บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
พระนางจามเทวี - หริภุญไชยไทยเหนือ -
ณ แคว้นเหนือหนึ่งไทยในสยาม ถิ่นไทยงามทั้งชาติศาสนา เกิดก่อนแคว้นสุโขไทได้เป็นมา ในตำราสับสนคนครองบุรี
ตำราหลักว่าธิดากรุงกัมโพช เจ้ากรุงโปรดประทานให้ฤๅษี เชิญไปเป็นเจ้าแคว้นแดนคนดี "จามเทวี"ไทยแท้เป็นแน่นอน
นักวิชาการไทยหลายรายเขว เรื่องปนเปเปะปะขยักขย่อน กล่าวว่า"จามเทวี"นี้เป็นมอญ เพราะท่านอ่อนเหตุผลเชื่อคนไกล
พระนางเป็นไทยทวาราวดี สวามีโอรสเจ้าแคว้นใหญ่ เชื้อพระองค์ทรงฤทธิ์"สิทธิไชย- พรหมเทพ"เผ่าไทยในภาคกลาง
พระนางจามเทวีมีโอรส แฝดทรงยศ"มหันต์,อนันต์"สว่าง แต่งเมืองใหม่อีกทำเลที่"เขลางค์" คือ"นครลำปาง"อย่างปัจจุบัน |
หมายเหตุ : หลังจากอาณาจักรสุวรรณภูมิสลายแล้ว ทวาราวดี หรือละโว้ กัมโพช ได้เป็นศูนย์กลางไทย ต่อมาวาสุเทพฤๅษีได้สร้างนครหริภุญไชยขึ้นแล้วหาผู้ปกครองมิได้จึงมาขอพระนางจามเทวีราชธิดาเจ้าแคว้นทวาราวดี จากละโว้ขึ้นไปครองนครหริภุญไชย พระนางมีพระราชโอรสแฝดสองพระองค์ จึงทรงสร้างนครลำปางให้พระราชโอรสผู้น้องครองอีกเมืองหนึ่ง
เต็ม อภินันท์ สถาบันกวีนิพนธ์ไทย ๓ สิงหาคม ๒๕๖๑ ขอขอบคุณเว็บฯเจ้าของภาพทุกภาพนี้ในเนต |
วัดพระธาตุหริภุญชัย
รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, ลิตเติลเกิร์ล, Mr.music, ฟองเมฆ, ปลายฝน คนงาม, กร กรวิชญ์, น้ำหนาว, ลมหนาว ในสายหมอก, กอหญ้า กอยุ่ง, รพีกาญจน์, หนูหนุงหนิง, ตูมตาม, ปิ่นมุก, ก้าง ปลาทู, มดดำ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
(พญางำเมือง พญามังราย พ่อขุนรามคำแหง) - พงศาวดารไทยเหนือ -
เรื่องราวไทยแคว้นเหนือควรเชื่อถือ ตามหนังสือพงศาวดามั่น จาก"สิงหนวัติกุมาร"นั้น หลักฐานอันชัดเจนความเป็นมา
เกิด"โยนกนาคพันธุ์เชียงแสน"ก่อน ล่มแล้วช้อนกลับคืนฟื้นคุณค่า จวบ"อนุรุทธธรรมิกราชา" สถาปนาเจ้าแคว้นที่แสนดี
"ลวะจังกะราช"ฉลาดเฉลียว เป็นเครื่องเหนี่ยวนำใจไทยน้องพี่ ร่วม"สร้างบ้านแปงเมือง"บรรดามี สามัคคีสร้างแดน"แคว้นโยนก"
คู่แข่ง"แคว้นหริภุญไชย"รุ่ง "แคว้นเชียงตุง"ทรงอยู่ไม่รู้ตก สามแคว้นใหญ่ไทยเหนือเชื้อรากรก ไทยควรยกย่องไว้ใช่ดูแคลน
ครั้น"พญาเม็งราย"ขยายอำนาจ ยึดเด็ดาด"หริภุญไชย"แน่น ผนวกรวมโยนกหนึ่งดินแดน แล้ววางแผนสร้างเมืองกระเดื่องนาม... |
หนังสือพงศาวดารโยนก พระยาประชากิจกรจักร์(แช่ม บุนนาค) ได้เก็บรวบรวมคัมภีร์สมุดข่อย ใบลาน และจารึกต่าง ๆ ที่กล่าวถึงเรื่องราวในภาคเหนือของไทย ซึ่งกระจายอยู่ทั่วไป แล้วพยายามอ่านแปลได้ความปะติดปะต่อกันเป็นเรื่องราวจนได้ความชัดเจน จัดพิมพ์เป็นหนังสือเล่มใหญ่ขึ้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ท่านให้ชื่อหนังสือเล่มนี้ว่า "พงศาวดารโยนก" ซึ่งแปลความได้ว่า เรื่องราวในแคว้นเหนือของไทย เป็นหนังสือที่เหมาะแก่การนำมาประกอบการค้นคว้าหาความจริงในประวัติศาสตร์ชาติไทย เป็นอย่างยิ่ง
เรื่องราวกล่าวถึงชนชาติไทยในตอนใต้ชมพูทวีป นำโดยสิงหนวัติกุมาร พาบริพารล่องลงมาทางใต้เมื่อตอนต้นพุทธศตวรรษ แล้วได้สร้างบ้านแปงเมืองขึ้นในบริเวณที่เป็นเขตการปกครองของอำเภอเชียงแสนในปัจจุบัน ให้ชื่อนครว่า โยนกนาคพันธุ์เชียงแสน จากนั้นได้กล่าวถึงเรื่องราวของเมืองนี้โดยพิสดารจนกระทั่งเมืองนี้ล่มจมธรณีไป แล้วเกิดเมืองขึ้นใหม่ในบริเวณใกล้เคียงกัน (พงศาวดารนี้ได้กล่าวถึงความเป็นมาของชนชาติขอมไว้โดยละเอียดด้วย)
ตกมาถึงยุค พญาเม็งราย(โอรสพญาเม็ง) สร้างเมืองเชียงราย เป็นพระสหายกับ พญาร่วง(พ่อขุนรามคำแหง) พญางำเมือง และขยายพระราชอำนาจเข้ายึดแคว้นหริภุญไชย(ลำพูน)ได้ในสมัย พญายีบา (กษัตริย์ผู้สืบเชื้อสายมาจากพระนางจามเทวี) แล้วย้ายเมือง ไปสร้างเมืองหลวงของแคว้นขึ้นใหม่ที่เชิงดอยอ้อยช้าง(ดอยสุเทพ) โดย พญาร่วง พญางำเมืองไปร่วมกันวางผัง เมือง สร้างเมืองเสร็จแล้วให้นามว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" เป็นเมืองหลวงของแคว้นโยนก ซึ่งกลายเป็นแคว้นล้านนาในกาลต่อมา....
เต็ม อภินันท์ สถาบันกวีนิพนธ์ไทย ๔ สิงหาคม ๒๕๖๑ ขอขอบคุณเว็บฯ และเจ้าของภาพนี้ในเนต |
รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, กอหญ้า กอยุ่ง, ลิตเติลเกิร์ล, ลมหนาว ในสายหมอก, กร กรวิชญ์, ฟองเมฆ, รพีกาญจน์, น้ำหนาว, ปลายฝน คนงาม, หนูหนุงหนิง, ตูมตาม, ปิ่นมุก, ก้าง ปลาทู, มดดำ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
พญางำเมือง - ท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง -
ก่อนถึงยุค"เม็งราย"ขยายเรื่อง ถึง"ขุนเจือง"กล้าเก่งน่าเกรงขาม รวม"เชียงแสน,ภูกามยาว"เข้าเขตคาม ยกพลข้ามโขงครองแถว"แกวปะกัน"
ยึดลาว,ญวนถ้วนหน้าขะแมร์หมด ดังปรากฏตำนานงานสร้างสรรค์ เรื่อง"แถนลอ (ลอราช)"เป็นอัศจรรย์ คือต้นพันธุ์"งำเมือง"เนื่อง"เม็งราย"
สิ้น"ขุนเจืองธรรมิกราช"แคว้นขาดหลัก "พะเยา"ยักอำนาจขาดเครือข่าย เป็นอิสระจากเชียงแสนแคว้นตายาย "งำเมือง"หมายผูกมิตร"สุโขไท"
เป็นสหาย"รามคำแหง"ไม่แข่งยศ เกียรติปรากฏคู่กันต่างเป็นใหญ่ ตำนานเล่ายาวเรื่องกล่าวเปลืองไป จึงละไว้ให้คลำหาตำนาน |
หมายเหตุ : - อาณาจักรโยนกเชียงแสนสถาปนาโดยพระเจ้าสิงหนวัติ เจริญรุ่งเรืองแล้วล่มสลาย และเกิดใหม่ จนถึงยุคสมัยทวาราวดี พระยาอนุรุทธธรรมิกราช หรือพระยากากวัณดิศราช เสด็จขึ้นไปจัดตั้งใหม่ โดยสถาปนาลาวะจังกราชแห่งดอยตุงเป็นเจ้าปกครอง สืบเชื้อสายเรื่อยมาจนเกิดมหาราชผู้ยิ่งใหญ่ขึ้น กำเนิด ณ เมืองพะเยาในราวปี พ.ศ. ๑๖๑๗ นามว่าขุนเจือง ต่อมาได้ครองเมืองนครหิรัญเงินยางเชียงแสน เฉลิมพระนามว่า ขุนเจืองธรรมิกราช คนทั่วไปรู้จักกันในนาม ท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง ทรงปกครองเมืองในสองฟากฝั่งแม่น้ำโขงไปจนถึงแกวปะกัน จีน ตอนใต้ เป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ร่วมสมัย พระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ แห่งเมืองพระนคร ท่านผู้นี้เป็นต้นเชื้อสายของพระยาเม็งราย และพระยางำเมือง ซึ่งพระยาเม็งราย กับ พระยางำเมือง ก็เป็นพระสหายแห่งพระยาร่วงสุโขทัย เรื่องราวเหล่านี้ถือได้ว่าเป็น "ประวัติศาสตร์" เพราะมีชื่อบุคคล สถานที่ ระบุวันเดือนปีไว้ชัดเจน ควรแก่การเชื่อถือได้
เต็ม อภินันท์ สถาบันกวีนิพนธ์ไทย ๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ ขอขอบคุณเจ้าของภาพนี้ในเน็ต |
รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, ลมหนาว ในสายหมอก, ลิตเติลเกิร์ล, น้ำหนาว, กร กรวิชญ์, ฟองเมฆ, ปลายฝน คนงาม, รพีกาญจน์, หนูหนุงหนิง, ตูมตาม, ปิ่นมุก, ก้าง ปลาทู, กอหญ้า กอยุ่ง, มดดำ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
- ว่าด้วยศึกสามนคร -
ย้อนกลับกล่าวเล่าความตำนานก่อน สามนครทำศึกอย่างฮึกหาญ เจ้าลำพูนเลอะเลือนเหมือนคนพาล อยากได้บ้านเมืองละโว้ไว้ครอบครอง
ยกโยธามาประชิดติดละโว้ เมืองใหญ่โตลพบุรีไม่มีสอง เจ้ากรุงใหญ่ยกทัพรบรับรอง จนเลือดนองเหนือแดนเขตแคว้นตน
ณ กาลนั้นเจ้านครศรีธรรมราช พยุหยาตราทัพไม่สับสน กองทัพเรือฮึกหาญทะยานชล ยกเข้าปล้นลพบุรีมิยากเย็น
แล้วยกเลยคุกคามสนามรบ สองทัพจบการยุทธ์สุดแสนเข็ญ เจ้าลำพูนย้ายแยกแตกกระเด็น มิรู้เป็นหรือตายพ่ายเปิดเปิง
เจ้าละโว้มุ่งหน้าบุกป่ารก จนไปตกเมืองลำพูนที่ยุ่งเหยิง ไร้เจ้าเมืองปกปิ่นอย่างสิ้นเชิง เจ้าละโว้จึงเถลิงอำนาจแทน |
มีความในตำนานจามเทวีวงศ์ตอนที่ว่าด้วยศึกสามนครกล่าวว่า เมื่อ พ.ศ. ๑๔๔๖ "พระเจ้าวัตราสัตตราช หรือ พระเจ้าตราพกราช" กษัตริย์ผู้ครองกรุงหริภุญชัย (ลำพูน) อ้างว่าพระองค์ทรงมีสิทธิอันชอบธรรมในราชบัลลังก์แห่งกรุงละโว้ เพราะเป็นผู้สืบเชื้อสายมาแต่พระนางจามเทวี จึงทรงยกทัพมาเพื่อรวบพระราชอำนาจในการปกครองกรุงละโว้ "พระเจ้าอุจฉิฏฐก" จักรวรรดิราชกษัตริย์แห่งกรุงละโว้จึงทรงยกทัพออกต่อสู้เพื่อป้องกันราชบัลลังก์
