(ต่อหน้า ๒/๓) ๓๖.วัตถูปมสูตร
๒๓.สงฆ์เจาะศีล,พระธรรมยะยิ่ง.............ลุปัญญะดิ่งชุติพาน
ผิบิณฑบาตรอะหาร.................................เปรอะไม่สะอาดฉัน
๒๔.เลือกเลาะทิ้งและฉันก็ได้..................มิก่อกุภัยนิรครัน
มิอันตรายถลัน.........................................กะมรรคและผลแล
๒๕.ผ้าเลอะซักก็พลอยสะอาด..............เพราะน้ำซิยาตรชระแน่
ผิทองสะอาดก็แน่....................................จะต้องคุหลอมรุด
๒๖.ภิกษุคล้ายแหละเช่นกะผ้า..............เพราะสีละกล้าบริสุทธิ์
พระธรรมและปัญญาผุด..........................ก็ป้องพระสงฆ์สานติ์
๒๗.ภิกษุเมตตะทั่วทิศา.........................ลุจิตตะกล้ามหพาน
เพราะเมตตะแน่ประสาร.........................."อุเบกฯ"จะแผ่ไกล
๒๘.ภิกษุรู้ประจักษ์วะมี.........................ซิเลวและดีวุฒิไซร้
กิเลสจะตัดก็ได้.......................................นิร์วาณวิธีดับ
๒๙.เมื่อเจาะรู้หทัยก็พ้น.........................ลิ"อาสะฯ"ยลมละลับ
กิเลสรึอาสะฯนับ......................................ซิฝังฤดีทบ
๓๐."กามะฯ"อยาก,รตีนิสัย....................."ภวาฯ"เจาะไซร้วสะภพ
"อวิชชะฯ"เขลาสยบ.................................มิรู้กะธรรมเลิศ
๓๑.ครั้นฤทัยสลัดกิเลส.........................ก็รู้วิเศษจะมิเกิด
ลุพรหมจรรย์ประเสริฐ..............................เพราะกิจสิเสร็จผลัน
๓๒.ไม่กระทำเจริญซิซ้ำ.........................เพราะชำนะย้ำอรหันต์
จะเรียกวะผู้กระชั้น...................................สะอาด ณ ภายใน
๓๓.แล้วสิ"สุนทริกฯ"เจาะบ่ง....................พระพุทธองค์จรใกล้
จะทรงสนานรึไม่.......................................ณ พาหุฯธารา
๓๔.พุทธเจ้าซิติงสทิง..............................จะช่วย ฤ อิงหิตะหนา
ตะพราหมณ์กุชนตริว่า...............................สทิงสะอาดเอื้อนฤชน
๓๕.พาหุกาฯสถานเจาะบุญ......................ประชาจะดุนอกุศล
และลอยซิบาปลุพ้น....................................และถือลิมลทิน
๓๖.พุทธเจ้าสิตรัสสทิง.............................ผิหลายยะยิ่งนิรยิน
จะช่วยผละบาปละสิ้น.................................กระทำสอาดเผย
๓๗.พุทธองค์แนะพราหมณ์สนาน..............ณ ศาสน์ฯสราญสิริเอ่ย
มิฆ่า,มิเท็จละเอย........................................ตระหนี่ละทิ้งเสีย
๓๘.พราหมณ์จะไปคยาสิไย.....................ประโยชน์ไฉนดนุเงี่ย
ผิดื่มนทีก็เปลี้ย...........................................มิช่วยอะไรนัก
๓๙.พราหมณ์สิทูลพระองค์ประกาศ..........พระธรรมซิยาตรและประจักษ์
จะเปิดกระจ่างตระหนัก...............................ตริบอกมิหลงทาง
๔๐.พราหมณ์สิขอ"พระรัตน์ฯ"ศรัณย์........และบวชซิพลันพิรพร่าง
ก็สุนทริกฯลุผาง.........................................อร์หันต์มิช้านาน ฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา
มจร.๗. วัตถูปมสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=12&siri=7อนาฯ =อนาถบิณฑกเศรษฐี ผู้สร้างเชตวนาราม ถวาย
เชตะราม =เชตวนาราม
ทุคาติ = ทุคติ มี ๒ อย่าง คือ
(๑) ปฏิปัตติทุคติ หมายถึงคติคือการปฏิบัติชั่วด้วยอำนาจกิเลสแบ่งเป็น ๒ อย่าง
(๑.๑) อาคาริยปฏิปัตติทุคติ คือทุคติของคฤหัสถ์ผู้มีจิตเศร้าหมองฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติอกุศลกรรมบถ ๑๐
(๑.๒) อนาคาริยปฏิปัตติทุคติ คือคติของบรรพชิตผู้มีจิตเศร้าหมอง ตะเกียกตะกายทำลายสงฆ์, ทำลายเจดีย์ประพฤติอนาจาร
(๒) คติทุคติ คือ คติหรือภูมิเป็นที่ไปอันเป็นทุกข์แบ่งเป็น ๒ อย่าง
(๒.๑) อาคาริยทุคติ คือคติของคฤหัสถ์ผู้ตายแล้วไปเกิดในนรก, สัตว์ดิรัจฉาน, เปรตวิสัย
(๒.๒) อนาคาริยทุคติ คือทุคติของบรรพชิตผู้มรณภาพแล้ว ไปเกิดในนรกเป็นต้น เป็นสมณยักษ์, สมณเปรต มีกายลุกโชติช่วงเพราะผ้าสังฆาฏิเป็นต้น
สุคาติ = สุคติ มี ๒ อย่าง
(๑) ปฏิปัตติสุคติ หมายถึงคติ คือการปฏิบัติดีด้วยจิตบริสุทธิ์แบ่งเป็น ๒ อย่าง
(๑.๑) อาคาริยปฏิปัตติสุคติ มีจิตบริสุทธิ์งดเว้นจากการฆ่าสัตว์, ลักทรัพย์, บำเพ็ญกุศลกรรมบถ ๑๐ ให้บริบูรณ์
(๑.๒) อนาคาริยปฏิปัตติสุคติ คือสุคติของบรรพชิตผู้มีจิตบริสุทธิ์ รักษาปาริสุทธิศีล ๔ ให้บริสุทธิ์, สมาทานธุดงค์ ๑๓ ข้อ, เรียนกัมมัฏฐานในอารมณ์ ๓๘ ประการ, กระทำกสิณบริกรรม ทำฌาณสมาบัติให้เกิดขึ้น, เจริญโสดาปัตติมรรค ฯลฯ อนาคามิมรรค