บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
 วัดเขาพระบาทน้อย - ปลายรัชสมัยพระญาลิไท -
กลับคืนครองสุโขไทปลายชีวิต ทรงผูกมิตรทั่วแดนแคว้นน้อยใหญ่ มีศาสนานำทางยาวกว้างไกล "มหาธรรมราชา"ใช้ผูกไมตรี
"เจ้ากือนา"ล้านนา ณ เชียงใหม่ ทรงเลื่อมใสสงฆ์ลังกาสง่าศรี ขอ"พระญาลิไท"ส่งพระสงฆ์ดี ไปสอนที่ล้านนาอยู่ประจำ
"ลิไท"ส่งพระคู่บุญคุณธรรมสูง ให้พาฝูงบริษัททรงอุปถัมภ์ "พระสุมนเถระ"เป็นผู้นำ ศาสนธรรมสู่แดนแคว้นล้านนา... |
อภิปราย ขยายความ.........
กลับคืนบัลลังก์กรุงสุโขไทแล้ว พระญาลิไททรงมุ่งมั่นในศาสนาเป็นสำคัญ โปรดให้ช่างหลวงแกะสลักจำลองรอยพระพุทธบาทตามแบบลังกา ที่พระญาเลอไท (พระราชบิดา) จำลองมาไว้บนยอดเขาสุมณกูฏเบื้องหัวนอนเมืองสุโขไท นัยว่า ทรงจำลองรอยพระพุทธบาทประดิษฐานไว้ในแดนอรัญญิก (เขาพระบาทน้อย) เขาอินทร์ ศรีสัชนาลัย เขาบางพาน (กำแพงเพชร) เขากบ (เมืองพระบาง นครสวรรค์) และอื่น ๆ อีกหลายแห่ง พร้อมกันนั้นก็ทรงผูกสัมพันธไมตรีกับรัฐและแคว้นต่าง ๆ โดยใช้ศาสนาเป็นตัวเชื่อมโยง "ไตรภูมิกถา" ที่ทรงรจนาเป็นคัมภีร์นั้น ได้ถูกเผยแผ่ไปยังนานารัฐและแคว้นไทยในช่วงเวลานี้เอง
กล่าวทางฝ่ายแคว้นล้านนานั้น เมื่อขุนเม็งราย (เชียงใหม่เรียก "พญามังราย") สิ้นพระชนม์ไปแล้วมีลูกหลานสืบราชบัลลังก์ต่อมาถึงพระเจ้ากือนา ทรงทราบว่ามีคณะสงฆ์ลังกาวงศ์ฝ่ายมหาวิหารมาตั้งหลักเผยแผ่พุทธศาสนาอยู่นครพัน มีศีลาจารวัตรงดงามมาก จึงปรารถนาให้ไปเผยแผ่ลัทธิที่ล้านนาบ้าง ได้ส่งทูตไปอาราธนาพระสังฆราชอุทุมพรแล้ว แต่ท่านไม่ยอมไปล้านนา กลับบอกให้มาเชิญศิษย์ของท่านคือพระสุมนเถระ กับ พระอโนมทัสสีเถระ แห่งสุโขไทขึ้นไปแทน พระเจ้ากือนาส่งทูตมาอาราธนาพระสุมนเถระ แต่ท่านไม่ไป อ้างว่าท่านเป็นพระของพระมหาธรรมราชาธิราช ไม่อาจตัดสินใจทำอะไรโดยลำพังได้ พระเจ้ากือนาจึงส่งราชทูตสู่ราชสำนักสุโขไท ทูลขอคณะสงฆ์ลังกาวงศ์จากสุโขไทขึ้นไปเผยแผ่ศาสนาที่ล้านนา พระญาลิไทจึงตกลงส่งพระมุมนเถระนำคณะสงฆ์ไปล้านนาเมื่อปี พ.ศ. ๑๙๑๓...
เรื่องราวจะเป็นอย่างไร พรุ่งนี้มาดูกันต่อไปครับ
เต็ม อภินันท์ สถาบันกวีนิพนธ์ไทย ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขึ้ผึ้งไทย ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๑ ขอขอบคุณเจ้าของภาพนี้ในเน็ต |
รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, ลิตเติลเกิร์ล, ฟองเมฆ, กร กรวิชญ์, ลมหนาว ในสายหมอก, น้ำหนาว, เนิน จำราย, ปลายฝน คนงาม, รพีกาญจน์, ก้าง ปลาทู, ปิ่นมุก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
 วัดพระยืน ลำพูน - มหาธรรมราชาสวรรคต -
"พระสุมนเถระ"ถวายพระพร มิสังหรณ์ต่อไปไม่เห็นหน้า เชิญพระธาตุใส่แก้วแล้วอำลา "มหาธรรมราชา"ด้วยอาลัย
ฝ่าย"พระเจ้ากือนา"แสนปราโมทย์ จึงรีบโปรดจัดการเป็นงานใหญ่ รับคณะพระสงฆ์สุโขไท สถิตในที่จัด"วัดพระยืน"
เมืองลำพูนอุ่นหนาฝาคั่งมาก เนื่องมาจากรับแรกแขกเมืองอื่น มีขบวนมโหรทึกแสนครึกครื้น ประชาชื่นชมพระธาตุศรัทธากัน
ศก"หนึ่งเก้าหนึ่งสาม" ความได้,เสีย คือได้เจียระไนศาสน์ล้านนานั่น เสีย"พระญาลิไท"ผู้ทรงธรรม์ ทรงสวรรคตไปเมื่อปลายปี...... |
อภิปราย ขยายความ.............
ปีพุทธศักราช ๑๙๑๓ ต้นปีนั้น พระสุมนเถระพาคณะสงฆ์สัทธิงวิหาริกอันเตวาสิกลังกาวงศ์ฝ่ายมหาวิหาร เข้าถวายพระพรลาสมเด็จพระศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช (ลิไท) เพื่อนำพระพุทธศาสนาในลัทธิลังกาวงศ์ขึ้นไปเผยแผ่ตามพระราชประสงค์พระเจ้ากือนาแห่งล้านนา โดยอัญเชิญพระสารีริกธาตุที่ได้จากเมืองบางขลังนั้นใส่ผอบแก้ว ครอบด้วยผอบทอง นำขึ้นไปด้วย
ฝ่ายพระเจ้ากือนาเมื่อทราบว่าพระญาลิไทส่งพระสุมนเถระนำพาคณะสงฆ์ลังกาวงศ์จากสุโขไทสู่ล้านนาตามคำขอแล้ว ทรงปราโมทย์เป็นอย่างยิ่ง เสด็จากนครพิงค์เชียง ใหม่ลงมานครลำพูน จัดสถานที่ต้อนรับ ณ ด้านทิศตะวันออกเมืองลำพูน ทรงนำประชาชนถือข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียน แต่งกายด้วยเสื้อผ่้าสีขาว ยืนเรียงรายสองข้างทางรอรับพระสารีริกธาตุพร้อมคณะพระสุมนเถระจากสุโขไท มีดนตรีมโหรทึกวงใหญ่ประโคมครึกครื้น พระสุมนเถระอัญเชิญผอบพระสารีริกธาตุเดินตามทางที่โรยด้วยข้าวตอกดอกไม้ตั้งแต่ต้นจนถึงปรำพิธีที่ประทับของพระเจ้ากือนา พระองค์กราบนมัสการด้วยความเคารพ แล้วขอทอดพระเนตรพระสารีริกธาตุ ครั้นพระสุมนเถระเปิดผอบให้ทอดพระเนตร พระองค์สรงพระธาตุด้วยน้ำหอม พระสารีริกธาตุจึงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์เป็นที่อัศจรรย์ ประจักษ์แก่สายตาทุกคนในสถานที่นั้น พระเจ้ากือนาทรงถวายสถานที่อันเป็นแดนอรัญญิกของลำพูน ให้เป็นที่อยู่่ของพระสุมนเถระและบริวาร และสร้างอาวาสขึ้นให้นามว่า "วัดพระยืน" ในกาลต่อมา
พระพุทธศาสนาลัทธิลังการวงศ์ (มหาวิหาร) จากสุโขไทตั้งลงในดินแดนล้านนาแล้ว ในปลายปีนั้นเกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงขึ้นในราชสำนักกรุงสุโขไทกับกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือ ทางราชสำนักกรุงสุโขไทนั้น สมเด็จพระศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช (ลิไท) สวรรตต สุโขทัยขาดผู้นำแคว้นที่แน่นอนหัวเมืองใหญ่ ๆ ตั้งเป็นอิสระ คือ เมืองน่าน เมืองศรีสัชนาลัย เมืองสรลวงสองแฅว ไม่ขึ้นต่อกรุงสุโขไทที่มีพระมหาเทวีรักษาการอยู่ ทางราชสำนักกรุงศรีอยุธยานั้นปรากฏว่า ขุนหลวงพ่องั่วแห่งสุพรรณภูมิ ยกกำลังเข้าล้อมกรุง มหาอำมาตย์เปิดประตูเมืองต้อนรับ สมเด็จพระราเมศวร จำใจต้องออกถวายบังคมพระเจ้าลุง แล้วมอบราชบัลลังก์ให้ครอบครอง ขุนหลวงพ่องั่วจึงส่งพระราเมศวรผู้หลานไปครองละโว้ พระองค์ขึ้นเสวยราชสมบัติกรุงศรีอยุธยา เฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชา (ที่ ๑) ในปีเดียวกันนั้น
เต็ม อภินันท์ สถาบันกวีนิพนธ์ไทย ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๑ ขอขอบคุณเจ้าของภาพนี้ในเน็ต
|
รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, น้ำหนาว, ลมหนาว ในสายหมอก, ลิตเติลเกิร์ล, ฟองเมฆ, รพีกาญจน์, เนิน จำราย, ปลายฝน คนงาม, กร กรวิชญ์, ก้าง ปลาทู, ปิ่นมุก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
 วัดพระธาตุดอยสุเทพฯ เชียงใหม่ - พระธาตุบางขลังขึ้นดอยสุเทพ -
เริ่มพิธีลงหลักปักฐานศาสน์ "กือนา"ราชเป็นประธานสถานที่ "สุมนเถระ"ประธานพิธี สมมติสีมาน้ำกระทำการ
สังฆกรรมการบวชกุลบุตร ตามหลักพุทธลังกา"มหาวิหาร" ใช้บ่อบึงหนองน้ำแม่ลำธาร เป็นสถานที่ทำตามวินัย
"พระสุมน"อยู่ลำพูนบุญคุณมาก นานแล้วจากที่อยู่สู่เชียงใหม่ อยู่่"วัดบุปผารามสวนดอกไม้" "กือนา"ได้สถาปนา"สวามี"
"มหาสุมณบุพรัตนะ ตำแหน่งพระสังฆราชสะอาดศรี เชิญพระธาตุสถิตบนยอดคีรี คือสุเทพ"วันนี้ที่ยืนยง |
อภิปราย ขยายความ .......
