แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๒/๓) ๒๒.ปาฏิกสูตร
๑๘."เปลือย,พฤติพรหมจรรย์"......"ดื่มสุรา"ครัน.....เนื้อสัตว์พื้นฐาน "ไม่กินข้าวสุก"....มิรุกขนมกราน....ไม่ล่วงเกินผลาญ...."เจดีย์สี่"ไกล
๑๙.เจดีย์สี่ทิศ......เวสาลีสถิตย์.......เหนือ,ออก,ตก,ใต้ พุทธ์องค์เคยเล่า.....ขอเร้าจำไว....สุนักฯนึกไหม....กฬารฯจะแปร
๒๐.กฬารฯนุ่งผ้า........มีภรรยา......กินข้าวสุกแน่ กินขนมสด....ทิศหมดล่วงแท้....ทั้งสี่ทิศแล....ในเวสาลี
๒๑.กฬารฯเสื่อมยศ.....ลาภสูญสิ้นหมด.......แล้วก็ตายรี่ เหตุก็จริงตาม....ทรงถามฤทธิ์ปรี่....สุนักฯรับมี....แสดงฤทธิ์งาม
๒๒.พุทธ์เจ้าตรัสเรื่อง....."ปาฏิกฯ"กระเดื่อง......ลาภ,ยศมีถาม เป็นชีเปลือยจัด.....ในวัชชีคาม....ปาฏิกฯกล่าวนาม....ถึงพระโคดม
๒๓.โคดมพุทธ์เจ้า......"ญาณวาทะ"เคล้า......กอปรญาณรู้สม ปาฏิกฯก็เหมือน....แสดงเกลื่อนฤทธิ์ชม.....ควรทำฤทธิ์คม.....ด้วยกันได้ไว
๒๔.โคดมครึ่งทาง.......ปาฏิกฯครึ่งกร่าง.......ทรงทำเท่าไหร่ ปาฏิกฯทำทวี....เพิ่มรี่มากไกล....กว่าโคดมไซร้.....แสดงฤทธิ์เอย
๒๕.สุนักฯเล่าความ......ทูลพุทธ์องค์ตาม.......ปาฏิกฯแข่งเอ่ย ทรงให้สุนักฯ....พูดดักไว้เอย.....ปาฏิกฯละเกย....ความเห็น,ถ้อยคำ
๒๖.ถ้าปาฏิกฯสละ......ความคิดปะทะ......มิได้อย่าถลำ เผชิญพุทธ์องค์....อยู่ตรงหน้านำ....มิฉะนั้นจำ....ศีรษะแตกทราม
๒๗.พุทธ์องค์ทรงบิณฑ์.....เวสาลีชิน.....แวะพักอาราม สุนักฯเที่ยวบอก....กรอกหูทั่วคาม....บ้านปาฏิกฯยาม....แสดงฤทธิ์กัน
๒๘.กษัตริย์ลิจฉวี......เหล่าพราหมณ์,เศรษฐี......เจ้าลัทธิผลัน เร่งดูแสดง....ฤทธิ์แจ้งแข่งขัน....ปาฏิกฯฤทธิ์ดั้น....มากกว่าพุทธ์องค์
๒๙.ปาฏิกฯชีเปลือย.....ทราบเรื่องก็เนือย.......ตกใจกลัวบ่ง หนีหา"ติณทุกข์"....ชนบุกตามตรง....ให้แสดงตนคง....ก็ตกลงไป
๓๐.ปาฏิกฯกระเสือก.....กระสนกลิ้งเกลือก......ลุกขึ้นมิได้ อมาตย์ลิจฉวี....ให้ปรี่ลุกไป...."ชาลิ"ด่าไซร้....ปาฏิกฯนิ่งนา
๓๑.พุทธ์เจ้าจึงแสดง......ธรรมแก่ชนแจ้ง......เสร็จแล้วกลับหนา ทรงถามสุนักฯ.....จักเป็นฤทธิ์กล้า....ได้หรือไม่นา...สุนักฯตอบเป็น
๓๒.พุทธ์เจ้าตรัสต่อ......รู้"อัคคัญญ์ฯ"จ่อ.....สิ่งที่เลิศเด่น รู้ยิ่งกว่านั้น.....ครันไม่ยึดเข็น....ไม่ยึดจึงเผ่น....นิพพานด้วยตน
๓๓.เมื่อรู้แน่แล้ว.....จึงไม่เสื่อมแกล้ว......ปะเจริญผล ทรงแสดงสิ่งเลิศ....ประเสริฐดื่นดล....ของศาสน์ฯอื่นยล....บัญญัติสี่เครือ
๓๔.หนึ่ง,บัญญัติสอน......"มีผู้สร้าง"จร......"ผู้ถูกสร้างถือ" เช่นอิศวร,พรหม....ผู้สมสร้างลือ....เวลาผ่านพรือ....วิมานทลายพลัน
๓๕.ผู้เกิดแรกใหม่......ตนมหาพรหมใหญ่......เกิดหลังนึกฝัน ตนพระพรหมสร้าง....เกิดคว้างต่อครัน....ในโลกได้พลัน....บวชบำเพ็ญเพียร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๓/๓) ๒๒.ปาฏิกสูตร
๓๖.ระลึกชาติได้......นำความรู้ไซร้......จากพรหมโลกเชียร ระลึกได้อยู่...."มีผู้สร้าง"เนียน...."ผู้ถูกสร้าง"เวียน....ความเห็นสืบมา
๓๗.สอง,พราหมณ์บางกลุ่ม......บัญญัติเลิศซุ่ม.....เกี่ยว"เทพขิฑฑ์ฯ"หนา ต้องโทษเพราะเล่น....สนุกเด่นทุกครา....ตายแล้วเกิดมา....บำเพ็ญพรตไว
๓๘.ระลึกชาติว่า......เป็นเทพขิฑฑ์ฯกล้า.....จุติเพราะสนุกไข คิดว่าเทพอื่น.....นั้นชื่น"เที่ยง"ไซร้....แต่เทพขิฑฑ์ฯไกล....."ไม่เที่ยง"แท้เลย
๓๙.สาม,พราหมณ์บางเหล่า......บัญญัติสอนเร้า......"เทพมโนปฯ"เผย มีโทษสุดท้าย....คิดร้ายเขาเอ่ย....เกิดใหม่แล้วเปรย.....บำเพ็ญเพียรกราน
๔๐.ระลึกชาติได้......เทพมโนปฯไกล.....จุติคิดร้ายผลาญ เห็นว่าเทพอื่น....ระรื่น"เที่ยง"ชาญ....เทพอโนปฯขาน...."ไม่เที่ยง"แน่ครัน
๔๑.สี่,พราหมณ์บางพวก......บัญญัติลวกลวก......"มี,เป็นเอง"สรรค์ "อธิจจ์ฯ"ไม่มี....เหตุปรี่ใดกัน....เมื่อตาย,เกิดพลัน....บำเพ็ญพรตงาม
๔๒.สัญญา,จำเกิด......ระลึกชาติเจิด.....เดิมรูปพรหมผลาม ไร้สัญญา,จำ....รูปนำแวววาม.....พลัน"จำ"เกิดลาม....จุติเกิดใหม่นา
๔๓.จึงรำลึกได้......สิ้นสุดลงไซร้.....ตอนจุติ,ตายหนา ย้อนหลังมิมี....ใดคลี่เลยนา....ทุกสิ่งมีมา....โดยเหตุไม่มี
๔๔.บัญญัติสี่เน้น......เกิดทิฏฐิเด่น......รู้บางตอนรี่ มิรู้แต่ต้น....รู้ยลจบปรี่....หลงผิดทุกที....เพราะไม่เข้าใจ
๔๕.พุทธ์เจ้าตรัสเรื่อง......"สุภวิโมกข์"เรือง......ทำ"กสิณ"ใส เพ่งรูปนิมิต....เพ่งจิตสีใด....เป็นอารมณ์ไซร้....เลิกยึดหยุดลง
๔๖.ภาษิตพุทธ์เจ้า......ภัคค์ฯนักบวชเฝ้า......สรรเสริญพุทธ์องค์ ทรงตอบสุนักฯ....ที่ปักใจพะวง....ทรงแสดงฤทธิ์ตรง....พร้อมสิ่งเลิศแล ฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๔๓- ๓๔๔
อนุปฯ=นิคมชื่อ อนุปปิยะ แคว้นมัลละ ภัคค์วา,ภัคค์ฯ=ภัคควโคตรปริพพาชก เป็นนักบวช นอกศาสนา, สุนักฯ=สุนักขัตตะ เป็นบุตรเจ้าลิจฉวี ซึ่งเคยมาบวชแล้วสึกออกไป ให้เหตุผลว่า พระพุทธเจ้าไม่ทรงแสดงอิทธิปาฏิหารให้ดู ไม่บัญญัติและชี้สิ่งเลิศให้ดู พระรัตน์ตรัย=พระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โกรักฯ=โกรักขัตติยะ เป็นชีเปลือย มีวัตรเหมือนสุนัข ลงคลาน ๔ เท้า ใช้ปากงับอาหารตามพื้นดิน กฬารฯ=กฬารมัชฌกะ เป็นชีเปลือย ภายหลังเลิกข้อวัตร ๗ ประการ หมดสิ้น เจดีย์สี่ทิศ ในกรุงเวสาลี=๑)อุเทนเจดีย์ ตั้งอยู่ทางทิศบูรพา-ตะวันออก ๒)โคตมกเจดีย์ ตั้งอยู่ทางทิศทักษิณ-ใต้ ๓)สัตตัมพเจดีย์ ตั้งอยู่ทิศประจิม-ตะวันตก ๔)พหุปุตตกเจดีย์ ตั้งอยู่ทิศอุดร-เหนือ ปาฏิกฯ=ปาฏิกบุตร เป็นชีเปลือย กล่าวท้าแสดงฤทธิ์กับพระพุทธเจ้า พระโคดมพุทธเจ้า=นามหนึ่งของพระพุทธเจ้า เรียกชื่อโคตรทางพุทธมารดา ถ้าชื่อโคตรทางพุทธบิดา คือพระโคตมพุทธเจ้า ญาณวาทะ=ผู้กล่าวรับรองญาณความรู้ ติณทุกข=ติณทุกขานุ เป็น ปริพพาชก นักบวชนอกศาสนา ชาลิฯ=ชาลิยะ ปริพพาชก อัคคัญญ์ฯ=อัคคัญญะ แปลว่า สิ่งที่เลิศ หรือเป็นต้นเดิม เทพขิฑฑ์ฯ=คือ เทพพวก ขิฑฑาปโทสิกะ(ผู้เสียหายหรือมีโทษเพราะการเล่น) เทพมโนปฯ=คือเทพ พวกมโนปโทสิกะ(ผู้เสียหายหรือมีโทษ เพราะคิดร้ายต่อผู้อื่น) ไม่มีเหตุ=เรียก อธิจจสมุปปันนะ การมีเป็นขึ้นมาเอง โดยไม่มีเหตุ สุภวิโมกข์=การบำเพ็ญกสิณ คือการเพ่งรูปนิมิต แบบใช้สีต่างๆเป็นอารมณ์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
ประมวลธรรม : ๒๓.อุทุมพริกสูตร(สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ในปริพพาชการาม ซึ่งนางอุทุมพริกสร้างถวาย)
