แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๗๔.เวทนา ๒ ถึง ๑๘
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๘๖.สัมปทา(ความถึงพร้อมหรือความสมบูรณ์) ๕
อาวัตตฉันท์ ๑๖
๑.ชาวพุทธะแท้ริมั่น.................ก็"สัมป์ทา"ถึงพร้อมครัน ประโยชน์จึงมี
๒.หนึ่งเชื่อและ"สัทธา"คลี่.........กะสิ่งครรลองธรรมปรี่ ลุถูกต้องหนา
๓.ทำดีจะได้ดีมา......................มนุษย์มีกรรมนำพา จะต้องรับผล
๔.เชื่อในพระปัญญาล้น..............พระพุทธ์เจ้าตรัสรู้ดล แนะสู่นิพพาน
๕.สอง"สีลสัมป์ทา"ฉาน..............ผดุงรักษ์ศีลพร้อมกราน มิพฤติชั่วเลย
๖.สามยินสดับธรรมเปรย............"สุต์สัมป์ทา"บ่อยครั้งเผย จะแจ้งชัดเจน
๗.สี่"จาคสัมป์ทา"เกณฑ์..............รตีให้ทานสุขเด่น ตระหนี่ลดลง
๘.ห้า"ปัญญะสัมป์ทา"ส่ง..............จะพร้อมปัญญาบรรจง ริรู้บาป,บุญ
๙.ห้าสัมปทาทางจุน......................ทวีสุข,ลาภหนุน อุบัติทุกกาล ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : ปัญจนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๕๘ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้าที่ ๗๐
สัทธาสัมปทา=ความถึงพร้อมด้วยความเชื่อ สีลสัมปทา=ความถึงพร้อมด้วยศีล สุตสัมปทา=ความถึงพร้อมด้วยการสดับตรับฟัง จาคสัมปทา=ความถึงพร้อมด้วยการเสียสละ ปัญญาสัมปทา=ความถึงพร้อมด้วยปัญญา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๗๔.เวทนา ๒ ถึง ๑๘
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๘๗.ศีลวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ
นิรนามฉันท์ ๒๐
๑.เรื่อง"ศีลวิบัติ"ประพฤติละเมิด...........ทำศีลมิเฉิด ไม่ครบอุดมวจีและกาย ๒.นักบวชซิหย่อนวินัยก็ฉาย.................เช่นเดียวทลาย เรียกศีลวิบัติก็เปรียบเสมือน ๓.เหล่าชนตริศีลและรักษ์มิเบือน..........เคร่งศีลมิเชือน เบื้องหน้าประโยชน์มิหล่นอบาย ๔.ธรรมทิฏฐิเห็นวิบัติคะคล้าย...............ทาน,ให้ บ พราย บูชา,วิบากสิกรรมมิมี ๕.พ่อ,แม่คุณามิมีทวี............................."โอปปาฯ"มิชี้ พราหมณ์บรรลุธรรมมิมีสิไหน ๖.โลกหน้าและนี้มิมีจะไขว่.....................เห็นผิดซิไซร้ เรียก"ทิฎฐิเห็นวิบัติ"ประหลาด ๗.เห็นผิดกะทิฏฐิก่อพินาศ.....................ทางธรรมจะคลาด ปิดทางลุมรรคและผลนิรันดร์ ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : อภิธัมปิฎก สังคณี ๓๔/๓๓๖ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้าที่ ๗๙-๘๐
ศีลวิบัติ=คือความก้าวล่วง ประพฤติผิด ล่วงละเมิดข้อห้าม หรือศีลธรรม อบาย=ทางไปสู่ที่หาความสุขได้ยากมี ๔ คือ นรก เปรต อสุรกาย เดียรฉาน ทิฏฐิวิบัติ=ความเห็นผิดว่า ทานไม่มี, บริจาคไม่มี ,โอปปาติกะไม่มี,สมณพราหมณ์ที่รู้แจ้งด้วยปัญญายิ่งเอง ไม่มี โอปปาฯ=โอปปาติกะ สัตว์ที่เกิดก็เติบโตขึ้นทันที เช่น เทพ สัตว์นรก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๗๔.เวทนา ๒ ถึง ๑๘
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๘๘.นรกที่ตา หู เป็นต้น
ภุชงคสาลินีฉันท์ ๑๑
๑.สกลภิกษุตรองดู.........................เป็นลาภพรูแก่ท่าน ประพฤติพรหมจรรย์พาน..................ธรรมล้ำเลิศดีผล
๒.เจาะดูชัดนรกหนา.......................ชนรับอารมณ์ล้น ทวารหกจมูกตน................................ตา,หู,ลิ้น,กาย,ใจ
๓.ก็ตาเห็นอะไรมาก.......................รูปไม่อยากหรือใคร่ เพราะรูปเห็นมิพอใจ..........................ไม่มีรูปใดปอง
๔.สดับเสียงลุกลิ่น,รส......................"โผฏฐัพฯ"จดจับต้อง หทัยรู้สิหกผอง.................................ทั้งฟัง,ลิ้ม,เห็นตรง
