กลบทมยุราฟ้อนหาง (กรมหมื่นไกรสรวิชิต : ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ)
๐----------------------๐
ดูดูชั้นเชิงมิตรคิด
เฉยเฉย ผิดผิดทำจำเปนทักแต่
เปรยเปรย ขันขันจ้านเจียวเจ้าเอ๋ยเมื่อดีดี
อยู่อยู่หน่อยก็ทำเง้าเอางอดงอด
ไปไปน่อยก็ออกฉอดเจียวฉีฉี
ฟังฟังคำกับดูทำท่วงทีที
เคียงเคียงค่อนข้างจะรี่ไปเชือนเชือน
ลำลำใจจะใคร่ถากปากกล้ากล้า
นึกนึกเวทนาหน้าจะเฝื่อนเฝื่อน
ไหนไหนร้ายแล้วก็คงลงเลือนเลือน
เฉียดเฉียดเหมือนบุราณว่ามาจริงจริง
ร้อนร้อนแล้วกระเบื้องเครื่องจะร้าวร้าว
แว่วแว่วข่าวดูเหมือนจิตร์คิดกริ่งกริ่ง
เร่เร่รักษแล้วก็ชักชังชิงชิง
ฉะฉะมายาหญิงนี่ครันครัน
แนแนนี่ได้ตำราไหนใหม่ใหม่
ฉิฉิปิดควันไฟได้ขันขัน
หย่างหย่างนี้มีแต่กลคนรั้นรั้น
เถอะเถอะเจ้าแต่เท่านั้นก็ภอภอ
แรกแรกใจหมายรักษจักยืดยืด
ดุ๋ดุ๋จืดลงสิทำลับฬ่อฬ่อ
ร่ำร่ำสั่งฟังนัดผัดรอรอ
นานนานมากลับมาภ้อที่พาลพาล
ติดติดเงี่ยเสียเชิงเจ้าชัดชัด
เก่งเก่งจัดเจียวคารมออกจ้านจ้าน
ทำทำนองไขรอยคอยรานราน
เบื่อเบื่อจิตร์คิดก็คร้านพานจางจาง
เถิดเถิดสาปหลาบลาทั้งรักษรักษ
อย่าอย่าพักเอื้อนอำทำขวางขวาง
ดีดีชั่วไม่ต้องบอกออกรางราง
ชื่อ
มยุราฟ้อนหางไว้หย่างเอย ฯ
(กรมหมื่นไกรสรวิชิต : ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ)
๐--------------------------๐
พิจารณาโดยรวมเห็นว่า มีข้อพิเศษเพิ่มจากกลอนทั่วไป คือ
๐ ให้ใช้คำซ้ำในลักษณะคำยมก (หรือซ้ำเสียง) นำหน้าต้นวรรค และปลายวรรคของแต่ละวรรค โดยคำซ้ำนี้เปลี่ยนไปในแต่ละวรรคตามต้องการ
... ในความเห็นส่วนตัวแล้ว ในสมัยปัจจุบันนี้มีคำให้เลือกใช้มากขึ้นกว่าสมัยก่อน คำที่นำมาซ้ำกันควรเป็นคำยมกที่เราใช้กันอยู่ประจำในชีวิต (หรือใกล้เคียงที่สุด) เช่น เรื่อย ๆ, แผ่ว ๆ, เย็น ๆ, ค่ำ ๆ, ดึก ๆ เพื่อการอ่านที่เป็นธรรมชาติที่สุด
** กลบทนี้มีที่มาปรากฏทั้งในตำรา "กลบทศิริวิบุลกิตติ์" และกลบท "จารึกวัดพระเชตุพนฯ"
-๐ กลบทที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ๐- • กลบท ธงนำริ้ว คลิก
• กลบท สนล้อลม คลิก ผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ครับผม
...-๐ Black Sword (หมู มยุรธุชบูรพา) ๐-...

•
กลับสู่หน้าห้องเรียน กลอนกลบท คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน โคลงกลบท คลิก •
กระโดดสู่ห้องศึกษา ภาพโคลงกลบท คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน กาพย์ คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน กลอน คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน โคลง คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน ฉันท์ คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน ร่าย คลิก 