กลบทอักษรกลอนตาย (พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) : ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ)
๐----------------------๐
เจบจิตร์คิดวิตกอัดอกอึด
ทเวศนักรักษจะหลุดสุดจะยึด
คิดเคียดขัดฮัดฮึดประพฤทมุ
พิโรธรักษฉะยักยอกฉิกลอกกลับ
เถิดจะลับมีดเชือดคิดเดือดดุ
ผิดก็มอดชีพนะเพราะงะงุ
กับติดตรุตรากยากวิบากชัด
จะพรากรักษชักมิตรประดิดพูด
อกจะครากปากจะบูดบอกระหัด
ชาติ์มหิดผิดก็แหลกแตกสักนัด
ประหมาดระมัดละเมิดเถิดถูกละ
วิตกเกลือกนุชนาฏจะบาดจิตร์
ยกหยิบผิดผูกพิโรธโกรธนักนะ
เหตุรักษญาติ์อาจคิดจิตร์มะนะ
กลับสะหละสัตย์สะบัดสิเฉียดชวด
จะสุดฤทธิ์เงียบแงบแทบปัศหวาด
ชีพจะขาดโศกรักษตกคลักดวด
ระฦกนุชสุดวิตกอกออกงวด
จิตร์เจบปวดเปรียบพระจักรหรัดราช
ทศภักตร์ลักขนิฐปลิดจากหัดถ์
พระพรากพลัดอัครเรศเทวศสวาดิ์
ยกพะยุหะประชิดคิดพิฆาฏ
สัตบาปราพวินาศประสบนุช
ถูกกับอกตกจะละมะนะศึก
เกียดตริระรึกขนิฐนาฎจะขาดหลุด
ชอบปลุกเสกอิทธิฤทธิ์คิดประทุษ
สารสมมุติชื่อ
อักษรกลอนตายเอย ฯ
(พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) : ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ)
กลบทอักษรกลอนตาย พิจารณาโดยรวมเห็นว่า มีข้อพิเศษเพิ่มจากกลอนทั่วไป คือ
๐ กำหนดให้ทุกคำในสำนวนนี้ใช้แต่ "คำตาย" เท่านั้นในการแต่งกลบทนี้
- ๐ -
คำตาย คือ คำที่ใช้สระเสียงสั้นโดยไม่มีตัวสะกด เช่น จะ ติ มุ เตะ (ยกเว้น อำ ใอ ไอ เอา) /พยัญชนะตัวเดียว เช่น ณ, บ่, ธ,ก็ / และคำที่สะกดด้วยมาตราแม่ กก กบ กด หรือจำง่าย ๆ ว่า (กบด)
** กลบทนี้มีที่มาปรากฏทั้งใน "กลบทศิริวิบุลกิตติ์" และ "จารึกวัดพระเชตุพนฯ"
ผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ครับผม
...-๐ Black Sword (หมู มยุรธุชบูรพา) ๐-...

•
กลับสู่หน้าห้องเรียน กลอนกลบท คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน โคลงกลบท คลิก •
กระโดดสู่ห้องศึกษา ภาพโคลงกลบท คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน กาพย์ คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน กลอน คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน โคลง คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน ฉันท์ คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน ร่าย คลิก 