แสงประภัสสร
|
Permalink: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๗๔.เวทนา ๒ ถึง ๑๘
 ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๗๔.เวทนา ๒ ถึง ๑๐๘ กาพย์ฉบัง ๑๖ ๑.ภิกษุจงฟังเวท์นา...............หนึ่งร้อยแปดครา เป็นอย่างใดแตกต่างผัน ๒.ธรรมเวทนาสองนั้น............สาม,ห้า,หกครัน สิบแปด,สามสิบหกขาน ๓.เวทนาแปลปาน...................ปวด,ทรมาน ทุกข์,เศร้าโศก,สุขสม ๔.เวทนาหนึ่งในห้าปม..............ขันธ์คงชีพตรม กาย,ใจหม่นหมองเสมอ ๕."เวทนาสอง"รู้เจอ..................ทางกาย,จิตเอ่อ รับอารมณ์มากหลากหลาย ๖."เวทนาสาม"แจงกลาย..........รู้สึก"สุข"ปราย รู้สึก"ทุกข์"และเฉยเฉย ๗."เวท์นาห้า"หน้าที่เอย............."สุขินทรีย์"เปรย ทำให้สุขกายกศานติ์ ๘."ทุกขินทรีย์"ระราน................เกิดทุกข์ยิ่งนาน เพราะบาปก่อเหตุและผล ๙."โสมนัสสินทรีย์"ล้น................ความสุขใจคน จึงยึดความสุขมั่นหนอ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๗๔.เวทนา ๒ ถึง ๑๘
(ต่อหน้า ๒/๒) ๗๔.เวทนา ๒ ถึง ๑๐๘
๑๐."โทมนัสสินทรีย์"ก่อ..............ความทุกข์ใจรอ เจ็บปวดร้าวมิคลาย
๑๑."อุเปกขินทรีย์"รู้หมาย............เฉยเฉยใจพราย มิรู้ทั้งสุข,ทุกข์ตรง
๑๒."เวท์นาหก"รู้สึกคง..............อารมณ์สามบ่ง สุข,ทุกข์,อุเบกขาผอง
๑๓.ผ่านทางทวารหกครอง........ตา,หู,ลิ้นจอง สัมผัสจมูก,กาย,ใจ
๑๔."เวท์นาสิบแปด"ไซร้.............จิตท่องเที่ยวไกล ด้วย"อายะฯ"หกรู้ฉาย
๑๕."โสมนัสสุฯ"หกกราย.............ผ่านรูป,เสียง..ปราย กลิ่น,รส,สัมผัส..ชื่นบาน
๑๖."โทมนัสสุฯ"หกขาน...............ด้วยรูป,เสียง..พาน กลิ่น,รส,สัมผัส..ทุกข์ตรม
๑๗."อุเปกขูปะฯ"หกคม.................ทางรูป,เสียง..ชม กลิ่น,รส,สัมผัส..วางเฉย
๑๘."เวท์นาสามสิบหก"เคย..............ทางเดินสัตว์เอ่ย "เคห์สิต,เนกขัมฯหนีเรือน
๑๙."เคหสิตโสมนัส"เกลื่อน.........สุขในเรือนเตือน เห็นรูป,เสียง..ฯ พอใจฉาน
๒๐."เนกขัมม์โสมนัสฯ"พาน.........หลีกบ้านสุขมาน รูป,เสียง..ฯปรวนมีหกผาย
๒๑."เคหสิตโทม์นัส"ปราย.............ทุกข์ในเรือนกราย ผิดหวังรูป..มีหกหนา
๒๒."เนกขัมม์โทม์นัสฯ"รู้ว่า.......รูป,เสียง..แปรกล้า กระหยิ่มหวังสูงโศกศัลย์
๒๓."เคห์สิตอุเบกขา"นั้น............ชนอยู่เรือนครัน ยังมีกิเลสรูป,เสียง..
๒๔."เนกขัมม์อุเบกขาฯ"เกรียง.........รู้แจ้งไม่เที่ยง รูป,เสียง..คลายกำหนัดหลง
๒๕."เวท์นาหนึ่งร้อยแปด"คง..........กล่าวสามกาลบ่ง อดีต,ตอนนี้,หน้าพูน
๒๖."เวท์นาสามสิบหก"บูรณ์.............นำสามกาลคูณ รวมหนึ่งร้อยแปดเวท์นา ฯ|ะ
แสงประภัสสร ที่มา : สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ๑๘/๒๘๖ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๒๔
เวทนาสอง=คือ เวทนาทางกาย และ เวทนาทางจิต เวทนาสาม=คือ ความรู้สึกสุข ความรู้สึกทุกข์ และ ความรู้สึกไม่ทุกข์ไม่สุข เวท์นาห้า=เวทนาห้า ๑)สุขินทรีย์-ธรรมที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนคือ ความสุขกาย ๒)ทุกขินทรีย์-ธรรมที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนคือ ความทุกข์กาย ๓)โสมนัสสินทรีย์-ธรรมที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนคือ ความสุขใจ ๔)โทมนัสสินทรีย์-ธรรมที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนคือ ความทุกข์ใจ ๕)อุเปกขินทรีย์-ธรรมที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนคือ ความรู้สึกเฉยๆ เวท์นาหก=เวทนาหก คือ ความรู้สึก(สุขทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์) ที่เกิดสัมผัสทางอายตนะ ภายใน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ อายะฯ=อายตนะ ภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และ ธรรรมารมณ์ เวท์นาสิบแปด=เวทนาสิบแปด แบ่งได้ ๑)โสมนัสสุปวิจาร=อาการที่จิตท่องเที่ยวไปในอารมณ์ ๖ อย่างด้วยความสุจใจ โดยผ่านทาง รูป,เสียง,กลิ่น,รส,สัมผัส(สิ่งที่รู้ได้ด้วยกาย) และ ธรรมมารมณ์(สิ่งที่รู้ด้วยใจ) ๒)โทมนัสสุปวิจาร=จิตที่ท่องเที่ยวไปในอารมณ์ ๖ ด้วยความทุกข์ใจ โดยผ่านทาง รูป,เสียง,กลิ่น,รส,สัมผัส และ ธรรมมารมณ์ ๓)อุเปกขูปะวิจาร=อาการที่จิตท่องเที่ยวไปในอารมณ์ ๖ ด้วยความรู้สึกเฉยๆ โดยผ่านทาง