แสงประภัสสร
|
Permalink: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
 ประมวลธรรม : ๘.เกวัฏฏสูตร(สูตรว่าด้วยการแสดงธรรมแก่บุตรคฤหบดีชื่อ เกวัฏฏะ) อินทรลิลาตฉันท์ ๑๑ ๑.พุทธ์เจ้าประทับตรัส.............กะ"เกวัฏฯ" ณ ป่าใกล้ "นาฬันทะฯ"เมืองชัย...................สิเกวัฏฯริทูลขอ ๒.ให้ชวนพระสงฆ์หนา..............แสดงปาฏิหารย์จ่อ ฝูงชนจะคล้อยก่อ......................และเลื่อมใสพระองค์ยิ่ง ๓.พุทธ์องค์ซิตรัสแย้ง...............มิเคยแจ้งพระสงฆ์อิง ทำอิทธิฤทธิ์สิง...........................กะชนสรวมสิผ้าขาว ๔.เกวัฏฏะยืนตาม.....................ณ สอง,สามริทำพราว พุทธ์องค์แถลงกล่าว...................วิชาฤทธิ์พระองค์รู้ ๕.ได้ทรงประกาศแล้ว................ติอย่างแกล้วและสงฆ์ดู หนึ่ง"อิทธิปาฯ"ชู..........................แสดงฤทธิ์สิอัศ์จรรย์ ๖."อาเทสนาฯ"สอง....................คะเนกรองหทัยครัน ทายใจนิกรมั่น............................รึดักใจวะคิดใด ๗.สามสอนนราฝึก....................พระธรรมลึกสงบใจ มีเหตุและผลไข..........................ประโยชน์ล้นนิกรยล ๘.ทรงตรัสแจรงฤทธิ์.................นรีคิดมิเชื่อผล กล่าวภิกษุบัดดล.........................ริ"คันธาระฯ"ชาวเมือง ๙."อาเทสนา"เดา.......................ผิใครเล่ามิเชื่อเลื่อง เอ่ยว่าพระสงฆ์เฟื่อง...................."มนีกาวิชา"หลง ๑๐.แล้วทรงแสดงสอน..............วิธียอนประพฤติตรง ด้วย"อานุสาฯ"บ่ง........................ประพฤติศีลติสามหนา ๑๑.จำเริญกะฌานสี่..................ลุแปดรี่กะญาณหนา จึงดับกิเลสพา.............................อร์หันต์มิเกิดไข
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๒/๒) ประมวลธรรม : ๘.เกวัฏฏสูตร
๑๒.พุทธ์องค์ผจงเล่า................ก็สงฆ์เฝ้าซิสงสัย ธาตุสี่จะดับได้...........................ณ ที่ไหนตระเวณรอบ
๑๓.ถามเทพ,มหาพรหม............ก็สุดซมซิไผตอบ ถามพุทธเจ้าชอบ.......................เพราะรู้รอบระบือไกล
๑๔.พุทธ์องค์แนะวิญญาณ........ผิดับรานขจัดไว ธาตุสี่ก็ดับไซร้...........................มิเหลืออีก ณ ที่นั้น
๑๕.ชี้เห็นวะอิทธิ์ฤทธิ์...............รึเดาจิตมิเยี่ยมครัน สู้คำแนะสอนสรร.......................จะสำคัญประเสริฐสม ฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ ทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์ พระ ไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๑๑
เกวัฏฯ=เกวัฏฏะ บุตรคฤหบดี พระพุทธเจ้า=ประทับ ณ ป่ามะม่วง ของ ปาวาริกะ นาฬันทะฯ=เมือง นาฬันทา ปาฏิหารย์=ทรงแสดง ๓ อย่าง คือ ๑)อิทธิปาฏิหารย์-แสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์ ๒)อาเทสนาปาฏิหารย์-ดักใจทายใจได้เป็นอัศจรรย์ ๓)อนุสาสนีปาฏิหารย์-สั่งสอน(มีเหตุผลดี)เป็นอัศจรรย์ ฌานสี่=ฌาน ๑-๔ คือภาวะที่จิตสงบจากการเพ่งอารมณ์เป็นสมาธิ คือ ๑)ฌานหนึ่ง หรือปฐมยาม มีวิตก(ความตรึก),วิจาร(ความตรอง) และปีติ ความอิ่มใจ ๒)ฌานที่สอง หรือทุติยฌาน ซึ่ง วิตกและ วิจาร สงบระงับ เหลือแต่ ปีติ ๓)ฌานสาม หรือตติยฌาน มีปีติ(ความอิ่มใจ) สงบระงับ ๔)ฌานสี่หรือ จตุตถฌาน มีอุเบกขา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข วิชชา ๘=ปัญญาพิเศษ แปดประการ คือ ๑)วิปัสสนาญาณ=ญาณที่ทำให้เห็นแจ้งด้วยปัญญา ๒)มโนมยิทธิ คือฤทธิ์ทางใจ นิรมิตร่างกายอื่น จากกายนี้ได้ ๓)อิทธิวิธิ คือแสดงฤทธิ์ได้ เช่น น้อยคนทำให้เป็นมากคน มากคนทำให้เป็นน้อยคน เดินในน้ำ ดำดิน เป็นต้น ๔)ทิพย์โสต=มีหูทิพย์ ได้ยินเสียงใกล้ไกล ที่เกินวิสัยหูมนุษย์ธรรมดา ๕)เจโตปริยญาณ คือ กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้ ๖)ปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือระลึกชาติในอดีตได้ ๗)จุตูปปาตญาณ คือ ญาณรู้ความตาย ความเกิดของสัตว์ได้ โดยเห็นด้วยตาทิพย์ ๘)อาสวักขยญาณ คือ ญาณที่ทำอาสวะ กิเลสที่หมักหมม หรือหมักดองในสันดานให้สิ้นไป
(ขอบคุณภาพจาก อินเทอร์เน๊ต)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
ประมวลธรรม : ๙.โลหิจจสูตร(สูตรว่าด้วยการโต้ตอบกับ โลหิจจพราหมณ์)
ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒
๑.พระพุทธ์เจ้าเสด็จด้น.........ณ"โกศลฯ"พระสงฆ์ตาม แวะพักที่"สลาฯ"คาม................สิ"โลหิจจ์ฯ"ลุปกครอง
๒.เพราะโลหิจจ์ฯลุเห็นผิด......วะพราหมณ์ชิดลุธรรมผ่อง ตะไปสอนกะชนข้อง................ตริว่าโลภและเป็นบาป
๓.ลุธรรมแล้วก็ตนครัน...........ลิเครื่องพันธนาฯราบ ตะเกิดโลภก็เหมือนทาบ...........จะถูกมัดสภาพเดิม
๔.สดับพุทธองค์ยาตร............ก็อาราธนาเริ่ม พระพุทธ์เจ้าและสงฆ์เสริม.......คระไลสู่ ณ บ้านเยือน
๕.พระพุทธ์ฯเสวนากิจ............กะโลหิจจ์ฯตริผิดเกลี่อน "ปเสนฯ"สิมอบเฉือน.................บุรีให้เจาะตัวท่าน
๖.ปเสนฯและโลหิจจ์ฯ............ประโยชน์นิตย์ระดาผ่าน มิแบ่งปันกะใครขาน.................จะเกิดหายนะหรือไม่
๗.ผิโลหิจจ์ฯก็ยืนยัน...............พินาศครันประชาไข มิได้รับปะภัตต์ไว......................จะลำบากละชีวา
๘.พระพุทธ์เจ้าริถามไป...........มิแบ่งใครจะเรียกว่า ริตั้งจิตกุเมตตา.........................และช่วยเหลือรึศัตรู
๙.ก็โลหิจจ์ฯริตอบตรึก............เพาะข้าศึกซิแน่ชู พระองค์ถามหทัยจู่....................วะคู่แค้นจะเรียกขาน