พระสุนเถระเริ่มประกาศพระพุทธศาสนาตามลัทธิลังกาวงศ์นิกายมหาวิหาร ด้วยการให้อุปสมบทกรรมแก่กุลบุตร โดยใช้น่านน้ำแม่ปิงเป็น "อุทกเขปสีมา" ขอให้พระเจ้ากือนาต่อแพไม้ขนาดใหญ่ลงลอยในแม่ปิง ประกาศให้เป็นที่หวงห้าม แล้วสวด "สมมตินัททีสีมา" (เราเรียกกันว่าโบสถ์น้ำ) ประชุมสงฆ์ลังกาวงศ์จากสุโขไทและชาวเชียงใหม่ที่ไปบวชมาจากนครพัน แล้วให้การอุปสมบทแก่สามเณรที่ชื่อ "กัสสป" ผู้ติดตามพระสุมนเถระไปจากสุโขไท จากนั้นก็ให้การอุปสมบทแก่ชาวเชียงเป็นอันมาก
พระสุมนเถระ ไม่กลับสุโขไทหลังจากทราบว่า พระมหาธรรมราชา (ลิไท) สวรรคตแล้ว จึงมุ่งเผยแผ่พระพุทธศาสนาในล้านนาประเทศ สถิตอยู่วัดพระยืน เมืองลำพูนได้ ๒๑ พรรษา พระเจ้ากือนาจึงอาราธนาให้ไปสถิตที่วัดบุปผารามสวนดอกไม้หลวงนครพิงค์เชียงใหม่ แล้วประกาศสถาปนาให้เป็นพระสังฆราช (อุษยาภิเษกให้เป็นพระมหาสวามิ) ให้นามว่า "มหาสุมณบุพรัตนะมหาสวามิ" ให้สร้างพระเจดีย์บรรจุพระสาริรีกธาตุในวัดนี้องค์หนึ่ง นัยว่าพระสารีริกธาตุุองค์นี้เสด็จมาใหม่ตามความเชื่อที่ว่า หากใครมีพระสารีริกธาตุองค์จริงอยู่แล้ว ถ้าปฏิบัติบูชาดี จะมีพระสารีริกธาตุจากที่อื่นเสด็จมาอยู่ร่วมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับพระสารีริกธาตุองค์เดิมที่พระสุมนเถระได้จากเมืองบางขลัง สุโขไทนั้น พระเถระเจ้าเห็นพ้องต้องกันกับพระเจ้ากือนาว่า ควรใช้วิธีเสี่ยงทายหาที่ประดิษฐานถาวรต่อไป จึงอัญเชิญผอบพระสารีริกธาตุนั้นสถิตบนหลังช้าง อธิษฐานแล้วปล่อยไป ปรากฏว่าช้างทรงพระธาตุนั้นเดินออกจากประตูหัวเวียงขึ้นไปบนดอย"อุสุจบรรพต(ดอยอ้อยช้าง) ถึงผาลาดแล้วหยุดอยู่ พระเจ้ากือนาจึงโปรดให้สร้างพระมหาสถูปเจดีย์บรรจุพระสารีริกธาตุจากเมืองบางขลังองค์นั้นไว้ในพระมหาเจดีย์นั้น ณ "วันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีชวด อัฐศก จุลศักราช ๗๔๘ (พ.ศ. ๑๙๒๙) พระสารีริกธาตุองค์นั้นจึงประดิษฐานอยู่บนดอยอุสุจพรรพต คือ ดอยสุเทพ มาจนถึงวันนี้......
เต็ม อภินันท์ สถาบันกวีนิพนธ์ไทย ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๑ ขอขอบคุณเจ้าของภาพนี้ในเน็ต |
รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, รพีกาญจน์, ลิตเติลเกิร์ล, น้ำหนาว, ฟองเมฆ, เนิน จำราย, ปลายฝน คนงาม, กร กรวิชญ์, ลมหนาว ในสายหมอก, ก้าง ปลาทู, ปิ่นมุก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
 อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย - มหาธรรมราชาฦๅไท -
สิ้นลิไทสุโขไทวุ่นวายมาก น่านตีจากสองแฅวแปรประสงค์ ราชสำนักสุโขไทสิ้น"สายตรง" เพื่อดำรงราชย์รองครองบัลลังก์
"พระบรมราชา"ขึ้นมาปราบ ทรงกำราบได้เรียบแล้วรับสั่ง ให้"ฦๅไท"ยุุวราาชนิราศวัง รับแต่งตั้งครอง"ศรีสัชนาลัย"
"พระมหาเทวี"รับสนอง กลับขึ้นครองบัลลังก์ตั้งต้นใหม่ "น่าน,สองแฅว"เคยงำจำปล่อยไป จัดภายในให้ดีเท่านี้พอ.... |
อภิปราย ขยายความ......
หลังสิ้นพระญาลิไท แคว้นสุโขไทเกิดความแตกแยกวุ่นวายอีกครั้ง นันทบุรี คือน่านเมืองต้นตระกูลราชวงศ์พระร่วง แยกตัวไม่ยอมขึ้นสุโขไท สรลวงสองแฅว นัยว่ายามนั้นมีพระอนุชาของพระญาลิไทที่ย้ายจากสุโขไทไปพร้อมกับพระญาลิไทนั้นครองอยู่ ก็แข็งข้อไม่ยอมขึ้นกับสุโขไท
ในราชสำนักกรุงสุโขไท ยามนั้น มีสมเด็จพระศรีธรรมราชมาดา มเหสีพระญาลิไท กับ ฦๅไท หรือศรีสุริยวงศ์กุมาร เป็นหลักร่วมกับสมเด็จพระมหาเทวีวรราชเทวีในสมเด็จพระบรมราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา กับ พระศรีเทพาหูราชกุมาร คุมอำนาจอยู่ ราชสำนักสุโขไทจึงอยู่ในสภาพ "อึมครึม" ไม่มีใครได้อำนาจปกครองอย่างเด็ดขาด
จึงในปี พ.ศ. ๑๙๑๔ ที่พระญาลิไทสวรรคตนั้น จะเรียกว่าแคว้นสุโไทตกอยู่ในกลียุคก็ได้ เพราะสมเด็จพระศรีธรรมราชมาดา อ้างว่า ฦๅไท หรือ ศรีสุริยวงศ์กุมารราชโอรสพระญาลิไท จึงมีสิทธิ์ครองบัลลังก์สืบแทนพระราชบิดา ฝ่ายสมเด็จพระมหาเทวี ผู้มีฐานะเป็นราชธิดาพระญาเลอไท พระขนิษฐาพระญาลิไท และยังเป็นพระวราชชายาในในสมเด็จพระบรมราชา (ขุนหลวงพ่องั่ว) กับเคยครองบัลลังก์กรุงสุโขไทมาก่อน ย่อมมีสิทธิ์กลับครองบัลลังก์อีกครั้ง
ดังนั้น สมเด็จพระบรมราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสุโขไทเป็นอย่างมาก จึงใช้สิทธิยกกำลังจากกรุงศรีอยุธยาขึ้นมาจัดระเบียบการปกครอง โดยให้พระศรีสุริยวงศ์ (ฦๅไท) โอรสพระญาลิไทไปเสวยราชสมบัตินครศรีสัชนาลัย โดยมีสมเด็จพระศรีธรรมราชมาดา และอำมาตย์ผู้ใหญ่ช่วยสำเร็จราชการ และให้สมเด็จพระมหาเทวี มี พระเทพาหูราชโอรสเป็นอุปราช เสวยราชสมบัตินครสุโขไท ทางฝ่ายเมืองน่าน และ สรลวงสองแฅวนั้น ทรงละไว้ เหตุการณ์จึงสงบลง
เต็ม อภินันท์ มถาบันกวีนิพนธ์ไทย ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขีผึ้งไมย ๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๑ ขอขอบคุณเจ้าของภาพนี้ในเน็ต |
รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, ลิตเติลเกิร์ล, ฟองเมฆ, ปลายฝน คนงาม, กร กรวิชญ์, รพีกาญจน์, ลมหนาว ในสายหมอก, น้ำหนาว, ก้าง ปลาทู, เนิน จำราย, ปิ่นมุก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
 วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร : ศรีสัชนาลัย - มหาธรรมราชา ที่ ๒ -
บรมวงศานุวงศ์พระร่วงไซร้ มิพอใจตำแหน่งคิดแข็งข้อ "ฦๅไท"ถูดลดฐานะราวหลักตอ ไม่เหมือนพ่อเลิศล้ำ"ธรรมราชา"
จึงกระด้างกระเดื่องต่อ"เมืองใต้" "บรมราชา"แก้ไข้ไร้ปัญหา" ส่ง"เจ้าหญิงสุพรรณภูมิ"ลุ่มปัญญา ให้ขึ้นมาเป็นเอกราชินี
"มหาธรรมราชาที่สอง" "ฦๅไท"ครองอำสนาจราชสีห์ จำเริญวัยใหญ่กล้าบารมี เคียง"พระศรีจุฬาลักษณ์"เป็นหลักเมือง |
อภิปราย ขยายความ ..............