กาพย์ตุรงคธาวี
๑.พระพุทธ์เจ้า......พัก"คิชฌกูฏ"เขา......กรุงเพรา"ราชคฤห์"ไข "สันธาน"นี้....เศรษฐีจะเฝ้าไว....เจอะ"นิโครธฯ".....มาโลดสามพันคน มาชุมนุม......กล่าวถ้อยคำคลุม......มองสุ่ม"ดิรัจฯ"ยล ด้วยเสียงดัง....จนฟังอึกทึกก่น....เห็นสันธาน....ก็พานสงบครา ๒.เพราะสันธาน......ศิษย์โคดมกราน......มิพานเสียงดังหนา กล่าวไกล่เกลี่ย...."อัญญ์เดียรถีย์ฯ"มา....เสียงอื้ออึง....นี้จึงต่างพุทธ์องค์ ซึ่งอยู่สงัด......นิโครธกล่าวขัด......แน่ชัดตอบโต้บ่ง แสดงปัญญา....อันกล้าแก่ใครตรง....เพราะอยู่สงบ....ไม่พบกับใครเลย
๓.เปรียบตาบอด......อยู่ป่าหนีรอด......ต้องดอดหนีชนผอง ไร้ปัญญา....คบหาใครได้เอย....เหมือนโคบอด....กลัววอดถูกภัยพาล ต้องหลบซ่อน......ในที่เปลี่ยวจร......ที่นอนสงบนาน ขอโคดม....จงกรที่นี่พาน....มีปัญหา....จะมาถามก่อนครัน
๔.พุทธ์องค์กาจ......ยินถ้อยคำยาตร......โสตธาตุชัดผลัน จากคิชฌกูฏ....เดินปรูดจงกรมพลัน....นิโครธเห็น....เตือนเด่นสงบเอย ถ้าทรงมา......จะถามปัญหา....พฤติกล้าพรหม์จรรย์เปรย ที่สอนศิษย์....ใกล้ชิดพระองค์เผย....พฤติพรหมจรรย์....ที่มั่นปลอดโปร่งใจ
๕.ทรงเสด็จด้น.....นิโครธฯนิมนต์......วางตนนั่งต่ำใกล้ พุทธ์องค์ถาม....คุยความรื่องอันใด....นิโครธฯกราบ....ขอทราบธรรมทรงแสดง แก่สาวก......ทรงแนะสอนปก......พฤติยกพรหม์จรรย์แจง ที่ราบรื่น....ทรงยืนยันยากแฝง....จะเข้าใจ....คนไซร้เห็นต่างแล
๖.พอใจอื่น......มีพฤติดาษดื่น......ครูยืนสอนต่างแฉ ทรงขอให้....ถามไซร้ปัญหาแก้....ในลัทธิ....เจาะซิครูท่านเอง เกี่ยวกับ"ชัง"......ความชั่วเกลียดหยั่ง.....อยู่ยั้งบำเพ็ญเร่ง จะเหมาะกว่า....จึงพากันกล่าวเก่ง....โคดมมี....ฤทธิ์คลี่มากยืนกราน
๗.ทรงไม่ตอบ.....ปัญหาในกรอบ......โดยชอบของตนชาญ แต่กลับให้....ถามไถ่ผู้อื่นกราน....นิโครธบ่ง....อย่าส่งเสียงดังเอย นิโครธทูล.....พวกข้ายึดพูน......เพียรหนุน"ชัง,ชั่ว"เผย โดยบำเพ็ญ....ตบะเด่นขอถามเปรย....พฤติไหนครือ....ไม่,หรือสมบูรณ์ครัน ๘.พุทธ์องค์ตรัส......"เปลือย,เลียมือ"ชัด......และจัด"ยืนถ่าย"พลัน ทรงถามว่า....พฤติหนาเยี่ยงกระนั้น....สมบูรณ์ไหม....ตอบไวสมบูรณ์แล ทรงตรัสรี่......ว่าสมบูรณ์นี้......จะชี้ข้อเศร้าแฉ ยี่สิบเอ็ด....ข้อเด็ดความหมองแน่....ผู้บำเพ็ญ....ตบะเป็นผู้เศร้าตรง
๙.ข้อเศร้าหมอง.....บำเพ็ญตบะครอง......ใจปอง"อิ่มเอิบ"บ่ง "ยกตนเหนือ"....ข่มเขือ,ผู้อื่นคง....เกิด"มัวเมา".....อยากเอา"ลาภ,ชื่อ"งาม ได้ลาภ,ชื่อ......"ยกตนข่ม"ยื้อ.....พร้อมถือ"เมาลาภ"ผลาม "แยกอาหาร".....ชอบพานติดใจวาม....ถ้าไม่ชอบ....ก็ลอบเล็งทิ้งนา
๑๐.บำเพ็ญตบะ......"ลาภสักการะ"......เพื่อพะพร้อมบูชา จากกษัตริย์....พราหมณ์ชัด,เศรษฐีหนา....อมาตย์,เดียร์ถีย์....เพราะรี่หลงมัวไกล พราหมณ์บางพวก......ถูกรุกรานจวก......เสพสวก"พืช,ผลไม้" เกิด"ตระหนี่"....และชี้"ริษยา"ไว....เห็นเขาอยู่....มีผู้นับถือเอย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๒/๓) ๒๓.อุทุมพริกสูตร
๑๑."นั่งแสดงตน".....ทางสัญจรก่น.....มิพ้นคนเห็นเผย "พูดไม่ตรง"....ชอบบ่ง,ไม่ชอบเลย....ถ้าไม่ชอบ....จะตอบว่าชอบจริง พุทธ์เจ้า,ศิษย์......แจงพระธรรชิด......"ไม่คิดยอมรับ"ดิ่ง ในพุทธ์ศาสน์....กล่าวกาจถูกต้องจริง....จะยอมรับ....แม้ตรับศาสน์ฯอื่นใด
๑๒."คนมักโกรธ"......"ผูกโกรธ"จำโลด.....พูดโจษมิลืมไข "ลบหลู่คุณ.....และผลุนตีเสมอ"ไว...."มักริษยา....ใจคว้าพาตระหนี่" "คนโอ้อวด......มีมายา"ยวด......ขี้งวดอวดมั่งมี "กระด้าง,หมิ่น"....ใจชินว่ายากรี่....ดูถูกคน....ว่าจนต่ำต้อยแล
๑๓."คนลามก"......หยาบช้า,ทรามปก......ใจรกพกอยากแฉ "มีเห็นผิด....จิตยึดส่วนสุด"แท้....ยึดความคิด....มั่นจิตตนแน่วเลย พุทธ์องค์ตรัส......แต่ละอย่างชัด.....จะมัดคนเศร้าเผย แล้วตรัสเสริม....เผดิมชัง,ชั่วเอ่ย....จะเป็นเศร้า.....หมองเจ่าเคล้าหรือไร
๑๔.นิโครธรับ......เป็นความเศร้าฉับ.....และอับจนยิ่งไส ผู้บำเพ็ญ....อาจเป็นทุกข้อไกล....มิต้องกล่าว....ว่าสาวข้อเดียวเลย มิมีใคร.......รอดเศร้าหมองได้.......แต่ไร้เศร้าห่อนเปรย ทรงแสดง....แถลงบำเพ็ญเผย....บริสุทธิ์....ก็รุดตรงข้ามกัน
๑๕.นิโครธคิด.....เกลียดชัง,ชั่วจิต....ทำกิจบำเพ็ญสรรค์ พุทธ์องค์ตรัส.....ไม่จัดแก่นสารครัน....ไม่ถึงยอด....แค่จอดสะเก็ดเอง นิโครธขอ......พุทธ์เจ้าแจงต่อ.....แบบก่อตบะยอดเผง พระองค์แจง....แสดง"นิวร"เร่ง....สี่ประการ....จะขานควา มยอดดี
๑๖."ไม่ฆ่าสัตว์".......ไม่วานฆ่าซัด......แจ่มชัดไม่ปลื้มคลี่ "ไม่ลักทรัพย์"....มิขับใครลักปรี่....ไม่ยินดี....เมื่อมีผู้ลักไป "ไม่พูดปด".......ไม่ใช้ใครจด......ผู้คดมิเปรมไส "ไม่เสพกาม".....มิตามใครเสพไว....ไม่ยินดี....ครามีผู้เสพเอย
๑๗.แล้วทรงแจง.....เสพ"เสนาสน์ฯ"แจ้ง.....มิแคลงที่อยู่เผย เป็นที่สงัด....ขจัดนิวรณ์เอย....มีห้าอย่าง....เพื่อพรางจิตเศร้าคลาย "อภิชฌา"......ลดอยากได้นา......"พยาบาท"ปองร้าย "ถีน์มิทธะฯ"....พานปะหดหู่กราย...."อุทธัจจ์"พลุ่ง....เกิดฟุ้งซ่านหทัย
๑๘."วิจิกิจฯ"......ลังเลใจคิด......เกิดจิตนึกสงสัย พุทธ์องค์ตรัส....ละตัดนิวรณ์ได้.....จิตเศร้าหมอง.....ลดตรองด้วยปัญญา "พรหมวิหาร"......ธรรมสี่เจริญขาน.......แผ่ซ่านทุกทิศหนา ทรงถามว่า.....ทำกล้าเยี่ยงนี้....บริสุทธิ์หรือ....ตอบครือสาระแล
๑๙.พุทธ์องค์ตอบ.....เป็นสาระยอบ.......แค่ขอบเปลือกแท้แน่ นิโครธขอ.....ทรงคลอวิธีแจง....บำเพ็ญตบะ.....ที่จะถึงยอดแกน ทรงแจงวน.......กระทำข้างต้น.....แจ้งผลที่ได้แทน คือระลึก.....และตรึกชาติได้แม่น....แต่หนึ่งชาติ....มิพลาดแสน,กัปป์เอย
๒๐.แล้วทรงตรัส.......แค่กระพี้ชัด......ยังปัดหาใช่เผย ทรงแสดงต่อ....จะจ่อ"ทิพย์จักษ์ฯ"เอย....บำเพ็ญนี้....ถึงรี่ยอดแก่นไว แรกนิโครธ......ถามสอนธรรมโจษ......ใดโลดแก่ศิษย์ไข ทรงตอบแล้ว....ให้แน่วปลอดโปร่งใจ....พฤติพรหมจรรย์....ต้นสรรค์ได้งามยล
๒๑.พุทธ์เจ้าตรัส......เสริมศิษย์ถึงชัด.....ฐานคัดเลิศล้ำผล ประณีตกว่า....ยิ่งกล้ากว่าที่ก่น....พราหมณ์หลายแปลก....แต่แรกมิรู้เลย ยังมีใด......เหนือทิพย์จักษ์ใส.....สูงไกลกว่านี้เผย สันธานฯทูล....ความพูนนิโครธเอ่ย....ติพุทธ์องค์....แต่คงนิ่งเงียบงัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๓/๓) ๒๓.อุทุมพริกสูตร