๑๐.กุเห็นผิดรึเห็นชอบ..............ก็พราหมณ์ตอบวะผิดพาน มิมีทางจะสู้ราน...........................เพราะจำนนกะเหตุ,ผล
๑๑.พระพุทธ์เจ้าก็ทรงเร้า..........ประโยชน์เอามิแบ่งชน ก็เท่ากับลุธรรมท้น.......................มิได้บอกกะผู้ใด
๑๒.จะทำอันตรายยิ่ง.................เพราะใจสิงมุร้ายใฝ่ นิกรพลาดจะรับได้.......................และเป็นการตริผิดลาม
๑๓.พระพุทธ์องค์จะแจงขาด.....ประเภทศาสดาสาม เจาะผู้บวชลุธรรมงาม..................ตะคุณต่างคละกันไป
๑๔.ลุหนึ่ง,ผู้แสดงธรรม..............ก็ศิษย์ซ้ำมิฟังใด และเลี่ยงหนีจะเหมือนไซร้...........ถนัดสอนตะไร้ผล
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๒/๒) ประมวลธรรม : ๙.โลหิจจสูตร
๑๕.ประโยชน์ศาสดาถอย............มิเกิดคอยจะเห็นยล เจาะสอง,คล้ายกะสามด้น..............ตะศิษย์ฟังมิหนีหาย
๑๖.กุสามศาสดาโรจน์.................ประโยชน์โชติจะสอนฉาย ตะศิษย์เองมิฟังกราย.....................จะพากันระเริงหนี
๑๗.ผิโลหิจจ์ฯซิทูลว่า..................ก็ศาส์ดา ณ โลกนี้ มิควรติงติเลยมี..............................รึไม่มีประการใด
๑๘.พระองค์ตรัสวะมีหนา.............พระศาส์ดาริบวชไกล พิสุทธิ์ศีลสมาธิ์ใส..........................ลุฌานสี่เสาะแปด"วิชช์ฯ"
๑๙.ก็ตนเกริกอร์หันต์พาน............และศิษย์ผ่านลุตามติด เพราะสั่งสอนอุดมกิจ.....................ติไม่ได้เพราะสมบูรณ์
๒๐.สิโลหิจจ์ฯก็เสริญเจตน์..........พระธรรมเทศนาพูน แสดงตนอุบาฯทูน..........................พระรัตน์ตรัยศรัณย์นาน ฯ|ะ
แสงประภัสสร ๒๙ กันยายน ๒๕๖๗
ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ ทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๑๑-๓๑๒
โกศล=แคว้นโกศล โลหิจจ์ฯ=โลหิจจพราหมณ์ สลาฯ=ตำบลบ้านชื่อ สาลวติกา พันธนาฯ=พันธนาการ คือ เครื่องผูกมัด ปเสนฯ=พระเจ้าปเสนทิโกศล ราชาจากแคว้นโกศลล ฌานสี่=ฌาน ๑-๔ คือภาวะที่จิตสงบจากการเพ่งอารมณ์เป็นสมาธิ คือ ๑)ฌานหนึ่ง หรือปฐมยาม มีวิตก(ความตรึก),วิจาร(ความตรอง) และปีติ ความอิ่มใจ ๒)ฌานที่สอง หรือทุติยฌาน ซึ่ง วิตกและ วิจาร สงบระงับ เหลือแต่ ปีติ ๓)ฌานสาม หรือตติยฌาน มีปีติ(ความอิ่มใจ) สงบระงับ ๔)ฌานสี่หรือ จตุตถฌาน มีอุเบกขา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข วิชช์ฯ=วิชชา ๘ คือปัญญาพิเศษ แปดประการ ได้แก่ ๑)วิปัสสนาญาณ=ญาณที่ทำให้เห็นแจ้งด้วยปัญญา ๒)มโนมยิทธิ คือฤทธิ์ทางใจ นิรมิตร่างกายอื่น จากกายนี้ได้ ๓)อิทธิวิธิ คือแสดงฤทธิ์ได้ เช่น น้อยคนทำให้เป็นมากคน มากคนทำให้เป็นน้อยคน เดินในน้ำ ดำดิน เป็นต้น ๔)ทิพย์โสต=มีหูทิพย์ ได้ยินเสียงใกล้ไกล ที่เกินวิสัยหูมนุษย์ธรรมดา ๕)เจโตปริยญาณ คือ กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้ ๖)ปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือระลึกชาติในอดีตได้ ๗)จุตูปปาตญาณ คือ ญาณรู้ความตาย ความเกิดของสัตว์ได้ โดยเห็นด้วยตาทิพย์ ๘)อาสวักขยญาณ คือ ญาณที่ทำอาสวะ กิเลสที่หมักหมม หรือหมักดองในสันดานให้สิ้นไป อุบา=อุบาสก พระรัตน์ตรัย=พระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
ประมวลธรรม : ๑๐.เตวิชชสูตร(สูตรว่าด้วยไตรเวท)
กาพย์มหาตุรงคธาวี
๑.พระพุทธ์องค์.......พร้อมด้วยหมู่สงฆ์.......มุ่งตรงแคว้นโกศล บ้านพราหมณ์นา...."มนสาฯ"ตำบล....ป่ามะม่วง.....ลุล่วง"อจิร์วดี" มีพราหมณ์มั่ง......หลายพักอยู่ยั้ง......เช่น"วังกีส์,ตารุกข์"รี่ "โปกข์ฯ"พราหมณ์....ตาม"ชาณุฯ"ปรี่....อีก"โตเทยย์ฯ"....ชื่อเปรยเปรื่องอีกหลายคน
๒.สองมาณพ......"วาเสฏฐะฯนบ.....ประสพ"ภารัทฯ"ด้น สนทนาตรอง....ทางส่องตรงก่น....อยู่ร่วมกัน....และตรับด้วยพระพรหม วาเสฏฐะฯ......อ้างถ้อย"โปกขะฯ......ภารัทะอิง"ตารุกข์ฯ"ชม ไม่ตกลง....ไหนบ่งชัดคม....จึงพากัน....เฝ้าพลันถามพระพุทธ์องค์
๓.มานพพลาง......ทูลข้อเถียงคลาง......หลายทางพราหมณ์บอกบ่ง มีหลายสาย....ถ้าผายทำตรง....จะอยู่กับ....สดับตรับพระพรหมไว พระพุทธ์เจ้า.....ถามวาเสฏฐ์ฯเกลา......ทางเหล่านั้นไฉน ให้วาเสฏฐ์ฯ....ยืนเจตน์ชี้ไกล.....ถึงสามครั้ง....ทางหยั่งร่วมกับพรหมเอย
๔.พระองค์ตรัส......มีพราหมณ์รู้ชัด......ถนัด"ไตรเวท"เอ่ย หนึ่งคนไหม....เคยใกล้พรหมเชย....กราบทูลว่า....ก็หามีใครได้ยล ตรัสถามต่อ......ครูของพราหมณ์ก่อ......เหมาะพอไตรเวทท้น หนึ่งคนมี....เห็นรี่พรหมผล....ทูลตอบได้.....ว่าไม่มีใครเห็นพรหม
๕.ทรงตรัสตอบ......ครูของครูพราหมณ์.....แค่นามหนึ่งมีไหม ทูลตอบแล้ว....จะแคล้วคลาดไกล....ไม่มีผู้.....เห็นรู้จักพระพรหมเลย ทรงถามว่า......ย้อนเจ็ดชั่วหนา......มีฝ่าหนึ่งคนเผย ที่เคยเห็น....ดังเช่นพรหมเคย.....ทูลตอบได้....ว่าไม่มีใครเห็นพรหม
๖.ตรัสถามว่า......ฤษีรุ่นก่อนมา......แต่งคว้าร่ายมนต์สม เช่น"อัฏฐกะ"...."จามะฯ"สดมภ์....สมัยนี้....พราหมณ์รี่เรียนไตรเวทชาญ มีใครบ้าง.....เคยกล่าวตนอ้าง.....เห็นร่างพระพรหมฉาน อยู่อย่างไร....ที่ไหนเห็นปาน....ทูลตอบว่า....จะหายังมิได้เลย
๗.พุทธ์เจ้าเปรียบ.......เหมือนตาบอดเฉียบ........จูงเงียบคนบอดเฉย คนต้น,กลาง....คนวางท้ายเอย.....สามช่วงเป็น....ไม่เห็นภาพใดเข้ามา พราหมณ์มิรู้ด้น.....ด้วยไตรเวทล้น......คนต้น,กลาง,ท้ายหนา มิเคยเห็น.....พรหมเด่นสักครา....คำพราหมณ์กล่าว.....ก็ร้าวว่างเปล่าเช่นกัน
