั้นที่พากันมาฟังธรรมที่ชั้นดาวดึงส์  ทำให้เหล่าเทวดาได้บรรลุธรรมพร้อมกัน มีพระโสดาบัน เป็นเบื้องต่ำ และอนาคามีเป็นเบื้องสูง ใช้เวลาในการแสดง ๓ เดือน (๑ พรรษา)
การสวดพระอภิธรรมศพ=พระสงฆ์นำเอาพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ มาสวดในงานศพ ก็เพื่อเจริญกุศลและอานิสงส์ต่างๆ ดังต่อไปนี้ (๑)เพื่อให้ผู้ฟังได้เข้าใจความจริงของสังขาร ที่เกิดมาแล้วก็ต้องแก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมดา โดยมีศพให้ดูเป็นตัวอย่างเบื้องหน้า (๒)เพื่อเป็นอีกอุบายวิธีหนึ่ง ในการป้องกันมิให้พระสัทธรรม หรือพระอภิธรรมอันตรธานไป (๓)เพื่อให้คนทั่วไปได้ฟังไว้เป็นอุปนิสัยปัจจัยในภายหน้า แม้จะยังไม่เข้าใจ แต่ขณะฟัง หากตั้งใจฟังด้วยดี จิตก็ย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ และการที่จิตตั้งมั่นเป็นสมาธินั้น จัดเป็นบุญชั้นสูงอย่างหนึ่ง ที่ทางพระเรียกว่า “ภาวนามัย” คือบุญที่เกิดจากการมีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ และน้อมอุทิศบุญนี้ให้เป็นส่วนกุศลแด่ผู้วายชนม์ได้ (๔)เชื่อกันว่าพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์นี้ ใครสวดครบ ๗ ปีร่างกายจะไม่เน่าเปื่อย เมื่อหมดบุญก็ขึ้นสวรรค์ทันที หรืออีกตัวอย่างหนึ่งตามตำนานเล่าว่า…ในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า ค้างคาว ๕๐๐ ตัว ซึ่งเกาะอยู่ที่ผนังถ้ำ และงูเหลือมแก่ๆอีกตัวหนึ่ง ได้ฟังพระสวดสาธยายพระอภิธรรม เมื่อตายแล้วจึงไปเกิดเป็นเทพอยู่บนสวรรค์ครบ ๖๒ กัป จึงลงมาเกิดเป็นลูกชาวประมง ต่อมาทั้ง ๕๐๐ คนก็บวชเป็นศิษย์ของพระสารีบุตร ครั้นได้ฟังพระอภิธรรมอีกครั้งก็บรรลุอรหันต์ทั้ง ๕๐๐ รูป กับอีก ๑ รูป (งูเหลือมแก่ในอดีตชาติ) และ “หลวงปู่ชอบ ฐานสโม” วัดป่าสัมมานุสรณ์ จ.เลย กล่าวไว้ “การสวดสาธยายพระอภิธรรมนี้ เทวดาชอบฟัง มนต์บทนี้ แม้แต่สวดในใจเทวดาก็ยังฟัง”
ธมฺมสงฺคณี=ธัมมสังคณี คัมภีร์ที่ ๑ มีคำสวดเป็นภาษาบาลี ดังนี้
กุสลาธมฺมา ~ ธรรมทั้งหลายเป็นกุศล คือไม่มีโทษอันบัณฑิต ติเตียน มีสุขเป็นวิบากต่อไป
อกุสลาธฒฺมา ~ ธรรมทั้งหลายเป็นอกุศล คือมีโทษอันบัณฑิต ติเตียน มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป
อพฺยากตา ธมฺมา ~ ธรรมทั้งหลายที่เป็น อัพยากฤต คือท่านไม่พยากรณ์ว่า เป็นกุศล หรืออกุศล คือเป็นธรรมกลาง ๆ
กตเม ธมฺมา กุสลา ~ ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลเป็นไฉน
ยสฺมึ สมเย ~ในสมัยใด
กามาวจรํ กุสลํ จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ โหติ ~ จิตที่เป็นกุศลอันหยั่งลงสู่กามย่อมเกิดขึ้น
โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ ~ เป็นไปกับโสมนัส ประกอบด้วยญาณ
รูปารมฺมณํ วา ~ ปรารภอารมณ์ คือรูป หรือมีรูปเป็นอารมณ์บ้าง
สทฺทารมฺมณํ วา ~ ปรารภอารมณ์ คือเสียง หรือมีเสียงเป็นอารมณ์บ้าง
คนฺธารมฺมณํ วา ~ ปรารภอารมณ์ คือกลิ่น หรือมีกลิ่นเป็นอารมณ์บ้าง
รสารมฺมณํ วา ~ ปรารภอารมณ์ คือรส หรือมีรสเป็นอารมณ์บ้าง
โผฏฺฐพฺพารมฺมณํ วา ~ปรารภอารมณ์ คือโผฏฐัพพะ สิ่งที่กายถูกต้อง หรือมีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์บ้าง
ธมฺมารมฺมณํ วา ~ ปรารภอารมณ์ คือ ธรรม เรื่องที่เกิดแก่ใจ หรือมี ธรรมเป็นอารมณ์บ้าง
ยํ ยํ วา ปนารพฺภ ~ ปรารภอารมณ์ใด ใด บ้างก็ดี
ตสฺมึ สมเย ~ ในสมัยนั้น
ผสฺโส โหติ ~ ความประจวบต้องกันแห่งอายตนะภายในภายนอก และวิญญาณ ย่อมมี ฯลฯ
อวิกฺเขโป โหติ ~ ความไม่ฟุ้งซ่านย่อมมี
เย วา ปน ตสฺมึ สมเย อญฺเญปิ อตฺถิ ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนา อรูปิโน ธมฺมา ~ ก็หรือว่า ธรรมทั้งหลายอันไม่มีรูป ที่อาศัยกันเกิดขึ้นแม้เหล่าอื่นใดมีอยู่ในสมัยนั้น
อิเม ธมฺมา กุสลา ~ ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล
วิภงฺโค=วิภังโค เป็นคัมภีร์ที่ ๒ มีคำสวดเป็น ภาษาบาลี ดังนี้


รายนามผู้เยี่ยมชม : ต้นฝ้าย, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), หยาดฟ้า, ข้าวหอม, ลิตเติลเกิร์ล

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4457
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 622



| |
Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
« ตอบ #8 เมื่อ: 24, มิถุนายน, 2568, 06:49:01 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา

(ต่อหน้า ๙/๑๙) ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์

ปยฺจกฺขนฺธา ~ขันธ์ คือกองทั้ง ๕
รูปกฺขนฺโธ ~ รูปขันธ์ กองรูป ๑
เวทนากฺขนฺโธ ~ เวทนาขันธ์ กองเวทนา ๑
สญฺญากฺขนฺโธ ~สัญญาขันธ์ กองสัญญา ๑
สงฺขารกฺขนฺโธ ~สังขารขันธ์ กองสังขาร ๑
วิญฺญาณกฺขนฺโธ ~ วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ ๑
ตตฺถ กตโม รูปกฺขนฺโธ ~ในขันธ์ทั้ง ๕ นั้น รูปขันธ์เป็นไฉน
ยงฺกิญจิ รูปํ อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนํ ~ รูปอันใดอันหนึ่งเป็นอดีต ล่วงไปแล้ว เป็นอนาคตยังมิได้มา เป็นปัจจุบัน เกิดขึ้นอยู่ฉะเพาะหน้า
อชฺฌตฺตํ วา พหิทฺธา วา ~ เป็นภายในหรือภายนอก
โอฬาริกํ วา สุขุมํ วา ~ หยาบหรือละเอียด
หีนํ วา ปณีตํ วา ~ เลวหรือประณีต
ยํ ทูเร วา สนฺติเก วา ~อันใด ในที่ไกลหรือในที่ใกล้
ตเทกชฺฌํ อภิสญฺญูหิตฺวา อภิสงฺขิปิตฺวา ~ ประมวลย่นย่อรูปนั้นเข้าเป็นอันเดียวกัน
อยํ วุจฺจติ รูปกฺขนฺโธ ~ นี้พระตถาคตตรัสเรียกว่ารูปขันธ์
ธาตุกถา=คือคัมภีร์ที่ ๓ คำสวดภาษาบาลีคือ
สงฺคโห ~ การสงเคราะห์ คือรวมเข้าเป็นหมู่เดียวกัน เช่น สงเคราะห์รูปขันธ์เข้าด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ อันเป็นรูปธรรมด้วยกัน
อสงฺคโห ~ การไม่สงเคราะห์ คือไม่รวมเข้าเป็นหมู่เดียวกัน เช่น ไม่สงเคราะห์รูปขันธ์เข้าด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ อันเป็นนามธรรม
สงฺคหิเตน อสงฺหิตํ ~หมวดธรรมที่สงเคราะห์เข้าด้วยกันได้เพราะเป็นฝ่ายเดียวกัน แต่สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้กับหมวดธรรมฝ่ายอื่น เช่นอายตนะธาตุฝ่ายรูป ที่สงเคราะห์เข้ากับรูปขันธ์ได้ แต่สงเคราะห์เข้ากับนามขันธ์ไม่ได้
อสงฺคหิเตน สงคหิตํ ~หมวดธรรมที่สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้เพราะต่างฝ่ายกัน แต่สงเคราะห์เข้ากันได้กับหมวดธรรมฝ่ายเดียวกัน เช่น นามขันธ์ไม่สงเคราะห์เข้ากับ อายตนะ ธาตุ ฝ่ายรูป แต่สงเคราะห์เข้ากับอายตนะ ธาตุฝ่ายนามด้วยกันได้
สงฺคหิเตน สงฺคหิตํ ~หมวดธรรมที่สงเคราะห์เข้ากันได้ เพราะเป็นฝ่ายเดียวกัน ก็สงเคราะห์เข้ากันได้กับหมวดธรรมฝ่ายเดียวกันทั้งหมด เช่นขันธ์ อายตนะ ธาตุ ฝ่ายรูปหรือธรรม ก็สงเคราะห์เข้ากันได้ตามประเภททั้งหมด
อสงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ ~หมวดธรรมที่สงเคราะห์กันไม่ได้เพราะต่างฝ่ายกัน ก็สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้กับหมวดธรรมต่างฝ่ายกันทั้งหมด เช่น รูปขันธ์สงเคราห์เข้ากันกับนามขันธ์ไม่ได้ ก็สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้กับอายตนะธาตุฝ่ายนามทั้งหมด
มสฺปโยโค ~ความสัมปโยคประกอบกัน คือความมีเกิด ดับ มีวัตถุที่ตั้งและมีอารมณ์เป็นสภาค คือมีส่วนร่วมเป็นอันเดียวกัน เช่น เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ มีสัมปโยคประกอบกับนามขันธ์ ๓ เหล่านี้ วิญญาณขันธ์ก็มีสัมปโยคประกอบกับนามขันธ์ ๓ เหล่านี้ได้ ส่วนรูปขันธ์ไม่มีสัมปโยคประกอบกันกับอะไรอื่น
วิปฺปโยโค ~ความวิปโยค ไม่ประกอบ คือพรากกัน เพราะเป็นวิสภาคผิดส่วนกัน จึงต่างเกิด ต่างดับ เป็นต้น เช่น รูปขันธ์มีวิปโยคไม่ประกอบกับนามขันธ์ ๔ นามขันธ์ ๔ ก็มีวิปโยคไม่ประกอบกับรูปขันธ์
สมฺปยุตฺเตน วิปฺปยุตฺตํ ~หมวดธรรมที่สัมปยุต ประกอบกันได้ ก็วิปปยุตไม่ประกอบกับหมวดธรรมประเภทอื่น เช่น ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่สัมปยุตประกอบกับนาม ๔ ได้ ก็วิปปยุตไม่ประกอบกับรูปขันธ์
วิปฺปยุตฺเตน สมฺปยุตฺตํ ~หมวดธรรมที่วิปปยุตไม่ประกอบกันแล้ว ก็สัมปยุต ประกอบกันอีก หมวดธรรมเช่นนี้ไม่มี เพราะนามขันธ์ ๔ วิปปยุตไม่ประกอบกันกับรูปขันธ์แล้ว ก็ไม่สัมปยุประกอบกันกับธรรมอื่น นอกจากพวกของตน รูป และนิพพานเป็นวิปยุตไม่ประกอบกับนามขันธ์ ๔ แล้วก็ไม่สัมปยุตกับธรรมอื่น
อสงฺคหิตํ ~หมวดธรมที่ไม่สงเคราะห์เข้ากัน คือเมื่อกล่าวถึงบททั้งหลายที่ละเว้นไว้ ย่อประมวลความโดยย่อว่า หมวดธรรมที่สัมปยุตประกอบกันก็ดี หมวดธรรมที่วิปยุตไม่ประกอบกันก็ดี ย่อมสงเคราะห์เข้ากันได้บ้าง สงเคราะห์เข้ากันมิได้บ้าง เช่น ไปสวดธรรมที่วิปยุตไม่ประกอบกับรูปขันธ์ คือพวกนามขันธ์ ๔ ก็สงเคราะห์เข้ากันกับนามขันธ์ทั้ง ๔ แต่ไม่สงเคราะห์เข้ากันกับรูปขันธ์


รายนามผู้เยี่ยมชม : ต้นฝ้าย, หยาดฟ้า, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ข้าวหอม, ลิตเติลเกิร์ล

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4457
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 622



| |
Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
« ตอบ #9 เมื่อ: 25, มิถุนายน, 2568, 10:19:53 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา

(ต่อหน้า ๑๐/๑๙) ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์

ปุคฺคลปญฺญตฺติ= เป็นคัมภีร์ที่ ๔ สวดเป็นภาษาบาลี ได้แก่
ฉ ปญฺญตฺติโย ~บัญญัติ คือการแสดงประกาศแต่งตั้งทั้งหลาย ๖
ขนฺธติปญฺญตฺ ~บัญญัติว่า ขันธ์
อายตนปญฺญตฺติ ~บัญญัติว่า อายตนะ
ธาตุปญฺญตฺติ ~บัญญัติว่า ธาตุ
สจฺจปญฺญตฺติ~บัญญัติว่า สัจจะ
อินฺทฺริยปญฺญตฺติ~บัญญัติว่า อินทรีย์
ปุคฺคลปญฺญตฺติ~บัญญัติว่า บุคคล
กิตฺตาวตา ปุคคลานํ ปุคฺคลปญฺญตฺติ ~บัญญัติซึ่งบุคคลทั้งหลายว่า เป็นบุคคล กำหนดประมาณเท่าไร
สมยวิมุตฺโต ~บุคคลผู้พ้นแล้วโดยสมัย คือบุคคลผู้ได้วิโมกข์ หรือสมาบัติ ๘ ตามกาล ตามสมัย และมีอาสวะบางเหล่าสิ้นแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา ได้แก่พระอริยบุคคล ๓ จำพวกเบื้องต้นผู้ได้สมาบัติ ๘
อสมยวิมุตฺโต ~บุคคลผู้พ้นโดยไม่มีสมัย คือบุคคลผู้มิได้มีวิโมกข์ ๘ ตามกาล ตามสมัย แต่มีอาสวะทั้งหลายสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ได้แก่พระอรหันต์ สุกขวิปัสสก อีกอย่างหนึ่ง พระอริยบุคคลทั้งปวง ชื่อว่าอสมยวิมุตต์ เพราะได้อริยวิโมกข์ตามลำดับขั้น อริยวิโมกข์ไม่มีสมัยกำเริบอีกได้
กุปฺปธมฺโม ~บุคคลผู้มีธรรมยังกำเริบ คือบุคคลผู้ได้รูปสมาบัติ หรืออรูปสมาบัติ ยังไม่คล่องแคล่วชำนาญ มีฐานะโอกาสจะอาศัยความประมาทเสื่อมจากสมาบัตินั้นได้
อกุปฺปธมฺโม ~บุคคลอันมีธรรมอันไม่กำเริบได้ คือบุคคลผู้ได้รูปสมาบัติ หรืออรูปสมาบัติคล่องแคล่วชำนาญ ไม่มีฐานะโอกาสจะประมาทเสื่อมจากสมาบัตินั้นได้ ได้แก่พระอนาคามีและพระอรหันต์ผู้ได้สมาบัติ อีกอย่างหนึ่งพระอริยบุคคลทั้งปวง ชื่อว่าอกุปปธัมมะ เพราะอริยวิโมกข์ของท่านเป็นธรรมไม่กำเริบอีกได้
ปริหานธมฺโม ~บุคคลผู้มีธรรมยังเสื่อมได้ คือบุคคลผู้มีธรรมยังกำเริบได้นั่นแล
อปริหานธมฺโม ~บุคคลผู้มีธรรมอันไม่เสื่อมได้ คือบุคคลผู้มีธรรมอันไม่กำเริบได้นั่นแล
เจตนาภพฺโพ ~บุคคลผู้ควรเพื่อถึงความไม่เสื่อม เพราะเจตนาเอาใจใส่ คือ บุคคลผู้ได้รูปสมาบัติ ยังไม่คล่องแคล่วชำนาญ เมื่อเอาใจใส่อยู่ย่อมไม่เสื่อมจากสมาบัตินั้น
อนุรกฺขนาภพฺโพ ~บุคคลผู้ควรเพื่อถึงความไม่เสื่อมด้วยคอยรักษาไว้ คือบุคคลได้รูปสมาบัติหรืออรูปสมาบัติ ยังไม่คล่องแคล่วชำนาญเมื่อคอยรักษาอยู่ย่อมไม่เสื่อมจากสมาบัตินั้น
ปุถุชฺชโน ~บุคคลผู้เป็นปุถุชนมีกิเลสเกิดหนาแน่น คือบุคคลผู้ยังละสังโยชน์ ๓ เบื้องต้นยังไม่ได้ และไม่ปฏิบัติเพื่อละสังโยชน์เหล่านั้น
โคตฺรภู ~บุคคลผู้ถึงญาณครอบโคตร คือบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมก่อน แต่จะก้าวเข้าสู่อริยธรรม โดยไม่มีธรรมอื่นขั้นระหว่าง ได้แก่ผู้ล่วงโคตร คือมณฑลบัญญัติปุถุชน จะย่างสู่โคตรอริยชน กำลังอยู่ในภาวะที่มิใช่ปุถุชน มิใช่อริยชน
ภยูปรโต ~บุคคลผู้งดเว้นเพราะความกลัว ได้แก่พระเสขบุคคล ๗ และปุถุชนผู้มีศีล ปุถุชนกลัวภัย ๔ คือทุคคติภัย ภัยคือทุคคติ วัฏฏภัย ภัยคือวน กิเลส กรรม วิบาก กิเลสภัย ภัยคือกิเลส อุปวาทภัย ภัยคือความติเตียน จึงงดเว้นบาป พระเสขบุคคลแม้ตั้งอยู่ในอริยมรรค อริยผล ก็ยังกลัวภัย ๓ เว้นทุคคติภัย
อภยูปรโต ~บุคคลผู้งดเว้นเพราะความไม่กลัว ได้แก่พระอรหันต์ขีณาสพ ผู้ตัดภัยได้เด็ดขาด
ภพฺพาคมโน ~บุคคลผู้ควรเพื่อมาแน่แท้ในกุศลธรรมทั้งหลาย คือบุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยกัมมาวรณ์เครื่องกั้น คือกรรม ได้แก่ อนันตริยกรรม ๕ ไม่ประกอบด้วยกิเลสสาวรณ์ เครื่องกั้นคือกิเลส ได้แก่ นิตยมิจฉาทิฏฐิไม่ประกอบด้วยวิปากาวรณ์ เครื่องกั้นคือวิบาก ได้แก่อเหตุกปฏิสนธิ และทุเหตุกปฏิสนธิ เป็นผู้มีศรัทธา มีฉันทะ มีปัญญา ไม่บ้าใบ้เป็นภัพพบุคคล สมควรบรรลุมรรคผลได้
อภพฺพาคมโน ~บุคคลผู้ไม่ควรเพื่อมาแน่แท้ในกุศลธรรมทั้งหลาย คือบุคคลผู้ประกอบด้วยเครื่องกั้น ๓ อย่างนั้น เป็นผู้ปราศจากศรัทธาเป็นต้น เป็นอภัพพบุคคล ไม่สมควรบรรลุมรรคผล
นิยโต ~บุคคลผู้เที่ยงแน่แท้ คือบุคคลทำอนันตริยกรรม ๕ และบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฐิ ๒ จำพวก เที่ยงแน่แท้ที่จะไปสู่นรก พระอริยบุคคล ๘ จำพวก เที่ยงแน่แท้ต่อมรรคผลสูง ๆขึ้นไป และเที่ยงแน่แท้ต่อ อนุปปาทาปรินิพพาน
อนิยโต ~บุคคลผู้ไม่เที่ยงแน่แท้ คือบุคคลนอกจากนิยตบุคคลเหล่านั้นเพราะมีคติไม่แน่นอน
ปฏิปนฺนโก ~บุคคลผู้ปฏิบัติแล้ว คือบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค ๔ ได้แก่ตั้งอยู่แล้วในมรรค ๔ มีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น
ผเลฏฺฐิโต ~บุคคลผู้ตั้งอยู่แล้วในผล คือบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยผล ๔ มีโสดาปัตติผลเป็นต้น


รายนามผู้เยี่ยมชม : ลิตเติลเกิร์ล, ข้าวหอม, หยาดฟ้า, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ต้นฝ้าย

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4457
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 622



| |
Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
« ตอบ #10 เมื่อ: 25, มิถุนายน, 2568, 07:33:32 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา

(ต่อหน้า ๑๑/๑๙) ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์

อรหา ~บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์ คือบุคคลผู้ละสังโยชน์ได้ทั้ง ๑๐ ด้วยการละโดยไม่มีส่วนเหลือ
อรหตฺตาย ปฏิปนฺโน ~บุคคลปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์ คือบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อละสังโยชน์เบื้องปลายทั้ง ๔ มี รูปราคะเป็นต้น
ขนฺธติปญฺญตฺ=ขันธบัญญัติ การบัญญัติสภาวธรรมที่เป็นหมวดหมู่กันว่าเป็นขันธ์มี ๕ คือ (๑)รูปขันธ์ (๒)เวทนาขันธ์ (๓)สัญญาขันธ์ (๔)สังขารขันธ์ (๕)วิญญาณขันธ์
อายตนปญฺญตฺติ=คือ การบัญญัติสภาวธรรมที่เป็นบ่อเกิดว่าเป็นอายตนะมี ๑๒ คือ
(๑)จักขายตนะ -อายตนะ คือ ตา (๒)รูปายตนะ - อายตนะ คือ รูป (๓)โสตายตนะ - อายตนะ คือ หู (๔)สัททายตนะ -อายตนะ คือ เสียง (๕)ฆานายตนะ -อายตนะ คือ จมูก (๖)คันธายตนะ -อายตนะ คือ กลิ่น (๗)ชิวหายตนะ -อายตนะ คือ ลิ้น (๘)รสายตนะ-อายตนะ คือ รส (๙)กายายตนะ -อายตนะ คือ กาย (๑๐)โผฏฐัพพายตนะ - อายตนะ คือ สิ่งที่สัมผัส(เย็น ร้อน อ่อน แข็ง) (๑๑)มนายตนะ  -อายตนะ คือ ใจ (๑๒)ธัมมายตนะ - อายตนะ คือ ธรรมารมณ์(สิ่งที่ใจคิด)           
ธาตุปญฺญตฺติ=ธาตุบัญญัติ คือ การบัญญัติสภาวธรรมที่ทรงตัวอยู่ว่าเป็นธาตุ มี ๑๘ คือ
(๑)จักขุธาตุ (๒)รูปธาตุ (๓)จักขุวิญญาณธาตุ (๔)โสตธาตุ (๕)สัททธาตุ (๖)โสตวิญญาณธาตุ (๗)ฆานธาตุ (๘)คันธธาตุ (๙)ฆานวิญญาณธาตุ  (๑๐)ชิวหาธาตุ (๑๑)รสธาตุ   (๑๒)ชิวหาวิญญาณธาตุ (๑๓)กายธาตุ (๑๔)โผฏฐัพพธาตุ (๑๕)กายวิญญาณธาตุ (๑๖)มโนธาตุ (๑๗)ธัมมธาตุ  (๑๘)มโนวิญญาณธาตุ           
สจฺจปญฺญตฺติ=สัจจบัญญัติ คือ การบัญญัติสภาวธรรมที่เป็นความจริงว่าเป็นสัจจะ มี ๔ คือ
(๑)ทุกขสัจจะ (๒)สมุทยสัจจะ (๓)นิโรธสัจจะ   (๔)มัคคสัจจะ
อินฺทฺริยปญฺญตฺติ=อินทริยบัญญัติ คือ การบัญญัติสภาวธรรมที่เป็นใหญ่ในการทำกืจของตนมี ๒๒ คือ
(๑)จักขุนทรีย์ -อินทรีย์ คือ จักขุปสาท (๒)โสตินทรีย์ -อินทรีย์ คือ โสตปสาท (๓)ฆานินทรีย์ -อินทรีย์ คือ ฆานปสาท (๔)ชิวหินทรีย์ -อินทรีย์ คือ ชิวหาปสา (๕)กายินทรีย์ -อินทรีย์ คือ กายปสาท (๖)มนินทรีย์ -อินทรีย์ คือ ใจ ได้แก่ จิต ที่จำแนกเป็น ๘๙ หรือ ๑๒๑ ก็ตาม (๗)อิตถินทรีย์ -อินทรีย์ คือ อิตถีภาวะ (๘)ปุริสินทรีย์ -อินทรีย์ คือ ปุริสภาวะ (๙)ชีวิตินทรีย์ -อินทรีย์ คือ ชีวิต (๑๐)สุขินทรีย์ -อินทรีย์ คือ สุขเวทนา (๑๑)ทุกขินทรีย์ -อินทรีย์ คือ ทุกขเวทนา (๑๒)โสมนัสสินทรีย์ -อินทรีย์ คือ โสมนัสสเวทนา (๑๓)โทมนัสสินทรีย์ -อินทรีย์ คือ โทมนัสสเวทนา (๑๔)อุเปกขินทรีย์ -อินทรีย์ คือ อุเบกขาเวทนา (๑๕)สัทธินทรีย์ -อินทรีย์ คือ ศรัทธา (๑๖)วิริยินทรีย์ -อินทรีย์ คือ วิริยะ (๑๗)สตินทรีย์ -อินทรีย์ คือ สติ (๑๘)สมาธินทรีย์ -อินทรีย์ คือ สมาธิ ได้แก่ เอกัคคตา (๑๙)ปัญญินทรีย์ -อินทรีย์ คือ ปัญญา (๒๐)อนัญญาตัญญัตญัสสามีตินทรีย์ -อินทรีย์แห่งผู้ปฏิบัติด้วยมุ่งว่าเราจักรู้สัจจธรรม ที่ยังมิได้รู้ ได้แก่ โสตาปัตติมัคคญาณ (๒๑)อัญญินทรีย์ -อินทรีย์ คือ อัญญา หรือปัญญาอันรู้ทั่วถึง ได้แก่ ญาณ ๖ ในท่ามกลาง คือ โสตาปัตติผลญาณ ถึงอรหัตตมัคคญาณ (๒๒)อัญญาตาวินทรีย์ -อินทรีย์แห่งท่านผู้รู้ทั่วถึงแล้ว กล่าวคือ ปัญญาของพระอรหันต์ ได้แก่ อรหัตตผลญาณ
ปุคฺคลปญฺญตฺติ=บุคคลบัญญัติ คือคัมภีร์ที่ ๔ ใน อภิธรรม ๗ คัมภีร์ มีคำสวดเป็นภาษาบาลี ดังนี้
ฉ ปญฺญตฺติโย ~บัญญัติ คือการแสดงประกาศแต่งตั้งทั้งหลาย ๖
ขนฺธติปญฺญตฺ ~บัญญัติว่า ขันธ์
อายตนปญฺญตฺติ ~บัญญัติว่า อายตนะ
ธาตุปญฺญตฺติ ~บัญญัติว่า ธาตุ
สจฺจปญฺญตฺติ~บัญญัติว่า สัจจะ
อินฺทฺริยปญฺญตฺติ~บัญญัติว่า อินทรีย์
ปุคฺคลปญฺญตฺติ~บัญญัติว่า บุคคล
กิตฺตาวตา ปุคคลานํ ปุคฺคลปญฺญตฺติ ~บัญญัติซึ่งบุคคลทั้งหลายว่า เป็นบุคคล กำหนดประมาณเท่าไร
สมยวิมุตฺโต~บุคคลผู้พ้นแล้วโดยสมัย คือบุคคลผู้ได้วิโมกข์ หรือสมาบัติ ๘ ตามกาล ตามสมัย และมีอาสวะบางเหล่าสิ้นแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา ได้แก่พระอริยบุคคล ๓ จำพวกเบื้องต้นผู้ได้สมาบัติ ๘
อสมยวิมุตฺโต ~ บุคคลผู้พ้นโดยไม่มีสมัย คือบุคคลผู้มิได้มีวิโมกข์ ๘ ตามกาล ตามสมัย แต่มีอาสวะทั้งหลายสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ได้แก่พระอรหันต์ สุกขวิปัสสก อีกอย่างหนึ่ง พระอริยบุคคลทั้งปวง ชื่อว่าอสมยวิมุตต์ เพราะได้อริยวิโมกข์ตามลำดับขั้น อริยวิโมกข์ไม่มีสมัยกำเริบอีกได้