ในขณะที่ทัพทั้งสองกำลังรบติดพันกันอยู่ ณ เขตแดนเมืองนั้น มีกษัตริย์พระองค์หนึ่งทรงพระ นามว่า "พระเจ้าชีวกราชา หรือ พระเจ้าสุชิตราช" ครองราชย์อยู่ที่ กรุงตามพรลิงก์ (นครศรีธรรมราช) ทรงยกกองทัพขึ้นมาทั้งทางบกและทางเรือ จู่โจมเข้ายึดครองกรุงละโว้ได้ กองทัพทั้งสองที่กำลังรบกันอยู่นั้นทราบว่ามีกองทัพใหญ่ยกจากเมืองใต้เข้ายึดกรุงละโว้ไว้ได้แล้วก็ตกใจ พระเจ้ากรุงละโว้เห็นว่าจะยกกลับชิงละโว้คืนมิได้แล้ว ก็ตีตะลุยไล่กองทัพหริภุญชัยแตกพ่ายไปทางน้ำ พระองค์ยกท้พมุ่งหน้าสู่ลำพูนไปทางบก เข้าถึงเมืองลำพูนแล้วยึดเมืองไว้ได้ พระเจ้าตราพกราชยกกลับไปทางเรือถึงลำพูนแล้วชิงเมืองคืนมิได้ก็ถอยหนีไป นครหริภุญชัยจึงถูกปกครองโดยพระเจ้ากรุงละไว้แต่นั้นมา
เมื่อชนะสงครามสิ้นสุดลง พระเจ้าชีวกราชา จึงทรงประกาศชัยชนะ ทำพิธีบวงสรวงเทวรูปประจำพระนคร และกระทำการสักการบูชารูป พระราชมารดา (เจ้าหญิงแห่งกษัตริย์ละโว้) พระเจ้าชีวกราชา ทรงประ กอบพิธีราชาภิเษก เจ้าชายบุรพโกศลกัมโพชราช หรือเจ้าชายกัมโพช พระราชโอรสเชื้อสายกษัตริย์ไศเลนทร์แห่งกรุงตามพรลิงก์ (นครศรีธรรมราช) เป็นกษัตริย์ครองกรุงละโว้ต่อมา และพร้อมกันนั้นก็ได้ทรงส่งเจ้าชายผู้เป็นราชอนุชาบุรพโกศลกัมโพช ให้ไปเป็นเจ้าปกครองกรุงกัมพูชา ส่วนพระเจ้าชีวกราชา เสด็จกลับไปครองราชบัลลังก์แห่งกรุงตามพรลิงก์จนสิ้นรัชกาล
เต็ม อภินันท์ สถาบันกวีนิพนธ์ไทย ๖ สิงหาคม ๒๕๖๑ ขอขอบคุณเว็บฯเจ้าของภาพนี้ในเน็ต |
รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, ลิตเติลเกิร์ล, กร กรวิชญ์, น้ำหนาว, เนื้อนาง นิชานาถ, ลมหนาว ในสายหมอก, ปลายฝน คนงาม, รพีกาญจน์, ฟองเมฆ, หนูหนุงหนิง, ตูมตาม, ปิ่นมุก, ก้าง ปลาทู, กอหญ้า กอยุ่ง, มดดำ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
- กัมโพช & กัมพูชา -
ชีวกราชครองละโว้พร้อมโอรส พระทรงยศอำนาจกาจกล้าแสน ส่งโอรสองค์รองไปครองแดน ณ แว่นแคว้นกัมพูชาเลิศธานี
ให้องค์โตอยู่ประจำครองกัมโพช พระองค์โลดแล่นคืนนครศรีฯ ทั้งสามแคว้นแน่นหนักสามัคคี จึ่ง"พ่อ,พี่,น้อง"ประนอมเป็นขอมไทย
หนึ่งนัดดา"ชีวกะ"สุดประเสริฐ ทรงเป็นเลิศล้นเหลือออกเหนือใต้ ครอง"กัมพุช,กัมโพช,ศรีวิชัย" ประทับในกรุงละโว้อันโอฬาร
นาม"ปทุมสุริยวงศ์"ทรงเดช ปกครองเขตกว้างใหญ่แสนไพศาล เป็นดอกบัว"ไศเลนทร์"งามเด่นบาน มีตำนานเล่าไว้ให้รู้จำ |
ดังได้กล่าวแล้วว่า ในราวปี พ.ศ. ๑๔๔๖ พระเจ้าตราพกราช ผู้ครองอาณาจักรหริภุญชัย(ลำพูน) อ้างว่าตนเองเป็นผู้สืบเชื้อสายพระนางจามเทวีพระราชธิดากรุงละโว้ ควรมีสิทธิ์อันชอบธรรมที่จะครองกรุงละโว้ด้วย จึงยกทัพลงมาชิงราชบัลลังก์กรุงละโว้ พระเจ้ากรุงละโว้ยกทัพออกจากเมืองไปตั้งรับและรบกันที่เขตแดน ขณะที่ทั้งสองนครรบกันอย่างดุเดือดอยู่นั้น พระเจ้าชีวกราชก็ยกทัพลบกเรือขึ้นมาจากนครศรีธรรมราชเข้ายึดกรุงละโว้ไว้ได้เด็ดขาด ศึกสามนครยุติลงโดย เจ้ากรุงละโว้ยกทัพขึ้นไปยึดครองหริภุญชัย พระเจ้ากรุงลำพูนหนีไปไร้ร่องรอย พระเจ้าชีวกราช ยึดครองกรุงละโว้(กัมโพช)
เรื่องราวจากศึกสามนครนี้มีนัยให้พิจารณาเห็นว่า หลังจากอาณาจักรทวาราวดีซึ่งมีเมืองหลวงตั้งอยู่่ที่ตักสิลามหานคร(นครชัยศรี)เสื่อมลง เชื้อสายพระเจ้าสิทธิชัยพรหมเทพได้แตกแยกกันตั้งตนเป็นใหญ่ทั่วแผ่นดินสุวรรณภูมิ เจ้าพนมลงไปตั้งนครศรีธรรมราช ฟื้นฟูอาณาจักรศรีวิชัย ส่วนในภาคกลาง ยกเมืองละโว้ หรือกัมโพช ขึ้นเป็นมหานครในนาม ทวาราวดีศรีอโยธยา ทางเหนือที่พระนางจามเทวีรับอัญเชิญขึ้นไปปกครองหริภุญชัยก็สืบเชื้อสายมายาวนาน พระเจ้ากรุงละโว้ หริภุญชัย นครศรีธรรมราช ล้วนเป็นเครือญาติกัน จะเห็นได้ชัดว่า เมื่อยึดกรุงละโว้ได้แล้ว พระเจ้าชีวกราช เข้าไปกราบบวงสรวงบูชารูปพระราชมารดา เจ้าหญิงแห่งละโว้ ก่อนแล้วจึงประกอบพิธีราชาภิเษก
เมื่อตั้งพระโอรสองค์โตครองกรุงกัมโพช(ละโว้) แล้วจึงตั้งให้พระโอรสองค์รองไปเป็นกษัตริย์ครองกรุงกัมพูชา ส่วนพระองค์เสด็จกลับไปครองนครศรีธรรมราชตามเดิม ต่อมาพระเจ้ากรุงกัมพูชามีพระราชโอรสที่บารมีแผ่ไพศาลพระนามว่า พระเจ้าประทุมสุริยวงศ์ หรือพระเจ้าอาทิตยราช ดังจะได้พบบทบาทของพระองค์ในกาลต่อไป.