๘.ตรัสถามเพิ่ม.......พราหมณ์,ผู้อื่นเสริม......เห็นเดิมขึ้น-ตกครัน พระอาทิตย์....มีกิจคู่จันทร์....จึงเสริญไหว้....นี้ไซร้จะพอหรือเจียว รู้ไตรเวท.......จะพอพิเศษ.......ถึงเขตร่วมหนึ่งเดียว อาทิตย์-จันทร์.....ได้พลันแน่เทียว.....กราบทูลใช่.....คาดไม่พออย่างแน่นอน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๒/๓) ๑๐.เตวิชชสูตร
๙.ตรัสต่อไป.......แค่มองเห็นไซร้.......มิใช่พอชี้สอน แต่พราหมณ์รู้......พร้อมคู่ไตรฯวอน.....ทั้งครูผอง.....ไป่มองเห็นพรหมด้วยตา ก็ยังชี้.......แนวทางตรงปรี่......จุ่งรี่ถึงพรหมหนา ทรงตรัสถาม.....ถ้อยความกล่าวมา....ไร้หลักฐาน......ดูผ่านเลื่อนลอยหรือใย
๑๐.เขาทูลตอบ.......เลื่อนลอยมิชอบ.....จะยอบกระทำมิได้ พุทธ์เจ้าตรัส.....มิชัดเจนใด......ทั้งรู้,เห็น.....ยังเน้นทางตรงสู่พรหม อยู่ร่วมใกล้.....พระพรหมอีกไซร้.....จะไม่เป็นจริงสม ทรงเปรียบเปรย.....ห้าเผยข้อคม.....พราหมณ์กระทำ.....ประจำซมสู่พรหมพลัน
๑๑.หนึ่งตรัสเทียบ......รู้ไตรเวทย์เฉียบ.......ห่างเลียบไกลพรหมครัน เหมือนชายรัก......หญิงนักแต่หวั่น.....ไม่รู้ชื่อ....และหรือบ้านอยู่ที่ใด สอง,จะวาง.......บันไดพาดพลาง........เป็นทางสี่แพร่งไซร้ ขึ้นปราสาท.....แต่พลาดผิดไป....มิรู้ที่....ตั้งชี้ปราสาทเลยนา
๑๒.สาม,พราหมณ์รู้......ไตรเวทเลิกชู......ธรรมกรูเป็นพราหมณ์หนา กลับยึดธรรม....และซ้ำไม่คว้า....ธรรมที่เป็น....พราหมณ์เด่นอีกแต่ออกนาม เทพ,พระอินทร์......โสมะ,มหินทร์.......ยินดีพระพรหมงาม วอน,ตั้งใจ....ก็ไม่ก่อลาม....อยู่ร่วมกัน....สดับพระพรหมได้เอย
๑๓.เปรียบเหมือนคน......วอนฝั่งน้ำร่น......ถึงตนย่อมไม่เลย สี่,พราหมณ์ชาญ....รู้งานเชี่ยวเคย....กับไตรเวท...แต่เจตน์หมกกามคุณ เครื่องจองจำ......ผูกมัดสัตว์หนำ....ย่อมย้ำห่างพรหมหนุน เหมือนข้ามน้ำ....มิสำเร็จจุน....มีเชือกมัด....จับดัดมือไพล่หลังเอย
๑๔.ห้า,พราหมณ์รู้......คล่องไตรเวทอยู่......แต่พรู"นิวรณ์"เผย พอใจกาม....ฆาตลามจนเคย....กิเลสขัด....สกัดอยู่ห่างพรหมไกล เหมือนข้ามน้ำ.......ผ้าคลุมหัวนำ......แล้วร่ำนอนทันใด ณ ฝั่งนี้....จะปรี่ข้ามไว....ถึงฝั่งโน้น....ก็โพ้นไกลสิ้นทางรมย์
๑๕.ทรงตรัสถาม......ครูของครูพราหมณ์.....กล่าวความถึงพระพรหม ห้าข้อนี้....หนึ่ง,ชี้นิยม...."มีสิ่งหวง"....ติดบ่วงสตรีหรือไง สอง,จิตมี......"ผูกเวร"เร็วคลี่......เกลียดชี้ไม่จบไหม สาม,อาฆาต....คิดวาดแค้นไกล....เจ็บใจนาน....คิดผลาญสิ้นใช่หรือไร ๑๖.สี่,เศร้าหมอง......ใจโศกเศร้าครอง.......จับจองกิเลสไหม ห้า,คุมจิต.....ให้ชิดอยู่ใน....อำนาจล้น....ที่ตนต้องการได้ไร มาณพทูล.......ครูพราหมณ์กล่าวพูน......พรหมจรูญข้อห้าไซร้ เป็นเช่นนั้น....เหลือนั่นหนีไกล....ไม่เป็นเอย....เฉลยไร้ความดีงาม
๑๗.ทรงถามต่อ......รู้ไตรเวทส่อ.....พราหมณ์จ่อถึงพรหมตาม หรือไม่นา.....เขาว่าตรงข้าม....พราหมณ์ยังมี....สิ่งที่หวง,ยังผูกเวร พยาบาท.......จิตเศร้าหมองฆาต........จิตพลาดอำนาจเด่น ตรัสถามว่า.....พราหมณ์นาจะเป็น....เทียบพระพรหม....ได้สมหรือไม่อันใด
๑๘.มาณพแถลง......มิได้แน่แจง.....ทรงแสดงสรุปไว้ พราหมณ์ตายแล้ว.....จะแคล้วพรหมไกล.....ไป่ฐานะ....ที่จะอยู่กับพระพรหม ตรัสเสริมพราหมณ์....รู้ไตรเวทความ......เข้าลาม,วิบัติจม เข้าทางผิด....เพราะคิดแดนรมย์....เป็นภาพลวง.....เห็นบ่วงทรายเป็นน้ำกลาย
๑๙.พุทธ์องค์ชี้......ด้วยไตรเวทนี้......ขานคลี่ว่าเป็นฉาย ป่าไตรเวท......ไร้เขตบ้านปราย....ไม่มีบ้าน.....น้ำรานไม่มีอีกแล ความเสื่อมถอย.......ของไตรเวทคล้อย.....อันด้อยสำคัญแฉ วาเสฏฐ์คลาง....ใดทางพรหมแล้.....จะไปอยู่....ร่วมชูกับพระพรหมไว
๒๐.พุทธ์เจ้าตอบ.....รู้จักพรหมชอบ......จรรอบพรหมโลกไข ปฏิบัติ....ใดชัดได้ไป....สู่พรหมโลก....ไร้โศกทุกข์ใจปลดปลง ทรงแนะนำ......วาเสฏฐ์ฯพฤติทำ......ลึกด่ำพรหมจรรย์บ่ง ถือศีลหนา.....สมาธิ์เสริมส่ง...แผ่เมตตา....จิตกล้าละนิวรณ์ราน
๒๑.พฤติเยี่ยงนี้......ฌานอุบัติคลี่........เกิดมีลำดับงาน สงฆ์ตายแล้ว.....ต้องแกล้วสู่ฐาน....ผู้ร่วมกับ....และตรับพระพรหมได้เอย สองมานพ.....ทูลสรรเสริญนบ......ขอจบอุบาฯเผย สูตรนี้ต้อง....พฤติกรองเด่นเชย....ให้รู้-เห็น.....ผลเด่นจริงจริงแน่เทียว ฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ ทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๑๓-๓๑๕
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
ต่อหน้า ๓/๓) ๑๐.เตวิชชสูตร
มนสาฯ=ตำบลบ้านพราหมณ์ชื่อ มนสากตะ อจิรวดี=พระพุทธเจ้าประทับ ณ ป่ามะม่วง ริมแม่น้ำ อจิรวดี พราหมณ์มหาศาล (พราหมณ์ที่เป็นเศรษฐี)=เช่น วังกีสพราหมณ์,ตารุกขพราหมณ์,โปกขรสาติพราหมณ์,ชาณุสโสนิพราหมณ์,โตเทยยพราหมณ์ วาเสฏฐะ=ผู้สืบสกุลวสิษฐะ ภารัทฯ=ภารัทวาชะ ผู้สืบสกุลภารัทวาชะ ไตรเวท=คัมภีร์ศาสนาพราหมณ์ มี ๓ คัมภีร์ ได้แก่ ๑)ฤคเวท -บทสวดสรรเสริญเทพเจ้า ๒)ยชุรเวท-บทสวดอ้อนวอนในพิธีบูชายัญ ๓)สามเวท-บทเพลงสำหรับสวดหรือร้องเป็นทำนองในพิธีบูชายัญ ต่อมาเพิ่ม อถรรพเวท ว่าด้วยคาถาอาคมทางไสยศาสตร์เข้ามาอีกเป็น ๔ อัฏฐกะ,วามกะ=คือ ฤษีรุ่นก่อนๆที่แต่งมนต์ ร่ายมนต์ พระอินทร์=ชื่อเทพเจ้าในศาสนา พราหมณ์ ฮินดู พุทธ ในทางพุทธก็คือท้าวสักกะ เป็นเทวราช ผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ โสมะ=พระโสมะ คือพระเจ้าแห่งคำพูดใน ฤคเวท มหินทร์=พระมหินทร์ กามคุณ ๕=คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อันน่าปรารถนารักใคร่ชอบใจ นิวรณ์ห้า=คือ อารมณ์ทางความคิด ที่ขัดขวาง ปิดกั้นมิให้จิตลุความดี เป็นอุปสรรคต่อการลุธรรม แบ่งเป็น ๕ อย่าง ๑)กามฉันทะ -ความพอใจในกาม ความรัก ความปรารถนา หลงใหล ๒)พยาบาท -ความปองร้าย ๓)ถีนมิทธะ-ความง่วงเหงา หดหู่ เกียจคร้าน ๔)อุทธัจจะกุกกุจจะ-ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ วิตกกังวล ๕)วิจิกิจฉา-ความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ ฌาน=ฌาน ๑-๔ คือภาวะที่จิตสงบจากการเพ่งอารมณ์เป็นสมาธิ คือ ๑)ฌานหนึ่ง หรือปฐมยาม มีวิตก(ความตรึก),วิจาร(ความตรอง) และปี ติ ความอิ่มใจ ๒)ฌานที่สอง หรือทุติยฌาน ซึ่ง วิตกและ วิจาร สงบระงับ เหลือแต่ ปีติ ๓)ฌานสาม หรือตติยฌาน มีปีติ(ความอิ่มใจ) สงบระงับ ๔)ฌานสี่หรือ จตุตถฌาน มีอุเบกขา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข อุบาฯ=อุบาสก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
ประมวลธรรม : ๑๑.มหาปทานสูตร(สูตรว่าด้วยข้ออ้างใหญ่)
กาพย์ทัณฑิกา
๑.พุทธ์เจ้าพักที่......."กเรกุฎีฯ".....เชต์วนาราม กรุงสาวัตถี....สงฆ์รี่ติดตาม....ทรงเล่าเรื่องลาม....."ปุพเพนิวาฯ"
๒.เรื่องเกิดชาติก่อน......ทรงเล่าเรื่องย้อน.....พุทธ์เจ้าหกหนา และพระองค์เอง....รวมเปล่งเจ็ดนา....เจิดจ้าเนิ่นกาล....ขานนานชั่วกัลป์
๓.หนึ่ง"วิปัสสี"......สกุลกษัตริย์ชี้......สามสิบเอ็ดดั้น กัปป์ก่อนกาลนี้....นามชี้"โกณฑัณฯ"....อายุถลัน....ได้แปดหมื่นปี
๔.ตรัส์รู้ ณ โคนไม้......ต้นแคฝอยไว......อัคร์สาวกชี้ "ขัณฑะ,ติสสะ"....มีประชุมคลี่....รวมสามครั้งถี่....สงฆ์หลายประชุม
๕.หกล้านแปดแสน......หนึ่งแสนรูปแก่น.....แปดหมื่นรูปสุม สามครั้งล้วนมา....ขีณาสพกลุ่ม...."อโสกะ"คุม.....พุทธ์อุปฐากครัน
๖.พระพุทธ์บิดา......นามพันธุมา......พุทธ์มารดานั้น นาม"พันธุมตี"....เมืองที่ครองพลัน...พันธุมตีนั่น....เป็นราช์ธานี
๗.สอง"พระสิขีฯ".......สกุลกษัตริย์ชี้........สามสิบเอ็ดหนี กัปป์ปัจจุบัน...."โกณฑัณฯ"นามคลี่.....อายุยืนปรี่....เจ็ดหมื่นปียง
๘.ตรัส์รู้โคนไม้.......บุณฑริกไกล......อัคร์สาวกบ่ง "อภิภู"ด่ำ...."สมภวะ"ตรง....มีประชุมสงฆ์....รวมสามครั้งนา
๙.แสนรูป,แปดหมื่น.......และเจ็ดหมื่นรื่น.......ล้วนขีณาฯหนา พุทธ์อุป์ฐากดัง....."เขมังกรฯ"กล้า.....รับใช้ทั่วหล้า.....พระพุทธ์เจ้าเอย
๑๐.พระพุทธ์บิดา......."อรุณะ"นา.....พุทธ์มารดาเผย "ปภาวตี".....เมืองที่ครองเอ่ย......"อรุณวะฯ"เคย.....ศูนย์กลางนคร
๑๑.สาม"พระเวสส์ภูฯ"......สกุลกษัตริย์อยู่.......สามสิบเอ็ดก่อน กัปป์ปัจจุบัน......"โกณฑัณฯ"นามพร.....อายุยืนช้อน....หกหมื่นปีชม
๑๒.ตรัส์รู้โคนไม้......"สาละ"วิไล......อัคร์สาวกสม "โสณณะ,อุตตระ"....มีประชุมคม....สามครั้งพร่างพรม....ล้วนเป็นขีณาฯ
๑๓.แปดหมื่น,เจ็ดหมื่น......และหกหมื่นชื่น......พุทธ์อุป์ฐากหนา ชื่อ"อุป์สันตะ"....ผู้สนองกล้า....คล้ายกับเลขา....พุทธ์องค์ครัน
๑๔.พระพุทธ์บิดา......"สุปปติ"จ้า......พุทธ์มารดานั้น นาม"ยสว์ตี"....จะมีเมืองดั้น....อโนมะพลัน....เป็นราช์ธานี
๑๕.สี่"กกุสันธ์ฯ"......สกุลพราหมณ์ดั้น.....ในภัทท์กัปป์นี้ "กัสส์ปะ"โคตรเดิม....เจริญสี่หมื่นปี....ตรัสรู้รี่....โคนไม้ซีกพรรณ
๑๖.อัคร์สาวกคู่......"วิธูระ"รู้......."สัณชีวะ"สรร การประชุมจัด.....อุบัติเดียวมั่น....รวมสาวกนั้น....สี่หมื่นรูปคง
๑๗.สาวกทั้งมวล......ขีณาสพล้วน.....มาประชุมส่ง วุฑฒิชะ.....อุปฐากสงฆ์....พระพุทธ์เจ้าตรง....อยู่ใกล้ชิดงาน
๑๘.พระพุทธ์บิดา......เป็นพราหมณ์ชาญหนา....."อัคคิฯ"นามขาน พระพุทธ์มารดา....."วิสาขา"กราน....."เขมว์ตีฯ"สาน....เมืองหลวงครองครัน
๑๙.ห้า"โกนาคม"......ตระกูลพราหมณ์สม......ภัทร์กัปป์เดียวกัน "กัสส์ปะฯ"โลด......ชื่อโคตรเดิมสรรค์....อายุกระชั้น.....ได้สามหมื่นปี
๒๐.ตรัสรู้เอื้อ.....โคนไม้มะเดื่อ......อัคร์สาวกชี้ ข้างซ้าย-ขวาปะ...."ภิยโย"ดี...."อุตตะ"ที่....ช่วยงานพุทธ์ฯเอย
๒๑.ประชุมสาวก......เกิดครั้งเดียวพก........สามหมื่นรูปเผย สาวกล้วนคว้า.....ขีณาสพเชย....อุป์ฐากชื่อเปรย...."โสตถิชะ"นา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า๒/๓) ๑๑.มหาประทานสูตร
๒๒.พุทธ์บิดานาม....."ยัญญ์ทัตตะ"ถาม......"อุตต์รา"มารดา "โสภะ"เจ้าครอง....เมืองผ่องปกหล้า...."โสภาว์ตี"นา....ราชธานี
๒๓.หก"กัสสปะ"ทูน......เกิดพราหมณ์ตระกูล......ในภัทท์กัปป์นี้ โคตรเดิมนะ.....กัสสปะรี่....อายุเต็มปรี่....สองหมื่นปีไกล
๒๔.ตรัส์รู้โคนต้น......นิโครธ,ไทรทน......อัคร์สาวกไข ภารัทวาชะ....ติสสะคู่ไซร้....มีประชุมได้....แค่เพียงครั้งเดียว
๒๕.สงฆ์แค่สามหมื่น......เข้าประชุมยืน.....ขีณาสพเจียว พุทธ์อุป์ฐากชิด...."สัพพ์มิตตะ"เทียว....รับใช้ปราดเปรียว....พระพุทธ์เจ้านา
๒๖.พุทธ์บิดาชื่อ......"พรหมทัตตะ"ลือ......"ธน์วาฯ"มารดา "กิงกิ"เจ้าครอง....ปกป้องเมืองฟ้า...."พาราณสี"มา......ราชธานี
๒๗.เจ็ดตัวพระองค์......เกิดกษัตริย์วงศ์.....ในภัทท์กัปป์นี้ "โคตมะ"นาม....ชื่อตามโคตรรี่....ด้อยอายุมี....เหลือร้อยปีพาน
๒๘.อายุเกินกว่า......มีน้อยยากหา......เพราะความจนขาน ลักขโมยเอา.....ศีลเซาพร่องราน....อาฆาตมุ่งผลาญ....ห่วงประโยชน์ตน
๒๙.โคตมพุทธ์ฯใฝ่......ตรัสรู้โคนไม้....."อัตสัตถะ"ยล สาริบุตรขวา....ปัญญาเลิศผล....ซ้าย"โมคคัลฯ"ดล....ฤทธิ์เกริกวิบูลย์
๓๐.ประชุมครั้งเดียว......สงฆ์หนึ่งพันเจียว......กับสองห้าศูนย์ ทั้งหมดล้วนหนา....ขีณาสพดูลย์....พุทธ์อุป์ฐากกูล....พระพุทธ์เจ้างาน