๒๒.ทรงตรัสถาม......นิโครธจริงตาม......กล่าวลามหรือไรกัน นิโครธตอบ....จริงนอบขออภัยพลัน....พุทธ์องค์บ่ง....ขอจงตอบจริงใจ นักบวชเก่า......กล่าวพุทธ์เจ้าเล่า......อดีตเขาพูดแก่นไร้ ส่งเสียงดัง....หรือตั้งอยู่เงียบไซร้....นิโครธรับ....สดับยินมาก่อนกาล
๒๓.อดีตรู้.....พุทธ์เจ้าเลือกอยู่.....ที่ชูสงบเงียบขาน เหมือนกาลนี้....ทรงชี้สรุปพาน....อดีตนักบวช....จะชวดรู้กิจเอย พุทธ์เจ้าครัน......"ตรัสรู้แล้ว"พลัน.....กระชั้นแจงธรรมเผย "ฝึกองค์แล้ว"....จึงแกล้วสอนศิษย์เปรย....ให้ฝึกตน....ธรรมล้นที่สอนตรง
๒๔.พุทธเจ้า......"สงบระงับ"เพรา.....ธรรมเอามาสอนบ่ง "ทรงข้ามพ้น"....แบะด้นไกลยะยง....แจ้งธรรมศิษย์....เพื่อจิตพ้นตามไว "ทรงดับเย็น"......แล้วจากบำเพ็ญ.....แจงเด่นธรรมศิษย์ไข นิโครธขอ....อภัยจ่อครั้งสองไป....พุทธ์องค์ชาญ....ประทานอภัยปลง
๒๕.พระพุทธ์เจ้า......แจงทางลุธรรมเป้า......ชี้เฝ้าเจ็ดปีส่ง ถึงเจ็ดวัน.....ตรัสยันมิหวังตรง....ให้นิโครธ.....มาโลดเป็นศิษย์เลย ไม่ต้องเลิก......เป็นนักบวชเพิก......คงเกริกชีพเดิมเฉย ไม่ต้องการ....ให้พานอกุศลเอย....ทรงแจงธรรม....กระทำตัดเลสไป
๒๖.ต้องการให้......คงกุศลธรรมไว้......ทำไซร้มากขึ้นไกล อกุศล....ให้ยลทางละไว....ธรรมผ่องแผ้ว....จะแน่วเกิดปัญญา ทำบริบูรณ์......ก่อปัญญายิ่งพูน......อาดูลย์กับธรรมหนา ทรงตรัสเตือน....อย่าเชือนนิโครธนา....รีบแจรง....แจ่มแจ้ง,พิบูลย์เทอญ ฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๔๕- ๓๔๘
คิชฌกูฏ=เขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์ สันธานฯ=สันธานคฤหบดี เป็นผู้มีบริวารมา เป็นอนาคามีบุคคล พระอริยบุคคลชั้นที่ ๓ รองลงมาจากพระอรหันต์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรรเสริญว่าประกอบด้วยคุณธรรม ๖ อย่าง คือมีความเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อย่างไม่หวั่นไหว,มีศีลอันประเสริฐ,มีญาณความรู้อันประเสริฐ,มีวิมุติความหลุดพ้นอันประเสริฐ นิโครธฯ=นิโครธปริพพาชก เป็นนักบวชนอกศาสนา ดิรัจฯ=ดิรัจฉานกถา คือกล่าาเป็นเรื่องภายนอกของสมณะ อัญญ์เดียรถีย์ฯ=อัญญเดียรถีย์ปริพพาชก คือนักบวชลัทธิอื่น โคดม=พระโคดมพุทธเจ้า ในกาลปัจจุบันนี้ เสนาสน์ฯ=เสนาสนะ ที่อยู่อันเงียบสงบ ทิพย์จักษ์ฯ=ทิพยจักษุ คือหูทิพย์ แม้ระยะไกลก็ได้ยิน บำเพ็ญตบะ=ตโปชิคุจฉาวาทะ คือใช้ความเกลียดชังความชั่วโดยใช้ตบะเพียรอยู่ ตามลัทธิ เช่น เปลือยกาย,ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ,กินอาหารเลียมือที่เลอะเทอะแทนการล้าง เป็นต้น สังวร =ความสังวร ๔ ประการ ที่จะให้บำเพ็ญตบะสูงสุด คือ ๑)ไม่ฆ่าสัตว์,ไม่ใช้ให้ใครฆ่า,ไม่ยินดีต่อผู้ฆ่า ๒)ไม่ลักทรัพย์,ไม่ใช้ให้ลัก,ไม่ยินดีต่อผู้ลัก ๓)ไม่พูดปด,ไม่ใช้ให้พูดปด,ไม่ยินดีต่อผู้พูดปด ๔)ไม่เสพกามคุณ,ไม่ใช้ให้ผู้อื่นเสพ,ไม่ยินดีต่อผู้เสพ นิวรณ์ ๕=คือเครื่องขัดขวางการทำสมาธิ ต้องขจัดออกไป ได้แก่ ๑)อภิชฌา-ความอยาก ๒)พยาบาท-การปองร้าย ๓)ถีนะมิทธะ-ความหดหู่ ๔)อุทธัจจกุกกุจจะ-ความฟุ่งซ่าน ๕)วิจิกิจฉา-ความลังเล สงสัย พรหมวิหาร ๔=เป็นหลักธรรมประจำใจเพื่อให้ดำรงชีพประเสริฐดั่งพรหม เป็นแนวของผู้ปกครองและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ๑)เมตตา-รักใคร่อยากให้เขามรสุข ๒)กรุณา-สงสารคิดช่วยให้พ้นทุกข์ ๓)มุทิตา-ความยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นมีสุข ยินดีขอให้เจริญยิ่งขึ้นไป ๔)อุเบกขา-วางใจเป็นกลางไม่เอนเอียงด้วยรัก,ชัง พิจารณาเห็นกรรมที่สัตว์ทำแล้วควรได้รับผลดี,ชั่ว สมควรแก่เหตุ แล้ววางใจมองเฉย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
ประมวลธรรม : ๒๔.จักกวัตติสูตรสูตร(สูตรว่าด้วยพระเจ้าจักรพรรดิ์)
กาพย์มหาตุรงคธาวี
๑.พุทธ์เจ้ามา......ณ "มาตุลาฯ"......แคว้นกล้า"มคธ"ปาน ทรงตรัสตริ....สติปัฏฐาน....พิจารณ์ย่อย....เรื่องช้อยสติสี่เอย "กายในกาย"......ลมหายใจกราย......อีกหลายสกปรกเผย "เวทนา"รู้....ตรึกอยู่มองเอย....เก้าอารมณ์...."สุข"อม"ทุกข์,เฉยเฉย"ตรง
๒."จิตในจิต"........สิบหกอย่างคิด.......เช่นติดโลภ,โกรธบ่ง "ธรรมในธรรม"....พิศซ้ำขันธ์ปลง....นิวรณ์ตริ....อริยสัจจ์สี่จริง ตรัสเพิ่มว่า.......แก้วเจ็ดอย่างหนา......ราชา"ทัฬหะฯ"ใหญ่ยิ่ง จักร,ม้า,ช้าง....มณีพร่างอิง....นางแก้วน้อม....พาพร้อมขุนคลัง,ขุนพล
๓.ทัฬหะฯเตือน......คอยดูจักรเคลื่อน......อย่าเชือนรีบมาบอกผล จักรเคลื่อนแล้ว....ทรงแน่วบวชด้น....ฤษีนา....ตั้งราชาใหม่ครองเมือง บวชเจ็ดวัน......จักรก็หายพลัน......แล้วครันราชาเศร้าเนือง เสด็จปรี่....หาฤษีทูลเรื่อง....ราชฤษีปลอบ....จักรมอบกันมิได้เลย
๔.ราชฤษีแจง......บำเพ็ญ"จักก์ฯ"แกร่ง......กิจแห่งจักรพรรดิ์เผย สามอย่างนบ...."เคารพธรรม"เอ่ย....คุ้มคน,สัตว์....มอบชัดความเป็นธรรมคง ไม่ยอมให้......"พฤติอธรรม"ได้......ที่ในเมืองนี้ได้เลยบ่ง "มอบทรัพย์ให้"....คนไซร้ยากตรง....เพิ่มทุนชอบ....ประกอบอาชีพต่อไป
๕."หาพราหมณ์คัด".......กอปรขันติชัด.......โสรัจจะสงบไข พบถามผล.....กุศลสิ่งไหน....อกุศล.....โทษด้นมีโทษ,ไม่มี สิ่งเสพควร.......หรือไม่ควรล้วน........รู้ถ้วนปัญญาคลี่ ใดทำแล้ว....ก็แคล้วคุณหนี....ตนเกิดทุกข์....จองบุกวิโยคชั่วกาล
๖.สิ่งใดทำ......ได้ประโยชน์ล้ำ......กระหน่ำสุขเนิ่นนาน ฟังแล้วดิ่ง....จับสิ่งดีกราน....ตามพฤติชัด....คือวัตรประเสริฐราชา ราชบุตรแน่ว......กระทำตามแล้ว.......จักรแก้วบังเกิดหนา ราชาหมุน....จักรหมุนทางขวา....กล่าวเสริญจักร....เจริญนักอวยชัยพร
๗.เสด็จยกทัพ......กรายสี่ทิศนับ......ชัยฉับทุกทิศจร แนะราชา....เหล่ากล้าพฤติวอน....ศีลห้าตรอง....แล้วครองเมืองต่อไปเอย จักร์พรรดิ์องค์......ที่สอง-เจ็ดทรง......ทำยงเยี่ยงนี้เผย องค์ที่เจ็ด....ทรงเด็ดบวชเอย....จักรหายไป....อมาตย์ไซร้แนะวัตรนำ
๘.ราชาองค์......ที่แปดมิทรง......จัดตรงแจกทรัพย์ซ้ำ ยากไร้เพิ่ม....คนเริ่มลักหนา....จับไต่สวน....ทราบรวนไร้อาชีพจริง ประทานเงิน......กอปรอาชีพเกริ่น......เลี้ยงเยิ่นครอบครัวยิ่ง กาลต่อมา....คนพาเพิ่มดิ่ง....ราชาทรง....แจกคงทรัพย์อย่างเดิม
๙.เกิดข่าวลือ......ใครลักทรัพย์ยื้อ.....ได้ครือทรัพย์แทนเสริม ราชาคิด....ให้สิทธิ์จะเหิม....จักเพิ่มมาก....จับถากโกนหัวประจาน แล้วตัดหัว......ชนก็มิกลัว......สร้างตัวอาวุธผลาญ ลักทรัพย์ใคร....ก็ไซร้ฆ่าราน....เกิดการปล้น....ทุกหนระแหงทั่วเมือง