เต็ม อภินันท์ สถาบันกวีนิพนธ์ไทย ๗ สิงหาคม ๒๕๖๐ ขอขอบคุณเจ้าของภาพนี้ในเน็ต |
รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, รพีกาญจน์, ลิตเติลเกิร์ล, กร กรวิชญ์, ฟองเมฆ, น้ำหนาว, เนื้อนาง นิชานาถ, หนูหนุงหนิง, ปลายฝน คนงาม, ลมหนาว ในสายหมอก, ตูมตาม, ปิ่นมุก, ก้าง ปลาทู, กอหญ้า กอยุ่ง, มดดำ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
- พระร่วง & ขอมดำดิน -
ปทุมสุริยวงศ์ครองละโว้ ภาพภิญโญยิ่งยกไม่ตกต่ำ มีเมืองขึ้นประเทศราชแจ้งจำนำ ส่งข้าวน้ำนานาบรรณาการ
สุโขไทเจาะจงส่งส่วยน้ำ พระร่วงทำภาชน์ใส่ไม้ไผ่สาน เป็นกะออมชะลอมครุแบบบุราณ น้ำรั่วผ่านลอดไหลมิได้เลย
พระปทุมสุริยวงศ์งงงันนัก ทรงรู้จักคู่แข่งสำแดงเผย หวังได้"ร่วง"เลี้ยงขุนอย่างคุ้นเคย จึ่งทรงเอ่ยชวนอยู่เป็นคู่บุญ
นายร่วงไม่เล่นด้วยเลิกส่วยสิ้น กลับคืนถิ่นสุโขไทไม่เกื้อหนุน เกิดตำนานพระร่วงเจ้าที่เราคุ้น นิทานรุ่นเก่าจำ"ขอมดำดิน"๑ |
(๑ รายละเอียดของเรื่องขอมดำดินนี้หาอ่านได้ในเรื่องพระร่วง นิทานโบราณคดีไทย หรือในอินเตอร์เน็ตทั่วไป) เต็ม อภินันท์ สถาบันกวีนิพนธ์ไทย ๘ สิงหาคม ๒๕๖๑ ขอขอบคุณเจ้าของภาพนี้ในเน็ต |
รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, กร กรวิชญ์, ลิตเติลเกิร์ล, ปลายฝน คนงาม, เส้นชีวิต ดำเนินไป, น้ำหนาว, ฟองเมฆ, รพีกาญจน์, หนูหนุงหนิง, ลมหนาว ในสายหมอก, ตูมตาม, ปิ่นมุก, ก้าง ปลาทู, กอหญ้า กอยุ่ง, มดดำ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
- พระแก้วมรกตจากไชยา -
ตำนาน"พระแก้วมรกต" ทั้งทิศทศเคารพรักรู้จักสิ้น งามสะอาดปราศโทษหมดมลทิน เป็นปานปิ่นพุทธศาสน์คู่ชาติไทย
กำเนิด ณ ไชยาประมาณศก- "พันสองร้อย" เศษยกกำหนดได้ ครั้นไชยามีเหตุเกิดเภทภัย จึงย้ายไปนครครั้งเรียกลังกา
จากนครทางน้ำสู่กัมพุช ประทับหยุดอยู่ปราสาทประเสริฐค่า "นครวัด"ศูนย์กลางกัมพูชา แล้วก้าวสู่"อโยธยา"เนิ่นนานปี
จาก"อยุธยา"ไปเหนือหลายแหล่ง คือกำแพงเพชร,เชียงรายอีกหลายที่ ลำปาง,เวียงเชียงใหม่หลายธานี ไปลาวมี"หลวงพระบาง"ทั้ง"เวียงจันทน์"
แล้วกลับกรุงธนบุรีมินานนัก อยู่เป็นหลักกรุงเทพเมืองสวรรค์ ให้ชาวโลกมุ่งมาบูชากัน พระแก้วล้ำสำคัญเกินบรรยาย |
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรแก้วมรกตองค์นี้ มีตำนานยาวนานมาก กำเนิดขึ้นที่เมืองพันพาน บริเวณพระแสงไชยา แล้วถูกอัญเชิญไปอยู่นครศรีธรรมราช ซึ่งเรียกนามว่าลังกาบ้าง ปาตลีบุตรบ้าง ต่อมาถูกเคลื่อนย้ายไปอยู่กัมพุชประเทศ คือกัมพูชาในกาลต่อมา เมื่อเกิดมหาอุทกภัยในกัมพุช พระเจ้าอาทิตยราชแห่งละโว้ อโยธยา เสด็จไปอัญเชิญกลับมาอยู่เมืองไทย ภายหลังไปอยู่กำแพงเพชร เชียงราย ลำปาง และเชียงใหม่ ต่อมาสมเด็จพระไชยเชฎฐาธิราช จากหลวงพระบางมาครองเชียงใหม่ แล้วกลับไปครองหลวงพระบางพร้อมนำพระแก้วมรกตไปด้วย ต่อมาทรงแปรพระราชฐานจากหลวงพระบางลงไปประทับนครเวียงจันทน์ ก็นำพระแก้วมรกตลงไปไว้เวียงจันทน์ เมื่อเวียงจันทน์เสียแก่กรุงสยาม พระแก้วมรกตจึงถูกอัญเชิญกลับมาเมืองไทย และประดิษฐานอยู่กรุงเทพฯ จนถึงกาลปัจจุบันนนี้แล...
