แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๔/๕) ๒๖.สัมปสาทนียสูตร
๓)อิทธิบาท ๔ เป้าหมายของความเจริญ ๓.๑.ฉันทะ-ความชอบใจทำ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น; ๓.๒.วิริยะ-ความแข็งใจทำ เพียรหมั่นประกอบในสิ่งนั้น; ๓.๓.จิตตะ -ความตั้งใจทำ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ไม่ทอดทิ้งธุระ; ๓.๔.วิมังสา-ความเข้าใจทำ การใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองหาเหตุผลในสิ่งนั้น; ๔)อินทรีย์ ๕ คือ ๔.๑.ศรัทธา-ให้เกิดความเชื่อ; ๔.๒.วิริยะ-ให้เกิดความเพียร; ๔.๓.สติ-ให้เกิดความระลึกได้; ๔.๔.สมาธิ-ให้เกิดความตั้งมั่น; ๔.๕.ปัญญา-ให้เกิดความรอบรู้; ๕)พละ ๕ คือกำลัง ๕.๑.ศรัทธา-ความเชื่อ; ๕.๒.วิริยะ-ความเพียร;๕.๓ สติ-ความระลึกได้; ๕.๔.สมาธิ-ความตั้งมั่น; ๕.๕.ปัญญา- ความรอบรู้; ๖)โพชฌงค์ ๗ คือ องค์แห่งการตรัสรู้ มี ๖.๑.สติ-มีความระลึกได้; ๖.๒.ธัมมวิจยะ-มีความพิจารณาในธรรม;๖.๓.วิริยะ-มีความเพียร; ๖.๔.ปีติ-มีความอิ่มใจ; ๖.๕.ปัสสัทธิ-มีความสงบสบายใจ; ๖.๖.สมาธิ-มีความตั้งมั่น; ๖.๗.อุเบกขา-มีความวางเฉย; ๗)มรรค ๘ คือ หนทางดับทุกข์ ๗.๑. สัมมาทิฏฐิ-ใช้เพื่อเห็นชอบ โดย เห็นอริยสัจ; ๗.๒. สัมมาสังกัปปะ-ใช้เพื่อดำริชอบ คือ ดำริละเว้นในอกุศลวิตก; ๗.๓.สัมมาวาจา-ใช้เพื่อเจรจาชอบ คือ เว้นจากวจีทุจริต; ๗.๔.สัมมากัมมันตะ-ใช้เพื่อทำการงานชอบ คือเว้นจากกายทุจริต; ๗.๕.สัมมาอาชีวะ-ใช้เพื่อทำอาชีพชอบ คือ เว้นจาก การเลี้ยงชีพในทางที่ผิด; ๗.๖.สัมมาวายามะ-ใช้เพื่อเพียรชอบ คือ สัมมัปปธาน; ๗.๗.สัมมาสติ-ใช้เพื่อระลึกชอบ คือ ระลึกในสติปัฏฐาน ๔; ๗.๘.สัมมาสมาธิ-ใช้เพื่อตั้งใจมั่นชอบ คือ เจริญฌานทั้ง ๔ และวิปัสสนา อายะฯ=อายตนะ ภายใน ๖(ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ภายนอก ๖(รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์) รวม ๑๒ แยกทำหน้าที่เป็นคู่ได้แก่ ตากับรูป,หูกับเสียง,จมูกกับกลิ่น,ลิ้นกับรส,กายกับโผฏฐัพพะ,ใจกับธรรมารมณ์ ทัสสนะฯ=ทัสสนสมาบัติ ๔ ประการ ๑)สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส,ความเพียรที่ตั้งมั่น,ความหมั่นประกอบ,ความไม่ประมาท,อาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธี แล้ว บรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น ย่อมพิจารณากายนี้ ตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป ตั้งแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า'ในกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูกไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ลำไส้ใหญ่ ลำไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ ๒)สมณะหรือพราหมณ์อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้ว บรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น ย่อมพิจารณากายนี้ ตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป ตั้งแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า‘ในกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ลำไส้ใหญ่ ลำไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร’ และก้าวข้ามผิวหนัง เนื้อ และเลือดของบุรุษไปพิจารณากระดูก ๓) สมณะหรือพราหมณ์ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้ว บรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่นย่อมพิจารณาเห็นกายนี้ ตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป ตั้งแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า‘ในกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูกไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ลำไส้ใหญ่ ลำไส้น้อย อาหารใหม่อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร’ และก้าวข้ามผิวหนัง เนื้อ และเลือดของบุรุษไปพิจารณากระดูก และรู้กระแสวิญญาณของบุรุษ ซึ่งกำหนดโดยส่วนสอง คือ ที่ตั้งอยู่ในโลกนี้ และในโลกหน้า ๔)สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้ว บรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้ ตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป ตั้งแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆว่า 'ในกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูกไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ลำไส้ใหญ่ ลำไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร’ และก้าวข้ามผิวหนัง เนื้อ และเลือดของบุรุษไปพิจารณากระดูกและรู้กระแสวิญญาณของบุรุษ ซึ่งกำหนดโดยส่วนสอง คือ ที่ไม่ตั้งอยู่ในโลกนี้ และไม่ตั้งอยู่ในโลกหน้า เจโตสมาธิ์=เจโตสมาธิ คือสมาธิที่นำจิตให้หลุดพ้นจากการครอบงำปรุงแต่งของอารมณ์ทั้งหลาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(หน้า ๕/๕).๒๖.สัมปสาทนียสูตร
อริยบุคคล ๗ =บุคคลผู้ประเสริฐเรียงจากสูงลงมา ๑)อุภโตภาควิมุต -ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน คือ ท่านที่ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย และสิ้นอาสวะแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา หมายเอาพระอรหันต์ผู้ได้เจโตวิมุตติขั้นอรูปสมบัติมาก่อนที่จะได้ปัญญาวิมุตติ ๒)ปัญญาวิมุต -ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา คือ ท่านที่มิได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย แต่สิ้นอาสวะแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา หมายเอาพระอรหันต์ผู้ได้ปัญญาวิมุตติก็สำเร็จเลยทีเดียว ๓)กายสักขี -ผู้เป็นพยานด้วยนามกาย หรือ ผู้ประจักษ์กับตัว คือ ท่านที่ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย และอาสวะบางส่วนก็สิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา หมายเอาพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วขึ้นไป ๔)ทิฏฐิปปัตตะ -ผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ คือ ท่านที่เข้าใจอริยสัจจธรรมถูกต้องแล้วและอาสวะบางส่วนก็สิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา หมายเอาพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วขึ้นไป ๕)สัทธาวิมุต -ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา คือ ท่านที่เข้าในอริยสัจจธรรมถูกต้องแล้วและอาสวะบางส่วนก็สิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา แต่มีศรัทธาเป็นตัวนำหน้า หมายเอาพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วขึ้นไป ๖)ธัมมานุสารี -ผู้แล่นไปตามธรรม หรือผู้แล่นตามไปด้วยธรรม คือ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล ที่มีปัญญินทรีย์แก่กล้า อบรมอริยมรรคโดยมีปัญญาเป็นตัวนำ ท่านผู้นี้ถ้าบรรลุผลแล้วกลายเป็นทิฏฐิปัตตะ ๗)สัทธานุสารี -ผู้แล่นไปตามศรัทธา หรือผู้แล่นตามไปด้วยศรัทธา คือ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผลที่มีสัทธินทรีย์แก่กล้า อบรมอริยมรรคโดยมีศรัทธาเป็นตัวนำ ท่านผู้นี้ถ้าบรรลุผลแล้วกลายเป็นสัทธาวิมุตกล่าวโดยสรุป บุคคลที่ ๑ และ ๒ (อุภโตภาควิมุต และปัญญาวิมุต) ได้แก่พระอรหันต์ ๒ ประเภท บุคคลที่ ๓, ๔ และ ๕ (กายสักขี ทิฏฐิปปัตตะ และสัทธาวิมุต) ได้แก่พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และท่านผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค จำแนกเป็น 3 พวกตามอินทรีย์ที่แก่กล้า เป็นตัวนำในการปฏิบัติ คือ สมาธินทรีย์ หรือปัญญินทรีย์ หรือสัทธินทรีย์ ส่วนบุคคลที่ ๖ และ ๗ (ธัมมานุสารีและสัทธานุสารี) ได้แก่ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค จำแนกตามอินทรีย์ที่เป็นตัวนำในการปฏิบัติ คือ ปัญญินทรีย์ หรือสัทธินทรีย์ ธรรมข้อปฏิบัติ ๔=ปฏิบัติลำบากและรู้ช้า ๑)ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติลำบาก และรู้ได้ช้า ๒)ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว ๓)สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า ๔)สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิบัติสะดวก และรู้ได้เร็ว เทศนาวิธีสั่งสอน ๔= ๑)พระพุทธเจ้าทรงมนสิการโดยแยบคายว่า ‘บุคคลนี้ เมื่อปฏิบัติตามที่สั่งสอน จักเป็นพระ โสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไปไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า ๒)ทรงมนสิการโดยแยบคายว่า ‘บุคคลนี้เมื่อปฏิบัติตามที่สั่งสอน จักเป็นพระ สกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียวก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’ ๓)ทรงมนสิการโดยแยบคายว่า ‘บุคคลนี้เมื่อปฏิบัติตามที่สั่งสอน จักเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ปรินิพพานในโลกนั้นไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก’ ๔)ทรงมนสิการโดยแยบคายว่า ‘บุคคลนี้เมื่อปฏิบัติตามที่สั่งสอน จักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ ทรงเทศนาเรื่องการหยั่งรู้,การหลุดพ้นของบุคคลอื่น ก็นับว่ายอดเยี่ยม= ๑)ทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยทรงมนสิการโดยแยบคายว่า ‘บุคคลนี้จักเป็นพระโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ ๒)ทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยทรงมนสิการโดยแยบคายว่า ‘บุคคลนี้จักเป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียวก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’ ๓)ทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยทรงมนสิการโดยแยบคายว่า ‘บุคคลนี้จักเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ปรินิพพานในโลกนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก’ ๔)ทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยทรงมนสิการโดยแยบคายว่า ‘บุคคลนี้จักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ สัสสตะฯ=สัสสตวาทะ เป็นลัทธิความเห็นที่มีมาก่อนสมัยพุทธกาล โดยเห็นว่าอัตตาหรือตัวตนเป็นสิ่งเที่ยงแท้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ขาดสูญ แม้ตายแล้วก็เพียงร่างกายเท่านั้นที่สลายหรือตายไป แต่สิ่งที่เรียกว่าอาตมันหรืออัตตา ชีวะ เจตภูติ ยังเป็นอมตะ ไม่มีวันตาย ไม่มีวันสูญ จะไปถือเอาปฏิสนธิในภพอื่นต่อไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
ประมวลธรรม : ๒๗.ปาสาทิกสูตร(สูตรว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่น่าเลื่อมใส)
กาพย์มหาตรังคนที
๑.พุทธองค์ทรงยาตร........ปราสาท"ศากย์ฯ"เชี่ยวชาญธนู ครานั้น"นิครนฯ"จู่.................เจ้าลัทธิถึงแก่กรรมลง แตกกันครันสองฝ่าย.............วิวาทกรายรุนแรงบ่ง "จุนทะ"เล่าความตรง.............แก่อานนท์ชวนเฝ้า"โคดม"
๒.พุทธเจ้าตรัสถึง..............หลักธรรมตรึงซึ่งสอนนำบ่ม ของศาส์ดา,ศิษย์คม..............แบ่งออกได้ไวหกแบบนา หนึ่ง,สามทรามไม่ดี...............ศาส์ดานี้,หลักธรรมนำศิษย์หนา ถ้าใครได้ทำพา.....................ประสบสิ่งไร้บุญมากเอย
๓.สอง,ศาส์ดา,หลักธรรม.....ไม่ดีนำแม้ศิษย์ดีเผย พฤติตามลามแล้วเปรย...........ถูกติเตียนสามฝ่ายแล แม้ใครได้เพียรจริง.................ประสบสิ่งมิใช่บุญแฉ สาม,ศาส์ดา,ธรรมแน่..............ล้วนดีแต่ศิษย์แย่มิดี
๔. สาม,ศาสดา,ธรรม...........เสริญนำศิษย์ถูกติเตียนคลี่ ใครพฤติตามทวี.....................ยังได้พบบุญกันมากเลย สี่,ดีทั้งสามอย่าง.....................สรรเสริญพร่างสามฝ่ายเอ่ย ใครเรียนเพียรตามเอย.............ประสบบุญล้ำเลิศเลอ
๕.ห้า,ศาส์ดา,หลักธรรม.........ดีนำศิษย์หย่อนเนื้อความเอ่อ มิเข้าใจแจ่มเออ.......................จะเดือดร้อนกร่อนศาส์ดาตาย หก,ศาส์ดา,ธรรมดี....................ศิษย์ซึ่งปรี่คลี่ธรรมผาย ครั้นศาส์ดาตาย.......................ศิษย์ไม่เดือดร้อนลำบากใจ
๖.พุทธ์เจ้าทรงตรัสหวั่น.........พรหม์จรรย์บริบูรณ์เพียงใด มีอีกห้าข้อไว............................ควรพิจารณาเอง หนึ่ง,ศาส์ดามิเป็น.....................เถระเด่นบวชนานรู้เผง มิถือบกพร่องเกรง....................ศาส์ดาเถระจึงสมบูรณ์
๗.สอง,ศาส์ดาเถระ................แต่ปะสงฆ์เถระขาดพูน ไม่กาจลุธรรมคูณ....................มิแย้งข้อกล่าวหาได้เลย ถือยังยั้งพร่องพรู.....................ถ้าสงฆ์กู่เก่งอาจหาญเผย ผู้ฉลาดวาดเปรย......................จึงชื่อว่าสมบูรณ์เลยจริง
๘.สาม,ถ้าศาส์ดา,สงฆ์............เถระบ่งล้ำเลิศดียิ่ง แต่สงฆ์ชั้นกลางพิง...................ไม่ดีเท่ามิสมบูรณ์แล รวมสงฆ์บวชใหม่พลี.................ภิกษุณีเถระ,กลางแน่ ชนพฤติพรหม์จรรย์แด..............เสพกามอยู่ก็ยังมิดี
๙.สาม,ประพฤติสมบูรณ์.........ดีพูนแล้วแน่วถือปรี่ ว่าพรหมจรรย์พี........................ดีสมบูรณ์ครบพร้อมพรั่งเอย พุทธ์องค์ทรงเสริมบ่ง................พระองค์,ธรรม,สงฆ์,ชนเผย ถ้าคุณลักษณะเชย...................พรหม์จรรย์จึงสมบูรณ์จริงนา
๑๐.ตรัสว่าพระองค์,สงฆ์.........ผู้บ่งเลิศ,ลาภ,ยศแล้วหนา นึกคำ"อุททกฯ"พา....................ว่า"เห็นอยู่แต่ไม่เห็น"ชม แจงว่า"เห็นมีดโกน"...................ลับดีโผน"ไม่เห็นคม" ภาษิตไร้คุณงม........................ไม่มีประโยชน์ทุกอย่างครัน
๑๑.ทรงตรัสว่าที่ถูก...............ควรปลูกหมาย"ไม่เห็นพรหม์จรรย์" ที่บริบูรณ์ยัน............................ประกาศดีแท้กล่าวชอบตรง ตรัสแนะให้จุนทะ......................เทียบเคียงพระธรรมแสดงบ่ง ด้วยปัญญายิ่งคง.......................พึงทำสังคายนาวิจารณ์
๑๒.ตรึกอรรถ-อรรถ,คำ-คำ......เพิ่อทำพรหม์จรรย์ยั่งยืนขาน เป็นประโยชน์สุขกราน...............อนุเคราะห์เกื้อกูลชน,เทวา ธรรมยิ่ง"สติปัฏฐ์".......................มีสี่ชัดมีมรรคสุดหนา เรียก"โพธิปักขิฯ"พา...................สู่ตรัสรู้แน่วแน่เอย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๒/๖) ๒๗.ปาสาทิกสูตร
