Username:
Password:
บ้านกลอนน้อยฯ
ช่วยเหลือ
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
บ้านกลอนน้อย - กลอนสบายๆ สไตล์ลิตเติลเกิร์ล
>>
บ้านกลอนน้อย ลิตเติลเกิร์ล - มยุรธุชบูรพา
>>
ห้องกลอน คุณอภินันท์ นาคเกษม
>>
- อานามสยามยุทธ -
หน้า:
1
...
10
11
[
12
]
ลงล่าง
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน
หัวข้อ: - อานามสยามยุทธ - (อ่าน 127616 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
บ้านกลอนน้อยฯ
เลขาคุณอภินันท์
จำนวนผู้เยี่ยมชม:
39046
ออฟไลน์
ID Number: 202
จำนวนกระทู้: 3127
|
|
Re: - อานามสยามยุทธ -
«
ตอบ #165 เมื่อ:
05, ธันวาคม, 2564, 10:07:44 PM »
บ้านกลอนน้อยฯ
Permalink:
Re: - อานามสยามยุทธ -
<<<
ก่อนหน้า
.
- อานามสยามยุทธ ๑๖๕ (ปิดฉากสงครามอานามสยามยุทธ) -
ศึกสงบจบเรื่องเลิกเคืองแค้น
ต่างอยู่แดนดินตนไม่พ้นข้าม
นักองค์ด้วงครองประเทศทั่วเขตคาม
เจ้าสยามสถาปนาอย่างปรานี
เจ้าพระยาบดินทร์สิ้นศึกแล้ว
“ขุนพลแก้ว” พร้อมพรักด้วยศักดิ์ศรี
มีเวลาอยู่บ้านนานสองปี
แล้วชีวีปิดม่าน “อสัญกรรม”
อภิปราย ขยายความ ..........................
ความในอานามสยามยุทธในเล่มที่ ๑ ที่ ๒ ว่าด้วยไทยรบกับลาวต่อด้วยรบกับญวน ที่ท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิง) บันทึกลงสมุดไทยไว้ จากนี้ไปเป็นความในเล่มที่ ๓ ซึ่งเมื่อวันวานนี้ให้อ่านกันถึงตอนที่...
พระเจ้าเวียดนามเทียวตรี
มีท้องตราสั่งบังคับมาย้ง
องต๋าเตียนกุน
แม่ทัพใหญ่ญวนที่
เมืองพนมเปญ
แต่งตั้งให้
นักพระองค์ด้วง
เป็นเจ้าเมืองเขมรอยู่ก๊กหนึ่ง ส่งคืนเจ้าเขมรผู้หญิงทั้งสามนางพร้อมขุนนางเก่าเขมรและครอบครัว
นักพระองค์ด้วง
ลงเรือรบขนาดใหญ่ไปรับตราและเครื่องแบบที่พระเจ้าเวียดนามประทานมา ณ ค่าย
องต๋าเตียนกุน
เมืองพนมเปญ
จากนั้นญวนรื้อเลิกค่ายทั้งหมด ราชการทัพศึกเขมรกับญวนเลิกแล้วแก่กัน เป็นอันเสร็จสิ้นตั้งแต่ วันขึ้นสิบเอ็ดค่ำ เดือนเจ็ด ปีมะแม นพศก จุลศักราช ๑๒๐๙ (พ.ศ. ๒๓๙๐) จากนั้นมาอีกประมาณ ๑๗ วัน คือวันแรมสิบสองค่ำ เดือนเจ็ด ปีเดียวกันนั้น
พระเจ้าเวียดนามเทียวตรี
ก็ถึงแก่ทิวงคตด้วยไข้พิษ พระญาติและขุนนางผู้ใหญ่พร้อมใจกันยก
เจ้าชายยวม
ราชโอรสองค์ใหญ่ขึ้นครองราชสมบัติด้วยวัยเพียงเจ็ดปี ตั้งพระนามยี่ห้อว่า
พระเจ้าเวียดนามตือตึกเดือดว่างเด้
ให้ปู่น้อยคือ
เจ้าเตียนวาน
อนุชา
พระเจ้ามินมาง
เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์สืบไปตามเดิม วันนี้มาอ่านเรื่องกันต่อในตอนจบครับ.....
