แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๒/๖) ๒๙.สิงคาลกสูตร
๒๑.หก,คนเจาะเกียจคร้าน............มีโทษหกขานอย่าแคลง โน่นนี่จะอ้างแต่ง..............................เพื่อเลี่ยงไม่ต้องทำงาน
๒๒.อ้าง"หนาว" ฤ "ร้อน"................."เย็น,เช้า,หิว"ร่อนแล้วพาล อีกอ้าง"กระหาย"ซ่าน.......................มีเลศผลัดเรื่อยบ่อยนา
๒๓.ผลัดเพี้ยนฉะนี้เพริด................ทรัพย์ยังไม่เกิดพลาดนา ทรัพย์ที่อุบัติมา................................พลันสูญสิ้นไปโทษแฉ
๒๔.พุทธ์เจ้าแสดงสี่......................."คนเทียมมิตร"ชี้นี่แล หนึ่ง,มิตรสิเอาแต่..............................ของเพื่อน"มิตรปอกลอก"เอย
๒๕.แยกสี่เสาะ"เอาบ่อย..................ฝ่ายเดียว,เสียน้อยสุด"เคย "ไม่ช่วยสหาย"เผย.............................ยามมีภัย,"เอาแต่คุณ"
๒๖.สอง,มิตรถนัดพูด......................"ดีแต่พูด"ปูดสี่ดุน "ของเก่า"เจาะพูดวุ่น.........................."ของยังไม่มา"พูดพลัน
๒๗."ของไร้ประโยชน์"แล้ว.............นำมาช่วยแจ้วอยู่ยัน มีเหตุซิข้องผลัน................................ออกปากแล้วพึ่งไม่ได้
๒๘.สาม,มิตรประจบเกลื่อน............พึงทราบเป็นเพื่อนเทียมไซร้ แบ่งสี่จะ"ตามใจ................................ให้ทำความชั่ว"คล้อยตาม
๒๙."ตามใจกระทำดี"......................คราทำดีรี่ทุกยาม "ต่อหน้าก็เสริญ"ลาม........................."อยู่ลับหลังนินทา"เอย
๓๐.สี่,มิตรซิชักชวน........................ทำเสียหายป่วนไป่เพื่อนเลย แบ่งสี่จะชวนเอ่ย..............................."ดื่มเหล้า"ก่อปรามาทแล
๓๑."เที่ยวยามวิกาล"ตาม................"ดูการเล่น"หวามแย่แท้ "เล่นการพนัน"แล..............................พึงทราบเป็นคนเทียมมิตร
๓๒.พุทธ์เจ้าแสดงไว้......................มิตรเทียมหาใช่คู่คิด เพื่อนแท้สนิทชิด...............................พึงหลีกพ้นให้ห่างไกล
๓๓.พุทธ์องค์ซิตรัสชี้......................มิตรแท้มีสี่พวกไง พึงอยู่ประชิดใส.................................จำเริญรุ่งเรืองชั่วกาล
๓๔.หนึ่ง,มิตรพระคุณยิ่ง.................ช่วยเหลือเพื่อนจริงสี่พาน "รักษ์ผู้ประมาท"ต้าน........................."รักษ์ทรัพย์เพื่อนปรามาท"เอย
๓๕."ภัยมาจะพึ่งได้"........................"ช่วยทำกิจให้ผลเชย" งอกงามทวีเผย..................................มิตร"อุป์กาฯช่วยสี่นา
๓๖.สอง,มิตรสิ"ร่วมสุข...................ร่วมทุกข์"เพื่อนรุกสี่พา "ลับตนจะบอก"หนา..........................."ปิดความลับเพื่อน"รักษา
๓๗."ไม่ทิ้งสหาย"ชี้..........................ภัยมา"ชีพพลีได้"นา นี่มิตรสิแท้หนา..................................มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ครัน
๓๘.สาม,นำประโยชน์หนุน...............มิตรแท้กอปรคุณสี่ดั้น "ห้ามทำซิชั่ว"กัน................................."ให้ตั้งอยู่ในความดี"
๓๙."ให้ได้สดับเชย...........................สิ่งที่ไม่เคยฟัง"คลี่ "บอกทางสวรรค์"ชี้..............................นี่คือมิตรแท้มีคุณ
๔๐.สี่มิตรซิรักใคร่............................มิตรแท้มีไซร้สี่ดุลย์ "เขาไม่รตี"จุณ....................................กับความเสื่อมของเพื่อนยา
๔๑."ยินดีเจริญ"โรจน์........................ห้ามผู้กล่าวโทษเพื่อนนา เสริญผู้ซิยอหนา..................................กับเพื่อนตนด้วยรักคง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๓/๖) ๒๙.สิงคาลกสูตร
๔๒.พุทธ์องค์ริตรัส................สาวกทำชัดถูกบ่ง ทิศหก ฉ ชอบตรง....................ต้องทำอย่างไรถูกครัน
๔๓.หนึ่ง,ทิศซิเบื้องหน้า..........คือพ่อแม่นาต้องดั้น บุตรทำสิห้าพลัน......................."เลี้ยงท่านตอบแทน"บุญคุณ
๔๔."ช่วยกิจลุล่วง"ส่ง............."ดำรงเผ่าพงศ์"ค้ำจุน ทำตนเหมาะรับหนุน.................."โภคทรัพย์สืบทอด"ต่อไป
๔๕.เมื่อท่านละชีพหนา..........."บุตรทำ"ทักษิษิ์ณาฯ"ไปให้ พ่อแม่แนะบุตรใฝ่......................ช่วยบุตรด้วยห้าอย่างนา
๔๖."ห้ามบุตรมิทำชั่ว"............."ทำความดี"รัว"ศึกษา "ต้องหาซิคู่"หนา........................"มอบทรัพย์ให้"มิชักช้า
๔๗.พ่อแม่สิทิศหน้า................บุตรบำรุงห้าอย่างพา ช่วยบุตรสถานห้า.....................ทิศหน้าสำราญไร้ภัย
๔๘.สอง,ทิศซิเบื้องขวา..........คืออาจารย์กล้าเทิดไกล ศิษย์ทำเจาะห้าไซร้.................."ลุกขึ้นยืนรับ"ทันที
๔๙."ยืนคอยซิรับใช้".............."เชื่อฟัง"ด้วยใจเต็มปรี่ "เฝ้าปรนนิบัติ"ดี......................."เรียนวิท์ยาเคารพ"ยิ่ง
