Username:

Password:


  • บ้านกลอนน้อยฯ
  • ช่วยเหลือ
  • ค้นหา
  • เข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
บ้านกลอนน้อย - กลอนสบายๆ สไตล์ลิตเติลเกิร์ล >> ห้องเรียน >> ห้องเรียนฉันท์ >> ฉันท์ Tip ตอนที่ ๑: การวางเสียงตามฉันทลักษณ์ (อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑)
หน้า: [1]   ลงล่าง
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ฉันท์ Tip ตอนที่ ๑: การวางเสียงตามฉันทลักษณ์ (อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑)  (อ่าน 12322 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ศรีเปรื่อง
สมาชิกพิเศษ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:5750
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 43
จำนวนกระทู้: 488


ข้าพเจ้าเพียงใช้บทกวี เพื่อหย่อนฤดี ฯ


| |
ฉันท์ Tip ตอนที่ ๑: การวางเสียงตามฉันทลักษณ์ (อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑)
« เมื่อ: 01, ตุลาคม, 2556, 07:25:32 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: ฉันท์ Tip ตอนที่ ๑: การวางเสียงตามฉันทลักษณ์ (อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑)
ฉันท์ Tip ตอนที่ ๑: การวางเสียงตามฉันทลักษณ์

เทคนิคส่วนตัวที่ผมใช้อยู่ ก็คือ ทำความเข้าใจลักษณะของผังฉันทลักษณ์ และวิเคราะห์ทางเลือกที่เป็นไปได้ในการวางคำลหุ ในแต่ละวรรค

โดยก่อนอื่น ผมขอจำแนกคำที่จะนำมาให้เสียง ลหุ ออกเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่

๑. คำโดดลหุ
    ผมหมายถึง คำที่มีเสียงเดียว และเป็น ลหุ เช่น กะ, ก็, จะ, ณ, ฤ, บ่ และขอรวม ผิว์ (ผิว่า) เข้าไปด้วย
    โดยส่วนใหญ่แล้ว คำพวกนี้มักจะเป็น คำเชื่อม ครับ
    (ดูเพิ่มเติมในกระทู้ คำเชื่อม! ผมคิดไม่ออก...ช่วยผมด้วยครับ...)
    
๒. คำธรรมชาติ
    ผมหมายถึง คำที่มีมากกว่าสองเสียง และเสียง ลหุ ปะปนอยู่ด้วยตามธรรมชาติ เช่น สหาย, ยุพา, กระลาพิน

๓. คำประยุกต์เสียง
    ผมหมายถึง คำที่แต่เดิมไม่มีเสียง ลหุ ที่เราต้องการ แต่เราปรับปรุงโดยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง เช่น แผลงสระ,
    แยกเสียง หรือ เพิ่ม อะ ที่ท้าย เช่น จิตะ (จิด-ตะ หรือ จิ-ตะ), พักตระ (พัก-ตระ หรือ พัก-ตะ-ระ)
    (ดูเพิ่มเติมในกระทู้ ลหุ...เจ้าตัวยุ่ง)

กรณีศึกษา

อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑

ค ค ล ค ค         ล ล ค ล ค ค

วรรคหน้า
มีจุดที่ต้องดูที่เดียว คือ เสียง ลหุ ที่อยู่ตรงกลางวรรค

ทางเลือกที่ ๑: คำโดดลหุ เช่น ธ ณ ผิว์ ก็ ฤ

       บัดเดี๋ยวก็ยินเสียง

ทางเลือกที่ ๒: คำธรรมชาติ ลหุ อยู่หน้า เช่น  สหาย กระลาพิน พะงางอน ยุพา

       หัตถายุพางาม

ทางเลือกที่ ๓: คำธรรมชาติ ลหุ อยู่ท้าย เช่น วายุ วัตถุ ชำนิ

       ครั้นวายุโชยผ่าน

ทางเลือกที่ ๔: คำธรรมชาติ ลหุ อยู่กลาง เช่น ข้าพเจ้า, นงพะงา, ทัศนา, มิตรภาพ

       โอ้ข้าพเจ้าอาย

ทางเลือกที่ ๕: คำประยุกต์เสียง เช่น เลิศะ, พักตระ (พัก-ตระ)
                  