๑๓.ตรัสแนะสอบสวนธรรม...........เทียบนำโพธิปักข์ฯพร้อมเพรียงเผย ทั้งสามสิบเจ็ดเชย...........................อย่าวิวาททรงแนะวิธี สงฆ์สอบพระธรรมมี........................ยึดสี่ข้อหลักสำเร็จรี่ เพื่อให้พรหม์จรรย์ดี.........................ดำรงอยู่ได้คงเนิ่นนาน
๑๔.หนึ่ง,เพื่อนพรหมจรรย์พลาง.........กล่าวท่ามกลางสงฆ์ประชุมด่วน รู้"อรรถ,ความหมาย"พาน...............ผิดรวมทั้ง"อักษร"ควรติง แล้วบอกอักษรนี้...........................อีกตัวชี้ไหนถูกต้องยิ่ง ความหมาย"นี้,นั่น"อิง....................ของตัวอักษรใดดีครัน
๑๕.ถ้าผู้กล่าวธรรมรี่.................อักษรนี้,ความหมายนี้ดั้น เหมาะสมดีปรี่ยัน.........................มิควรเสริญหรือคัดค้านเอย พึงกำหนดหมายดี......................พิจารณ์คลี่อรรถ,อักษรเผย แย้งอักษรไหนเชย.........................เหมาะอรรถ,ความหมายมากกว่ากัน
๑๖.สอง,รู้อรรถผิดคลอน..............ยกอักษรถูกพึงถามมั่น อักษรไหนประชัน............................ความหมายดีกว่าเพื่อใคร่ครวญ สาม,รู้อรรถถูกวอน..........................ยกอักษรผิดต้องสอบสวน อักษรสองฝ่ายจง.............................อันใดถูกกว่าแล้วพิจารณ์
๑๗.สี่,รู้อรรถถูกต้อง......................อักษรพ้องถูกควรชมฉาน ซึ่งภาษิตคิดชาญ.............................ได้เข้าถึงอรรถ,อักษรเอย พุทธ์องค์ตรัสแสดง..........................มิแจงธรรมคุมกิเลสเอ่ย กาลนี้,แต่สอนเปรย...........................ทลายกิเลสกาลหน้าคอย
๑๘.พุทธ์องค์ทรงแสดง...................ที่แจงปัจจัยสี่คลายหนาว-ร้อน ยังชีพต่อได้จร..................................ปฏิบัติธรรมสะดวกเอย แล้วทรงตรัสแนะนำ...........................โต้ตอบล้ำเจ้าลัทธิเผย เมื่อศาสน์พุทธ์ถูกเปรย......................พาดพิงมีหลายข้อตอบควร
๑๙.หนึ่ง,นักบวชอื่นว่า.....................สงฆ์ศากย์ฯนายึด"สุขัลฯ"ถ้วน หมกมุ่นเสพสุขชวน...........................จงถามว่า"สุขัลฯ"เป็นอย่างใด สุขัลฯธรรมต่ำทราม..........................ของชนลามเท่านั้นจะไข ฆ่าสัตว์,เท็จ,ลักไว.............................บำเรอตนอิ่มเอมกามคุณ
๒๐.ธรรมทรามนี้มิใช่.....................กิจไซร้พระอริยะหนุน ไม่ได้ประโยชน์จุน...........................ไม่คลายกำหนัดระงับเลย ไม่สงบมิใช่ทาง................................ตรัสรู้พร่างอย่างใดเผย พุทธ์องค์ให้ตอบเอย.........................บอกเดียรถีย์กล่าวให้ตรง
๒๑.สอง,สงฆ์สงัดแน่ว.....................คลาดแคล้วอกุศลธรรมบ่ง ลุ"ฌานหนึ่ง-สี่"ทรง.............................วิตก,วิจาร,ปีติคลาย จะสุข,ทุกข์หมดลิ...............................เหลือสติ,สัมป์ชัญญะหมาย คือสุขัลฯสงฆ์กราย.............................สู่ทางตรัสรู้นิพพาน
๒๒.สาม,ถ้านักบวชถาม....................ผลดีตามลุฌานจงขาน ตอบไปสี่อย่างพาน.............................."โสดาฯ"ละสัญโญชน์สามไกล "สักกายฯ"ยึดเป็นตน............................"วิจิฯ"ยลลังเลสงสัย "สีลัพฯ"เชื่อโชคใด...............................โสดาฯจะตรัสรู้มินาน
๒๓."สกทาฯ"ละสัญโญชน์..................สามโลดเท่าโสดาฯอีกพาน ทำ"ราคะ,โกรธ"กราน............................และ"โมหะ"เบาบางได้เอย ตายแล้วจะคืนสู่....................................โลกนี้พรูอีกครั้งเผย มุ่งทางตรัสรู้เชย...................................สู่พระนิพพานสิ้นทุกข์พลัน
๒๔."อนาคาฯ"ละหนา..........................สัญโญชน์ห้าหมดไปครัน "สักกายฯ,วิจิฯ"ยัน................................."สีลัพฯ,ราคะ,ปฏิฯวาย เมื่อตายแล้วเกิดเป็น.............................."โอปปาฯ"เด่นในภพใดหมาย นิพพานที่นั่นกราย.................................ไม่คืนกลับโลกนี้อีกเลย
๒๕.สูงสุด"อรหันต์".................................สัญโญชน์ดั้นละได้สิบเผย เพิ่มจากอนาฯเกย...................................อีกห้า"รูปราคะ,ติดใจ" "อรูปราคะ"พิง.........................................ติดสิ่งไร้รูป"มานะ"ใฝ่ "อุทธัจจะ"ฟุ้งไว......................................."อวิชชา"ไม่รู้ความจริง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๓/๖) ๒๗.ปาสาทิกสูตร
๒๖.อรหันต์ลุ"เจโตฯ"............."ปัญญาฯ"โขไร้กิเลสสิง จึงได้ตรัสรู้อิง..........................ลุนิพพานพ้นห่างไกล จากวัฏฏสงสารวาย..................ชาติสุดท้ายเลิกเกิดใส เป็นอานิสงส์ไกล......................"สุขัลฯ"ในพุทธ์ศาสน์แน่ครัน
๒๗.สี่,นักบวชกล่าวหา...........สงฆ์ว่ามีธรรมไม่ตั้งมั่น พึงแจ้งอรหันต์..........................ตลอดชีพมิก้าวล่วงเอย เก้าอย่าง"ไม่ฆ่าสัตว์"................."ไม่ลัก"ชัด"ไม่พูดปด"เผย "ไม่เสพเมถุน"เลย....................."ไม่เก็บภัตร"ไม่ลำเอียงปราย
๒๘."ไม่ลำเอียงเพราะชอบ"....."ด้วยชัง"ครอบ"เพราะหลง"ขยาย "ไม่ลำเอียงกลัว"กราย...............พุทธ์องค์กำหนดธรรมครบครัน ทรงรู้ด้วย"สัพพัญญ์ฯ"...............ทรงเห็นดั้น"ด้วยตาทิพย์"ยัน จึงวางหลักเกณฑ์พลัน...............ให้สงฆ์พฤติตลอดกาล
๒๙.นักบวชอาจกล่าวหา.........."โคดม"ว่ากำหนดกาลนาน "ญาณทัสส์ฯ"ไร้เขตพาน.............ยาวไกลเป็นอดีตเลย ไม่กล่าวกาลเบื้องหน้า.................เพราะว่าเขลาไม่เฉียบคมเผย ทรงตรัสญาณทัสส์ฯเปรย............ของนักบวชความหมายต่างกัน
๓๐.พุทธ์องค์ลุ"สตาฯ"...............ญาณหนาระลึกชาติไกลมั่น ไร้ขอบเขตขวางกั้น....................ตามอดีตที่อยากรู้แล และมีมรรคญาณสี่......................ตรัสรู้ชี้อนาคตแฉ ชาตินี้สุดท้ายแน่.........................ภพใหม่ไม่มีอีกต่อไป
๓๑.พุทธ์เจ้ากล่าวเรื่องราว........อดีตสาว,ปัจจุบันไข อนาคตหลายไกล.......................เนื่องด้วยตัวพระองค์เอย เรื่องอดีต,อนาคต........................กาลนี้จดไม่จริงแท้เอ่ย ไม่มีประโยชน์เลย.......................ตถาคตมิพยากรณ์
๓๒.อดีต,กาลหน้าชี้..................กาลนี้เรื่องจริงแท้แต่รอน ไม่มีประโยชน์จร.........................ตถาคตก็มิทำนาย กาลก่อน,หน้าและนี้.....................เป็นจริงที่แท้ประโยชน์ผาย ตถาคตรู้กาลกราย.......................จะตอบปัญหาได้ครบครัน
๓๓.ทรงเป็น"กาลวาที"...............ตรัสที่เหมาะกาลเวลาสรร "ภูตวาที"พลัน..............................ตรัสสภาวะที่เป็นจริง "อัตตวาที"ชัด..............................ทรงตรัสปรมัตถ์นิพพานดิ่ง "ธัมม์วาที",มรรคอิง......................จึงเรียก"ตถาคต"นาม
๓๔.ทรงตรัสรู้"รูปาย์ฯ"..............เห็นรูปนาด้วยตาผลาม "สัททาย์ฯ"ยินเสียงตาม..............."คันธาย์ฯ"ได้กลิ่น,รสหลากเอย "ธรรมารมณ"รู้แจง.......................แก่ชนแจ้งทั้งเทพ,พรหมเผย แสวงหา,ตรองเชย........................ชนจึงเรียก"ตถาคต"กราน
๓๕.ทรงตรัสรู้"อนุตต์ฯ...............หยั่งรู้สุดแต่ตนเองขาน ถึง"อนุปาฯกาล............................วันปรินิพพานเลยขันธ์ ช่วงหว่างนั้นทรงกล่าว..................สิ่งใดพราวก็เป็นเช่นนั้น มิเป็นอย่างอื่นยัน..........................จึงเรียก"ตถาคต"นั่นแล