๑๐.ไม่ให้ทรัพย์......แก่ผู้ยากนับ.......เท่ากับลักกระเดื่อง ศัตรามาก....ฆ่ากรากนองเนือง....อายุสัตว์....และชัดผิวพรรณเสื่อมลง อายุคน......"แปดหมื่นปี"ผล......บุตรดลเหลือครึ่งบ่ง ลดเรื่อยเรื่อย....ชั่วเปลือยมากคง....เช่น"เท็จ"ก่อ....พูด"ส่อเสียด",ผิดในกาม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้าค่า ๒/๔) ๒๔.จักกวัตติสูตร
๑๑.อายุลด......เหลือ"ห้าพัน"จด......ธรรมคดเพิ่มสองผลาม "พูดคำหยาบ"....อีกฉาบ"เพ้อ"ลาม....อายุครัน....สองพันห้าร้อยปีเอย อธรรมเพิ่ม......อีกสองอย่างเสริม......"โลภ"เติม"พยาบาท"เผย อายุดั้น...."หนึ่งพันปี"เอ่ย...."มิจฉาทิฏฐ์ฯ"....เห็นผิดทำนองคลองธรรม
๑๒.อายุถอย.....เหลือจด"ห้าร้อย"......ชั่วพลอยเพิ่มสามนำ "อธัมม์ราค"....จากกำหนัดทำ....ผิดธรรมเกลือก....ไม่เลือกแม่,ป้า,น้า,อา "วิสมโลภ"......รุนแรงละโมภ......เสพโฉบดุเดือดหนา "มิจฉาธรรม"....กระทำตนพา....พอใจชัด....กำหนัดในเพศเดียวกัน
๑๓.อายุจิ๊บ......"สองร้อยห้าสิบ".......ธรรมกริบกร่อนผกผัน พฤติไม่ดี....ผู้มีคุณดั้น....พ่อ,แม่,ญาติ....แคล้วคลาดจากพระสงฆ์เอย ไม่อ่อนน้อม......ญาติในสกุลพร้อม......เลิกค้อมเคารพเผย อายุ,ผิว....เกิดริ้วเสื่อมเอย....อายุบุตร....เหลือรุดแค่หนึ่งร้อยปี
๑๔.อายุบุตร......เหลือ"สิบปี"ผุด......เกิดจุด"มิค์สัญญี" อายุขัย....ทอนไวลงปรี่....หญิงห้าขวบ....ประจวบมีสามีครัน รสบางอย่าง......จะหายไปจาง......"เนย"พราง"น้ำผึ้ง"พลัน "น้ำอ้อย"หรือ....รสครือ"เค็ม"ดั้น...."กุทรุสก์ฯ"เหลือ....แค่เครือเมล็ดพืชเคียง
๑๕.กุทรุสก์ฯเป็น......ภัตรอันเลิศเด่น......เหมือนเช่นเนื้อสัตว์เกรียง ข้าวสาลี....ภัตรดีเหมาะเดี้ยง....สมัยเสื่อมนี้....ไม่มีอาหารอื่นได้ คราเสื่อมจด....."กุศลกรรมบถ"......สิบลดสูญสิ้นไป "อกุศล"....สิบดลเรืองไว...."กุศล"คำ....มิพร่ำหรือได้ยินยล
๑๖.ผู้พฤติรี่......กุศลมิมี......จึงหรี่สิ้นเชิงผล ปฏิบัติ....มิชัดชอบพ้น....พ่อ,แม่,ญาติ....ก็พลาดพบสงฆ์ใดเปรย ไม่อ่อนน้อม......เครือญาติเลิกค้อม......ทำพร้อมเหล่านี้เผย กลับได้รับ....คำนับสรรเสริญเอย....คำเยินยอ....และจ่อบูชามากมาย
๑๗.คำเรียกชื่อ......ไม่มีการสื่อ.....เรียกครือพ่อ,แม่หาย ป้า,น้า,อา....ครูอาจารย์กลาย....โลกเจือปน....เหมือนก่นสัตว์,แพะ,สุกร มีพยาบาท......ปองร้ายอาฆาต......ฆ่าคาดแรงยากถอน แม่ต่อบุตร....ลูกรุดแม่รอน....ลูกกับพ่อ....พ่อก่อกับ,ลูก,พี่-น้องครา
๑๘.พลันเกิดมี......"สัตถันกัปป์"คลี่......กัปป์ที่ก่อศัตรา กาลเจ็ดวัน....คิดผันตนหนา...."มิคสัญญ์ฯ"เด่น....ต่างเห็นกันเป็นเนื้อกราย ถืออาวุธ......เข่นฆ่าฟันซุด......บุกรุดกันถึงตาย บางพวกปรี่....หลบหนีได้ฉาย....ในป่ารอด....ด้วยยอดผลไม้,เผือก,มัน
๑๙.คนรอดตาย......ร่าเริงใจ,กาย......ตั้งหมายกุศลสรรค์ ละเว้นฆ่า....จะพาดีครัน....ทำมากแล้ว....มิแคล้วอายุยืนยง กระทั่งถึง......."แปดหมื่นปี"พึ่ง......หญิงตรึง"ห้าพัน"บ่ง จึงจะรี่....สามีได้ตรง....มนุษย์มีโชค....สาม"โรค"ลามเท่านั้นพาน
๒๐.โรคสามคือ......"อยากอาหาร"ครือ......จะปรือ"มิอยากอาหาร" และ"ความแก่"....อยู่แท้เรืองศานต์....ในเมืองชื่อ....เลื่องลือพาราณสีเอย ชนคลาคล่ำ......"เกตุมตี"ล้ำ.....จดจำเมืองหลวงเผย "สังขะ"หนา....ราชาครองเกย....ชนะสี่ทิศ....ครองชิดแก้วเจ็ดประการ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๓/๔) ๒๔.จักกวัตติสูตร
๒๑.มนุษย์อายุ......"แปดหมื่นปี"ลุ......เกิดกุพุทธ์เจ้าชาญ "เมตไตรย"หนา....วิชชาประสาร....จรณะ....มีพะพร้อมบริบูรณ์ โคดมฯตรัส......บริหารชัด......สงฆ์จัดหลักร้อยพูน แต่เมตไตรย....ทรงไซร้เกื้อกูล....บริหาร....สงฆ์พานหลักพันมากไกล
๒๒.สังขะทรง......บวชสำนักบ่ง......ธำรง ณ เมตไตรย กาลไม่ช้า....ถึงคราลุไสว....อรหันต์....รู้พลันยอดยิ่งตามเอย โคดมฯตรัส......สอนพึ่งธรรมชัด......เจริญจัด"สติ"เผย ตามพระองค์....จะคงเจริญเชย....ด้วยอายุ....สุขลุโภคะ,ผิวพรรณ
๒๓.พระโคดม......แจ้ง"อิทธิฯ"สม......ลุชมสำเร็จสันต์ มี"ฉันทะ"....รักจะทำพลัน.....ทำเสมอ....ใจเอ่อทำดียิ่งเอย "วิริยะ"......เพียรกอปรทำดะ.......ธุระไม่ท้อเผย มี"จิตตะ".....ใจจะมั่นเอย....พร้อมฝักใฝ่....จิตไม่ปล่อยฟุ้งซ่านไกล
๒๔."วิมังสะ"......ตรอง,ตรวจสอบปะ.......ปัญญะใช้แก้ไข วางแผนท้น....วัดผลงานไว....เพื่อปรับปรุง....ผดุงงานดีขึ้นนา อิทธิบาท......ธรรมสี่เก่งกาจ......มิพลาดสัมฤทธิ์หนา อายุยง....อยู่คงกัปป์นา....หรือมากกว่า....นั้นพาเท่าที่ต้องการ
๒๕.โคดมแสดง......"ปาฏิโมกข์ฯ"แจง......ศีลแกร่งของสงฆ์ขาน สองสองเจ็ด....ข้อเด็ดรักษ์พาน....จึงพ้นทุกข์....ที่รุกกาย,ใจทันที โคดมพุทธ์ฯ......ทรงแสดงวุฒิ......ก้าวรุดฌานหนึ่ง-สี่ เพ่งอารมณ์....จิตบ่มแน่วคลี่....ประณีตชุก....เหตุสุขเกิดเพราะสมาธิ์
๒๖.แล้วทรงแจง......"พรหมวิหาร"แจ้ง......แถลงครองชีพหนา แบบอย่างพรหม....ระดม"เมตตา"....อยากให้เขา....สุขเพราเพริศตลอดไป "กรุณา"......สงสารเขาจ้า.......ช่วยพาพ้นทุกข์ไข "มุทิตา".....เกิดอ้าดีใจ....เห็นเขาสุข....ก็ปลุกยินดีเบิกบาน
๒๗."อุเบกฯ"ส่ง......ใจเป็นกลางบ่ง......เที่ยงตรงรัก-ชังกราน ใช้ปัญญา....ตรึกพาเสร็จสาน....ทั้งสี่นี้....เหตุรี่มีทรัพย์มากเอย ทรงแจงผล......"เจโตฯ"หลุดพ้น.......เพราะด้นสมาธิ์เผย ด้วยอำนาจ....ฉกาจฝึกเอย....ทิ้งราคะ....ใจละกำหนัดยินดี
๒๘.ทรงแจงผล......"ปัญญาฯ"หลุดพ้น......ด้วยล้นปัญญาคลี่ เจริญปัญญา....รู้ว่าจิตหนี....อวิชชา....จึงพาจิตรู้ความจริง กิเลสโข......ตัดสิ้นมิโผล่......เจโตฯและปัญญาฯยิ่ง ทั้งสองเด่น....จะเป็นเหตุดิ่ง....มีพลัง....เยี่ยมยังทำกิจสมบูรณ์
๒๙.ทรงตรัสหยั่ง......ไม่เห็นกำลัง......ไหนสั่งข่มยากทูน เหมือนพลัง...."มาร"คลั่งวิบูลย์....ยากจะทาน....และต้านอำนาจผจญ ตรัสประสาร......การสมาทาน......ด้วยกรานธรรมกุศล ถือมั่นคง....บุญส่งเพิ่มล้น....ภิกษุสงฆ์....ยินบ่งภาษิตชื่นชม ฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๔๘- ๓๕๒
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๔/๔) ๒๔.จักกวัตติสูตร