๕.ปะรู้สิ่งมิต้องการ .........................พอใจผ่านเลยบ่ง ก็พลาดฟังกะลิ้มชง...........................ไม่รู้ทุกสิ่งอยาก ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ๑๘/๑๕๘ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๙๙
ทวารหก=เรียก อายตนะภายใน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อายตนะภายนอก=มี ๖ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์(สิ่งที่รู้ด้วยใจ) โผฏฐัพฯ=โผฏฐัพพะ สิ่งที่ถูกต้องได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๗๔.เวทนา ๒ ถึง ๑๘
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๘๙.สวรรค์ที่ตา หู เป็นต้น
อินทรสาลินีฉันท์ ๑๑
๑.ขอภิกษุตรองดู..................เป็นลาภพร่างพรูของท่าน ที่ได้ประพฤติขาน...................ถือพรหม์จรรย์ธรรมเลิศเลอ
๒.จงดูสวรรค์ชม....................ชนรับอารมณ์หกเจอ ส่งผ่านจมูกเออ........................ตา,หู,ลิ้น,กาย,ใจวาน
๓.รูปเกิดเพราะตาเห็น...........พบแต่รูปเด่นต้องการ ไม่ชอบมิพบพาน......................เห็นแต่รูปน่าพอใจ
๔.ดมกลิ่นสดับเสียง................ลิ้มรส,จับเคียงไม่ไกล ได้ดมและลิ้มไว........................"โผฏฐัพฯ"ถูกต้องสิ่งหมาย
๕.ปราศ์จากะเห็น,ฟัง ..............ไป่ลิ้ม,ดมทั้งมวลกราย พลาดเจอกะสิ่งหลาย.................ที่ไม่น่าใคร่,พอใจ ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ๑๘/๑๕๘ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๙๙-๑๐๐
ทวารหก=เรียก อายตนะภายใน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อายตนะภายนอก=มี ๖ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์(สิ่งที่รู้ด้วยใจ) โผฏฐัพฯ=โผฏฐัพพะ สิ่งที่ถูกต้องได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๗๔.เวทนา ๒ ถึง ๑๘
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๙๐.ไม่โศกในท่ามกลางแห่งความโศก
อินทรธนูฉันท์ ๑๒
๑.คราหนึ่งพระพุทธเจ้า..........อยู่เหย้า ณ "เวฬุรามฯ" สงฆ์"อุปเสนะฯ"นาม.................หาที่สงัดทุเลา
๒.คิดทวนวะลาภกะเรา...........ได้เฝ้าพระพุทธเจ้า ทรงเป็นอร์หันต์เฉลา................ได้ดีเพราะพุทธะสอน
๓.ทั้งอุปเสนะบวช..................พฤติรวดพระธรรมขจร เพื่อนสงฆ์ก็ศีลสลอน.................ตัวเราก็มั่นพระธรรม
๔.ทั้งหมดอร์หันต์ระดา............มีอานุภาพกระหน่ำ มีฤทธิ์อุฬารกระทำ....................แม้อยู่และตายเจริญ
๕.ครานั้นพระพุทธ์ประชิด........ถ้อยคิด"พระอุปฯ"เผชิญ ทรงเปล่งอุทานเกริ่น...................แก่สงฆ์หละหลายซิพลัน
๖.ผู้ใดจะอยู่มิร้อน....................ตายกร่อนมิโศกถลัน ผู้เห็นพระธรรมศรัณย์................ความเศร้าและรุมสลาย
๗.เหล่าภิกษุถอนทะยาน..........."อยาก"รานทุรนมลาย จิตใจสงบละคลาย.....................สิ้นชาติวนเกษียณฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : อุทาน ๒๕/๑๔๒ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๐๒
เวฬุราม=เวฬุวนาราม เป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนาที่พระเจ้าพิมพิสาร สร้างถวาย ณ เมืองราชคฤห์ใกล้เชิงเขาเวภารบรรพต ริมฝั่งแม่น้ำสรัสวดี ปัจจุบันอยู่ในรัฐพิหาร อินเดีย อุปเสนะ,อุปฯ=พระอุปเสนเถระ วังคันตบุตร เป็นน้องชายของพระสาริบุตร ได้เพียรเจริญ วิปัสนากรรมฐานจนบรรลุ พระอรหันต์ ชาติ=การเกิด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๗๔.เวทนา ๒ ถึง ๑๘
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๙๑.อกเขา อกเรา
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
๑.คราหนึ่ง"ปเสนฯ"ผ่าน............นฤบาล"สะวัตถีฯ" ถาม"มัลลิกา"ชี้...........................ปฏิพัทธ์กะใครท้น