๓๖.พุทธ์องค์กล่าวอย่างใด..........ทำได้อย่างนั้นเลยแฉ ทำอย่างใดก็แน่..............................พูดอย่างนั้นครือ"ตถาคต" ทรงเป็นผู้ยิ่งใหญ่...........................เห็นถ่องไซร้ไร้ใครครอบงำ พลังแผ่หลายโลกนำ......................ชาวโลกเรียก"ตถาคต"เอย
๓๗.ถ้านักบวชถามแน่ว................ตายแล้ว"เกิดหรือไม่เกิด"เผย "ทั้งเกิด,ไม่เกิด"เลย........................"เกิด,ไม่เกิด"ก็ไม่มีครา ให้ตอบพุทธ์เจ้าไซร้.......................มิได้ทรงพยากรณ์หนา เพราะไร้ประโยชน์นา.....................ไม่ใช่ธรรมสู่พระนิพพาน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
ต่อหน้า ๔/๖) ๒๗.ปาสาทิกสูตร
๓๘.ถ้านักบวชถามไหน...........สิ่งใดทรงพยากรณ์สาร พึงตอบทุกข์,เหตุทุกข์พาน.........ทุกข์เกิด,ความดับทุกข์สิ้นลง ด้วยอริยสัจจ์สี่...........................ถ้ามีถามเหตุเน้นสัจจ์บ่ง พึงตอบประโยชน์ตรง.................กอปรธรรมล้วนเลิศนิพพานนำ
๓๙.พุทธ์เจ้าทรงทบทวน..........เรื่องควรพยากรณ์ก็จะพร่ำ เรื่องไม่สมควรทำ........................ไร้คุณจะกล่าวไปทำไม ทรงแสดงทิฏฐิเห็น......................เบื้องต้นเด่น"ปุพพันธ์ฯ"สิ่งต่างไข เช่น"ตน,โลกเที่ยง"ไกล..............."บ้างมี,ไม่มีที่สุด"เอย
๔๐.ทรงแสดงทิฏฐิเด่น.............เบื้องปลายเห็น"อปรันต์ฯ","จำ"เผย "มีสัญญา,จำ"เปรย......................"มาก,น้อยต่างกัน,สุขทุกข์"ปน "ตนมีที่สุด"ไกล..........................."ตนมี,ไม่มีรูป"ความจำหล่น ตายแล้วมี"จำ"ยล........................ตายแล้วสูญไม่มีความจำ
๔๑.พุทธ์ งค์ทรงตรัสรอน.........ไม่พยากรณ์ทิฏฐิส่ำ ยังมีสัตว์อื่นซ้ำ............................ไม่เป็นอย่างนี้อย่าสนใจ พึงตั้ง"สติปัฏฯ"...........................ก้าวหนีชัดจากทิฏฐิไหว มีสี่อย่างละไกล..........................ให้รู้เห็นตามความเป็นจริง
๔๒."กายานุ์ฯ"กำหนด..............กายจดรู้"ไม่ใช่ตน"สิง "แน่วลมหายใจ"อิง.....................เข้า-ออกสติรู้สั้น-ยาว "อิริยาบถกาย"...........................รู้ทันกรายเคลื่อนทุกท่าพราว "ปฏิกูลกาย"คาว.........................ล้วนไม่สะอาดทั้งสิ้นเลย
๔๓."เวทนาฯ"เห็นแน่................เป็นแต่"รู้สึก"ไป่ตนเผย แค่สุข,ทุกข์,เฉยเฉย...................มี,ไม่มีสิ่งล่อใจครา "จิตตาฯ"กำหนดรู้.......................เป็นจิตชูไม่ใช่ตนหนา มี,ไม่มีโกรธนา............................มี,ไม่มีโกรธตามจริงเลย
๔๔."ธัมมมาฯ"พิจารณ์ธรรม......รู้จริงล้ำ"มิใช่ตน"เอ่ย สติรู้ธรรมเกย..............................ขันธ์ห้า,โพชฌงค์คืออะไร อริยสัจจ์สี่..................................เกิดมีในตนแล้วหรือไม่ ดับลงได้อย่างไร.........................ตามเป็นจริงยิ่งของมันนา
๔๕.พระอุปทานะ......................ยืนถวายงานพัดอยู่หนา ทูลเสริญอัศ์จรรย์นา...................ธรรมเทศ์นา"ปาสาทิกฯ"ยง น่าเลื่อมใสยิ่งนัก.........................พุทธ์เจ้าจักเรียกชื่อเทศ์นาบ่ง "ปาสาทิกะ"ตรง..........................แปลธรรมที่น่าเลื่อมใสเอย ฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๕๗ -๓๖๑
ศากย์ฯ=เจ้าศากยะ เจ้าของปราสาทในป่ามะม่วง นิครนฯ=นิครนถนาฏบุตร เป็นเจ้าลัทธิคนหนึ่งของศาสนานิครนถ์ หรือศาสนาเชน จุนทะ=พระจุนทะ เป็น น้องชายของพระสาริบุตร อานนท์=พระอานนท์ พุทธอุปฐาก ของพระโคดมพุทธเจ้า อุททกฯ=อุททกดาบสรามบุตร โพธิปักข์ฯ=โพธิปักขยธรรม ๓๗ เป็นธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ คือ เกื้อกูลแก่การตรัสรู้ เกื้อหนุนแก่อริยมรรค มี ๑)สติปัฏฐาน ๔ ฐานเป็นที่กำหนดของสติ ๑.๑.กายานุปัสสนา-การตั้งสติพิจารณากาย; ๑.๒.เวทนานุปัสสนา-การตั้งสติพิจารณาเวทนา; ๑.๓.จิตตานุปัสสนา-การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต;๑.๔.ธรรมานุปัสสนา-การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม; ๒)สัมมัปปธาน ๔ หลักในการรักษากุศลธรรมไม่ให้เสื่อม ๒.๑.สังวรปธาน-การเพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในตน; ๒.๒.ปหานปธาน-การเพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว; ๒.๓.ภาวนาปธาน-การเพียรสร้างกุศลให้เกิดขึ้นในตน;
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
หน้า ๕/๖) ๒๗.ปาสาทิกสูตร
๒.๔.อนุรักขปธาน-การเพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เสื่อมไป;๓)อิทธิบาท ๔ เป้าหมายของความเจริญ ๓.๑.ฉันทะ-ความชอบใจทำ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น; ๓.๒.วิริยะ-ความแข็งใจทำ เพียรหมั่นประกอบในสิ่งนั้น; ๓.๓.จิตตะ -ความตั้งใจทำ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ไม่ทอดทิ้งธุระ; ๓.๔.วิมังสา-ความเข้าใจทำ การใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองหาเหตุผลในสิ่งนั้น; ๔)อินทรีย์ ๕ คือ ๔.๑.ศรัทธา-ให้เกิดความเชื่อ; ๔.๒.วิริยะ-ให้เกิดความเพียร; ๔.๓.สติ-ให้เกิดความระลึกได้; ๔.๔.สมาธิ-ให้เกิดความตั้งมั่น; ๔.๕.ปัญญา-ให้เกิดความรอบรู้; ๕)พละ ๕ คือกำลัง ๕.๑.ศรัทธา-ความเชื่อ; ๕.๒.วิริยะ-ความเพียร;๕.๓ สติ-ความระลึกได้; ๕.๔.สมาธิ-ความตั้งมั่น; ๕.๕.ปัญญา- ความรอบรู้; ๖)โพชฌงค์ ๗ คือ องค์แห่งการตรัสรู้ มี ๖.๑.สติ-มีความระลึกได้; ๖.๒.ธัมมวิจยะ-มีความพิจารณาในธรรม;๖.๓.วิริยะ-มีความเพียร; ๖.๔.ปีติ-มีความอิ่มใจ; ๖.๕.ปัสสัทธิ-มีความสงบสบายใจ; ๖.๖.สมาธิ-มีความตั้งมั่น; ๖.๗.อุเบกขา-มีความวางเฉย; ๗)มรรค ๘ คือ หนทางดับทุกข์ ๗.๑. สัมมาทิฏฐิ-ใช้เพื่อเห็นชอบ โดย เห็นอริยสัจ; ๗.๒. สัมมาสังกัปปะ-ใช้เพื่อดำริชอบ คือ ดำริละเว้นในอกุศลวิตก; ๗.๓.สัมมาวาจา-ใช้เพื่อเจรจาชอบ คือ เว้นจากวจีทุจริต; ๗.๔.สัมมากัมมันตะ-ใช้เพื่อทำการงานชอบ คือเว้นจากกายทุจริต; ๗.๕.สัมมาอาชีวะ-ใช้เพื่อทำอาชีพชอบ คือ เว้นจาก การเลี้ยงชีพในทางที่ผิด; ๗.๖.สัมมาวายามะ-ใช้เพื่อเพียรชอบ คือ สัมมัปปธาน; ๗.๗.สัมมาสติ-ใช้เพื่อระลึกชอบ คือ ระลึกในสติปัฏฐาน ๔; ๗.๘.สัมมาสมาธิ-ใช้เพื่อตั้งใจมั่นชอบ คือ เจริญฌานทั้ง ๔ และวิปัสสนา สุขัลฯ=สุขัลลิกานุโยค คือ การหมกมุ่นในการเสพสุข ฌานหนึ่ง-สี่=ฌาน คือภาวะที่จิตสงบจากการเพ่งอารมณ์เป็นสมาธิ คือ ๑)ฌานหนึ่ง หรือปฐมยาม มีวิตก- ความตรึก,วิจาร-ความตรอง และปีติ -ความอิ่มใจ ๒)ฌานที่สอง หรือทุติยฌาน ซึ่ง วิตกและ วิจาร สงบระงับ เหลือแต่ ปีติ ๓)ฌานสาม หรือตติยฌาน มีปีติ-ความอิ่มใจสงบระงับ ๔)ฌานสี่หรือ จตุตถฌาน มีอุเบกขา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข พระอริยะ=พระอริยบุคคลขั้นสูง มี ๔ ขั้น ได้แก่ ๑)พระโสดาบัน ละสัญโญชน์ ๓ ประการสิ้นไป บรรลุโสดาปัตติผลแล้วด้วยการละ สัญโญชน์ เบื้องต่ำ ๓ ประการได้คือ ๑.๑.สักกายทิฏฐิ คือ ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน เช่นเห็นว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวตนของเรา; ๑.๒.วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย เช่นสงสัยในข้อปฏิบัติของตนว่าถูกต้องหรือไม่ สงสัยในพระรัตนตรัยหรือในอริยสัจ ๔ ว่ามีจริงหรือไม่; ๑.๓.สีลัพพตปรามาส คือ ความเชื่อถือยึดมั่นว่าความศักดิ์สิทธิ์มีได้ด้วยศีลและพรตอย่างนั้นอย่างนี้ ข้อนี้ขยายความได้ว่ารักษาศีลแต่เพียงทางกาย ทางวาจา แต่ใจยังไม่เป็นศีล หรืออย่างน้อยก็ยังไม่เป็นศีลตลอดเวลา พระโสดาบันไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า ๒)พระสกทาคามี ละสัญโญชน์ ๓ ประการสิ้นไป เท่ากับพระโสดาบัน และเพิ่มอีก ๓ คือ ราคะ โทสะ โมหะ เบาบางลง พระสกทาคามี จะมาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียวก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’ ๓)พระอนาคามี ละสัญโญชน์ ๕ ประการ คือ ๓.๑.สักกายทิฏฐิ - มีความเห็นว่าขันธ์ 5 คือตัวตน; ๓.๒ วิจิกิจฉา - มีความสงสัยลังเลในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์; ๓.๓.สีลัพพตปรามาส - มีความยึดมั่นถือมั่นอยู่ในสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือศีลพรตภายนอกพระพุทธศาสนา หรือการถือข้อปฏิบัติที่ผิด; ๓.๔.กามราคะ - มีความพอใจในกามคุณ; ๓.๕.ปฏิฆะ - ความกระทบกระทั่งในใจ ความหงุดหงิดขัดเคือง; พระอนาคามี แปลว่าผู้จะไม่กลับมาเกิดในกามาวจรภพอีก แต่จะเกิดเป็นโอปปาติกะอีกเพียงครั้งเดียว แล้วจะลุนิพพาน ๔)พระอรหันต์ผู้สำเร็จธรรมวิเศษสูงสุดในพระพุทธศาสนา พระอริยบุคคลชั้นสูงสุด ละสัญโญชน์ ๑๐ ประการ เพิ่มจาก พระอนาคามี ๕ คือ ได้แก่ ๔.๖.รูปราคะ-ความพอใจในรูปฌาน หรือ รูปธรรมอันประณีต หรือ ความพอใจในรูปภพ; ๔.๗.อรูปราคะ-ความพอใจในอรูปฌาน หรือ พอใจในอรูปธรรม เช่น ความรู้ เป็นต้น หรือ ความพอใจในอรูปภพ; ๔.๘.มานะ -ความสำคัญตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่; ๔.๙.อุทธัจจะ -ความฟุ้งของจิต; ๔.๑๐.อวิชชา -ความไม่รู้แจ้ง; พระอรหันต์แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งลุนิพพาน สัญโญชน์=สังโยชน์ คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมในวัฏฏะ มี ๑๐ อย่าง เจโตฯ=เจโตวิมุติ คือความหลุดพ้นด้วยสมาธิ ปัญญาฯ=ปัญญาวิมุติ คือ ความหลุดพ้นด้วยปัญญา วัฏฏสงสาร=การเวียนว่ายตายเกิด สัพพัญญ์ฯ=พระสัพพญญตญาณ พระพุทธเจ้าทรงรู้ และทรงเห็น หมายถึงทรงเห็นด้วยจักษุ ๕ คือ ๑)มังสจักขุ -ตาเนื้อ ๒)ทิพพจักขุ-ตาทิพย์ ๓)ปัญญาจักขุ-ตาปัญญา ๔) พุทธจักขุ -ตาพระพุทธเจ้า ๕)สมันตจักขุ-ตาเห็นรอบ โคดม=พระโคดมพุทธเจ้า ในกาลปัจจุบัน ญาณทัสส์ฯ=ญาณทัสสนะ-ความเห็นด้วยญาณ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า๖/๖) ๒๗.ปาสาทิกสูตร
สตาฯ=สตานุสาริญาณ หมายถึง ปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ ความหยั่งรู้เป็นเหตุให้ระลึกชาติได้ รูปาย์ฯ=รูปายตนะ(อายตนะคือรูปที่ได้เห็น) สัททาย์=สัททายตนะ (อายตนะคือเสียงที่ได้ฟัง) คันธาย์ฯ=คันธายตนะ คืออารมณ์ที่ได้ทราบ (อายตนะคือกลิ่น) อนุตร์ฯ=อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ คือ ญาณที่ทำให้ตรัสรู้เองโดยชอบอันยอดเยี่ยม อันทำให้พระองค์สามารถปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ อนุปาฯ=อนุปาทิเสสนิพพาน คือ การดับกิเลสพร้อมทั้งเบญจขันธ์, พระอรหันต์เมื่อยังมีชีวิตอยู่เรียกว่าได้อุปาทิเสสนิพพาน คือ ความดับกิเลส แต่ยังมีเบญจขันธ์เหลืออยู่ ครั้นท่านสิ้นชีวิตลง เรียกว่า ได้อนุปาทิเสสนิพพาน คือดับทั้งกิเลสทั้งเบญจขันธ์. ทิฏฐิ ๖๒ ประการ=แสดงความคิดเห็นของสมณพราหมณ์ในครั้งนั้น แยกเป็น ปุพพันตกัปปิกะ ๑๘ ประเภท และ อปรันตกัปปิกะ ๔๔ ประเภท ปุพพันต์ฯ=ปุพพันตกัปปิกะ คือ พวกมีความเห็นปรารถเบื้องต้นของสิ่งต่างๆว่าเป็นอย่างไร มี ๑๘ ประเภท แบ่งออกเป็น ๕ หมวดได้แก่ ๑)สัสสตวาทะ ๔ หมวดเห็นว่าเที่ยง ๑.๑)เห็นว่าตัวตน(อัตตา)และโลกเที่ยง เพราะระลึกชาติได้ ตั้งแต่ ชาติเดียว จนถึงแสนชาติ ๑.๒) เห็นว่าตัวตนและโลกเที่ยง เพราะระลึกชาติได้ เป็นกัปป์ๆ ตั้งแต่ ๑ กัปป์-๑๐ กัปป์ ๑.๓)เห็นว่าตัวตนและโลกเที่ยง เพราะระลึกชาติได้มากกัปป์ๆ ตั้งแต่ ๑๐ กัปป์-๔๐ กัปป์ ๑.๔) นักเดา เดาตามความคิดและคาดคะเนว่าโลกเที่ยง ๒)เอกัจจอสัตตติกะ ๔ คือ หมวดเห็นว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ๒.๑)เห็นว่าพระพรหมเที่ยง แต่พวกเราที่พระพรหมสร้างไม่เที่ยง ๒.๒)เห็นว่าเทวดาพวกอื่นเที่ยง พวกที่มีโทษเพราะเล่นสนุกสนาน(ขิฑฑาปโทสิกา) ไม่เที่ยง ๒.๓)เห็นว่าเทวดาพวกอื่นเที่ยง พวกที่มีโทษเพราะคิดร้ายผู้อื่น(มโนปโทสิกา) ไม่เที่ยง ๒.๔) นักเดา เดาตามคิดคาดคะเนว่า ตัวตนฝ่ายกายไม่เที่ยง ตัวตนฝ่ายจิตเที่ยง ๓)อันตานันติกะ ๔ หมวดเห็นว่ามีที่สุดและไม่มีที่สุด ๓.๑)เห็นว่าโลกมีที่สุด ๓.๒) เห็นว่าโลกไม่มีที่สุด ๓.๓)เห็นว่าโลกมี ที่สุด เฉพาะด้านบนกับด้านล่าง ส่วนด้านกว้างและขวาง ไม่มีที่สุด ๓.๔)นักเดา เดาตามความคิดคาดคะเนว่า โลกมีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ๔)อมราวิกเขปิกะ ๔ คือ หมวดพูดซัดส่ายไม่ตายตัวแบบปลาไหล ๔.๑)เกรงว่าจะพูดปด จึงพูดปฏิเสธว่า อย่างนี้ก็มิใช่,อย่างนั้นก็มิใช่,อย่างอื่นก็มิใช่,มิใช่(อะไร)ก็ไม่ใช่ ๔.๒)เกรงว่าจะยึดถือ จึงพูดปฏิเสธ แบบข้อ ๔.๑ ๔.๓)เกรงว่าจะถูกซักถาม จึงพูดปฏิเสธ แบบข้อ ๔.๑ ; ๔.๔)เพราะโง่เขลาจึงพูดปฏิเสธ แบบข้อ ๔.๑ และไม่ยอมรับหรือยืนยันอะไรเลย ๕)อธิจจสมุปปันนะ ๒ หมวดเห็นว่าสิ่งต่างๆมีขึ้นเอง ไม่มีเหตุ ๕.๑) อสัญญีสัตว์ คือพรหมพวกหนึ่งมีรูปแต่ไม่มีสัญญา เห็นว่าสิ่งต่างๆมีขึ้นเองโดยไม่มีเหตุ เพราะเคยเกิดเป็น อสัญญีสัตว์ ๕.๒)นักเดา คะเนว่าสิ่งต่างๆมีขึ้นเองโดยไม่มีเหตุ อป์รันต์=อปรันตกัปปิกะ คือ ทิฏฐิความเห็นเบื้องปลายที่มี ๔๔ ประเภท แบ่งเป็น ๕ หมวด ๑)สัญญีวาทะ ๑๖ หมวดเห็นว่ามีสัญญา -ความจำได้ หมายรู้ ๒)อสัญญีวาทะ ๘ เห็นว่าไม่มีสัญญา ๓)เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ ๘ หมวดเห็นว่ามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ๔)อุจ เฉทวาทะ ๗ หมวดเห็นว่าขาดสูญ แบ่งได้ ๔.๑)ตนที่เป็นของมนุษย์ สัตว์ ๔.๒)ตนที่เป็นของทิพย์ มีรูป กินอาหารหยาบ ๔.๓)ตนที่เป็นของทิพย์ มีรูป สำเร็จจากใจ ๔.๔)ตนที่เป็นอากาสานัญจายตนะ -พรหมที่เพ่งอากาศเป็นอารมณ์ ๔.๕)ตนที่เป็นวิญญาณัญตนะ-เป็นอรูปพรหม เพ่งวิญญาณหาที่สุดมิได้ ๔.๖)ตนที่เป็น อากิญจัญญายตนะ -ไม่มีอะไรเป็นอารมณ์ ๔.๗)ตนที่เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะ-สัญญา ความจำสิ้นลง ๕)ทิฎฐิธัมมนิพพาน ๕ หมวดเห็นสภาพบางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบัน ๕.๑)เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน ๕.๒)เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยฌานที่ ๑-ปฐมฌาน เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน ๕.๓)เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วย ฌาน ๒-ทุติยฌาน เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน ๕.๔.)เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วย ฌาน ๓-ตติยฌานเป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน ๕.