“ฝ่ายที่
กรุงเทพฯ
พระบาทสมด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้
พระยาราชนิกูล (ชื่อเสือ)
ซึ่งเป็นบุตรเจ้าพระยารัตนพิพิธ (สน) ที่สมุหนายกในรัชกาลที่ ๑ กรุงเทพฯ โปรดให้เลื่อนยศขึ้นเป็น
พระยาเพชรพิไชย
จางวางกรมล้อมพระราชวัง
ครั้น ณ วันเดือนยี่ ขึ้นสิบสี่ค่ำ ในปีมะแมนพศก โปรดให้
พระยาเพชรพิไชย (เสือ)
เป็นข้าหลวงที่หนึ่งต้นรับสั่ง กับเจ้าพนักงานทุกตำแหน่งคุมเครื่องราชอิสริยยศกับสุพรรณบัฏจารึกพระนามพระเจ้ากรุงกัมพูชาองค์ใหม่ ให้ออกไป
เมืองเขมร
ให้พร้อมด้วย
เจ้าพระยาบดินทรเดชา
จัดการอภิเษก
นักพระองค์ด้วง
เป็น
เจ้าแผ่นดินกรุงกัมพูชา พระยาเพชรพิไชย
เชิญกระแสพระราชดำริออกไปถึง
เจ้าพระยาบดินทรเดชา เจ้าพระยาบดินทร์เดชา
ให้ตั้งการอภิเษก
นักพระองค์ด้วง
ณ วันพฤหัสบดี เดือนสี่ ขึ้นสี่ค่ำ ปีมะแม นพศก ทรงพระนามว่า
“ สมเด็จพระหริรักษ์รามามหาอิศราธิบดี ศรีสุริโยปพันธุธรรมิกวโรดม บรมศิรอินทรบวรมหาจักรพรรดิ ราชพิลาศนารถบพิตร สถิตยเป็นอินทรกัมพูรัตนราช วโรภาษชาติวรวงศ์ ดำรงกัมพูชามหาประเทศราช บวรพิพัฒนาดิเรก เอกอัครมหาเขมราธิบดินทร นรินทรวิสุทธิอุตมวโรดม บรมบพิตรพระเจ้ากรุงกัมพูชา”
ครั้งนั้น
องค์พระหริรักษ์
ก็จัดเครื่องพระราชบรรณาการ แต่งให้พระยา พระเขมร คุมเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวาย ณ
กรุงเทพฯ
ตามอย่างตามธรรมเนียมทุกปีมิได้ขาด บรรณาการที่ส่งเข้ามากรุงเทพฯนั้นคือ แพรเขมร ๕๐ ผืน ผ้าขาวเขมร ๒๐๐ ผืน ขี้ผึ้งหนักหาบหนึ่ง ผลเร่วหนักหาบหนึ่ง ผลกระวานหนักหาบหนึ่ง ครั่งหนักหาบหนึ่ง รงค์หนักหาบหนึ่ง น้ำรัก ๕๐ กระออม เป็นแบบอย่างตามธรรมเนียม
สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี (นักพระองค์เอง)
บิดา ดังนี้ แล้ว
องค์พระหริรักษ์
คิดถึงพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพมหานคร จึงได้จัดพะราชบรรณาการเพิ่มเติมขึ้นอีก ผลกระวานหนักห้าสิบหาบ น้ำรัก ๑๐๐ กระออม บางปีถวายของแปลก ๆ บ้าง