๒.รักกว่าซิตนไหม....................นิรไซร้พระนางก่น ราชาก็ท่านยล...........................เสาะเลาะมีรึไม่มี
๓.ภูมินทร์"ปเสนฯ"เจตน์..........ปฏิเสธมิรักคลี่ ทรงเฝ้าพระพุทธ์รี่.....................พิศวงกะเนื้อความ
๔.พุทธ์เจ้าอุทานถ้อย..............นยคอยสิตรองตาม จงตรวจสิทุกนาม......................ก็ซิใครจะรักผุด
๕.ไม่พบเจอะใครจัก................วิมลักกวะตนรุด รักตนผิที่สุด..............................ก็มิควรจะเบียฬไผ ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : อุทาน ๒๕/๑๔๕ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๐๒
ปเสนฯ=พระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นกษัตริย์แห่งแคว้นโกศล สะวัตถี=สาวัตถี เป็นเมืองหลวงของแคว้นโกศล มัลลิกา=พระนางมัลลิกา มเหสีองค์ที่ ๓ ของพระเจ้าปเสนทิโกศล
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๗๔.เวทนา ๒ ถึง ๑๘
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๙๒.ประวัติสุปพุทธะ ผู้เป็นโรคเรื้อน
ธาตุมมิสสาฉันท์ ๑๑
๑.คราพุทธ์องค์นำ.............ขณะแจงธรรมพระสงฆ์เคียง กรุง"ราช์คฤห์"เวียง............."ฬุวนารามฯ"คละป่าไผ่
๒.มีชายโรคเรื้อน.............."สุปพุทธ์"เคลื่อนผเดินใกล้ คนยากจนไซร้....................ก็ตริมีแจกกะอาหาร
๓.เขาจึงเข้าไป.................ซิมิมีใดจะเจือจาน คิดฟังธรรมกราน................ก็จะดีกว่าสิผ่านเลย
๔.พุทธ์เจ้าเล็งญาณ..........มหชนชาญจะใครเอ่ย น่าสำเร็จเกย.......................ประลุธรรมระเร็วด่วน
๕.พุทธ์องค์ทรงทราบ........"สุปพุทธ์ฯ"ทาบหทัยควร จิตอ่อนไม่ขวน...................กะกิเลสเลวเจาะธรรมใส
๖.พุทธ์เจ้าแจงธรรม........."อนุบุพฯ"พร่ำสิ"ทาน"ใฝ่ "ศีล,โทษ"ทรามไกล............มทมัวกามประโยชน์บวช
๗.พุทธ์องค์ทรงเทศน์........คติทุกข์เดชทุรนรวด เหตุทุกข์เกิดยวด...............ตะก็มีทางจะดับหนา
๘.ทรงชี้ทางเกริ่น.............ปฏิบัติเดินกะมรรคกล้า มรรคแปดชี้พา...................ก็พระองค์พบสิตนเอง
๙.สิ่งใดเกิดแล้ว...............ก็จะดับแน่วซิแน่เผง รู้แจ้งนี้เปล่ง.......................สุปพุทธ์ฯเห็นจะแจ้งไข
๑๐.ลำดับนั้นเล่า..............สุปพุทธ์เร้าลุธรรมไกล ไม่สงสัยไหน.....................นยสอนของพระศาส์ดา
๑๑.เขาทูลพุทธ์องค์.........เพราะพระธรรมบ่งเสนาะพา หงายของคว่ำหนา.............ฤ จะเปิดแผ่ประจักษ์ผล
๑๒.นำผู้หลงทาง..............เสาะประทีปพร่างละมืดมน ข้าขอครองตน....................จิตะมั่นถึงพระรัตน์ตรัย
๑๓.แล้วทูลกราบลา..........สุปพุทธ์ฯล่ามิได้ไกล ถูกโคขวิดไถ......................มรณาชีพสิทันที
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๗๔.เวทนา ๒ ถึง ๑๘
(ต่อหน้า ๒/๒) ๙๒.ประวัติสุปปพุทธะ ผู้เป็นโรคเรื้อน
๑๔.สงฆ์ถามพุทธ์เจ้า........สุปพุทธ์เค้าเสาะไหนชี้ พุทธ์องค์ตอบคลี่...............ลุพระโสดาฯมิตกต่ำ
๑๕.สิ้นเครื่องผูกมัด.........ก็สิสามชัดกิเลสงำ "ไม่ยึดกาย"พร่ำ................จะลิสงสัยเกาะศีล,พรต
๑๖.สงฆ์ถามเหตุใด.........สุปพุทธ์ไซร้เจาะเรื้อนจด ยากแร้นแค้นหมด.............จะลำบากยิ่งพะวงหนอ
๑๗.พุทธ์เจ้าชี้กาล...........ระยะก่อนนานกำเนิดรอ บุตรเศรษฐีจ่อ...................นครา"ราชคฤห์"ใหญ่
๑๘.เห็นปัจเจกฯนาม........"ตครา"ตามถนนไว ท่านบิณฑ์อยู่ไซร้..............สุปพุทธ์คิดมิเคารพ ๑๙."คนขี้เรื้อน"เร่.............ก็ริบ้วนเขฬะถ่มจบ ผลแห่งกรรมทบ................ลุนรกสิแสนปี
๒๐.เศษกรรมยังเหลือ......ก็อุบัติเกื้อกุร้อนปรี่ กำพร้า,ยากรี่.....................ณ บุรีราชคฤห์พาน
๒๑.เขาอาศัยธรรม...........สิพระพุทธ์ฯพร่ำสมาทาน กับ"ศีล,เชื่อ"สาน.................สุตะตรับปัญญะเพริศถึง