๓๑.พุทธบิดา......."สุทโธท์นะฯ"หนา.....พุทธ์มารดาพาน เอ่ยนาม"มายา".....อยู่หล้าเมืองผ่าน....กบิลพัสด์ฯกราน....ราชธานี
๓๒.โคตมพุทธ์ฯตรัส......ประวัติ"วิปัสส์ฯ"....เกิดเป็นคนคลี่ ถึงเป็นพุทธ์เจ้า....มีเหย้าจากที่....โพธิสัตว์ชี้....มาก่อนธรรม์ดา
๓๓.พระโพธิสัตว์.......เกิดเป็นคนชัด......ลุพุทธ์เจ้าหนา มีเหตุการณ์เกิด....หลายเพริศในหล้า....ต่างการเกิดนา.....ของสัตว์อื่นใด
๓๔.แรกโพธิสัตว์......จากสวรรค์ชัด.....ดุสิตสรวงใส สู่ครรภ์มารดา....แสงจ้าพร่างไกล....โลกธาตุหวั่นไหว....สะเทือนโลกนา
๓๕.เทพ์บุตรสี่ตน......อารักขาท้น......สี่ทิศทั่วฟ้า ป้องกันภัยรุด....อมนุษย์นา....และจากคนคร่า.....ทำลายพระโพธิ์ฯ
๓๖.พระโพธิ์,มารดา......ทรงศีลห้าหนา......มารดามิโร่ รู้สึกทางกาม....ใจตามชายโผล่....ชายใดล่วงโข....มิก่อได้เลย
๓๗.พระมารดามี......ลาภสมบูรณ์คลี่.....กามคุณห้าเผย ไม่มีโรคใด....หว่างไซร้ครรภ์เกย....จะเห็นกายเอย....พระโพธิ์สัตว์ชิน
๓๘.พระโพธิ์อุบัติ......ครบเจ็ดวันชัด......พระมารดาสิ้น สู่ดุสิตครอง....ปกป้องครรภ์ปิ่น....มิให้สัตว์ผิน....มาเกิดได้ครา
๓๙.พุทธ์มารดามี.......ครรภ์สิบเดือนปรี่.......จึงคลอดออกมา หญิงอื่นประมาณ....เก้าผ่านธรรม์ดา....อาจสิบเดือนล่า....ส่วนน้อยนิดเดียว
๔๐.หญิงอื่นนั่ง,นอน......จึงคลอดลูกอ่อน......พุทธ์มารดาเดี่ยว ยืนคลอดขณะ....ชมปะสวนเทียว....เทพสี่ตนเกรียว....รีบรับก่อนคน
๔๑.แรกประสูติคาด......โพธิ์สัตว์สะอาด......น้ำร้อน-เย็นล้น สนานทั่วกาย....โพธิ์ฯกรายเดินท้น....เจ็ดก้าวพูดก่น....จะเป็นเลิศนา
๔๒.ชาตินี้โพธิ์สัตว์.....เกิดสุดท้ายชัด.......ขณะประสูติหนา เกิดแสงสว่าง....กระจ่างทั่วหล้า....หมื่นโลกธาตุอ้า....สั่นไหวสะเทือน
๔๓.วิปัสฯกุมาร......ประสูติมินาน......พราหมณ์พิศร่างเกลื่อน ทายกุมารว่า....รูปหนาครบเงื่อน....สามสิบสองเอื้อน....บุรุษยิ่งพา
๔๔.ถ้าครองเรือนแล้ว......เป็นจักรพรรดิ์แกล้ว......ถ้าผนวชหนา จักเป็นพุทธ์เจ้า....ฝึกเร้าเลี้ยงมา....นั่งตักบิดา....ว่าราชการ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๓/๓) ๑๑.มหาปทานสูตร
๔๕.ทรงพิจารณ์ดี......ถูกเรียกชื่อชี้......"วิปัสสี"ขาน ผู้รู้แจ้ง,แปล....ต่อแต่นั้นพาน.....พบคนแก่ผลาญ....ตาย,นักบวชไกล
๔๖.วิปัสฯออกบวช......พิจารณ์ธรรมรวด......"ปฏิจจ์ฯ"ปัจจัย เหตุเกิดเกี่ยวข้อง....โซ่คล้องชิดใกล้....เกิด-ดับขันธ์ไว....ลุพุทธ์เจ้าครัน
๔๗.แรก"วิปัสสีฯ".......คิดไม่สอนรี่.......ธรรมลึกยากด้น แต่ทรงคิดว่า....ผู้กล้ามิหวั่น....จึงเริ่มสอนพลัน...."ขัณฑะ"บุตรชาย
๔๘.และสอนธรรมลือ......ปุโรหิตชื่อ.....ติสสะเพียรหลาย ทั้งสองเห็นธรรม....บวชนำขวนขวาย....อรหันต์กราย....ส่งสอนมวลชน
๔๙.เมื่อครบหกปี......กลับพันธุมตี......ประชุมสงฆ์ก่น วิปัสฯพุทธ์เจ้า.....แจงเกลาธรรมล้น....."ปาฏิโมกข์"ผล.....เหมือน"โอวาทปาฯ" ฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ ทีฆนิกาย มหาวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๑๖-๓๑๙
พุทธ์เจ้า,พุทธ์=พระพุทธเจ้า กเรกุฎี=กเรริกุฎี (กุฎีมีมณฑปทำด้วยไม้กุ่มตั้งอยู่เบื้องหน้า) เชต์วนาราม=เชตวนาราม ของ อนาถปิณฑิกคฤหบดี ใกล้กรุงสาวัตถี ปุพเพนิวาฯ=ปุพเพนิวาส ความเป็นไปในชาติก่อน พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์=๑)พระวิปีสสีพุทธเจ้า ๒)พระสิขีพุทธเจ้า ๓)พระเวสสภูพุทธเจ้า ๔)พระกกุสันธพุทธเจ้า ๕)พระโกนาคมนพุทธเจ้า ๖)พระกัสสปพุทธเจ้า ๗)พระโคตมพุทธเจ้า กัลป์,กัปป์=กำหนดอายุของโลก ระยะเวลาตั้งแต่กำเนิดของโลกจนโลกสลาย อุปมาเปรียบเหมือนมีภูเขาศิลาล้วน กว้าง ยาว สูง ด้านละ ๑ โยชน์ ทุก ๑๐๐ ปี มีคนนำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป แต่กัปปหนึ่งยาวนานกว่านั้น ขีณาสพ=ผู้มีอาสวะ(กิเลส)สิ้นแล้ว คือ พระอรหันต์ พุทธ์อุป์ฐาก=พุทธอุปฐาก คือผู้รับใช้พระพุทธเจ้า อรุณวะฯ=อรุณวตีนคร เป็นราชธานี ของ พระพุทธบิดา อรุณะ ใน พระสิขีพุทธเจ้า สุปปตีฯ=สุปปตีตะ เป็นพุทธบิดา ของ พระเวสสภูพุทธเจ้า ยสว์ตี=ยสวตี เป็น พุทธมารดาของ พระเวสสภูพุทธเจ้า อุป์สันตะ=อุปสันตะ เป็นพุทธอุปฐาก ของ พระเวสสภูพุทธเจ้า กกุสันธ์ฯ=พระกกุสันธพุทธเจ้า อัคร์สาวก= อัครสาวก คือสาวก ข้างขวา-ซ้าย ของพระพุทธเจ้า วิปัสฯ=พระวิปัสสีพุทธเจ้า ภัทท์กัปป์=ภัททกัปป์ คือ กัปป์ที่มี พระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ ๕ พระองค์ (สารกัปป์ มีพระพุทธเจ้า ๑ พระองค์;มัณฑกัปป์ มี ๒; วรกัปป์ มี ๓;สารมัณฑกัปป์ มี ๔;ภัททกัปป์ มี ๕ พระองค์) กัปป์ ปัจจุบันนี้=เป็น ภัททกัปป์ มีพระพุทธเจ้าอุบัติมาแล้ว ๔ พระองค์ คือ ๑)พระกกุสันธพุทธเจ้า ๒)พระโกนาคมนพุทธเจ้า ๓)พระกัสสปพุทธเจ้า ๔)พระโคตมพุทธเจ้า ๕) ว่าที่ พระเมตไตรยพุทธเจ้า (ขณะนี้ยังอยู่ในพุทธกาล ของ พระโคตมพุทธเจ้า) อัคคิฯ=อัคคิทัตตะ เป็นพุทธบิดา ของ พระกกุสันธพุทธเจ้า เขมว์ตี=เขมวตีนคร เป็นเมืองของพระเจ้าเขมะ ภิยโย=ภิยโยสะ เป็นอัครสาวกของ พระโกนาคมนพุทธเจ้า อุตต์รา=อุตตนา เป็นพุทธมารดา ของ พระโกนาคมนพุทธเจ้า โสภาว์ตี=โสภาวตี เป็น ราชธานี ของพระเจ้า โสภะ ธน์วาฯ=ธนวตี เป็น พุทธมารดา ของ พระกัสสปพุทธเจ้า อัตสัตถะ=ต้นโพธิ์ เป็นชื่อเรียกใหม่ โมคคัลฯ=โมคคัลลานะ อัครสาวก เบื้องซ้าย ของ พระโคตมพุทธเจ้า พระโพธิ์ฯ=พระโพธิสัตว์ คือ บุคคลที่ปรารถนาพระโพธิญาณ เพื่อจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต จึงบำเพ็ญบารมีธรรม อุทิศตนช่วยเหลือสัตว์ผู้มีความทุกข์ยาก ยินดีสละสิ่งของได้ทุกอย่างจนถึงชีวิต และสิ่งเสมอด้วยชีวิต คือ บุตร ภรรยาของตน มหาปุริสลักษณะ=คือ ลักษณะ ๓๒ ประการ ที่บอกให้รู้ว่าผู้ที่มาเกิดจะได้เป็นบุคคลสำคัญยิ่ง หรือเรียกพระโพธิสัตว์ ลักษณะ เช่น ๑)ฝ่าเท้าเรียบเสมอกัน ๒)ใต้ฝ่าเท้า ๒ ข้างมีลายกงจักรเกิดขึ้น ๓)มีส้นบาทยาว ๔)นิ้วมือ ๔ นิ้ว,นิ้วเท้าทั้ง ๕ เสมอกัน ไม่เหลื่อมสั้น-ยาว เหมือนมนุษย์ ๕)ฝ่ามือ ฝ่าเท้า อ่อนนุ่ม ฯลฯ ปฏิจจ์ฯ=ปฏิจจสมุปบาท คือธรรมที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่เกี่ยวโยงกันเหมือนลูกโซ่ ปาฏิโมกข์=หลักคำสอนสำคัญทางศาสนา เช่น ไม่ทำบาปทั้งปวง,ทำกุศลให้ถึงพร้อม,การทำจิตให้บริสุทธิ์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
ประมวลธรรม :๑๒.มหานิทานสูตร(สูตรว่าด้วยต้นเหตุใหญ่)
กาพย์พรหมคีติ
๑.ณ นิคม"กัมมาฯ"...............แคว้นใหญ่นา"กุรุ"หรู พุทธ์เจ้าประทับอยู่.................พระอานนท์ด้นเฝ้าครัน ทูลถึงธรรม"ปฏิจจ์ฯ"..............ที่เกิดชิดอาศัยกัน แม้จะลึกซึ้งชัน.......................อานนท์ติงว่าตื้นเอย
๒.พุทธ์องค์ทรงห้าม............อย่าพูดลามความนั้นเอ่ย ปฏิจจ์ฯและเงาเปรย................ลุ่มลึกถ้ามิรู้ธรรม สัตว์จึงไม่พ้น"อบาย"...............สภาพฉายตกต่ำหนำ ท่องวนเวียนเกิดซ้ำ.................ยุ่งเหยิงดั่งหญ้าเกลื่อนตา
๓.ทรงแนะปฏิจจ์ฯเด่น............อะไรเป็นปัจจัยหนา สิ่งใดบ้างพึ่งพา........................ต่อกันคล้ายโซ่ตรวน ถ้ามีผู้ถามว่า.............................เกิด,ตายนาปัจจัยผวน หรือไม่พึงตอบด่วน....................ว่ามีชี้แต่เกิดเลย
๔.เพราะเกิดเป็นปัจจัย............แก่,ตายไซร้จึงตามเผย ภพเป็นปัจจัยเกย......................จึงมี"ชาติ,เกิด"ตามมา "อุปาทาน,ยึด"รี่.........................ปัจจัยนี้ก่อภพครา "อยาก"เป็นปัจจัยพา..................จึงมีอุปาทานตาม
๕.เพราะ"เวท์นา,รู้สึก".............ปัจจัยนึก"อยาก"จึงลาม "ผัสสะ"ปัจจัยผลาม...................สัมผัสเกิดมีเวท์นา รูป-นามปัจจัยชัด........................จึงมีผัสสะกระทบมา "ปฏิสนวิญญ์ฯ"พา......................จึงมีรูป,นามเกิดตน
๖.นามรูปเป็นปัจจัย.................ก่อเกิดได้วิญญาณผล วิญญาณปัจจัยด้น......................จึงมีนามรูปทั้งมวล นามรูปเป็นปัจจัย........................ผัสสะไซร้กระทบถ้วน ผัสสะปัจจัยยวน.........................จึงมีเวท์นาอารมณ์
๗.เพราะเวท์นาเป็นปัจจัย........."ตัณหา"ไวอยากเพิ่มสม ตัณหาปัจจัยบ่ม..........................จึงมีอุปาทานยง อุปาทานปัจจัย............................มีภพไกลใช่ประสงค์ ภพเป็นปัจจัยบ่ง...........................จึงมี"ชาติ',เกิด"รอคอย
๘.เพราะชาติเกิดปัจจัย...............แก่,ตายใกล้ใฝ่มิถอย เหตุปัจจัยวนคล้อย.......................หว่างนามรูป,วิญญาณ ต่างผลัดเป็นปัจจัย.......................ของกันไปมาซมซาน แล้วจึงต่อเนื่องซ่าน......................ถึงอันอื่นสืบต่อไป
๙.ทรงสรุปวิญญาณ...................นามรูปซานเป็นปัจจัย ของกันและกันได้.........................เหตุสัตว์แก่,ตาย,เกิดมา มีเหตุคำบัญญัติ............................การรู้ชัดด้วยปัญญา เรียกชื่อและพูดจา........................มีวัฏฏะวนเวียนปน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๒/๔) ๑๒.มหานิทานสูตร
๑๐.พุทธ์องค์ทรงแสดง..............บัญญัติแจง"อัตตา,ตน" สี่ประการแก่ชน...........................หนึ่ง,ตนน้อยมีรูปเอย สอง,อัตตารูปมี.............................หาที่สุดมิได้เผย สาม,อัตตาน้อยเคย......................ไม่มีรูปจะเห็นใด
๑๑.สี่,ตนรูปไม่มี.........................และหาที่สุดมิได้ บัญญัติดังกล่าวไซร้.....................ย่อมมีได้สามประการ ตนมีปัจจุบัน.................................แค่นั้นตายแล้วสูญขาน ตนเป็นอย่างนี้พาน.......................เห็นว่าเที่ยงไม่เปลี่ยนแปลง
๑๒.อีกพวกบัญญัติตน................ลบล้างพ้นเห็นต่างแย้ง จูงสู่ความเห็นแข่ง.........................เข้าใจตนถูกต้องแล ส่วนการไม่บัญญัติ........................ตัวตนอัตตาสี่แน่ ย่อมพ้นเหตุจริงแท้........................ไม่มีประมาณใดเลย
๑๓.หนึ่ง,ไม่บัญญัติตน.................มีรูปทนท่องกามเผย ย่อมไม่ถือตนเคย..........................จึงไม่ติดสันดานไว สอง,ไม่บัญญัติตน.........................มีรูปพ้นหาสุดไหน ไม่บัญญัติสภาพใด........................ถือจนติดสันดานปลง
๑๔.สาม,ไม่บัญญัติตน..................ไร้รูปยลล้นกามบ่ง ไม่เห็นว่าจะคง................................สภาพไม่เที่ยงให้เปลี่ยนแปร สี่,ไม่บัญญัติตน..............................ไร้รูปปนหาสุดแฉ ย่อมไม่ถือตนแน่............................เพื่อรอสภาพเที่ยงนา
๑๕.พุทธ์องค์ทรงแสดง................ความคิดแจงสามข้อหนา เรื่องเวท์นา,อัตตา...........................ความรู้สึกตรึกตัวเรา หนึ่ง,เห็นเวทนา...............................เป็นอัตตาตัวตนเนา ด้วยความรู้สึกเร้า...........................ตลอดมาจนชินเคย