ครั้น ณ เดือนห้า ปีวอกสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๓๐ ปี เป็นปีที่ ๒๕ ในรัชกาลแผ่นดินที่ ๓ กรุงเทพมหานคร
เจ้าพระยาบดินทรเดชา
และ
พระยาเพชรพิไชย
จัดการอภิเษก
องค์พระหริรักษ์ฯ
เสร็จแล้วกลับ
กรุงเทพฯ
ครั้งนั้น
องค์พระหริรักษ์ฯ
ให้
นักองค์ราชาวดี
ราชบุตรผู้ใหญ่เข้ามาทำราชการอยู่ ณ
กรุงเทพฯ
ให้เข้ามาด้วย
เจ้าพระยาบดินทรเดชา เจ้าพระยาบดินทรเดชา
ก็กลับเข้ามาถึง
เมืองฉะเชิงเทรา
ณ วันจันทร์ เดือนห้า ขึ้นสิบสี่ค่ำ ในปีวอกสัมฤทธิศก พอพบ
กองทัพกรุงเทพฯ
ออกไปต่อรบด้วย
จีนตั้วเฮีย
ที่เ
มืองฉะเชิงเทรา
เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ)
เป็นแม่ทัพ
เจ้าหมื่นไวยวรนารถ (ชื่อช่วง)
บุตรใหญ่เจ้าพระยาพะคลังนั้นเป็นทัพหน้า
เจ้าพระยาบดินทรเดชา
ก็ยกเข้าช่วย
เจ้าพระยาพระคลัง
ตีพวก
ตั้วเฮีย
จีนกบฏแตกหนีหายไปสิ้น เมื่อ ณ วันพฤหัสบดี เดือนห้า แรมห้าค่ำ กองทัพเจ้าพระยาพระคลังจับได้ตัวนายจีนตั้วเฮีย คือ จีนหัวเสียวตั้วเฮีย ๑ จีนเฮียงยี่เฮีย ๑ จีนตูยี่เฮีย ๑ จีนโปยี่เฮีย ๑ จีนแสงซาเฮีย ๑ จีนเกา ๑ จีนกีเฉาเฮีย ๑ และจีนโผ ๑ จีนลัก ๑ จีนหลงจู๊อะ ๑ จีนกีเถ้าแก่สวนอ้อยด้วย ๑ ส่งเข้ามา ณ กรุงเทพฯ
เจ้าพระยาบดินทรเดชา
และ
เจ้าพระยาพระคลัง
เสร็จการศึกแล้วก็กลับเข้ามาถึงกรุงเทพมหานคร ณ วันเดือนหก ขึ้นสามค่ำ ในปีวอกสัมฤทธิศก ทันการฉลองวัดพระเชตุพน มีการมหรสพเป็นอย่างใหญ่ มีโขนอุโมงค์โรงใหญ่ชักรอกกรมหลวงรักษ์รณเรศร์ โรงใหญ่สนุกเหลือที่จะพรรณนา แล้วถวายพระไตรแพร จีวรเมล็ดพริกไทย สบงแพรเขมร ผ้ากราบพระแพรเขมรที่เจ้าพระยาบดินทรเดชาจัดมาทูลเกล้าฯ ถวาย รวมไตรแพร ๕,๐๐๐ ไตร และเครื่องบริขารต่าง ๆ เป็นอันมากห้าพันสำรับ
ครั้น ณ ปีระกาเอกศก จุลศักราช ๑๒๑๑ ปี เป็นปีที่ ๒๖ ในรัชกาลแผ่นดินที่ ๓ กรุงเทพมหานคร
เจ้าพระยาบดินทรเดชา
ที่สมุหนายกอรรคมหาเสนาบดีผู้ใหญ่ ป่วยเป็นไข้ป่วงใหญ่ ถึงอสัญกรรม ณ วันเดือนเจ็ด แรมเก้าค่ำ ปีระกา เอกศก โปรดเกล้าฯ ให้ทำการฌาปนกิจพระราชทานเพลิงเจ้าพระยาบดินทรเดชาที่
เมรุวัดสระเกศ
........