เต็ม อภินันท์ สถาบันกวีนิพนธ์ไทย ๙ สิงหาคม ๒๕๖๐ ขอขอบคุณเจ้าของภาพนี้ในเน็ต
|
รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, ลิตเติลเกิร์ล, กร กรวิชญ์, ลมหนาว ในสายหมอก, น้ำหนาว, รพีกาญจน์, ตูมตาม, ปลายฝน คนงาม, ปิ่นมุก, ก้าง ปลาทู, กอหญ้า กอยุ่ง, มดดำ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
- พระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์) -
ตำนานกล่าวคาบเกี่ยวประวัติศาสตร์ "พระโรจน์ราช"เริ่มจับขยับขยาย อาณาจักรสุโขไทให้กำจาย นโยโบบายผูกมิตรทุกทิศทาง
ล่องลงใต้ไปนครก่อนลากลับ ทรงขอรับพุทธรูป"ลังกา"สร้าง นาม"พุทธสิหิงค์"ศิลป์สุภางค์ เป็นแบบอย่่างพระพุทธรูปไทย
พระโรจน์ราช"คือ"ศรีอินทราทิตย์" ทรงผูกมิตรต่อเนื่องหมดเมืองใต้ เบิกทางสู่การรวมชาติที่ขาดไกล เข้าอยู่ในขอบเขตประเทศเดียว
ขอธิดาเจ้านครเป็นสะใภ้ เพื่อผูกให้สัมพันธ์มั่นแน่นเหนียว จึ่งแคว้นกลางแคว้นใต้ได้ฟั่นเกลียว โดย"ผูกเสี่ยว"รักกันแต่นั้นมา |
มีข้อสังเกตอยู่ว่า พระพุทธสิหิงค์ที่ถือว่าเป็นองค์จริง คือองค์ที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ฯ กรุงเทพฯ นั้น เป็นพระปางสมาธิ ประทับนั่งสมาธิราบ สังฆาฏิยาว แบบสุโขทัย ส่วนพระพุทธสิงห์องค์ที่อยู่เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช และที่อื่น ๆ นั้น ล้วนเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งข้ดสมาธิเพชร สังฆาฏิสั้น แบบเชียงแสนสิงห์หนึ่ง ทำให้น่าฉงนอยู่ เรื่องราวของพระพุทธรูปองค์นี้มีความสับสนมากกว่าพระแก้วมรกต เป็นเรื่องที่ควรศึกษาหาความจริงกันต่อไป
เต็ม อภินันท์ สถาบันกวีนิพนธ์ไทย ๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๑ ขอขอบคุณเว็บฯเจ้าของภาพนี้ในเน็ต |
รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, ตูมตาม, ฟองเมฆ, กร กรวิชญ์, ลิตเติลเกิร์ล, ลมหนาว ในสายหมอก, น้ำหนาว, รพีกาญจน์, ปลายฝน คนงาม, ปิ่นมุก, ก้าง ปลาทู, กอหญ้า กอยุ่ง, มดดำ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
- ประวัติศาสตร์ไทยเพิ่งเริ่มต้น -
ไทยเริ่มต้นประวัติศาสตร์เป็นชาติใหม่ "สุโขทัย"ไล่ขอมสิ้นคุณค่า ตั้งกรุงไกรศููนย์กลางสร้างอาณา กว้างไกลกว่าเผ่าใดในแหลมทอง
"พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์" จารึกติดหลักศิลาประกาศก้อง "แม่กูชื่อนางเสือง"งามเรืองรอง "ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน"เลย
ข้อความในศิลาที่จารึก เป็นบันทึกประวัติศาสตร์ชาติเปิดเผย คือจารึกพ่อขุนรามฯนามคุ้นเคย ทรงเอื้อนเอ่ยเรื่องราวเล่าความจริง
"ขุนศรีอินทราทิตย์"ที่องอาจ เริ่มสร้างชาติชนไทยขึ้นใหญ่ยิ่ง มีลูกห้าคนให้ได้พึ่งพิง ตระเวนชิงดินแดนรวมแคว้นไทย |
อภิปราย ขยายความ ประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ผ่านมาเริ่มต้นจากกำเนิดพระราชวงศ์พระร่วง ณ สุโขทัย ในปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ โดยใช้ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ซึ่งเรียกกันว่า จารึกพ่อขุนรามคำแหง เป็นหลักฐานพยานในการอ้างอิง ศิลาจารึกหลักนี้จารึกอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทยลงในแท่งหินทรายแป้งรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า ด้านที่ ๑,๒ มีอักษรด้านละ ๓๕ บรรทัด ด้านที่ ๓,๔ มีอักษรด้านละ ๒๗ บรรทัด จารึกเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๓๕ ตั้งไว้ในเมืองสุโขทัย(เก่า) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ สมัยที่เป็นพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฏฯ ทรงพบที่เนินปราสาทร้างในเมืองเก่าสุโขทัย และนำลงไปกรุงเทพฯเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๖
ความที่อ่านได้จากจารึกหลักนี้ทำให้ทราบว่า มีบุคคลนามว่า ศรีอินทราทิตย์เป็นผู้ปกครองแคว้นสุโขทัย มีภรรยาชื่อ นางเสือง มีลูก ๕ คน เป็นชาย ๓ หญิง ๒ ปรากฏนาม ๑ ใน ๕ คนของลูก ว่า "บานเมือง" เป็นลูกชายคนรอง ผู้ทำจารึกที่ใช้นามแทนตัวว่า "กู" เป็นลูกชายคนที่ ๓ ต่อมาปรากฏนามว่า ราม คือ พ่อขุนรามคำแหง หรือรามราช และได้รับยกย่องให้เป็นมหาราชพระองค์แรกแห่งชาติไทย
ความในจารึก ๑๘ บรรทัดแรก เป็นคำที่พ่อขุนรามคำแหงทรงจากรึกหรือโปรดให้จารึก ว่า " พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสาม ผู้ญีงโสง พี่เผือผู้อ้ายตายจากเผือเตียมแต่ยังเล็ก......" เป็นข้อความใน ๓ บรรทัดแรก ความแค่นี้แต่ให้ความหมายที่ต้องตีความกันมากมาย นักภาษาทั้งหลายลองอภิปรายกันดูนะครับ.