รูป,เสียง,กลิ่น,รส,สัมผัส และ ธรรมมารมณ์ เวท์นาสามสิบหก=เวทนาสามสิบหก แบ่งเป็น ๑)เคหสิตโสมนัส -โสมนัสที่อาศัยบ้านเรือน มี ๖ อย่าง โดยผ่านทาง รูป,เสียง,กลิ่น,รส,สัมผัส และ ธรรมมารมณ์ ๒)เนกขัมมสิตะโสมนัส- โสมนัสที่อาศัยการออกจากกาม มี ๖ อย่าง โดยผ่านทาง รูป,เสียง,กลิ่น,รส,สัมผัส และ ธรรมมารมณ์ ๓)เคหสิตโทมนัส-ความทุกข์ใจที่อาศัยบ้านเรือน มี ๖ อย่าง โดยผ่านทาง รูป,เสียง,กลิ่น,รส,สัมผัส และ ธรรมมารมณ์ ๔)เนกขัมมโทมนัส -โทมนัสที่อาศัยการออกจากกาม มี ๖ อย่าง โดยผ่านทาง รูป,เสียง,กลิ่น,รส,สัมผัส และ ธรรมมารมณ์ ๕)เคหสิตอุเบกขา -ความรู้สึกเฉยๆในอารมณ์ ที่อาศัยบ้านเรือน มี ๖ อย่าง โดยผ่านทาง รูป,เสียง,กลิ่น,รส,สัมผัส และ ธรรมมารมณ์ ๖)เนกขัมมอุเบกขา -ความรู้สึกเฉยๆในอารมณ์ ที่อาศัยการออกจากกาม มี ๖ อย่างโดยผ่านทาง รูป,เสียง,กลิ่น,รส,สัมผัส และ ธรรมมารมณ์ (๖×๖=๓๖) เวทนาหนึ่งร้อยแปด=คือเวทนา ๓๖ ที่เป็นอดีต,เวทนา ๓๖ ที่เป็นอนาคต,และเวทนา ๓๖ ที่เป็นปัจจุบัน(เกิดขึ้นเฉพาะหน้า) รวมเป็น ๓๖ × ๓=๑๐๘
(ขอบคุณเจ้าของภาพจาก อินเทอร์เน๊ต)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๗๔.เวทนา ๒ ถึง ๑๘
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๗๕.การบัญญัติความสุขในพระพุทธศาสนา
รการวิปุลลาฉันท์ ๓๒
๑.แม้พระพุทธฯสอนทุกขะเกิดดับ เน้นพิเศษให้ตรับสำคัญสุด พุทธเจ้าสื่อทุกข์ประเดิมรุด เพื่อแสวงสุขตัดกิเลสผลาญ
๒.เมื่อกิเลสทุกข์ดับทลายบุก เสพสุขีไร้ทุกข์ปะปนพาน สุขระดับต่ำ-สูงจะเกิดขาน บรรลุฌานเลิศล้ำสงบกราย
๓.แบ่งระดับความสุขสิสิบขั้น แรกนิกรพฤติดั้นอรีย์ปลาย เริ่มปฐมมีทุกข์ผสมหลาย สูงประณีตสุขล้วนสะอาดใจ
๔.หนึ่งพินิจก่อ"กามคุณห้า" เห็นกะรูปชัดนาคะนึงใฝ่ เสียงและกลิ่น,รส..เพิ่มกำหนัดไข กามคุณก่อสุขหทัย,กาย
๕."กามสุข"เรียกชื่อมันประเจิดล้ำ เขาตริว่าเยี่ยมย้ำถวิลหมาย พุทธองค์ชี้สุขหยาบมิดีกราย สุขสิเหนือกว่านี้ก็มีครอง
๖.สองพระพุทธ์เจ้าชี้ก็"ฌานหนึ่ง" สงฆ์สงัดกามพึ่งละชั่วผอง มี"วิตกความตรึก,วิจารตรอง" ปีติสุขอิ่มใจสิเหนือ"กาม"
๗.สุขะจากฌานหนึ่งมิควรคิด เลิศประจักษ์แจ้งกิจจะแจ่มงาม พุทธเจ้าเตือนสุขอื่นละเอียดวาม มีสถิตย์เหนืออีกระลึกหา
๘.สามเจาะ"ฌานสอง"จิตตะเป็นหนึ่ง ปีติสุขใจพึ่งอุบัติมา ส่วนวิตกกับตรองสงบพา พุทธะบ่งสุขกว่าก็มีสรรค์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๗๔.เวทนา ๒ ถึง ๑๘
(ต่อหน้า ๒/๓) ๗๕.การบัญญัติความสุขในพระพุทธศาสนา
๙.สี่ ณ "ฌานสาม"ปีติหมดวาย จิตอุเบกขากรายระลึกมั่น สัมปชัญญ์พร้อมสุขละเอียดครัน พุทธะชี้สุขกว่าก็มีฉาย
๑๐.ห้า ณ "ฌานสี่"พบอุบกขา จึงละวางเฉยนาฤดี,กาย จิตสะอาดผ่องแผ้วซิพร่างพราย พุทธะกล่าวสุขยิ่งก็มีหนา
๑๑.หก ณ"อากาสาฯ"อรูปฌาน พ้นกำหนดหมายผ่านกะ"รูป"นา เสียงและกลิ่น,รส..หมดจะเหลือคว้า เพ่งเจาะอากาศอันอนันต์ส่ง
๑๒.พิศขันธ์ห้าธรรมมิเที่ยงแท้ คลายกิเลสบ้างแล้สงบลง สุขกำเนิดอันยอดยะยืนยง พุทธะชี้มากกว่าก็มีหมาย
๑๓.เจ็ด ณ "วิญญาณัญฯ"อรูปพรหม เพ่งจรดอารมณ์พินิจกราย จิตเจาะด้วย"วิญญาณ"อนันต์ผาย มุ่งวิปัสส์นากล้าและเพียรมั่น
๑๔.ปัญจะขันธ์ไม่เที่ยงกุทุกข์แท้ จิตตะเป็นเอกแล้ ณ ฌานครัน บรรลุธรรมเกิดสุขยะยิ่งพลัน พุทธะกล่าวสุขเหนือก็มีคอย
๑๕.แปด ณ "อากิญจัญฯ"จะเพ่งว่า เรามิมีใดนาผิเล็กน้อย เฝ้าตริขันธ์ซึ่งมิเที่ยงถอย ธรรมดาต้องดับ ฤ เสื่อมดล
๑๖.จิตดำรงเอกผุดและตั้งมั่น คลายกิเลสลงพลันตะมิพ้น สุขจะเกิดยิ่งตามสภาพผล พุทธะกล่าวยังมีประณีตเลอ
๑๗."เนวสัญญานาฯ"สิเก้าหนา เรียกวะมีสัญญาก็มิเจอ เรียกมิมีสัญญาปลาตเออ ด้วยเพราะเหลือสัญญาละเอียดนำ
๑๘.จิตตะตั้งมั่น"เนวสัญญาฯ" เมื่อละจากฌานคราพิจารณ์ธรรม ธรรมะที่ตัดโอฆะมีย้ำ ผู้สลัดได้ยังมีซิมากหนอ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๗๔.เวทนา ๒ ถึง ๑๘
(ต่อหน้า ๓/๓) ๗๕.การบัญญัติความสุขในพระพุทธศาสนา
๑๙.พุทธเจ้าตรัส"เนวสัญญาฯ" ธรรมมิขัดเกลากล้ากิเลสจ่อ แต่กุสุขยอดเยี่ยมระลึกรอ เป็นเพราะยังมีสุขละเอียดเหนือ
๒๐.สิบ ณ "สัญญาเวทฯ"อรูปฌาน เป็นสมาบัติพานสิสูงเขือ หรือ"นิโรธสามาฯ"จะเรียกครือ เวทนา,สัญญาดับ ณ ฌานนี้
๒๑.เมื่อลุธรรมกาย,ใจมิรู้สึก ปัญญะเห็นตามตรึกกิเลสหนี สุขสิใกล้นิพพานจะทราบดี เป็นบรมสุขยอดสะอาดใส
