Username:

Password:


  • บ้านกลอนน้อยฯ
  • ช่วยเหลือ
  • ค้นหา
  • เข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
บ้านกลอนน้อย - กลอนสบายๆ สไตล์ลิตเติลเกิร์ล >> คำประพันธ์ แยกตามประเภท >> กลอนธรรมะ-สุภาษิต-ปรัชญา-คำคม >> ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8   ลงล่าง
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร  (อ่าน 23405 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4030
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 537



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #90 เมื่อ: 04, พฤษภาคม, 2568, 11:08:50 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร

(ต่อหน้า ๑๑/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

(๓๐) สัจฉิกรณียธรรม ๔ อย่าง คือ (๓๐.๑)พึงทำให้แจ้งซึ่ง ขันธ์ที่ตนเคยอยู่อาศัยในกาลก่อนาด้วยสติ (๓๐.๒)พึงทำให้แจ้งซึ่ง จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลายด้วยจักษุ (๓๐.๓)พึงทำให้แจ้งซึ่ง วิโมกข์แปดด้วยกาย (๓๐.๔)พึงทำให้แจ้งซึ่ง ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายด้วยปัญญา
(๓๑) โอฆะ ๔ อย่าง คือ กาโมฆะ [โอฆะคือกาม], ภโวฆะ         [โอฆะคือภพ], ทิฏโฐฆะ [โอฆะคือทิฐิ], อวิชโชฆะ [โอฆะคืออวิชชา]
(๓๒)โยคะ ๔ อย่าง คือ กามโยคะ [โยคะคือกาม], ภวโยคะ [โยคะคือภพ], ทิฏฐิโยคะ [โยคะคือทิฐิ], อวิชชาโยคะ [โยคะคืออวิชชา]
(๓๓) วิสังโยคะ ๔ อย่าง คือ กามโยควิสังโยคะ [ความพรากจากโยคะคือกาม], ภวโยควิสังโยคะ [ความพรากจากโยคะคือภพ], ทิฏฐิโยควิสังโยคะ [ความพรากจากโยคะคือทิฐิ], อวิชชาโยคะวิสังโยคะ [ความพรากจากโยคะคืออวิชชา]
(๓๔) คันถะ ๔ อย่าง คือ อภิชฌากายคันถะ [เครื่องรัดกายคืออภิชฌา], พยาปาทกายคันถะ [เครื่องรัดกายคือพยาบาท], สีลัพพตปรามาสกายคันถะ [เครื่องรัดกายคือสีลัพพตปรามาส], อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ [เครื่องรัดกายคือความแน่ว่าสิ่งนี้เป็นจริง]
(๓๕) อุปาทาน ๔ อย่าง คือ กามุปาทาน [ถือมั่นกาม], ทิฏฐุปาทาน [ถือมั่นทิฐิ], สีลัพพตุปาทาน [ถือมั่นศีลและพรต], อัตตวาทุปาทาน [ถือมั่นวาทะว่าตน]
(๓๖) โยนิ ๔ อย่าง คืออัณฑชโยนิ [กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในไข่], ชลาพุชโยนิ [กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในครรภ์], สังเสทชโยนิ [กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในเถ้าไคล],โอปปาติกโยนิ [กำเนิดของสัตว์ที่เกิดผุดขึ้น]
(๓๗) การก้าวลงสู่ครรก์ ๔ อย่าง คือ สัตว์บางชนิดในโลกนี้ (๓๗.๑)ไม่รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา, ไม่รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา,ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา (๓๗.๒) รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา, ไม่รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา,ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา (๓๗.๓)รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา, รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา, แต่ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา (๓๗.๔)รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์ มารดา, รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา, รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา
(๓๘) การได้อัตภาพ ๔ อย่าง แบ่งเป็น (๓๘.๑)ได้อัตภาพที่ ตรงกับความจงใจของตนอย่างเดียว ไม่ตรงกับความจงใจของผู้อื่น (๓๘.๒)ได้อัตภาพที่ ตรงกับความจงใจของผู้อื่นเท่านั้น ไม่ตรงกับความจงใจของตน (๓๘.๓)ได้อัตภาพที่ ตรงกับความจงใจของตนด้วย  ตรงกับความจงใจของผู้อื่นด้วย (๓๘.๔)ได้อัตภาพที่ ไม่ตรงกับความจงใจของตน ทั้งไม่ตรงกับความจงใจของผู้อื่น
(๓๙) ทักขิณาวิสุทธิ ๔ อย่าง แบ่งเป็น (๓๙.๑)ทักขิณาบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก (๓๙.๒) ทักขิณาบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก (๓๙.๓)ทักขิณาไม่บริสุทธิ์ ทั้งฝ่ายทายกทั้งฝ่ายปฏิคาหก (๓๙.๔)ทักขิณาที่บริสุทธิ์ ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหก
(๔๐) สังคหวัตถุ ๔ อย่าง คือ ทาน [การให้ปัน], ปิยวัชช [เจรจาวาจาที่อ่อนหวาน], อัตถจริยา [ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์], สมานัตตตา [ความเป็นผู้มีตนเสมอ]
(๔๑) อนริยโวหาร ๔ อย่าง คือ มุสาวาท [พูดเท็จ], ปิสุณาวาจา [พูดส่อเสียด], ผรุสวาจา [พูดคำหยาบ], สัมผัปปลาป [พูดเพ้อเจ้อ]
(๔๒) อริยโวหาร ๔ อย่าง คือ มุสาวาทา เวรมณี [เว้นจากพูดเท็จ], ปิสุณาย วาจาย เวรมณี [เว้นจากพูดส่อเสียด], ผรุสาย วาจาย เวรมณี [เว้นจากพูดคำหยาบ], สัมผัปปลาปา เวรมณี [เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ]
(๔๓) อนริยโวหารอีก ๔ อย่าง (พูดตรงกันข้าม) คือ (๔๓.๑)เมื่อไม่ได้เห็น พูดว่าได้เห็น (๔๓.๒)เมื่อไม่ได้ยินพูดว่าได้ยิน (๔๓.๓)เมื่อไม่ได้ทราบ พูดว่าได้ทราบ (๔๓.๔)เมื่อไม่ได้รู้แจ้ง พูดว่าได้รู้แจ้ง
(๔๔) อริยโวหารอีก ๔ อย่าง (พูดตรงตามจริง) (๔๔.๑) เมื่อไม่ได้เห็น พูดว่าไม่ได้เห็น (๔๔.๒)เมื่อไม่ได้ยิน พูดว่าไม่ได้ยิน (๔๔.๓)เมื่อไม่ได้ทราบ พูดว่าไม่ได้ทราบ (๔๔.๔)เมื่อไม่ได้รู้แจ้ง พูดว่าไม่ได้รู้แจ้ง
(๔๕) อนริยโวหารอีก ๔ อย่าง (พูดตรงกันข้าม) (๔๕.๑) เมื่อได้เห็น พูดว่าไม่ได้เห็น (๔๕.๒)เมื่อได้ยิน พูดว่าไม่ได้ยิน (๔๕.๓)เมื่อได้ทราบ พูดว่าไม่ได้ทราบ (๔๕.๔)เมื่อรู้แจ้ง พูดว่าไม่รู้แจ้ง


รายนามผู้เยี่ยมชม : ลิตเติลเกิร์ล, ข้าวหอม, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ต้นฝ้าย, หยาดฟ้า, คิดถึงเสมอ

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..

แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4030
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 537



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #91 เมื่อ: 05, พฤษภาคม, 2568, 09:40:09 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร

(ต่อหน้า ๑๒/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

๔๖) อริยโวหารอีก ๔ อย่าง (พูดตรงตามจริง) ได้แก่ (๔๖.๑)เมื่อได้เห็น พูดว่าได้เห็น (๔๖.๒) เมื่อได้ยิน พูดว่าได้ยิน (๔๖.๓)เมื่อได้ทราบ พูดว่าได้ทราบ (๔๖.๔)เมื่อได้รู้แจ้ง พูดว่าได้รู้แจ้ง
(๔๗) บุคคล ๔ อย่าง บุคคลบางคนในโลกนี้
 (๔๗.๑)เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน เป็นผู้ขวนขวาย ในการประกอบเหตุทำตนให้เดือดร้อน (๔๗.๒)เป็นผู้ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เป็นผู้ขวนขวาย ในการประกอบเหตุทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน (๔๗.๓)เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน เป็นผู้ ขวนขวาย ในการประกอบเหตุทำตนให้ เดือดร้อนด้วย เป็นผู้ทำให้ผู้อื่น เดือดร้อน เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุ ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนด้วย (๔๗.๔)ไม่เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน ไม่เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุ ทำตนให้เดือดร้อน ด้วยเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่น ให้เดือดร้อน ไม่เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุ ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนด้วย เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำ ผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้หายหิวดับสนิท เยือกเย็น เสวยความสุขมีตนเป็นเสมือน พรหมอยู่ในปัจจุบัน
(๔๘) บุคคลอีก ๔ อย่าง บุคคลบางคนในโลกนี้
(๔๘.๑)ทำเพื่อประโยชน์ตน ไม่ทำเพื่อประโยชน์ผู้อื่น (๔๘.๒)ย่อมทำเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ทำเพื่อประโยชน์ตน (๔๘.๓)ย่อมไม่ทำเพื่อประโยชน์ตน ไม่ทำเพื่อประโยชน์ผู้อื่น (๔๘.๔) ย่อมทำเพื่อประโยชน์ตนด้วย เพื่อประโยชน์ผู้อื่นด้วย
(๔๙) บุคคลอีก ๔ อย่าง คือ (๔๙.๑)บุคคลผู้มืดมา กลับมืดไป (๔๙.๒)บุคคลผู้มืดมา กลับสว่างไป (๔๙.๓)บุคคลผู้สว่างมา กลับมืดไป (๔๙.๔) บุคคลผู้สว่างมา กลับสว่างไป
(๕๐) บุคคลอีก ๔ อย่าง คือ สมณมจละ [เป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว], สมณปทุมะ [เป็นสมณะภเปรียบด้วยดอกบัวหลวง], สมณปุณฑรีกะ [เป็นสมณะเปรียบด้วยดอกบัวขาว], สมเณสุ สมณสุขุมาละ [เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในสมณะทั้งหลาย]
ธรรมมีประเภทละ ๕=มี ๒๖ เรื่อง คือ
(๑)ขันธ์ ๕ อย่าง คือ รูปขันธ์ [กองรูป], เวทนาขันธ์ [กองเวทนา], สัญญาขันธ์ [กองสัญญา], สังขารขันธ์ [กองสังขาร],วิญญาณขันธ์ [กองวิญญาณ]
(๒) อุปาทานขันธ์ ๕ อย่าง คือ (๒.๑)รูปูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ รูป) (๒.๒)เวทนูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ เวทนา), (๒.๓)สัญญูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ สัญญา) (๒.๔)สังขารูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ สังขาร)(๒.๕.)วิญญาณูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ วิญญาณ)
(๓) กามคุณ ๕ อย่าง คือ (๓.๑)รูปที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วย กาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด (๓.๒.)เสียงที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยหู ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วย กาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด (๓.๓)กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจมูก ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด (๓.๔)รสที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยลิ้น ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วย กาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด (๓.๕)โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยกาย ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
(๔) คติ ๕ อย่าง ได้แก่ นิรยะ [นรก], ติรัจฉานโยนิ   [กำเนิดดิรัจฉาน], ปิตติวิสัย [ภูมิแห่งเปรต], มนุสสะ [มนุษย์], เทวะ [เทวดา]
(๕) มัจฉริยะ ๕ อย่าง ได้แก่ อาวาสมัจฉริยะ [ตระหนี่ที่อยู่], กุลมัจฉริยะ [ตระหนี่สกุล], ลาภมัจฉริยะ [ตระหนี่ลาภ], วัณณมัจฉริยะ [ตระหนี่วรรณะ], ธัมมมัจฉริยะ [ตระหนี่ธรรม]
(๖) นีวรณ์ ๕ อย่าง ได้แก่ (๖.๑)กามฉันทนีวรณ์ [ธรรมที่กั้นจิต คือ ความพอใจในกาม] (๖.๒)พยาปาทนีวรณ์ [ธรรมที่กั้นจิต คือความพยาบาท], (๖.๓)ถีนมิทธนีวรณ์ [ธรรมที่กั้นจิต คือความที่จิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม] (๖.๔) อุทธัจจกุกกุจจนีวรณ์ [ธรรมที่กั้นจิต คือความฟุ้งซ่านและรำคาญ] (๖.๕)วิจิกิจฉานีวรณ์ [ธรรมที่กั้นจิต คือความสงสัย]


รายนามผู้เยี่ยมชม : ลิตเติลเกิร์ล, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ต้นฝ้าย, คิดถึงเสมอ, หยาดฟ้า, ข้าวหอม

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4030
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 537



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #92 เมื่อ: 06, พฤษภาคม, 2568, 02:41:44 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร

(ต่อหน้า ๑๓/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

(๗) โอรัมภาคิยสังโยชน์  คือสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ อย่าง ได้แก่ สักกายทิฏฐิ [ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน], วิจิกิจฉา [ความสงสัย], สีลัพตปรามาส [ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ด้วยเข้าใจว่ามีได้ด้วยศีลหรือพรต], กามฉันทะ  [ความพอใจด้วยอำนาจแห่งกาม], พยาบาท [ความคิดแก้แค้นผู้อื่น]
(๘) อุทธัมภาคิยสังโยชน์ คือสังโยชน์เบื้องบน ๕ อย่าง
ได้แก่ รูปราคะ [ความติดใจอยู่ในรูปธรรม], อรูปราคะ        [ความติดใจอยู่ในอรูปธรรม], มานะ [ความสำคัญว่าเป็นนั่นเป็นนี่], อุทธัจจะ [ความคิดพล่าน], อวิชชา [ความหลงอันเป็นเหตุไม่รู้จริง]
(๙) สิกขาบท ๕ อย่าง ได้แก่ (๙.๑)ปาณาติปาตา เวรมณี [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการฆ่าสัตว์] (๙.๒)อทินนาทานา เวรมณี [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการลักทรัพย์] (๙.๓)กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม] (๙.๔)มุสาวาทา เวรมณี          [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดเท็จ] (๙.๕) สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณี [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท]
(๑๐) อภัพพฐาน ๕ อย่าง ได้แก่  (๑๐.๑)ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะแกล้งปลงสัตว์จากชีวิต (๑๐.๒)ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะลักทรัพย์ อันเป็นส่วนแห่งความเป็นขโมย (๑๐.๓)ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะเสพเมถุนธรรม (๑๐.๔) ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะพูดเท็จทั้งรู้อยู่ (๑๐.๕)ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะกระทำการสั่งสมบริโภคกาม เหมือนเมื่อครั้งยังเป็น คฤหัสถ์อยู่
(๑๑) พยสนะ ๕ อย่าง ได้แก่ (๑๑.๑)ญาติพยสนะ [ความฉิบหายแห่งญาติ] (๑๑.๒)โภคพยสนะ [ความฉิบหายแห่งโภคะ] (๑๑.๓)โรคพยสนะ [ความฉิบหายเพราะโรค] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ญาติฉิบหายก็ดี เพราะเหตุที่โภคะฉิบหายก็ดี เพราะเหตุ ที่ฉิบหายเพราะโรคก็ดี สัตว์ทั้งหลาย ย่อมจะไม่ต้องเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรกเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก (๑๑.๔)สีลพยสนะ [ความฉิบหายแห่งศีล] (๑๑.๕)ทิฏฐิพยสนะ [ความฉิบหายแห่งทิฐิ] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ศีลพินาศ หรือเพราะเหตุที่ทิฐิพินาศ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมจะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
(๑๒) สัมปทา ๕ อย่าง ได้แก่  (๑๒.๑) ญาติสัมปทา [ความถึงพร้อมด้วยญาติ] (๑๒.๒)โภคสัมปทา [ความถึงพร้อมด้วยโภคะ] (๑๒.๓)อาโรคยสัมปทา [ความถึงพร้อมด้วยความไม่มีโรค] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งญาติสัมปทาก็ดี เพราะเหตุแห่งโภค สัมปทาก็ดี เพราะเหตุแห่งอาโรคยสัมปทาก็ดี สัตว์ทั้งหลาย ย่อมจะไม่เข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก (๑๒.๔.)สีลสัมปทา [ความถึงพร้อมด้วยศีล] (๑๒.๕)ทิฏฐิสัมปทา        [ความถึงพร้อมด้วยทิฐิ] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งสีลสัมปทา หรือเพราะเหตุแห่งทิฐิสัมปทา สัตว์ทั้งหลาย ย่อมจะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
(๑๓) โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล ๕ อย่าง ได้แก่
(๑๓.๑)คนทุศีลมีศีลวิบัติในโลกนี้ ย่อมเข้าถึงความเสื่อมแห่ง โภคะใหญ่ซึ่งมีความประมาทเป็นเหตุ (๑๓.๒) เกียรติศัพท์อันเสียหายของคนทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมระบือไป (๑๓.๓) คนทุศีลมีศีลวิบัติเข้าไปหาบริษัทใดๆ คือขัตติย บริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท หรือสมณบริษัทเป็นผู้ไม่แกล้วกล้า เป็นคน เก้อเขิน เข้าไปหา (๑๓.๔) คนทุศีลมีศีลวิบัติ ย่อมเป็นคนหลงทำกาละ (๑๓.๕) คนทุศีลมีศีลวิบัติ ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
(๑๔) อานิสงส์แห่งศีล สมบัติของคนมีศีล ๕ (๑๔.๑) คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีลในโลกนี้  ย่อมประสบกองแห่ง โภคะใหญ่ ซึ่งมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ (๑๔.๒) เกียรติศัพท์ที่ดีงามของคนมีศีลถึงพร้อม แล้ว ด้วยศีล ย่อมระบือไป (๑๔.๓)คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีลเข้าไปหาบริษัท ใดๆ คือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท หรือสมณบริษัท เป็นผู้แกล้วกล้าไม่เก้อเขิน


รายนามผู้เยี่ยมชม : หยาดฟ้า, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ต้นฝ้าย, ลิตเติลเกิร์ล, ข้าวหอม

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4030
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 537



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #93 เมื่อ: 07, พฤษภาคม, 2568, 10:29:19 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร

(ต่อหน้า ๑๔/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

(๑๔.๔)คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมเป็น ผู้ไม่หลง ทำกาละ (๑๔.๕)คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
(๑๕) ธรรมสำหรับโจทก์ ๕ อย่าง คือ
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้เป็นโจทก์ที่ประสงค์จะโจทก์ผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการไว้ ณ ภายในแล้วจึงโจทก์ผู้อื่น คือ (๑๕.๑)เราจักกล่าวโดยกาลอันควร จักไม่กล่าวโดยกาลอันไม่ควร (๑๕.๒)เราจักกล่าวด้วยคำจริง จักไม่กล่าวด้วยคำไม่จริง (๑๕.๓)เราจักกล่าวด้วยคำอ่อนหวาน จักไม่กล่าวด้วยคำหยาบ (๑๕.๔)เราจักกล่าวด้วยคำที่ประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวด้วยคำที่ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ (๑๕.๕)เราจักกล่าวด้วยเมตตาจิต จักไม่กล่าวด้วยมีโทสะในภายใน อันภิกษุผู้เป็นโจทก์ที่ประสงค์จะโจทก์ผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ ณ ภายในแล้วจึงโจทก์ผู้อื่น
(๑๖)องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร ๕ อย่าง (๑๖.๑)
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ ของ พระตถาคตว่า แม้เพราะนี้ๆ พระผู้มีพระภาคนั้น เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง ถึงพร้อม ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษ ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม
(๑๖.๒)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีทุกข์น้อย ประกอบด้วยเตโชธาตุ อันมี วิบากเสมอกัน ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นอย่างกลางๆ ควรแก่ความเพียร (๑๖.๓)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เปิดเผยตนตามเป็นจริงใน พระศาสดา หรือสพรหมจารีที่เป็นวิญญูชน ทั้งหลาย (๑๖.๔)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อจะละอกุศลธรรม เพื่อจะยัง กุศลธรรม ให้ถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลังใจ มีความ บากบั่นมั่น ไม่ทอดธุระในบรรดาธรรม ที่เป็นกุศล (๑๖.๕)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาที่เห็นเกิดและดับ เป็นปัญญาอย่างประเสริฐ เป็นไปเพื่อชำแรก กิเลส จะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
(๑๗) สุทธาวาส ๕ คือ ภูมิที่เกิดของบุคคลผู้เจริญสมถะจนได้จตุตฌาณและเจริญวิปัสสนาจนได้ตติยมรรค อันได้แก่ อริยบุคคลชั้นอนาคามี เมื่อสิ้นชีวิตไปแล้วจะไปเกิดในสุทธาวาสภูมิแน่นอน อยู่ที่ว่ามีอินทรีย์ ๕ อย่างไหนมีอำนาจมากกว่ากันเป็นตัวกำหนดชั้นที่จะไปเกิด สุทธาวาส แบ่งได้ (๑๗.๑)อวิหา  เหล่าท่านผู้ไม่เสื่อมจากสมบัติของตน หรือผู้ไม่ละไปเร็ว, ผู้คงอยู่นาน(๑๗.๒)อตัปปา เหล่าท่านผู้ไม่ทำความเดือดร้อนแก่ใคร หรือผู้ไม่เดือดร้อนกับใคร (๑๗.๓)สุทัสสา เหล่าท่านผู้งดงามน่าทัศนา (๑๗.๔)สุทัสสี เหล่าท่านผู้มองเห็นชัดเจนดี หรือผู้มีทัศนาแจ่มชัด (๑๗.๕)อกนิฏฐา เหล่าท่านผู้ไม่มีความด้อยหรือเล็กน้อยกว่าใคร, ผู้สูงสุด
 (๑๘) พระอนาคามี ๕ แบ่งได้ (๑๘.๑)อันตราปรินิพพายี   
[พระอนาคามีผู้ที่จะปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ทันถึงกึ่ง] (๑๘.๒)อุปหัจจปรินิพพายี [พระอนาคามีผู้ที่จะปรินิพพานต่อเมื่ออายุพ้นกึ่งแล้วจวนถึงที่สุด] (๑๘.๓)อสังขารปรินิพพายี [พระอนาคามีผู้ที่จะปรินิพพานด้วย ไม่ต้องใช้ความเพียรนัก] (๑๘.๔)สสังขารปรินิพพายี [พระอนาคามีผู้ที่จะปรินิพพานด้วย ต้องใช้ความเพียร] (๑๘.
๕)อุทธโสโต อกนิฏฐคามี [พระอนาคามีผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่ชั้นอกนิฏฐภพ]
(๑๙) ความกระด้างแห่งจิต ๕ อย่าง คือ (๑๙.๑)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่ ไม่เลื่อมใส ในพระศาสดา ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้เคลือบแคลงสงสัย ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น (๑๙.๒) ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่ไม่ เลื่อมใส ในพระธรรม ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร (๑๙.๓)ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่ไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์ ภิกษุย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร  (๑๙.๔) ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่ไม่ เลื่อมใสในสิกขา ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุ ผู้เคลือบแคลงสงสัย (๑๙.๕)  ภิกษุเป็นผู้โกรธขัดเคือง มีจิตอันโทสะ กระทบแล้ว มีจิตเป็นเสมือนตะปู ในสพรหมจารี ทั้งหลาย ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของ ภิกษุ ผู้โกรธขัดเคือง มีจิตอันโทสะกระทบแล้ว มีจิตเสมือนตะปู ย่อมไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียร


รายนามผู้เยี่ยมชม : ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ข้าวหอม, ต้นฝ้าย, ลิตเติลเกิร์ล

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4030
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 537



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #94 เมื่อ: 08, พฤษภาคม, 2568, 05:34:13 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร

(ต่อหน้า ๑๕/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

(๒๐) ความผูกพันธ์แห่งจิต ๕ อย่าง (๒๐.๑)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยานอยากในกาม ทั้งหลาย ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหายความกระวนกระวาย ความทะยานอยากในกามทั้งหลาย ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ  เพื่อความกระทำเป็นไป ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น (๒๐.๒)  ภิกษุเป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยานอยากในกาย ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุ ย่อมไม่น้อมไป เพื่อความเพียร ที่ตั้งมั่น (๒๐.๓) ภิกษุเป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยานอยากในรูป ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหายความกระวนกระวาย ความทะยานอยากในรูป ย่อมไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียร (๒๐.๔)ภิกษุบริโภคอิ่มหนำพอแก่ความต้องการ แล้วประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอนข้าง ความสุขในการหลับอยู่ ภิกษุทั้งหลายจิตของภิกษุ ย่อมไม่น้อมไป เพื่อความเพียร (๒๐.๕)  ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ปรารถนา หมู่เทพเจ้า หมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพเจ้า หรือเป็น เทพ องค์ใด องค์หนึ่ง ดังนี้ ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร
(๒๑) อินทรีย์ ๕ อย่าง ได้แก่ จักขุนทรีย์ [อินทรีย์คือตา], โสตินทรีย์ [อินทรีย์คือหู], ฆานินทรีย์ [อินทรีย์คือจมูก], ชิวหินทรีย์ [อินทรีย์คือลิ้น], กายินทรีย์ [อินทรีย์คือกาย]
(๒๒) อินทรีย์อีก ๕ อย่าง ได้แก่ สุขุนทรีย [อินทรีย์คือสุข], ทุกขินทรีย์ [อินทรีย์คือทุกข์], โสมนัสสินทรีย์    [อินทรีย์คือโสมนัส], โทมนัสสินทรีย์ [อินทรีย์คือโทมนัส], อุเปกขินทรีย์ [อินทรีย์คืออุเบกขา]
(๒๓) อินทรีย์อีก ๕ อย่าง ได้แก่ สัทธินทรีย์ [อินทรีย์คือศรัทธา], วิริยินทรีย์ [อินทรีย์คือวิริยะ], สตินทรีย์     [อินทรีย์คือสติ], สมาธินทรีย์ [อินทรีย์คือสมาธิ], ปัญญินทรีย์ [อินทรีย์คือปัญญา]
(๒๔) นิสสารณียธาตุ ๕ อย่าง ได้แก่ (๒๔.๑)เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มนสิการถึงกามทั้งหลายอยู่ จิตย่อม ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษ ในเพราะกามทั้งหลาย แต่ว่า เมื่อเธอ มนสิการ ถึงเนกขัมมะอยู่แล จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใสตั้งอยู่ พ้นวิเศษ ในเพราะเนกขัมมะ จิตของเธอนั้นไปดีแล้ว อบรมดีแล้วออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้วจาก กาม ทั้งหลาย และเธอ พ้นแล้วจากอาสวะ อันเป็นเหตุเดือดร้อน กระวนกระวาย ซึ่งมีกาม เป็นปัจจัยเกิดขึ้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่า เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งกาม ทั้งหลาย (๒๔.๒)เมื่อภิกษุมนสิการถึงความพยาบาทอยู่ จิตย่อม ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษ ในเพราะความพยาบาท แต่ว่าเมื่อเธอ มนสิการ ถึงความไม่พยาบาทอยู่แล จิตย่อมแล่นไปเลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษในเพราะ ความไม่พยาบาทจิตของเธอนั้นไปดีแล้วอบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้ว จากความพยาบาท และเธอพ้นแล้วจาก อาสวะ อันเป็นเหตุ เดือดร้อน กระวน กระวาย ซึ่งมีความพยาบาทเป็นปัจจัยเกิดขึ้น เธอย่อมไม่เสวย เวทนา นั้น (๒๔.๓)เมื่อภิกษุมนสิการถึงความเบียดเบียนอยู่ จิตย่อม ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษ ในเพราะความเบียดเบียน แต่ว่าเมื่อเธอ มนสิการถึงความไม่เบียดเบียนอยู่แล จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษในเพราะ ความไม่เบียดเบียน จิตของเธอนั้นไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้วจากความ เบียดเบียน และเธอพ้นแล้วจาก อาสวะ อันเป็นเหตุเดือดร้อน กระวนกระวาย ซึ่งมีความเบียดเบียนเป็นปัจจัยเกิดขึ้น และเธอ ย่อมไม่เสวยเวทนานั้น (๒๔.๔)  เมื่อภิกษุมนสิการถึงรูปทั้งหลายอยู่ จิตย่อม ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษ ในเพราะรูปทั้งหลายแต่ว่า เมื่อเธอ มนสิการ ถึงอรูปอยู่แล จิตย่อมแล่นไปื่ เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษในเพราะอรูป จิตของ เธอนั้น ไปดีแล้วอบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้วพรากแล้ว จากรูป ทั้งหลาย และเธอพ้นแล้วจากอาสวะอันเป็นเหตุเดือดร้อน กระวนกระวาย ซึ่งมีรูป เป็นปัจจัย เกิดขึ้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น


รายนามผู้เยี่ยมชม : หยาดฟ้า, ข้าวหอม, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ต้นฝ้าย, ลิตเติลเกิร์ล

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4030
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 537



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #95 เมื่อ: 09, พฤษภาคม, 2568, 08:32:48 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร

(ต่อหน้า ๑๖/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

(๒๔.๕) เมื่อภิกษุมนสิการถึงกายของตนอยู่ จิตย่อม ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งใจอยู่ ไม่พ้นวิเศษ ในเพราะกายของตน แต่ว่าเมื่อเธอ มนสิการถึงความดับแห่งกายของตนอยู่แล จิตย่อมแล่นไปเลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษ ในเพราะ ความดับ แห่งกายของตน จิตของเธอนั้นไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้วจากกาย ของตนและเธอ พ้นแล้ว จากอาสวะอันเป็นเหตุ เดือดร้อนกระวนกระวาย ซึ่งมีกายของตน เป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น
(๒๕) วิมุตตายตนะ [แดนแห่งวิมุตติ] ๕ อย่าง ฟได้แก่ (๒๕.๑)ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีองค์ใดองค์หนึ่ง ซึ่งควรแก่ ตำแหน่งครู ย่อมแสดงธรรมแก่ภิกษุ ในพระธรรมวินัยนี้ ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนั้น รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ในธรรมนั้นโดยประการที่พระศาสดา หรือเพื่อนสพรหมจารี องค์ใดองค์หนึ่งซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู แสดงแก่เธอความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอ ผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรมความอิ่มใจ ย่อมเกิด แก่เธอผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอ ผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ เธอผู้มีกายสงบระงับแล้ว ย่อมเสวยความสุข จิตของเธอ ผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น (๒๕.๒)พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี องค์ใด องค์หนึ่ง ซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู หาได้แสดงธรรม แก่ภิกษุไม่เลย แต่เธอแสดงธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนไว้แก่คนอื่นๆ โดยพิสดาร ภิกษุนั้นย่อมรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ในธรรมนั้น โดยอาการที่ตนได้แสดงแก่คนอื่นๆ นั้น ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอ ผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจย่อมเกิดแก่เธอ ผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอ ผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ เธอผู้มีกายสงบระงับแล้วย่อมเสวยความสุข จิตของเธอผู้มี ความสุข ย่อมตั้งมั่น (๒๕.๓)พระศาสดา หรือเพื่อนสพรหมจารี องค์ใด องค์หนึ่ง ซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู หาได้แสดงธรรม แก่ภิกษุไม่เลย แต่เธอกระทำการ สาธยายธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนไว้แล้วโดยพิสดาร ภิกษุนั้นย่อมรู้แจ้งอรรถรู้ แจ้งธรรม ในธรรมนั้น โดยอาการที่ตนกระทำการสาธยายนั้น ความปราโมทย์ ย่อมเกิดแก่เธอ ผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจ ย่อมเกิด แก่เธอ ผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ เธอผู้มีกายสงบระงับแล้ว ย่อมเสวยความสุข จิตของเธอ ผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น (๒๕.๔)ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี องค์ใด องค์หนึ่งซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู หาได้แสดงธรรม แก่ภิกษุไม่เลย แต่ว่าเธอตรึกตรอง ตาม ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนไว้ด้วยจิต เพ่งตามด้วยใจ ภิกษุนั้นย่อมรู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ในธรรมนั้น โดยอาการที่ตนตรึกตรองตามด้วยจิต เพ่งตามด้วยใจนั้น ความปราโมทย์ ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจ ย่อมเกิดแก่เธอ ผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมสงบระงับเธอผู้มีกายสงบ ระงับ แล้ว ย่อมเสวยความสุข จิตของเธอผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น (๒๕.๕)พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี องค์ใด องค์หนึ่งซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู หาได้แสดงธรรม แก่ภิกษุไม่เลย แต่ว่าเธอเรียนสมาธิ นิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา ภิกษุนั้นย่อมรู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรมในธรรมนั้น โดยอาการที่ได้เรียนสมาธิ นิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยดี ทำ ไว้ในใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดีแทงตลอด ด้วยดี ด้วยปัญญาแล้วนั้น ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจ ย่อมเกิด แก่เธอ ผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอผู้มีใจประกอบด้วยปีติย่อมสงบระงับ เธอผู้มีกายสงบระงับแล้วย่อมเสวยความสุข จิตของเธอผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น
(๒๖) สัญญาอบรมวิมุตติ ๕ อย่าง ได้แก่ (๒๖.๑)อนิจจสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณ เป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่าเป็นของไม่เที่ยง] (๒๖.๒)อนิจเจ ทุกขสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณ เป็นเครื่องพิจารณา เห็นว่าเป็นทุกข์ในสิ่งที่ไม่เที่ยง](๒๖.๓)ทุกเข อนัตตสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณ เป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่าไม่ใช่ตนในสิ่งที่เป็นทุกข์] (๒๖.๔)ปหานสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณ เป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่าควรละเสีย] (๒๖.๕)วิราคสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นความคลายเสียซึ่งความกำหนัด]


รายนามผู้เยี่ยมชม : หยาดฟ้า, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ลิตเติลเกิร์ล, ต้นฝ้าย, ข้าวหอม

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4030
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 537



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #96 เมื่อ: 10, พฤษภาคม, 2568, 08:48:10 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร

(ต่อหน้า ๑๗/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

ธรรมมีประเภทละ ๖ = มีรวม ๒๒ เรื่อง
(๑)อายตนะภายใน ๖ อย่าง คือ อายตนะ คือตา, อายตนะ คือหู, อายตนะ คือจมูก, อายตนะ คือลิ้น, อายตนะ คือกาย, อายตนะ คือใจ
(๒) อายตนะภายนอก ๖ อย่าง คือ (๒.๑) อายตนะ คือ รูป (๒.๒)อายตนะ คือ เสียง (๒.๓)อายตนะ คือ กลิ่น (๒.๔) อายตนะ คือ รส (๒.๕)อายตนะ คือ โผฏฐัพพะ (๒.๖) อายตนะ คือ ธรรม
(๓) หมวดวิญญาณ ๖ ได้แก่ จักขุวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยตา], โสตวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยหู], ฆานวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยจมูก], ชิวหาวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยลิ้น], กายวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยกาย], มโนวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยใจ]
(๔) หมวดผัสสะ ๖ ได้แก่ จักขุสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยตา], โสตสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยหู], ฆานสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยจมูก], ชิวหาสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยลิ้น], กายสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยกาย], มโนสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยใจ]
(๕)หมวดเวทนา ๖ ได้แก่ (๕.๑)จักขุสัมผัสสชาเวทนา     [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยตา] (๕.๒)โสตสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยหู] (๕.๓) ฆานสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยจมูก], (๕.๔)ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยลิ้น] (๕.๕)กายสัมผัสสชาเวทนา     [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยกาย] (๕.๖)มโนสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยใจ]
(๖) หมวดสัญญา ๖ ได้แก่ (๖.๑)รูปสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดรูปเป็นอารมณ์] (๖.๒)สัททสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดเสียงเป็นอารมณ์] (๖.๓)คันธสัญญ [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดกลิ่นเป็นอารมณ์] (๖.๔) รสสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดรสเป็นอารมณ์] (๖.๕)โผฏฐัพพสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์] (๖.๖)ธัมมสัญญา        [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดธรรมเป็นอารมณ์]
(๗) หมวดสัญเจตนา ๖ ได้แก่ (๗.๑)รูปสัญเจตนา         [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดรูปเป็นอารมณ์] (๗.๒) สัททสัญเจตนา [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดเสียงเป็นอารมณ์]
(๗.๓)คันธสัญเจตนา [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดกลิ่นเป็นอารมณ์] (๗.๔) รสสัญเจตนา [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดรสเป็นอารมณ์] (๗.๕)โผฏฐัพพสัญเจตนา [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์] (๗.๖) ธัมมสัญเจตนา [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดธรรมเป็นอารมณ์]
(๘)หมวดตัณหา ๖ ได้แก่ (๘.๑)รูปตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดรูปเป็นอารมณ์] (๘.๒)สัททตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดเสียงเป็นอารมณ์] (๘.๓)คันธตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดกลิ่นเป็นอารมณ์] (๘.๔)รสตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดรสเป็นอารมณ์] (๘.๕)โผฏฐัพพตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์] (๘.๖)ธัมมตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดธรรมเป็นอารมณ์]
(๙) อคารวะ ๖ อย่าง  คือ (๙.๑)ภิกษุเป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรง  ในพระศาสดาอยู่ (๙.๒)เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระธรรมอยู่ (๙.๓)เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระสงฆ์อยู่ (๙.๔) เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในการศึกษาอยู่ (๙.๕)เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในความไม่ประมาทอยู่ ๙.๖. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในการปฏิสันถารอยู่
(๑๐) คารวะ ๖ อย่าง ภิกษุ (๑๐.๑)เป็นผู้เคารพยำเกรงในพระศาสดาอยู่ (๑๐.๒)เป็นผู้เคารพยำเกรงในพระธรรมอยู่ (๑๐.๓)เป็นผู้เคารพยำเกรงในพระสงฆ์อยู่ (๑๐.๔)เป็นผู้เคารพยำเกรงในการศึกษาอยู่ (๑๐.๕)เป็นผู้เคารพยำเกรงในความไม่ประมาทอยู่ (๑๐.๖)เป็นผู้เคารพยำเกรงในการปฏิสันถารอยู่
(๑๑) โสมนัสสุปวิจาร ๖ อย่าง ได้แก่ (๑๑.๑)เห็นรูปด้วยตาแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส (๑๑.๒)ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว เข้าไปใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส (๑๑.๓) ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว เข้าไปใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส (๑๑.๔)ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส (๑๑.๕)ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว เข้าไปใคร่ครวญโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่ง โสมนัส (๑๑.๖)รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เข้าไปใคร่ครวญธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส


รายนามผู้เยี่ยมชม : ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ลิตเติลเกิร์ล, หยาดฟ้า, ต้นฝ้าย, ข้าวหอม

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4030
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 537



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #97 เมื่อ: 11, พฤษภาคม, 2568, 10:53:19 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร

(ต่อหน้า ๑๘/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

(๑๒) โทมนัสสุปวิจาร ๖ อย่าง ได้แก่ (๑๒.๑)เห็นรูปด้วยตาแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส (๑๒.๒)ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว เข้าไปใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส (๑๒.๓)ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว เข้าไปใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส (๑๒.๔)ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส (๑๒.๕.)ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว เข้าไปใคร่ครวญโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่ง โทมนัส (๑๒.๖)รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เข้าไปใคร่ครวญธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
(๑๓) อุเปกขูปวิจาร ๖ อย่าง ได้แก่ (๑๓.๑)เห็นรูปด้วยตาแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา (๑๓.๒) ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว เข้าไปใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา (๑๓.๓)ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว เข้าไปใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา (๑๓.๔)ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
(๑๓.๕)ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว เข้าไปใคร่ครวญโผฏฐัพพะ อันเป็นที่ตั้งแห่ง อุเบกขา (๑๓.๖)รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เข้าไปใคร่ครวญธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
(๑๔) สาราณียธรรม ๖ อย่าง ได้แก่ (๑๔.๑) ภิกษุเข้าไปตั้งกายกรรม ประกอบด้วย เมตตา ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง (๑๔.๒)ภิกษุเข้าไปตั้งวจีกรรม ประกอบด้วย เมตตาในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้า และลับหลัง (๑๔.๓)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งมโนกรรม ประกอบด้วย เมตตา ในเพื่อนสพรหมจารี ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง (๑๔.๔)ลาภอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งประกอบด้วย ธรรม ได้มาแล้วโดยธรรม โดยที่สุดแม้เพียงอาหาร ในบาตร ไม่หวงกันด้วยลาภ เห็นปาน ดังนั้น แบ่งปันกับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีล ธรรม (๑๔.๕)ศีลอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ ไม่เกี่ยวด้วยตัณหาและทิฐิ เป็นไป เพื่อสมาธิ ภิกษุเป็นผู้ถึงความเป็นผู้เสมอกันโดยศีลในศีลเห็นปานดังนั้น กับเพื่อน สพรหมจาร ีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลังอยู่ (๑๔.๖)ทิฐิอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่ง ประเสริฐ  เป็นเครื่อง นำสัตว์ ออกจากทุกข์ ย่อมนำออกเพื่อความ สิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำ ทิฐินั้น ภิกษุเป็นผู้ถึงความ เป็นผู้เสมอกัน โดยทิฐิในทิฐิเห็นปานดังนั้น กับเพื่อน สพรหมจารี ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้า และ ลับหลังอยู่
(๑๕)มูลเหตุแห่งการวิวาท ๖ อย่าง คือ (๑๕.๑) ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ มักผูกโกรธไว้ ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรง แม้ในพระศาสดา,ในพระธรรมและพระสงฆ์อยู่ ย่อมจะไม่เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา ย่อมจะก่อความวิวาท ไม่เป็นประโยชน์สุขแก่ชนมาก เพื่อความ พินาศแก่ชนมาก เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ แก่เทวดา (๑๕.๒)ภิกษุผู้ลบหลู่ตีเสมอ ผู้มีอายุทั้งหลาย ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรง แม้ในพระศาสดา,ในพระธรรมและพระสงฆ์อยู่ย่อมจะไม่เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ แม้ในสิกขาย่อมจะก่อความวิวาท มิเป็นประโยชน์แก่ชน แต่เพื่อความพินาศแก่ชน (๑๕.๓)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักริษยา มีความตระหนี่ ย่อมจะไม่เคารพไม่ยำเกรง แม้ใน พระศาสดา,ในพระธรรม,พระสงฆ์อยู่ ย่อมจะก่อความวิวาทแก่ชนมาก (๑๕.๔)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรง แม้ในพระศาสดา,พระธรรม, พระสงฆ์อยู่ ย่อมจะไม่เป็น ผู้กระทำ ให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา ย่อมจะก่อความวิวาท (๑๕.๕)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด ย่อมจะไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระศาสดา, พระธรรม, พระสงฆ์อยู่ ย่อมจะไม่เป็นผู้กระทำ ให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา ย่อมจะก่อความวิวาท ซึ่งเป็นไป เพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนมาก ย่อมจะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้เสีย (๑๕.๖)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ยึดมั่นในความเห็นของตน มักถือรั้น คลายได้ยาก ย่อมจะไม่เคารพไม่ยำเกรงแม้ในพระศาสดา,พระธรรม,พระสงฆ์อยู่ ย่อมเป็นผู้ ไม่กระทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขาย่อมจะก่อความวิวาท ซึ่งเป็นไปเพื่อ มิใช่ ประโยชน์แก่ชนมาก พึงละมูลเหตุแห่งความวิวาท อันเลวทรามเช่นนั้นเสีย
(๑๖) ธาตุ ๖ อย่าง ได้แก่ ปฐวีธาตุ [ธาตุดิน], อาโปธาตุ [ธาตุน้ำ], เตโชธาตุ [ธาตุไฟ], วาโยธาตุ [ธาตุลม], อากาศธาตุ [ธาตุอากาศ ช่องว่างมีในกาย], วิญญาณธาตุ [ธาตุวิญญาณ ความรู้อะไรได้]


รายนามผู้เยี่ยมชม : ลิตเติลเกิร์ล, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ต้นฝ้าย, ข้าวหอม, หยาดฟ้า

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4030
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 537



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #98 เมื่อ: 11, พฤษภาคม, 2568, 04:41:43 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร

(ต่อหน้า ๑๙/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

(๑๗) สสารณียธาตุ ๖ อย่าง คือ (๑๗.๑)ภิกษุพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุติที่ ประกอบด้วย เมตตาแล อันเราอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้ เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้วแต่ถึงอย่างนั้น พยาบาท ก็ยัง ครอบงำจิตของเราตั้ง อยู่ได้ ดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่า ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มี พระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึง ตรัสไว้อย่างนี้เลย ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่ว่า เมื่อบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติที่ประกอบด้วยเมตตา แต่ถึงอย่างนั้น พยาบาทก็ยังจัก ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนี้ มิใช่ฐานะจะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะธรรมชาติคือเจโตวิมุติ ที่ประกอบด้วยเมตตานี้ เป็นเครื่อง สลัดออก ซึ่งความพยาบาท (๑๗.๒)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า  เจโตวิมุติ ที่ประกอบ ด้วย กรุณาแล อันเราอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้น วิเหสา ก็ยังครอบงำจิตของเรา ตั้งอยู่ได้ ดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่า ท่านอย่าได้กล่าว อย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่ พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาค ไม่พึงตรัสไว้อย่างนี้เลย ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่ว่าเมื่อบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้วทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุตติที่ประกอบด้วยกรุณา แต่ถึงอย่างนั้น วิเหสาก็จักยังครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนี้มิใช่ฐานะจะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะธรรมชาติคือ เจโตวิมุติที่ประกอบด้วย กรุณานี้เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งวิเหสา (๑๗.๓)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุติ ที่ประกอบด้วย มุทิตาแล อันเราอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้วคล่อง แคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้น อรติก็ยังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ได้ เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่า ท่านอย่าได้กล่าว อย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่ พระผู้มีพระภาค ไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสไว้อย่างนี้เลยผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่ว่าเมื่อบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติที่ประกอบด้วยมุทิตา แต่ถึงอย่างนั้น อรติก็จัก ยังครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสข้อนี้มิใช่ฐานะจะมีได้ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะธรรมชาติคือเจโตวิมุติ ที่ประกอบด้วยมุทิตานี้เป็นเครื่อง สลัดออกซึ่งอรติ (๑๗.๔)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุติที่ประกอบ ด้วยอุเบกขาแล อันเราอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้วทำให้เป็น ที่ตั้ง แล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้น  ราคะก็ยังครอบงำ จิตของเราตั้งอยู่ได้ดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่า ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุ อย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค ไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสไว้อย่างนี้เลย ผู้มีอายุทั้งหลายข้อที่ว่า เมื่อบุคคล อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้วคล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติที่ประกอบด้วยอุเบกขาแต่ถึงอย่างนั้น ราคะก็จักยังครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสข้อนี้มิใช่ฐานะ จะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะธรรมชาติคือเจโตวิมุติ ที่ประกอบด้วยอุเบกขานี้ เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งราคะ (๑๗.๕)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุติ ที่ไม่มีนิมิตแล อันเราอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้วทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้นวิญญาณที่แล่นไปตามนิมิตนี้ ก็ยังมีอยู่แก่เราดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่าท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้ พูดอย่างนี้ ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสไว้อย่างนี้เลย ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่ว่าเมื่อบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้วทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติที่หานิมิตมิได้แต่ถึงอย่างนั้น วิญญาณที่แล่นไปตามนิมิต ก็ยังจักมีแก่เขา ดังนี้ มิใช่ฐานะมิใช่โอกาสข้อนี้มิใช่ฐานะจะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมชาติคือเจโตวิมุติที่ไม่มีนิมิตนี้ เป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งนิมิตทุกอย่าง (๑๗.๖)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เมื่อการถือว่าเรามีอยู่ ดังนี้ ของเราหมดไปแล้ว เราก็มิได้พิจารณาเห็นว่า เรานี้มีอยู่แต่ถึงอย่างนั้น ลูกศรคือ ความเคลือบแคลงสงสัย ก็ยังครอบงำจิตของเรา ตั้งอยู่ได้ดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าว ดังนี้ว่าท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านอย่าได้กล่าวตู่ พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค ไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสไว้ อย่างนี้เลย ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่ว่าเมื่อการถือว่าเรามีอยู่ดังนี้หมดไปแล้ว และเมื่อเขามิได้พิจารณาเห็นว่า เรานี้มีอยู่ แต่ถึงอย่างนั้น ลูกศรคือความเคลือบแคล สงสัย ก็จักยังครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสข้อนี้มิใช่ฐานะ จะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะธรรมชาติ คือการเพิกถอน การถือว่าเรามีอยู่นี้เป็นเครื่อง สลัดออก ซึ่งลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัย


รายนามผู้เยี่ยมชม : ต้นฝ้าย, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ข้าวหอม, หยาดฟ้า, ลิตเติลเกิร์ล