๕)เห็นว่าการเห็นว่าการเพียบพร้อมด้วย ฌาน ๔-จตุตถฌาน เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน สติปัฏฯ=สติปัฏฐาน ๔ คือที่ตั้งของสติ, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริง มี ๔ คือ ๑)กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน -การตั้งสติกำหนดพิจารณากายให้รู้เห็นตามเป็นจริง ว่า เป็นเพียงกาย ไม่ใช่สัตว์ ตัวตนเราเขา จำแนกปฏิบัติไว้หลายอย่าง ได้แก่ ๑.๑. อานาปานสติ-กำหนดลมหายใจ ๑.๒.อิริยาบถ-กำหนดรู้ทันอิริยาบถ ๑.๓.สัมปชัญญะ- สร้างสัมปชัญญะในการกระทำความเคลื่อนไหวทุกอย่าง ๑.๔.ปฏิกูลมนสิการ- พิจารณาส่วนประกอบอันไม่สะอาดทั้งหลายที่ประชุมเข้าเป็นร่างกายนี้ ๑.๕.ธาตุมนสิการ- พิจารณาเห็นร่างกายของตนโดยสักว่าเป็นธาตุแต่ละอย่างๆ ๑.๖.นวสีวถิกา-พิจารณาซากศพในสภาพต่างๆ อันแปลกกันไป ของร่างกาย ของผู้อื่นเช่นใด ของตนก็จักเป็นเช่นนั้น ๒)เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน-การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงเวทนา ไม่ใช่สัตว์,ตัวตนเราเขา คือ มีสติรู้ชัดเวทนาอันเป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เฉยๆ ก็ดี ทั้งที่เป็นสามิส และเป็นนิรามิส ๓)จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน-การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงจิต ไม่ใช่สัตว์,ตัวตนเราเขา คือ มีสติรู้ชัดจิตของตนที่มีราคะ ไม่มีราคะ มีโทสะ ไม่มีโทสะ มีโมหะ ไม่มีโมหะ เศร้าหมองหรือผ่องแผ้ว ฟุ้งซ่านหรือเป็นสมาธิ ฯลฯ อย่างไรๆ ตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ ๔)ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน -การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่สัตว์,ตัวตนเราเขา คือ มีสติรู้ชัดธรรมทั้งหลาย ได้แก่ นิวรณ์ ๕, ขันธ์ ๕, อายตนะ ๑๒,โพชฌงค์ ๗, อริยสัจ ๔, ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร มีในตนหรือไม่ เกิดขึ้น เจริญบริบูรณ์ และดับไปได้อย่างไร เป็นต้น ตามที่เป็นจริงของมันอย่างนั้นๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
ประมวลธรรม : ๒๘.ลักขณสูตร (สูตรว่าด้วยมหาปุริสลักขณะ ๓๒ ประการ)
ภุชงคสาลินีฉันท์ ๑๑
๑.สมัยหนึ่งพระพุทธ์เจ้า..............ทรงอยู่เหย้า"เชต์วันฯ" พระอาราม"อนาฯ"ครัน...................เมืองสาวัตถีแฉ
๒.พระพุทธฯมีวจีตรัส..................เหล่าสงฆ์ชัดโดยแท้ ก็เรื่องของบุรุษแล้..........................มีลักข์ณากายดี
๓.เจาะ"สามสอง"ประการครบ......สมบูรณ์นบเล็งรี่ ซิภายหน้าจะแยกชี้........................ไปสองอย่างแน่ล้ำ
๔.ผิครองเรือนจะเป็นจักร-...........พรรดิ์เลิศปักทรงธรรม มหาส์มุทรสิสี่ย้ำ............................ขอบเขตมีชัยยง
๕.และสมบูรณ์ซิเจ็ดแก้ว.............ราช์บุตรแกล้วกล้าบ่ง สิชัยชำนะธรรมตรง......................ไม่ต้องใช้ศัตรา
๖.ผิบวชถึงอร์หันต์.....................พุทธ์เจ้าครันแน่นา กิเลสตัดละสิ้นหนา.......................แผ่ธรรมทั่วโลกเอย
๗.เจาะตรัสลักข์ณะสามสอง......รูปกายครองเลิศเอย ซิกรรมดีจะทำเผย.......................ผลลัพธ์เกิดเด่นพลัน
๘.สิฝ่าเท้าเสมอเรียบ"หนึ่ง".......มั่นศีลพึ่ง,ทานดั้น อุโบสถและเอื้อครัน.....................ต่อพ่อแม่พร้อมชน
๙.สี่ฝ่าเท้าเจาะเห็น"จักร".........."สอง"มากนักเกิดดล เพราะนำสุขนราล้น.....................คุ้มครองเภทภัยหนี
๑๐.เจาะ"สาม"ส้นพระบาทยาว...นิ้วมือพราวยาว"สี่" พระกาย"ห้า"เหมาะตรงดี..............คล้ายกายของพรหมแล
๑๑.สกล"สามและสี่,ห้า".............ทรงเว้นฆ่า,เกื้อแท้ พระมังสา ฉ เต็มแปล้....................ทรงให้ของรสดี
๑๒.และ"เจ็ด"มือกะเท้านุ่ม.........ฝ่ามือรุม"แปด"ปรี่ และฝ่ามือก็ลายมี.........................ดุจตาข่ายเรียกขาน
๑๓.สกล"เจ็ดและแปด"เกิด........"สังค์สี่ฯ"เลิศเช่นทาน และข้อเท้าซิสูงพาน....................."เก้า"รูปเหมือนสังข์คว่ำ
๑๔.ลุ"สิบ"ขนสิปลายงอน..........."เก้า,สิบ"ช้อนผลด่ำ เพราะทรงช่วยประชาล้ำ...............ความสุขโดยธรรมครัน
๑๕.และทรงมีพระชงค์เรียว........เนื้อทรายเพรียวดุจกัน สิ"สิบเอ็ด"เพราะสอนดั้น................รู้ศีล,กฏแห่งกรรม
๑๖.ฉวีไม่หยาบลุ"สิบสอง"..........ปราศฝุ่นผองติดนำ เพราะได้สนทนาธรรม...................กับพราหมณ์พร้อมไตร่ตรอง
๑๗.ฉวีทองลุ"สิบสาม".................ไม่โกรธลาม,ฆาตจอง และให้ผ้าสิเลิศปอง.......................ผ้ากัมพลเนื้อดี
๑๘.ลุ"สิบสี่"พระคุยฯ"ปัก.............ซ่อนในฝักปิดนี้ เพราะเหตุนำสหายรี่......................มาพบกันอีกเอย
๑๙.เสาะตามบุตรเจอะพ่อแม่.......พลัดพรากแท้ได้เปรย ฤ นำพี่ปะน้องเผย..........................ให้มีไมตรีใฝ่
๒๐.ลุ"สิบห้า"นิโครธฯนี้...............รอบกายมีแสงใส กระจายคล้ายกะรากไทร...............แผ่ออกไปรอบกาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๒/๖) ๒๘.ลักขณสูตร
๒๑.เจาะ"สิบหก"ก็ครายืน...........สองหัตถ์ยื่นลูบกราย กะเข่าสองสิง่ายดาย ....................ไม่ต้องน้อมกายลง ๒๒.สิ"สิบห้า"และ"สิบหก"...........เหตุจากจกรู้ตรง มนุษย์ฐานะต่างบ่ง........................ต้องช่วยให้ถูกตรงจริง
๒๓.ลุ"สิบเจ็ด"พระกายล้วน.........สมบูรณ์ถ้วนดั่งสิงห์ เคาะ"สิบแปด"สิหลังพิง..................เต็มเรียบเท่ากันหนา
๒๔.เสาะ"สิบเก้า"พระศอกลม......เท่ากันชมงามพา ตะสิบเจ็ดระเรียงมา.......................สิบเก้านาเป็นผล
๒๕.เพราะทรงตรองตริทำใด.......ชนจึงใฝ่ศีลด้น เจาะศรัทธาและทานล้น.................ปัญญา,ความรู้เอย
๒๖.ลุ"ยี่สิบ"ประสาทรับ...............รสชาดฉับภัตรเชย เพราะไม่เบียฬซิสัตว์เผย................ทั้งมือ,หิน,ศัตรา
๒๗.เลาะ"สองหนึ่ง"พระเนตรดำ....."สองสอง"ล้ำใสนา เจาะลูกโคอุบัติหนา..........................ด้วยทรงพฤติตนเอย
๒๘.เพราะคราเป็นมนุษย์โคตร.......ไม่จ้องโกรธใครเลย มิค้อน,เมินตะมองเผย.......................มองเต็มตาด้วยรัก
๒๙.เกาะ"สองสาม"พระเศียรงาม....สมบูรณ์ลามยิ่งนัก สิผู้นำกุศลชัก...................................แก่ชนให้พฤติดี
๓๐.เคาะ"สองสี่"ซิมีขน...................ขุมหนึ่งยลเดี่ยวชี้ และ"สองห้า"อุณาฯมี.........................ขนระหว่างคิ้วนุ่มขาว
๓๑.ก็ทั้งสองลุผลชัด.......................พูดคำสัตย์เพริศพราว ซิเชื่อถือมิหลอกฉาว...........................ถ้อยคำเป็นความจริง
๓๒.เลาะ"สองหก"พระทนต์มี............สี่สิบซี่มากดิ่ง เจาะ"สองเจ็ด"พระทนต์อิง..................แนบชิดมิห่างกัน
๓๓.พระทนต์สองกุเกิดจ่อ................เว้นคำส่อเสียดครัน สมานคนซิแตกพลัน...........................สร้างสรรสามัคคี
๓๔.ลุ"สองแปด"พระชิวหา................ใหญ่,ยาวนา,อ่อนชี้ เจาะ"สองเก้า"ซิตรัสคลี่.......................ดุจเสียงพรหม,นกร้อง
๓๕.ก็ผลลิ้นและเสียงเกิด.................พูดคำเพริศหวานครอง เพราะคำไซร้มิหยาบผอง....................ชาวเมืองรักพอใจ
๓๖.เจาะ"สามสิบ"พระคางอิง............ดุจคางสิงห์งามไซร้ เพราะพูดจริงประโยชน์ใฝ่..................ไม่เพ้อเจ้อ,พูดธรรม
๓๗.ลุ"สามหนึ่ง"พระทนต์เรียบ.........เท่ากันเฉียบไม่ล้ำ เจาะ"สามสอง"พระเขี้ยวฯด่ำ...............ขาวเงางามดั่งแก้ว
๓๘.ก็สามหนึ่งและสามสอง..............ผลจากครองชีพแผ้ว ซิ"สัมมาอะชีพฯ"แน่ว..........................ถูกต้องชอบธรรมเผย
๓๙.พระพุทธ์เจ้าแสดง"สามสอง.......ลักข์ณาตรองเกิดเอ่ย เพราะได้ทำกุศลเคย..........................มีเหตุจึงรับผล ฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๖๑ -๓๖๒
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๓/๖) ๒๘.ลักขณสูตร
มหาปุริสลักขณะ=ลักษณะมหาบุรุษทั้ง ๓๒ ประการ เกิดจากกรรมดีที่พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญสั่งสมไว้ในอดีตชาติต่าง ๆ ที่ทรงแสดงเรื่องนี้เพราะทรงประสงค์จะชี้ให้เห็นกฎแห่งกรรมว่า บุคคลทำกรรมเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น ทำดีได้ ทำชั่วได้ชั่ว ลักษณะ ๓๒ คือ ๑) มีฝ่าพระบาทราบเสมอกัน สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้สมาทานมั่นในกุศกรรมบถ ๑๐ สมาทานมั่นในสุจริต ๓ บริจาคทาน รักษาศีล ๕ รักษาอุโบสถศีล เกื้อกูลมารดาบิดาสมณ-พราหมณ์ ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลและสมาทานมั่นในกุศลธรรมอื่น ๆ อีก ๒) พื้นฝ่าพระบาททั้งสองมีจักรซึ่งมีกำ ข้างละ ๑,๐๐๐ ซี่ มีกง มีดุม และมีส่วนประกอบครบทุกอย่าง สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้นำความสุขมาให้แก่คนหมู่มาก บรรเทาภัยคือความหวาดกลัวและความสะดุ้ง จัดการป้องกันคุ้มครองอย่างเป็นธรรม และให้ทานพร้อมทั้งของที่เป็นบริวาร ๓) มีส้นพระบาทยื่นยาวออกไป ๔)มีพระองคุลียาว ๕) มีพระวรกายตั้งตรงดุจกายพรหม สาเหตุลักษณะ ๓,๔,๕ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ มีความละอายต่อบาป มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ๖)มีพระมังสะในที่ ๗ แห่ง เต็มบริบูรณ์ สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ให้ของที่ควรเคี้ยว ของ ที่ควรบริโภค ของที่ควรลิ้ม ของที่ควรชิม น้ำที่ควรดื่มอันประณีตและมีรสอร่อย ๗)มีพระหัตถ์และพระบาทอ่อนนุ่ม และ ๘) ฝ่าพระหัตถ์ และฝ่าพระบาทมีเส้นที่ข้อพระองคุลีจดกันเป็นรูปตาข่าย ลักษณะ ๗,๘ มีสาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ได้สงเคราะห์ประชาชนด้วยสังคหวัตถุ ๔ (คือ ทาน-การให้; เปยยวัชชะ- วาจาเป็นที่รัก; อัตถจริยา -การประพฤติประโยชน์; สมานัตตตา -การวางตนสม่ำเสมอ) ๙)มีข้อพระบาทสูง และ ๑๐) มีพระโลมชาติปลายงอนขึ้น คือ พระโลมชาติขอดเป็นวงเวียนขวา ดังกุณฑล สีครามเข้มดังดอก อัญชัน สาเหตุลักษณะ ๙,๑๐ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้กล่าววาจาประกอบด้วยประโยชน์ ประกอบด้วยธรรม แนะนำคนหมู่มาก เป็นผู้นำประโยชน์และความสุขมาให้แก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้บูชาธรรมโดยปกติ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๔/๖) ๒๘.ลักขณสูตร
๑๑) มีพระชงฆ์เรียวดุจแข้งเนื้อ ทราย สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ตั้งใจสอนศิลปะ (วิชาชีพ) วิชา (เช่น วิชาหมอดู) จรณะ (ศีล) หรือกรรม (ความรู้เรื่องกฎแห่งกรรม) โดยประสงค์ให้คนทั้งหลายได้รับความรู้อย่างรวดเร็ว ปฏิบัติได้เร็ว ไม่ต้องลำบากนาน ๑๒) มีพระฉวีละเอียดจนละอองธุลี ไม่อาจติดพระวรกายได้ สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ ได้เข้าไปหาสมณะพรือพราหมณ์ แล้วซักถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไร มีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเกี่ยวข้อง อะไรไม่ควรเกี่ยวข้อง อะไรที่ทำอยู่พึงเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน อะไรที่ทำอยู่พึงเป็นไปเพื่อความเกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาลนาน แล้วตั้งใจฟัง คำตอบด้วยดี มุ่งประโยชน์ ไตร่ตรองเรื่องที่เป็น ประโยชน์ ๑๓)มีพระฉวีสีทอง สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ไม่โกรธ ไม่แค้น (คือทำให้บรรเทาได้) แม้ถูกว่ากล่าวอย่างรุนแรงก็ไม่ขัดเคือง ไม่พยายาท ไม่จองล้างจองผลาญ ไม่สำแดงความ โกรธ ความอาฆาตและความเสียใจให้ปรากฏ เป็น ผู้ให้เครื่องลาดเนื้อดีอ่อนนุ่ม ให้ผ้าห่มที่เป็นผ้า โขมพัสตร์เนื้อดี ผ้าฝ้ายเนื้อดี ผ้าไหมเนื้อดีและผ้ากัมพลเนื้อดี ๑๔)มีพระคุยหฐานเร้นอยู่ในฝัก สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้นำพวกญาติมิตรสหาย ผู้มีใจดีที่หายไปนาน จากกันไปนาน ให้กลับมาพบกันคือนำมารดาให้พบกับบุตร นำบุตรให้พบกับมารดา นำบิดาให้พบกับบุตร นำบุตรให้พบกับบิดา นำพี่ชายน้องชายให้พบกับพี่ชายน้องชาย นำพี่ชายน้องชายให้พบพี่สาวน้องสาว นำพี่สาวน้องสาวให้พบพี่ชายน้อง ชาย นำพี่สาวน้องสาวให้พบพี่สาวน้องสาว ๑๕)มีพระวรกายเป็นปริมณฑลดุจปริมณฑลแห่งต้นไทร พระวรกายสูง เท่ากับ ๑ วา ของพระองค์ ๑ วาของพระองค์เท่ากับส่วนสูงของพระวรกาย และ ๑๖) เมื่อประทับยืน ไม่ต้องน้อมพระองค์ลงก็ทรงลูบคลำถึงพระชานุด้วยฝ่า พระหัตถ์ทั้งสองได้ ลักษณะทั้ง ๑๕,๑๖ มีสาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เมื่อตรวจดูมหาชนที่ควรสงเคราะห์ ก็รู้จักบุคคลเท่าเทียมกัน รู้จักตนเอง รู้จักฐานะของบุคคล รู้จักความแตกต่างของบุคคล หยั่งรู้ว่าบุคคลนี้ควรกับสิ่งนี้ บุคคลนี้ควรกับสิ่งนี้ แล้วทำให้เหมาะกับความแตกต่างในฐานะนั้น ๆ ในกาลก่อน ๑๗)มีพระวรกายทุกส่วน บริบูรณ์ดุจลำตัวท่อนหน้าของราชสีห์ และ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๕/๖) ๒๘.ลักขณสูตร
๑๘)มีร่องพระปฤษฎางค์เต็มเสมอกัน ๑๙)มีลำ พระศอกลมเท่ากันตลอด ลักษณะ ๑๗,๑๘,๑๙ เป็นสาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้หวังประโยชน์ หวังความ เกื้อกูล หวังความผาสุก หวังความเกษมจากโยคะแก่คนหมู่มาก ด้วยความคิดนึกตรึกตรองว่า ทำอย่างไร ชนเหล่านี้จะเจริญด้วยศรัทธา ศีล สุตะ พุทธิ จาคะ ธรรม ปัญญา ทรัพย์ และธัญชาติ เจริญด้วยนา และสวน สัตว์สองเท้าและสัตว์สี่เท้า บุตรและภรรยา ทาสกรรมกรและคนรับใช้ ญาติ มิตร และเจริญด้วยพวกพ้อง ๒๐)มีเส้นประสาทรับรส พระกระยาหารได้ดี สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยฝ่ามือ ด้วยก้อนหิน ท่อนไม้ หรือด้วยศัสตรา ๒๑)มีดวงพระเนตร ดำสนิท และ ๒๒) มีดวงพระเนตรแจ่มใสดุจลูกโคเพิ่งคลอด ลักษณะ ๒๑,๒๒ เป็นสาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ ไม่ถลึงตาดู (ไม่จ้องดูด้วยความโกรธ) ไม่ค้อน ไม่เมิน มองตรง มองเต็มตา และแลดูคนหมู่มากด้วยดวงตาเปี่ยมด้วยความรัก ๒๓)มีพระเศียรดุจประดับด้วย กรอบพระพักตร์ สาเหตุเพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้นำของคนหมู่มากใน กุศลธรรม เป็นประมุขของคนหมู่มากในกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ในการจำแนกแจกทาน ในการสมาทานศีล ในการรักษาอุโบสถศีล ในความเกื้อกูลมารดาบิดา