๒๒.ฌานก่อนอีกเก้าซิสุขน้อย ทุกขะปนอยู่พร้อยมิเทียมได้ การผทมพักผ่อนของ"อนาฯ"ไว กับอร์หันต์เจ็ดวันสงบนาน ฯ|ะ
แสงประภัสสร ที่มา : สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ๑๘/๒๗๘ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๒๕-๑๒๘ พระพุทธฯ,พุทธะ,พุทธองค์,พุทธเจ้า=หมายถึง พระพุทธเจ้า อรีย์ฯ=พระอริยะ กามคุณห้า=คือรูปที่พึงรู้ทางตา อันน่าปรารถนา น่ารัก พอใจ เป็นรูปที่รัก เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด...เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่พึงรู้ทาง หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฌานหนึ่ง=ฌาน ๑ หรือปฐมยาม มีวิตก(ความตรึก),วิจาร(ความตรอง) และปีติ ความอิ่มใจ ฌานที่สอง= ฌานที่ ๒ หรือทุติยฌาน ซึ่ง วิตกและ วิจาร สงบระงับ เหลือแต่ ปีติ ฌานสาม=หรือตติยฌาน เป็น ฌานที่ ๓ ซึ่ง ปีติ(ความอิ่มใจ) สงบระงับ ฌานสี่ =หรือ จตุตถฌาน คือ ฌาน ๔ มีอุเบกขา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข อรูปพรหม=พรหมที่ไม่มีรูป อากาสาฯ=ผู้เข้าสู่ อากาสานัญจายตนะ เพ่งหาอากาศหาที่สุดมิได้ รูปสัญญา(ความจำที่ยึดรูปเป็นอารมณ์)จึงดับลง วิญญาณัญฯ=ผู้เข้าสู่ วิญญาณัญจายตนะ เพ่งวิญญาณหาสุดมิได้ อากิญจัญฯ=ผู้เข้าสู่ อากิญจัญญายตนะ ได้เพ่งว่าไม่มีอะไรแม้แต่น้อย เนวสัญญานาฯ=ผู้เข้าสู่ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ที่ได้เพ่งสัญญาคือความจำได้ เรียกว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เป็นเหตุให้สัญญาหยุดทำหน้าที่ สัญญาเวทฯ=สัญญาเวทยิตนิโรธ หรือ นิโรธสมาบัติ คือสมาบัติที่ดับสัญญา(ความจำ) และ เวทนา(ความรู้สึก) อนาฯ=พระอนาคามี คือพระอริยะเจ้า ลำดับที่ ๓ อร์หันต์=พระอรหันต์ เป็น พระอริยะเจ้าลำดับ ๔ สุดท้าย ที่จะสิ้นอาสวกิเลส ดับทั้ง ราคะ(ความกำหนัด ยินดีหรือความติดใจ),โทสะ(ความคิดประทุษร้าย) และ โมหะ(ความหลง) ลงได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๗๔.เวทนา ๒ ถึง ๑๘
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๗๖.คว่ำหน้ากิน แหงนหน้ากิน เป็นต้น
ตการวิปุลลาฉันท์ ๓๒
๑.คราสมัย"พระสารีฯ"คระไล ราชคฤห์ลุบิณฑ์ไวประสงค์ กิจเสร็จก็หยุดฉันผจง "สูจิมูขิฯ"ไต่ถามประชัน
๒.ท่านคะมำและก้มหน้าเสวย ใช่รึไม่"พระสาฯ"เปรยมิยัน นางริถามวะแหงนหน้าและฉัน ใช่รึไม่"พระสารีฯ"มิรับ
๓.ภิกษุท่านซิหันเฉียงและฉัน ใช่รึไม่"พระสาฯ"ครันมิตรับ นางตริถามปะทิศใหญ่ระยับ ใช่รึไม่"พระสารีฯ"มิยอม
๔.ผู้เจริญมิตอบเลยสกล รับประทานซิไหนยลละม่อม เหตุและผลใดช่วยแนะพร้อม เป็นประโยชน์นิกรชนสิหนา
๕.สาริบุตรแจรงพราหมณ์สราญ ครองชิวี"ดิรัจฉาน"วิชา ดูซิใดจะมงคลก็คว้า เรียกวะกินและก้มหน้าสนอง
๖.สาริบุตรแสดงพราหมณ์สกาว ชีพดิรัจฯแนะดูดาวประลอง เลือกประจงจะหาฤกษ์เหมาะปอง ภิกษุนี้จะแหงนหน้าถวิล
๗.สาริบุตรจะแจงพราหมณ์เจาะรู้ ชีพดิรัจฯเสาะจับคู่ผลิน ชายและหญิงสิสมรสมิผิน ภิกษุนี้ปะทิศใหญ่ดำรง
๘.สาริบุตรขยายความประจักษ์ ชีพดิรัจฯตริรูปลักษณ์วรงค์ เรียนวิชาสิดูรูปผจง เรียกวะหันปะทิศเฉียงตระการ
๙.สูจิมูขิฯชีพเรามิครัน ย่ำดิรัจฯยะเยี่ยงนั้นสถาน เราเสาะภัตรพระธรรมนำประทาน ชนปสาทะมั่นจึงถวาย
๑๐.เมื่อระภัตรก็มาฉันประจำ ชีพเจาะคงริเรียนธรรมละคลาย ไม่มุหวังกระทำอย่างอื่นตะหมาย หลุดละวัฏฏะสงสารระกำ
๑๑."สูจิมูขิ"นักบวชตระเวณ ตามถนนลุทางเด่นคละคล่ำ ศากย์บุตรเสาะภัตรด้วยพระธรรม โทษมิมีถวายภัตรซิเอย ฯ|ะ
แสงประภัสสร ๒ สิงหาคม ๒๕๖๗ ที่มา : สังยุตตนิกาย ขันธวราวรรค ๑๗/๒๙๕ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๒๙-๑๓๐
พระสารีฯ,พระสาฯ=พระสารีบุตร พระอัครสาวกเบื้องขวา ผู้เป็นเอกคัคคตะทางปัญญา สูจิมูขิฯ=นางสูจิมุขี ปริพพาชิกา(นักบวชหญิง) ดิรัจฯ=ดิรัจฉาน ปสาทะ=เลื่อมใส วัฏฏะสงสาร=การเวียนว่ายตายเกิด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๗๔.เวทนา ๒ ถึง ๑๘
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๗๗.พระพุทธเจ้าทรงปวารณาพระองค์
อินทรธนูฉันท์ ๑๒
๑.คราหนึ่งพระพุทธเจ้า.............อยู่เหย้า ณ บุพพะราม ห้าร้อยพระสงฆ์สิงาม..................ในวัน"อุโบฯ"จำนงค์