สติปัฏฐาน ๔=คือ การตั้งสติพิจารณา กาย, เวทนา,จิต,ธรรม ทั้งภายในภายนอก ทัฬหะฯ=ทัฬหเนมิ พระเจ้าจักรพรรดิ์ แก้วเจ็ดอย่าง=รัตน ๗ ประการ คือ ๑)จักรแก้ว(จักกรัตนะ) ๒)ช้างแก้ว(หัตถิรัตนะ) ๓)ม้าแก้ว(อัสสรัตนะ) ๔)แก้มณี(มณีรัตนะ) ๕)นางแก้ว(อิตถีรัตนะ) ๖)ขุนคลังแก้ว(คหปติรัตนะ) ๗)ขุนพลแก้ว(ปริณายกรัตนะ) จักก์ฯ=จักกวัตติวัตร คือ ข้อปฏิบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์ มิจฉาทิฏฐ์ฯ=มิจฉาทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดตามทำนองคลองธรรม อธัมม์ราค=อธมฺมราค คือ ความกำหนัดที่ผิดธรรม วิสมโลภ= คือ ความโลภที่รุนแรง มิจฉาธรรม= คือ ธรรมะที่ผิดความกำหนัดพึงใจกันระหว่าง ชายกับชาย หญิงกับหญิง มิคค์สัญญี=มิคคสัญญี คือยุคที่ผู้คนฆ่าฟันกัน เพราะต่างฝ่ายต่างมองว่าผู้อื่นเป็นสัตว์ซึ่งต้องล่า คือไม่เห็นว่าผู้อื่นเป็นคน เมื่อต่างฝ่ายต่างมองแบบเดียวกัน จึงเกิดการฆ่าฟันโดยไม่ปรานีต่อกัน ผู้คนจึงล้มตายเป็นจำนวนมาก กุทรุสก์ฯ=กุทรุสกะ คือ ชื่อเมล็ดพืชชนิดหนึ่ง กุศลกรรมบท ๑๐=ทางแห่งกุศลแยกทางกายกรรม : ๑)ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต หรือทำลายชีวิตของผู้อื่น ๒)ไม่ลักทรัพย์ ไม่ลักขโมย หรือยึดทรัพย์สมบัติของผู้อื่นมาเป็นของตน ๓)ไม่ประพฤติผิดในกาม; ทางวจีกรรม ๔)ไม่พูดเท็จ ไม่พูดโกหก ๕) ไม่พูดส่อเสียด ๖)ไม่พูดคำหยาบคาย ๗)ไม่พูดวาจาเพ้อเจ้อ; ทางมโนกรรม ๘)ไม่โลภคิดอยากได้ของคนอื่น ๙)ไม่พยาบาท หรือปองร้ายผู้อื่น ๑๐)มีความเห็นชอบตามคลองธรรม อกุศลกรรมบท ๑๐=ทางแห่งอกุศลกรรม, ทางทำความชั่ว, กรรมชั่วอันเป็นทางนำไปสู่ความเสื่อม ความทุกข์ หรือทุคติ มีการกระทำทางกาย: ๑)ปาณาติบาต -การทำชีวิตให้ตกล่วง, ปลงชีวิต ๒)อทินนาทาน -การถือเอาของที่เขามิได้ให้ โดยอาการขโมย, ลักทรัพย์ ๓)กาเมสุมิจฉาจาร -ความประพฤติผิดในกาม; การกระทำทางวาจา ๔)มุสาวาท -การพูดเท็จ ๕)ปิสุณาวาจา -วาจาส่อเสียด ๖)ผรุสวาจา -วาจาหยาบ ๗)สัมผัปปลาปะ -คำพูดเพ้อเจ้อ; การกระทำทางใจ ๘)อภิชฌา -เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๙)พยาบาท-คิดร้ายผู้อื่น ๑๐)มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม กัลป์,กัปป์=กำหนดอายุของโลก ระยะเวลาตั้งแต่กำเนิดของโลกจนโลกสลาย อุปมาเปรียบเหมือนมีภูเขาศิลาล้วน กว้าง ยาว สูง ด้านละ ๑ โยชน์ ทุก ๑๐๐ ปี มีคนนำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป แต่กัปปหนึ่งยาวนานกว่านั้น สัตถันกัปป์ฯ=สัตถันตรกัปป์ คือ กัปป์ที่อยู่ในระหว่างศัตรา ๗ วัน เป็นอันตรกัปป์ที่พินาศในระหว่างที่โลกยังไม่ถึงสังสารวัฏฏกัปป์ ก็พินาศด้วยศัตราวุธเสียก่อน อันตรกัปป์=มี ๓ อย่าง ๑)ทุพภิกขันตรกัปป์ คือ กัปป์พินาศในระหว่างอดอาหาร ๒)โรคันทรกัปป์ คือ กัปป์พินาศในระหว่างเพราะโรค ๓)สัตถันตรกัปป์ คือกัปป์พินาศในระหว่างศัตรา ทั้งนี้เป็นผลแห่งกรรมชั่วของมนุษย์ คือ ถ้าโลภจัด ก็พินาศเพราะอดอาหาร,หลงจัด ก็พินาศเพราะโรค,ถ้าโทสะจัดก็พินาศด้วยศัตรา มิคสัญญ์ฯ=มิคสัญญา คือ ความสำคัญในกันและกันว่าเป็นเนื้อ เกตุมตีฯ=เกตุมตี ราชธานี ของกรุงพาราณสี สังขะ=พระเจ้าจักรพรรดิ์สังขะ เมตไตรย=ว่าที่ พระเมตไตรยพุทธเจ้า จะมาตรัสรู้ในกาลถัดจากพระโคดมพุทธเจ้า วิชชา=ความรู้แจ้งในอริยสัจจ์ ๔ จรณะ=ที่พึ่ง อวิชชา=ความไม่รู้แจ้งในอริยสัจจ์ ๔ โคดมฯ=พระโคดมพุทธเจ้า ในกาลปัจจุบัน อิทธิฯ=อิทธิบาท ๔ คือ คุณให้บรรลุความสำเร็จ มี ๑)ฉันทะ -ใฝ่ใจในสิ่งนั้นอยู่เสมอ ๒)วิริยะ -ทำสิ่งนั้นด้วยความเพียร อดทน เอาธุระไม่ถอย ๓)จิตตะ-ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำ ไม่ปล่อยใจฟุ้งซ่าน ๔)วิมังสา-ความไตร่ตรอง หมั่นใช้ปัญญาหาเหตุผล ตรวจสอบข้อด้อย มีการวางแผน วัดผล แก้ไข ปาฏิโมกข์ฯ=ปาฏิโมกข์สังวรศีล คือ การสำรวมระวังในศีลปาฏิโมกข์ของสงฆ์ ๒๒๗ ข้อ ฌาน=คือ ภาวะที่จิตสงบจากการเพ่งอารมณ์เป็นสมาธิ แบ่งหนึ่ง-สี่ คือ ๑)ฌานหนึ่ง หรือปฐมยาม มีวิตก(ความตรึก),วิจาร(ความตรอง) และปีติ ความอิ่มใจ ๒)ฌานที่สอง หรือทุติยฌาน ซึ่ง วิตกและ วิจาร สงบระงับ เหลือแต่ ปีติ ๓)ฌานสาม หรือตติยฌาน มีปีติ(ความอิ่มใจ) สงบระงับ ๔)ฌานสี่หรือ จตุตถฌาน มีอุเบกขา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มาร=คือสิ่งใดๆที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากคุณความดี แบ่งได้ ๑)กิเลสมาร-ขัดขวางไม่ให้ทำความดี เช่น นิวรณ์ ๕. ๒)ขันธมาร-คือขันธ์ที่บกพร่องผลาญตัวเอง เช่น อยากฟังธรรมแต่หูหนวก ๓)อภิสังขารมาร-คือความคิดนึกประกอบกับอารมณ์เป็นมาร เป็นตัวปรุงแต่งกรรมทำให้เกิด ชาติ ชรา มรณา ขัดขวางมิให้หลุดจากทุกข์ในสังสารวัฏ ๔)เทวปุตตมาร-เทวดาที่เป็นมาร คือท้าว ววสวัตดี จอมเทพแห่งสวรรค์ชั้น ปรนิมมิตวสวัตดี ๕)มัจจุมาร-คือความตายที่ตัดโอกาสทำความดีของตนเอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
ประมวลธรรม : ๒๕.อัคคัญญสูตรสูตร(สูตรว่าด้วยสิ่งที่เลิศ หรือที่เป็นต้นเดิม)
กาพย์กากคติ
๑.พระพุทธเจ้า......ประทับยะเหย้า......ณ "บุพพะราม" ของวิสาขา....ใกล้"สาวัตฯ"คาม....มีสาม์เณรตาม....มาบวชสองคน "วาเสฏฯ,ภารัทฯ"......อยากบวชสงฆ์ชัด......ทูลดำริตน พุทธ์องค์ทรงถาม....เป็นพราหมณ์อยู่ก่น....หัวหน้าไม่บ่น....ด่าว่าหรือไร
๒.ผิเณรก็ตอบ.......จะด่ามิชอบ......สิตรัสวะไข ทูลว่าพราหมณ์เลิศ...."ขาว"เทิดกว่าไผ....อื่น"ดำ"เลวไซร้....ล้วนมีมลทิน บุตรพรหมกำเนิด......จากปากพรหมเจิด.....พรหมทายาทปิ่น เณรทิ้งเผ่ายิ่ง....แล้วดิ่งลงผิน....สู่พวกเลวยิน....โกนหัวโล้นเอย
๓.ก็ศีรษะโล้น......เจาะไพร่ทะโมน......สิ"ดำ"และเผย เกิดจากเท้าพรหม....ไม่สมควรเกย....ไม่ดีงามเลย....ไปบวชเรียนตรง พุทธ์เจ้าทรงตอบ......คำกล่าวไม่ชอบ......ด้วยลืมพลอยหลง เกิดจากพราหมณี....แท้ทีเดียวบ่ง....ไม่ใช่ปากคง....ตู่พูดเท็จเทียว
๔.และทรงตริคลี่......มนุษย์สิสี่......ก็วรรณะเชียว ทั้งผองทำ"ดี"...."ชั่ว"ปรี่เช่นเดียว....เหมือนกันเลยเจียว....ไม่แตกต่างกัน ทรงกล่าว"ปาเสนฯ"......ราชายิ่งเด่น......นบ"โคดม"ครัน ด้วยความเคารพ.....พราหมณ์จบด้วยสรร....พวก"ดำ"ไพร่ดั้น....ดูถูกไพร่วงศ์
๕.พระพุทธเจ้า.......ตริหลักและเร้า.......กะศิษย์ผจง ถ้าคนถามว่า....ใครนาตอบบ่ง.....เป็นสงฆ์"ศากย์ฯ"ตรง....บุตรของ"สัมมาฯ" ผู้เกิดจากธรรม....ธรรม์ทายาทนำ......รับสืบทอดหนา คำ"ธัมม์กาย"ฉาย...."พรหมกาย"ผู้กล้า...."เป็นธรรม,พรหม"นา....คือชื่อ"เรา"เอง
