สำหรับ
"กลบทอักษรกลมกลือนกลอน" นี้ จัดเป็นกลอักษร ซึ่งกลอักษรมักมีการซ่อนคำอยู่ ต้องมีการถอดความก่อน กลอักษรจึงจะอ่านได้ความที่สมบูรณ์
กลบทอักษรกลมกลืนกลอน ซึ่งเป็นกลอักษรของ
จารึกวัดพระเชตุพนฯ แบบยังไม่ถอดความ มีปรากฏไว้ดังนี้
กลบทอักษรกลมกลืนกลอน (แบบยังไม่ถอดความ) (หลวงนายชาญภูเบศร์ : ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ฯ)
๐----------------------๐
แสนเสียดายหายห่างโอ้
แสนเสียดายกรายนาดช่าง
แสนเสียดายงอนงามเจ้า
คิดถึงเหลือเมื่อครั้งศุกข์
คิดถึงเนื้ออ่อนเนื้ออุ่น
คิดถึงเคยนอนแนบนาง
คิดถึงจรจำใจจาก
สงสารนักน้องเอ๋ยอก
สงสารช้ำพร่ำพร้องสั่ง
สงสารเอ๋ยกำม์เคราะห์เปน
สงสารคำวอนว่าเวียร
อาไลยนุชที่สุดแต่
อาไลยพี่สอนสั่งฟัง
อาไลยนางนอนเปลี่ยวมา
อาไลยสมรใครเหนไม่
วิบากโอ้แค้นขุกไข้
วิบากแสนไห้โหยจะ
วิบากพี่ไกลนางห่าง
วิบากใจแลลับฦก
สุดคิดโศกฝืนฝ่าสุด
สุดคิดคืนแหห่างห้อง
สุดคิดแต่แดดิ้นเดียว
สุดคิดแท้ทนทุกข์เหลือ
บุญใดนำพี่พบเจ้า
บุญใดที่ผลให้หนอ
บุญใดกลดนตามจึ่ง
บุญใดปนกำม์ก่อทำ
ปานนี้โอ้จะหวรไห้โหย
ปานนี้น้องจะคร่ำครวญเฝ้า
ปานนี้จะดำหมองมัว
ปานนี้ค่ำเคยเคียงน้อง
ไม่ควรนางร้างแรมก็
ไม่ควรวางเขนยกอดต้อง
ไม่เคยห่างเชยชวดก็
ไม่เคยเลยรทมทุกข์มา
ขอเดชะผลสัจซื่อเรา
ขออย่าพลัดสมสู่ขอ
จนสิ้นหล้าลมน้ำไฟ
ชื่อว่า
กลมกลืนกลอนซ่อนสนเอย ฯ
(หลวงนายชาญภูเบศร์ : ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ฯ)
ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ ฉบับพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ มีโคลงอธิบายวิธีถอดไว้ดังนี้ ๏ กลกลอนกลับท้ายทอด....หลังสลับ สองนา
วรรคหนึ่งถอนนพนับ..........เช่นชี้
สอดสนซ่อนกลกลับ..........กลบเกลื่อน
ยลเยี่ยงแบบบทนี้............ชื่อกล้ำกลืนกลอน ฯ
(กรมหมื่นไกรสรวิชิต : ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ฯ)
** จากโคลงของท่านกรมหมื่นไกรสรวิชิตที่อธิบายวิธีถอดกลบทอักษรกลมกลืนกลอน นี้ไว้ ตีความได้ว่า
ในกลบทอักษรกลมกลืนกลอนนี้ มีการอ่านสลับคำอยู่สองคำท้ายวรรค โดยนำคำที่มีอยุ่ภายในวรรคมาเป็นคำที่อ่านสลับ และนำมาเติมที่ท้ายวรรค จึงได้เป็นกลบทนี้อย่างสมบูรณ์ นั่นเอง
พิจารณาแล้วว่า คำสองคำที่น้ำมาอ่านสลับเพื่อเติมท้ายวรรคให้สมบูรณ์ คือคำสองคำท้ายของช่วงกลาง ในวรรคกลอน จะลงตัวและความหมายที่สุด จึงถอดความสำนวนด้านบนได้ว่า
กลบทอักษรกลมกลืนกลอน (แบบถอดความแล้ว) (หลวงนายชาญภูเบศร์ : ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ฯ)
๐-------------------------๐
แสนเสียดาย