๒.ทรงกล่าวปวารณา..................ให้กล้าติเตือนพระองค์ ทุกการกระทำผิบ่ง.......................ผิดพลาดกะกายวจี
๓.ท่าน"สาริฯ"เอ่ยวะจา...............เหล่าข้าหละหลายมิมี ไม่ติงพระองค์ตะชี้.......................องค์"สัมมะ"พฤติอุฬาร
๔.เนื่องด้วยพระพุทธ์สิหนา.........มรรคามิเกิดก็สาน ทางใหม่ก็บอกประทาน................ทรงรู้จะแจ้งไสว
๕.พุทธองค์ฉลาดและสอน..........ทรงป้อนสิมรรคลุไกล สาวกเผดินคระไล........................มรรคาลุตามพระองค์
๖.เหล่าสงฆ์และสาริบุตร.............น้อมรุดพระพุทธ์ติบ่ง ตำหนิวะกล่าวกะสงฆ์....................ปวงข้าจะยอมสะสาง
๗.ดูสาริบุตรมิต้อง.......................ถูกมองเพราะทำสว่าง มีปัญญะมากกระจ่าง.....................เฉียบแหลมกิเลสละไว
๘.ดั่งบุตรกษัตริย์จะจ่อ.................กงล้อซิหมุนไผท สามารถจะหมุนซิไกล.....................ต่อมาฉะนั้นเฉวียน
๙.เหมือนสาริบุตรปะธรรม-............จักรล้ำพระพุทธ์ริเวียน แล้วหมุนคะเคลื่อนมิเปลี่ยน..............ทิศทางพระศาสนา
๑๐."สารีฯ"เจาะถามพระองค์.........ไม่ทรงติข้ารึหนา แล้วภิกษุอื่นมิว่า..............................ทำผิดอะไรละหรือ
๑๑.พุทธองค์แจรงทะยอย.............ห้าร้อยพระสงค์ระบือ ไป่เตือนแนะใดเพราะซื่อ.................มีธรรมลุล้ำมหันต์
๑๒."วิชชา,อภิญญะ"กล้า..............."ปัญญาวิมุติ"ละขันธ์ ครองตนสะอาดจรัญ.......................วาจาหทัยกสานติ์
๑๓."วังคีสะ"กล่าวและชม...............โคดมพระพุทธ์ฯสราญ เหล่าภิกษุหลายลิการ.......................ไม่เกิดกิเลสสิพ้น
๑๔.เหมือนดังกษัตริย์นรา...............มองหาธราสิท้น อำมาตย์ซิรอบประจญ......................ต่อสู้ทแกล้วไศล
๑๕.เปรียบสงฆ์ลิเกิดขจาย..............ความตายมลานวลัย นั่งล้อมพระพุทธฯละไม.....................สงครามกิเลสประหาร
๑๖.กองเกวียนพระพุทธ์ฯสินาย.......ทำลายกิเลสระราน สาวกก็บุตรพะพาน............................ปลอดภัยสะอาดวศิน ฯ|ะ
แสงประภัสสร ที่มา : สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ๑๕/๒๘๑ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๓๐-๑๓๑
บุพพะราม=บุพพาราม ที่นางวิสาขา ถวายเป็นที่ประทับ อุโบฯ=วันอุโบสถ ขึ้น ๑๕ ค่ำ (ปกติกำหนดในวันกลางเดือนหรือปลายเดือน แต่วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันออกพรรษา ไม่มีการสวดปาฏิโมกข์ แต่ใช้ ปวารณา แทน) ปวารณา=การอนุญาตให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ สาริ,สารี=พระสารีบุตร อัครสาวก เบื้องขวา และเป็น เอตทัคคะ ผู้เลิศทางปัญญา พระพุทธ์,พระพุทธะ=พระพุทธเจ้า พุทธ์องค์=พระพุทธองค์ สัมมะ=พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มรรคา=หมายถึงธรรมที่ฆ่ากิเลสได้ และเป็นชื่อของโลกุตตรธรรม คู่กับผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรต, สกิทาคามีมรรค,อนาคามีมรรค และ อรหัตตมรรค ธรรมจักร=วงล้อแห่งธรรม เป็นสัญญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา ภิกษุ ทั้ง ๕๐๐=พุทธองค์ชี้ ลุธรรมเลิศประกอบด้วย ๔ พวก ๑) ๖๐ รูปได้วิชชา ๓ เป็นวิชชาเบื้องสูง เกิดจาการ ทำสมาธิสุดยอด ๑.๑.บุพเพนิวาสานุสติญาณ -ระลึกชาติได้. ๑.๒.จุตูปปาตญาณ-หยั่งรู้การเกิดดับของสัตว์ ๑.๓.อาสวักขยญาณ-ญาณหยั่งรู้ความสิ้นอาสวะ ๒) ๖๐ รูปได้ อภิญญา ๖ มีความสามารถในด้านต่างๆ ๒.๑.แสดงฤทธิ์ได้ ๒.๒.ทิพยโสตธาตุ -ได้ยินเสียงทั้งใกล้ไกล ๒.๓.เจโตปริยญาณ-รู้ใจสัตว์ได้ ๒.๔.ผู้สามารถใน บุพเพนิวาสานุสติญาณ-ระลึกชาติย้อนหลังได้ตั้งแต่ ๑ ชาติ ถึง แสนชาติ ๒.๕.ทิพยจักษุ-ตาทิพย์ เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ ว่าเลวหรือประณีต ๒.๖.ได้ อาสวักขยญาณ-ญาณแห่งการหลุดพ้น ทำให้แจ้งด้วย เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ ด้วยปัญญายิ่ง อันหาอาสวะ-กิเลส มิได้ ๓) ๖๐ รูป เป็นอุภโตภาควิมุต-ผู้พ้นกิเลสโดย ๒ ส่วน คือพ้นเพราะสมาธิ พ้นเพราะปัญญา ๔) ๓๒๐ รูป เป็นปัญญาวิมุต-ผู้พ้นจากกิเลสเพราะปัญญา วังคีสะ=พระวังคีสะ คือพระสาวก ที่เป็น เอตทัคคะ ผู้มีปฏิภาณ เป็นเลิศ โคดมพระพุทธเจ้า=ชื่อหนึ่งของพระพุทธเจ้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๗๔.เวทนา ๒ ถึง ๑๘
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๗๘.การทำตนให้ชุ่มด้วยความสุข
สาลินีฉันท์ ๑๑
๑."จุนทาฯ"จงดูจด.................ผินักพรตจะกล่าวไข สาวกศากย์บุตรไว...................กระทำตน"สุขัลฯ"ยิ่ง ๒.ท่านทั้งปวงควรแจง............"สุขัลฯ"แฝงหละหลายจริง สี่อย่างดี,เลวอิง.......................เจาะชนกับ"อรีย์"วงศ์ ๓.สุขเขลาของชาวบ้าน........กิเลสซ่านสิหนาบ่ง สุขยิ่งของผู้ตรง......................"อรีย์"สงฆ์ละสัญโญชน์ ๔.หนึ่งชนผู้ฆ่าเขา................."สุขัลฯ"เร้าปะสุขโลด เหล่าชนลักทรัพย์โฉด............."สุขัลฯ"สองซิสุขหนา ๕.คนพูดเท็จลามปาม............"สุขัลฯ"สามก็สุขมา คนบำเรอกามห้า....................."สุขัลฯ"สี่ก็สุขรี่ ๖.พุทธ์องค์ชี้ทำตน...............สุขีล้นปะฌานสี่ ข้องกับสุขฝ่ายดี.....................มิมุ่งกามเสาะเบียนไผ ๗.ทรงสอนทิ้งสัญโญชน์........กิเลสโหดสิหลงไว ผูกมัดสัตว์เอาไว้.....................กะการวนและเวียนเกิด ๘.ตัดสัญโญชน์สิบได้...........ลุสุขใสอรีย์เกิด ลำดับชั้นบรรเจิด....................ก็สี่ขั้นลุนิพพาน ๙.หนึ่ง"โสดาบัน"โชติ............ละสัญโญชน์สิสามขาน "สักกายฯ"ยึดตนซาน..............."วิจีกิจฯ"ริสงสัย ๑๐."สีลัพพ์ฯ"ติดข้องมาน......พิธีการสิเกินไป ไม่ใช้ปัญญาไข.......................เพราะโง่เขลาจะต้องปราม ๑๑.สองเหมือนโสดาบัน.........ตะเบาพลันกำหนัดกาม อีก"โทสา,หลง"ตาม.................จะเรียกว่า"พระสก์ทาฯ" ๑๒."สก์ทาคามีฯ"แน่...............จะเกิดแค่สิหนึ่งครา ในโลกนี้เพื่อคว้า......................พระธรรมหยุดลิทุกข์ ๑๓.สามเหมือนโสดาบัน.........ตะตัดครัน"กำหนัด"สุข กับ"ความขัดใจ"รุก..................จะเรียกว่า"อนาคาฯ" ๑๔."อนาคาฯ"เมื่อตาย...........จะเกิดฉาย"อุปาฯ"กล้า ที่สุทธาวาสห้า.........................ลุนิพพาน ณ ที่นี้ ๑๕.สี่ตัดสัญโญชน์สิบ...........อร์หันต์ลิบริหมดคลี่ เพิ่มจาก"อ์นาคามีฯ"................ซิห้าถึงนิราวาณ ๑๖.หมดสิ้นพอใจใน..............."อรูป"ไซร้และ"รูป"พาน สิ้นความ"ยึดตน"กราน..............และ"อุทธัจจะซ่านฟุ้ง" ๑๗."ความไม่รู้"หมดนา............"อวิชช"ลิเลิกมุ่ง เปลี่ยนเป็น"วิชชา"รุ่ง................ลุนิพพานสิทันที ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : ปาฏิกสูตร ๑๑/๑๔๕ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๓๒
จุนทาฯ=พระจุนทะเถระ เป็นน้องชายหนึ่งในเจ็ดของพระสาริบุตร มีส่วนร่วมในการสังคายนา สุขัลฯ=สุขัลลิกานุโยค-การทำตนให้ชุ่มด้วยความสุข ของปุถุชน แบ่งเป็น ๔ อย่าง ๑)สุขัลลิกานุโยคที่หนึ่ง เป็นผู้ฆ่า ยังทำตนให้เป็นสุข ๒)สุขัลลิกานุโยคที่สอง -ลักทรัพย์ ถือเอาสิ่งที่เจ้าของมิให้ และทำตนให้ชุ่มด้วยความสุข ๓)สุขัลลิกานุโยคที่สาม พูดเท็จ และยังตนให้เป็นสุข ๔)สุขัลลิกานุโยคที่สี่ บำเรอตนในกามคุณ ๕ (รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ) สัญโญชน์=กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์ หรือร้อยรัดจิตให้จมในวัฏฏะ มี ๑๐ อย่าง แบ่งเป็นสัญโญชน์แบบต่ำ ๕ และแบบสูง ๕ ดังนี้ ๑)สักกายทิฏฐิ-มีความเห็นว่าขันธ์ห้าคือตัวตน ๒)วิจิกิจฉา-ความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย ๓)สีลัพพตปรามาส-ยึดมั่นในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือศีลพรตนอกศาสนา หรือถือข้อปฏิบัติที่ผิด ๔)กามราคะ-พอใจในกามคุณ ๕)ปฏิฆะ-ความขัดเคือง ความหงุดหงิด ๖)อรูปราคะ-มีความพอใจในรูปสัญญา ๗)อรูปราคะ-มีความพอใจในอรูปสัญญา ๘)มานะ-คือ ถือตัว ยึดมั่นตัวตน สำคัญว่าตัวดีกว่า เลวกว่าหรือเสมอตน ๙)อุทธัจจะ-มีความฟุ้งซ่าน ๑๐)อวิชชา-ความไม่รู้ใน อริยสัจ ๔ พระพุทธเจ้าสอน=ทำตคคนให้เป็นสุขฝ่ายดี=ตัดสัญโญชน์ ๑๐ ลุ อรหันต์ ตามลำดับ ๔ ชั้น คือ ๑)พระโสดาบัน ละสัญโญชน์ ได้ ข้อ ๑,๒,๓ ๒)พระสกิทาคามี ละสัญโญชน์ได้ ข้อ ๑,๒,๓ และมี ราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง ๓)พระอนาคามี ละ สัญโญชน์ฝ่ายต่ำได้ ๕ คือ ๑,๒,๓,๔,๕ ๔)พระอรหันต์ละ สัญโญชน์ ได้ทั้งหมด ๑๐ ข้อ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๗๔.เวทนา ๒ ถึง ๑๘
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๗๙.พราหมณ์เกิดจากปากพรหมแน่หรือ?