๖.ก็พุทธองค์......ซิตรัสและบ่ง.....เจาะโลกะเผง เวียนถูกทำลาย....สัตว์หลายเกิดเด้ง....สู่"อาภัสส์ฯ"เร่ง....เป็นพรหมล่องลอย คราโลกกลับมี......สัตว์ใหม่เกิดคลี่......เกิดจาก"ใจ"ช้อย มีปีติเป็น....ดังเช่นภัตรคอย....อำนาจฌานปล่อย....แสงจ้าจนชิน
๗.อุบัติปฐม.......ก็ภัตรนิยม........สิโอชะ"ดิน" เรียก"ง้วนดิน"มี....ทั้งสี,กลิ่นกิน....รสแซ่บซ่าจินต์....เพลินกินแสงวาย เกิดอาทิตย์,จันทร์.......พร้อมดาวมากครัน.......มีคืนวันฉาย มีเดือน,ปีถ้วน....กินง้วนดินพราย....เกิดความหยาบกาย....เห็นผิวพรรณทราม
๘.ผิผิวขจี........จะหมิ่นทวี.......วะหยาบมิงาม ด้วยถือตัวหมิ่น....ง้วนดินหายผลาม....บ่นเสียดายลาม....เกิด"สะเก็ดดิน"แทน มีสี,กลิ่น,รส.......เป็นอาหารจด.......กายหยาบขึ้นแสน ดูหมิ่นกายเอ็ด....สะเก็ดดินหายแม่น....เกิด"เถาไม้"แล่น....กลิ่น,รสสมบูรณ์
๙.สิพรรณะทราม......กุหมิ่นซิลาม......และเถาก็สูญ เกิด"ข้าวสาลี"....ไม่มีเปลือกนูน....กลิ่นหอมมากพูน....ข้าวสุกกินไว ไร้แกลบ,รำเน้น......ข้าวเก็บตอนเย็น.....เช้าแก่เก็บได้ ความหยาบร่างกาย....ขยายผิวพรรณไหว....ทรามมากขึ้นไซร้.....รูปกายเปลี่ยนแปลง
๑๐.กุเกิดยะยิ่ง.......ก็ชายและหญิง.....ริเพ่งมิแฝง กำหนัดเร่าร้อน....ช้อนเมถุนแกร่ง....ต่อหน้าคนแรง....ไม่ได้ปิดบัง น่ารังเกียจหนา......ถูกเขาขว้างปา......ว่า"อธรรม"เลว,ชัง ครานี้คิดเป็น...."ธรรม"เด่นปลูกฝัง....สร้างบ้านอยู่ดั่ง....ปิดซุกซ่อนเอย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๒/๓) ๒๕.อัคคัญญสูตร
๑๑.เสาะแผนสะสม......กะข้าวระดม......สิมากและเผย ด้วยขี้เกียจสาว....เอาข้าวบ่อยเคย....เช้า-เย็นลดเลย....เหลือแค่ครั้งเดียว เอาข้าวหนหนึ่ง......ใช้อีกสองถึง.......สี่,แปดวันเจียว เมื่อเพิ่มเก็บไว....ข้าวไร้ผลเรียว....ไม่งอกอีกเชียว....ภัตรจึงเสื่อมครัน
๑๒.มนุษย์ประชุม......ริแก้เจาะกลุ่ม......ก็แบ่งและสรร ที่ปลูกข้าวพราย....เป็นรายคนพลัน....การจัดการมั่น....ข้าวน่าเพียงพอ แล้วเกิดอกุศล......เก็บรักษ์ส่วนตน.....ขโมยข้าวไม่ขอ จึงถูกลงโทษ.....ปราบโฉดตบจ่อ....ขว้างก้อนหินล่อ....ตีด้วยไม้พลอง
๑๓.สิพูดและหา.......เสาะดู"ตุลาฯ".......ติเตียนและมอง หาผู้ลักทรัพย์....แล้วขับออกตรอง....หาคนปกครอง....แบ่งข้าวให้เลย คัดเลือกหัวหน้า.......มีศักดิ์ใหญ่นา.......ไล่คนผิดเผย ตั้งเป็นราชา....ก่อพาสุขเอย....อิ่มใจชนเอ่ย....ตั้งแต่นั่นมา
๑๔.กษัตริย์อุบัติ.......กะกลุ่มซิชัด......ก็คุ้นสิหนา มาทำหน้าที่.....ช่วยคลี่คลายนา....แก้ไขปัญหา....ปรับให้รุ่งเรือง คนเสมอกัน......ไม่แตกต่างผัน.......เกิดด้วย"ธรรม"เปรื่อง ไม่เกิดด้วย"อธรรม"....ธรรมนำกระเดื่อง.....ในหมู่ชนเนือง....กาลนี้,หน้ายล
๑๕.ก็ผู้ลิบาป.......อธรรมมิซาบ......ละเรือนลุด้น เรียก"พราหมณ์ผู้ลอย....บาป"จ้อยทิ้งรน....อยู่กุฎีตน....สร้างด้วยหญ้ามุง เพ่งในกุฎี......เรียก"ฌายกะ"ชี้.......ผู้เพ่งผดุง แต่งตำราเดช..."พระเวท"สอนปรุง....ให้สวดมนต์มุ่ง....ท่องบ่นจำเอย
๑๖.ก็คนสิกล่าว......ละเพ่งซิฉาว.........มิทำละเลย เรียกกันใหม่ว่า....."อัชฌาย์ฯ"แปลเอ่ย....สาธยาย,เผย.....เริ่มวรรณะพราหมณ์ อีกกลุ่มล่าสัตว์.......เป็นอาชีพชัด.......เสพเมถุนลาม วรรณะ"ศูทร"แล....แน่แปล"พราน"ตาม....งานเล็ก,น้อยความ.....รับใช้,คนงาน
๑๗.ผิกลุ่มกระทำ......สิงานลุล้ำ......ประโยชน์จะขาน วรรณะ"แพศย์"ดั้น....สำคัญยิ่งงาน....เศรษฐกิจกราน....อยู่ในมือเลย พุทธ์องค์ตรัสย่อ......กษัตริย์,พราหมณ์จ่อ.......รวมแพศย์,ศูทรเอ่ย เกิดจากกลุ่มนั้น.....ไม่ผันไกลเลย....ไม่ใช่อื่นเผย....เป็นพวกเดียวเพรา
๑๘.ซิเขาอุบัติ......นรีชะงัด.......เสมอและเท่า ความไม่เสมอ.....ไม่เจอกลุ่มเขา.....เกิดโดยธรรมเกลา....ไม่เกิดโดยอธรรม แบ่งวรรณะนี้......เรียกแบ่งหน้าที่.......ด้วยเต็มใจหนำ ไม่มีผู้ใด....ยิ่งใหญ่กว่านำ....ควรลดหมิ่นทำ....ถือตัวลดลง
๑๙.ตริตรัสซิต่อ......นราก็จ่อ.....ผนวชซิบ่ง "สมณ์มณฑล"เกิด....เทิดสม์ณะตรง....ล้วนมาจากพงศ์.....สี่วรรณะแล จากพวกเดียวกัน.....เกิดเท่าเทียมครัน......ไม่ควรหมิ่นแท้ พราหมณ์เหยียดสม์ณะ....ต้องละทิ้งแช.....ไม่มีใครแน่....สูง,ต่ำกว่ากัน
๒๐.ผิตรัสและชี้.......ก็วรรณะสี่......ประพฤติกระชั้น ชั่วทั้งใจพา....กาย,วาจาผัน....เห็นผิดตายพลัน....ก้าวสู่"อบาย" ตรงข้ามพฤติดี........เกิดเห็นชอบคลี่......ถึงแดนสรวงกราย ทำทั้งดี,ชั่ว.....ทำตัวสุขฉาย....ทั้งทุกข์ใจ,กาย....เท่าเท่ากันเลย
๒๑.พระองค์สิชี้......ก็วรรณะสี่......ผิพฤติซิเคย สำรวมกายนา.....วาจา,ใจเผย....สู่"โพธิ์ปักฯ"เปรย....ทั้งเจ็ดประการ ถึงอรหันต์........ณ ปัจจุบัน......ผู้สำเร็จงาน จากวรรณะใด.....นับไซร้เยี่ยมปาน....เสร็จโดยธรรมสาน....ไม่ใช่อธรรมแล
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๓/๓) ๒๕.อัคคญญสูตร
๒๒.สรุปซิตรัส......พระธรรมจะวัด......ประเสริฐสิแฉ สู่หมู่ชนชัด....ปัจจุบันแน่....อนาคตแท้.....เป็นจริงแน่นอน ทรงยกภาษิต......"สนังกุมาร"คิด......เหมือนพระองค์สอน หมู่วรรณะหนา....ราชากระฉ่อน.....ผู้เลิศล้ำพร....เหนือกว่ากลุ่มใด
๒๓.ตะวิทยา........ประพฤติลุหล้า......วิเศษชไม ใครมีความรู้....และชูพฤติไสว....ยอดเยี่ยมสุดไกล.....เหนือคน,เทวา พิเศษไม่มี.......เหล่าวรรณะสี่......พวกเดียวกันหนา ความเข้าใจผิด....คิดเหยียดกันพา....หลงตนหมิ่นว่า....ดูถูกกันเอง ฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๕๒-๓๕๕