๕๐.ครูย่อมจะช่วยศิษย์..........ด้วยห้าชิดไม่นิ่ง "ฝึกคนเหมาะดี"จริง.................."เรียนดี"สอนจนแจ่มแจ้ง
๕๑."สอนศิลปวิทย์ฯ................สิ้นเชิงไม่ปิด"ใดแฝง ความดีขยายแจง.......................ให้ปรากฏหมู่เพื่อนหนา
๕๒.ครูสร้างเกราะคุ้มภัย.........แก่เหล่าศิษย์ในทิศหล้า โดยฝึกวิชากล้า.........................ให้เลี้ยงชีพสุขเลิศหรู
๕๓.สาม,ทิศซิเบื้องหลัง...........คือลูก,เมียจังต้องดู สามีซิต้องชู...............................ห้าอย่าง"ด้วยยกย่อง"เธอ
๕๔."ไม่หมิ่น","มินอกใจ"..........."มอบความเป็นใหญ่"เจอ "ให้เครื่องประดับ"เปรอ..............ชีวิตครองคู่ยืนนาน
๕๕.ภรร์ยาสิหน้าที่.................เกื้อกูลสามีห้าการ "จัดการสิดี"พาน........................"ช่วยญาติข้างเคียงสามี"
๕๖.พึงไม่ประพฤติหนา..........."นอกใจภัส์ดา"ร้าวรี่ "รักษ์โภคะทรัพย์"ดี..................."เพียรไม่เกียจคร้าน"ทั้งมวล
๕๗.สี่ทิศนะเบื้องซ้าย..............คือมิตรรอบกายรักควร ทำห้าสถานด่วน........................."แบ่งปัน,พูดถ้อยคำหวาน"
๕๘.เร่งมอบประโยชน์เจียร...."วางตนไม่เปลี่ยน"ทุกกาล "ซื่อสัตย์หทัย"ขาน....................จริงใจต่อกันจีรัง
๕๙.มิตรอื่นริตอบแทน............อีกห้าอย่างแล่นจริงจัง ป้องกันสหายหยุดยั้ง.................ปรามาท",รักษ์ทรัพย์เพื่อนหนา
๖๐."ภัยมาก็พึ่งได้".................."ยามทุกข์ยากไม่ทิ้ง"หนา "นับถือกะญาติจ้า.......................ของมิตร"จึงสุขสำราญ
๖๑.ห้า,ทิศเจาะเบื้องล่าง..........ได้แก่ลูกจ้าง,นายชาญ วางห้าสถานงาน........................."จัดงานตามกำลัง"เผย ๖๒."ค่าจ้างและรางวัล"............"ป่วยรักษาพลัน"เช่นเคย "ของแปลกพิเศษเชย"................"มีวันหยุดพักสมควร"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๔/๖) ๒๙.สิงคาลกสูตร ๖๓.ลูกจ้างก็ช่วยงาน............ห้าอย่างไม่หน่ายทบทวน "เข้างานเผดิมขวน"................."เลิกรานทีหลัง"เอื้อนาย ๖๔."เอาของสินายให้"...........หาหยิบอื่นไซร้กล้ำกราย "ทำงานยะยิ่งหลาย.................."เสริญความดีนายตีแผ่ ๖๕.หก,พิศเสาะเบื้องบน........คือสงฆ์ซึ่งชนควรแท้ บำรุงพระสงฆ์แล.....................ทำห้าด้วยกาย,วาจา ๖๖."ทำพูดและคิดใด"...........ด้วยเมตตาไซร้จิตกล้า "ต้อนรับซิเต็มจ้า......................เกื้อสงฆ์ด้วยปัจจัยสี่ ๖๗.สงฆ์เอื้อนราไว.................มีหกอย่างได้ช่วยคลี่ "ห้ามทำซิชั่วปรี่........................."ให้ตั้งในความดี"ยง ๖๘."ช่วยด้วยหทัยงาม"...........มีน้ำใจลามความตรง "ให้ฟังกะสิ่งบ่ง...........................ยังไม่เคยฟังมาก่อน" ๖๙."ฟังแล้วกระทำแจ้ง"...........หมดสงสัยแคลงใจถอน "บอกทางสวรรค์"จร...................แก่ชนเลิกพรางต่อไป ๗๐.พุทธ์เจ้าสรุปหล้า...............พ่อแม่ทิศหน้าครรไล ลูก,เมียซิหลังไว.........................มิตรอมาตย์ทิศเบื้องซ้าย ๗๑.ลูกจ้างซิทิศล่าง................สงฆ์ทิศบนวางสอนกราย แก่ชาวนรีเผย............................บัณฑิตถึงพร้อมศีลผล ๗๒.มีความละเอียดไว..............มีไหวพริบไซร้,เจียมตน ไม่ดื้อกระด้างก่น........................เขาย่อมได้ยศศักดิ์ศรี ๗๓.คนเพียรมิเกียจคร้าน..........ไม่หวั่นภัยราญมาปรี่ คนปัญญะเลิศรี่............................ย่อมได้ยศศักดิ์รุ่งเรือง ๗๔.ชนผู้แสวงมิตร.....................รู้ถ้อยทันชิดเนืองเนือง ได้สอนแนะเหตุเรื่อง.....................เขาย่อมได้ยศเช่นกัน ๗๕.ให้,พูดเพราะเชี่ยวชาญ........ในธรรมเฉิดฉานโดยพลัน ธรรมเครื่องเกาะใจครัน.................เปรียบรถจึงแล่นไปได้ ๗๖.ไร้ธรรมะยึดเหนี่ยว...............พ่อแม่นั่นเทียวพลาดซ้ำ นับถือซิเรื่องไกล...........................บุตรไม่สนใจบูชา ๗๗.บัณฑิตพิจารณ์ธรรม............เป็นเครื่องมือหนำตรงหนา บัณฑิตสิยิ่งหนา............................หมู่ชนเสริญเยินยอกัน ๗๘.พุทธ์เจ้าซิตรัสแล้ว...............สังคาลฯทูลแน่วยืนยัน ภาษิตพระองค์ครัน........................แจ้งเหมือนหงายของที่คว่ำ ๗๙.เปิดของซิปิดไว้....................บอกคนหลงไกลทางคลำ หรือส่องประทีบนำ.........................ในที่มืดจนแจ่มหนา ๘๐.ตาเห็นสิรูปใด........................เปรียบพุทธ์องค์ไซร้แผ่กล้า ได้ทรงประกาศหล้า........................ธรรมอันหลากหลายเช่นกัน ๘๑.สิงคาลฯซิขอถึง......................รัตน์ตรัยที่พึ่งตนพลัน ขอเป็นอุบฯครัน...............................แต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : ๑) สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๖๑ -๓๖๓ ๒) สิงคาลกสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ https://84000.org/tipitaka/_mcu/v.php?B=11&A=3923&Z=4206