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4030
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 537



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #99 เมื่อ: 12, พฤษภาคม, 2568, 07:39:39 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๒๐/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

(๑๘) อนุตตริยะ ๖ อย่าง คือ (๑๘.๑)ทัสสนานุตตริยะ [การเห็นอย่างยอดเยี่ยม] (๑๘.๒) สวนานุตตริยะ [การฟังอย่างยอดเยี่ยม (๑๘.๓)ลาภานุตตริยะ [การได้อย่างยอดเยี่ยม] (๑๘.๔) สิกขานุตตริยะ[การศึกษาอย่างยอดเยี่ยม] (๑๘.๕)ปาริจริยานุตตริยะ [การบำเรออย่างยอดเยี่ยม] (๑๘.๖)อนุสสตานุตตริยะ [การระลึกถึงอย่างยอดเยี่ยม]
(๑๙) อนุสสติฐาน ๖ อย่าง คือ พุทธานุสสติ [ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า], ธัมมานุสสติ [ระลึกถึงคุณของพระธรรม], สังฆานุสสติ [ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์], สีลานุสสติ [ระลึกถึงศีล], จาคานุสสติ [ระลึกถึงทานที่ตนบริจาค], เทวตานุสสติ [ระลึกถึงเทวดา]
(๒๐) สตตวิหาร [ธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองๆ] ๖ อย่าง คือ (๒๐.๑)ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยนัยน์ตาแล้ว ย่อมเป็น ผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ (๒๐.๒)ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะ อยู่ (๒๐.๓)ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย  มีสติสัมปชัญญะอยู่ (๒๐.๔)ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ (๒๐.๕)ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉยมีสติ สัมปชัญญะอยู่ (๒๐.๖)รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย   มีสติสัมปชัญญะอยู่
(๒๑) อภิชาติ ๖ อย่าง ได้แก่ (๒๑.๑)บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ดำ ประสพธรรมฝ่ายดำ (๒๑.๒)บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ดำ ประสพธรรมฝ่ายขาว (๒๑.๓)บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ดำ ประสพพระนิพพาน ซึ่งเป็นฝ่าย ที่ไม่ดำไม่ขาว (๒๑.๔) บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ขาว ประสพธรรมฝ่ายขาว (๒๑.๕)บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ขาว ประสพธรรมฝ่ายดำ (๒๑.๖)บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ขาว ประสพพระนิพพานซึ่ง เป็นฝ่ายที่ ไม่ดำไม่ขาว
(๒๒) นิพเพธภาคิยสัญญา ๖ อย่าง ได้แก่ (๒๒.๑)อนิจจสัญญา [กำหนดหมายความไม่เที่ยง] (๒๒.๒)อนิจเจ ทุกขสัญญา [กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในสิ่งที่ไม่เที่ยง] (๒๒.๓)ทุกเข อนัตตสัญญา [กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในสิ่งที่เป็นทุกข์] (๒๒.๔)ปหานสัญญา [กำหนดหมายเพื่อละ] (๒๒.๕)วิราคสัญญา [กำหนดหมายเพื่อคลายเสียซึ่งความกำหนัด (๒๒.๖)นิโรธสัญญา [กำหนดหมายเพื่อความดับสนิท]
ธรรมมีประเภทละ ๗ =มีรวม ๑๔ เรื่อง คือ
(๑) อริยทรัพย์ ๗ อย่าง ได้แก่ สัทธาธนัง [ทรัพย์คือศรัทธา], สีลธนัง [ทรัพย์คือศีล], หิริธนัง [ทรัพย์คือหิริ],โอตตัปปธนัง [ทรัพย์คือโอตตัปปะ], สุตธนัง [ทรัพย์คือสุตะ] ,จาคธนัง [ทรัพย์คือจาคะ], ปัญญาธนัง [ทรัพย์คือปัญญา]
(๒) โพชฌงค์ ๗ อย่าง ได้แก่ (๒.๑)สติสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความระลึกได้] (๒.๒)ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือการสอดส่องธรรม] (๒.๓) วิริยสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความเพียร] (๒.๔)ปีติสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความอิ่มใจ] (๒.๕)ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความสงบ] (๒.๖)สมาธิสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความตั้งใจมั่น] (๒.๗)อุเปกขาสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือ ความวางเฉย]
(๓) บริขารของสมาธิ ๗ อย่าง ได้แก่
(๓.๑)สัมมาทิฏฐิ [ความเห็นชอบ], (๓.๒)สัมมาสังกัปปะ [ความดำริชอบ] (๓.๓)สัมมาวาจา [เจรจาชอบ] (๓.๔)สัมมากัมมันตะ [การงานชอบ]
(๓.๕)สัมมาอาชีวะ [เลี้ยงชีวิตชอบ] (๓.๖)สัมมาวายามะ [พยายามชอบ] (๓.๗)สัมมาสติ [ระลึกชอบ]
(๔) อสัทธรรม ๗ อย่าง คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นคนไม่มีศรัทธา, เป็นคนไม่มีหิริ, เป็นคนไม่มีโอตตัปปะ, เป็นคนมีสุตะน้อย, เป็นคนเกียจคร้าน, เป็นคนมีสติหลงลืม, เป็นคนมีปัญญาทราม
(๕) สัทธรรม ๗ อย่าง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
เป็นคนมีศรัทธา, เป็นคนมีหิริ, เป็นคนมีโอตตัปปะ, เป็นคนมีพหูสูต, เป็นคนปรารภความเพียร, เป็นคนมีสติมั่นคง, เป็นคนมีปัญญา
(๖) สัปปุริสธรรม ๗ อย่าง คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้รู้จักเหตุ, เป็นผู้รู้จักผล, เป็นผู้รู้จักตน, เป็นผู้รู้จักประมาณ, เป็นผู้รู้จักกาล, เป็นผู้รู้จักบริษัท, เป็นผู้รู้จักบุคคล
(๗) นิทเทสวัตถุ ๗ อย่าง คือภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ (๗.๑)เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการสมาทานสิกขา ทั้งเป็นผู้ไม่หมดความรักในการสมาทานสิกขาต่อไปด้วย (๗.๒)เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการไตร่ตรองธรรม ทั้งเป็นผู้ไม่หมดความรักในการไตร่ตรองธรรมต่อไปด้วย (๗.๓)เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการปราบปรามความอยาก ทั้งเป็นผู้ไม่หมดความรักในการปราบปรามความอยากต่อไปด้วย
(๗.๔)เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการเร้นอยู่ ทั้งเป็นผู้ไม่หมดความรักในการเร้นอยู่ต่อไปด้วย (๗.๕)เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการปรารภความเพียร ทั้งเป็นผู้ไม่หมดความรักในการปรารภความเพียรต่อไปด้วย


รายนามผู้เยี่ยมชม : ข้าวหอม, หยาดฟ้า, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ต้นฝ้าย, ลิตเติลเกิร์ล

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4030
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 537



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #100 เมื่อ: 12, พฤษภาคม, 2568, 06:50:52 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๒๑/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

(๗.๖)เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในสติและปัญญาเครื่องรักษาตน ทั้งเป็นผู้ไม่หมดความรักในสติและปัญญาเครื่องรักษาตนต่อไปด้วย (๗.๗)เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการแทงตลอดซึ่งทิฐิ ทั้งเป็นผู้ไม่หมดความรักในการแทงตลอดซึ่งทิฐิต่อไปด้วย
(๘) สัญญา ๗ อย่าง ได้แก่
อนิจจสัญญา [กำหนดหมายความไม่เที่ยง], อนัตตสัญญา [กำหนดหมายเป็นอนัตตา], อสุภสัญญา [กำหนดหมายความไม่งาม], อาทีนวสัญญา [กำหนดหมายโทษ], ปหานสัญญา [กำหนดหมายเพื่อละ], วิราคสัญญา [กำหนดหมายวิราคะ], นิโรธสัญญา [กำหนดหมายนิโรธ]
(๙) พละ ๗ อย่าง ได้แก่
สัทธาพละ [กำลังคือศรัทธา], วิริยพละ [กำลังคือความเพียร], หิริพละ[กำลังคือหิริ], โอตตัปปพละ [กำลังคือโอตตัปปะ], สติพละ [กำลังคือสติ],สมาธิพละ [กำลังคือสมาธิ], ปัญญาพละ [กำลังคือปัญญา]
(๑๐) วิญญาณฐิติ ๗ อย่าง คือ
(๑๐.๑) มีสัตว์พวกหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น  พวกมนุษย์และพวกเทพ บางพวก พวกวินิปาติกะบางพวก (๑๐.๒)มีสัตว์พวกหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพผู้นับเนื่องใน พวกพรหม ซึ่งเกิดในภูมิปฐมฌาน (๑๐.๓)มีสัตว์พวกหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เช่นพวกเทพเหล่า อาภัสสระ (๑๐.๔)มีสัตว์พวกหนึ่งมี กายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพ เหล่า สุภกิณหา  (๑๐.๕)มีสัตว์พวกหนึ่ง เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่าอากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา โดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึง นานัตตสัญญา (๑๐.๖)มีสัตว์พวกหนึ่งก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าถึงวิญญา ณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ (๑๐.๗)มีสัตว์พวกหนึ่งก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าถึงอากิญ จัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่าไม่มีอะไร
(๑๑) ทักขิเณยยบุคคล ๗ อย่าง
(๑๑.๑) อุภโตภาควิมุตต [ท่านผู้หลุดพ้นแล้วโดยส่วนทั้งสอง] (๑๑.๒)ปัญญาวิมุตต [ท่านผู้หลุดพ้นแล้วด้วยอำนาจปัญญา] (๑๑.๓)กายสักขิ [ท่านผู้สามารถด้วยกาย] (๑๑.๔)ทิฏฐิปัตต              [ท่านผู้ถึงแล้วด้วยความเห็น] (๑๑.๕)สัทธาวิมุตต [ท่านผู้พ้นแล้วด้วยอำนาจศรัทธา] (๑๑.๖) ธัมมานุสารี [ท่านผู้ประพฤติตามธรรม] (๑๑.๗) สัทธานุสารี [ท่านผู้ประพฤติตามศรัทธา]
(๑๒) อนุสัย ๗ อย่าง ได้แก่
(๑๒.๑) กามราคานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความกำหนัดในกาม] (๑๒.๒)ปฏิฆานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความกระทบกระทั่งแห่งจิต] (๑๒.๓)ทิฏฐานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความเห็น] (๑๒.๔)วิจิกิจฉานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความสงสัย] (๑๒.๕)มานานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความถือตัว]
(๑๒.๖)ภวราคานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความกำหนัดในภพ] (๑๒.๗)อวิชชานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในดันดานคือความไม่รู้]
(๑๓) สัญโญชน์ ๗ อย่าง ได้แก่
(๑๓.๑)กามสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความใคร่] (๑๓.๒)ปฏิฆสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความกระทบกระทั่งแห่งจิต] (๑๓.๓)ทิฏฐิสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความเห็น] (๑๓.๔)วิจิกิจฉาสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความสงสัย] (๑๓.๕)มานสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความถือตัว] (๑๓.๖)ภวราคสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความกำหนัดในภพ] (๑๓.๗)อวิชชาสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความไม่รู้]
(๑๔) อธิกรณสมถะ ๗ อย่าง เพื่อความสงบ เพื่อความระงับอธิกรณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว
(๑๔.๑)พึงให้สัมมุขาวินัย (๑๔.๒)พึงให้สติวินัย
(๑๔.๓)พึงให้อมุฬหวินัย (๑๔.๔)พึงปรับตามปฏิญญา (๑๔.๕)พึงถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ (๑๔.๖)พึงปรับตามความผิดของจำเลย (๑๔.๗)พึงใช้ติณวัตถารกวิธี [ประนีประนอมดังกลบไว้ด้วยหญ้า]