อินทรลิลาตฉันท์ ๑๑
๑.ดูก่อนนะผู้เนื่อง........................ตระกูลเปรื่อง"ภะรัทวาฯ" "วาสิษฐะ"ความว่า...........................สกลพราหมณ์สิลืมไป
๒.กล่าววรรณะพราหมณ์เทิด........ประเสริฐเลิศจะเหนือไผ เหล่าวรรณะอื่นไซร้.........................จะเลววรรณะดำโฉด
๓.พราหมณ์วรรณะขาวล้วน........อุบัติถ้วนพระพรหมโอษฐ์ โอรสพระพรหมโปรด.....................ซิทายาทพระพรหมสรรค์
๔.เหล่าวงศ์"ภะรัทฯ"ชิด.................และวาสิษฐะฟังครัน นางพราหมณีนั้น.............................กำลังมีระดูซม
๕.ตั้งครรภ์ก็มีแวว..........................ลุคลอดแล้วและให้นม เกิดจากมนุษย์สม............................สิด้วยโยนิชาแม่
๖.กล่าวรรณะพราหมณ์เลิศ...........และบรรเจิดสิเหนือแน่ จึงตู่พระพรหมแท้............................เจาะพูดปดละบุญหนา ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : อัคคัญญสูตร ๑๑/๘๘ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๓๓
ภะรัทวาฯ=ภารัทวาชะ คือ ชื่อสกุลพรหมอันสืบสายมาจากฤาษี ภารัทวราช ผู้รจนาคัมภีร์พระเวท วาสิษฐะ=เป็นฤาษีผู้ทรงพระเวท
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๗๔.เวทนา ๒ ถึง ๑๘
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๘๐.มีทั้งที่ทำชั่วทำดี
ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒
๑.สกุลสองสดับชิด.....................สิ"วาสิษฐะ,ภารัทฯ" มนุษย์โลกะนี้ชัด...........................ก็สี่วรรณะพร่ำสอน
๒.กษัตริย์,พราหมณ์กะแพศย์รุด.........จะต่ำสุดก็ศูทร สกลวรรณะทำจร..........................ระเริงดีและชั่วหยาม
๓.พิฆาตสัตว์ขโมยเงิน................ประพฤติเยินและมั่วกาม เจาะพูดเท็จและหยาบความ...........พยาบาทเลาะเห็นผิด
๔.เพราะสิ่งล้วน"อกูศล"................ลุหลีกพ้นมิเสพติด สิธรรมดำวิบากกิจ.........................มิควรกับอรีย์สงฆ์
๕.ตระกูลสองตริตรองครัน...........มนุษย์วรรณะสี่บ่ง ริเว้นฆ่าขโมยสงค์..........................มิผิดกามวจีเลิศ
๖.ริเว้นกล่าวคำเท็จเหยียด...........ผิส่อเสียดละหยาบเถิด มิอาฆาตแหละ"อยาก"เชิด..............มิเห็นผิดกุศลปาน
๗.กุศลธรรมริเสพพราว................ซิธรรมขาวอรีย์งาน ก็ธรรมนี้เสมอพาน.........................ผิสี่วรรณะเห็นหรู
๘.สกุลสองริยลพลัน....................ก็สี่วรรณะพฤติอยู่ ซิธรรมขาวและดำพรู.....................ติเตียนสรรเสริญคำ
๙.ผิชี้วรรณะพราหมณ์ขาว...........ริอื่นกร้าวก็ล้วนดำ เจาะจงพราหมณ์สะอาดนำ.............อุบัติจากพระโอษฐ์พรหม
๑๐.เพราะมีพรหมซิแดนเกิด..........อุบัติเลิศมิต่ำตรม นิกรหลายก็ตรองคม.......................วจีนั้นมิจริงหนา
๑๑.พระพุทธ์กล่าวนราชน.............มิรับผลพจีว่า ผิมีภิกษุออกมา...............................เลาะห่างวรรณะสี่แล้ว
๑๒.ประพฤติธรรมลุนิพพาน...........กิเลสรานละหมดแกล้ว ประกาศตนวะเหนือแผ้ว....................กะสี่วรรณะสิแท้จริง
๑๓.สิเขาชำนะด้วยธรรม.................มิใช่พร่ำอธรรมอิง พระธรรมล้วนประเสริฐยิ่ง.................เหมาะชุมชนจิรังกาล ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : อัคคัญญสูตร ๑๑/๘๘ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๓๓-๑๓๔
ภะรัทวาฯ=ภารัทวาชะ คือ ชื่อสกุลพรหมอันสืบสายมาจากฤาษี ภารัทวราช ผู้รจนาคัมภีร์พระเวท วาสิษฐะ=เป็นฤาษีผู้ทรงพระเวท อรีย์=พระอริยะ อกูศล=อกุศล
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๗๔.เวทนา ๒ ถึง ๑๘
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๘๑.ตรัสเล่าเรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล ปฏิบัติต่อพระองค์
คชลีลาศฉันท์ ๑๒
๑.ดูซิผู้จ่อละมุน..................สืบสกุล"สิษฐะฯ"มา กับ"ภะรัท์วาชะฯ"กล้า............จงสดับความวิมล
๒.เหล่ากษัตริย์"ศากย์ฯ"ระวัง.......เดินซิหลัง"เสนทิศล" ย่อมชุลีกราบสกนธ์................น้อมหทัยยิ่งวิบูลย์
๓.เมื่อพระพุทธเจ้าผนวช.....เร่งริรวดศากย์ตระกูล องค์"ปเสนศลฯ"พิบูลย์...........กลับชุลีน้อมกระทำ
๔.พุทธองค์ชี้มิใช่.................พุทธะไซร้ชาติล้ำ องค์ปเสนฯชาติต่ำ..................จึงเจาะกราบไหว้สนิท
