กลบทลิ้นตะกวดคำน้อง (ลิ้นตะกวดคะนอง) (พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) : ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ)
๐-------------------------๐ ได้ทราบสารเสน่หาน่า
เสสรวล จะมาเย้ายั่วใจให้
เรรวน เหน
เล่ห์ล้วนลวงฬ่อข้อ
จงใจ ซึ่งว่าแสนรันจวญ หวร
โหยถวิล ทั้ง
โดยดิ้นอกจะหักรักษ
หลงไหล มอบชีวังฝังฝาก
ปลงฤๅทัย จะ
คงให้ความสัตย์จริงสิ่ง
รักษแรง ไม่น่าเชื่อเจือใจใน
ลิ้นหวาน ฟัง
สิ้นสารตรองตรึกนึก
หนักแหนง ใช่ใจหญิงนี้จะกลิ้งเหมือน
ฟักแฟง สิ้น
หลักแหล่งเลื่อนลอยคอย
ลมลิ้น อย่ามาฬ่อยอโฉมให้
เหลือเหลิง หลง
เชื่อเชิงได้ดั่งหวัง
สมถวิล จนตายจากก็ไม่อยาก
นิยมยิน ทั้ง
ถมดินเสียเถิดรักษอย่า
ควรคิด จะโลมเหล้นเช่นชู้รู้
เท่าถึง ขืน
เดาดึงดื้ออาไลยให้
หวรจิตร แม้นจริงจังหวังจักชัก
ชวนชิด อย่า
ม้วนมิดเที่ยวหาหน้าว่า
บนบาน มาสู่ขอต่อชนกยก
ให้ขาด ที่
ใจมาดจะได้เหมือน
นุสนท์สาร ขอเทวันในชั้นช่อช่วย
ดนดาล ให้
พ้นพาลสารเสน่ห์เล่ห์
ลิ้นทอง แม้นเชื่อชายง่ายงามตาม
ติดต้อย มี
หนิดน่อยคงปอกลอกจน
สิ้นของ เสน่หาเหมือนยาพิษมิตร
กินลอง มิ
ดิ้นร้องเหยียบดินผิดคิด
คร้ามใจ อย่าน้อยหน้าเลยหนาชายหมาย
ลักลอบ ไม่
รักษตอบเพราะวิตกอก
หวามไหว อย่ากังวลบ่นถึงให้
จามไอ บอก
นามไว้ลิ้นตะกวดอวดชายเอย ฯ
(พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) : ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ)
การจารึกกลบทลิ้นตะกวด ฯ มีการจารึกไว้เป็นรูปแบบคล้ายตาราง ด้ังรูป
ในการอ่านจึงต้องมีการถอดกลบทก่อน
ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ มีโคลงอธิบายวิธีถอดกลบทนี้ไว้ดังนี้ ๏ คันโคลงลักษณเช่นชี้........เชิงเชลง นี้นา
โดยแยบแบบบรรเลง...........เหล่านี้
ลิ้นตะกวดประกวดเพลง........ยาวคู่ เคียงแฮ
อ่านบทบนล่างลี้.................ล่างแล้วเล็งบน ฯ
(กรมหมื่นไกรสรวิชิต : ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ฯ)
**
จากโคลงของท่านกรมหมื่นไกรสรวิชิตที่อธิบายวิธีถอดกลบทลิ้นตะกวด ฯ นี้ไว้ บวกกับรูปแบบการจารึกไว้เป็นลักษณะคล้ายตาราง ดังรูป จึงตีความได้ว่า
ในกลบทลิ้นตะกวด ฯ นี้ ต้องมีการอ่านสลับล่างบนได้ หรืออีกนัยหนึ่งคือ สองคู่คำที่รับสัมผัสสระกันแต่ละคู่ ต้องสามารถอ่านสลับกลับไปมาได้ จึงได้เป็นกลบทนี้อย่างสมบูรณ์ นั่นเอง
เมื่อพิจารณาด้วยเหตุผลดังกล่าวแล้ว กลบทลิ้นตะกวด ฯ นี้ จึงถอดความอ่านอีกแบบได้ว่า
---๐ ยามเมื่อลิ้นตะกวดพลิกลิ้น จะอ่านได้อีกแบบว่า ๐--- กลบทลิ้นตะกวดคำน้อง (ลิ้นตะกวดคะนอง)(พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) : ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ)
๐-------------------------๐ ได้ทราบสารเสน่หาน่า
