ฉันท์ Tip ตอนที่ ๓: การวางเสียงตามฉันทลักษณ์มาณวกฉันท์ เป็นฉันท์ที่ไม่ใคร่นิยมเขียนกันสักเท่าไหร่ เนื่องจากแต่งเพื่อสื่อสารเรื่องราวได้ค่อนข้างยาก
แต่อย่างไรก็ตาม ฉันท์ชนิดนี้เป็นฉันท์ที่ผมโปรดปรานมากที่สุด จึงขอดันทุรังเอาเทคนิคมาเผยแพร่กันนะครับ
ผิว่า...จะมีเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ท่านใดปันใจมาบ้าง สักนิดส์นึงก็พอ
กรณีศึกษามาณวกฉันท์ ๘ มาณวกฉันท์ ๑ บท มี ๘ วรรค ๆ ละ ๔ เสียง

ที่มา:
http://www.st.ac.th/bhatips/images/chan_manawa8.gifจะเห็นว่าทุกวรรค มีตำแหน่งเสียง ลหุ เหมือนกัน คือ ตำแหน่งที่ ๒ และ ๓ ที่กลางวรรค
ดังนั้น การวิเคราะห์ทางเลือกของแต่ละวรรคก็จะเหมือนกัน
ทางเลือกที่ ๑: คำโดดลหุ ๒ คำต่อกัน เช่น ก็เพราะ, ก็มิ, ก็บ่
ด้วย
ก็เพราะว่า
ทางเลือกที่ ๒: คำโดดลหุ ๑ คำ + คำธรรมชาติหรือคำประยุกต์เสียง ๑ คำ เช่น มิประวิง, พักตระก็... (พัก-ตระ-ก็)
เธอ
มิประวิงพักตระก็เฉา
ทางเลือกที่ ๓: คำธรรมชาติหรือคำประยุกต์เสียง ๑ คำ เช่น เนตระ (เนด-ตะ-ระ), ชลนา (ชะ-ละ-นา)
เนตระหมอง
นอง
ชลนาก่อง
ยุพเยาว์ทิ้ง
มละเรา
เหงา
อุระกรม
จึ่ง
ดละให้
ถูก
มิตระเสียบ
เหยียบ
ดนุจม
คว้า
นุชะชม
เย้ย
จิตะชาย
ทางเลือกที่ ๔: คำธรรมชาติหรือคำประยุกต์เสียง ๒ คำ เช่น เทวะพิโรธ
เทวะพิโรธตัวอย่างเนตระหมอง นองชลนา
ด้วยก็เพราะว่า ก่องยุพเยาว์
เธอมิประวิง ทิ้งมละเรา
พักตระก็เฉา เหงาอุระกรม
เทวะพิโรธ โกรธ ฤ กระไร
จึ่งดละให้ รักบ่ภิรมย์
ถูกมิตระเสียบ เหยียบดนุจม
คว้านุชะชม เย้ยจิตะชาย
ศรีเปรื่อง
๘ ต.ค. ๒๕๕๖