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๕/๖) ๒๙.สิงคาลกสูตร
เวฬูวัน=เวฬุวัน(ป่าไผ่)ใกล้กรุงราชคฤห์ สิงคาลฯ=สิงคาลกมาณพ อรียสงฆ์,อรีย์=อริยสงฆ์ กรรมกีเลส=กรรมกิเลส ๔=คือ กรรมเครื่องเศร้าหมอง ได้แก่ (๑)ปาณาติบาต ฆ่าชีวิตสัตว์ (๒)อทินนาทาน ลักขโมย (๓)กาเมสุ มิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม (๔)มุสาวาท พูดเท็จ บาปฐานะ ๔=คือ อริยสาวกไม่ทำกรรมชั่วโดยฐานะ ๔ คือ ความลำเอียง เพราะรัก, เพราะชัง, เพราะหลง, เพราะกลัว ทำกรรมชั่ว ทางเสื่อมแห่งโภคะ ๖=ได้แก่ การประกอบเนือง ๆ ซึ่ง (๑)การดื่มน้ำเมาคือสุราอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท มีโทษ ๖ คือ ความเสื่อมทรัพย์ ก่อการทะเลาะวิวาท เป็นบ่อเกิดแห่งโรค เป็นเหตุเสียชื่อเสียง เป็นเหตุไม่รู้จักละอาย และเป็นเหตุทอนกำลังปัญญา (๒)การเที่ยวกลางคืน มีโทษ ๖ คือ ได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่คุ้มครองและไม่รักษาตัวเอง บุตรภรรยา ทรัพย์สมบัติ เป็นที่ระแวงของคนอื่น มีคำพูดอันไม่เป็นจริงในที่นั้นๆ และเหตุแห่งทุกข์เป็นอันมากย่อมแวดล้อม (๓)การดูการเล่น มหรสพ มีโทษ ๖ คือ รำ ขับร้อง ประโคม เสภา เพลง หรือเถิดเทิงที่ไหนไปที่นั่น (๔) การเล่นการพนัน มีโทษ ๖ คือ ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ที่เสียไป มีความเสื่อมทรัพย์ในปัจจุบัน ไปพูดที่ไหนไม่มีใครฟัง ถูกมิตรหมิ่นประมาท และไม่มีใครอยากจะแต่งงานด้วย (๕)การคบคนชั่วเป็นมิตร มีโทษ ๖ คือ นำให้เป็นนักเลงการพนัน นักเลงเจ้าชู้ นักเลงเหล้า เป็นคนลวงผู้อื่นด้วยของปลอม เป็นคนโกงเขาซึ่งหน้า และเป็นคนหัวไม้ (๖)ความเกียจคร้าน มีโทษ๖ คือ ไม่ทำงาน มักอ้างว่าหนาว ร้อน เวลาเย็นแล้ว ยังเช้าอยู่ หิว หรือกระหาย เมื่อผลัดเลี่ยงงานอย่างนี้ โภคะที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้น ส่วนที่เกิดขึ้นแล้วก็ถึงความสิ้นไป วีวาท=วิวาท ปรามาท=ประมาท มิตรเทียม=มิตรเทียม ได้แก่ คน ๔ จำพวก ซึ่งควรเว้นให้ห่างไกล คือ (๑)คนปอกลอก ได้แก่ มิตรโดยสถาน ๔ คือ คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว เสียให้น้อยคิดเอาให้ได้มาก ไม่รับทำกิจของเพื่อนในคราวมีภัย และคบเพื่อนเพราะเห็นแก่ประโยชน์ของตัว (๒)คนดีแต่พูด ได้แก่ มิตรโดยสถาน ๔ คือ เก็บเอาสิ่งที่ผ่านไปแล้วมาพูด อ้างเอาสิ่งที่ยังมาไม่ถึงมาพูด ช่วยด้วยสิ่งหาประโยชน์ไม่ได้ และแสดงความขัดข้องเมื่อมีกิจเกิดขึ้น (๓)คนหัวประจบ ได้แก่ มิตรโดยสถาน ๔ คือ ตามใจเพื่อนให้ทำความชั่ว ตามใจเพื่อนให้ทำความดี ต่อหน้าสรรเสริญ และลับหลังนินทา (๔)คนชักชวนในทางเสียหาย ได้แก่ มิตรโดยสถาน ๔ คือ ชักชวนให้ดื่มน้ำเมา ชักชวนให้เที่ยวตามตรอกต่างๆ ในเวลากลางคืน ชักชวนให้เที่ยวดูการมหรสพ และชักชวนให้เล่นการพนัน มิตรแท้=มิตรแท้ มีใจดี พึงเข้าไปนั่งใกล้โดยเคารพ ได้แก่ มิตร ๔ จำพวก คือ (๑)มิตรมีอุปการะ ได้แก่ มิตรโดยสถาน ๔ คือ รักษาเพื่อนผู้ประมาทแล้ว รักษาทรัพย์ของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว เป็นที่พึ่งได้เมื่อมีภัย และเพิ่มทรัพย์ให้สองเท่าเมื่อมีกิจที่ต้องทำเกิดขึ้น (๒)มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ได้แก่ มิตรโดยสถาน ๔ คือ บอกความลับแก่เพื่อน ปิดความลับของเพื่อน ไม่ละทิ้งในเหตุอันตราย และแม้ชีวิตก็อาจสละเพื่อประโยชน์เพื่อนได้ (๓)มิตรแนะประโยชน์ ได้แก่ มิตรโดยสถาน ๔ คือ ห้ามจากความชั่ว ให้ตั้งอยู่ในความดี ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง และบอกทางสวรรค์ให้ (๔)มิตรมีความรักใคร่ ได้แก่ มิตรโดยสถาน ๔ คือ ไม่ยินดีด้วยความเสื่อมของเพื่อน ยินดีด้วยความเจริญของเพื่อน ห้ามคนที่กล่าวโทษเพื่อน และสรรเสริญคนที่สรรเสริญเพื่อน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๖/๖) ๒๙.สิงคาลกสูตร
ทิศ ๖=คือ บุคคลประเภทต่างๆ มีทั้งหมด ๖ ส่วน ซึ่งอยู่รอบตัวเราพระพุทธเจ้าทรงกล่าวถึงวิธีการปฏิบัติตนต่อผู้อื่น ทั้งในทางโลกทางธรรม โดยให้ความสำคัญกับบุคคลต่างๆ ที่เปรียบเสมือนทิศทั้ง ๖ ได้แก่ (๑)ทิศเบื้องหน้า คือ มารดาและบิดา ซึ่งบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ ตั้งใจไว้ว่าท่านเลี้ยงเรามา เราจะเลี้ยงท่านตอบ, รับทำกิจของท่าน, ดำรงวงศ์สกุล, ปฏิบัติตนให้เป็นผู้สมควรรับทรัพย์มรดก, และเมื่อท่านละไปแล้ว ทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้(ทักษิณานุประทาน) ส่วนมารดาบิดา ย่อมอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน ๕ คือ ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว, ให้ตั้งอยู่ในความดี, ให้ศึกษาศิลปวิทยา, หาภรรยาที่สมควรให้, และมอบทรัพย์ให้, (๒)ทิศเบื้องขวา คือ อาจารย์ ซึ่งศิษย์พึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ ลุกขึ้นยืนรับ, เข้าไปยืนคอยรับใช้, เชื่อฟัง, ทำการปรนนิบัติ, และเรียน ศิลปวิทยาโดยเคารพ, ส่วนอาจารย์ ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ด้วยสถาน ๕ คือ แนะนำดี, ให้เรียนดี, บอกศิษย์ด้วยดีในศิลปวิทยาทั้งหมด, ยกย่องให้ปรากฏในเพื่อนฝูง, และทำเกราะป้องกันภัยแก่ศิษย์ ฝึกวิชาให้หาเลี้ยงชีพได้ (๓)ทิศเบื้องหลัง คือ บุตรและภรรยา ซึ่งสามีพึงบำรุงภรรยาด้วยสถาน ๕ คือ ยกย่องว่าเป็นภรรยา, ไม่ดูหมิ่น, ไม่ประพฤตินอกใจ, มอบความเป็นใหญ่ให้, และให้เครื่องประดับ ส่วนภรรยา ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน ๕ คือ จัดการงานดี, สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี, ไม่ประพฤตินอกใจ, รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้, และขยันไม่เกียจคร้านในกิจการทั้งปวง (๔)ทิศเบื้องซ้าย คือ มิตรและอำมาตย์ ซึ่งกุลบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ การให้ปัน, เจรจาถ้อยคำเป็นที่รัก, ประพฤติประโยชน์, ด้วยความเป็นผู้มีตนเสมอ, และซื่อสัตย์จริงใจ ส่วนมิตร ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๕ คือ รักษามิตรผู้ประมาทแล้ว, รักษาทรัพย์ของมิตรผู้ประมาทแล้ว, เมื่อมิตรมีภัยเอาเป็นที่พึ่งได้, ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ, และนับถือตลอดถึงวงศ์ของมิตร (๕)ทิศเบื้องล่างคือ ผู้ใต้บังคับบัญชา ทาสและกรรมกร ซึ่งนายพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ จัดการงานให้ทำตามสมควรแก่กำลัง, ให้อาหารและรางวัล, รักษาในคราวเจ็บไข้, แจกของมีรสแปลกประหลาดให้กิน และให้มีเวลาหยุดพักบ้าง ส่วนทาสกรรมกร ย่อมอนุเคราะห์นายด้วยสถาน ๕ คือ ลุกขึ้นทำงานก่อนนาย, เลิกงานทีหลัง,ถือเอาแต่ของที่นายให้, ทำงานให้ดีขึ้น, และนำคุณของนายไปสรรเสริญ (๖)ทิศเบื้องบน คือ สมณพรามณ์ ซึ่งกุลบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ ด้วยกายกรรม, วจีกรรม, และมโนกรรมที่ประกอบด้วยเมตตา, ด้วยการเปิดประตูต้อนรับ, และให้ปัจจัยสี่เนืองๆ ส่วนสมณพราหมณ์ ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๖ คือ ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว, ให้ตั้งอยู่ในความดี, อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจอันงาม, ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง, ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง, และบอกทางสวรรค์ให้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
ประมวลธรรม : ๓๐.สังคีติสูตร(สูตรว่าด้วยการร้อยกรองหรือสังคายนาคำสอน)
วิชุมวิเชียรฉันท์ ๑๙
๑.พุทธ์เจ้าพร้อมสงฆ์............มุ่งตรง"ปาวา" หยุดป่ามะม่วงหนา...................ฆระ"จุนทะ"ช่างทอง
๒.มัลล์ราชาสร้าง..................หอกว้างใหม่ครอง จึงได้นิมนต์ผอง.......................สิประชุมเจาะใช้เอย
๓.พุทธ์องค์แจงธรรม.............เลิศล้ำสอนเอ่ย แก่มัลล,สงฆ์เผย......................ลุวิกาลริค่อนคืน
๔.ตรัส"มัลล์ราชา".................กลับนาอย่าขืน เหล่าสงฆ์ก็ยังตื่น.....................นิรซึมและง่วงเหงา
๕.ตรัสกับสารีฯ......................แจงรี่ธรรมเกลา แก่ภิกษุด้วย"เรา"......................ทุรหลังจะพักครา
๖.พุทธ์องค์ทรงรี่...................ครองสีห์ไสยา กำหนดพระทัยหนา..................สติพร้อมจะลุกเอย
๗.สารีบุตรด้น......................."นิครนนาฏ์ฯ"เปรย เจ้าลัทธิตายเลย......................พหุศิษย์ก็แยกสอง
๘.เถียงเรื่องธรรมปรี่.............สารีฯย้ำตรอง ไม่ควรวิวาทครอง....................เจาะเซาะลัทธิแตกไป
๙.สารีฯเอ่ยรุด......................ศาสน์พุทธ์เนาไซร้ พุทธเจ้าประกาศไว้..................อติยิ่งเจาะนำชน
๑๐.พ้นจากทุกข์ภัย...............หนีไกลหยุดรน ธรรมนำสงบผล.......................รุจิสุขตลอดมา
๑๑.สารีฯกล่าวชวน...............ให้ขวน"สังคาย์ฯ" แจงธรรมเจาะหมวดหนา..........จะมิแก่งและแย่งธรรม
๑๒.พรหมจรรย์ตั้งอยู่............เฟื่องฟูยืนล้ำ เพื่อเป็นประโยชน์ล้ำ................นฤชนกะเทวา
๑๓.มีธรรมหลายบ่ง...............พุทธ์องค์แจงกล้า นำชนระงับฝ่า..........................เซาะลิทุกขะสิ้นแฉ
๑๔.สารีบุตรยวด...................บอกหมวดธรรมแต่ หนึ่งถึงเกาะสิบแน่....................เจาะลุถูกมิแย่งขาน
๑๕.หนึ่ง,ธรรมหนึ่งบ่ง............"สัตว์คงชีพกราน" ด้วยภัตรและสังขาร.................ก็พระพุทธ์ฯเสาะถูกหนา