หายห่างโอ้
ห่างหาย แสนเสียดาย
กรายนาดช่าง
นาดกราย แสนเสียดาย
งอนงามเจ้า
งามงอน คิดถึงเหลือ
เมื่อครั้งศุกข์
ครั้งเมื่อ คิดถึงเนื้อ
อ่อนเนื้ออุ่น
เนื้ออ่อน คิดถึงเคย
นอนแนบนาง
แนบนอน คิดถึงจร
จำใจจาก
ใจจำ สงสารนักน้องเอ๋ยอกเอ๋ยน้อง
สงสารช้ำพร่ำพร้องสั่งพร้องพร่ำ
สงสารเอ๋ยกำม์เคราะห์เปนเคราะห์กำม์
สงสารคำวอนว่าเวียรว่าวอน
อาไลยนุชที่สุดแต่สุดที่
อาไลยพี่สอนสั่งฟังสั่งสอน
อาไลยนางนอนเปลี่ยวมาเปลี่ยวนอน
อาไลยสมรใครเหนไม่เหนใคร
วิบากโอ้แค้นขุกไข้ขุกแค้น
วิบากแสนไห้โหยจะโหยไห้
วิบากพี่ไกลนางห่างนางไกล
วิบากใจแลลับฦกลับแล
สุดคิดโศกฝืนฝ่าสุดฝ่าฝืน
สุดคิดคืนแหห่างห้องห่างแห
สุดคิดแต่แดดิ้นเดียวดิ้นแด
สุดคิดแท้ทนทุกข์เหลือทุกข์ทน
บุญใดนำพี่พบเจ้าพบพี่
บุญใดที่ผลให้หนอให้ผล
บุญใดกลดนตามจึ่งตามดน
บุญใดปนกำม์ก่อทำก่อกำม์
ปานนี้โอ้จะหวรไห้โหยไห้หวร
ปานนี้น้องจะคร่ำครวญเฝ้าครวญคร่ำ
ปานนี้จะดำหมองมัวหมองดำ
ปานนี้ค่ำเคยเคียงน้องเคียงเคย
ไม่ควรนางร้างแรมก็แรมร้าง
ไม่ควรวางเขนยกอดต้องกอดเขนย
ไม่เคยห่างเชยชวดก็ชวดเชย
ไม่เคยเลยรทมทุกข์มาทุกข์รทม
ขอเดชะผลสัจซื่อเราซื่อสัจ
ขออย่าพลัดสมสู่ขอสู่สม
จนสิ้นหล้าลมน้ำไฟน้ำลม
ชื่อว่า
กลมกลืนกลอนซ่อนสนเอย ฯ
(หลวงนายชาญภูเบศร์ : ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ฯ)
กลบทอักษรกลมกลืนกลอน พิจารณาโดยรวมเห็นว่า มีเพิ่มจากกลอนทั่วไป คือ
๑.) กำหนดให้นำคำสองคำท้ายของช่วงกลางของกลอนแต่ละวรรค (หากเป็นกลอนแปดก็คือคำที่ ๔ และ ๕ หากเป็นกลอนเก้าก็คือคำที่ ๕ และ ๖) มาอ่านสลับเป็นสองคำท้ายวรรคกลอนนั้น เช่น "หายห่าง" อ่านสลับเป็น "ห่างหาย"
๒.) เพิ่มให้มีกระทู้ยืนสองคำหน้าเหมือนกัน ๔ วรรค (๑ บท) และเปลี่ยนกระทู้ยืน ๒ คำนั้น เมื่อขึ้นบทใหม่
** กลบทนี้มีที่มาปรากฏทั้งในตำรา "กลบทศิริวิบุลกิตติ์" และ "ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ"
(ในศิริวิบุลกิตติ์ ไม่้ต้องมีกระทู้ยืนสองคำ)
ผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ครับผม
...-๐ Black Sword (หมู มยุรธุชบูรพา) ๐-...

•
กลับสู่หน้าห้องเรียน กลอนกลบท คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน โคลงกลบท คลิก •
กระโดดสู่ห้องศึกษา ภาพโคลงกลบท คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน กาพย์ คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน กลอน คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน โคลง คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน ฉันท์ คลิก •
กระโดดสู่ห้องเรียน ร่าย คลิก 