เต็ม อภินันท์ สถาบันกวีนิพนธ์ไทย ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๐ ขอขอบคุณเจ้าของภาพนี้ในเน็ต |
รายนามผู้เยี่ยมชม : ลมหนาว ในสายหมอก, Black Sword, ฟองเมฆ, น้ำหนาว, ปลายฝน คนงาม, ปิ่นมุก, ก้าง ปลาทู, รพีกาญจน์, กอหญ้า กอยุ่ง, กร กรวิชญ์, มดดำ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
ภาพจำหลักฐานข้างพระบรมรูป พ่อขุนรามคำแหงชนช้างกับขุนสามชน Cr. ภาพโดยคุณ Hartmann Linge - ได้นาม "พระรามคำแหง" -
"เมื่อกูขึ้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า" "ขุนรามฯ"เล่าเรื่องลึกรบศึกใหญ่ "ขุนสามชน"เมืองฉอดลอดเขาไพร เข้ามาใน"เมืองตาก"ตะลุยตี
"พ่อกูไปรบขุนสามชนหัวซ้าย" "สามชน"กรายทางขวาไพร่ฟ้าหนี" "กูบ่หนี"เข้าประจัญในทันที ก่อน"ขุนศรีฯ"ทัพใหญ่ไล่ตามทัน
"ตนกูพุ่งช้างขุนสามชน"จนพ่าย ด่วนหนีตายกลับ"ฉอด"อย่างย่อยั่น "พ่อกูจึงขึ้นชื่อกู"ให้รู้กัน "ชื่อพระรามคำแหง"พลันแต่นั้นมา |
นัยว่า โอรสพ่อขุนศรีอินทราทิตย์องค์ที่ ๓ นั้นมีรามเดิมว่า "ราม" ที่แปลว่า ขนาดกลาง หรือขนาดย่อม หรืออาจจะหมายถึงพระรามอวตารของพระนารายณ์เป็นเจ้าก็ได้ เจ้ารามทรงบอกเล่าไว้ในแผ่นศิลาว่า เมื่อพระองค์มีอายุได้สิบเก้าปี ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด (สันนิษฐานได้ค่อนข้างแน่ชัดว่า คือเมืองเก่าในอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก) ยกพลมาตีเมืองตาก(ที่อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก) พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ยกพลไปต่อต้าน มีพระรามราชโอรสเป็นแม่ทัพหน้า ทัพทั้งสองปะทะกันแล้ว ขุนสามชนไสช้างมาสเมืองเข้าใส่กองทัพหน้า ไพร่พลหนีกระจัดกระจาย แต่พระรามไม่หนี กลับไสช้างเข้าต่อสู้กับขุนสามชน ช้างทรงชื่อเบกพล(หรือเบิกพล) ของพระรามชนช้างมาสเมืองของขุนสามชนพ่ายหนีไป พ่อขุนศรีอินทราทิตย์โสมนัสยิ่งนัก จึงทรงตั้งพระนามเจ้ารามว่า "พระรามคำแหง" เป็นเนมิตกนาม(นามที่เกิดขึ้นตามเหตุ) ตั้งแต่นั้นมา......
เต็ม อภินันท์ สถาบันกวีนิพนธ์ไทย ณ พิพิธภัณฑ์หุ้นขี้ผึ้งไทย ๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๑ ขอขอบคุณเว็บฯเจ้าของภาพนี้ในเน็ต |
รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, ฟองเมฆ, ปลายฝน คนงาม, ลิตเติลเกิร์ล, น้ำหนาว, รพีกาญจน์, กอหญ้า กอยุ่ง, กร กรวิชญ์, ลมหนาว ในสายหมอก, ก้าง ปลาทู, มดดำ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช - กตัญญุตาคุณในขุนรามฯ -
เมื่อชั่วพ่อกูกูบำเรอแก่พ่อ" จารึกข้อความนี้มีคุณค่า กตัญญุตาธรรมทรงนำพา เทิดบูชาพ่อแม่แลพี่ตน
"กูไปตีหนังวังช้างได้" เอามาให้พ่อหมดไม่ตกหล่น "กูได้ตัวเนื้อตัวปลา"มาเปรอปรน หมากไม้ผลส้มหวานมอบมากมาย
"กูได้ปั่วได้นางได้เงือนทอง" เอามากองมอบพ่อแม่แผ่ขยาย เลี้ยงบำรุงให้อยู่สุขสนุกสบาย "พ่อกูตายยังพี่กูกูบำเรอ"
ปรนนิบัติต่อพี่ที่เหมือนพ่อ บำรุงต่อเช้าค่ำสม่ำเสมอ "พี่กูตาย"ไร้คนจะปรนเปรอ ไพร่เสนอครองวังเวียงทั้ง"กลม".......... |
ความในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ในเครื่องหมายคำพูดข้างบนนี้ เป็นคำที่พ่อขุนรามคำแหงทรงจารึกไว้ด้วยพระองค์ิเอง ถอดความได้ว่า ในรัชสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ครองกรุงสุโขทัยนั้น พระรามคำแหงไปแสวงหา "ทรัพย์ในดินสินในน้ำ" เที่ยวตีบ้านเล็กเมืองน้อยที่เป็นอิสระได้ไว้ในอำนาจ ก็นำมาถวายพระราชบิดา ไปคล้องช้างได้ก็นำมาถวายพระราชบิดา ได้เนื้อได้ปลาก็นำมาเปรอพระราชบิดา ได้ปั่วได้นาง (ข้าชายหญิง) ได้เงินได้ทองนานาก็นำมาถวายพระราชบิดา ครั้นพ่อขุนศรีฯ สิ้นพระชนม์แล้วก็บำรุงบำเรอพระเชษฐา (ขุนบานเมือง) เช่นเดียวกับที่บำรุงบำเรอเปรอปรนพระราชบิดา ครั้นขุนบานเมืองสิ้นพระชนม์แล้ว พระองค์จึงได้ครองราชสมบัติกรุงสุโขทัยทั้งหมด.