๑๖.ไม่ควรโต้กัน...................พึงดั้นสังคาย์ เหล่าสงฆ์จะช่วยนา.................มหเอื้อมนุษย์หลาย
๑๗.อาหารสี่ค้ำ.....................รูป,ธรรม,นามง่าย เลี้ยงกาย,หทัยเผย..................บริบูรณ์เจริญเอย
๑๘."อิงกาฬาหาร".................ข้าวพานกินเอ่ย "ผัสสาอะหาร"เผย...................เพราะสิ"ตา"เจาะ"รูป"ยล
๑๙.เกิดวิญญาณกล้า............"ผัสสา"ตามดล รู้เวท์นาผล..............................ประลุเจตสิกปรุง
๒๐."สัญเจตนาฯไซร้.............จงใจภัตรจุ่ง ทำให้ริคิดมุ่ง...........................ก็จะเรียกวะกรรมนำ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๒/๒๘) ๓๐.สังคีสติสูตร
๒๑."วิญญาณอาหาร"..........ภัตรกราน"วิญฯ"ทำ วิญญานะก่อล้ำ.....................ก็อุบัติสิรูป,นาม
๒๒.พุทธ์เจ้าตรัสไซร้.........."ความไม่รู้"ผลาม ใดเป็นซิภัตรลาม...................ก็นิวรณ์เจาะเช่นกัน
๒๓.สอง,ธรรมสองบ่ง.........พุทธองค์รู้ดั้น ทรงตรัสซิจริงสรร................ริลุสังคายนา
๒๔."นาม,รูป"สองพลาง......รูปร่างสัตว์นา สิ่งกอปรสิดิน"หนา.............."ชลไฟและลม"เอย
๒๕.นาม,รูปไม่มี.................ตรึกที่ใจเผย "รู้,เวทนา"กะ"จำ"เอ่ย.............ก็ริปรุง"และ"วิญญาณ"
๒๖."เป็นผู้ว่ายาก"...............มากมิตรชั่วพาน "ไม่รู้อวิชฯนาน .....................ภวตัณหะ อยากมี ๒๗."เป็นผู้ว่าง่าย"..............."ผู้ฉายมิตรดี" "ความไม่ละอาย"รี่................และ"มิเกรงรึกลัว"ใด
๒๘."ความไม่ฟุ้งซ่าน..........กับพาน"เพียร"ไซร้ "ไร้สัมปชัญญ์ฯ"ไว................"สติลืมและหลง"ครัน
๒๙.สาม,ธรรมสามไกล.......ตรองในกามมั่น คิดตรอง"อะฆาต"ยัน............."และวิหิงสะฯ"เบียดเบียน
๓๐.พฤติชั่วทางกาย...........พูดปรายใจเจียร สามสิ่งสิครบเวียน.................ทุจริตซิทั่วตน
๓๑.สัญโญชน์ผูกมัด...........ถือจัดตนล้น "สีลัพฯก็เชื่อท้น....................."วิจิกิจฯ"ซิสงสัย
๓๒.เวท์นาอารมณ์...............สุขบ่มกายใจ เห็นทุกขะยิ่งไว.......................นิรทุกข์และสุขเอย
๓๓.สี่,ธรรมมีชิด...................ต้องพิศใจเอ่ย เรียกว่า"สตีฯ"เผย....................ริมุเพ่งกะกายา
๓๔.เพ่ง"เวท์นา"ไซร้..............ลึกในเวท์นา เพ่งจิตซิในหนา........................และตริธรรมจะแจ้งครัน
๓๕.พิศทั้งสี่อย่าง...................เพียรพร่างสัมปชัญญ์ ตัดโลภะอยากดั้น.....................และขจัดซิโทมนัส
๓๖.อิทธิ์บาทไซร้...................พอใจงานชัด เพียรจิตซิใฝ่จัด........................และวิมังสะแก้ไข
๓๗.ฌานสี่อย่างพาน..............รุดฌานหนึ่งไซร้ งดชั่วซิหมดไกล.......................ตะวิตกวิจารเหลือ
๓๘.รวมทั้ง"อิ่มใจ".................."สุข"ไซร้อยู่เครือ ใจเกิดวิเวกเอื้อ..........................จิตะเงียบสงัดครอง
๓๙.ฌานสองถึงครา................ใจหนาตัดสอง เหลือปีติใจตรอง........................กะสุขีสมาธิ์เอย
๔๐.ฌานสามพึงได้..................มีใจวางเฉย สัมป์ชัญญะเพียบเลย.................สติมีกะสุขแล
๔๑.ถึงฌานสี่บุก......................ตัดทุกข์,สุขแล้ ดับเศร้า,รตีแฉ............................เจาะ"อุเบกฯ"ซิยังครอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๓/๒๘) ๓๐.สังคีสติสูตร
๔๒. ธรรมหมวดห้าเช่น...........ขันธ์เด่นตนดอง "รูป,เวทนา"นอง........................เจาะระลึกสิ"สัญญา"
๔๓."สังขาร"ปรุงแต่ง..............ใจแจ้ง"วิญญ์ฯ"พา ห้าควรมิยึดหนา........................นิรตนและของเรา
๔๔.กาม์คุณห้าไซร้................ชวนให้รักเขลา "รูป,เสียง"กะ"กลิ่น"เร้า..............พหุรสและ"สัมผัส"
๔๕.ธรรมหมวดหกจ่อ.............ที่ต่อ"อาย์ฯ"จัด ภายในก็"ตา"ชัด.......................เจาะ"จมูก"กะ"หู,ลิ้น"
๔๖.กาย,ใจเชื่อมกรอก...........อายฯนอก"รูป,กลิ่น" "เสียง,รส"กะ"โผษฐ์ฯ"ชิน...........และปะ"ธรรม"สิใจรู้
๔๗.ธรรมหมวดเจ็ดชัด............มี"สัทธรรม"พรู "ศรัทธา,พหูฯ"อยู่......................."หิริ"ความละอายบาป
๔๘."โอคตัปฯ"กลัวหนา............"ปัญญา"ดีทาบ ตั้งใจและ"เพียร"กราบ................"สติ"มั่นมิเปลี่ยนบ่ง
๔๙.ธรรมหมวดแปดชัด............"สัมมัตต์ฯ"พฤติตรง แนว"ทิฏฐิ"ถูกยง.........................ปฏิบัติจะดียง
๕๐."สังกัปป์ฯ"คิดตรึก..............ไม่นึกรัก,ชัง ด้วยดำริถูกขลัง.........................นิรฆาตและเบียดเบียน
๕๑."สัมมาวาจา"......................พูดนาเชี่ยวเชียร เว้น"เท็จ"และ"หยาบ"เกรียน........"ปิสุณา"และ"เพ้อเจ้อ"
๕๒."กัมมันฯ"ทำชอบ................ทำนอบเว้นเปรอ พฤติชั่วสิกามเผลอ.....................ลิพิฆาตขโมยเอย
