Username:
Password:
บ้านกลอนน้อยฯ
ช่วยเหลือ
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
บ้านกลอนน้อย - กลอนสบายๆ สไตล์ลิตเติลเกิร์ล
>>
คำประพันธ์ แยกตามประเภท
>>
นิยาย-เรื่องสั้น-บทความ-ความเรียง-เรื่องเล่าทั่วไป
>>
กบในหม้อน้ำ โดยคุณ วินทร์ เลียววาริณ
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน
หัวข้อ: กบในหม้อน้ำ โดยคุณ วินทร์ เลียววาริณ (อ่าน 6400 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
บ้านกลอนน้อย
Moderator
จำนวนผู้เยี่ยมชม:
714
ออฟไลน์
ID Number: 78
จำนวนกระทู้: 147
|
|
กบในหม้อน้ำ โดยคุณ วินทร์ เลียววาริณ
«
เมื่อ:
11, ตุลาคม, 2558, 11:56:31 AM »
บ้านกลอนน้อยฯ
Permalink:
กบในหม้อน้ำ โดยคุณ วินทร์ เลียววาริณ
กบในหม้อน้ำ
สิงโตออกคำสั่งให้สัตว์ทั้งหลายในป่ามาเล่าเรื่องขำขันกัน
เจ้าป่าประกาศว่า สัตว์แต่ละตัวต้องเล่าขำขันหนึ่งเรื่อง
ถ้ามีสัตว์ผู้ฟังแม้ตัวเดียวที่ไม่หัวเราะ แสดงว่าขำขันเรื่องนั้นสอบไม่ผ่าน
ผู้เล่าจะถูกสิงโตฆ่าตาย โทษฐานไม่ขำ
ลิงเป็นตัวแรกที่ลุกขึ้นเล่า ขำขันของลิงตลกมากจนสัตว์ทุกตัวหัวเราะงอหาย
ยกเว้นเต่าซึ่งมองลิงด้วยความงง สายตาไม่มีแววขำเลยสักนิด
ดังนั้นสิงโตจึงฆ่าลิงเสีย โทษฐานเล่าเรื่องไม่ตลก
ม้าลายเป็นรายถัดไป พอมันเล่าเรื่องจบ สัตว์ทั้งหลายก็โพล่งหัวเราะด้วยความขบขันอย่างยิ่ง
ขำขันของม้าลายยอดเยี่ยมมาก แต่กระนั้นเต่าก็ยังไม่เห็นว่าเรื่องนั้นขำ สิงโตจึงฆ่าม้าลายเสีย
นักเล่ารายต่อไปคือยีราฟ แก๊กของมันตลกมากเช่นกัน แต่กระนั้นมันก็หนีไม่พ้นความตาย
เพราะดูเหมือนมาตรฐานความขำของเต่าสูงเกินไป
กวางเป็นนักเล่าตัวถัดมา มันเล่าเรื่องขำขันที่ครอบครัวของมันเล่าต่อกันมาหลายชั่วรุ่นแล้ว
ทุกครั้งที่เล่าก็ขำกันทั้งวงไม่เคยพลาด แต่กวางก็ไม่รอด เพราะเต่าไม่ขำเลยสักนิด
รายต่อไปคือกระรอก มันเล่าขำขันของมันไปไม่ทันจบเรื่อง
เต่าก็โพล่งหัวเราะออกมาด้วยความขบขันเป็นที่สุด สัตว์ทั้งหลายมองตากันด้วยความงุนงง
เพราะเรื่องที่กระรอกเล่ายังไม่จบและยังไม่ถึงจุดตลก แลเห็นเต่าหัวเราะขำกลิ้ง
ร้องว่า “โอ้ย! สุดยอด! ขำมาก ขำจริงๆ...”
สิงโตถามเต่าว่า “ขำอะไรวะ? กระรอกยังเล่าไม่จบเลย”
เต่าตอบว่า “โอ้ย! ขำขันของลิงนี่ขำจริงๆ!”