บุพพะราม=บุพพาราม ที่ตั้งปราสาท ของ นางวิสาขา สาวัตฯ=กรุงสาวัตถี วาเสฏฯ=วาเสฏฐะ คือชื่อของสามเณร เดิมนับถือศาสนาอื่น ภารัทฯ=ภารัทวาชะ คือชื่อของสามเณร ทั้งวาเสฏฐะและภารัทวาชะนั้นเป็นพราหมณ์ในกรุงเวสาลี ทั้งสองเป็นเพื่อนรักกัน วาเสฏฐะนั้นเป็นศิษย์ของ โปกขรสาติพราหมณ์ ส่วนภารัทวาชะเป็นศิษย์ของตารุกขพราหมณ์ ปาเสนฯ=พระเจ้าปเสนทิโกศล โคดม=พระโคดมพุทธเจ้า ในกาลปัจจุบัน ศากย์ฯ=ศากยบุตร หรือ สักยปุตตะ หมายถึงพระพุทธเจ้า โดยใจความ คือ ผู้เป็นลูกพระพุทธเจ้า ได้แก่พระภิกษุ (ภิกษุณีเรียกว่า สักยธิดา) สัมมาฯ=พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นชื่อเรียกพระพุทธเจ้า เข่นเดียวกับชื่อ พระผู้มีพระภาคเจ้า ธรรม์ทายาท=ธรรมทายาท แปลว่า ผู้รับมรดกธรรม ธัมม์กาย=ธัมมกาย(กายธรรม) ผู้มีธรรมเป็นกาย เป็นพระนามอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า หมายความว่า พระองค์ทรงคิดพุทธพจน์คำสอนด้วยพระหทัยแล้วทรงนำออกเผยแพร่ด้วยพระวาจา เป็นเหตุให้พระองค์ก็คือพระธรรมเพราะทรงเป็นแหล่งที่ประมวลหรือที่ประชุมอยู่แห่งพระธรรมอันปรากฏเปิดเผยออกมาแก่ชาวโลก พรหมกาย=(กายพรหม) คือพระกายประเสริฐ, พระนามของพระพุทธเจ้า. อาภัสส์ฯ=อาภัสสรพรหม คือพรหมชั้นทุติยฌานภูมิ ซึ่งตอนโลกพินาศพรหมชั้นนี้ยังอยู่ ตุลา=ตุลาการ ฌายกะ=คือ ผู้ไม่เพ่ง พระเวท=คัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์ เรียกว่า มีอยู่ ๓ คือ ๑)ฤคเวท เป็นบทสวดสรรเสริญพระเจ้า ๒)ยชุรเวท ว่าด้วยพิธีบูชายัญ ๓)สามเวท ว่าด้วยบทสวดสำหรับใช้ทั่วไปในกลุ่มประชาชนในพิธีกรรมต่างๆ อัชฌาย์ฯ=อัชฌายกะ แปลว่า ผู้สาธยาย สมณ์มณฑล=สมณมณฑล โพธิ์ปักฯ=โพธิปักขิยธรรม ๗ หรือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ เป็นธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ เกื้อกูลแก่การตรัสรู้ เกื้อหนุนแก่อริยมรรค มี (๑)สติปัฏฐาน ๔;(๒)สัมมัปปธาน ๔; (๓)อิทธิบาท ๔;(๔)อินทรีย์ ๕;(๕) พละ ๕;(๖)โพชฌงค์ ๗; (๗)มรรคมีองค์ ๘ สนังกุมาร=สนังกุมารพรหม ได้กล่าวภาษิตว่า กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่ชนผู้รังเกียจด้วยโคตร แต่ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา(ความรู้)และจรณะ(ความประพฤติ) เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในเทวดาและมนุษย์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
ประมวลธรรม : ๒๖.สัมปสาทนียสูตร(สูตรว่าด้วยคุณธรรมที่น่าเลื่อมใสของพระพุทธเจ้า)
กาพย์ตรังควชิราวดี(ตรังคนที)
๑.พุทธ์เจ้าเสด็จมา.............ณ "ปาวาริกัมพ์วัน" "สาริบุตร"เฝ้าพลัน................ทูลว่าเลื่อมใสพุทธ์องค์ ไม่มีสมณะใด........................ทุกกาลในอดีตบ่ง กาลนี้,ข้างหน้าคง..................ตรัสรู้เหมือนเอย
๒.พุทธ์องค์ตรัส"สาริฯ".......วาจาซิอาจหาญเผย รู้จิตพุทธ์เจ้าเปรย..................ทั้งสามกาลหรืออ ย่างไร ว่ามีศีล,ธรรมมา......................มีปัญญาธรรมอยู่ไข ใจหลุดพ้นแล้วไกล.................สาริบุตรตอบเปล่าเลย
๓.พุทธ์องค์ทรงถามว่า.........เหตุใดนาจึงพูดเอ่ย เปล่งวาจากล้าเปรย................บันลือสีหนาทยัน สาริบุตรทูลแน่ใจ....................เปรียบผู้ใฝ่เฝ้าดูครัน ประตูเข้า-ออกกัน....................มีทางเดียวจะออกไป
๔.นายประตูทราบดี..............แม้"แมว"หนีออกมิได้ สัตว์ใหญ่แน่ออกไว..................แค่ประตูนี้เองครัน ดังข้าสาริบุตร..........................เปรียบประดุจเป็นเช่นนั้น รู้นัยแห่งธรรมพลัน...................แด่อรหันต์ทุกกาล
๕.ทั้งพระพุทธเจ้าล้วน...........สามกาลขวนละห้าขาน "นิวรณ์"ทำจิตพาน....................เศร้า,ปัญญาด้อยพลัง ดำรงจิต"สติปัฏฯ"......................"โพชฌงค์ฯ"จัดรู้จริงพลัง จึงรู้"อนุตต์ฯ"ดัง.........................ญาณอันยอดเยี่ยมเลยแล
๖.พระสาริบุตรเล่า..................ได้ไปเฝ้าฟังธรรมแน่ รู้แท้ธรรมมิแปร.........................อริยสัจจ์ธรรมจริง จึงเกิดเลื่อมใสนา.......................พระศาส์ดาตรัส์รู้ยิ่ง รู้เองโดยชอบอิง.........................สงฆ์พฤติลุตามแน่นอน
๗.สาริบุตรแจงธรรม................อันเลิศล้ำพุทธ์องค์สอน สิบห้าข้อมิคลอน........................ไร้ข้อควรรู้อีกเลย หนึ่ง"โพธิปักฯ"เด็ด......................สามสิบเจ็ดทางไปเผย สู่อรหันต์เกย..............................ด้วยจาก"สติปัฏฯ"กราน
๘.สอง,ธรรม"อายะฯ"วาง.........ใน-นอกอย่างละหกผ่าน ส่งต่อกิเลสซาน.........................เช่นตา-รูป,หู-เสียงเอย สาม,ธรรมก้าวสู่ครรภ์................มีสี่ดั้นรู้สึกเอ่ย "ไม่รู้ตัว"ก้าวลงเลย....................ตั้งอยู่หรือออกจากครรภ์
๙.ก้าวสู่ครรภ์"รู้ตัว".................อยู่,ออกมัวมิรู้กัน "รู้ตัว"ก้าว,อยู่ครัน......................มิรู้เมื่อครรภ์ตกลง "รู้ตัว"ทั้งสามข้อ.........................ก้าวลงจ่อ,อยู่,ครรภ์บ่ง อยู่ในครรภ์ชื่อคง.......................กามราคะมิพ้นเลย
๑๐.สี่,ธรรมดักใจคน................มีสี่ล้น"นิมิต"เผย "ฟังเสียง"คน,เทพเปรย..............."ฟังเสียงละเมอ"พล่านใจ "รู้ใจผู้สมาธิ์"มี.............................วิตกคลี่วิจารไข รู้จิตผู้นั้นไว.................................จะได้แก้ผ่านด้วยดี
๑๑.ห้า,ธรรม"ทัสสนะฯ"เป็น.......ญาณที่เห็นอารมณ์ปรี่ สี่อย่างเพียรมั่นมี.........................จนลุ"เจโตสมาธิ์ฯ" "พิศกายแต่พื้นเท้า.......................ถึงผม"เกล้ามีสิ่งหนา "ใต้หนังสกปรก"นา.......................เช่นปอด,ตับ,เนื้อ,หัวใจ
๑๒."พิจารณ์กระดูก"คาด...........ไม่สะอาดผ่านหนังไข "ดูแนววิญญาณไว........................ตั้ง"ในโลกนี้,หน้าครา "ดูแนววิญญาณชู.........................มิตั้ง"อยู่โลกนี้,หน้า ทัสส์นะฯธรรมเยี่ยมนา.................ทรงสอนตัดกิเลสลง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๒/๕) ๒๖.สัมปสาทนียสูตร
๑๓.หก,ธรรมบัญญัติคน.............เจ็ดอย่างล้น"อรีย์"บ่ง "อุภ์โตภาคฯ"ผู้คง.........................หลุดพ้นทั้งสองส่วนเลย จากรูปกายหนหนึ่ง.......................อีกครั้งถึงนามกายเผย กิเลสหมดสิ้นเอย..........................ลุอรหันต์ด้วยปัญญา
๑๔."ปัญญาวิมุต"ท้น...................ผู้หลุดพ้นรูปกายหนา ลุอรหันต์มา..................................ด้วยปัญญาอย่างเดียวเลย "กายสักขี"ผู้เป็น...........................พยานเด่นนามกายเผย กิเลสบางส่วนเอย.........................สิ้นดังหมายเริ่มโสดาฯ
๑๕."ทิฏฐิปฯ"ผู้ลุกิจ....................สัมมาทิฏฐิคล่องหนา กิเลสบางส่วนมา...........................สิ้นไปหมายโสดาฯครัน "สัทธาวิมุต"ดล..............................จะหลุดพ้นศรัทธาสรรค์ กิเลสบางส่วนยัน...........................สิ้นไปหมายโสดาฯตรง
๑๖.กายสักขี,ทิฏฐิปฯ..................สัทธาฯลิบผู้ถึงบ่ง ตั้งแต่โสดาฯคง..............................สกทาฯ,อนาคาฯ "ธัมมานุสารี"..................................ผู้แล่นปรี่ตามธรรมหนา แก่กล้าด้วยปัญญา.........................ลุแล้วเป็นทิฎฐิปฯเลย
