กลบทธงนำริ้ว (พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) : ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ)
๐-------------------------๐
กุ๋ยกุ๋ยหน้าไม่เก้อละเมอหึงษ
ฟังฟังก็เหมือนแกล้งแพร่งความอึง
คิดคิดแล้วให้ขึ้งขุ่นเคืองใจ
ดูดูก็น่าหัวตัวเต้นหยาง
ฉะฉะนางช่างเอาอายออกส่ายไส้
จริงจริงหฤๅหนอที่ว่าสิ้นอาไลย
นี่นี่ใครใช้สำนวนดุ๋ควรเปน
เปล่าเปล่าก็เดาโดนเฝ้าโพนทะนา
นิจานิจาตาบอดสอดตาเหน
แลแลก็ตะหลอดลอดตัวเลน
ฉาวฉาวราวกับเหล้นประชันงาน
นึกนึกจะใครว่าให้สาสม
ไหนไหนก็ลมลิ้นหล่อนมันอ่อนหวาน
ทำทำนองต้องตำราบุราณพาล
เหมือนเหมือนกับนิทานนางโสธร
รอรอฤทธิ์ลงเสียบ้างเถิดนางเอก
ช้าช้าหน่อยจะค่อยเศกเปนจอมสมร
อย่าอย่าอย่าแค่นขันประชันกลอน
แสนแสนงอนหย่อนพะยดลดลิ้นคาง
ใครใครเขาได้รู้อดสูเขา
แนแนเจ้าขอแต่ปากอย่าถากถาง
พิดพิดโฉมเล่าก็เฉิดประเสริฐสำอาง
คิดคิดข้างประยูรศักดิ์ก็สูงธรง
เออเออไฉนใจจึ่งไม่สม
ค้าคารมข่มมิตรน่าพิศวง
รักษรักษได้แต่รื่นไม่ยืนยง
ชื่อว่า
ธงนำริ้วปลิวปลายเอย ฯ
(พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) : ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ)
๐-----------------๐
พิจารณาโดยรวมเห็นว่า มีข้อพิเศษเพิ่มจากกลอนทั่วไป คือ
๐ ให้ใช้คำซ้ำในลักษณะคำยมก (หรือซ้ำเสียง) นำหน้าในแต่ละวรรค โดยคำซ้ำนี้เปลี่ยนไปในแต่ละวรรคตามต้องการ
... ในความเห็นส่วนตัวแล้ว ในสมัยปัจจุบันนี้มีคำให้เลือกใช้มากขึ้นกว่าสมัยก่อน คำที่นำมาซ้ำกันควรเป็นคำยมกที่เราใช้กันอยู่ประจำในชีวิต (หรือใกล้เคียงที่สุด) เช่น เรื่อย ๆ, แผ่ว ๆ, เย็น ๆ, ค่ำ ๆ, ดึก ๆ เพื่อการอ่านที่เป็นธรรมชาติที่สุด
** กลบทนี้มีที่มาปรากฏทั้งในตำรา "กลบทศิริวิบุลกิตติ์" และกลบท "จารึกวัดพระเชตุพนฯ"
-๐ กลบทที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ๐- • กลบท มยุราฟ้อนหาง คลิก
• กลบท สนล้อลม คลิก ผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ครับผม
...-๐ Black Sword (หมู มยุรธุชบูรพา) ๐-...

•
กลับสู่หน้าห้องเรียน กลอนกลบท คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน โคลงกลบท คลิก •
กระโดดสู่ห้องศึกษา ภาพโคลงกลบท คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน กาพย์ คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน โคลง คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน ฉันท์ คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน ร่าย คลิก 