เรื่องข้างต้นนี้น่าจะเข้าข่าย ‘ตลกโหด’ เพราะความรู้สึกช้าของเต่าทำให้เพื่อนสัตว์ตายไปหลายตัว
แต่ในโลกของความจริง เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นเสมอ บ่อยครั้งความรู้สึกช้าของบางคน
หรือบางองค์กรก็ทำให้มีคนตายและหรือองค์กรล้มได้เช่นกัน!
เราคงเคยได้ยินเรื่องของพนักงานที่ทำงานดี ขยัน ซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลา แต่จู่ๆ ก็ตกงาน
เพราะใครคนนั้นมีความรู้สึกช้า ตามความเปลี่ยนแปลงของโลกภายนอกไม่ทัน
ยังมีวิธีคิดและทำงานแบบเดิมอยู่ เช่นกัน องค์กรจำนวนมากทั้งเล็กและใหญ่ล้มครืน
เพราะมองไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงของกระแสเศรษฐกิจ สังคม การเมือง
เพียงยี่สิบปีที่ผ่านมา เราพบเห็นความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็วอย่างเหลือเชื่อ
ยกตัวอย่างเช่น ฟลอปปีดิสก์ขนาด 8 นิ้วถูกแทนที่ด้วยฟลอปปีดิสก์ขนาด 5¼ นิ้ว
ซึ่งก็ถูกแทนที่ด้วยฟลอปปีดิสก์ขนาด 3½ นิ้ว แล้วฟลอปปีดิสก์ทั้งหมดก็สูญพันธุ์
เมื่อเทคโนโลยีดิจิตัลเข้ามาแทนที่อนาล็อก บริษัทฟิล์มถ่ายรูปบางแห่งสามารถปรับตัวทำกล้องดิจิตัล
ที่ปรับตัวไม่ทันก็สูญพันธุ์ไป
เราเปรียบคนที่รู้สึกตัวช้าเหมือนกบที่ถูกจับใส่ในหม้อน้ำบนเตาไฟ
ถ้าน้ำในหม้อเดือดปุด ๆ กบจะสะดุ้งแล้วกระโจนหนีออกไปทันท่วงที
แต่หากใส่กบในหม้อน้ำเย็นปกติ แล้วค่อยๆ ติดไฟอ่อนๆ กบจะยังคงรู้สึกสบายในหม้อน้ำ
กว่าจะรู้ว่าน้ำเดือด ก็อาจกลายเป็นกบสุกไปแล้ว
มองไปรอบตัว ทั้งปัจเจกและองค์กรจำนวนมากเป็นเช่นกบในหม้อน้ำที่ติดไฟอ่อน ๆ
องค์กรหลายแห่งเป็นอย่างนี้ เมื่อยอดขายยังดีอยู่ ก็ไม่คิดปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไร
รู้ตัวอีกทีก็ถูกบังคับให้ปิดกิจการเสียแล้ว แม้แต่ในระดับรัฐบาลหรือประเทศก็เช่นกัน
สภาวะรัฐล้มเหลวจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเสมอ ว่าก็ว่าเถอะ
เราเสียกรุงครั้งที่สองก็เพราะความรู้สึกช้าไม่ใช่หรือ?