การที่สมเด็จพระบรมราชา (ที่ ๑) หรือขุนหลวงพ่องั่ว ถือสิทธิ์ในความเป็นพระราชสวามีในสมเด็จพระมหาเทวี เสด็จจากกรุงศรีอยุธยาขึ้นมาจัดการบ้านเมืองในแคว้นสุโขไท โดยให้พระศรีสุริยวงศ์ (ฦๅไท) ไปครองนครศรีสัชนาลัยนั้น สร้างความไม่พอใจให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์แห่งราชวงศ์พระร่วงเป็นอย่างมาก ครั้นฦๅไทกุมารเจริญวัยท่ามกลางการประคับประคองของสมเด็จพระศรีธรรมราชมาดาและมหาอำมาตย์ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้แสดงอาการกระด้างกระเดื่องต่อกรุงศรีอยุธยาและราชสำนักสุโขไทอย่างเด่นชัดขึ้นเรื่อย ๆ จนสมเด็จพระบรมราชาต้องยกทัพจากกรุงศรีอยุธยาขึ้นมาปราบถึง ๒ ครั้ง ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะเจ้าเมืองน่านเข้าช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา
สมเด็จพระบรมราชาทรงยึดครองศรีสัชนาลัย (ชากังราว) ไว้ในพระราชอำนาจไม่ได้ จึงใช้อุบายครอบงำด้วยการคัดเลือกเจ้าหญิงในราชสำนักสุพรรณภูมิผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด สุขุมลุ่มลึก ได้พระองค์หนึ่งคือ พระนางศรีจุฬาลักษณ์ (ไม่ทราบพระนามเดิม) แล้วส่งขึ้นมาอภิเษกเป็นพระมเหสีในสมเด็จมหาธรรมราชาธิบดีศรีสุริยวงศ์ (ฦๅไท) แห่งนครศรีสัชนาลัย
ก่อนกำเนิดราชวงศ์สุพรรณภูมิ-สุโขทัยในราชสำนักกรุงศรีอยุธยา เราเห็นเค้าลางได้จากความตรงนี้ กล่าวคือ ขุนหลวงพ่องั่วได้อภิเษกเจ้าหญิงสุโขไท (ราชธิดาพระญาเลอไท) เป็นพระราชวรชายา ต่อมาทรงนำเจ้าหญิงในราชสำนักสุพรรณภูมิ (นัยว่าเป็นพระราชนัดดาในพระองคฺ์) ขึ้นมาอภิเษกเป็นพระมเหสีในสมเด็จมหาธรรมราชาธิบดีศรีสุริยวงศ์ (ฦๅไท) ความเกี่ยวพันเป็นเครือญาติในสองราชวงศ์เริ่มแน่นแฟ้นขึ้นเป็นลำดับ ดังจะได้กล่าวต่อไป
เต็ม อภินันท์ สถาบันกวีนิพนธ์ไทย ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๑ ขอขอบคุณเจ้าของภาพนี้ในเน็ต |
รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, ฟองเมฆ, ลมหนาว ในสายหมอก, ปลายฝน คนงาม, น้ำหนาว, ลิตเติลเกิร์ล, กร กรวิชญ์, ก้าง ปลาทู, รพีกาญจน์, เนิน จำราย, ปิ่นมุก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
 เจดีย์วัดช้างล้อม : ศรีสัชนาลัย - พระเทพาหูราช -
กล่าวถึงทางสุโขไทสมัยวุ่น ไทยไม่คุ้นเคยนามความต่อเนื่อง "พระมหาเทวี"นารีเรือง เหลน"นางเสือง"ครองบัลลังก์สองครั้งครา
พระนางมีโอรสทรงยศยิ่ง ได้เป็นมิ่งมงกุฏสุดลำค่า ครองสุโขไทไปสุดอยุธยา นาม"เทพาหูราช"วิวัฒน์ไชย
ทรงเกิดก่อน"ฦๅไท"ได้ปีหนึ่ง ทั้งสองจึงคู่เด่นแข่งเป็นใหญ่ ช่วงตอนนี้ประวัติศาสตร์ขาดหายไป ซ่อนอยู่ในจารึกบันทึกความ..... |
อภิปราย ขยายความ..............
กล่าวถึงเรื่องราวทางกรุงสุโขไทที่ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทยตามตำรา คือ สมเด็จพระมหาเทวี ราชธิดาในพรญาเลอไท ไ ด้อภิเษกเป็นพระราชวรชายาในขุนหลวงพ่องั่วในขณะที่ขึ้นจากสุพรรณภูมิมาครองสรลวงสองแคว ในช่วงที่พระญาลิไทจำต้องเสด็จากสุโขไทไปครองสรลวงสองแฅวแทนขุนหลวงพ่องั่วนั้น พระมหาเทวีได้ครองกรุงสุโขไทแทนพระเชษฐาลิไท และในปี พ.ศ. ๑๙๑๐ นั้น ทรงประสูติราชโอรส ๑ พระองค์ ทรงนามว่า "พระเทพาหูราช" (เกิดก่อน ฦๅไท ๑ ปี)
ครั้นสิ้นพระญาลิไทแล้วเกิความแตกแยกขัดแย้งกันในราชสำนัก โดยพระนางก็ชอบที่จะกลับคืนสู่บัลลังก์สุโขไท ฝ่ายสมเด็จพระศรีธรรมราชมาดาก็อ้างว่า ฦๅไทกุมารควรแก่การครองบัลลังก์นี้แทนพระราชบิดา ก่อนเหตุการณ์จะบานปลายไปมากนัก สมเด็จพระบรมราชา (ขุนหลวงพ่องั่ว) จึงเสด็จจากอยุธยาขึ้นมาจัดการ ให้สมเด็จพระศรีธรรมราชมาดาพาฦๅไทราชกุมารไปเสวยราชสมบัติ ณ นครศรีสัชนาลัย ในพระนาม "มหาธรรมราชาธิบดีศารีสุริยวงศ์" ส่วนทางสุโขไทให้สมเด็จพระมหาเทวีกลับครองบัลลังก์ตามเดิม
สมเด็จพระมหาเทวีครองกรุงสุโขไทครั้งที่่ ๒ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๑๙๑๔ จนสิ้นพระชนม์ในราวปี พ.ศ. ๑๙๒๗ พระเทพาหูราชจึงขึ้นครองบัลลังก์สืบแทนพระราชมารดา (ตามความในศิลาจารึกวัดช้างล้อมสุโขทัย) แต่ปรากฏว่าพระราชวงศ์ผู้ใหญ่ในราชสำนักสุโขทัยเกิดการกระด้างกระเดื่อง ด้วยคิดกันว่า สมเด็จพระเทพาหูราชมิใช่เชื้อสายพระร่วงโดยตรง เพราะเป็นโอรสในขุนหลวงพ่องั่วแห่งสุพรรณภูมิ สมเด็จพระเทพหูราชจึงแก้ไขเหตุการณ์ โดยให้แม่นมเทดไปขอร้องให้พนมไสดำลาสิกขาออกมาช่วยราชการ พนมไสดำผู้นี้เป็นข้าราชการผู้ใหญ่รับใช้ใกล้ชิดในพรญาลิไทมานานมีผู้คนเคารพนับถือมาก มีภรรยาชื่อเทด เป็นแม่นมของพระเทพาหูราช เมื่อพระญาลิไทสวรรคต พนมไสดำจึงลาออกจากราชการแล้วบวชเป็นภิกษุถวายพระราชกุศลแด่พระญาลิไท
แม่นมเทดไปอธิบายเหตุการณ์ในราชสำนักให้พระภิกษุพนมไสดำทราบ แล้วขอร้องให้ลาสิกขาออกมาช่วยราชการในสมเด็จพระเทพาหูราช พนมไสดำจึงลาสิกขาออกมารับตำแหน่งมหาอำมาตย์ในราชสำนักสุโขไท เหตุความกระด้างกระเดื่องในราชสำนักจึงสงบลง....