(ถ้าจะคิดตั้งแต่ไทยได้เป็นศึกกับญวนเมื่อปีมะเส็งเบญจศกเป็นครั้งแรก มาถึงเลิกการศึกเสร็จกัน เมื่อปีมะแมนพศก รวมปีระหว่างไทยรบกับญวนนั้น ๑๔ ปี จึงสำเร็จเสร็จสิ้นการศึกสงครามเป็นไมตรีกัน)
**
เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
ขุนพลแก้วในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลแผ่นดินที่ ๓ กรุงเทพมหานคร ถึงแก่อสัญกรรมลงในปีพุทธศักราช ๒๓๙๒ หลังจากเสร็จศึกสงครามไทย-ญวน ได้ ๒ ปี และต่อมาอีก ๒ ปี คือ พุทธศักราช ๒๓๙๔
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลแผ่นดินที่ ๓ กรุงเทพฯ
ก็เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๙๔ หลังจากเสร็จศึกสงครามไทย-ญวน ได้ ๔ ปี คงเหลือแต่เรื่องวีรกรรม
“
อานามสยามยุทธ
”
ไว้ให้อนุชนไทยศึกษากันต่อไป........
เต็ม อภินันท์
ณ อาศรมลายสือไท เมืองสุโขทัย
๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๒
ขอขอบคุณเจ้าของภาพที่นำมาประกอบนี้ในเน็ต
รายนามผู้เยี่ยมชม :
Black Sword
,
ข้าวหอม
,
ปิ่นมุก
,
ลิตเติลเกิร์ล
,
ก้าง ปลาทู
,
ขวัญฤทัย (กุ้งนา)
,
ฟองเมฆ
,
ปลายฝน คนงาม
,
กร กรวิชญ์
,
มนชิดา พานิช
,
ลมหนาว ในสายหมอก
,
ชลนา ทิชากร
,
น้ำหนาว
บันทึกการเข้า
..
สารบัญบทกลอนคุณ "อภินันท์ นาคเกษม"
..
หน้า:
1
...
10
11
[
12
]
ขึ้นบน
พิมพ์
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
บ้านกลอนน้อย ลิตเติลเกิร์ล - มยุรธุชบูรพา
-----------------------------
=> อ่านข้อกำหนด กฎระเบียบต่าง ๆ - สมาชิกใหม่ ทักทาย แนะนำตัวที่นี่
=> ห้องกลอน คุณอภินันท์ นาคเกษม
=> ห้องกลอน คุณคนบอ มือสี่
=> สารบัญกลอน สมาชิกนักกลอน
-----------------------------
ห้องเรียน
-----------------------------
=> ห้องเรียนรู้คำประพันธ์ ประเภทกลอน
=> ห้องเรียนฉันท์
=> ห้องเรียน กลบท
=> ห้องเรียน โคลงกลบท
=> ห้องศึกษา ภาพโคลงกลบท
=> ห้องศึกษา กาพย์ โคลง ร่าย
=> ห้องหนังสือ บ้านกลอนน้อย
=> ห้องฟัง การขับ เสภา และอื่น ๆ
-----------------------------
คำประพันธ์ แยกตามประเภท
-----------------------------
=> กลอน ร้อยกรองหลากลีลา
=> คำประพันธ์เนื่องในโอกาสพิเศษต่าง ๆ
=> กลอนธรรมะ-สุภาษิต-ปรัชญา-คำคม
=> กลอนเปล่าสบาย ๆ
=> กลอนจากที่อื่น และจากกวีที่ชื่นชอบ
=> โคลง-กาพย์-ฉันท์-ร่าย-ลิลิต
=> กลบท
=> นิยาย-เรื่องสั้น-บทความ-ความเรียง-เรื่องเล่าทั่วไป
=> ห้องนั่งเล่นพักผ่อน
===> เส้นคั่นสวย ๆ
===> รูปภาพน่ารัก
กำลังโหลด...