การทำงานดีอย่างเดียวจึงไม่พอ สินค้าและบริการดีอย่างเดียว ก็ไม่พอ
ประเทศมีทรัพยากรธรรมชาติธรรมชาติล้นเหลือก็ยังไม่พอ ต้องมีวิสัยทัศน์ด้วย
รู้ว่าโลกภายนอกเปลี่ยนไปอย่างไร และเตรียมพร้อมรับมือความเปลี่ยนแปลงนั้น
ถ้าทำตัวเป็นเต่าขำช้าหรือกบที่ไม่รู้ร้อนรู้หนาว ก็อาจเดือดร้อน
และที่สำคัญ ยิ่งรู้สึกตัวช้ายิ่งจ่ายราคาแพง
ความรู้สึกช้ามักเกิดจาก ‘ความชาด้าน’ สิ่งที่ทำให้ชาด้านจนรู้สึกตัวช้ามีหลายอย่าง เช่น
ความสุขสบายทางกาย ความมั่นคงของตำแหน่งการงาน รายได้ที่มาอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น
ทำให้เชื่อว่าตัวเองปลอดภัยแล้ว แต่ทุกคนตกงานได้เสมอ ทุกองค์กรล้มได้เสมอ ใครประมาทก็ตายก่อน
นี่เป็นโลกของการแข่งขัน มันเป็นไฟท์บังคับ ไม่ว่าชอบหรือไม่ก็ตาม เราถูกบังคับให้ต้องแข่งขันโดยอัตโนมัติ
โชคดีที่ความรู้สึกช้ารักษาได้ หลักการง่าย ๆ คือไม่ประมาท และมีวิสัยทัศน์
ไม่ประมาทคือเตรียมตัวให้พร้อม ทันโลก อัพเกรดตัวเอง ทำให้ทันความเปลี่ยนแปลงของโลก
มีวิสัยทัศน์คือมองกว้างมองไกล อ่านสถานการณ์ออก แม้ในช่วงที่เหตุการณ์ทุกอย่างเป็นปกติอย่างที่สุด
แม้หวังตั้งสงบ จงเตรียมรบให้พร้อมสรรพ!
คนจำนวนมากตกงานตอนแก่เพราะใจเย็น คิดว่าไม่เป็นไร งานมั่นคงแล้ว
เราซื่อสัตย์กับองค์กรมาโดยตลอด ตัวเองปลอดภัยแล้ว ไม่เคยคิดอัพเกรดสร้างมูลค่าเพิ่มให้ตัวเอง
ไม่เคยเตรียมรับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังมา
องค์กรและประเทศที่ประสบความสำเร็จในโลกคือพวกที่มองไกลออกไปนับ 20-50 ปี
บางประเทศวางรากฐานการศึกษาล่วงหน้าหลายสิบปี สร้างโครงสร้างพื้นฐานรอไว้ก่อน
นี่คือวิสัยทัศน์หรือการมองการณ์ไกล ที่เรียกหรูๆ ว่า vision
องค์กรชั้นนำทุ่มทรัพยากรไปกับการค้นคว้าวิจัยเทคโนโลยีใหม่ๆ ทำรอไว้ก่อน
เมื่อความจำเป็นมาถึง ก็เป็นรายแรกที่สามารถตอบสนองความต้องการนั้น
สิงคโปร์สร้างรถไฟฟ้าใต้ดินตั้งแต่สมัยที่การจราจรยังไม่ติดขัด
ขยายสนามบินตั้งแต่ตอนที่ยังไม่มีความจำเป็น สร้างแคมปัสใหม่ ๆ
เชื่อมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ให้ทุนเด็กเก่งๆ จากทุกประเทศแล้วมอบสถานะพลเมืองให้ ฯลฯ
ทั้งนี้เพราะเป็นประเทศที่ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติ จึงต้องคิดไกลไว้ก่อน
อิสราเอลซึ่งตั้งอยู่กลางดงศัตรูต้องมีแผนล่วงหน้ารับมือต่อสถานการณ์ที่อาจเปลี่ยนแปลงทุกเมื่อ
ทั้งการทหาร การเมือง เศรษฐกิจ ฯลฯ
พวกที่ประมาทคือพวกที่รอจนเกิดปัญหาค่อยแก้ไข เช่น รู้ว่าทุกปีน้ำหลาก
ก็รอจนน้ำมาก่อน แล้วค่อยแก้ไปทีละปี มีป่าก็ตัดไปเรื่อยๆ โดยไม่มองไปไกลๆ ว่า
หากไม่มีป่า มันจะกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งประเทศอย่างไร
ในสเกลใหญ่ระดับโลก หลายประเทศยังแกล้งปิดตาตัวเองบอกว่าโลกร้อนเป็นเรื่องโกหก
เพียงเพราะไม่ต้องการเสียเงินแก้ไขปัญหาของวันนี้ โดยไม่มองไปไกลๆ ว่า
เมื่อสิ่งแวดล้อมของโลกจุดใดจุดหนึ่งถูกทำลาย โลกทั้งใบจะได้รับผลกระทบเหมือนกัน
และราคาของการแก้ไขปัญหาในวันนั้นจะแพงกว่าวันนี้หลายสิบเท่า หรืออาจแก้ไขไม่ได้เลย
ขณะที่คนส่วนใหญ่ยังมี vision แค่ไม่กี่ปีข้างหน้า โลกเรามีคนกลุ่มหนึ่งที่มองไกลออกไปนับร้อยๆ ปี
ยกตัวอย่างเช่น นักวิทยาศาสตร์-นักเขียน อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก สมัยที่ยังหนุ่ม
เขามองไกลเห็นโลกที่สื่อสารด้วยดาวเทียม และมันกลายเป็นจริง
เขามองเห็นการส่งยานไปลงดวงจันทร์ มันก็กลายเป็นจริง
ในบทที่ 9 ของนวนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง 2001 : A Space Odyssey
ที่คลาร์กเขียนในปี 1964 เขาบรรยายอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งที่ตัวละคร
ดร. เฮย์วูด ฟลอยด์ ใช้ เรียกว่า Newspad มันก็คือไอแพดนั่นเอง
!