เต็ม อภินันท์ สถาบันกวีนิพนธ์ไทย ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ๑๗ ตุลาคม ๒๕๖๑ ขอขอบคุณเจ้าของภาพนี้ในเน็ต
|
รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, ลมหนาว ในสายหมอก, ลิตเติลเกิร์ล, กร กรวิชญ์, ก้าง ปลาทู, เนิน จำราย, น้ำหนาว, ปลายฝน คนงาม, ฟองเมฆ, รพีกาญจน์, ปิ่นมุก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
 วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม - ฦๅไทครองแคว้น -
เกิดเหตุการณ์พลิกผันสะท้านหล้า "พระบรมราชา"จอมสยาม สิ้นพระชนม์หลังทรงออกสงคราม เป็นไปตามธรรมดาสังขารธรรม
"ราเมศวร"จากละโว้โยธาใหญ่ บุกเข้าในกรุงศรีกรีธาย่ำ จับ"ทองลัน"ฆ่าเสียแล้วครอบงำ และหมายกล้ำกรายแดนแคว้นสุพรรณ
"พระเทพาหูราช"มิอาจนิ่ง จึงยอมทิ้ง"สุโขไท"ด้วยหมายมั่น รักษาเมืองพระบิดาค่าสำคัญ วางแผนบั่น"ราเมศวร"สิ้นส่วนเกิน
มอบ"ฦๅไท"ครองแคว้นแทนตนนั่น ลง"สุพรรณ"ครองสมบัติมิขัดเขิน เป็น"จักรพรรดิ์"สร้างบ้านเมืองเจริญ วางแผน"เดินหมากรุก"อยุธยา.... |
อภิปราย ขยายความ..........
ในราวปี พ.ศ. ๑๙๓๑ นัยว่า พระมหาธรรมราชาธิบดีศรีสุริยวงศ์ (ฦๅไท) เกิดอาการกระด้างกระเดื่องขึ้นอีก สมเด็จพระบรมราชาธิราช (ที่ ๑) จึงยกกำลังขึ้นไปปราบปรามอีกครั้ง แต่ครั้งนี้เกิดความสูญเสียและความเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างใหญ่หลวง กล่าวคือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชทรงประชวรและสิ้นพระชนม์ระหว่างทาง เจ้าทองลันราชโอรส จึงขึ้นครองบัลลังก์กรุงศรีอยุธยา อยู่ได้เพียง ๗ วัน สมเด็จพระราเมศวร (โอรสสมเด็จพระรามาธิบดี) ยกกำลังจากละโว้ลงมายึดกรุงศรีอยุธยาได้ แล้วประหารชีวิตพระเจ้าทองลันเสีย และยังเตรียมจะเข้ายึดสุพรรณภูมิไว้ในปกครองอีกด้วย
สมเด็จพระเทพาหูราช เห็นดังนั้น จึงเร่งหาทางป้องกันแคว้นสุพรรณภูมิ พร้อมทวงคืนราชบัลลังก์กรุงศรีอยุธยาจากพระราเมศวร ทรงมอบอำนาจการปกครองแคว้นสุโขไทให้พระมหาธรรมราชาธิบดีศรีสุริยวงศ์ (ฦๅไท) ครอบครอง แล้วเสด็จจากสุโขไทขึ้นเสวยราชสมบัติแคว้นสุพรรณภูมิ เฉลิมพระนามว่า "สมเด็จบพิตรมหาราชบุตรศรีเทพาหูราชบรมจักรพรรดิราช" นัยว่าเหตุผลที่เฉลิมพระนามว่า "มหาราชบุตร" เพื่อแสดงให้เห็นว่า ทรงเป็นราชบุตรองค์โตของขุนหลวงพ่องั่ว เป็นพระเชษฐาธิราชในพระเจ้าทองลัน ซึ่งในปีที่ลงมาครองสุพรรณภูมินั้น พระองค์มีพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษาแล้ว
กล่าวทางฝ่ายพระมหาธรรมราชาธิบดีศรีสุริวงศ์ (ฦๅไท) นั้น ทรงแปรพระราชฐานจากศรีสัชนาลัยลงมาประทับ ณ กรุงสุโขไท เมื่อมีพระชนมายุได้ ๒๘ พรรษา สมเด็จพระราชเทพีศรีจุาลักษณ์อัครมเหสี (เจ้าหญิงสุพรรณภูมิ) ทรงนำพระสารีริกธาตุจากศรีสัชนาลัย (เมืองบน) ลงมาสุโขไท แล้วทรงสร้างวัดในบริเวณนอกกำแพงเมืองสุโขไทด้านตะวันออกและทิศใต้ (หัวนอน) หลายวัด บรรจุพระสารีริกธาตุไว้ในพระมหาเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ณ วัดอโสการาม (สลัดได) วัดบูรพาราม (สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัดตระพังทองหลาง-เจดดีย์สูง) ฝ่ายสมเด็จพระศรีธรรมราชมาดานั้นตามเสด็จลงมาด้วย ทรงสร้างวัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม (ตาเถรขึงหนัง) และวัดต้นจันทน์ (บรรจุพระพิมพ์นางเสน่ห์จันทน์)
พระญาฦๅไททรงขยายพระราชอำนาจ แผ่ราชอาณาเขตของแคว้น ปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกวัดอโสการาม (สลัดได) ว่า ......... " พระชนมายุ ๓๘ ทรงปกครองแว่นแคว้นและโลกทั้งสาม ได้รับการปกครองโดยธรรม มีความปรารถนาสมบูรณ์แล้ว จุลศักราช ๗๐๐........รัฐมณฑลกว้างขวาง.............เป็นที่รู้กันอยู่ว่าในด้านทิศตะวันออกทรงกระทำเมืองนครไทยเป็นรัฐสีมา ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ทรงทำเมืองวัชระปุระ (เพชรบูรณ์) เป็นรัฐสีมา ด้านทิศใต้ทรงทำดอยอุ้ย (พระบาง=นครสวรรค์) เป็นรัฐสีมา ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ทรงทำเมืองเชียงทอง (ในกำแพงเพชร) เป็นรัฐสีมา ด้านทิศตะวันตกทรงทำเมืองนาคปุระเป็นรัฐสีมา...."
ประวัติศาสร์ชาติไทยตอนนี้ขาดกระรุ่งกระริ่งความสับสนมาก เพราะขาดหลักฐานสำคัญคือศิลาจารึกและสมุดข่อย ศิลาจารึกสุโขทัยหลายหลักพลัดพรายจากที่เดิมกระจัดกระจายไป ที่พบบ้างก็ยังมิได้อ่านแปลข้อความ เช่นศิลาารึกวัดอโสการาม วัดช้างล้อม (สุโขทัย) วัดตาเถรขึงหนังเป็นต้น บัดนี้ทางการได้อ่านและแปลจารึกได้หลายหลักแล้ว ทำให้ทราบความในช่วงตอนนี้มากขึ้น จึงใคร่นำมาปะติดปะต่อประวัติศาสตร์ชาติไทยให้สมบูรณ์ต่อไป
เต็ม อภินันท์ สถาบันกวีนิพนธ์ไทย ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๑ ขอขอบคุณเจ้าของภาพนี้ในเน็ต
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
- ศรีจุฬาลักษณ์ในตำนาน -
ตำนานเก่าเล่าเป็นแนวแล้วเขียนใหม่ เรื่องเกิดในราชสำนักมีหลักฐาน “สนมเอกพระร่วงเจ้า”เยาวมาลย์ นามขนาน“นพมาศ”เชื้อชาติพราหมณ์
นางประดิษฐ์กระทงงามลอยน้ำได้ พระร่วงให้ถือเป็นแบบอย่างสยาม ทุกทวยไทยได้ยึดประพฤติตาม ประเพณีดีงามสยามยง
“ท้าวศรีจุฬาลักษณ์”ตามหลักเล่า มีนามเก่า“นพมาศ”นวลระหง สัญลักษณ์ติดอยู่คู่กระทง และคู่องค์พระร่วงเจ้าเนาตำนาน
มองทั่วเมืองสุโขไทไร้“นพมาศ” ประวัติศาสตร์เท่าที่มีหลักฐาน คือ”ศรีจุฬาลักษณ์”ประจักษ์พยาน จารึกอ่านชัดเจนเป็นเรื่องจริง
นางจาก“สุพรรณภูมิ”เมืองลุ่มราบ พอสืบทราบฐานะเก่าเป็นเจ้าหญิง “พ่องั่ว”มอบ“ฦๅไท”ไว้แอบอิง ได้เป็นมิ่งเมืองโต“สุโขไท”
“พระราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์” องค์เอกอัครมเหสีที่ยิ่งใหญ่ “แม่อยู่หัว”จารึกบันทึกไว้ คนรุ่นเราอ่านได้เมื่อไม่นาน |
อภิปราย ขยายความ .......
