ความไม่สมจริงในละครดัง
ไม่ทราบว่าในเว็บนี้มีใครที่ได้ติดตามดูละครดังทางช่องสาม "บุพเพสันนิฐาน"กันไหม
ผมไม่ได้ติดตามดูสด แต่ว่า ดูย้อนหลังจากยูทูป ดูสามวันจบเลย

ก็อย่างที่ทราบกันดูว่า "ละครบุพเพสันนิษฐาน" นั้น เป็นละครแต่งย้อนยุค
ตัวเอกหรือนางเอก เป็นคนในยุคปัจจุบันที่ย้อนชาติไปเกิดในอดีต
เพราะฉะนั้น จึงไม่แปลก ทีในละครเรื่องนี้ นางเอก หรือเกศสุรางค์ จะพูดจา
โดยนำเอาคำพูดของคนในบุคสมัยนี้ ไปใช้พูดในสมัยอดีต ทำให้ตัวละครซึ่งเป็นคน
ในยุคเมื่อสามร้อยปีที่แล้วไม่รู้เรื่อง
แต่สิ่งที่แปลกก็คือ ตัวละครหลายในละครเรื่องนี้ ซึ่งตามบทแล้ว เป็นคนในยุคอดีต
ย้อนหลังไปสามร้อยปีกว่า ไม่น่าจะีู้จักภาษาที่ใช้กันในปัจจุบัน แต่กลับรู้จัก
และใช้ภาษาในปัจจุบันบางคำพูด เช่น
คำว่า"
ประชาชน"
ตัวอย่าง ตอนที่พระเภทราชาไปพูดกับสมเด็จพระนารายณ์ ว่า ขุนหลวงยอมให้ไอ้ฝรั่งไพร่(เจ้าพระยาวิชเยนทร์)
มากดขี่ข่มเหงประชาชน ซึ่งผมเองก็ไม่แน่ใจว่า ในยุคสมัยของสมเด็จพระนารายณ์
มีการใช้คำว่า ประชาชนแล้วหรือ ?? หรือว่า เป็นความพลั้งเผลอของผู้ประพันธ์ หรือคนเขียนบทเอง ?
คำว่า"
ธนบุรี"
ผมเองก็ไม่ค่อยเก่งประวัติ จึงไม่ทราบว่า ในยุคสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้น
ไทยเรามีคำว่า "ธนบุรี" แล้วหรือ ผมนึกว่า ธนบุรีนี้ เกิดในยุคสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน
ภายหลังอาณาจักรอยุธยาล่มสลาย
เห็นได้จากที่พระเพทราชา เข้าไปต่อว่าสมเด็จพระนาราณ์ว่า ปล่อยให้ ไอ้ฝรั่งไพร่
มันคุมตัวประชาชนและสึกพระสงฆ์ เพื่อไปสร้างป้อมที่บางกอกและฝั่งธน
ในยุคสมัยสมเด็จพระนาราณ์ มีฝั่งธนได้อย่างไร
"คำว่า
ชมจันทร์"
ในละคร จะมีฉากที่ พระเอกนางเอก(พี่หมื่น กับออเจ้า) บอกว่า ชมจันทร์ หรือพระจันทร์
ในยุคสมัยที่ผมเด็กๆนั้น ตามชนบท ต่างจังหวัด เราไม่เรียกพระจันทร์ ว่าพระจันทร์ดวงจันทร์
แต่เรามักเรียกกัยว่า"เดือน" เช่น เดือนขึ้น เดือนหงาย แสงเดือน
แม้แต่เพลงลูกทุ่งในยุคสัก 50-60 ปีที่แล้ว เนื้อเพลงส่วนใหญ่มาก
เมื่อพูดถึงดวงจันทร์ มักใช้คำว่าเดือน อาทิเช่น
เพลง เดือนต่ำดาวตก ร้องไห้กับเดือน ฝากใจไว้ที่เดือน คนชื่อเดือน หลบเดือน
เดือนลับฟ้า
หรือเนื้อเพลงเช่น" คืนไหน คืนเดือนมืด พี่จะสวมเสื้อยืดไปยืนคอยน้องนาง"
กวีหรือนักแต่งเพลงในยุคเก่า ใช้คำว่า เดือนหมด
แต่กวีในยุคใหม่ เวลาพูดถึง ดวงเดือนในบทกวี จะใช้คำว่าจันทร์ หรือพระจันทร์หมดเลย
ไม่มีคำว่าเดือน
แค่ในยุครัตนโกสินทร์เรานี้ ย้อนหลังไปเพียง 50-60 ปีเท่านั้นเรายังใช้คำว่า เดือน
แต่เหตุไฉน คนในยุคสมัยอยุธยาเมื่อสามร้อยปีกว่า กลับไม่่รู้จักดวงเดือน
กลับรู้จักแต่พระจันทร์
ผมว่าคนไทยทุกวันนี้ เริ่มทิ้งภาษาดั้งเดิม ไปมาก
เปลี่ยนไปนับถือภาษาของชาติอื่น ด้วยถือว่า เป็นของสูง เป็นคำสุภาพ
มองภาษาพ่อภาษาแม่ ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ปู่ย่าตายายว่า เป็นคำพูดสามัญ
ไม่ใช่ภาษาชั้นสุง หรือไม่ค่อยสุภาพ
ซึ่งค่านิยมในทำนองนี้ ก็เป็นการค่อยๆทำลายภาษาไทยไปทีละน้อยๆ
ก็ไม่ทราบว่า ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ จะเป็นความพลั้งเผลอของผู้ประพันธ์ หรือคนเขียนบทกันแน่
โดยเฉพาะ ตอนที่บอกว่า ขุนหลวง ปล่อยให้ต่างชาติมากดขี่ข่มเหงประชาชน
เข้าใจว่า คงจะใส่อารมณ์ทางการเมืองเข้าไปมากไปหรือเปล่า(อินจัด)
ก็เลยลืมตัวไปว่า ในยุคสมัยนั้น ยังไม่มีคำว่าประชาชน
:045: