Username:
Password:
บ้านกลอนน้อยฯ
ช่วยเหลือ
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
บ้านกลอนน้อย - กลอนสบายๆ สไตล์ลิตเติลเกิร์ล
>>
ห้องเรียน
>>
ห้องศึกษา กาพย์ โคลง ร่าย
>>
- โคลงสามดั้น -
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน
หัวข้อ: - โคลงสามดั้น - (อ่าน 6788 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Black Sword
ผู้บริหารเว็บ
จำนวนผู้เยี่ยมชม:
65535
ออฟไลน์
ID Number: 88
จำนวนกระทู้: 10394
เมื่อ มยุรธุชกางปีกฟ้อน... มวลอักษรก็ร่อนรำ
|
|
- โคลงสามดั้น -
«
เมื่อ:
11, มกราคม, 2565, 10:31:07 PM »
บ้านกลอนน้อยฯ
Permalink:
- โคลงสามดั้น -
โคลงสามดั้น
โคลงสามดั้น
มีกำหนดพื้นฐานคล้าย
โคลงสามสุภาพ
คลิก
เพียงแต่ปลายบาทสามนั้นรวบเป็นคำโทคู่ และวรรคสุดท้ายให้มีคำเพียงสองคำ (ซึ่งโคลงสามสุภาพมีสี่คำ)
๑)
บาทคณะ และจำนวนคำ
(ดูผังประกอบ)
โคลงสามดั้น บทหนึ่งมี ๓ บาท ดังนี้
บาทที่ ๑
มีหนึ่งวรรค มีจำนวนคำ ๕ คำ
บาทที่ ๒
มีหนึ่งวรรค มีจำนวนคำ ๕ คำ
บาทที่ ๓
มี ๗ คำ แบ่งเป็นสองวรรค คือ วรรคหน้า ๕ คำ วรรคหลัง ๒ คำ
หมายเหตุ :
สำหรับคำมูลที่เป็นลหุแท้ เช่น ขบวน แสดง พิรุธ โพยม สามารถนับเป็น ๑ คำ หรือ ๒ คำก็ได้ ตามแต่ใจผู้แต่ง
๒)
คำสัมผัส
(ดูผังประกอบ)
โคลงสามดั้น
ภายในบท มีสัมผัสบังคับ ๒ แห่ง คือ
-
คำที่ ๕ ของบาทที่หนึ่ง
ส่งสัมผัสสระไปยังคำที่ ๑ ,๒ หรือ ๓ ของบาทที่สอง
-
คำที่ ๕ รูปโทของบาทที่สอง
ส่งสัมผัสสระไปยังคำที่ ๕ รูปโทของบาทที่สาม (หรือบางกรณีอนุโลมเลื่อนมาสัมผัสรูปโทคำที่ ๔ ก็ได้) เช่น
๐ ถิ่นเคยครองครื้น
ครึก
ข้า
ศึก
เหยียบย่ำ
เข้า
จักออกวิ่งทิ้ง
เหย้า
....................... อย่างไร
(ลิลิตดั้นสดุดีบ้านบางระจัน)
๓)
คำเอก
คำโท
โคลงสามดั้น
ในหนึ่งบทกำหนดตำแหน่งบังคับให้มี
คำที่มีรูปเอก
และ
คำที่มีรูปโท
ไว้อย่างละ ๓ แห่ง ดังนี้ (ดูผังประกอบ)
บาทที่ ๑
(ไม่บังคับเอกโท)
บาทที่ ๒
คำที่ ๔ เป็น
คำเอก
คำที่ ๕ เป็น
คำโท
บาทที่ ๓
คำที่ ๒ กับ ๖ เป็น
คำเอก
คำที่ ๔ กับ ๕ เป็น
คำโท
หมายเหตุ :
ตำแหน่งบังคับ
คำเอก
สามารถใช้
คำตาย
แทนคำเอกได้ เช่น
๐ เราฤๅแกลนเกรงหนี
เห็นทียอม
บ่
ได้
เหตุ
เพื่อน
เรา
นี้ไซร้
........................