มเหสีในพระมหาธรรมราชาธิบดีศรีสุริยวงศ์ (ฦๅไท) มีพระนามตามจารึกวัดอโสการาม (และจารึกวัดบูรพาราม) ว่า "สมเด็จพระราชเทพีศรีจุฬาลักษณ์อัครมเหสี."... ในขณะที่พระมหาธรรมราชาธิบดีศรีสุริยวงศ์ (ฦๅไท) ขยายพระราชอำนาจไปยังหัวเมืองต่าง ๆ นั้น สมเด็จพระราชเทพีศรีจุฬาลักษณ์ก็ทรงสร้างวัดวาอาราม ตามที่ปรากฏในจารึกว่า
“.....ใช่แต่สมเด็จพระราชเทวีสร้างอโสการามอันเดียวนี้ ทั้งทักษิณาราม เสด็จแม่อยู่หัวก็สร้างแก่มหาวันรัตนเถระ แล้วท่านประดิษฐานนาร้อยหนึ่งเป็นข้าวสิบเกวียน ไพร่สิบเรือนแต่งพยาบาลวัดนั้น ทั้งลังการามก็แล้ว คำนับทั้งบูรพารามก็แล้ว สัมฤทธิ์ทั้งศีลวิสุทธาวาสที่พ่ออยู่หัวเสด็จเสวยพระผนวชกระทำกรรมในท่งชัยก็เสร็จ ทั้งที่้เสนางที่เสด็จพระมหาสวามีเจ้าท่านสถิตก็เถิงที่สัมฤทธิ์ ทั้งศรีจุฬาวาสที่สงสการสมเด็จพ่อออกท่านก็สำเร็จ ทั้งพระธรรมราชบูรณ์ที่สมเด็จพระราชมารดาก็สัมฤทธิ์แล้ว....”
สมเด็จพระราชเทพี หรือ เทวีศรีจุฬาลักษณ์.. พระองค์นี้มีพระนามตรงตามตำนานประเพณณีลอยกระทง จึงพอจะสันนิษฐานได้ว่า นางนพมาศ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ในตำนานนั้น ผู้แต่งตำนานได้นำเอาพระนามในศิลาจารึกนี้ไปใช้ ซึ่งจะได้นำรายละเอียดมาแสดงในตอนต่อไป...
เต็ม อภินันท์ สถาบันกวีนิพนธ์ไทย ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๑ ชอขอบคุณเจ้าของภาพนี้ในเน็ต
|
รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, ฟองเมฆ, น้ำหนาว, ปลายฝน คนงาม, ลมหนาว ในสายหมอก, ก้าง ปลาทู, ลิตเติลเกิร์ล, กร กรวิชญ์, เนิน จำราย, รพีกาญจน์, ปิ่นมุก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
- นางนพมาศ ...ปริศนา -
ตำนานเก่าเล่าไว้หลายฉนำ ไทยจดจำเรื่องเก่าที่เล่าขาน "นพมาศ"นวลอนงค์เลิศวงศ์วาน ผู้เชี่ยวชาญศาสนาประเพณี
สนมเอกพระร่วงเจ้าเสาวลักษณ์ ได้ทรงศักดิ์"คุณท้าว"เจ้าหน้าที่ คุมชาววังนางสนมกรมสตรี เหล่านารีในวังต่างยำเกรง
อ่านจารึกสุโขทัยจบหลายหลัก ไม่ประจักษ์นามจริงของ"หญิงเก่ง" ทำให้คิดคนหลังตั้งกันเอง แล้วละเลงเรื่องประกอบตามชอบใจ |
อภิปราย ขยายความ .............
ดังได้เคยกล่าวมาแล้วว่า "พระร่วง" เป็นนามศักดิ์สิทธิ์ของสุโขทัย ในตำนานที่กล่าวถึงพระร่วงลูกนางนาค มีวาจาสิทธิ์ ส่วนในประวัติศาสตร์จะกล่าวถึงกษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วง หรือราชวงศ์สุโขทัย แต่ในความรู้ความเข้าใจของคนไทยในยุคต่อมาจะนำเอาพระร่วงในตำนานมาปะปนกับพระร่วงในประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะ พ่อขุนรามคำแหง เป็นพระญาร่วง หรือ พระร่วงเจ้าผู้มีศักดาฤทธานุภาพมากมายสุดพรรณนา
เชื่อกันมานานแล้วว่า มีนางนพมาศธิดาพราหมณ์ปุโรหิตในราชสำนักพระร่วงเจ้า (หมายถึงพ่อขุนรามคำแหง) ชื่อนางนพมาศ ฉลาดเลิศในวิชาการทุกแขนง เมื่อเจริญวัยได้ ๑๖ ปี บิดานำตัวเข้าถวายเป็นนางสนมในพระร่วงเจ้า ต่อมาในเทศกาลลอยกระทง ซึ่งเป็น "พระราชพิธีจองเปรียง" มีการชักโคม ลอยโคม เป็นเอิกเกริก นางนพมาศได้คิดประดิษฐ์กระทงลอย เป็นรูปดอกบัวบานกลีบงดงามถวายพระร่วงเจ้า ทรงโปรดมาก จึงประกาศให้คนไทยใช้รูปแบบกระทงดอกบัวบานของนางนพมาศต่อไป พร้อมกันนั้นก็ทรงสถาปนาให้นางนพมาศเป็น "ท้าวศรีจุฬาลักษณ์" พระสนมเอกปกครองดูแลนางสนมกำนัลในตลอดไป นามนพมาศจึงอยู่คู่กระทงแต่นั้นเป็นต้นมา
ภาพเหตุการณ์ที่บรรยายไว้ในตำหรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ตำนานนางนพมาศ เป็นภาพเหตุการณ์ที่เห็นได้ชัดว่า เกิดในราชสำนักกรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์เกือบทั้งหมด มีเพียงตัวละครเท่านั้นที่อ้างว่าเป็นชาวสุโขทัย เรื่องนี้มีเงื่อนงำที่ควรทำให้กระจ่างต่อไป
มีประวัติศาสตร์ ที่จารึกไว้ในแผ่นศิลาวัดอโสการาม เรียกพระนามมเหสีในพระมหาธรรมราชธิบดีศรีสุริยวงศ์ (ฦๅไท) ว่า "สมเด็จพระราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์...." จารึกวัดบูรพาราม เรียกพระนามว่า "สมเด็จพระราชเทพีศรีจุฬาลักษณ์..." เป็นพระราชมารดาพระรามกุมาร (ไสยลือไท) และ อโสกกุมาร ทรงเป็น "แม่อยู่หัว" ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หลังจากที่พระญาฦๅไทสวรรคต พระนางจะมีพระนามเดิมว่า "นพมาศ" หรือไร ไม่ปรากฏ และในจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ของพ่อขุนรามคำแหงนั้น ไม่มีกล่าวถึงเรื่องนี้เลยครับ
เต็ม อภินันท์ สถาบันกวีนิพนธ์ไทย ณ พิพิธภัณฑ์หุ่ยขี้ผึ้งไทย ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๑ ขอขอบคุณเจ้าของภาพนี้ในเน็ต
|
รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, ลิตเติลเกิร์ล, ลมหนาว ในสายหมอก, ก้าง ปลาทู, กร กรวิชญ์, ฟองเมฆ, เนิน จำราย, รพีกาญจน์, น้ำหนาว, ปลายฝน คนงาม, ปิ่นมุก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
- "ศรีจุฬาลักษณ์" ยุคอยุธยา -
"ศรีจุฬาลักษณ์" นามนี้มีมนต์ขลัง กาลล่วงจนหนหลังล้มตั้งได้ เมื่อสิ้นกรุงใหญ่โต"สุโขไท" นามนี้ไม่จมดินสูญสิ้นตาม
ยุค"กรุงศรีอยุธยา"ได้ปรากฏ นามทรงยศมีอยู่คู่สยาม เป็นตำแหน่ง"คุณท้าว"บ้างฉาวนาม ล้วนแต่งามเลิศลักษณ์ประจักษ์ตา..... |
อภิปราย ขยายความ.................
พักบทบาทราชกรณียกิจสมเด็จพระราชเทพีศรีจุฬาลักษณ์ไว้ก่อน ขอกล่าวข้ามกาลสุโขไทล่วงเข้ากาลสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่เกี่ยวกับนาม "ศรีจุฬาลักษณ์" ต่อไป
นาม "ศรีจุฬาลักษณ์" ปรากฏในราชสำนักกรุงศรีอยุธยา เมื่อพระไชยราชาธิราช โอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิบดีที่ ๒ (หรือสมเด็จพระพันวษาในตำนานเรื่องขุนช้างขุนแผน) ยกกำลังจากพิษณุโลกลงไปครองบัลลังก์กรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระไชยราชาพระองค์นี้เป็นโอรสสมเด็จพระบรมราชาธิบดีที่เกิดจากเจ้าหญิงสุโขไท ขณะที่ดำรงตำแหน่งพระอุปราชเสวยราชย์อยู่พิษณุโลกนั้น ได้เจ้าหญิงสุโขไทพระองค์หนึ่งเป็นชายา ครั้นเสด็จลงไปครองกรุงศรีอยุธยาก็ทรงนำพระชายาพร้อมด้วยบริพารซึ่งเป็นบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการผู้ใหญ่ในราชสำนักพิษณุโลกลงไปเป็นอันมาก
ครั้นครองบัลลังก์กรุงศรีอยุธยาแล้ว สมเด็จพระไชยราชาทรงประกาศตั้ง "คุณท้าว" แทนที่จะสถาปนาสมเด็จพระมเหสี "คุณท้าว" หรือพระสนมเอกในสมเด็จพระไชยราชาธิราชมีทั้งหมด ๔ พระองค์ คือ ๑. ท้าวศรีสุดาจันทร์ เจ้าหญิงในราชวงศ์ละโ ว้ อโยธยา ๒. ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เจ้าหญิงในราชสำนักสุโขไท ๓. ท้าวอินทรสุเรนทร์ เจ้าหญิงในราชสำนักนครศรีธรรมราช ศรีวิชัย ๔. ท้าวอินทรเทวี เจ้าหญิงในราชสำนักสุพรรณภูมิ
ลุสมัยสมเด็จพระนารายณ์ปรากฏว่า พระสนมเอกของพระองค์องค์หนึ่งนามว่า "ศรีจุฬาลักษณ์" มีนามเดิมว่า "แจ่ม" หรือ "แช่ม" เป็นขนิษฐาของพระเพทราชา เชื้อสายราชวงศ์สุพรรณภูมิแห่งบ้านพลูหลวง พระนางศรีจุฬาลักษณ์องค์นี้ปรากฏเรื่องราวของนางในบันทึกทั้งของไทยและฝรั่งว่าเป็นคนสวยงาม แต่ "มักมากในกามคุณ" มีเรื่องคาวฉาวโฉ่ จนต้องถูกประหารชีวิตในที่สุด
นาม "ศรีจุฬาลักษณ์" ของสมเด็จพระราชเทพีแม่อยู่หัวแห่งสุโขไท เป็นพระนามที่มีมนต์ขลัง ทำให้ได้รับการถ่ายทอดสู่หญิงงามในราชสำนักพิษณุโลก กรุงศรีอยุธยาเรื่อยลงมา แต่มิได้นำไปในใช้ในตำแหน่งพระมเหสีเท่านั้น จึงเป็นไปได้ว่ า ผู้บอกเล่าตำนานเรื่องประเพณีการลอยกระทงทรงประทีป ถือเอาพระสนมเอกหรือ "คุณท้าว" ในราชสำนักกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่สมัยพระไชยราชาธิราช เป็น "ตัวประกอบเรื่อง" ตลอดมา
เต็ม อภินันท์ สถาบันกวีนิพนธ์ไทย ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๑ ขอขอบคุณเจ้าของภาพในเน็ต
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
 พระพุทธรูปสำริด ที่มีจารึกที่ฐาน Cr. Photo By คุณ tuk-tuk@korat - หลักฐานพยาน "แม่อยู่หัว" -
"ศรีจุฬาลักษณ์"เป็นใครบอกไว้ชัด จารึกวัดสองชอบตอบปัญหา "อโสการาม"ตามอ้างมา "บูรพาราม"เล่ากล่าวยืนยัน
พระพุทธรูปอู่ทองปรองดองศิลป์ บอกระบิลพยานหลักฐานมั่น พระนางศรีจุฬาลักษณ์จากสุพรรณ เป็นมิ่งขวัญสุโขไทปลายยุครุจน์
ครั้น"พรญาฦๅไท"สวรรคต "รามโอรส"ยังเยาว์บริสุทธิ์ "ศรีจุฬาลักษณ์"ประคองพี่น้องนุช ซึ่งเป็นบุตร อ่อนวัยให้จำเริญ
พระนางนั่งบัลลังก์รัตน์จัดการเรื่อง ครองบ้านเมืองดีล้วนควรสรรเสริญ "เทพาหูราช"หนุนหลังให้ย่างเดิน ทรงเพลิดเพลินทางโลกและทางธรรม... |
อภิปราย ขยายความ........
สมเด็จพระราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์อัครราชมเหสีในพระมหาธรรมราชาธิบดีศรีสุริยวงศ์ (ฦๅไท) มีหลักฐานยืนยันว่า พระนางมิใช่ชาวสุโขทัยโดยกำเนิด
... นอกจากศิลาจารึกวัดอโสการาม และ จารึกวัดบูรพารามแล้ว อาจารย์พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราาณคดีและพิพิธภัณฑ์กรมศิลปากร ได้พบหลักฐานเพิ่มเติมอีกชิ้นหนึ่งคือ พระพุทธรูปศิลปะอู่ทอง (สุพรรณภูมิ) เป็นพระพุทธรูปหล่อสำริด หน้าตักกว้างประมาณ ๓๕ ซม. สูงประมาณ ๕๐ ซม. พระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ที่ฐานองค์พระมีจารึกอักษรภาษาไทย
...อักษรจารึกนี้จัดพิมพ์อยู่ในหนังสือประชุมจารึกภาคที่ ๔ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๑๓ จัดลำดับเป็นหลักที่่ ๑๓๐ จารึกฐานพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ทะเบียนพระพุทธรูปองค์นี้คือ อ.ท. ๓๔ อาจารย์ประสาน บุญประคอง อดีตผู้เชี่ยวชาญอักษรโบราณกรมศิลปากร อ่านได้ความเป็นคำอ่านว่า " ตนนี้ก่อพระเจ้าแม่เอินไว้ในบุรพารามนี้" ได้ความหมายว่า " พระพุทธรูปองค์นี้เจ้าแม่สั่งให้สร้างไว้ประจำวัดบูรพาราม"
นัยว่า พระพุทธรูปองค์นี้สมเด็จพระราชเทพีศรีจุฬาลักษณ์โปรดให้หล่อขึ้นไว้ประจำวัดบูรพาราม พร้อมกับทำศิลาจารึกประกาศไว้เป็นหลักฐานเมื่อปี พ.ศ. ๑๙๕๕ ศิลาจารึกหลักนั้นหายไปจากวัดบูรพาราม พบอีกครั้งที่วัดศาลาครืน เขตจอมทอง พระครูปลัดสนธิ จิตตปุญโญ เจ้าอาวาส นำขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และโปรดเกล้าฯ ให้กรมศิลปากรรับมาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ เมื่อ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒ อยู่ในทำเนียบจารึกประวัติศาสตร์ ประชุมจารึกภาคที่ ๗
...ความในจารึกวัดบูรพารามกับจารึกวัดอโสการามคล้ายกัน อาจารย์พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ กล่าวว่า "เจ้าแม่ผู้สร้างพระพุทธรูปไวับกับวัดบูรพารามก็ต้องมิใช่ชาวสุโขทัยแต่เป็นชาวเมืองในลุ่มแม่น้ำภาคกลางของอาณาจักรอยุธยา" รายละเอียดของเรื่องนี้มีอยู่ในข้อเขียนของ อ.พิเศษ ซึ่่งตีพิมพ์ไว้ในหนังสือ "ศิลปวัฒนธรรม ประจำเดือนกรกฎาคม ๒๕๔๔ ในชื่่อเรื่องว่า "เจ้าแม่ศรีจุฬาลักษณ์ มิใช่ชาวสุโขทัย" ใครสนใจรู้รายละเอียดก็โปรดไปหาอ่านดูได้เลย
...ในที่นี้สรุปได้ว่า บุคคลเจ้าของนามว่า "ศรีจุฬาลักษณ์" มีตัวตนอยู่จริงในศิลาจารึก ๒ หลัก คือ สมเด็จพระราชเทวี หรือ สมเด็จพระราชเทพีศรีจุฬาลักลักษณ์ อัครมเหสีในพระมหาธรรมราชาธิบดีศรีสุริยวงศ์ (ฦๅไท) พระนางเป็นศรีสะใภ้ของพระยาลิไท แห่งกรุงสุโขไท
เต็ม อภินันท์ สถาบันกวีนิพนธ์ไทย ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๑ ขอขอบคุณเจ้าของภาพนี้ในเน็ต
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
 จารึกปู่ขุนจิดขุนจอด ด้านที่ ๑ - ต้นตระกูลพระร่วง -
เมื่อพระญาฦๅไทขยายอำนาจ จึงพระญาติผู้ใหญ่ไม่เป็นส่ำ ต้องขอผูกไมตรีฟื้นความจำ ร่วมกันทำสัญญาสามัคคี
ปู่พระยาหลานพระยาสาบานสงบ จะร่วมรบศัตรูสู้ไม่หนี ผูกแคว้นน่านสุโขไทมั่นไมตรี เป็นเมืองพี่เมืองน้องไปยาวนาน |
อภิปราย ขยายความ...............