ยังมีวิสัยทัศน์ของคลาร์กที่ยังไม่กลายเป็นความจริงอีกมากมาย เช่น ‘เครื่องบินอวกาศ’
เครื่องบินพาณิชย์ที่ใช้เวลาเดินทางสั้นมาก เพราะทะยานขึ้นชั้นอวกาศแล้วร่อนลงไปที่จุดหมาย
เราสามารถบินจากกรุงเทพฯไปอังกฤษราวสองชั่วโมง, การทำเหมืองจากทะเลและดาวเคราะห์น้อย,
เทคโนโลยีควบคุมดินฟ้าอากาศ, ลิฟต์อวกาศ, เครื่องแปลภาษาสัตว์ ฯลฯ
เราอาจรู้สึกว่าคนพวกนี้ “คิดไกลไปหรือเปล่า?” แต่หากปราศจากวิสัยทัศน์ไกลตัวเหล่านั้น
ป่านนี้มนุษย์เราก็ยังถือขวานหินล่าสัตว์อยู่
แน่ละ ไม่ใช่ทุกคนที่มีความสามารถมองเห็นอนาคตไกลขนาดนี้ได้ สำหรับปัจเจกอย่างเราๆ
เพียงแค่ไม่ประมาทและถ่างตาออกกว้าง ก็ช่วยได้มากแล้ว
โลกของกบในหม้อน้ำล้อมรอบด้วยกำแพง มองไม่เห็นโลกภายนอก
แต่หากกบตัวนั้นปรับปรุงความรู้สึกตัวเองให้ไวขึ้น
ก็จะสามารถสัมผัสความแตกต่างของอุณหภูมิในหม้อ
และกระโดดหนีทันท่วงทีก่อนที่จะถูกต้มสุก
ขอบคุณบทความจากคุณ
วินทร์ เลียววาริณ
www.winbookclub.com
21 มิถุนายน 2557
รายนามผู้เยี่ยมชม :
ปลายฝน คนงาม
,
ลิตเติลเกิร์ล
,
รพีกาญจน์
,
น้ำหนาว
,
Black Sword
,
ลมหนาว ในสายหมอก
,
Orion264(มือขวา)
,
กร กรวิชญ์
,
ขวดเก่า
,
หนูหนุงหนิง
,
อิงดาว พราวฟ้า
,
Paper Flower
,
กอหญ้า กอยุ่ง
,
หญิงหนิง พราววลี
,
ก้าง ปลาทู
,
ตูมตาม
,
กรกช
,
นักเลงกลอน
บันทึกการเข้า
Orion264(มือขวา)
ผู้มีจินตนาการ
จำนวนผู้เยี่ยมชม:
1106
ออฟไลน์
ID Number: 16
จำนวนกระทู้: 154
|
|
Re: กบในหม้อน้ำ โดยคุณ วินทร์ เลียววารินทร์
«
ตอบ #1 เมื่อ:
11, ตุลาคม, 2558, 05:45:26 PM »
บ้านกลอนน้อยฯ
Permalink:
Re: กบในหม้อน้ำ โดยคุณ วินทร์ เลียววารินทร์
ได้อ่านนิทานแล้วทีแรกผมคิดว่าเต่ามันคงฉลาดไม่ยอมหัวเราะเพื่อให้สิงโตได้กินสัตว์ตัวอื่นๆ
จนอิ่มไปก่อนแล้วตัวมันเองก็จะรอดแต่....คิดผิด
ส่วนทฤษฎีกบในหม้อน้ำที่ฝรั่งคิดค้นขึ้นมานี้
ผมมีความคิดว่าสามารถอธิบายสำนวนไทยที่ว่า น้ำร้อนปลาเป็นน้ำเย็นปลาตาย ได้ดี ทำให้มองเห็นภาพได้ชัด