๑๖.สอง,เวท์นามิใช่......................อัตตาไซร้ของตนเอ่ย อัตตามิรู้เลย...................................อารมณ์รู้สึกไม่มี สาม,เวท์นามิใช่..............................อัตตาใดของตนชี้ ตนไม่รู้สึกรี่....................................หรือตนก็มีอารมณ์
๑๗.พุทธ์เจ้าเฝ้าติงเตือน...............อย่ายึดเยือนสามข้อสม ภิกษุตรึกตรองคม...........................ไม่ยึดใดในโลกเอย ไม่ยึดถือก็หน่าย.............................ดิ้นรนคลายสงบเผย จึงดับสนิทเอย................................การเกิดสิ้นสุดไปครัน
๑๘.พฤติพรหมจรรย์สิ้นแล้ว..........กิจอื่นแคล้วแผ่วสิ้นผัน ภิกษุหลุดพ้นนั้น.............................ไม่ควรใครกล่าวหาความ สัตว์ตายแล้วเกิดใหม่.....................ตายแล้วไป่เกิดอีกผลาม มีเกิด,ไม่เกิดตาม............................ทั้งเกิดมิเกิดมิเป็น
๑๙.ข้อนั้นเพราะเหตใด.................พุทธ์เจ้าไซร้ตรัส"วัฏฏ์ฯ"เด่น วัฏฏะหมุนเวียนเน้น.........................ตราบยังมีบัญญัติ"คำ"เปรย ทางเรียกชื่อ,พูดสวย.......................ทางรู้ด้วยปัญญาเอ่ย สงฆ์รู้มิ"ติด"เลย..............................สมมติบัญญัติหมุนเวียน
๒๐.ต่อนั้นพุทธ์องค์แจง.................ที่อยู่แฝง"ฐิติวิญญาฯ"เถียร ในสัตว์เจ็ดพวกเดียร.......................กายเหมือนหรือต่างกันครา หนึ่ง,กายสัตว์ต่างนำ........................สัญญา"จำ"มิเหมือนหนา เทวาบางพวกนา..............................มนุษย์,เปรตบางกลุ่มเอย
๒๑.สอง,มีกาย,สัญญา....................เดียวกันนาใน"อบาย"เผย พวกเทพ,พรหมเกิดเชย....................ด้วยสำเร็จปฐมยาม สาม,มีกายเหมือนกัน........................สัญญาครันต่างกันฉาน เทพ"อภัสสร"ปาน.............................ลุทุติย์ฌานรมย์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๓/๔) ๑๒.มหานิทานสูตร
๒๒.สี่,มีกาย,สัญญา.....................อย่างเดียวนาเช่นเทพสม พวก"สุภกิณห์ฯ"พรหม...................ลุตติย์ฌานไกล ห้า,สัตว์ไร้รูปมา.............................ใจเพ่งอากาศไม่สุดไซร้ พวก"อากาฯ"พรหมไว....................ลุ"อากาสานัญจาฯ"
๒๓.หก,สัตว์ไร้รูปฉาน.................มุ่งวิญญาณมิสุดหนา "วิญญาณัญฯ"พรหมมา.................ถึง"วิญญาญัญจาฯ"ไกล เจ็ด,สัตว์ไร้รูปเห็น.........................ใจมุ่งเด่นว่างเปล่าไง คือ"อากิญฯ"พรหมไซร้..................ถึง"อากิญจัญญาฯ"ดล
๒๔.ครั้นแล้วทรงแจงนา...............ที่ต่อ"อาย์ตนะ"ผล หนึ่ง"อสัญญีฯ"ยล..........................มีรูปแต่ไร้วิญญาณ มิมีสัญญา,จำ.................................ไม่อยู่ส่ำเจ็ดพวกขาน เรียก"อาย์ตนะ"พาน.......................รู้เกิด,ดับมีโทษ,คุณ
๒๕.สอง,"เนวสัญญ์ฯ"ไซร้.............ไร้รูปไร้วิญญาณกรุ่น รู้เกิด,ดับ,โทษ,คุณ.........................รู้ทางพ้น"เนวสัญญาฯ" ภิกษุทราบอุบาย............................ควรจะหน่ายเพื่อพ้นหนา "ฐิติวิญญาณ"ลา............................และ"อาย์ตนะ"สองพลัน
๒๖.พุทธ์องค์ถามอานนท์.............รู้ทางพ้น"ฐิติฯ"เจ็ดมั่น และอายตนะนั้น.............................ควรหรือจะชื่นพอใจ อานนท์ทูลมิควร............................พุทธ์องค์ชวนรู้จริงไซร้ หลุดพ้นไม่ยึดไว้............................ด้วยปัญญาวิมุติครัน
๒๗.พุทธ์องค์ทรงชี้......................หลุดพ้นหนีวิโมกข์ผลัน ลำดับมีแปดขั้น..............................เป็นอย่างนี้จริงแท้แล หนึ่ง,ผู้ได้รูปฌาน...........................ย่อมพานเห็นรูปได้แฉ สอง,ไม่หมายสิ่งแท้........................ไร้รูปจะเห็นรูปนอกกาย
๒๘.สาม,น้อมใจมั่นว่า...................กสิณหนาสิ่งงามปราย สี่,ผู้ใจแน่วกราย.............................อากาศมิมีสุดทาง จะลุ"อากาสาฯ"..............................ดับสัญญารูป,รส..ขวาง ห้า,เพ่งวิญญาณลาง.......................มิสุดลุ"วิญญาณัญฯ"
๒๙.หก,เพ่ง"ไม่มีใด"......................จะลุได้"อากิญจัญฯ" เจ็ด,ล่วงพ้นหกพลัน........................ลุ"เนวสัญญาฯ"นา แปดผู้ล่วงพ้นเจ็ด...........................สัญญาเด็ด"เวทยิตฯ"กล้า สงฆ์ถึงวิโมกข์นา............................ถอยจากหลัง-หน้าชำนาญ
๓๐.สงฆ์กระทำเข้า-ออก...............วิโมกข์ดอกแคล่วคล่องงาน ย่อมลุ"เจโตฯ"พาน.........................จึงหลุดพ้นด้วยสมาธิ์ ลุ"ปัญญาวิมุติ"...............................จึงหลุดพ้นด้วยปัญญา สิ้น"อาสวะ"นา................................หมดกิเลสโดยสิ้นเชิง
๓๑.พุทธ์องค์ทรงตรัสโชว์............ทั้งเจโตวิมุติเริง ปัญญาวิมุติเบิ่ง...............................เรียก"อุภโตภาคฯ"ยล ผู้พ้นทั้งสองทาง.............................มิมีอย่างอื่นเยี่ยมผล จบคำเทศน์อานนท์.........................กล่าวชมภาษิตพุทธ์องค์ ฯ|ะ
แสงประภัสสร ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ ชื่อ ทีฆนิกาย มหาวัคค์ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน หน้า ๓๑๙-๓๒๓
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๔/๔) ๑๒.มหานิทานสูตร