พระมหาธรรมราชาธิบดีศรีสุริยวงศ์ ฦๅไท เมื่อได้ครองแคว้นสุโขไทแล้ว ทรงขยายพระราชอาณาเขตแคว้น โดยหมายพระทัยจะให้ได้กว้างไกลเทียบเท่าสมัยพ่อขุนรามคำแหง ยามนั้นพระยาเมืองน่านอยู่ไม่เป็นสุข จึงขอทำไมตรีกับสุโขไท โดยเชิญพระญาฦๅไทเสด็จไปเยือนและทำสัญญาสาบานเป็นไมตรีกัน (ตามความในศิลาจารึกวัดช้างค้ำ จ.น่าน) พระญาฦๅไทก็เชิญ "ปู่พระยา" (คำตัน) จากเมืองน่านเยือนสุโขไท
ปู่พระยาเมืองน่านมาเยือนสุโขไท แล้วทำสัญญาสาบานกัน จารึกข้อความไว้ในแผ่นศิลา เป็นสัญญาสงบศึก จารึกหลักนี้เรียกกันว่า "จารึกปู่ขุนจิดขุนจอด" หรือ "จารึกปู่สบถหลาน" เป็นหลักที่ ๔๕ ในทำเนียบจารึก ปีที่ทำจารึกคือ พ.ศ. ๑๙๓๕ จารึกหลักนี้เป็นหลักฐานสำคัญที่บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ของ ขุนศรีอินทราทิตย์ต้นราชวงศ์พระร่วงกับเมืองน่าน โดยฝ่าย "ปู่พระยา" อ้างเอาผีบรรพบุรุษฝ่ายตนมาเป็นพยาน ฝ่าย "หลาน พระญา" ก็อ้างเอาบรรพบุรุษฝ่ายตนมาเป็นพยานเช่นกัน จารึกหลักนี้บอกให้รูจักชาติตระกูลของทั้งสองฝ่ายว่ามาจาก "ดำพงกาวชาวเลือง" แห่งเมืองน่าน ดังความที่ปรากฏในจารึกว่าดังนี้
..."(ส)บถด้วยกันนี้จุ่งให้ได้แก่....(อารัก)ษ์ทั้งหลายอันมีในน้ำ ในถ้ำ.......(ว)งศาหนพระยาผู้ปู่ ปู่พระยา.....ปู่เริง ปู่มุง ปูพอง ปู่ฟ้าฟื้น ....(ผา)กอง เท่านี้ดำพงศ์กฺําว...(ผี)สิทธิแล แต่นี้ดำพงศ์ผีผู้ปู่ผาคำ....(ฝูู)งผู้หลาน ปู่ขุนจิด ขุนจอด ปู่พระยาศ(รีอินทราทิ)ตย์ ปู่พระยาบาน ปู่พระยารามราช ปู่ไสส.....(ส)งคราม ปู่พระยาเลอไท ปู่พระยางั่วนำถม ปู่.....(พระ)ยามหาธรรมราชา พ่องำเมือง พ่อเลอไทย และ.....(ละไท)ย ผู้ดีผีชาวเลืองเท่านี้แล แม้ผู้ใดบซื่อไซร้ ให้.....(ผี)มัน ทั้งเสื้อใหญ่เขาพูคา เขาผาดานผาแ......(ด)ง แฝงแม่พระศักดิ์ อารักษ์ทุกแห่ง แต่งตาดูสองปู่หลานรักกัน ผิผู้ใดใครบซื่อ จุ่งผีฝูงนี้หักก้าวน้าวคออย่าเป็นพระยา....."
จารึกหลักนี้บอกชัดเจนแล้วว่า ขุนบางกลางท่าวหรือผีปู่พระยาศรีอินทราทิตย์เป็นลูกขุนจอด ขุนจอดเป็นลูกหลานปู่ผาคำ ปู่ผาคำเป็นลูกปู่ผากอง ในตระกูลดำพงศ์ เผ่ากาว ชาวเลือง แห่งเมืองน่าน ดังนั้นราชวงศ์น่านจึงเป็นต้นตระกูลราชวงศ์สุโขไท พระยาคำตัน แห่งเมืองน่าน เป็น "ปู่พระยา" พระญาฦๅไทแห่งสุโขไท เป็น "หลานพระยา" ทั้งสองได้ร่วมทำสัญญาเป็นไมตรีมิรุกรานกัน หากใครมารุกรานสุโขไท น่านจะเข้าช่วยเหลือ หากใครมารุกรานน่าน สุโขไทจะเข้าช่วยรบ
เต็ม อภินันท์ สถาบันกวีนิพนธ์ไทย ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๑ ขอขอบคุณเจ้าของภาพนี้ในเน็ต
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
 วัดมหาธาตุ : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จ. สุโขทัย Cr. Photo By คุณ luckyclover - แม่อยู่หัวศรีจุฬาลักษณ์ -
"ฦๅไท"ครองราชสมบัติรัฐพระร่วง ชนทั้งปวงเริ่มชอบชมรอบด้าน แต่บุญน้อยเนื่องจากกรากกรำงาน ทรงถึงวารสวรรคตเหมือนหมดบุญ
พระโอรสสององค์ทรงเยาว์นัก จึ่ง"แม่ศรีจุฬาลักษณ์"ทรงเกื้อหนุน นั่งบัลลังก์ราชาพระเดชพระคุณ รับการุณย์"เทพาหูราช"ประกัน |
อภิปราย ขยายความ.........
พระมหาธรรมราชาฦๅไท ทรงทำสัญญาสงบศึกกับ "ปู่พระยา" (คำตัน) แห่งเมืองน่านดังกล่าวแล้ว บ้านเมืองสุโขไทตั้งอยู่ในความสงบ
ในเวลาเดียวกันนั้น สมเด็จพระมหาราชบุตรศรีเทพาหูราชศรีบรมจักรพรรดิ์ดำเนินแผนการณ์จะยึดครองกรุงศรีอยุธยา จึงยกกำลังจากสุพรรณภูมิขึ้นไปเสวยราชสมบัติ ณ "กำแพงเพชรบุรีศรีวิมลาสน์" ทำพิธีราชาภิเษกเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๑๙๔๐ และทรงทำศิลาจารึกเป็นกฎหมายลักษณะโจรมาปักประกาศไว้กลางเมืองสุโขไท เป็นการแสดงพระราชอำนาจของพระองค์ว่ายังปกคลุมสุโขไทอยู่
ปี พ.ศ.๑๙๕๒ พระมหาธรรมราชาธิบดีศรีสุริยวงศ์ (ฦๅไท) สวรรคตด้วยพระชมน์เพียง ๔๑ พรรษา สมเด็จพระราชเทพีศรีจุฬาลักษณ์ทรงสร้างวัดบูรพารามและพระพุทธรูปถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระราชสวามีในปีเดียวกัน (จารึกวัดบูรพาราม)
ยามนั้นพระราชโอรสของพระองค์ยังทรงพระเยาว์ พระรามราชโอรส (ไสยลือไท) จึงได้ครองสุโขไทตามสิทธิ์ ส่วนอโสกกุมารอนุชาเป็น "ขุนยี่" ครองศรีสัชนาลัย แต่เพราะทั้งสองพระองตค์ยังทรงพระเยาว์มาก สมเด็จพระศรีเทพาหูราชจึงสนับสนุนให้สมเด็จพระราชเทพีศรีจุฬาลักษณ์เป็น "แม่อยู่หัว" สำเร็จราชการแทนพระราชราชโอรส ปกครองแคว้นสุโขไท โดยการสนับสนุนของสมเด็จพระศรีเทพาหูราช
สภาพของแคว้นสุโขไทยามนี้จึงมีผู้ครองแคว้นซ้อนกัน ๓ ชั้น กล่าวคือ พระยาราม (ไสยลือไท) เป็นผู้ครองแคว้น แม่อยู่หัวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ สมเด็จบพิตรมหาราชบุตรศรีเทพาหูราช ศรีบรมจักรพรรดิ์แห่งเพชรบุรีศรีวิมลาสน์ (กำแพงเพชร) เป็นผู้ให้การอุปถัมภ์บำรุงดูแล (ตามความในศิลาจารึกลักษณะโจร)
พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐฯ กล่าวว่า สมเด็จพระอินทราชาขึ้นครองกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ.๑๙๕๒ พระอินทราชาในที่นี้คือ สมเด็จบพิตรมหาราชบุตรศรีเทพาหูราช ศรีบรมจักรพรรดิ์ ทรงอาศัยอำนาจจากสุพรรณภูมิผนวกกับสุโขไท ยกกำลังลงมาครองกรุงศรีอยุธยา เป็นเรื่องที่จะได้กล่าวในตอนต่อไป
เต็ม อภินันท์ สถาบันกวีนิพนธ์ไทย ณ พืพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๑ ขอขอบคุณเจ้าของภาพนี้ในเน็ต |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
 วัดราชบูรณะ : เจ้าสามพระยาสร้างถวายเจ้านครอินทร์ - พระร่วงนครอินทร์ -
"พระเทพาหูราช"กษัตริย์สยาม หลายพระนามหลายเมืองที่เรืองสรรค์ จากสุโขไทไปสุพรรณ มาตั้งมั่นเมืองกำแพงแต่งสองแฅว
ส่งทูตไทยไปจีนแผ่นดินใหญ่ เมื่อสมัยอยู่สุพรรณสรรค์กระแส แข่งอยุธยาบารมีแปร เป็นเพชรแท้หนึ่งยุคประมุขไทย
เป็น"พระร่วงนครอินทร์"จีนยกย่อง ทรงขึ้นครองอยุธยาอำนาจใหญ่ แล้วเริ่มรวมดินแดนรัฐแคว้นไกล เข้าอยู่ในนาม"สยาม"ล้ำเดชา
"สุพรรณภูมิ+สุโขทัย"ได้กำเนิด แจ่มบรรเจิดอำนาจวาสนา มีกษัตริย์หลายพระองค์ดำรงมา อยุธยารุ่งเรืองกระเดื่องนาม |
อภิปราย ขยายความ.........