๒๒.หลังสิ้นชีพแล้ว...........ก็อุบัติแน่ว ณ ดาว์ดึงส์ เหนือเทพอื่นพึง..................ยศอีกวรรณะสำราญ
๒๓.พุทธ์องค์เปล่งคำ........ก็อุทานนำลิบาปพาล เหมือนตาดีชาญ.................ขรุขระทางเว้นมิเดินเผย ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : อุทาน ๒๕/๑๔๕ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๑๐๒-๑๐๔
ฬุวนารามฯ=เวฬุวนาราม เป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนาที่พระเจ้าพิมพิสาร สร้างถวาย ณ เมืองราชคฤห์ใกล้เชิงเขาเวภารบรรพต ริมฝั่งแม่น้ำสรัสวดี ปัจจุบันอยู่ในรัฐพิหาร อินเดีย สุปพุทธ์=สุปพุทธะ คือผู้เป็นโรคเรื้อน คนยากจน ในกรุงราชคฤห์ สมัยพุทธกาล อนุบุพฯ=อนุบุพพิกถา คือถ้อยคำที่กล่าวตามลำดับ พระโสดาฯ=พระโสดาบัน คือพระอริยะ ขั้นแรกในพุทธศาสนา ปัจเจกฯ=พระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้เฉพาะตัว มิได้ประกาศศาสนาพุทธ จะเสด็จมาตรัสรู้ในคราวที่โลกว่างเว้นศาสนาพุทธ และตรัสรู้ได้หลายพระองค์ในสมัยเดียวกัน ตคราฯ=ตครสิขีพระปัจเจกพุทธเจ้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๗๔.เวทนา ๒ ถึง ๑๘
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๙๓.ถ้ากลัวทุกข์ก็อย่าทำชั่ว
อุเปนทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
๑.สมัยพระพุทธ์เจ้า.................ขณะเหย้า ณ"เชต์ราม" "อนาถบิณฯ"นาม.......................สิสฤษฏ์ถวายรี่
๒.พระพุทธ์ฯเสด็จบิณฑ์..........จรชิน"สะวัตถี" พระเห็นดรุณปรี่........................ริเสาะมัจฉะเบิกบาน
๓.พระองค์ก็ถามเขา...............ภยเร้ากะทุกข์พาล ประหวั่นรึไม่ขาน.......................รติรักกะทุกข์หรือ
๔.กุมารก็ตอบเด่น...................ภวเป็นซิดังลือ ก็กลัวและเกลียดชื่อ..................พหุทุกข์เกาะจีรัง
๕.พระพุทธ์ฯอุทานเปล่ง...........ผิวะเกรงคละทุกข์ยัง มิรักกะทุกข์ฝัง...........................ก็ละชั่วตลอดนาน
๖.พระองค์แนะยังทำ................ริกระหน่ำสิชั่วกราน มิพ้นกะทุกข์ผลาญ....................ผิหทัยผละหนีไกล ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : อุทาน ๒๕/๑๔๙ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้าที่ ๑๐๔
เชต์ราม=เชตวนาราม เป็นวัดที่อนาถบิณฑกเศรษฐี เมืองสาวัตถี ก่อสร้างบน สวนเจ้าเชต ทางใต้ของแม่น้ำราปติ(หรือแม่น้ำอจิรวดี ในสมัยพุทธกาล) เป็นวัดที่พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษามากที่สุด ๑๙ พรรษา อนาถบิณฯ=อนาถบิณฑิกคฤหบดี พระพุทธ์ฯ,พุทธ์องค์=พระพุทธเจ้า สะวัตถี=สาวัตถี เป็นเมืองหลวงของแคว้นโกศล ปัจจุบันอยู่ใน รัฐ อุตตรประเทศ อินเดีย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๗๔.เวทนา ๒ ถึง ๑๘
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๙๔.เหตุ ๙ มีอะไรบ้าง
อุปชาติฉันท์ ๑๑
๑.ก็เหตุสิเก้าอย่าง................จะปะวางแตะสามฝ่าย "ดี,ชั่ว"และ"กลาง"กราย...........จะเจาะฝ่ายละสามเผย ฝ่ายดีกุศลโผล่........................ก็"อโลภะ"ไม่เกย "อโทสะ"ไม่เคย........................และ"อโมหะ"เลิกหลง
๒.กุชั่วจะต่างท้น....................กะกุศลติสามตรง โลภ"โลภะ"มุ่งบ่ง......................พหุปรารถนาสิง ฆาต"โทสะ"โกรธรุด..................ริประทุษทวีดิ่ง และ"โมหะ"หลงจริง...................ปะทะทุกข์หทัย,กาย
๓.ก็"อัพยากฤต"....................มิประชิดกะสองฝ่าย ปราศ"ดีรึชั่ว"กราย...................เพราะวิบากกุศลธรรม ไม่โลภ"อโลฯ"โข......................และ"อโทสะ"ไม่พร่ำ "อโมหะ"หลงคลำ......................ก็มิมีกุเหตุสาม