๕๓."สัมมาอาชีฯ.......................ชีพที่ดีเปรย ไม่หลอกและลวงเผย..................ทุจริตละเลิกหา
๕๔."สัมมาวาฯ"เพียร................จิตเชียรมั่นนา ให้เกิดกุศลหนา..........................อกุศลละทิ้งผลาญ
๕๕."สัมมารำลึก"......................สี่ตรึกปัฏฐานฯ กายเเวทนาชาญ.........................จิตะ,ธรรมะรู้เชียว
๕๖."สัมมาตั้งจิต"......................คิดอารมณ์เดียว จิตเป็น"สมาธิ์"เปรียว...................ประลุฌานซิหนึ่ง-สี่
๕๗.ธรรมหมวดเก้านา...............ตั้งอาฆาตปรี่ "ได้ทำพินาศ"รี่............................"จะกระทำทลายเรา"
๕๘."คาดทำเสียหาย.................ในภายหน้า"เนา "เขาได้ทลายเร้า.........................สขิเราสนิทรัก"
๕๙."เขากำลังทำ"....................."เขาพร่ำทำปัก" "เขาทำประโยชน์นัก...................กะนรีมิรัก"เอย
๖๐."เขากำลังทำ".....................นั้นย้ำอยู่เปรยฝ" เขาจักกระทำเลย"......................เจาะซิแน่กระชั้นนา
๖๑.ธรรมหมวดสิบสอน............"นาถกรฯ"พึ่งพา "มีศีลซิพึ่ง"หนา.........................."สุตะฟังระลึก"ล้น
๖๒."มีเพื่อนดี"มาย...................สอนง่าย,อดทน" "เอื้อเฟื้อ,ขยัน"ดล.......................ธุระเพื่อนลุล่วงพลัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๔/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร ๖๓."ใฝ่ในธรรมโรจน์"............สันโดษพอ"ครัน "ตั้งใจริเพียร"มั่น......................."สติแน่วและปัญญา" ๖๔.สารีบุตรแจงธรรม............หลายล้ำสิบนา จำนวนหนึ่งก็มีหนา...................ทำเรื่องกะสัตว์ตรง ๖๕.ธรรมสองจำนวน.............ถ้วนสามสิบบ่ง ธรรมสามเจาะมียง...................ก็ริรวมปะหกสิบ ๖๖.ธรรมสี่มีรวม....................ร่วมห้าสิบลิบ ธรรมห้าเลาะ"ยี่สิบ"..................และฉหกซิได้ตรอง ๖๗.ธรรมหกมีรวม.................ร่วมยี่สิบสอง ธรรมเจ็ดก็มีครอง....................พหุเรื่องลุสิบสี่ ๖๘.ธรรมแปด,แปดเรื่อง........ธรรมเปรื่องเก้ามี รวมหกซิชัดคลี่........................ก็เจาะเท่าสิธรรมสิบ ๖๙.สารีบุตรบ่ง.....................พุทธ์องค์สอนยิบ ธรรมหลายฉะนี้กริบ................เหมาะลุสังคายนา ๗๐.เพื่อพรหมจรรย์สงฆ์........ได้ยงยืนหนา หลีกเลี่ยงวิวาทมา....................มิพินาศสลายไป ๗๑.คราพุทธเจ้าตื่น...............ตรัสชื่นชมไข สารีฯซิกล่าวไซร้......................ปริยายสิดีแท้ ๗๒.สงฆ์หลายยินดี................ชมคลี่แล้วแล สารีฯเสาะหาแน่........................ลุกระจ่างและชัดเจน ฯ|ะ แสงประภัสสร ที่มา : ๑)สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๖๔ -๓๖๖ ๒)สังคีติสูตร http://anakame.com/page/1_Sutas/1100/1124.htmปาวา=เมืองปาวา จุนทะ=บุตรนายช่างทอง มัลล์=มัลลกษัตริย์ สารีฯ=พระสาริบุตร พระอัครสาวกเบื้องขวา ของ พระโคดมพุทธเจ้า เรา=หมายถึงพระพุทธเจ้า นิครนนาฏ์ฯ=นิครนถ์นาฏบุตร เป็นเจ้าลัทธิคนหนึ่งในจำนวนครูทั้ง ๖ มีคนนับถือมาก มีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น วรรธมานบ้าง พระมหาวีระบ้าง และเป็นต้นศาสนาเชน ซึ่งยังมีอยู่ในประเทศอินเดีย สังคาย์ฯ=สังคายนา ธรรมมีประเภทละ ๑=มีรวม ๒ เรื่อง (๑)สัตว์ทั้งหมดตั้งอยู่ได้เพราะอาหาร อาหารเป็นปัจจัยค้ำจุนรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลาย, เครื่องค้ำจุนชีวิต, สิ่งที่หล่อเลี้ยงร่างกายและจิตใจ ทำให้เกิดกำลังเจริญเติบโตและวิวัฒน์ได้ แยกเป็น (๑.๑)กวฬิงการาหาร -อาหารคือคำข้าว ได้แก่ อาหารสามัญที่กลืนกินดูดซึมเข้าไป หล่อเลี้ยงร่างกาย (๑.๒)ผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ ได้แก่ การบรรจบแห่งอายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา พร้อมทั้งเจตสิกทั้งหลายที่จะเกิดตามมา (๑.๓)มโนสัญเจตนาหาร -อาหารคือมโนสัญเจตนา ได้แก่ ความจงใจ เป็นปัจจัยแห่งการทำ พูด คิด ซึ่งเรียกว่ากรรม เป็นตัวชักนำมาให้เกิดปฏิสนธิในภพทั้งหลาย (๑.๔)วิญญาณาหาร -อาหารคือวิญญาณ ได้แก่ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป (๒)สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะสังขาร (อวิชชา ตัณหา กรรม อาหาร)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๕/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร
ธรรมมีประเภทละ ๒=รวม ๓๐ เรื่อง คือ (๑)นาม และ รูป (๒)อวิชชา และ ภวตัณหา (๓)ภวทิฐิ และ วิภวทิฐิ (๔) ความไม่ละอาย และ ความไม่เกรงกลัว (๕)ความละอาย และ ความเกรงกลัว (๖) ความเป็นผู้ว่ายาก และ ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว (๗) ความเป็นผู้ว่าง่าย และ ความเป็นผู้มีมิตรดี (๘)ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ และ ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากอาบัติ (๙)ความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ และ ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ (๑๐)ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ และ ความเป็นผู้ฉลาดในมนสิการ (๑๑)ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะ และ ความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท (๑๒) ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะ(คือเหตุที่เป็นได้) และ ความเป็นผู้ฉลาดในอัฏฐานะ(คือเหตุที่เป็นไปไม่ได้) (๑๓)การกล่าววาจาอ่อนหวาน และ การต้อนรับ (๑๔)ความไม่เบียดเบียน และ ความสะอาด (๑๕) ความเป็นผู้มีสติหลงลืม และ ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ (๑๖)สติ และ สัมปชัญญะ (๑๗)ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย และ ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ (๑๘)ความเป็นผู้คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย และ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ (๑๙)กำลังที่เกิดแต่การพิจารณา และ กำลังที่เกิดแต่การอบรม (๒๐)กำลังคือสติ และ กำลังคือสมาธิ (๒๑)สมถะ และ วิปัสสนา (๒๒)นิมิตที่เกิดเพราะสมถะ และ นิมิตที่เกิดเพราะความเพียร (๒๓)ความเพียร และ ความไม่ฟุ้งซ่าน (๒๔)ความวิบัติแห่งศีล และ ความวิบัติแห่งทิฐิ (๒๕)ความถึงพร้อมแห่งศีล และ ความถึงพร้อมแห่งทิฐิ (๒๖)ความหมดจดแห่งศีล และ ความหมดจดแห่งทิฐิ (๒๗)ความหมดจดแห่งทิฐิ และ ความเพียรของผู้มีทิฐิ (๒๘)ความสลดใจ และ ความเพียรโดยแยบคายของผู้สลดใจแล้ว ในธรรมเป็น ที่ตั้งแห่ง ความสลดใจ (๒๘)ความเป็นผู้ไม่สันโดษในธรรมอันเป็นกุศล และ ความเป็นผู้ไม่ท้อถอยในการตั้งความเพียร (๒๙)วิชชา และ วิมุตติ (๓๐)ญาณในความสิ้นไป และ ญาณในความไม่เกิด ธรรมมีประเภทละ ๓=มีรวม ๖๐ เรื่อง คือ (๑)อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ,โทสะ,โมหะ (๒) กุศลมูล ๓ คือ อโลภะ,อโทสะ,อโมหะ (๓) ทุจริต ๓ คือ ธาตุคือความออกจากกาม], อัพยาปาทธาตุ [ธาตุคือความไม่พยาบาท], อวิหิงสาธาต
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๖/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร
(๑๓)ธาตุอีก ๓ อย่าง คือ ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ด้วยอำนาจศีลพรต] (๒๐) อาสวะ ๓ อย่าง คือ กามาสวะ [อาสวะเป็นเหตุอยากได้], ภวาสวะ [อาสวะเป็นเหตุอยากเป็น], อวิชชาสวะ [อาสวะคือความเขลา] (๒๑) ภพ ๓ อย่าง คือ กามภพ [ภพที่เป็นกามาวจร], รูปภพ [ภพที่เป็นรูปาวจร], อรูปภพ [ภพที่เป็นอรูปาวจร] (๒๒) เอสนา ๓ อย่าง คือ กาเมสนา [การแสวงหากาม], ภเวสนา [การแสวงหาภพ], พรหมจริเยสนา [การแสวงหาพรหมจรรย์] (๒๓) วิธา การวางท่า ๓ อย่าง คือ เสยโยหมสฺมีติวิธา [ถือว่าตัวเราประเสริฐกว่าเขา], สทิโสหมสฺมีติวิธา [ถือว่าตัวเราเสมอกับเขา], หีโนหมสฺมีติวิธา [ถือว่าตัวเราเลวกว่าเขา] (๒๔)อัทธา ๓ อย่าง คือ อดีตอัทธา [ระยะกาลที่เป็นส่วนอดีต], อนาคตอัทธา [ระยะกาลที่เป็นส่วนอนาคต], ปัจจุบันนอัทธา [ระยะกาลที่เป็นปัจจุบัน] (๒๕) อันตะ ๓ อย่าง คือ สักกายอันตะ [ส่วนที่ถือว่าเป็นกายตน], สักกายสมุทยอันตะ [ส่วนที่ถือว่าเป็นเหตุก่อให้เกิดกายตน], สักกายนิโรธอันตะ [ส่วนที่ถือว่าเป็นเครื่องดับกายตน] (๒๖) เวทนา ๓ อย่าง คือ สุขเวทนา [ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข], ทุกขเวทนา [ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์], อทุกขมสุขเวทนา [ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข] (๒๗) ทุกขตา ๓ อย่าง คือ ทุกขทุกขตา [ความเป็นทุกข์เพราะทุกข์], สังขารทุกขตา [ความเป็นทุกข์เพราะสังขาร], วิปริฌามทุกขตา [ความเป็นทุกข์เพราะความแปรปรวน] (๒๘) ราสี ๓ อย่าง คือ มิจฉัตตนิยตราสี [กองคือความผิดที่แน่นอน], สัมมัตตนิยตราสี [กองคือความถูกที่แน่นอน], อนิยตราสี [กองคือความไม่แน่นอน] (๒๙)กังขา ๓ อย่าง คือ (๒๙.๑)ปรารภกาลที่ล่วงไปแล้วนานๆ แล้วสงสัย เคลือบแคลง ไม่เชื่อลงไปได้ ไม่เลื่อมใส (๒๙.๒)ปรารภกาลที่ยังไม่มาถึงนานๆแล้ว สงสัยเคลือบแคลง ไม่เชื่อลงไปได้ ไม่เลื่อมใส (๒๙.๓)ปรารภกาลปัจจุบันทุกวันนี้แล้ว สงสัย เคลือบแคลง ไม่เชื่อลงไปได้ ไม่เลื่อมใสข้อที่ไม่ต้องรักษา ของพระตถาคต ๓ อย่าง (๓๐) ความประพฤติ ๓ อย่าง คือ (๓๐.๑) ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตมี กายสมาจารบริสุทธิ์ พระตถาคตมิได้มีความ ประพฤติชั่วทางกาย ที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า คนอื่นๆอย่าได้รู้ถึง ความประพฤติชั่วทางกายของเรานี้ ดังนี้ (๓๐.