        ปะทะพักตระยอดชาย   (แฮ่ ๆ ขอเอาวรรคหลังมาเป็นตัวอย่างนะครับ)

วรรคหลัง
มีจุดที่ต้องดู ๒ จุด จุดที่ ๑ คือ ลหุ สองตัวติดกันที่อยู่หน้าวรรค และจุดที่ ๒ คือ ลหุ ที่อยู่ตำแหน่งเสียงที่ ๔ ของวรรค

จุดที่ ๑: ลหุ สองตัวติดกันที่อยู่หน้าวรรค
ทางเลือกที่ ๑: คำโดด ลหุ ๒ คำต่อกัน เช่น ก็มิ, ก็บ่, ผัวะเผียะ

         ผัวะเผียะเปรี้ยงสนั่นคาม

ทางเลือกที่ ๒: คำโดด ลหุ ๑ คำ + คำธรรมชาติหรือคำประยุกต์ที่มี ลหุ อยู่หน้า ๑ คำ เช่น ก็สะท้าน, ณ ธะนิน (จาก ธานิน)

         ก็สะท้านสรีร์กาย

ทางเลือกที่ ๓: คำธรรมชาติ ๑ คำ (มี ลหุ ๒ ตัวติดกัน) เช่น ปะทะ, อุบ๊ะ!, ชิชะ!, ตะละ, กวะ, สุริยา

        ปะทะพักตระยอดชาย

ทางเลือกที่ ๔: คำประยุกต์เสียง ๑ คำ เช่น นุช (นุ-ชะ), จิตะ (จิ-ตะ), สุขะ (สุ-ขะ), ดุจะ (ดุ-จะ)

        นุชะร้ายซะเหลือทน

จุดที่ ๒: ลหุ ที่อยู่ตำแหน่งเสียงที่ ๔ ของวรรค
ทางเลือกที่เป็นไปได้ ก็ไม่แตกต่างกับกรณีของวรรคหน้าครับ

ตัวอย่าง (เมดเล่ย์ทางเลือก)

บัดเดี๋ยวก็ยินเสียง          ผัวะเผียะเปรี้ยงสนั่นคาม
หัตถายุพางาม               ปะทะ พักตระยอดชาย

ครั้นวายุโชยผ่าน            ก็สะท้านสรีร์กาย
โอ้ข้าพเจ้าอาย              นุชะร้ายซะเหลือทน


สรุป

ในมุมมองของผม การทำความเข้าใจลักษณะของฉันทลักษณ์ และวิเคราะห์ทางเลือกการวางคำ จะทำให้เราปิ๊งและเกิดไอเดียประเจิดในการวางคำ

สิ่งที่ผมนำเสนอไปนั้น "ไม่ใช่สูตรตายตัว" แต่เป็นแค่ "แนวทาง" ซึ่งเพื่อน ๆ อาจพัฒนารูปแบบขึ้นใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับตนเองที่สุดครับ


ศรีเปรื่อง
๑ ต.ค. ๒๕๕๖


รายนามผู้เยี่ยมชม : เส้นชีวิต ดำเนินไป, รินดาวดี, , , รพีกาญจน์, กอหญ้า กอยุ่ง, กรกช, ลิตเติลเกิร์ล, ปลายฝน คนงาม, กลอน123, มนชิดา พานิช, ตุ้ม ครองบุญ

บันทึกการเข้า

sriphreung.blogspot.com
..
สารบัญบทกลอน  "ศรีเปรื่อง"
..

หน้า: [1]   ขึ้นบน
พิมพ์
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.14 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC
Simple Audio Video Embedder
| Sitemap
NT Sun by Nati
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.333 วินาที กับ 42 คำสั่ง
กำลังโหลด...