๔.อุบายทุเลาพ้น.....................อกุศลละชั่วทราม ตัดโลภะลุกลาม........................มหทานและสันโดษ "โอตตัปปะ"เกรงกลัว.................หิริชั่วละอายโฉด "อะชีวะ"ชอบโรจน์.....................ภวโลภะน้อยลง
๕.ลิโทสะศีลจ้า.......................กรุณาผจงบ่ง มีขันติทนยง.............................ทมะข่มฤทัยนิ่ง "อักโกธะ"ไม่โกรธ.....................สติโลดระวังพริ้ง และสัมปชัญญ์ฯยิ่ง....................ริระลึกระงับเอย
๖.ลิโมหะบำเพ็ญ.....................ตบะเด่นสมาธิ์เผย พร้อมด้วยวิปัสส์ฯเชย................หฤทัยสงบหนา ปัญญาสิรู้เหตุ............................สติเดชระลึกพา "วิมังสะ"คิดหา...........................มทะหลงละไปไกล ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๓ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้าที่ ๑๑๕-๑๑๖
เหตุที่เป็นฝ่ายกุศล=ฝ่ายดี มี ๓ อย่าง ๑)อโลภะ ไม่โลภ ๒)อโทสะ ความไม่คิดประทุษร้าย ๓)อโมหะ ความไม่หลง เหตุที่เป็นฝ่ายอกุศล=ฝ่ายชั่ว มี ๓ อย่าง ๑)โลภะ ความโลภ ๒)โทสะ ความคิดประทุษร้าย ๓)โมหะ ความหลง เหตุที่เป็นอัพยากฤต=ไม่ชี้ลงไปว่าดีหรือชั่ว มี ๓ อย่าง ๑)อโลภะ ไม่โลภ ๒)อโทสะ ความไม่คิดประทุษร้าย ๓)อโมหะ ความไม่หลง ทั้ง ๓ เกิดจากวิบากคือผลของกุศลกรรม หรือซึ่งเกิดในอัพยากตธรรมที่เป็นกิริยา หิริ=ความละอายต่อบาป โอตตัปปะ=ความเกรงกลัวต่อบาป อะชีวะ=อาชีวะ คือ อาชีพที่สุจริต ขันติ=ความอดทน ทมะ=ความข่มใจ อักโกธะ=ความไม่โกรธ สติ=ความระลึกได้ สัมปชัญญ์ฯ=สัมปชัญญะ คือความรู้ตัว วิมังสะ=วิมังสา คือ ความหมั่นพิจารณา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๗๔.เวทนา ๒ ถึง ๑๘
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๙๕.ภิกษุผู้มี กัลยาณศีล กัลยาณธรรม กัลยาณปัญญา
กาพย์มหาตรังคนที
๑.ภิกษุจงดูก่อน................ผู้จรธรรมงามสามกสานติ์ "กัล์ยาณศีล"งาน................"กัล์ยาณธรรม"นำสุขใจ "กัล์ยาณปัญญา".................อันยิ่งพาตนพ้นเกิดไว ใครครบจบสามไซร้.............เรียก"อุดมบุรุษ"รุดนา
๒.กัล์ยาณ์ศีลสงฆ์มี...........สำรวมดี"ปาฏิโมกข์"หนา สมบูรณ์พูนสมา-..................ทานสิกขาบทสง่างาม สงฆ์มีกัล์ยาณธรรม.............อบรมพร่ำ"โพธิปักข์ฯ"ตาม สามสิบเจ็ดเพื่อลาม..............สู่การตรัสรู้พรูพร้อมไกล
๓.กัล์ยาณปัญญา............สงฆ์คว้า"ปัญญาวิมุติฯ"ใส สิ้น"อาสวกิเลส"ไว...............ด้วยปัญญาเลิศบรรเจิดจริง สงฆ์มีสามสิ่งเลิศ.................ประเสริฐเสร็จกิจมิประวิง จบพรหมจรรย์อิง................เรียกอุดมบุรุษเทิดทูน ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : อิติวุตตก ๒๕/๓๐๓ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้าที่ ๕๑-๕๒
กัล์ยาณศีล=กัลยาณศีล คือศีลอันดีงาม กัล์ยาณธรรม=กัลยาณธรรม คือ ธรรมอันดีงาม กัลยาณปัญญา=คือ ปัญญาอันดีงาม ปาฏิโมกข์=ศีลที่สำคัญของภิกษุ สมาทาน=ถือปฏิบัติ โพธิปักข์ฯ=โพธิปักขิยธรรม คือธรรมอันเป็นไปในฝ่ายการตรัสรู้ ๓๗ ประการ คือ ๑)อิทธิบาท ๔-ธรรมที่ให้ประสบความสำเร็จ อย่าง ๒)สติปัฏฐาน ๔ -การตั้งสติ ๓)สัมมัปปธาน ๔-การเพียรชอบ ๔)อินทรีย์ ๕-ธรรมอันเป็นใหญ่ ๕)พละ ๕-ธรรมอันเป็นกำลัง ๖)โพชฌงค์ ๗-ธรรมเป็นตัวประกอบแห่งการตรัสรู้ ๗)มรรค ๘-ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ปัญญาวิมุติ=ความหลุดพ้นเพราะปัญญา อาสว์กิเลส=อาสวกิเลส คือกิเลสที่หมักดองอยู่ในจิต ชุบย้อมจิตให้เศร้าหมอง ขุ่นมัว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๗๔.เวทนา ๒ ถึง ๑๘
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๙๖.คำอธิบายเรื่อง ตถาคต
กาพย์ตรังควชิราวดี(ตรังคนที)