กัมมาฯ=กัมมาสธัมมะ ชื่อนิคมในแคว้นกุรุ ปฏิจจ์ฯ=ปฏิจจสมุปบาท คือ ธรรมที่เกิดขึ้นอาศัยกันและกัน เช่น นามรูป เป็น ปัจจัย จึงมีวิญญาณ,ตัณหา เป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน อุปาทาน=ความยึดมั่น ถือมั่น ตัณหา=ความทะยานอยาก เวท์นา=เวทนา คือ ความรู้สึก รับรู้อารมณ์ สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุข ผัสสะ=สัมผัส ถูกต้อง นาม=คือ สิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ได้แก่ เวทนา, สัญญา, เจตนา ความจงใจ,มนสิการ ควรทำไว้ในใจ รูป =คือสิ่งที่เป็นรูปเห็น เพราะอาศัย ธาตุ ๔ ปฏิสนวิญญ์ฯ=ปฏิสนธิวิญญาณ คือ ธาตุรู้ที่ถือกำเนิด ก้าวลงในครรภ์มารดา สมมติบัญญัติ=คือ สิ่งที่ไม่มีลักษณะของสภาพธรรม แต่เป็นเรื่องราวที่เกิดจากการคิดนึก(เกิดขึ้นจากอาศัย สภาพธรรมของ จิต และเจตสิก เช่นการเห็นรูปจึงบัญญัติว่าเป็น คน สัตว์ ขณะที่เห็นมิใช่การเห็น แต่เป็นการนึกคิด ในสิ่งที่เห็น) วัฏฏ์ฯ=วัฏฏ สงสาร การเวียนว่ายตายเกิด อัตตา=ตัวตน ฐิติวิญญาณ= คือที่ตั้งแห่งวิญญาณ มี ๗ อย่าง อบาย=อบาย ๔ คือภพที่หาความสุขได้ยาก ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย และ เดียรฉาน อายตนะ=คือที่ต่อ มี ๒ อย่าง คือ ๑)อสัญญีสัตตยตนะ-พวกที่มีแต่รูป ไม่มีวิญญาณ ๒)เนวสัญญานาสัญญายตนะ-คือที่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ วิโมกข์= คือ ความหลุดพ้น มี ๘ อย่าง ปฐมยาม=ฌานที่ ๑ ทุติย์ฌาน=ทุติยฌาน คือ ฌานที่ ๒ ซึ่ง วิตก(ความตรึก) และ วิจาร(ความตรอง) สงบระงับ เทพอภัสสร=คือ อาภัสสรพรหม ชั้นทุติยฌานภูมิ มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน สุภกิณห์ฯ=สุภกิณหพรหม คือ พรหมชั้น ตติยฌานภูมิ มีกายอย่างเดียวกัน สัญญาอย่างเดียวกัน ตติย์ฌานฯ=ตติยฌาน เป็น ฌานที่ ๓ ซึ่ง ปีติ(ความอิ่มใจ) สงบระงับ อากาฯ=ผู้เข้าสู่ อากาสานัญจายตนะ เพ่งหาอากาศหาที่สุดมิได้ รูปสัญญา(ความจำที่ยึดรูปเป็นอารมณ์)จึงดับลง วิญญานัญฯ=ผู้เข้าสู่ วิญญาณัญจายตนะ เพ่งวิญญาณหาสุดมิได้ อากาสานัญจายตนสัญญา จึงดับลง อากิญฯ=ผู้เข้าสู่ อากิญจัญญายตนะ ได้เพ่งว่าไม่มีอะไรแม้แต่น้อย วิญญานัญจายตนสัญญา จึงดับลง เนวสัญญ์ฯ=ผู้เข้าสู่ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ที่ได้เพ่งสัญญาคือความจำได้ หรือ กำหนดหมายว่าเป็นของไม่ดี เป็นเหตุให้สัญญาหยุดทำหน้าที่ ทำให้ อากิญจัญญายตนสัญญา ดับลง เวทยิตฯ=สัญญาเวทยิตนิโรธ คือ ผู้ที่ไปสู่สัญญาเวทยิตนิโรธ จึงดับสัญญา(จำได้,หมาย, รู้),ดับเวทนา(การเสวยอารมณ์)ได้ เจโตฯ=เจโตวิมุติ คือ ความหลุดพ้นด้วยสมาธิ ปัญญาวิมุติ= คือ ความหลุดพ้นด้วยปัญญา อาสวกิเลส=กิเลสที่หมักหมม นอนเนื่องในจิต ชุบย้อมให้จิตเศร้าหมองอยู่เสมอ อุปโตภาคฯ=เป็นชื่อของพระอรหันต์ซึ่งหลุดพ้นทั้ง ๒ ส่วน(วาระ)คือหลุดพ้นจากรูปกายด้วย อรูปสมาบัติ และหลุดพ้นจากนามกายด้วย อริยมรรค อีกหนหนึ่ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
ประมวลธรรม : ๑๓.มหาปรินิพพานสูตร(สูตรว่าด้วยมหาปรินิพพานของพระพุทธเจ้า)
กาพย์กากคติ
๑.พระพุทธเจ้า.....ประทับ ณ เขา......สิคิชกูฏ ราช์คฤห์ใกล้ยาตร...."อชาติศัส์ฯ"พูด....ต้องการตีปรูด....รวมแคว้นวัชชี ส่ง"วัสส์การฯ"พราหมณ์......เฝ้าพุทธ์เจ้าถาม.....ความเห็นควรชี้ ทรงถามอานนท์....ชนวัชชีนี้....พฤติธรรมใดที่....ไม่เสื่อมแต่คง
๒.อะนนท์ซิเผย......สดับซิเคย......นิกรเจาะบ่ง หนึ่ง,ประชุมนิตย์....สอง,ชิดประจง....เริ่ม,เลิกพร้อมตรง....ทำกิจครบครัน สาม,การบัญญัติ.......ไม่เปลี่ยนแปลงจัด.......บัญญัติมิผัน จะประพฤติธรรม....เก่าล้ำคงมั่น....ปฏิบัติกัน....คงเดิมอีกนาน
๓.เลาะสี่,จะนบ......ชราสยบ......ริเชื่อเหมาะการ ห้า,ไม่ข่มเหง....เพ่งหญิงรุกราน....ภัสดายังพาน....และกุมารี หก,จะเคารพ.......กราบเจดีย์นบ......ก่อสานพิธี เจ็ด,รักษ์อร์หันต์....ครันอยู่สุขศรี....ที่ยังไม่มี....ก็ขอให้มา
๔.พระองค์ก็ขาน......กะวัสสการฯ......กุสัตตะหนา ธรรมไม่เสื่อมนี้....รี่จำเริญหล้า....แก่วัชชีนา....ที่"สาเจดีย์ฯ " วัสส์การทูลแค่......หนึ่งไม่เสื่อมแล......ไม่ถึงเจ็ดคลี่ "อชาติฯ"ไม่ควร....ด่วนรบวัชชี....ต้องปลุกปั่นปรี่....จึงสำเร็จงาน
๕.แหละ"วัสสะฯ"ไซร้.....สิลาลุไกล......พระองค์ก็สาน รวมสงฆ์ทั้งมวล....ล้วนชุมนุมการ....แจงธรรมยั้งราน....การเสื่อมสิ้นลง ของสงฆ์เจ็ดข้อ.......เหมือนวัชชีหนอ......โดยเพิ่มหลายบ่ง หว่างอยู่ที่นี้....ทรงชี้สอนตรง....ศีล,สมาธิ์คง....พรั่งพร้อมปัญญา
๖.เสด็จเลาะสวน......มะม่วงเหมาะควร......แจรงสมาธิ์ ศีล,ปัญญาเฟื่อง....เมืองนาฬันทา...."สารีบุตร"นา....กล่าวเสริญชื่นชม สู่เมือง"ปาฏ์คามฯ".....ทรงแจ้งภัยลาม.....จากศีลเสื่อมตรม มีห้าอย่างถึง....หนึ่ง,เสื่อมทรัพย์ปม....สอง,ลือชั่วฉม....สาม,ขวยเขินอาย
๗.ลุสี่จะหลง.....ประลัยจะส่ง......และห้าก็ตาย สู่ภพที่ทุกข์....สุขไม่เคยกราย....ต้องโทษทัณฑ์ผาย....ลำบากชั่วกาล แต่ศีลสมบูรณ์......ก่อผลอาดูรย์......สู่แดนสรวงศานติ์ สุขอิ่มใจคว้า....เวลาเนิ่นนาน....แย้งผู้ศีลราน....ผลตรงข้ามกัน
๘."สุนิธฯและวัสส์ฯ"......อมาตย์ซิชัด......มคธศรัณย์ ชายแดนวัชชี....ปรี่มคธครัน....แม่คงคานั้น....กั้นสองหว่างกลาง มคธสร้างเมืองยุทธิ์.......ที่ปาฏคามฯรุด......เชิญสงฆ์ฉันพลาง ส่งพุทธ์องค์นา...."ท่าโคดม"กลาง....เป็นท่าน้ำห่าง....ข้ามแม่คงคา
๙.เสด็จลุ"โกฏิ์ฯ".......บุรีซิโปรด......ประชาคณา ทรงแจงธรรมเขื่อง....เรื่องศีล,สมาธิ์....เพียรสู่ปัญญา...."อรีย์สัจจ์ฯ"ไกล สู่นาทิกคาม.......อานนท์,สงฆ์ถาม......ตายแล้วไปไย ผู้พฤติตนอาจ....คาดเดาตนได้....จะตกต่ำไหม....เป็นอย่างใดมี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|