สรวลเส จะมาเย้ายั่วใจให้
รวนเร เหน
ล้วนเล่ห์ลวงฬ่อข้อ
ใจจง ซึ่งว่าแสนรันจวญหวร
ถวิลโหย ทั้ง
ดิ้นโดยอกจะหักรักษ
ไหลหลง มอบชีวังฝังฝาก
ฤๅทัยปลง จะ
ให้คงความสัตย์จริงสิ่ง
แรงรักษ ไม่น่าเชื่อเจือใจใน
หวานลิ้น ฟัง
สารสิ้นตรองตรึกนึก
แหนงหนัก ใช่ใจหญิงนี้จะกลิ้งเหมือน
แฟงฟัก สิ้น
แหล่งหลักเลื่อนลอยคอย
ลิ้นลม อย่ามาฬ่อยอโฉมให้
เหลิงเหลือ หลง
เชิงเชื่อได้ดั่งหวัง
ถวิลสม จนตายจากก็ไม่อยาก
ยินนิยม ทั้ง
ดินถมเสียเถิดรักษอย่า
คิดควร จะโลมเหล้นเช่นชู้รู้
ถึงเท่า ขืน
ดึงเดาดื้ออาไลยให้
จิตรหวร แม้นจริงจังหวังจักชัก
ชิดชวน อย่า
มิดม้วนเที่ยวหาหน้าว่า
บานบน มาสู่ขอต่อชนกยก
ขาดให้ ที่
มาดใจจะได้เหมือน
สารนุสนท์ ขอเทวันในชั้นช่อช่วย
ดาลดน ให้
พาลพ้นสารเสน่ห์เล่ห์
ทองลิ้น แม้นเชื่อชายง่ายงามตาม
ต้อยติด มี
น่อยหนิดคงปอกลอกจน
ของสิ้น เสน่หาเหมือนยาพิษมิตร
ลองกิน มิ
ร้องดิ้นเหยียบดินผิดคิด
ใจคร้าม อย่าน้อยหน้าเลยหนาชายหมาย
ลอบลัก ไม่
ตอบรักษเพราะวิตกอก
ไหวหวาม อย่ากังวลบ่นถึงให้
ไอจาม บอก
ไว้นามลิ้นตะกวดอวดชายเอย ฯ
(พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) : ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ)
กลบทลิ้นตะกวดคำน้อง พิจารณาโดยรวมเห็นว่า มีเพิ่มจากกลอนทั่วไป คือ
- ๑.) ให้สองคำท้ายของวรรคต้น สัมผัสสระกับ คำที่ ๒-๓ ของวรรคที่ ๒
- ๒.) ให้สองคำท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสสระกับ สองคำท้ายของวรรคที่ ๓ และ คำที่ ๒-๓ ของวรรคที่ ๔
- ๓.) สัมผัสระหว่างบทคือ ให้สัมผัสสระระหว่างสองคำท้ายของบทแรก (วรรคที่ ๔) กับสองคำท้ายของวรรคที่ ๒ ของบทถัดไป
** ด้วยข้อกำหนดแบบนี้ ทำให้กลบทนี้ สามารถอ่านพลิกกลับไปมาได้เหมือนลิ้นตะกวดที่มีสองแฉก ฉะนั้น คำสองคำที่อยู่ในข้อบัญญัติ เวลาอ่านสลับไปมาแล้วต้องได้ความหมายและยังคงรูปแบบเนื้อหาของกลอนไว้ได้ด้วย
** กลบทนี้มีปรากฏทั้งใน "กลบทศิริวิบุลกิตติ์" และ "จารึกวัดพระเชตุพนฯ" (ในกลบทศิริวิบุลกิตติ์ เรียกกลบทนี้ว่า "กลบทลิ้นตะกวดคะนอง")
ผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ครับผม
...-๐ Black Sword (หมู มยุรธุชบูรพา) ๐-...

•
กลับสู่หน้าห้องเรียน กลอนกลบท คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน โคลงกลบท คลิก •
กระโดดสู่ห้องศึกษา ภาพโคลงกลบท คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน กาพย์ คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน กลอน คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน โคลง คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน ฉันท์ คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน ร่าย คลิก 