๑.ดูก่อนสงฆ์จรด..............."ตถาคต"ตรัสรู้ใส ปลีกตนจากโลกได้..............ละเหตุให้เกิดทันที ความดับตถาคต..................รู้แจ้งหมดทับทวี ทางดับในโลกนี้...................ตถาคตฝึกดับลง
๒.ทุกสิ่งที่สงฆ์ยิน...............ชน,เทพสิ้นพรหม,มารเห็น ใจตรอง,ทราบ,หาเด่น...........ลุด้วยเหตุตรัส์รู้บ่ง จึงเรียกพุทธ์องค์จด..............ตถาคตรู้แจ้งตรง คือสรรพ์นามดำรง................ของพุทธ์เจ้าเรียกตนเอง
๓.ตถาคตตรัส์รู้.................."อนุตต์ฯ"พรูราตรีไหน กระทั่งนิพพานไกล................ด้วย"อนุปาฯ"ละขันธ์เผง ถ้อยคำแต่ตรัส์รู้....................กายดับซู่มิโคลงเคลง ย่อมเป็นอย่างนั้นเปล่ง...........จึงเรียกตถาคตเอย
๔.สงฆ์ตรองกับถ้อยพจน์......ตถาคตพูดอย่างไหน ก็ทำได้ตรงไกล......................ผลอย่างที่พูดแล้วเผย เมื่อทำได้อย่างใด...................ก็พูดได้อย่างนั้นเลย เหตุพูด,ทำได้เคย...................จึงรียกตถาคตแท้จริง
๕.สงฆ์ดูตถาคต....................ธรรมเยี่ยมยศคุณไสว คุณธรรมยิ่งใหญ่....................ไม่มีใครครอบงำอิง อำนาจธรรมพร่างพรู..............."สัพพัญญู"รอบรู้ระวิง มีเดชพลังพิง...........................เรียกตถาคตนั่นเทียว ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : อิติวุตตก ๒๕/๓๒๑ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้าที่ ๕๓
ตถาคต=พระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ทรงเรียกหรือตรัสถึงพระองค์เอง อนุตต์ฯ=อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ คือ ญาณอันประเสริฐเป็นเครื่องตรัสรู้ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระผู้ตรัสรู้โดยชอบ อนุปาฯ=อนุปาทิเสสนิพพาน คือดับกิเลสพร้อมทั้งเบญจขันธ์ สัพพัญญู=ผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่างทั้งปวงอย่างสมบูรณ์ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และ อนาคต
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๗๔.เวทนา ๒ ถึง ๑๘
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๙๗.มูลรากแห่งอกุศล ๓ อย่าง
อาขยานิกาฉันท์ ๑๑
๑.ขอภิกษุจงยล.........................อกุศลติสามอย่าง เจาะรากเพาะชั่วผาง....................ทุจริตวจี,กาย,ใจ
๒.หนึ่ง"โลภะ"ความอยาก...........พหุกรากมิพอไซร้ ริปรารถนาไกล............................ระดะทรัพย์สิของเขา
๓.อยากมีคะคล้ายไผ................จะมุใฝ่และเล็งเอา วิธีลิ"อยาก"เบา............................สติรู้ระงับตน
๔.สอง"โทสะ"คิดร้าย.................ภิทะกรายและโกรธท้น ริฆาตชิวิตชน...............................หฤทัยตริแค้นนาน
๕.หงุดหงิด,พยาบาท..................ก็พินาศแหละแหลกลาญ วิถีลิล้างผลาญ.............................กรุณาและรักยิ่ง
๖.สาม"โมหะ"ไม่รู้.......................มทะอยู่กะความจริง เพราะมัวตะหลงสิง.......................มิคะนึงพระคุณใคร
๗.ถือตัวซิเหนือล้ำ......................นยธรรมมิเคยใฝ่ ก็ทางสิแก้ไข...............................อธิปัญญ์สมาธิ์เพริศ
๘.บาปสามซิต้นหตุ....................พละเดชสิแดนเกิด กุทุกขะร้อนเริด...........................มระแล้ว"อบาย"เขลา
๙.เปรียบพฤกษะถูกพัน..............เจาะเกาะมั่นติสามเถา ปะคลุมและรัดเอา........................ก็ตรุไม้มิจำเริญ ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : อิติวุตตก ๒๕/๒๖๔ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้าที่ ๕๒
อกุศล ๓ อย่าง=คือ โลภะ โทสะ และ โมหะ ปัญญ์=ปัญญา สมาธิ์=สมาธิ อบาย=ภพที่หาความสุขได้ยาก มี ๔ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย และเดียรฉาน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๗๔.เวทนา ๒ ถึง ๑๘