เต็ม อภินันท์ สถาบันกวีนิพนธ์ไทย ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๑ ขอขอบคุณเว็บฯเจ้าของภาพนี้ในเน็ต |
รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, น้ำหนาว, รพีกาญจน์, กอหญ้า กอยุ่ง, กร กรวิชญ์, ลิตเติลเกิร์ล, ฟองเมฆ, ปลายฝน คนงาม, ลมหนาว ในสายหมอก, ก้าง ปลาทู, มดดำ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
- เมืองสุโขไทนี้ดี -
"เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง"นี้ งอกความดีทุกด้านบรรสานสม "ในน้ำมีปลาในนามีข้าว"ชม แดนอุดมสมบูรณ์อุ่นกายใจ
เจ้าเมืองไม่เก็บภาษีของมีค่า เพื่อนจูงวัวไปค้า"ก็ค้าได้ หรือ"ขี่ม้าไปขาย"ก็ขายไป หรือ"ใครใคร่ค้าช้าง"ไม่ขวางกัน
"ใคร่ค้าเงือนค้าทอง"ไม่ข้องค้า จึ่ง"ไพร่ฟ้าหน้าใส"ได้สรวลสันต์ แสนหรรษาค้าขายไม่วายวัน สร้างสัมพันธไมตรีที่ยืนยง
สุโขไทเป็นศูนย์กลางทางการค้า รัฐก้าวหน้าทุกด้านสมประสงค์ ปวง"ไพร่ฟ้า"ชื่นบานสุขบรรจง ล้วนซื่อตรงต่อรัฐมั่นศัทธา..... |
"......เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหงเมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลาในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลูท่าง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค่าม้า ค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทอง ค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส...."
คำที่ยกมาแสดงข้างบนนี้เป็นความในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เป็นความต่อจากที่พระองค์ทรงจารึกไว้ถึงบรรทัดที่ ๑๘ จากนั้นทั้งหมดเป็นความที่ข้าราชสำนักสุโขทัยจารึกต่อ หรือไม่ก็ พญาลิไท(ราชนัดดาของพ่อขุนรามฯ) ผู้เป็นบรรณาธิการจัดทำจารึกหลักนี้ขึ้น เป็นผู้จารึกความ บอกเล่าเรื่องราวในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง(สมเด็จปู่) ไว้เป็นประวัติศาสตร์
ในจารึกข้างต้นกล่าวว่าสมัยพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยดี ในน้ำมีปลาในนามีข้าว พ่อขุนรามคำแหงเปิดเมืองสุโขทัยให้เป็นตลาดการค้าเสรี ใครจะนำช้างม้าโคกระบือ เงินทอง ไปค้าขายก็ให้ค้าขายกันได้ตามใจชอบ ทางรัฐบาลไม่เก็บภาษีอากร ไพร่ฟ้าประชาชีมีความสุข หน้าตลอดกาล...
เต็ม อภินันท์ สถาบันกวีนิพนธ์ไทย ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขีผึ้งไทย ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๑ ขอขอบคุณเจ้าของภาพนี้ในเน็ต |
รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, ฟองเมฆ, กร กรวิชญ์, ลิตเติลเกิร์ล, กอหญ้า กอยุ่ง, รพีกาญจน์, ปลายฝน คนงาม, ลมหนาว ในสายหมอก, น้ำหนาว, ก้าง ปลาทู, มดดำ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
- กฎหมายมรดก พ่อขุนรามฯ -
นักกฎหมายมรดกล้วนยกย่อง ความคิดของพ่อขุนรามฯงามสง่า วางกฎเกณฑ์มรดกตกทอดมา ตัดปัญหาเข้าถือยื้อแย่งกัน
เมื่อ"ลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแลั- ล้มตายหายกว่า"แน่ไม่แปรผัน "เหย้าเรือนพ่อเชื้อเสื้อคำมัน- ช้างขอลูกเมีย"นั้นไม่ผันแปร
อีก"เยียข้าวไพร่ฟ้าข้าไท"มาก พร้อม"ป่าหมากป่าพลู"ซึ่งรู้แน่ ตกแก่ลูกหลานในสายเลือดแท้ ไร้ญาติแล้ริบเอาเข้ากองกลาง |
กฎหมายมรดกของไทยฉบับแรก นักกฎหมายปัจจุบันยอมรับกันว่า ได้แก่ข้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๑ นี้เอง ท่านเขียนเป็นตัวบทไว้ว่า "ลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแล้ ล้มหายตายกว่าเหย้าเรือนพ่อเชื้อเสื้อคำมัน ช้างขอลูกเมียเยียเข้าไพร่ฟ้าข้าไท ป่าหมากป่าพลูพ่อเชื้อมัน ไว้แก่ลูกมันสิ้น"
ความหมายในจารึกนี้ คือลูกเจ้าลูกขุนและใครๆในสุโขทัย เมื่อล้มหายตายจากไป(ตายกว่า) สมบัติทั้งปวงอันมีบ้านเรือนเรือกสวนไร่นาป่าหมากป่าพลูช้างขอลูกเมียยุ้งฉางข้าวของพ่อเชื้อเสื้อคำ ให้ตกแก่ลูกหลานผู้สืบเชื้อสายตระภูลทั้งหมด
คำว่า "พ่อเชื้อ" คือพ่อผู้บังเกิดเกล้าผู้ให้กำเนิด(ทำให้เกิด) "เสื้อคำ" คือแม่บังเกิดเกล้า ผู้เป็นแดนเกิด.