อวด
หาญ
(ผืนแผ่นไผทนี้ล้ำ แหล่งคุณ)
**
การบังคับตำแหน่ง เอก-โท
ไว้แต่ละวรรคเช่นนี้ในโคลง ก็เพื่อทำให้โคลงเกิดน้ำหนักเสียงในจุดนั้น ๆ ซึ่งไม่ต้องการเสียงสามัญ ทำให้เกิดเสียงเอก โท ตรี สลับกันไปอย่างมีระดับ ฉะนั้น ผู้เขียนโคลงควรดึงจุดนี้ออกมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างเสน่ห์ให้โคลง
๓.๑
การใช้เอกโทษ-โทโทษ
รายละเอียดเรื่อง
คำเอกโทษ คำโทโทษ
ที่ใช้ในโคลง คลิกอ่านได้
ที่นี่
คลิก
อนึ่ง
ในการวางรูปแบบการเขียนโคลงสามดั้นนี้ ผู้เขียนสามารถเขียนเรียงต่อเนื่องกันไปเป็นบันทัดเดียวก็ได้ คือ
๐ ทรัพย์สินในสำนัก ขวักไขว่เข้าเก็บค้น ใครจักให้เข้าปล้น เปล่าดาย
๐ ลูกสาวสายสุดรัก เคยฟูมฟักใฝ่เฝ้า ใครจักยอมให้เย้า หยาบหยาม
(ลิลิตดั้นสดุดีบ้านบางระจัน)
หรืออาจวางอย่างที่เห็นนี้ก็ได้ คือ
๐ ทรัพย์สินในสำนัก .................. ขวักไขว่เข้าเก็บค้น
ใครจักให้เข้าปล้น ....................... เปล่าดาย
ตัวอย่าง
คำประพันธ์โคลงสามดั้น (แสดงคณะ
คำเอก
คำโท
คำสัมผัส
)
เนเมียวสีหบ
ดี
............................ เดิม
ที
นึก
ว่า
น้อย
จึงส่งพล
ห้า
ร้อย
..............................
รีบ
คลา
งาจุนหวุ่นนำ
ทัพ
........................
กลับ
ถูกไทย
ไล่
มล้าง
ตีแตกแยก
ย้าย
คว้าง
......................
ไขว่
หนี
(ลิลิตดั้นสดุดีบ้านบางระจัน)
ดังคชสารเมา
มัน
....................... ใคร
ยั่น
เธอ
ยิ่ง
ซ้ำ
หมาย
แผ่
บุญ
ให้
ล้ำ
..........................
เยี่ยง
เพรง
บรรเลงเกียรติอโนร
ธา
................ ประกาศ
มา
ก่อน
กี้
หมายมั่นใน
ครั้ง
นี้
.............................
มุ่ง
เทียม
(ผืนแผ่นไผทนี้ล้ำ แหล่งคุณ)
สัมผัสระหว่างบท
โคลงสามดั้น
ในกรณีแต่งมากกว่า ๑ บทขึ้นไป มักมีการร้อยโคลง หรือสัมผัสระหว่างบท คือ คำสุดท้ายของบทก่อนหน้า ส่งสัมผัสสระไปยังคำที่ ๑ ,๒ หรือ ๓ ในบาทแรกของบทต่อไป เช่น
เนเมียวสีหบดี ........................ เดิมทีนึกว่าน้อย
จึงส่งพลห้าร้อย ........................... รีบ
คลา
งา
จุนหวุ่นนำทัพ ...................... กลับถูกไทยไล่มล้าง
ตีแตกแยกย้ายคว้าง .................... ไขว่
หนี
ที
หลังเยกินหวุ่น ....................... ยกรุ่นสองเพิ่มซ้ำ
ไทยกลับตีแพ้ช้ำ ........................... ชอก
มา
ครา
สามติงจาโบ ...................... ตำแหน่งโตกว่ากี้
ยกไพร่พลครั้งนี้ ............................ นับทวี
ล้วนฝีมือเข้มแข็ง ...................... แต่กลับแพลงเพลี่ยงพล้ำ
ไทยประจญจ้วงจ้ำ ........................ แตกกระจาย
นายทัพเห็นทวยหาญ ............... แตกฉานมาทุกครั้ง