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๙๘.พระธรรมเทศนา ๒ อย่าง
วังสัฏฐฉันท์ ๑๒
๑.พระสงฆ์ริตรองนำ..............ก็พระธรรมสิ"เรา"แสดง จะมีและแยกแจง.....................ทวิสองก็"บาป"กะ"หน่าย"
๒.ซิหนึ่งริเห็นบาป..................ก็เจาะทราบจะแจ้งขยาย แหละสองก็หน่ายคลาย............ริวิมุติกะบาปมิหวน
๓.ผิบาปพระพุทธ์ฯเห็น..........พหุเด่นสิโทษเจาะถ้วน พิฆาตกะสัตว์ป่วน....................จะอุบัตินรกถลัน
๔.ผิบาปมิหนักหนา................ภวหน้าก็ชีพจะสั้น เกาะบาปกุทุกข์หวั่น.................ลิประโยชน์เพราะบาปสิชั่ว
๕.เพาะบาปหทัยหมอง............ประลุครองกระวนและมัว กุทุกข์สิต้องกลัว......................ลุวิบากจะเกิดเฉวียน
๖.ก็บาปสิธรรม์ชาติ................จะมิพลาดเตะสัตว์และเวียน ณ ภูมิซิสามเบียน......................จะริทุกข์กะวัฏฏะแฉ
๗.ผิบาปก็รู้ชัด.........................จะอุบัติกุผลซิแน่ ฉลาดสิหน่ายแล........................และทลายกะบาปมลาน
๘.วิปัสสนาเพียร......................วตะเรียนกะมรรคประทาน กุปัญญะทุกข์ผลาญ..................ก็วิโมกข์ผละวัฏฏะเอย ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : อิติวุตตก ๒๕/๒๕๕ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้าที่ ๕๒
เรา=หมายถึง พระพุทธเจ้า วิมุติ,วิโมกข์=ความหลุดพ้นจากวัฏฏสงสาร ไม่กลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก วัฏฏะ=วัฏฏสงสาร การเวียนว่ายตายเกิด อบาย=ภพที่หาความสุขได้ยาก มี ๔ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย และเดียรฉาน ภูมิสาม=ไตรภูมิ คือสามโลก ได้แก่ กามโลก รูปโลก และ อรูปโลก ถ้ายังไม่บรรลุพระอรหันต์ สัตว์ก็จะต้องวนอยู่ในสามโลกนี้ วิปัสสนา=คือ การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งในสังขาร ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น อนัตตา ปัญญะ=ปัญญา มรรค=มรรค ๘ คือ ทางดับทุกข์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก: ๗๔.เวทนา ๒ ถึง ๑๘
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๙๙.อะไรเป็นหัวหน้าอกุศลธรรม และ กุศลธรรม
อินทวงศ์ฉันท์ ๑๒
๑.สงฆ์พึงตริตรองชิด............ก็"อวิชฯ"มิรู้ประธาน นำธรรมมิดีซ่าน......................อกุศลหละหลายจะตาม ๒."โนตตัปฯ"มิกลัวบาป.........."อหิฯ"ซาบมิอายมิขาม นำผิดลุทางทราม....................ตะละอัฏฐะทางประกอบ ๓.มิจฉาสิแปดผิด.................ภวทิฏฐิผิดมิชอบ "สังกัปปะฯ"คิดยอบ.................จะระรานตริเรื่องมิดี ๔."วาจา"ผรุสวาท.................."ปิสุฯ"ดาษยุแยงทวี "สัมผัปฯ"ริพูดรี่........................ลิประโยชน์และชอบมุสา ๕."กัมมันตะฯ"ทำผิด...............ทุจริตขโมยลิฆ่า "กาเมสุมิจฉาฯ"........................ลุประเวณิผิดมิเว้น ๖."อาชีวะฯ"ชีพผิด.................จะริกิจมิเลือกรึเฟ้น ค้าขายกะสัตว์เด่น...................ฤ เจาะค้าอะวุธตราย ๗."วายามะฯ"ก่อบาป..............พิรซาบกะบาปกระจาย "มิจฉาสมาธิ์ฯ"หมาย................ฐิติจิตซิหลงทะนง ๘.รำลึกสิผิดทาง....................สติขวางกะดีประสงค์ เกิดโลภะมาตรง.......................อกุศลจะเกิดกำหนัด ๙.พุทธ์องค์แสดง"วิชชา"........วิทยาประธานสิชัด พรั่งพร้อมกุศลจัด....................."หิริ,ตัปปะฯ"ตามกระชั้น ๑๐.สู่ทางประเสริฐมรรค.........ซิประจักษ์"อรียะ"ดั้น มีแปดประการสรรค์..................คติอัฏฐะถึงนิร์วาณ ๑๑.หนึ่ง"สัมมะทิฏฐ์ฯ"เห็น.......ลุประเด็นจะแจ้งกะงาน รู้ทุกข์และดับผลาญ.................ปะวิธีละดับกิเลส ๑๒."สังกัปปะฯ"สอง,คิด.............ริมิผิดอโลภะเจตน์ ปราศข้องกะ"อยาก"เภท............