สมณะและพราหมณ์ ในความอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล และในกุศลธรรมอันยิ่ง อื่น ๆ ๒๔)มีพระโลมชาติเดี่ยว คือในแต่ละขุมมีเพียงเส้นเดียว และ ๒๕)มี พระอุณาโลมระหว่างพระโขนงสีขาวอ่อนเหมือนนุ่น ลักษณะ ๒๔,๒๕ มีสาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ละเว้นจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่คำสัตย์ ดำรงความสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลักเชื่อถือได้ ไม่หลอกลวงชาวโลก ๒๖)มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ และ ๒๗)มีพระทนต์ไม่ห่างกัน ลักษณะ ๒๖,๒๗ มีสาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ละเว้นจากคำส่อเสียด คือ ฟังความจากฝ่ายนี้แล้วไม่ไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้หรือฟังความจากฝ่ายโน้นแล้ว ยไม่มาบอกฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกกัน ส่งเสริมคนที่ปรองดองกัน ชื่นชมยินดีเพลิดเพลินต่อผู้ที่สามัคคีกัน พูดแต่คำที่สร้างสรรค์ความสามัคคี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๖/๖) ๒๘.ลักขณสูตร
๒๘)มีพระชิวหาใหญ่ยาว และ ๒๙)มีพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม ตรัสดุจเสียงร้องของนกการเวก ลักษณะ ๒๘,๒๙ มีสาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ละเว้นจากคำหยาบ คือ พูดแต่คำที่ไม่มีโทษ ไพเราะ น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ ๓๐)มีพระหนุดุจคางราชสีห์๑ สาเหตุเพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ละเว้นจากคำเพ้อเจ้อ คือพูดถูกกาล พูดแต่คำจริง พูดอิงประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ เหมาะแก่เวลา ๓๑)มีพระทนต์เรียบเสมอกัน และ ๓๒)มีพระเขี้ยวแก้วขาวงาม ลักษณะ ๓๑,๓๒ มีสาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ละมิจฉาอาชีวะ ดำรง ชีวิตอยู่ด้วยสัมมาอาชีวะ คือ เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง การโกงด้วยของปลอม การโกงด้วยเครื่องตวงวัด การรับสินบน การล่อลวง การตลบตะแลง การตัด อวัยวะ การฆ่า การจองจำ การตีชิงวิ่งราว การปล้น และการขู่กรรโชก เชต์วัน=เชตวนาราม อนาฯ=อนาปิณฑิกคฤหบดี พระพุทธฯ=พระพุทธเจ้า อร์หันต์=พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า พระมังสา=เนื้อเต็ม ๖ แห่ง คือ (๑,๒)พระหัตถ์ทั้งสอง (๓,๔)หลังพระบาททั้งสอง (๕,๖)จงอยพระอังสา บ่าทั้งสอง (๗)พระศอฟูบริบูรณ์เต็ม ฉ=หก สังค์สี่ฯ=สังคหวัตถุ ๔ ผ้ากัมพล=ผ้าทอด้วยขนสัตว์ พระคุยฯ=พระคุยหฐาน หรือนิมิตชาย แปลว่า อวัยวะเพศชาย นิโครธฯ=นิโครธปริมณฑลโล คือโดยรอบพระวรกายมีรัศมีกระจายคล้ายดังรากไทร อุณาฯ=อุณาโลม (รูปร่างคล้ายเลข ๙ ไทย) คือ ขนระหว่างคิ้ว มีสีขาวอ่อน เปรียบด้วยนุ่น สัมมาอะชีพ=สัมมาอาชีวะ คือการดำรงชีพที่ถูกต้องครรลองธรรม พระเขี้ยวฯ=พระเขี้ยวแก้ว หรือ พระทาฐธาตุ คือพระทันตธาตุส่วนที่เป็นเขี้ยวของพระโคตมพุทธเจ้า มหาลักษณะของเขี้ยวของบุคคลผู้มีลักษณะแห่งมหาบุรุษคือ "เขี้ยวพระทนต์ทั้งสี่งามบริสุทธิ์" มีทั้งหมด ๔ องค์ (๑)พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนขวา ท้าวสักกะอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ พระจุฬามณีเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (๒)พระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำขวา ประดิษฐานที่แคว้นกลิงคะ แล้วจึงถูกอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ ลังกาทวีป (วัดพระเขี้ยวแก้ว ประเทศศรีลังกา ในปัจจุบัน) (๓)พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนซ้าย ประดิษฐาน ณ แคว้นคันธาระ แล้วเชื่อว่าถูกอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่เมืองฉางอัน ประเทศจีน (ซีอาน) โดยพระภิกษุฟาเหียนเมื่อคราวจาริกไปสืบพระศาสนายังอินเดีย ปัจจุบัน พระเขี้ยวแก้วองค์นี้ถูกอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ พระมหาเจดีย์ ณ วัดหลิงกวง กรุงปักกิ่ง (๔)พระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำซ้าย ประดิษฐานในภพพญานาค
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
ประมวลธรรม : ๒๙.สิงคาลกสูตร(สูตรว่าด้วยสิงคาลกมาณพ)
อินทรสาลินีฉันท์ ๑๑
๑.พุทธ์เจ้าประทับป่า........."เวฬูวันฯนาใกล้เมือง ราช์คฤห์สินามเรือง..............เช้าหนึ่งทรงออกบิณฑ์ไว
๒.พุทธ์องค์ปะสิงคาลฯ......ผ้า,ผมเปียกซานยลใกล้ กำลังริวอนไหว้....................ทิศทั้งหกจึงทรงถาม
๓.สิงคาลฯซิแจงว่า............คำสั่งพ่อข้าทำตาม "เบื้องหน้าและขวา"ลาม........"เบื้องหลัง,ซ้าย,ล่าง,บน"
๔.ตรัสว่า"อรีย์สงฆ์............ไม่นอบดังบ่งแต่ด้น สงฆ์ตัดกิเลสยล..................."กรรมกีเลส"สี่ได้แล้ว
๕."บาปฐานะสี่"เว้น............."ทางเสื่อมทรัพย์เด่นหกแป้ว ปราศชั่วสิหมดแผลว.............ปกปิดทิศหกเลยนา
๖.ชัยชำนะโลกสอง............โลกนี้,หน้าครองสุขมา ตายแล้วสวรรคา....................สำราญกาย,ใจจีรัง
๗."เรื่องกรรมกิเลส"สี่...........ทำใจหมองรี่หมดหวัง เหล่าสงฆ์"อรีย์"จัง..................เวันได้สี่คือ"ฆ่าสัตว์"
๘."ลักทรัพย์,ประพฤติผิด......ในกาม"กอปรชิด,เท็จชัด พุทธ์องค์ซิแจงตรัส................."กรรมกีเลส"ไม่ถูกเสริญ
๙.พุทธ์เจ้าแสดงขาน...........เว้นบาปกรรมฐานสี่เดิน ลำเอียงเพราะ"รัก"เกิน............ด้วย"ชัง,หลง,กลัว"ชั่วทำ
๑๐.พุทธองค์ซิตรัสนำ.........ไม่ล่วงพฤติธรรมรักพร่า ชัง,หลง..ซิยศซ้ำ.....................รุ่งเรืองดุจจันทร์สุกใส
๑๑.พุทธ์เจ้าแสดงพลาง......ไม่เดินสู่ทางเสื่อมไถ เสื่อมทรัพย์สิหกไว.................พร้อมโทษอีกอย่างลาหก
๑๒.หนึ่ง,ดื่มสุรายาตร.........."เสียทรัพย์,วีวาท,โรค"ปรก "เสียชื่อ,ละอาย"พก................"ทอนปัญญา,ปรามาท"ก่อ
๑๓.สอง,เที่ยววิกาลเปลี้ย....."ไม่รักษ์ตน,เมียลูก"จ่อ "ไม่รักษ์สิทรัพย์"พอ................"ผู้อื่นแคลงใจ,เท็จเกิด"
๑๔.เหตุทุกขะมากปรี่............รวมโทษหกมีพร้อมเถิด เมื่อมุ่งเลาะเที่ยวเริด.................ตรอกซอกซอยยามกลางคืน
๑๕.สาม,เที่ยวเลาะการเล่น.....หกอย่างโทษเด่นดูดื่น มีการละเล่นรื่น...........................แห่งใดไปทุกที่เบิ่ง
๑๖.เช่น"รำ,ประโคม,ร้อง..........เสภา,เพลง"ปอง"เถิดเทิง" โทษหกซิเปิดเปิง........................เที่ยวดูการเล่นนี้แล
๑๗.สี่,การพนันดาษ................ที่ตั้งปรามาทโทษแย่ "มีชัยกุเวร"แฉ...........................ผู้แพ้เสียดายทรัพย์"เอย
๑๘.ทรัพย์ปัจจุบันหย่อน........."ถูกมิตรหมิ่นกร่อนหยาม"เปรย "ถ้อยคำมิมั่น"เผย......................."ไม่มีใครแต่งงานด้วย"
๑๙.ห้า,"เลือกตะคนชั่ว............เป็นมิตร"ทำตัวต่ำซวย "นักเลงพนัน"ฉวย....................."เจ้าชู้,นักเลงเหล้านา
๒๐."หลอกเขาสิของปลอม......."เป็นคนโกง"จ่อมซึ่งหน้า นักเลงซิชอบหนา........................"หัวไม้"ตีรันฟันแทง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|