:049: :049:
รายนามผู้เยี่ยมชม :
ลิตเติลเกิร์ล
,
กร กรวิชญ์
,
รพีกาญจน์
,
Black Sword
,
ขวดเก่า
,
ปลายฝน คนงาม
,
หนูหนุงหนิง
,
น้ำหนาว
,
อิงดาว พราวฟ้า
,
กอหญ้า กอยุ่ง
,
หญิงหนิง พราววลี
,
ก้าง ปลาทู
,
ลมหนาว ในสายหมอก
,
ตูมตาม
,
กรกช
บันทึกการเข้า
สารบัญบทกลอน "Orion264(มือขวา)"
..
โคลงสี่ แต่งแบบวัวพันหลัก
ยามเย็นยลยั่วเย้า ยอแสง
แสงแห่งอาทิตย์แรง เริ่มล้า
ล้าอ่อนอวบอมแดง ดวงเด่น
เด่นดุจไข่แดงจ้า ก่อนสิ้นสุรีย์
รีรอเพื่อเพ่งฟ้า ดูดาว
ดาวเด่นเย็นสกาว เกลื่อนหล้า
หล้าโลกฉ่ำลมหนาว พัดโบก
โบกสะบัดพัดโชยท้า ปะพื้นผิวกาย
กายหนาวคราวรุ่นเนื้อ หนาวลม
ลมผ่านพานระทม สั่นสะท้าน
สะท้านอกอารมณ์ ไหวหวั่น
หวั่นจิตจนฟุ้งสร้าน กว่าพ้นราตรี
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
พิมพ์
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
บ้านกลอนน้อย ลิตเติลเกิร์ล - มยุรธุชบูรพา
-----------------------------
=> อ่านข้อกำหนด กฎระเบียบต่าง ๆ - สมาชิกใหม่ ทักทาย แนะนำตัวที่นี่
=> ห้องกลอน คุณอภินันท์ นาคเกษม
=> ห้องกลอน คุณคนบอ มือสี่
=> สารบัญกลอน สมาชิกนักกลอน
-----------------------------
ห้องเรียน
-----------------------------
=> ห้องเรียนรู้คำประพันธ์ ประเภทกลอน
=> ห้องเรียนฉันท์
=> ห้องเรียน กลบท
=> ห้องเรียน โคลงกลบท
=> ห้องศึกษา ภาพโคลงกลบท
=> ห้องศึกษา กาพย์ โคลง ร่าย
=> ห้องหนังสือ บ้านกลอนน้อย
=> ห้องฟัง การขับ เสภา และอื่น ๆ
-----------------------------
คำประพันธ์ แยกตามประเภท
-----------------------------
=> กลอน ร้อยกรองหลากลีลา
=> คำประพันธ์เนื่องในโอกาสพิเศษต่าง ๆ
=> กลอนธรรมะ-สุภาษิต-ปรัชญา-คำคม
=> กลอนเปล่าสบาย ๆ
=> กลอนจากที่อื่น และจากกวีที่ชื่นชอบ
=> โคลง-กาพย์-ฉันท์-ร่าย-ลิลิต
=> กลบท
=> นิยาย-เรื่องสั้น-บทความ-ความเรียง-เรื่องเล่าทั่วไป
=> ห้องนั่งเล่นพักผ่อน
===> เส้นคั่นสวย ๆ
===> รูปภาพน่ารัก
กำลังโหลด...