๕.หรือพระพุทธองค์พลัง.......เยี่ยมและยังอิทธิฤทธิ์ องค์"ปเสนฯ"ด้อยก็คิด.............ตนกำลังน้อยมุไหว้
๖.พุทธเจ้าผู้สง่า.....................เราซิหนาด้อยคระไล พุทธองค์ศักดิ์ลุใหญ่.................เราสิเดชน้อยจะพร่ำ
๗.พุทธองค์กล่าวกะเกณฑ์......องค์"ปเสน"ศรัทธะธรรม มั่นพระธรรมน้อมกระทำ...........บูชะธรรมเยี่ยมกศานติ์
๘.องค์"ปเสน"จึงประณม..........กราบและบ่มใจสราญ "สิษฐะ,ภารัทฯ"พะพาน...............ธรรมประเสริฐจิรังกาล ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : อัคคัญญสูตร ๑๑/๙๑ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๓๔
ภะรัท์วาชะฯ,ภารัทฯ=ภารัทวาชะ คือ ชื่อสกุลพรหมอันสืบสายมาจากฤาษี ภารัทวราช ผู้รจนาคัมภีร์พระเวท สิษฐะฯ=วาสิษฐะ เป็นฤาษีผู้ทรงพระเวท เสนทิศลฯ,ปเสนฯ=พระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นกษัตริย์แห่งโศล จากราชวงศ์อิกษวากุ เสวยราชย์ ณ เมือง สาวัตถี เป็นอุบาสกที่สำคัญของพระพุทธเจ้า และทรงสร้างอารามไว้หลายแห่ง เช่น วัดราชิการาม เป็นวัดที่สร้างถวาย เพื่อเป็นที่อยู่ของพระภิกษุณี ศรัทธะ=ศรัทธา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๗๔.เวทนา ๒ ถึง ๑๘
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๘๒.เรื่องของพราหมณ์ผู้กระด้างเพราะถือตัว
เวสสเทวีฉันท์ ๑๒
๑.ครานั้นยังมีพราหมณ์...............ผู้กระด้างลามและถือตัว ไม่เคยไหว้ใครทั่ว..........................ทั้งบิดา,แม่แหละพี่ชาย
๒.กาลหนึ่งพราหมณ์พบแจ้ง........พุทธเจ้าแจงพระธรรมปราย มีสาวกเฝ้าฉาย..............................ฟังพระพุทธ์ฯสอนแนะธรรมแพรว
๓.พราหมณ์คิดเข้าฟังกราน........ถ้าพระองค์ขานกะเราแล้ว เราจึ่งพูดด้วยแจ้ว..........................หากมิพูดเราจะนิ่งเฉย
๔.พราหมณ์จึงเข้ามาใกล้.............พุทธเจ้าไซร้และคอยเปรย พราหมณ์ถือตัวคิดเคย...................พุทธองค์ไม่รู้ริหลีกหนี
๕.พุทธ์เจ้าทราบใจพราหมณ์........คิดอะไรตามก็ตรัสชี้ ดูก่อนพราหมณ์ใครมี....................."มานะ"ถือตัวมิดีหนา
๖.พราหมณ์ท่านต้องการใด..........จงริบอกได้มิชักช้า พราหม์คิดพุทธ์องค์คว้า..................จิตเรารู้ก็หมอบกราบ
๗.พราหมณ์กราบเท้าพุทธ์เจ้า.......จูบพระบาทเคล้าและนวดทาบ ข้าแต่"โคดม"ทราบ.........................."มานะถัทธาฯ"ก็ชื่อเรา
๘.ลำดับนั้นเกิดแปลกใจ.................ห่อนเจอะเจอใดกะพราหมณ์เขลา ไม่ไหว้พ่อแม่นา................................แต่ซิกราบพุทธองค์เห็น
๙.พราหมณ์ถามพุทธ์องค์รัว...........ต้องมิถือตัวกะใครเป็น ความเคารพไหนเด่น.........................ควรลุน้อมบูชะใครหนอ
๑๐.พุทธ์เจ้าตรัสเคารพ...................คนซิสี่ครบกะแม่พ่อ พี่,ครูผู้สอนก่อ...................................บูชะผู้เสร็จอร์หันต์จด
๑๑.คือผู้ยอดเยี่ยมเด่น....................ผู้สงบเย็นกิเลสหมด ความถือตัวตนลด..............................ความกระด้างทลายหาย
๑๒.พราหมณ์ผู้ถือตัวด้น..................จึงประกาศตน"อุบาฯ"กราย มีรัตน์ตรัยพึ่งกาย..............................กับหทัยตนตลอดกาล ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : มานถัทธสูตร ๑๕/๒๖๑ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๓๔-๑๓๕
พุทธ์เจ้า,พุทธ์องค์=พระพุทธเจ้า โคดม=พระโคดมพุทธเจ้า มานะถัทธาฯ= มานถัทธะ เป็นชื่อพราหมณ์ผู้หนึ่ง บูชะ=บูชา อุบา=อุบาสก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๗๔.เวทนา ๒ ถึง ๑๘
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๘๓.อย่าโกรธเมื่อใครติเตียนพระพุทธเจ้า
มุทิงคนาทฉันท์ ๑๔
๑.สดับซิภิกษุคิดกราย.....................นิกรหละหลายติพุทธ์องค์ พระธรรมพระสงฆ์สิควรปลง..............มิฆาตมิร้ายมิขุ่นเคือง
๒.เพราะโกรธกุโทษพินาศตน...........ก็ตัวแหละชนกะทุกข์เขื่อง ผิเรื่องติมิมีเนือง..................................มิรู้คำกล่าวจะเลว,ดี
๓.พระพุทธ์ฯแถลงริแจงอิง...............สิเรื่องมิจริงแสดงรี่ เจาะให้นรีลุเห็นคลี่..............................คำกล่าวตินั้นสิเท็จเด่น