มิอะฆาตตะการุณา ๑๓.สาม"สัมมะวาจาฯ"ชิด.........สุจริตวจีเพราะจ้า เว้นพูดเลอะเท็จหนา...................ละวจีผรุสวิวาท ๑๔.สี่"สัมมะกัมฯ"จัด.................ปฏิบัติะงานฉกาจ พฤติเว้นสิกามดาษ.....................นิรมุ่งขโมยประหาร ๑๕.ห้า"สัมมะอาชีฯ".................กิจที่สะอาดตระการ เว้นค้ามนุษย์ผลาญ....................ธุระค้ากะสัตว์อะวุธ ๑๖.หก"สัมมะวายาฯ"................พิระกล้าหทัยริรุด ตั้งมั่นกุศลผุด.............................อกุศลทลายสลาย ๑๗."สัมมาสตี"เจ็ด....................สติเด็ดจะเห็นขจาย ในเวทนา,กาย.............................หฤทัย,พระธรรมซิชาญ ๑๘.นึกสี่สิเนื่องชัด....................ก็ขจัดกิเลสมลาน รู้ทันมิหลงกราน..........................ก็อโลภะ,เศร้าลิทอน ๑๙.แปด"สัมสมาธิ์ฯ"กิจ.............ฐิติจิตสงัดขจร เกิดฌานปฐมก่อน.......................ชระฌานซิสองและสาม ๒๐.ฌานสี่ลุพราวพร่าง..............สติวาง"อุเบกฯ"ลิกาม ดีใจและเศร้าหวาม.......................ก็มิมีมุก้าวคระไล ฯ|ะ แสงประภัสสร
ที่มา : อิติวุตตก ๒๕/๒๕๕ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๕๒
อวิชฯ=อวิชชา คือ ความไม่รู้ในอริยสัจ ๔ โนตตัปฯ=โนตตัปปะ=ความไม่เกรงกลัวต่อบาป อหิฯ=อหิริกะ คือ ความไม่ละอายต่อบาป ทิฏฐิ=มิจฉาทิฎฐิ คือ ความเห็นผิด สังกัปปะฯ=มิจฉาสังกัปปะ คือ ดำริผิด เช่นเบียดเบียนผู้อื่น,ดำริเรื่องกาม วาจา=มิจฉาวาจา คือ ประพฤติวจีทุจริต ๑) ปิสุณาวาจา-พูดส่อเสียด ๒)สัมผัปปลาป-พูดเพ้อเจ้อ ๓)ผรุสวาท-พูดคำหยาบ ๔)พูดปด กัมมันตะฯ=มิจฉากัมมันตะ คือประพฤติทุจริต ๓ อย่าง ๑)ฆ่าสัตว์ ๒)ลักทรัพย์ ๓)ผิดในกาม อาชีวะฯ=มิจฉาอาชีวะ คือเลี้ยงชีพผิด เช่นเลี้ยงชีพด้วยฆ่าสัตว์ พูดเท็จขณะค้าขาย วายามะฯ=มิจฉาวายามะ คือ พยายามทำสิ่งผิด เช่น ทำบาป มิจฉาสมาธิ์=มิจฉาสมาธิ คือ ความตั้งใจผิด,สมาธิผิด,มีเป้าหมายที่ผิด รำลึกผิด=มิจฉาสติ คือ ระลึกผิดไปทางอกุศล เกี่ยวกับความโลภ วิชชา=ความรอบรู้ในอริยสัจ ๔ หิริ=ความละอายต่อบาป ตัปปะฯ=โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาป อรียะ=อริยะ มรรค=มรรค ๘ คือ ทางดับทุกข์ นิร์วาณ=นิรวาณ คือ นิพพาน สัมมะทิฏฐ์ฯ=สัมมาทิฏฐิ คือความเห็นชอบ แนวคิดที่ถูกต้อง รู้ว่าทำดี ได้ดี,รู้รากเหง้าของอกุศล คือ โลภะ โทสะ โมหะ,รู้อกุศลกรรมบท ๑๐ สังกัปปะฯ=สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ ความนึกคิดที่ถูกต้อง ปลอดจากโลภะ,มิพยาบาท,มิเบียดเบียน สัมมะวาจาฯ=สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ มีเจตนางดเว้น พูดเท็จ พูดหยาบ พูดส่อเสียด สัมมะกัมฯ=สัมมากัมมันตะ คือ ทำงานชอบ การกระทำที่เว้นทุจริตทางกาย 3 อย่าง ๑)ฆ่าสัตว์ ๒) ขโมย ๓)เว้นประพฤติผิดในกาม สัมมะอาชีฯ=สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ ด้วยอาชีพสุจริต เช่น ๑)ไม่ค้ามนุษย์ ๒)ไม่ค้าสัตว์ ๓)ไม่ขายยาพิษ ๔)ไม่ค้าอาวุธ ๕)ไม่ค้าน้ำเมา สัมมะวายาฯ=สัมมาวายามะ คือ ความพยายามชอบ ทำความเพียร ประคองจิต ๓ อย่าง ๑)อกุศลกรรมที่ยังไม่เกิด ก็คุมมิให้เกิด ๒)ละอกุศลธรรมที่เกิดแล้ว ๓)ทำให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด จงเกิดขึ้น สัมมาสตีฯ=สัมมาสติ คือ การระลึกชอบ มีสติกำหนดว่ากำลังทำอะไร มี ๔ อย่าง ๑)เห็น กายในกาย ๒)เห็นเวทนาในเวทนา ๓)เห็นจิตในจิต ๔)เห็นธรรมในธรรม ทั้ง ๔ จะทำให้มีสติขจัด โลภ โศก ได้ สัมสมาธิ์ฯ=สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งจิตมั่นชอบ สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุฌาน ๔ ได้แก่ ๑)ปฐมยาม ๒)ทุติยฌาน ๓)ตติยฌาน ๔)จตุตฌาน อุเบกฯ=อุเบกขา ความวางเฉย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|