แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
(ต่อหน้า ๒๙/๓๐) ๒.ธัมมสังคณี
(๒) พยาปาทนิวรณ์ คือ ความอาฆาต (๓) ถีนมิทธนิวรณ์ คือ ถีนมิทธะนั้น แยกเป็นถีนะอย่างหนึ่ง มิทธะอย่างหนึ่ง. (๓.๑) ถีนะ คือ ความไม่สมประกอบแห่งจิต ความไม่ควรแก่การงานแห่งจิต, ความท้อแท้, ความหดหู่ (๓.๒) มิทธะ คือความไม่สมประกอบแห่งนามกาย, ความไม่ควรแก่งานแห่งนามกาย, ความความง่วงเหงา (๔)อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ คือ อุทธัจจกุกกุจจะนั้น แยกเป็นอุทธัจจะอย่างหนึ่ง กุกกุจจะอย่างหนึ่ง (๔.๑) อุทธัจจะ คือ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต, ความไม่สงบแห่งจิต (๔.๒) กุกกุจจะ คือ ความสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร, ความสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร, ความสำคัญว่ามีโทษในของที่ไม่มีโทษ, ความสำคัญว่าไม่มีโทษในของที่มีโทษ, ความเดือดร้อนใจ (๕) วิจิกิจฉานิวรณ์ คือ ปุถุชนเคลือบแคลสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา,ในปฏิจจสมุปปาทธรรม (๖) อวิชชานิวรณ์ คือ ความไม่รู้ในทุกข์, ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย, ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ, ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา, ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรม อสังขตธาตุ =สภาวธรรมนี้ชื่อว่า ธรรมที่เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้ ไม่เป็นรูป เป็นโลกุตตระ เป็นเหตุให้ไม่จุติ ปฏิสนธิ ฟและเป็นเหตุให้ถึงนิพพาน โลกุตตระ = พ้นโลก อยู่เหนือวิสัยของโลก หรืออุตรภาพ เป็นคำที่ใช้คู่กับ โลกิยะ ซึ่งแปลว่า ยังเกี่ยวข้องกับโลก เรื่องของโลก โลกุตระ หมายถึงภาวะที่หลุดพ้นแล้วจากโลกิยะ ไม่เกี่ยวข้องกับกาม ตัณหา ทิฏฐิ อวิชชาอีกต่อไป ได้แก่ธรรม ๙ ประการซึ่งเรียกว่า นวโลกุตรธรรม หรือ โลกุตรธรรม ๙ได้แก่ อริยมรรค ๔ =คือ โสดาปัตติมรรค, สกิทาคามิมรรค, อนาคามิมรรค, อรหัตมรรค อริยผล ๔ = คือ โสดาปัตติผล, สกิทาคามิผล, อนาคามิผล, อรหัตผล และ นิพพาน ๑ นีวรณโคจฉกะ= กิเลสเครื่องกั้นจิตรัดรึงจิต มี ๖ ทุกะ ได้แก่ (๑) นีวรณทุกะ ก) นีวรณา ธมฺมา ~ ธรรมเป็นนิวรณ์ คือธรรมที่เป็น นิวรณธรรม ๖ ข) โน นีวรณา ธมฺมา ~ ธรรมไม่เป็นนิวรณ์ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ (๒) นีวรณิยทุกะ ก) นีวรณิยา ธมฺมา ~ ธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ข) อนีวรณิยา ธมฺมา ~ ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ ได้แก่ มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตตระ, และอสังขตธาตุ (๓) นีวรณสัมปยุตตทุกะ ก) นีวรณสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ~ ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ข) นีวรณวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ~ ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ (๔) นีวรณนีวรณิยทุกะ ก) นีวรณา เจว ธมฺมา นีวรณิยา จ ~ ธรรมเป็นนิวรณ์ และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ คือ นิวรณ์เหล่านั้นนั่นเอง ชื่อว่าธรรมเป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์. ข) นีวรณิยา เจว ธมฺมา โน จ นีวรณา ~ ธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ (๕) นีวรณนีวรณสัมปยุตตทุกะ ก) นีวรณา เจว ธมฺมา นีวรณสมฺปยุตฺตา จ ~ ธรรมเป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ เช่น □ กามฉันทนิวรณ์ เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยอวิชชานิวรณ์, □ อวิชชานิวรณ์ เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยกามฉันทนิวรณ์ □ พยาปาทนิวรณ์ เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยอวิชชานิวรณ์ □ อวิชชานิวรณ์ เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยพยาปาทนิวรณ์ □ ถีนมิทธนิวรณ์ เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยอวิชชานิวรณ์ □ อวิชชานิวรณ์ เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยถีนมิทธนิวรณ์ □ อุทธัจจนิวรณ์ เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยอวิชชานิวรณ์ □ อวิชชานิวรณ์ เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยอุทธัจจนิวรณ์ □ กุกกุจจนิวรณ์ เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยอวิชชานิวรณ์ □ อวิชชานิวรณ์ เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยกุกกุจจนิวรณ์ □ วิจิกิจฉานิวรณ์ เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยอวิชชานิวรณ์ □ อวิชชานิวรณ์ เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยวิจิกิจฉานิวรณ์
|