โคลงกลบท นาคบริพันธ์ (โดยกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส : ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ)
๐ ดำบลหนแห่งห้อง.....................
หอธรรม นั้นแฮ
หอเทษสถานการบุเรียน.................
แรกสร้าง แรกใส่ขดาลสรรค์.........................
สบทั่ว พื้นพ่อ
สบที่ชำรุดรื้อมล้าง........................
มละบูรรพ์ ฯ
๐
มละเบื้องภาคย์พื้นล่าง..............ล่องถุน มีนา
ล่องที่ปฏิกูลถม............................ทั่วด้าว
ทั่วแดนดาษอิฐหนุน......................เนืองรดับ หินเฮย
รดื่นดูอคร้าวล้วน..........................ลาดผา ฯ
๐ ลาดพื้นสิลาเขตรเบื้อง..............บุเรศลพ บุรีฤๅ
บุราณเรืองสมยาคิรินทร์................เรียกอ้าง
เรียกออกชื่อสเภาจบ...................จังหวัด สยามนา
จังหวะมุขข้างทั้ง.........................ที่ประธาน ฯ
๐ ประเทศเสาก่อนไม้.................มีแก่น ปักแฮ
มีเก่าก่ออิฐผสาร.........................สอบอ้อม
สอบโอบอีกหลายแผ่น................ภาคย์สี่ เสมอนา
ภาคย์สืบเชองหินห้อม.................แห่งด้าวศุโขทัย ฯ
๐ โขแท้ทาบทั่วทั้ง....................ทกเชอง เสานา
ทกช่วงล่างในประธาน.................ที่สร้าง
ที่เสาคู่หนึ่งเถลอง......................ลักษณบอก ความแฮ
ลักษณแบบคระโลงอ้างล้วน.........เลขสิลา ฯ
๐ เลขสลักประกิจติดตั้ง..............ตามเสา สองเฮย
ตามสิ่งซึ่งรจนา.........................หนึ่งนั้น
หนึ่งในที่ลำเนา.........................แนวฝ่าย ผนังนา
แนวฟากยกพื้นชั้น.....................ช่วงชมัย ฯ
๐ ชรเมียงเรียงลาดพื้น...............พื้นผา ลายเอย
พื้นแผ่นเล็กไพรู.........................เรียบสอ้าน
เรียบสอาดน์สงฆ์สิลา..................แลเลอศ แล้วพ่อ
แลเสื่อมสองด้านพร้อม................เพรอศพรรณ์ ฯ
๐ เพรอศพายพหิให้ต่อ..............เตอมพา ลัยเอย
เตอมพะเฉลียงเรียงรัล................รอบห้อม
รอบหอแห่งเทษนา....................เนืองเนก เสาแฮ
เนืองเนื่องรายรอบสร้าง...............เสรจ์ผจง ฯ
๐ เสรจ์พิจิตรดาษพื้นแผ่น...........ผาชล บุรีฤๅ
ผาชาติทนต์อัศวลง.....................ลาดถ้วน
ลาดทั่วที่ธราดล..........................แดนล่าง เฉลียงเฮย
แดนเลี่ยนแลล้วนพื้น...................ภาคย์สิลา ฯ
๐ ภาคย์สูงลาดกระเบื้อง.............บรรจง มุงแฮ
บรรเจอศเคลือบเขียวทา..............ทั่วล้ำ
ทั่วแหล่งรักทองลง.....................ไล้สบ สพานนา
ไล้ซ่อมพิดานซ้ำแม้น..................ใหม่ผจง ฯ
................. ฯลฯ .................
โคลงกลบทนาคบริพันธ์ พิจารณาโดยรวมเห็นว่า เพิ่มจากโคลงปกติทั่วไปคือ
๐ ให้เล่นอักษรระหว่าง "๒ คำท้ายบาทต้น" กับ "๒ คำแรกของบาทถัดไป" โดย
ให้คำแรกซ้ำกัน และ
คำที่สองสัมผัสอักษรกัน (ไม่รวมสร้อย) ตลอดจนจบสำนวน
เกร็ด : กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงเน้นเล่นสัมผัสอักษรคำที่ ๕-๖ เพื่อเพิ่มความไพเราะในโคลง
** โคลงกลบทนี้มีปรากฏที่มาในตำรากลบท "จารึกวัดพระเชตุพนฯ" โดยกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ในหมวดประวัติวัด เป็นโคลงดั้นปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ
...-๐ Black Sword (หมู มยุรธุชบูรพา) ๐-...
ผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ครับผม

•
กลับสู่ หน้าห้องเรียน โคลงกลบท คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน กลอนกลบท คลิก •
กระโดดสู่ห้องศึกษา ภาพโคลงกลบท คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน กาพย์ คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน กลอน คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน โคลง คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน ฉันท์ คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน ร่าย คลิก 