เต็ม อภินันท์ สถาบันกวีนิพนธ์ไทย ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๑ ขอขอบคุณเจ้าของภาพนี้ในเน็ต |
รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, กร กรวิชญ์, ปลายฝน คนงาม, ลิตเติลเกิร์ล, ลมหนาว ในสายหมอก, เนื้อนาง นิชานาถ, ฟองเมฆ, น้ำหนาว, รพีกาญจน์, ก้าง ปลาทู, มดดำ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
ภาพจำหลักฐานข้างพระบรมรูป จูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ค้า Cr. ภาพโดยคุณ Hartmann Linge - น้ำพระทัยพ่อขุนรามฯ -
"ไพร่ฟ้าลูกเจ้าลูกขุนผิแลผิดแผก- แสกว้างกัน"พลันแยกก่อนแตกกว้าง "สวนดูแท้แล้จี่งแล่งความ"ตามทาง แก่สองข้างยุติธรรมความเที่ยงตรง
"บ่เข้าผู้ลักมักผู้ซ่อน"ตัดรอนสิทธิ์ ผิดเป็นผิดถูกเป็นถูกทุกประสงค์ "เห็นข้าวท่านบ่ใคร่พีน"ยินดีจง รู้จักปลงใจปองละต้องการ
"เห็นสินท่านบ่ใคร่เดือด"ใจเงือดเงื้อ ยึดถือเพื่อตนบ้างอย่างหน้าด้าน "คนใดขี่ช้างมาหา"ให้เนานาน ช่วยประสานสร้างค่าอย่างปรานี
"พาเมืองมาสู่ช่อยเหนือเฟื้อกู้" จัดให้อยู่เป็นหลักแหล่งศักดิ์ศรี ไร้บ่าวไพร่คชาเงินพาชี ทรงยินดีหาให้ไม่รำคาญ...... |
ความในจารึกตอนนี้กล่าวว่า เมื่อลูกเจ้าลูกขุน ไพร่ฟ้าข้าไท เกิคความคิดเห็นแตกต่างขัดแย้งทะเลาะวิวาทกัน พ่อขุนรามคำแหงทรงไต่สวนความจนได้ข้อเท็จจริงแล้ว ทรงตัดสิน(แล่ง) คดีความอย่างเที่ยงตรง(ด้วยซื่อ) ไม่เข้าข้างใดด้วยเห็นแก่หน้ากันหรือรับสินบนใด ๆ คนในเมืองสุโขทัยอยู่กันอย่างสันโดษ คือยินดีในสิ่งที่ตนมี สิ่งที่ตนได้ที่ตนถึง เห็นทรัพย์สินของคนอื่นก็ไม่ยินดียินร้าย ใคร่ได้เป็นของตน(เห็นเข้าท่านบ่ใคร่พีน เห็นสินท่านบ่ใคร่เดือด) ครั้นมีใครขี่ช้างมาหาพาเมืองมาสู่ พ่อขุนรามช่วยเหนือเฟื้อกู้ รับอุปการะบำรุงให้อยู่เย็นเป็นสุข....
เต็ม อภินันท์ สถาบันกวีนิพนธ์ไทย ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๑ ขอขอบคุณเจ้าของภาพนี้ในเน็ต |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
ภาพจำหลักฐานข้างพระบรมรูป ภาพพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงรับเรื่องราวร้องทุกข์ของราษฎร Cr. ภาพโดยคุณ Hartmann Linge - กะดิ่งแขวนที่ปากปูด -
"ได้ข้าเสือกข้าเสือหัวพุ่งหัวรบ" ที่สยบยอมทรงคิดสงสาร "บ่ฆ่าบ่ตี"ไว้ใช้การงาน เป็นทหารกองหลวงทะลวงฟัน
ที่"ปากปูด"สภาเปิดประเสริฐยิ่ง "มีกะดี่งอันณื่งแขวนไว้หั้น" "ไพร่ฟ้าหน้าปกกลางบ้านกลางเมือง"นั้น ต่าง"ไปลั่นกะดี่ง"ร้องทุกข์ของตน
"พ่อขุนรามคำแหงได้- ยินเสียงเรียก"เร็วไวสอบปลายต้น "สวนความแก่มันด้วยซื่อ"ไม่ซ่อนกล ประชาชนทั้งมวลล้วนชื่นชม
เป็นร่องนำตำนานการร้องทุกข์ ยุคต่อยุคเปลี่ยนตามความเหมาะสม พัฒนา"ปากปูด"เปิดเงื่อนปม ไทยนิยมมีใช้หลายสภา |
*สีแดง : เขียนตามการถอดจากรูปอักขระเดิม ความในจารึกตอนนี้กล่าวว่า พ่อขุนรามคำแหงไปตีบ้านเล็กเมืองน้อย ได้ข้าศึกและโจรผู้ร้ายแล้วไม่ตีไม่ฆ่า เลี้ยงไว้เป็นกำลังสร้างบ้านแปงเมือง ที่ดงตาลอันเป็นที่ว่าราชการของพ่อขุนรามคำแหงนั้น มีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้ ใครมีเรื่องเดือดร้อนก็ไปลั่นกระดิ่งร้องทุกข์ พ่อขุนรามคำแหงได้ยินเสียงกระดิ่งเรียกก็ออกมาพบ ไต่สวนคดีและตัดสินคดีความให้โดยยุติธรรม
ข้อความตรงนี้ท่านอ่านว่า "ที่ปากกระตูมีดระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้" แต่ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยตรงคำว่า "ปากประตู" ที่ถูกควรอ่านว่า "ปากปูด" เพราะในจารึกท่านวางสระพยัญชนะเรียงไว้ว่า "ปาก ูปต" วางสระอูไว้หน้าตัว ป จะอ่านว่า ประตู มิได้ ต้องอ่านว่า ปูต คำว่าปูต ปัจจุบันเราใช้เป็น พูด อาการ ปูด คือ โน โป ขึ้น ปากปูด คือพ่นหรือเป่าเสียงออกจากปาก เป็นเรื่องราวสารพัดตามแต่ลิ้นจะแต่งเสียง ในปัจจุบัน เราใช้คำว่าปูด เช่น ห่้ามปูด คือห้ามพูด
ที่"ปากปูด" หมายถึงที่ร้องทุกข์ ใครมีเรื่องทุกข์ร้อนอะไรก็เอามาปูดกันในที่นี้ด้วยการลั่นกระดิ่ง เช่นเดียวกับศาลไคฟงของเปาบุ้นจิ้น ใครมีเรื่องอะไรก็ไปตีกลองร้องทุกข์นั่นแล
เต็ม อภินันท์ สถาบันกวีนิพนธ์ไทย ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๑ ขอขอบคุณเจ้าของภาพนี้ในเน็ต |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|