รายนามผู้เยี่ยมชม : ลิตเติลเกิร์ล, ข้าวหอม, หยาดฟ้า, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ต้นฝ้าย

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4457
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 622



| |
Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
« ตอบ #11 เมื่อ: 26, มิถุนายน, 2568, 06:46:54 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา

(ต่อหน้า ๑๒/๑๙) ๑.อภิธรรม ๗ คัมภีร์

กุปฺปธมฺโม ~บุคคลผู้มีธรรมยังกำเริบ คือบุคคลผู้ได้รูปสมาบัติ หรืออรูปสมาบัติ ยังไม่คล่องแคล่วชำนาญ มีฐานะโอกาสจะอาศัยความประมาทเสื่อมจากสมาบัตินั้นได้
อกุปฺปธมฺโม ~บุคคลอันมีธรรมอันไม่กำเริบได้ คือบุคคลผู้ได้รูปสมาบัติ หรืออรูปสมาบัติคล่องแคล่วชำนาญ ไม่มีฐานะโอกาสจะประมาทเสื่อมจากสมาบัตินั้นได้ ได้แก่พระอนาคามีและพระอรหันต์ผู้ได้สมาบัติ อีกอย่างหนึ่งพระอริยบุคคลทั้งปวง ชื่อว่าอกุปปธัมมะ เพราะอริยวิโมกข์ของท่านเป็นธรรมไม่กำเริบอีกได้
ปริหานธมฺโม ~ บุคคลผู้มีธรรมยังเสื่อมได้ คือบุคคลผู้มีธรรมยังกำเริบได้นั่นแล
อปริหานธมฺโม ~ บุคคลผู้มีธรรมอันไม่เสื่อมได้ คือบุคคลผู้มีธรรมอันไม่กำเริบได้นั่นแล
เจตนาภพฺโพ ~บุคคลผู้ควรเพื่อถึงความไม่เสื่อม เพราะเจตนาเอาใจใส่ คือ บุคคลผู้ได้รูปสมาบัติ ยังไม่คล่องแคล่วชำนาญ เมื่อเอาใจใส่อยู่ย่อมไม่เสื่อมจากสมาบัตินั้น
อนุรกฺขนาภพฺโพ ~ บุคคลผู้ควรเพื่อถึงความไม่เสื่อมด้วยคอยรักษาไว้ คือบุคคลได้รูปสมาบัติหรืออรูปสมาบัติ ยังไม่คล่องแคล่วชำนาญเมื่อคอยรักษาอยู่ย่อมไม่เสื่อมจากสมาบัตินั้น
ปุถุชฺชโน ~ บุคคลผู้เป็นปุถุชนมีกิเลสเกิดหนาแน่น คือบุคคลผู้ยังละสังโยชน์ ๓ เบื้องต้นยังไม่ได้ และไม่ปฏิบัติเพื่อละสังโยชน์เหล่านั้น
โคตฺรภู ~ บุคคลผู้ถึงญาณครอบโคตร คือบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมก่อน แต่จะก้าวเข้าสู่อริยธรรม โดยไม่มีธรรมอื่นขั้นระหว่าง ได้แก่ผู้ล่วงโคตร คือมณฑลบัญญัติปุถุชน จะย่างสู่โคตรอริยชน กำลังอยู่ในภาวะที่มิใช่ปุถุชน มิใช่อริยชน
ภยูปรโต ~บุคคลผู้งดเว้นเพราะความกลัว ได้แก่พระเสขบุคคล ๗ และปุถุชนผู้มีศีล ปุถุชนกลัวภัย ๔ คือ ทุคคติภัย(กลัวภัยจากวิบากของการทำชั่วทั้ง กาย วาจา ใจ), วัฏฏภัย (ภัยคือวน กิเลส กรรม วิบาก) กิเลสภัย(ภัย คือกิเลส), อุปวาทภัย(ภัยคือความติเตียน) จึงงดเว้นบาป พระเสขบุคคลแม้ตั้งอยู่ในอริยมรรค อริยผล ก็ยังกลัวภัย ๓ เว้นทุคคติภัย
อภยูปรโต ~ บุคคลผู้งดเว้นเพราะความไม่กลัว ได้แก่พระอรหันต์ขีณาสพ ผู้ตัดภัยได้เด็จขาด
ภพฺพาคมโน ~ บุคคลผู้ควรเพื่อมาแน่แท้ในกุศลธรรมทั้งหลาย คือบุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยกัมมาวรณ์เครื่องกั้น คือกรรม ได้แก่ อนันตริยกรรม ๕ ไม่ประกอบด้วยกิเลสสาวรณ์ เครื่องกั้นคือกิเลส ได้แก่ นิตยมิจฉาทิฏฐิไม่ประกอบด้วยวิปากาวรณ์ เครื่องกั้นคือวิบาก ได้แก่ อเหตุกปฏิสนธิ และทุเหตุกปฏิสนธิ เป็นผู้มีศรัทธา มัฉันทะ มีปัญญา ไม่บ้าใบ้เป็นภัพพบุคคล สมควรบรรลุมรรคผลได้
อภพฺพาคมโน ~ บุคคลผู้ไม่ควรเพื่อมาแน่แท้ในกุศลธรรมทั้งหลาย คือบุคคลผู้ประกอบด้วยเครื่องกั้น ๓ อย่างนั้น เป็นผู้ปราศจากศรัทธาเป็นต้น เป็นอภัพพบุคคล ไม่สมควรบรรลุมรรคผล
นิยโต ~ บุคคลผู้เที่ยงแน่แท้ คือบุคคลทำอนันตริยกรรม ๕ และบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฐิ ๒ จำพวก เที่ยงแน่แท้ที่จะไปสู่นรก พระอริยบุคคล ๘ จำพวก เที่ยงแน่แท้ต่อมรรคผลสูง ๆขึ้นไป และเที่ยงแน่แท้ต่อ อนุปปาทาปรินิพพาน
อนิยโต ~ บุคคลผู้ไม่เที่ยงแน่แท้ คือบุคคลนอกจากนิยตบุคคลเหล่านั้นเพราะมีคติไม่แน่นอน
ปฏิปนฺนโก ~บุคคลผู้ปฏิบัติแล้ว คือบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค ๔ ได้แก่ตั้งอยู่แล้วในมรรค ๔ มีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น
ผเลฏฺฐิโต ~บุคคลผู้ตั้งอยู่แล้วในผล คือบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยผล ๔ มีโสดาปัตติผลเป็นต้น
อรหา ~ บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์ คือบุคคลผู้ละสังโยชน์ได้ทั้ง ๑๐ ด้วยการละโดยไม่มีส่วนเหลือ
อรหตฺตาย ปฏิปนฺโน ~ บุคคลปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์ คือบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อละสังโยชน์เบื้องปลายทั้ง ๔ มี รูปราคะเป็นต้น
พระเสขบุคคล= คือ บุคคลยังต้องศึกษาอีก เพื่อดับกิเลส
พระเสขะ ๗=คือ บุคคล ๗ ประเภท ได้แก่ โสดาปัตติมรรค, โสดาปัตติผล, สกทาคามิมรรค, สกทาคมิผล, อนาคามิมรรค, อนาคามิผล, อรหันตมรรค
อนันตริยกรรม =คือ กรรมหนักที่สุด ฝ่ายบาปอกุศล ซึ่งให้ผลทันที มี ๕ อย่าง คือ (๑)มาตุฆาต - ฆ่ามารดา (๒)ปิตุฆาต - ฆ่าบิดา (๓)อรหันตฆาต - ฆ่าพระอรหันต์ (๔)โลหิตุปบาท - ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อ ขึ้นไป (เช่น พระเทวทัตได้ทำร้ายพระพุทธองค์ ในสมัยพุทธกาล) (๕)สังฆเภท - ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน ทำลายสงฆ์