๔.คำกล่าวติ"พุทธะ,ธรรม,สงฆ์".........กระทำสิบ่งนราเห็น มิจริงมิแท้มิได้เป็น...............................กะพุทธศาสนาเลย ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : พรหมชาลสูตร ๙/๓ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๓๕
พุทธ์องค์=พระพุทธองค์ พระพุทธ์=พระพุทธเจ้า พุทธะ,ธรรม,สงฆ์=พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๗๔.เวทนา ๒ ถึง ๑๘
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๘๔.อย่าดีใจตื่นเต้น เมื่อใครชมเชยพระพุทธเจ้า
ปัฏยาวัตรฉันท์ ๑๖
๑.คณาพระภิกษุจงเกลา.................ผิผู้อื่นชมเรา, พระสงฆ์,พระธรรม
๒.สิท่านหละหลายมิชื่นนำ...............รึตื่นเต้นกับคำ กุหวานประทาน
๓.รตีจะเกิดเจาะโทษฐาน.................กุภัยแก่ตนพาน เพราะขวางลุธรรม
๔.พระสงฆ์ตริรับประกันซ้ำ................วะจริงถูกต้องพร่ำ และมีดำรง ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : พรหมชาลสูตร ๙/๔ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้าที่ ๑๓๖
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๗๔.เวทนา ๒ ถึง ๑๘
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๘๕.อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕ ประการ
เปษณาทฉันท์ ๑๖
๑."อนิสงส์"การสดับฟังธรรม ก็คำสอนพร่ำพระพุทธเจ้าสรร หทัยรู้ความประเสริฐยิ่งครัน จะเกิดผลดีสิห้าอย่างหนา ๒.ก็หนึ่งได้ฟังกะธรรมไม่เคย จะยินความเปรยพระสงฆ์บอกมา นราได้รู้ถ้อยประพฤติตนกล้า ประโยชน์ล้ำค่ามลานทุกข์ลง ๓.และสอง"เคยฟังมิเข้าใจชัด" ก็ฟังซ้ำจัดจะแจ่มแจ้งบ่ง นรีได้ทวนพระธรรมบ่อยตรง ระลึกรู้แม่นกระทำตามเผย ๔"พระยาสาฯ"ฟังพระธรรมสองครั้ง สิกัณฑ์เดิมพรั่งก็พึงใจเชย ลุโสดาบัน ณ แรกยินเลย "อราหันต์"ดล ณ กาลที่สอง ๕.ริสาม"สงสัย"ทุเลาลงได้ เพราะฟังธรรมไซร้ตริเข้าใจตรอง กระทำใดชิดสิบุญทั้งผอง ละเว้นจากบาปมลายทุกข์ทน ๖.ก็สี่แนวคิดจะถูกต้องนำ สิตามคลองธรรมละ"มิจฉาฯ"พ้น กระทำแต่ดีอุบัติเลิศผล ตะทำชั่วมัวพินาศเนิ่นนาน ๗.ก็ห้าฟังธรรมฤดีผ่องใส เพราะฟังตั้งใจสมาธิ์เกิดกราน พลังปัญญาสุขุมก่องาน ลุธรรมขั้นสูงจะเกิดแน่ครัน ๘.สรุปห้าข้อจะเกิดผลไกล เจาะผู้ตั้งใจสดับธรรมมั่น พิจารณ์ธรรมตามประพฤติตนดั้น ประเทืองผลงามมิต้องรอนาน ๙.นิทานธรรมเรื่อง"อนาบิณฯ"กราย ริจ้างลูกชายสดับธรรมพาน เพราะบุตรชื่อ"กาละ"ไม่เคยงาน มิศรัทธาธรรมมิเคยสร้างบุญ ๑๐.อนาถ์บิณฯเกรงละโลกไปแล้ว สิบุตราแน่วนรกแน่ดุน บิดาให้วันละร้อย"กาหาฯ"หนุน อุโบสถศีลและฟังธรรมตรอง ๑๑.อุโบสถฯรับตะไม่ฟังธรรม ละหลีกไปทำซินอนหลับปอง ลุเช้ากลับบ้านมิยอมกินผอง จะต้องได้เงินประเดิมก่อนเลย ๑๒.อนาบิณฯเพิ่มอุโบสถแล้ว สดับธรรมแกล้วระลึกมั่นเผย ก็แค่หนึ่งบทจะได้ชื่นเชย กะเงินสิบเท่าและรับครรไล ๑๓.พระพุทธ์ฯเห็นกาละฟังธรรมอยู่ วิสัยน่ารู้พระโสดาไกล พระองค์ดลกาละจำธรรมไม่ได้ หละหลายครั้งยังมิรำลึกเผง ๑๔.ผิจำไม่ได้สมาธิ์จิตกลั่น ลุโสดาบัน ณ ที่นั้นเอง นิมนต์พุทธ์เจ้าประทับบ้านเขลง ถวายอาหารสิเช่นทำมา ๑๕.พระพุทธเจ้าเสร็จลุภัตกิจแล้ว อนาถ์บิณแคล่วกระทำซึ่งหน้า เจาะมอบเงินบุตรก็"พันกาหาฯ" ตะบุตรเกิดใจละอายไม่รับ ๑๖.พระพุทธ์องค์ชี้ก็เช่นนั้นแล พระโสดาฯแน่รตีซึมซับ เพราะโสดาบันอรีทรัพย์นับ ละลานเหนือสิทรัพย์อื่นเทียบ ๑๗.ผิทรัพย์จักร์พรรดิ์รึในชั้นพรหม สวรรค์เริงรมย์มิมีใครเปรียบ สิทรัพย์ในตนอรีย์ล้ำเฉียบ เพาะมุ่งพ้นวัฏฏะไม่ถอยหลัง ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๒๗๖ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๖๘
อนิสงส์=อานิสงส์ พระยสา=พระยสเถระ เป็นพระสงฆ์สาวกองค์ที่ ๖ ของพุทธศาสนา เมื่อท่านบวชแล้ว ได้ชักชวนเพื่อนกว่า ๕๔ คน เข้ามาบวชด้วย อราหันต์=พระอรหันต์ มิจฉาฯ=มิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นที่ผิด สมาธิ์=สมาธิ อนาบิณฯ=อนาบิณฑิกะเศรษฐี ทำการค้าขายและฟังธรรมที่เมืองราชคฤห์ ได้สร้าง เชตวันมหาวิหารถวายพระพุทธเจ้า ทรงจำพรรษาที่นี่ถึง ๑๙ พรรษา มากกว่าที่อื่น กาละ= บุตรชาย กาหาฯ=กหปณะ เป็นเงินตราในสมัยพุทธกาล เท่ากับ ๒๐ มาสก หรือ ๑ตำลึง คือ ๔ บาท พระพุทธ์,พุทธ์องค์=พระพุทธเจ้า อรีย์=พระอริยะ ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป จนถึงพระอรหันต์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|