รายนามผู้เยี่ยมชม : ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ต้นฝ้าย, ลิตเติลเกิร์ล, หยาดฟ้า, ข้าวหอม

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4030
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 537



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #101 เมื่อ: 13, พฤษภาคม, 2568, 10:45:11 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๒๑/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

(๗.๖)เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในสติและปัญญาเครื่องรักษาตน ทั้งเป็นผู้ไม่หมดความรักในสติและปัญญาเครื่องรักษาตนต่อไปด้วย (๗.๗)เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการแทงตลอดซึ่งทิฐิ ทั้งเป็นผู้ไม่หมดความรักในการแทงตลอดซึ่งทิฐิต่อไปด้วย
(๘) สัญญา ๗ อย่าง ได้แก่
อนิจจสัญญา [กำหนดหมายความไม่เที่ยง], อนัตตสัญญา [กำหนดหมายเป็นอนัตตา], อสุภสัญญา [กำหนดหมายความไม่งาม], อาทีนวสัญญา [กำหนดหมายโทษ], ปหานสัญญา [กำหนดหมายเพื่อละ], วิราคสัญญา [กำหนดหมายวิราคะ], นิโรธสัญญา [กำหนดหมายนิโรธ]
(๙) พละ ๗ อย่าง ได้แก่
สัทธาพละ [กำลังคือศรัทธา], วิริยพละ [กำลังคือความเพียร], เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความเห็น] (๑๓.๔)วิจิกิจฉาสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความสงสัย] (๑๓.๕)มานสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความถือตัว] (๑๓.๖)ภวราคสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความกำหนัดในภพ] (๑๓.๗)อวิชชาสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความไม่รู้]
(๑๔) อธิกรณสมถะ ๗ อย่าง เพื่อความสงบ เพื่อความระงับอธิกรณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว
(๑๔.๑)พึงให้สัมมุขาวินัย (๑๔.๒)พึงให้สติวินัย
(๑๔.๓)พึงให้อมุฬหวินัย (๑๔.๔)พึงปรับตามปฏิญญา (๑๔.๕)พึงถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ (๑๔.๖)พึงปรับตามความผิดของจำเลย (๑๔.๗)พึงใช้ติณวัตถารกวิธี [ประนีประนอมดังกลบไว้ด้วยหญ้า]


รายนามผู้เยี่ยมชม : ข้าวหอม, หยาดฟ้า, ต้นฝ้าย, ขวัญฤทัย (กุ้งนา)

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4030
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 537



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #102 เมื่อ: 13, พฤษภาคม, 2568, 05:11:11 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร

(ต่อหน้า ๒๒/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

ธรรมมีประเภทละ ๘=มีรวม ๘ เรื่อง คือ
(๑) มิจฉัตตะ ๘ อย่าง (ประพฤติผิด) ได้แก่
มิจฉาทิฏฐิ [เห็นผิด], มิจฉาสังกัปปะ [ดำริผิด], มิจฉาวาจา [วาจาผิด], มิจฉากัมมันตะ [การงานผิด], มิจฉาอาชีวะ [เลี้ยงชีวิตผิด], มิจฉาวายามะ [พยายามผิด], มิจฉาสติ [ระลึกผิด], มิจฉาสมาธิ [ตั้งจิตผิด]
(๒) สัมมัตตะ ๘ อย่าง (ประพฤติถูก) ได้แก่
สัมมาทิฏฐิ [เห็นชอบ], สัมมาสังกัปปะ [ดำริชอบ], สัมมาวาจา [วาจาชอบ], สัมมากัมมันตะ [การงานชอบ], สัมมาอาชีวะ [เลี้ยงชีวิตชอบ], สัมมาวายามะ [พยายามชอบ], สัมมาสติ [ระลึกชอบ], สัมมาสมาธิ [ตั้งจิตชอบ]
(๓) ทักขิเณยยบุคคล ๘ (บุคคลผู้ควรรับของทำบุญ) ได้แก่
(๓.๑)ท่านที่เป็นพระโสดาบัน (๓.๒)ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง (๓.๓)ท่านที่เป็นพระสกทาคามี (๓.๔)ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง (๓.๕)ท่านที่เป็นพระอนาคามี (๓.๖) ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง (๓.๗) ท่านที่เป็นพระอรหันต์ (๓.๘)ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำพระอรหัตตผลให้แจ้ง
(๔) กุสีตวัตถุ ๘ (ที่ตั้งแห่งความเกียจคร้าน) คือ
(๔.๑)ภิกษุจะต้องทำการงาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องทำการงาน ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ ร่างกายจักเหน็ดเหนื่อย ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง (๔.๒) ภิกษุทำการงานเสร็จแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ ว่า เราได้ทำการงานแล้ว ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ ร่างกายเหน็ดเหนื่อยแล้ว ควรที่เรา จะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้งนี้ วัตถุแห่งความเกียจคร้าน ข้อที่สอง (๔.๓)ภิกษุจะต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องเดินทาง ก็เมื่อเราเดินทางไปอยู่ ร่างกายจักเหน็ดเหนื่อย ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้ บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่สาม
(๔.๔) ภิกษุเดินทางไปถึงแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ ว่าเราได้เดินทางไปถึงแล้ว ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ ร่างกายจักเหน็ดเหนื่อย ควรที่เรา จะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยัง ไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้าน ข้อที่สี่ (๔.๕)ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะ ที่เศร้าหมอง หรือประณีต พอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่าเราเที่ยว บิณฑบาต ไปยัง บ้านหรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์ แห่งโภชนะที่เศร้าหมอง หรือ ประณีตพอแก่ความต้องการ ร่างกายของเรานั้น เหน็ดเหนื่อย ไม่ควรแก่การงาน ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่ห้า (๔.๖)ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะ ที่เศร้าหมอง หรือประณีต พอแก่ความต้องการแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่าเราเที่ยว บิณฑบาต ไปยังบ้าน หรือนิคม ได้ความบริบูรณ์ แห่งโภชนะที่เศร้าหมอง หรือประณีต พอแก่ ความต้องการแล้ว ร่างกายของเรานั้น เหน็ดเหนื่อย ไม่ควรแก่การงานเหมือนถั่ว ราชมาสที่ชุ่มน้ำ ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึง ธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้ บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่หก (๔.๗)อาพาธเพียงเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เธอมี ความคิดอย่างนี้ว่า อาพาธเล็กน้อย เกิดขึ้นแก่เราแล้ว ความสมควรเพื่อจะนอนมีอยู่ ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุ แห่งความเกียจคร้านข้อที่เจ็ด (๔.๘)ภิกษุหายจากไข้ หายจากความเป็นไข้ ได้ไม่นาน เธอมีความคิด อย่างนี้ว่า เราหายจากไข้ หายจากความเป็นไข้ได้ไม่นาน ร่างกายของเรานั้นยังอ่อนแอ ไม่ควรแก่การงาน ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำ ให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้าน ข้อที่แปด
(๕) อารัพภวัตถุ ๘ อย่าง (ที่ตั้งแห่งความเพียร) คือ
(๕.๑)ภิกษุจะต้องทำการงานเธอมีความคิด อย่างนี้ว่า การงานเราจัก ต้องทำ เมื่อเราทำการงานอยู่ ไม่สะดวกที่จะใส่ใจถึงคำสอน ของพระพุทธะทั้งหลาย ควรที่เราจะปรารภ ความเพียร เสียก่อนที่เดียว เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำ ให้แจ้ง เธอย่อมปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภความเพียรข้อที่หนึ่ง


รายนามผู้เยี่ยมชม : ข้าวหอม, หยาดฟ้า, ต้นฝ้าย, ขวัญฤทัย (กุ้งนา)

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4030
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 537



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #103 เมื่อ: 14, พฤษภาคม, 2568, 06:53:22 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร

(ต่อหน้า ๒๓/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

(๕.๒)ภิกษุทำการงานเสร็จแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ เราทำการงาน เสร็จแล้ว ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ ไม่สามารถที่จะใส่ใจถึงคำสอน ของ พระพุทธะทั้งหลาย ควรที่เราจะปรารภ ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง (๕.๓)ภิกษุมีความคิดว่า เมื่อเราเดินทางไปอยู่ ไม่สะดวกที่จะใส่ใจถึงคำสอนของ พระพุทธะทั้งหลาย ควรที่เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำใจให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง (๕. ๔)เมื่อภิกษุเดินทางไปถึงแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ ว่า เราเดินทางไปถึงแล้ว ก็เมื่อเราเดินทางไปอยู่ ไม่สามารถที่จะใส่ใจถึงคำสอน ของพระพุทธะทั้งหลาย ควรที่เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง (๕.๕) ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์ แห่งโภชนะ ที่เศร้า หมอง หรือประณีตพอแก่ความต้องการร่างกายเรานั้น เบาควรแก่ การงาน ควรที่เราจะปรารภ ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่เรา ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง (๕.๖)ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะ ที่เศร้าหมอง หรือประณีต พอแก่ความต้องการเธอ มีกำลังควรแก่การงาน ควรที่เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง (๕.๗)อาพาธเพียงเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เธอมี ความคิดอย่างนี้ว่า อาพาธเล็กน้อยนี้ เกิดขึ้นแก่เราแล้ว การที่อาพาธของเรา จะพึงเจริญขึ้นนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ ควรที่เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง (๕.๘) ภิกษุหายจากไข้ หายจากความเป็นไข้แล้ว ไม่นาน เธอมีความคิด อย่างนี้ว่า เราหายจากไข้ หายจากความเป็นไข้แล้วไม่นาน การที่อาพาธของเราจะพึงกำเริบ นี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ ควรที่เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง
(๖) ทานวัตถุ ๘ อย่าง คือ
(๖.๑)ให้ทานเพราะประจวบเหมาะ (๖.๒)ให้ทานเพราะกลัว (๖.๓)ให้ทานโดยคิดว่า เขาได้เคยให้แก่เรา (๖.๔) ให้ทานโดยคิดว่า เขาจักให้แก่เรา (๖.๕)ให้ทานโดยคิดว่า การให้ทานเป็นการดี (๖.๖)ให้ทานโดยคิดว่า เราหุงต้ม คนเหล่านี้มิได้หุงต้ม เราหุงต้มอยู่จะไม่ให้แก่ผู้ที่มิได้ หุงต้ม ย่อมไม่สมควร (๖.๗)ให้ทานโดยคิดว่า เมื่อเราให้ทานนี้ เกียรติศัพท์อันดีงาม ย่อมจะระบือไป (๖.๘)ให้ทานเพื่อประดับจิต และเป็นบริขารของจิต
(๗)ทานุปบัติ ๘ อย่าง คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ข้าว น้ำ ผ้ายาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักและสิ่งที่เป็นอุปกรณ์ แก่ประทีป เป็นทานแก่สมณะ หรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวัง สิ่งที่ตนถวายไป ได้แก่
๗.๑. เขาเห็น กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ผู้เพรียบพร้อม พรั่งพร้อม ได้รับการบำรุงบำเรอ ด้วยกามคุณห้าอยู่ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความ เป็นสหาย ของ กษัตริย์ มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือ คฤหบดีมหาศาล เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐาน จิตนั้น ไว้อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้น น้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณ เบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้น แล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับ ผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีล ย่อม สำเร็จได้ เพราะเป็นของบริสุทธิ์  (๗.๒)เขาได้ยินมาว่า พวกเทพ เหล่าจาตุมหาราชิกา มีอายุยืน มีวรรณะมากด้วย ความสุข ดังนี้ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึง เข้าถึงความเป็นสหายของพวกเหล่า จาตุมหาราชิกา เขาตั้งจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้น น้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูงย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจ ของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์ (๗.๓)เขาได้ยินมาว่า  พวกเทพเหล่าดาวดึงส์ มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความ สุข ดังนี้ เขาจึงคิด อย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหาย ของพวกเทพ เหล่าดาวดึงส์ เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิต นั้นไว้ จิตของเขานั้น น้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไป เพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแลเรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจ ของผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์ (๗.๔)เขาได้ยินมาว่า พวกเทพเหล่า ยามา มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข ดังนี้ เขาจึงคิด อย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความ เป็น สหาย ของพวกเทพ เหล่ายามา เขาตั้งจิตนั้นไว้อธิษฐานจิตนั้นไว้อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้น น้อมไป ในสิ่งที่เลว มิได้อบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิด ใน ที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีลผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจ ของผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้ เพราะเป็นของบริสุทธิ์


รายนามผู้เยี่ยมชม : ข้าวหอม, ต้นฝ้าย, ขวัญฤทัย (กุ้งนา)

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4030
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 537



| |
Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
« ตอบ #104 เมื่อ: 14, พฤษภาคม, 2568, 03:39:04 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร

(ต่อหน้า ๒๔/๒๘) ๓๐.สังคีติสูตร

 (๗.๕)เขาได้ยินมาว่า พวกเทพเหล่า ดุสิตา มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข ดังนี้ เขาจึงคิด อย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความ เป็นสหาย ของพวกเทพเหล่าดุสิตา เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิต นั้นไว้ อบรมจิตนั้น ไว้ จิตของเขานั้นน้อมไป ในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อ เกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์  (๗.๖)เขาได้ยินมาว่า พวกเทพเหล่านิมมานรดี มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความ สุข ดังนี้ เขาจึงคิด อย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึง ความ เป็นสหาย ของพวก เทพเหล่านิมมานรดี เขาตั้งจิตนั้นไว้อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิต นั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อ คุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไป เพื่อเกิด ในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ผู้มีอายุ ทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้ เพราะเป็นของบริสุทธิ์ (๗.๗)เขาได้ยินมาว่า พวกเทพเหล่า ปรนิมมิตวสวัตดี มีอายุยืน มีวรรณะมากด้วย ความสุข ดังนี้ เขาจึงคิด อย่างนี้ว่า โอหนอเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึง ความเป็นสหาย ของพวกเทพ เหล่าปรนิมมิตวสวัตดี เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐาน จิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณ เบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิด ในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับ ผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้ เพราะเป็นของบริสุทธิ์ (๗.๘)เขาได้ยินมาว่า พวกเทพที่นับเนื่อง ในหมู่พรหม มีอายุยืน มีวรรณะมากด้วย ความสุข ดังนี้ เขาจึงคิด อย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหาย ของพวกเทพ ที่นับเนื่องในหมู่พรหม เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิต นั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรม เพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับ ผู้ทุศีล สำหรับคนที่ปราศจากราคะ ไม่ใช่สำหรับคนที่ยังมีราคะ ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้ เพราะปราศจากราคะ
(๘) โลกธรรม ๘ อย่าง ได้แก่
มีลาภ, ไม่มีลาภ, มียศ,ไม่มียศ, นินทา, สรรเสริญ, สุข, ทุกข์
(๙) บริษัท ๘ อย่าง คือ บริษัทกษัตริย์, บริษัทพราหมณ์, บริษัทคฤหบดี, บริษัทสมณะ, บริษัทพวกเทพชั้นจาตุมหาราชิกา, บริษัทพวกเทพชั้นดาวดึงส์, บริษัทพวกเทพชั้นนิมมานรดี, บริษัทพรหม
(๑๐) อภิภายตนะ ๘ อย่าง ได้แก่
(๑๐.๑)ผู้หนึ่งมีความสำคัญใน รูปภายใน เห็นรูปในภายนอก ที่เล็ก มีผิวพรรณดี และมี ผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น (๑๐.๒)ผู้หนึ่งมีความสำคัญใน รูปภายใน เห็นรูปภายนอก ที่ใหญ่ มีผิวพรรณดี และมีผิว พรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็น (๑๐.๓)ผู้หนึ่งมีความสำคัญใน อรูปภายใน เห็นรูปภายนอก ที่เล็ก มีผิวพรรณดี และมี ผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญ อย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็น (๑๐.๔)ผู้หนึ่งมีความสำคัญใน อรูปภายใน เห็นรูปภายนอก ที่ใหญ่ มีผิวพรรณดี และมี ผิวพรรณ ทราม ครอบงำรูป เหล่านั้น แล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็น (๑๐.๕)ผู้หนึ่งมีความสำคัญใน อรูปภายใน เห็นรูปภายนอก อันเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว ดอกผักตบ อันเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสอง เกลี้ยงเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก อันเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วนมีรัศมีเขียวฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น  (๑๐.๖)ผู้หนึ่งมีความสำคัญใน อรูปภายใน เห็นรูปภายนอก อันเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง ดอกกรรณิการ์อันเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลืองหรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วน ทั้งสองเกลี้ยง เหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วนมีรัศมีเหลือง แม้ฉันใดผู้หนึ่งมีความสำคัญ ในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณะเหลืองเหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น (๑๐.๗)ผู้หนึ่งมีความสำคัญใน อรูปภายใน เห็นรูปภายนอก อันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง ดอกหงอนไก่ อันแดง มีวรรณิ่ะแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง หรือว่าผ้าที่กำเนิด ในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสองเกลี้ยง แดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายในเห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรัศมีแดงฉันนั้นเหมือนกันครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น (๑๐.๘)ผู้หนึ่งมีความสำคัญใน อรูปภายใน เห็นรูปภายนอก อันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว ดาวประกาย พฤกษ์อันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว หรือว่าผ้า ที่กำเนิดใน เมืองพาราณสีมีส่วนทั้งสองเกลี้ยง ขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว แม้ฉันใดผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายในเห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาวฉันนั้นเหมือนกันครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น


รายนามผู้เยี่ยมชม : ต้นฝ้าย, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ข้าวหอม

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8   ขึ้นบน
พิมพ์
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.14 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC
Simple Audio Video Embedder
| Sitemap
NT Sun by Nati
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.432 วินาที กับ 161 คำสั่ง
กำลังโหลด...