๒) ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตมี วจีสมาจารบริสุทธิ์ พระตถาคตมิได้มีความ ประพฤติชั่วทางวาจา ที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า คนอื่นๆ อย่าได้รู้ถึง ความประพฤติชั่วทางวาจาของเรานี้ ดังนี้ (๓๐.๓)ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตมี มโนสมาจารบริสุทธิ์ พระตถาคตมิได้มีความ ประพฤติชั่วทางใจ ที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า คนอื่นๆอย่าได้รู้ถึง ความประพฤติชั่วทางใจของเรานี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๗/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร
(๓๑)กิญจนะ ๓ อย่าง คือ ราคกิญจนะ [เครื่องกังวลคือราคะ], โทสกิญจนะ [เครื่องกังวลคือโทสะ],โมหกิญจนะ [เครื่องกังวลคือโมหะ] (๓๒) อัคคี ๓ อย่าง คือ ราคัคคิ [ไฟคือราคะ], โทสัคคิ [ไฟคือโทสะ], โมหัคคิ [ไฟคือโมหะ] (๓๓) อัคคีอีก ๓ อย่าง คือ อาหุเนยยัคคิ [ไฟคืออาหุเนยยบุคคล], ทักขิเณยยัคคิ [ไฟคือทักขิเณยยบุคคล], คหปตัคคิ [ไฟคือคฤหบดี] (๓๔) รูปสังคหะ ๓ อย่าง (๓๔.๑) สนิทัสสนสัปปฏิฆรูป [รูปที่เป็นไปกับด้วยการเห็น ทั้งเป็นไปกับด้วยการกระทบ] (๓๔.๒)อนิทัสสนสัปปฏิฆรูป [รูปที่ไม่มีการเห็น แต่เป็นไปกับด้วยการกระทบ] (๓๔.๓)อนิทัสสนอัปปฏิฆรูป [รูปที่ไม่เห็น ที่ไม่กระทบ] (๓๕) สังขาร ๓ อย่าง คือ ปุญญาภิสังขาร [อภิสังขารคือบุญ], อปุญญาภิสังขาร [อภิสังขารคือบาป], อเนญชาภิสังขาร [อภิสังขารคืออเนญชา] (๓๖)บุคคล ๓ อย่าง คือ เสกขบุคคล [บุคคลผู้ยังต้องศึกษา], อเสกขบุคคล [บุคคลผู้ไม่ต้องศึกษา], เนวเสกขนาเสกขบุคคล [บุคคลผู้ยังต้องศึกษาก็ไม่ใช่ ผู้ไม่ต้องศึกษาก็ไม่ใช่] (๓๗) เถระ ๓ อย่าง คือ ชาติเถระ [พระเถระโดยชาติ], ธรรมเถระ [พระเถระโดยธรรม], สมมติเถระ [พระเถระโดยสมมติ] (๓๘) ปุญญกิริยาวัตถุ ๓ อย่าง คือ ทานมัย [บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน], สีลมัย [บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล], ภาวนามัย [บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา] (๓๙) เหตุสำหรับโจทน์ ๓ อย่าง คือ ทิฏฺเฐน [ด้วยได้เห็น], สุเตน [ด้วยได้ยินได้ฟัง], ปริสงฺกาย [ด้วยความรังเกียจ] (๔๐)กามอุปบัติ ๓ อย่าง คือ (๔๐.๑) สัตว์ประเภทที่มีกามปรากฏมีอยู่ ย่อมยังอำนาจให้เป็นไปในกามทั้งหลาย เช่นมนุษย์ เทพดาบางจำพวก และวินิบาตบางจำพวก (๔๐.๒) สัตว์ประเภทที่นิรมิตกามได้มีอยู่ สัตว์เหล่านั้นนิรมิตแล้วๆ ย่อมยังอำนาจให้เป็น ไป ในกามทั้งหลาย เช่นเทพดาเหล่านิมมานรดี (๔๐.๓) สัตว์ประเภทที่ผู้อื่นนิรมิตกามให้มีอยู่ สัตว์เหล่านั้น ย่อมยัง อำนาจให้เป็น ไปในกาม ที่ผู้อื่นนิรมิตให้แล้ว เช่นเทพดาเหล่าปรนิมมิตวสวตี (๔๑) สุขอุปบัติ ๓ อย่าง คือ (๔๑.๑) สัตว์พวกที่ยังความสุขให้เกิดขึ้นๆ แล้วย่อมอยู่เป็นสุขมีอยู่ เช่น พวกเทพเหล่า พรหมกายิกา (๔๑.๒) สัตว์พวกที่อิ่มเอิบบริบูรณ์ถูกต้องด้วยความสุขมีอยู่ สัตว์เหล่า นั้น บางครั้ง บางคราว เปล่งอุทานว่า สุขหนอๆ ดังนี้ เช่น พวกเทพเหล่าอาภัสสรา ฉะนั้น (๔๑.๓)สัตว์พวกที่อิ่มเอิบบริบูรณ์ถูกต้องด้วยความสุขมีอยู่ สัตว์เหล่า นั้นสันโดษ เสวยความสุขทางจิตอันประณีตเท่านั้น เช่น พวกเทพเหล่าสุภกิณหา (๔๒) ปัญญา ๓ อย่าง คือ เสกขปัญญา [ปัญญาที่เป็นของพระเสขะ], อเสกขปัญญา [ปัญญาที่เป็นของพระอเสขะ], เนวเสกขานาเสกขปัญญา [ปัญญาที่เป็นของพระเสขะก็ไม่ใช่ของพระอเสขะก็ไม่ใช่] (๔๓) ปัญญาอีก ๓ อย่าง คือ จินตามยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการคิด], สุตามยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการฟัง], ภาวนามยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการอบรม (๔๔) อาวุธ ๓ อย่าง คือ สุตาวุธ [อาวุธคือการฟัง], ปวิเวกาวุธ [อาวุธคือความสงัด], ปัญญาวุธ [อาวุธคือปัญญา] (๔๕) อินทรีย์ ๓ อย่าง คือ (๔๕.๑)อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ [อินทรีย์ที่เกิดแก่ผู้ปฏิบัติด้วยคิดว่าเราจักรู้ธรรมที่เรายังไม่รู้] (๔๕.๒)อัญญินทรีย์ [อินทรีย์คือความตรัสรู้] (๔๕.๓)อัญญาตาวินทรีย์ [อินทรีย์คือความรู้ทั่วถึง] (๔๖) จักษุ ๓ อย่าง คือ มังสจักขุ [ตาเนื้อ ตาปรกติ], ทิพพจักขุ [จักษุทิพย์], ปัญญาจักขุ [จักษุคือปัญญา] (๔๗)สิกขา ๓ อย่าง คือ อธิศีลสิกขา [สิกขาคือศีลยิ่ง], อธิจิตตสิกขา [สิกขาคือจิตยิ่ง], อธิปัญญาสิกขา [สิกขาคือปัญญายิ่ง] (๔๘)ภาวนา ๓ อย่าง คือ กายภาวนา [การอบรมกาย], จิตตภาวนา [การอบรมจิต], ปัญญาภาวนา [การอบรมปัญญา]
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|