๑๗."สัทธานุสารี".........................ผู้แล่นรี่ศรัทธาเผย ศรัทธากล้ายิ่งเอย..........................ลุแล้วเป็นสัทธาฯ ธัมมานุสารี.....................................โสดาฯรี่ด้วยปัญญา สัทธาฯลุโสดาฯ..............................ด้วยอินทรีย์ศรัทธามี
๑๘.เจ็ด,ธรรม"โพชฌงค์ฯ"เป็น.....ปัญญาเด่นตรัสรู้คลี่ มีเจ็ดอย่างที่ดี................................เช่นสติ,เพียร,สมาธิ์ แปด,ธรรมปฎิบัติ............................มีสี่จัดลำบาก,รู้ช้า มี"ทุกขาทันธาฯ".............................ลำบากเพราะรู้ช้าเลย
๑๙."ทุกขาขิปปาฯ"แน่..................ลำบากแต่รู้เร็วเผย "สุขาทันธาฯ"เอย............................ทำสะดวกรู้ช้าทราม "สุขาขิปปาฯ"ชู...............................ง่ายรู้เร็วประณีตผลาม สุขาขิปปาฯวาม..............................ละเอียดนอกนั้นหยาบแล
๒๐.เก้า,ธรรมเกี่ยววาจา...............สี่อย่างนา"ไม่ปด"แน่ "ไม่ส่อเสียด"ยุแปร.........................ให้แตกร้าววิวาทกัน "ไม่พูดแข่งดี"ดัง.............................ได้ชัยจังอ้างโน่นผัน "พูดด้วยปัญญา"ยัน.......................มีหลักฐานพร้อมอ้างอิง
๒๑.สิบ,ธรรมวิธีสอน...................ให้ขจร"อริย์"ยิ่ง เป็น"โสดาฯ"เที่ยงจริง....................ละสังโยชน์สามสิ้นไป "สกทาฯ"ได้เสริม...........................โสดาฯเติมละสามไข ราคะ,โทสะไว...............................โมหะคืนโลกครั้งเดียว
๒๒."อนาคาฯ"ตัดนา...................สังโยชน์ห้าสิ้นไปเจียว จะนิพพานแน่เทียว........................มิต้องกลับมาเกิดเลย "พระอรหันต์"โชติ..........................ละสังโยชน์สิบได้เผย บรรลุนิพพานเอย...........................ออกจากวัฏฏะห่างไกล
๒๓.สิบเอ็ด,ธรรมหยั่งรู้................หลุดพ้นอยู่ของคนไหน รู้ว่า"โสดาฯ"ไง...............................จะสำเร็จวันหน้าแล "สกทาฯ"คืนมา..............................สู่โลกหล้าครั้งเดียวแฉ "อนาคาฯ"นี้แปร............................มิคืนสู่โลกอีกเลย
๒๔."อรหันต์"รู้ว่า........................คนนี้นาจะแจ้งเอ่ย "เจโตวิมุตฯ"เอย............................"ปัญญาฯ"เยี่ยมกิเลสราน สิบสอง,ธรรม"สัสส์ตะฯ"................ลัทธิปะ"ตน,โลก"สาน "ว่าเที่ยง"มีสามพาน.......................ระลึกหนึ่ง-แสนชาติแล
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๓/๕) ๒๖.สัมปสาทนียสูตร
๒๕.ระลึกหนึ่ง-สิบกัปป์.........แต่สิบนับสี่สิบแฉ ตน,โลกเที่ยงมิแปร..................เพราะระลึกชาติได้นาน สิบสาม,ธรรมหยั่งรู้..................เกิด,ตายกรูของสัตว์ขาน พุทธองค์พะพาน......................เห็นสัตว์ดี,ชั่วตามกรรม
๒๖.สิบสี่,ธรรมแจงฤทธิ์.........แสดงกิจยอดเยี่ยมล้ำ แยกสอง,แบบแรกนำ................ฤทธิ์กอปรกิเลสมิเป็น ฤทธิ์ของอริยะ..........................ตรงข้ามกะแบบหลังเด่น มิกอปรกิเลสเร้น.......................ด้วยเป็นของพระอริย์
๒๗.สิบห้า,ธรรมพุทธ์องค์.......บรรลุบ่งด้วยเพียรปรี่ กำลังบากบั่นมี..........................ไม่ชุ่มด้วยกามรน ไม่ทรมานองค์...........................พะวงลำบากลำบน ทรงได้ฌานสี่ดล.......................จึงเป็นสุขปัจจุบัน
๒๘.สาริบุตรแน่ใจ..................ยืนยันได้ไม่มีผัน ไร้สมณะใดครัน........................เหนือพุทธ์เจ้าทุกกาลเลย ถ้าถูกถามสมณะ.......................มีปะเท่าพุทธ์เจ้าได้เผย อดีต,กาลหน้าเอย......................ตอบว่า"มี"เทียมพระองค์
๒๙.ถ้าถามปัจจุบัน..................มีใครสรรเท่าเทียมบ่ง ตอบว่า"ไม่มี"ตรง.......................ถูกถามอีกเหตุใดนา สาริบุตรตอบว่า.........................อดีต,กาลหน้าจะมีหนา พุทธ์เจ้าตรัสรู้มา........................เสมอพระพุทธองค์
๓๐.แต่ปัจจุบันนี้......................จะไม่มีพุทธ์เจ้าบ่ง อุบัติพร้อมสองคง.......................ในโลกธาตุเดียวกัน ไม่ใช่โอกาสหรือ.........................ฐานะครือจะมีดั้น พุทธ์เจ้าตรัสรับครัน....................ภาษิตของสาริฯเอย
๓๑."อุทายีฯ"สรรเสริญ.............อัศ์จรรย์เกริ่นมากมายเผย พุทธ์เจ้าขัดเกลาเคย...................มักน้อยอานุภาพแรง มิแสดงปรากฏ.............................เดียร์ถีย์จดแค่หนึ่งแกร่ง ย่อมประกาศสำแดง.....................ด้วยเหตุข้อเดียวนา
๓๒.พุทธเจ้าตรัสแก่..................สาริฯแน่แจงธรรมหนา แก่ชนเนืองเนืองพา.....................หายแคลงตถาคตลง กล่าวกับสงฆ์หลายให้.................สันโดษไซร้คล้ายพุทธ์องค์ ขัดเกลามีฤทธิ์ตรง......................แต่มิแสดงตนเผยแล ฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๕๕-๓๕๗
ปาวาริกัมพ์วัน=ณ ป่ามะม่วง ซึ่งเศรษฐีขายผ้าเป็นผู้ถวาย สาริบุตร=พระอัคครสาวกเบื้องขวา ของพระพุทธเจ้า ผู้เลิศด้วยปัญญา นิวรณ์=นิวรณ์ ๕ คือกิเลสอันกั้นจิตไม่ให้ลุความดี แยกเป็น ๑)กามฉันทะ ความพึงพอใจ ติดใจ ลุ่มหลง ๒)พยาบาท เเค้นเคือง ผูกโกรธ ๓)ถีนมิทธะ หดหู่ ท้อถอย เซื่องซึม ๔)อุทธัจจะกุกกุจจะ ฟุ้งซ่าน ขาดสมาธิ กังวลใจ ๕)วิจิกิจฉา ความไม่เเน่ใจ ความลังเล สงสัย อนุตต์ฯ=อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ คือญาณที่ตรัสรู้เองโดยชอบ โพธิปักฯ=โพธิปักขยธรรม ๓๗ เป็นธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ คือ เกื้อกูลแก่การตรัสรู้ เกื้อหนุนแก่อริยมรรค มี ๑)สติปัฏฐาน ๔ ฐานเป็นที่กำหนดของสติ ๑.๑.กายานุปัสสนา-การตั้งสติพิจารณากาย; ๑.๒.เวทนานุปัสสนา-การตั้งสติพิจารณาเวทนา; ๑.๓.จิตตานุปัสสนา-การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต;๑.๔.ธรรมานุปัสสนา-การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม; ๒)สัมมัปปธาน ๔ หลักในการรักษากุศลธรรมไม่ให้เสื่อม ๒.๑.สังวรปธาน-การเพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในตน; ๒.๒.ปหานปธาน-การเพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว; ๒.๓.ภาวนาปธาน-การเพียรสร้างกุศลให้เกิดขึ้นในตน; ๒.๔.อนุรักขปธาน-การเพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เสื่อมไป;
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|