รายนามผู้เยี่ยมชม : ข้าวหอม, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ลิตเติลเกิร์ล, หยาดฟ้า, ต้นฝ้าย

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4457
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 622



| |
Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
« ตอบ #12 เมื่อ: 26, มิถุนายน, 2568, 08:20:13 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา

(ต่อหน้า ๑๓/๑๙) ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์

ผู้ทำอนันตริยกรรมจะต้องตกนรกลงไปยังขุมนรกที่ลึกที่สุดคือ มหาขุมนรกอเวจี ซึ่งอยู่ชั้นที่ ๘ เป็นขุมนรกขุมใหญ่ที่มีการลงโทษหนักโดยไม่มีผ่อนผันหรือหยุดพักแต่ใดๆเลยแม้แต่วินาทีเดียว สัตว์นรกที่ตกขุมนรกนี้จะได้รับความทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัสและเป็นเวลายาวนานที่ไม่อาจจะนับได้เลยหรือเรียกว่า กัลป์
ภัพพสัตว์ =เหล่าสัตว์ที่สามารถบรรลุธรรมได้ในชาตินั้น
อภัพพสัตว์ =เหล่าสัตว์ที่ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ในชาตินั้น   
กิเลสสาฯ=กิเลสสาวรณ์  คือ เครื่องกั้นเป็น กิเลส ได้แก่ นิตยมิตฉาทิฏฐิ คือ ความเป็นผุ้มีความเห็นผิดที่ดิ่ง เช่น ไม่เชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรม เป็นต้น มีความเห็นผิดที่มีกำลังเปลี่ยนแปลงไม่ได้  ความเห็นผิดที่เป็นกิเลสนี้เองที่เป็นเครื่องกั้นการบรรลุ มรรคผล ไม่สามารถบรรลุได้ จึงเป็นอภัพพสัตว์ เพราะด้วยอำนาจกิเลส คือ ความเห็นผิด
วิปาฯ=วิปากาวรณ์ เครื่องกั้นคือ วิบาก หมายถึง ปฏิสนธิจิต คือ การเกิด บุคคลที่เกิดมาด้วยปฏิสนธิจิตที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา ก็ไม่สามารถบรรลุมรรคผลได้ในชาตินั้น
อนุปาฯ=อนุปาทิเสสนิพพาน คือ การบรรลุนิพพาน ของพระอรหันต์ ซึ่งละ อาสวะกิเลสสิ้นพร้อมขันธ์ห้า แตกทำลาย สิ้นชีพลง
มรรค ๔= ทางเข้าถึงความเป็นอริยบุคคล, ญาณที่ทำให้ละสังโยชน์ได้ขาด ได้แก่
(๑)โสดาปัตติมรรค -มรรคอันให้ถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพานทีแรก, มรรคอันให้ถึงความเป็นพระโสดาบัน เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ, วิจิกิจฉา, สีลัพพตปรามาส
(๒)สกทาคามิมรรค -มรรคอันให้ถึงความเป็นพระสกทาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อต้น กับทำราคะ, โทสะ, โมหะ, ให้เบาบางลง
(๓)อนาคามิมรรค -มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอนาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ทั้ง ๕
(๔)อรหัตตมรรค -มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอรหันต์ เป็นเหตุละสังโยชน์ได้หมดทั้ง ๑๐
ผล ๔=คือ ผลที่เกิดสืบเนื่องจากการละกิเลสได้ด้วยมรรค, ธรรมารมณ์อันพระอริยะพึงเสวย ที่เป็นผลเกิดเองในเมื่อกิเลสสิ้นไปด้วยอำนาจมรรคนั้น ๆ ได้แก่
(๑)โสดาปัตติผล -ผลแห่งการเข้าถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพาน, ผลอันพระโสดาบันพึงเสวย
(๒)สกทาคามิผล -ผลอันพระสกทาคามีพึงเสวย
(๓)อนาคามิผล -ผลอันพระอนาคามีพึงเสวย
(๔)อรหัตตผล -ผลคือความเป็นพระอรหันต์, ผลอันพระอรหันต์พึงเสวย
สังโยชน์ ๑๐ =คือกิเลสอันผูกใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือผูกกรรมไว้กับผล ได้แก่
       ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ คือ สังโยชน์เบื้องต่ำ เป็นอย่างหยาบ เป็นไปในภพอันต่ำ
(๑)สักกายทิฏฐิ -ความเห็นว่าเป็นตัวของตน เช่น เห็นรูป เห็นเวทนา เห็นวิญญาณ เป็นตน
(๒)วิจิกิจฉา -ความสงสัย, ความลังเล ไม่แน่ใจ
(๓)สีลัพพตปรามาส -ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร
(๔)กามราคะ -ความกำหนัดในกาม, ความติดใจในกามคุณ
(๕)ปฏิฆะ -ความกระทบกระทั่งในใจ, ความหงุดหงิดขัดเคือง
       ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ คือ สังโยชน์เบื้องสูง เป็นอย่างละเอียด เป็นไปแม้ในภพอันสูง
(๖)รูปราคะ -ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือในรูปธรรมอันประณีต, ความปรารถนาในรูปภพ
(๗)อรูปราคะ -ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน หรือในอรูปธรรม, ความปรารถนาในอรูปภพ
(๘)มานะ -ความสำคัญตน คือ ถือตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่
(๙)อุทธัจจะ -ความฟุ้งซ่าน
(๑๐)อวิชชา -ความไม่รู้จริง, ความหลง
พระโสดาบัน ละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อ คือ ข้อ ๑,๒,๓; พระสกิทาคามี ละ สังโยชน์ ข้อ ๑,๒,๓ และ ทำสังโยชน์ข้อ ๔,๕ ให้เบาบาง; พระอนาคามี ละ สังโยชน์ได้ ๕ ข้อ คือ ๑,๒,๓,๔,๕; พระอรหันต์ ละสังโยชน์ได้ ๑๐ ข้อ ตั้งแต่ ข้อ ๑-๑๐


รายนามผู้เยี่ยมชม : ลิตเติลเกิร์ล, หยาดฟ้า, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ข้าวหอม, ต้นฝ้าย

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4457
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 622



| |
Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
« ตอบ #13 เมื่อ: 27, มิถุนายน, 2568, 11:09:07 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา

(ต่อหน้า ๑๔/๑๙) ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์

กถาวตฺถุ=เป็นคัมภีร์ที่ ๕ ใน ๗ พระคัมภีร์ มีคำสวดเป็น ภาษา บาลี ดังนี้
ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถนาติ ~ สกวาที ถามว่า สัตว์ บุคคล ชายหญิงย่อมมีได้โดยอรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง โดยอย่างยิ่งสูงสุด คือปรมัตถ์หรือ
อามนฺตา ~ ปรวาที ตอบว่า ย่อมมีได้ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถึง สัตว์บุคคล ชายหญิงไว้ในพระสูตร โดยสมมติสัจจะ คือความจริงโดยสมมุติ
โย สจฺฉิกตฺโถ ปรมตฺโถ ตโต โส ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถนาติ ~ สกวาที ถามว่า อรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง อรรถอย่างยิ่งสูงสุดคือปรมัตถ์ใด สัตว์ บุคคล ชาย หญิง นั้นย่อมมีได้โดยอรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง โดยอรรถอย่างยิ่งสูงสุด คือปรมัตถ์นั้นหรือ
น เหวํ วตฺตพฺเพ ~ ปรวาที ตอบว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้นเลย เพราะสัตว์ บุคคล ชาย หญิง นั้นไม่มีได้โดยปรมัตถ์สัจจะ คือความจริงโดยปรมัตถ์
อาชานิ นิคฺคหํ ~สกวาทีกล่าวว่า ท่านจงยอมรับนิคคหะโทษ ควรข่มขี่ เพราะคำต้นกล่าวรับรองแล้ว แต่คำหลังกลับกล่าวปฏิเสธ
หญฺจิ ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถน ~ ถ้าสัตว์ บุคคล ชาย หญิง ย่อมมีได้โดยอรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง โดยอรรถอย่างยิ่งสูงสุด คือปรมัตถ์ไซร้
เตน วต วตฺตพฺเพ โย สจฺฉิกตฺโถ ตโต โส ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถนาติ ~ ท่านผู้เจริญ เพราะเหตุนั้นแล พึงกล่าวว่าอรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง อรรถอย่างยิ่งสูงสุด คือปรมัตถ์ใด สัตว์ บุคคล ชาย หญิง นั้นย่อมมีได้โดยอรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง โดยอรรถอย่างยิ่ง คือปรมัตถ์นั้น
มิจฺฉา ~ สัตว์ บุคคล ชาย หญิงซึ่งท่านปรวาทีกล่าวแล้วในข้อนั้น ท่านกล่าวรับรองในปัญหาต้นว่า สัตว์ บุคคล ชาย หญิง ย่อมมีได้โดยอรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง โดยอรรถ อย่างยิ่งสูงสุด คือปรมัตถ์ แต่ท่านกลับไม่กล่าวรับรองในปัญหาหลังว่า อรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง อรรถอย่างยิ่ง คือ ปรมัตถ์ใด สัตว์ บุคคล ชาย หญิง นั้นย่อมมีได้ โดยอรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง โดย อรรถอย่างยิ่ง คือปรมัตถ์นั้น คำของท่านนี้จึงผิด เพราะขัดแย้งกันเอง ถ้าจะไม่พึงกล่าวรับรองในปัญหาหลัง ก็ไม่พึงกล่าวรับรองในปัญหาต้นเสียก่อน ฉะนั้นสัตว์บุคคลชายหญิงซึ่งท่านกล่าวแล้ว อันท่านกล่าวรับรองในปัญหาต้น แต่ไม่กล่าวรับรองในปัญหาหลัง จึงผิดพลาดขัดแย้งกัน
นิคหกรรม =แปลว่า การข่ม เป็นวิธีการลงโทษภิกษุตามพระธรรมวินัยเพื่อให้เข็ดหลาบ นิคหกรรม ใช้สำหรับลงโทษภิกษุผู้ทำเสียหาย เช่นก่อการทะเลาะวิวาทบาดหมาง ทำความอื้อฉาว มีศีลวิบัติ ติเตียนพระรัตนตรัย เล่นคะนอง ประพฤติอนาจาร ลบล้างพระบัญญัติ ประกอบมิจฉาชีพเป็นต้น นิคหกรรม เป็นกิจที่พึงทำอย่างหนึ่งของผู้ปกครองหมู่คณะ เป็นคำคู่กับปัคหะคือการยกย่อง ทั้งสองอย่างนี้เป็นเครื่องมือในการปกครอง มีความสำคัญเท่าๆ กัน ทั้งนี้เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งสงฆ์ เมื่อมีผู้ประพฤติมิชอบ สมควรแก่นิคหกรรม พระพุทธเจ้าก็ทรงประทานอนุญาตให้สงฆ์ทำนิคหกรรมแก่ผู้นั้นตามพระธรรมวินัย
ยมก =คือ คัมภีร์ที่ ๖ ว่าด้วยธรรมะที่เป็นคู่ โดยจัดธรรมะเป็นคู่ๆ มีคำสวดเป็นภาษาบาลี ดังนี้
เย เกจิ กุสลา ธมฺมา ~ ธรรมทั้งหลายเป็นกุศลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
สพฺเพ เต กุสลมูลา ~ธรรมทั้งหลายนั้นเป็นกุศลมูล คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ทั้งสิ้น
เย วา ปน กุสลมูลา ~ก็หรือว่า ธรรมทั้งหลายเหล่าใดเป็นกุศลมูล
สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา ~ ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นเป็นกุศลทั้งสิ้น
เย เกจิ กุสลา ธมฺมา ~ ธรรมทั้งหลายเป็นกุศลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
สพฺเพ เต กุสลมูเลน ~ ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นทั้งสิ้น มีมูลเป็น
เอกมูลา ~ อันเดียวกันกับกุศลมูล
เย วา ปน กุสลมูเลน ~ ก็หรือว่า ธรรมทั้งหลายเหล่าใดมีมูลเป็น
เอกมูลา อันเดียวกันกับกุศลมูล
สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา ~ ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นเป็นกุศลทั้งสิ้น
กรรม ๒ =กรรมจำแนกตามคุณภาพ หรือตามธรรมที่เป็นมูลเหตุ มี ๒ คือ (๑)อกุศลกรรม กรรมที่เป็นอกุศล กรรมชั่ว คือเกิดจากอกุศลมูล (๒)กุศลกรรม กรรมที่เป็นกุศล กรรมดี คือเกิดจากกุศลมูล
กุศลมูล= คือ รากเหง้าของกุศล, ต้นเหตุของกุศล, ต้นเหตุของความดีมี ๓ อย่าง คือ
(๑)อโลภะ - ไม่โลภ (ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์คือ จาคะ)
(๒)อโทสะ -ไม่คิดประทุษร้าย (ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ คือ เมตตา)
(๓)อโมหะ -ไม่หลง (ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์คือ ปัญญา)


รายนามผู้เยี่ยมชม : ต้นฝ้าย, หยาดฟ้า, ขวัญฤทัย (กุ้งนา)

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4457
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 622



| |
Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
« ตอบ #14 เมื่อ: 27, มิถุนายน, 2568, 06:59:16 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา

(ต่อหน้า ๑๕/๑๙) ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์

ปัฏฐาน=คือ คัมภีร์ที่ ๗ ว่าด้วย "ที่ตั้ง คือปัจจัย ๒๔" แสดงว่าอะไรเป็นปัจจัยของอะไรในทางธรรม มีคำสวดเป็นภาษาบาลี ดังนี้
ปฏฺฐาน เหตุปจฺจโย ~ เหตุเป็นปัจจัย เหตุที่ตั้งอยู่เฉพาะแห่งผล มี ๖ อย่าง ได้แก่
อกุศลเหตุ ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ
กุศลเหตุ ๓ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ
อกุศลเหตุเป็นปัจจัยแดนเกิดแห่งผล คืออุดหนุนให้เกิดนาม รูป หรือ จิต เจตสิก และรูปฝ่ายอกุศล กุศลเหตุเป็นปัจจัยแห่งนามรูปฝ่ายกุศล เหมือนอย่างรากแก้วของต้นไม้ใหญ่ เป็นที่ตั้งอยู่ได้ของต้นไม้ และช่วยอุหนุนต้นไม้ให้งอกงาม
อารมฺมณปจฺจโย ~ อารมณ์เป็นปัจจัย อารมณ์เป็นเรื่องเจตสิกทั้งหลายยึดหน่วง มี ๖ อย่าง ได้แก่ (๑)รูปารมณ์ -อารมณ์คือรูป (๒)สัททารมณ์ -อารมณ์คือเสียง (๓)คันธารมณ์- อารมณ์คือกลิ่น (๔)รสารมณ์ -อารมณ์คือรส (๕)โผฏฐัพารมณ์ -อารมณ์คือโผฏฐัพพะ สิ่งที่กายถูกต้อง (๖)ธัมมารมณ์ -อารมณ์คือ ธรรม ได้แก่เรื่องของรูปเป็นต้น ที่ได้ประสบแล้วในอดีต
อารมณ์เหล่านั้นเป็นปัจจัยแห่งเหตุ ๖ ประการเหล่านั้น เพราะจิตและเจตสิกทั้งปวงต้องอาศัยยึดหน่วงอารมณ์จึงเกิดขึ้นได้ เหมือนอย่างคนชราหรือทุพพลต้องอาศัยไม้เท้าหรือเชือกเป็นเครื่องยึดหน่วง จึงทรงตัวลุกขึ้นเดินไปได้
เจตสิก=การแสดงออกของจิต
อธิปติปจฺจโย ~ อธิบดีเป็นปัจจัย อธิบดีคือธรรมที่เป็นใหญ่กว่าสัมปยุตตธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับตน แบ่งเป็น
อารัมมณาธิปติ -อธิบดีคืออารมณ์ชนิดที่น่าปรารถนาอย่างแรง
สหชาตาธิปติ -อธิบดีคือธรรมที่เกิดร่วมกัน มี ๔ อย่างคือ (๑)ฉันทาธิปติ -อธิบดีคือฉันทะเจตสิก ความพอใจที่เกิดขึ้นในใจ (๒)วิริยาธิปติ -อธิบดี คือวิริยะเจตสิก ความเพียรที่เกิดขึ้นในใจ (๓)จิตตาธิปติ -อธิบดี คือความเอาใจใส่จดจ่อ (๔)วิมังสาธิปติ -อธิบดีปัญญาเจตสิก ปัญญาใคร่ครวญพิจารณาเกิดขึ้นในใจ
อารมณ์อย่างแรงเป็นอธิปติปัจจัย เพราะทำให้นามธรรม คือจิตและเจตสิกน้อมไปยึดอย่างหนักหน่วง ส่วน อธิบดี ๔ มีฉันทะเป็นต้น เป็นอธิปติปัจจัยเพราะสามารถยังธรรม ซึ่งเกิดร่วมกับตน และนามธรรมอื่นซึ่งไม่สามารถจะเป็นอธิบดีได้ ให้น้อมไปตามอำนาจของตน
อนนฺตรปจฺจโย ~ ธรรมที่เกิดเป็นลำดับไม่มีระหว่างคั่นเป็นปัจจัย คือสามารถยังจิตตุปบาท (ความเกิดแห่งจิต) อันสมควรกันให้เกิดขึ้นในลำดับของตน ได้แก่ นามธรรม คือ จิตและเจตสิกที่เกิดก่อน เป็นปัจจัยอุดหนุนแก่นามธรรม คือจิตและเจตสิกที่เกิดทีหลัง ได้แก่ช่วยอุปการะให้เกิดขึ้นสืบต่อกันไปโดยไม่ว่างเว้น คือไม่มีระหว่างคั่นเว้นไว้แต่จุติจิตของพระอรหันต์
สมนนฺตรปจฺจโย ~ธรรมที่เกิดเป็นลำดับสืบต่อกันเรื่อยไป ไม่มีธรรมอื่นมาคั่นระหว่างเลยทีเดียวเป็นปัจจัย ได้แก่นามธรรมที่เกิดก่อนเป็น สมนันตรปัจจัยแก่นามธรรมที่เกิดภายหลัง คล้ายกับอนัตรปัจจัย
สหชาตปจฺจโย ~ ธรรมที่เกิดร่วมเป็นปัจจัย คือ ธรรมที่เกิดร่วมกันต่างเป็นปัจจัยอุดหนุนกันเอง ด้วยอำนาจที่ยังธรรมที่เกิดร่วมกันให้เกิดพร้อมกัน เพราะเมื่อตนไม่เกิด แม้ธรรมที่เกิดร่วมกันก็ไม่เกิดขึ้นได้ เหมือนอย่างดวงไฟเกิดพร้อมกับแสงไฟ เมื่อไม่มีดวงไฟ แสงไฟก็มีขึ้นไม่ได้ เช่น นามขันธ์ ๔ มหาภูตรูป ๔ ปฏิสนธิหทัยวัตถุ เป็นสหชาตปัจจัย
นามขันธ์ ๔=ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และ วิญญาณขันธ์
มหาภูตรูป ๔=ได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ ลม
ปฏิสนธิหทัยวัตถุ=กำเนิดที่ตั้งของใจ
อญฺญมญฺญปจฺจโย ~ ธรรมแต่ละอย่างต่างต้องอาศัยกันและกันเป็นปัจจัย คือธรรมที่เป็นอุปการะโดยอุดหนุนกันและกันให้เกิดขึ้น เหมือนอย่างไม้ ๓ อัน ต่างพิงอาศัยกันจึงตั้งอยู่ได้ ได้แก่นามขันธ์ ๔ ช่วยอุดหนุนกันและกันเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๔ ช่วยอุดหนุนกันและกันเกิดขึ้น ปฏิสนธินามขันธ์ ๔ และปฏิสนธิหทัยวัตถุ ช่วยอุดหนุนกันและกันเกิดขึ้น
นิสฺสยปจฺจโย ~ ธรรมเป็นปัจจัยโดยเป็นนิสัยที่อาศัย คือเป็นที่อาศัยโดยอธิษฐานการ คืออาการที่ตั้งมั่น ๑ เป็นที่อาศัยโดยนิสสยาการ คืออาการที่อ้างอิงอาศัย ๑ ธรรมเป็นนิสัยปัจจัยที่อาศัยโดยอาการที่ตั้งมั่นนั้นได้แก่ปฐวีธาตุ เป็นที่อาศัยตั้งมั่นแห่งธาตุอื่น วัตถุ ๖ มีจักขุเป็นต้น เป็นที่อาศัยตั้งมั่นแห่งจักขุวิญญาณเป็นต้น เหมือนอย่างแผ่นดินที่อาศัยตั้งมั่นของต้นไม้เป็นต้นบนแผ่นดิน ธรรมเป็นนิสัยที่อาศัยโดยอาการที่อิงอาศัยนั้น ได้แก่นามขันธ์ ๔ เป็นที่อิงอาศัยกันและกัน อาโป เตโช วาโยก็เหมือนกัน เหมือนอย่างแผ่นผ้าเป็นที่อาศัยแห่งจิตกรรมภาพวาดเขียน   


รายนามผู้เยี่ยมชม : ต้นฝ้าย, หยาดฟ้า, ขวัญฤทัย (กุ้งนา)

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
หน้า: [1] 2   ขึ้นบน
พิมพ์
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.14 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC
Simple Audio Video Embedder
| Sitemap
NT Sun by Nati
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.309 วินาที กับ 162 คำสั่ง
กำลังโหลด...