จัดทัพมิได้ยั้ง ................................. หยุดรอ
สุรินทร์จอข้องรับ ...................... นำทัพพันเศษเต้า
เป็นสี่คราวก้าวเข้า ........................ แข่งรณ
(ลิลิตดั้นสดุดีบ้านบางระจัน)
โคลงสามดั้น
ในวรรณกรรมต่าง ๆ มักใช้แต่งร่วมกับคำประพันธ์ประเภทอื่น ๆ เช่นโคลงสองดั้น โคลงสี่ดั้น ร่ายดั้น จะเห็นได้ในวรรณกรรมประเภทลิลิตดั้นต่าง ๆ
บ้านกลอนน้อยลิตเติลเกิร์ล
- Black Sword -
(หมู มยุรธุชบูรพา)
•
กลับสู่หน้า
สารบัญ
โคลง
คลิก
•
กระโดดสู่ห้องเรียน
กาพย์
คลิก
•
กระโดดสู่ห้องเรียน
กลอน
คลิก
•
กระโดดสู่ห้องเรียน
ฉันท์
คลิก
•
กระโดดสู่ห้องเรียน
ร่าย
คลิก
•
กระโดดสู่ห้องเรียน
กลอนกลบท
คลิก
•
กระโดดสู่ห้องเรียน
โคลงกลบท
คลิก
•
กระโดดสู่ห้องศึกษา
ภาพโคลงกลบท
คลิก
รายนามผู้เยี่ยมชม :
มนชิดา พานิช
,
กรกช
,
กร กรวิชญ์
,
ข้าวหอม
,
ลิตเติลเกิร์ล
,
ฟองเมฆ
,
ลมหนาว ในสายหมอก
,
ขวัญฤทัย (กุ้งนา)
,
ก้าง ปลาทู
,
น้ำหนาว
,
ปลายฝน คนงาม
,
เฒ่าธุลี
,
ปิ่นมุก
บันทึกการเข้า
..
รวมบทกลอน "
ที่นี่เมืองไทย...
"
รวมบทกลอน "
ร้อยบุปผา
"
รวม
บทประพันธ์ทั่วไป
"Black Sword (หมู มยุรธุชบูรพา)"
รวมบทประพันธ์
กลบท
"Black Sword (หมู มยุรธุชบูรพา)"
รวมบทประพันธ์
ฉันท์
"Black Sword (หมู มยุรธุชบูรพา)"
กลอน
สุภาษิต-คำพังเพย-สำนวนไทย
บ้านกลอนน้อย
ลานอักษร มยุรธุชบูรพา
..
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
พิมพ์
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
บ้านกลอนน้อย ลิตเติลเกิร์ล - มยุรธุชบูรพา
-----------------------------
=> อ่านข้อกำหนด กฎระเบียบต่าง ๆ - สมาชิกใหม่ ทักทาย แนะนำตัวที่นี่
=> ห้องกลอน คุณอภินันท์ นาคเกษม
=> ห้องกลอน คุณคนบอ มือสี่
=> สารบัญกลอน สมาชิกนักกลอน
-----------------------------
ห้องเรียน
-----------------------------
=> ห้องเรียนรู้คำประพันธ์ ประเภทกลอน
=> ห้องเรียนฉันท์
=> ห้องเรียน กลบท
=> ห้องเรียน โคลงกลบท
=> ห้องศึกษา ภาพโคลงกลบท
=> ห้องศึกษา กาพย์ โคลง ร่าย
=> ห้องหนังสือ บ้านกลอนน้อย
=> ห้องฟัง การขับ เสภา และอื่น ๆ
-----------------------------
คำประพันธ์ แยกตามประเภท
-----------------------------
=> กลอน ร้อยกรองหลากลีลา
=> คำประพันธ์เนื่องในโอกาสพิเศษต่าง ๆ
=> กลอนธรรมะ-สุภาษิต-ปรัชญา-คำคม
=> กลอนเปล่าสบาย ๆ
=> กลอนจากที่อื่น และจากกวีที่ชื่นชอบ
=> โคลง-กาพย์-ฉันท์-ร่าย-ลิลิต
=> กลบท
=> นิยาย-เรื่องสั้น-บทความ-ความเรียง-เรื่องเล่าทั่วไป
=> ห้องนั่งเล่นพักผ่อน
===> เส้นคั่นสวย ๆ
===> รูปภาพน่ารัก
กำลังโหลด...