สมเด็จพระเทพาหูราชควรถือได้ว่าพระองค์เป็น "อัจฉริยกษัตริย์" พระราชประวัติของพระองค์ค่อนข้างสับสน เริ่มจากการเป็นราชบุตรองค์ใหญ่ของสมเด็จพระบรมราชาธิราช หรือขุนหลวงพ่องั่วแห่งสุพรรภูมิ ประสูติแต่พระมหาเทวีราชธิดาในพระยาเลอไทแห่งสุโขไท ทรงเป็นกษัตริย์ครองสุโขไทสืบแทนพระราชมารดา และมอบบัลลังก์สุโขไทให้มหาธรรมราชาฦๅไท (ญาติผู้พี่) ครอง แล้วลงไปครองสุพรรณภูมิ สืบแทนพระราชบิดา ทรงส่งทูตจากสุพรรณภูมิ (สยาม=เสียมก๊ก) ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักจีน นำช่างจีนมาสอนทำเครื่องปั้นดินเผาในไทย จดหมายเหตุจีนเรียกพระองค์ว่า "พระร่วง" (ทำให้นักวิชาการไทยเข้าใจว่า พ่อขุนรามคำแหงไปเมืองจีน)
ทรงยกพลขึ้นมาทำพิธีราชาภิเษกที่ "กำแพงเพชรบุรีศรีวิมลาสน์" แล้วประทับสะสมกำลังอยู่ และโปรดให้ทำศิลาจารึกเป็นกฎหมายลักษณะโจรมาปักประกาศไว้กลางเมืองสุโขไท (ศิลาจารึกหลักที่ ๓๘ ) ทั้งยังทรงสร้างเมืองขึ้นใหม่ริมน้ำน่านฝั่งตะวันตก ตรงข้ามกับนครสรลวงสองแฅว ให้นามเมืองนี้ว่า "ชัยนาทบุรี" ให้เป็นที่ประทับของเจ้าหญิงสุโขไทผู้เป็นพระราชวรราชาของพระองค์ (พระราชมารดาเจ้าสามพระยา)
สมเด็จพระเทพาหูราชทรงสะสมกำลังพระราชอำนาจจนยิ่งใหญ่ขึ้นแล้วจึงยกกำลังลงยึดกรุงศรีอยุธยา ขึ้นครองบัลลังก์กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาได้ในปี พ.ศ. ๑๙๕๒ เฉลิมพระนามว่า "สมเด็จพระนครินทรราชา" คนทั่วไปเรียกพระองค์ว่า "เจ้านครอินทร์" ทรงเป็นต้นพระราชวงศ์ "สุพรรณภูมิ+สุโขทัย"
มีจดหมายเตุจีนกล่าวถึงราชวงศ์พระร่วงส่งทูตไปเมืองจีนในระยะเวลาก่อนปี พ.ศ.๑๙๓๘ เล็กน้อย นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ไทยวิเคราะห์กันว่า พระร่วงที่ส่งทูตไปเมืองจีนตามจดหมายเหตุจีนนี้ คือเจ้านครอินทร์ เป็นพระราชนัดดาของขุนหลวงพ่องั่ว ต่างก็วิเคราะห์สันนิษฐานกันไปด้วยเหตุด้วยผลจากการคิดค้นของตนเอง โดยมีได้ยึดหลักฐานโบราณคดีเท่าที่ควร เกี่ยวกับเรื่องนี้ หลักฐานสำคัญที่ควรยึดถือคือศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๓๘ ที่นักอ่านจารึกเรียกว่า กฎหมายลักษณะโจร........ศิลาจารึกหลักนี้ บอกเล่าเรื่องราวที่สมเด็จพระเทพาหูราชเสด็จจากสุพรรณภูมิขึ้นไปเสวยราช ณ เมืองกำแพงเพชร วันเวลาที่ระบุไว้ในจารึกนี้ว่า ""....๕ ศกนักษัตรไพสาขปุรณมี พฤหัสบดี หนไทยมื้อลวงเม้า,,, ลัคคนาในผคุนี เพลาค่ำ....."
วัน เวลา ดังกล่าวนี้ ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร ปราชญ์ทางวิชาการประวัติศาสตร์ไทยปัจจุบัน ท่านคำนวณออกมาให้เป็นที่ยุติเชื่อถือได้ว่า ตรงกับ วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ เมษายน พุทธศักราช ๑๙๔๐ ดังนั้น ก่อนปี พ.ศ. ๑๙๓๘ ที่ว่าหลานขุนหลวงพ่องั่วส่งทูตไปเมืองจีนนั้น เป็นการสันนิษฐานผิดพลาดของนักวิชาการไทย เพราะหลานขุนหลวงพ่องั่ว คือ ลูกของสมเด็จพระเทพาหูราช มีพระเจ้าสามพระยา เป็นต้นนั้น ยังมิได้ครองบัลลังก์ใด ๆ เลย ในเวลาก่อนปี พ.ศ. ๑๙๓๘ นั้น เจ้านครอินทร์ยังครองเมืองสุพรรณภูมิอยู่ หลังจากส่งทูตไปเมืองจีนแล้วจึงขึ้นไปทำพิธีราชาภิเษก และประทับอยู่ ณ เมืองกำแพงเพชรในปี พ.ศ. ๑๙๔๐
การศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ ต้องยึดถือตัวเลขของกาลเวลาเป็นสำคัญ ไม่อย่างนั้นประวัิศาสตร์จะสับสนดังที่เป็นมา เรื่องราวในประวัติศาสตร์ตอนนี้คือส่วนที่ขาดหายไปจากประวัติศาสตร์ชาติไทย ซึ่งควรต้องปะติดปะต่อซ่อมแซมปรับปรุงกันใหม่ครับ
เต็ม อภินันท์ สถาบันกวีนิพนธ์ไทย ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๑ ขอขอบคุณเจ้าของภาพนี้ในเน็ต
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
 วัดเขาพนมเพลิง ศรีสัชนาลัย - ปัญหา "มหาธรรมราชา" -
นามศักดิสิทธิ์สุโขไทไม่ตกต่ำ "มหาธรรมราชา"ลำดับสาม มีความนัยซ่อนอยู่ยากรู้ความ ต้องดูตามจารึกพงศาวดาร
สุโขไท-สองแฅวพลิกแลหลัง ไปถึงครั้ง"ลิไท"แปรราชฐาน อยู่"สองแฅว"เจ็ดปีนี่เนิ่นนาน มีศฤงคารอีกองค์หนึ่งทรงครรภ์
เมื่อกลับคืนสุโขไทไม่พาด้วย ทรงให้ช่วยดูแลสองแฅวนั่น โอรสน้อยเจริญวัยในเผ่าพันธุ์ มีสิทธิ์อันชอบครองเมืองสองแฅว
สืบนาม"มหาธรรมราช"ได้ ต่อ"ฦาไท"พี่ตนคนละแม่ เรื่องตรงนี้มีนัยหลายตัวแปร เท็จหรือแท้ฝากไว้ให้คิดดู..... |
อภิปราย ขยายความ............
เกิดความสับสนในผู้ดำรงนาม "มหาธรรมราชาธิราช" ขัดแย้งตำราความเชื่อเดิมที่ว่า เมื่อมหาธรรมราชาธิบดีศรีสุริยวงศ์ ลือไท สวรรคตแล้ว รามกุมารได้ครองสุโขไทในพระนามว่า มหาธรรมราชา ไสยลือไท ความเชื่อในตำราเดิมนี้น่าจะไม่ถูกต้อง เมื่อมีหลักฐานสำคัญอีกชิ้นหนึ่งขัดแย้ง นั่นคือ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐฯ ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยที่สำคํญที่สุด เชื่อถือได้มากที่สุด เพราะเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้ทำบันทึกขึ้นสมัยของพระองค์
พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐฯ บันทึกความไว้ว่า "ศักราช ๗๘๖ กุนศก (พ.ศ. ๑๙๖๒) มีข่าวมาว่า พระมหาธรรมราชาธิราชเจ้านฤพาน และเมืองเหนือทั้งปวงเป็นจลาจล และจึงเสด็จขึ้นไปเถิงเมืองพระบาง ครั้งนั้นพระยาบาลเมืองและพระยารามออกมาถวายบังคม" ข้อความเป็นบันทึกจดหมายเหตุสั้น ๆ นี้มีความนัย ขยายความได้ว่า เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๖๒ ในขณะที่สมเด็จพระนครินทรราชาธิราช (พระนครอินทร์) เสวยราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาอยู่นั้น ได้ข่าวลงมาจากเมืองเหนือว่า พระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าสวรรคต เมืองเหนือทั้งปวง (ในแคว้นสุโขไท) เกิดความวุ่นวายด้วยการแย่งชิงอำนาจกัน ระหว่างพระยาบาลเมืองกับพระยาราม เจ้านครอินทร์จึงยกกำลังขึ้นไปถึงเมืองพระบาง (นครวรรค์) เพื่อระงับการจลาจล ครั้งนั้น พระยาบาลเมือง กับพระยาราม เสด็จจากนคร สรลวงสองแฅว และนครสุโขไทลงไปถวายบังคม พระองค์ทรงไกล่เกลี่ยให้สองพระยารักใคร่ปรองดองกัน โดยให้พระยาบาลเมืองครองนครสรลวงสองแฅว พระยารามครองนครสุุโขไท เรื่องจึงสงบลงด้วยดี
พระมหาธรรมราชาธิราช ผู้สวรรคตในปี พ.ศ. ๑๙๖๒ นั้น เป็นใคร ? พระยาบาลเมือง และพระยาราม เป็นใคร ปมปัญหาอยู่ตรงนี้ เรื่องนี้จะต้องอภิปราย ขยายความกันยืดยาวจึงจะเข้าใจ ดังนั้นขอยกยอดเรื่องนี้ไปกล่าวกันในวันหน้าครับ.
เต็ม อภินันท์ สถาบันกวีนิพนธ์ไทย ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๑ ขอขอบคุณเจ้าของภาพนี้ในเน็ต
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|