แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๒/๓) ๑๘.สักกปัญหสูตร
๕.สักกะยลถามต่อ ภิกษุก่ออย่างไหน ธรรมปรุงไม่เนิ่นช้า ดับหล้าลงเร็วครัน พุทธ์เจ้ายันตอบว่า "โสม์นัส"ฝ่าดีใจ ไว"โทมนัส"เศร้า เฝ้าอุเบกขาวาง ทำสองพลาง"เสพควร" และ"ไม่ชวนเสพ"เอย เผยเมื่อเสพโสม์นัส ชัดกุศลเสื่อมดล อกุศลเติบโต สิ่งนั้นโซมิควร ชวนมาซ่องเสพนา ผิหนาอกุศล ยลเสื่อม,อีกกุศล ดลเจริญควรเสพได้ พุทธ์องค์ไซร้เสริมทวน ธรรมควรเสพ,สามที มี"วิตก,วิจาร" รานไม่มีทั้งสอง และครองสุดท้ายไกล ไม่มีทั้งตรึก,ตรอง แต่ครองประณีตยิ่ง เช่นดิ่งโสมนัส ชัดจาก"เนกขัมมะ" "วิปัสสนา"งาน "ปฐมฌาน,อนุสส์ฯ" ภิกษุรุดเพียรหนา พาสมควรก่อล้น จึงดับกิเลสพ้น เนิ่นช้าคลายเผย
๖.สักกะเอ่ยความถาม สงฆ์พฤติตามอย่างใด เรียกไกลสำรวมตรึง ถึง"ปาฏิโมกข์"ตรง พุทธองค์ทรงตอบ ประพฤตินอบทาง"กาย" กับฉายทาง"วาจา" "แสวงหา"บางสิ่ง พิศดิ่งเพียรสองอย่าง กระจ่าง"ควรเสพ"เหมาะ อีกเดาะ"เสพไม่ควร" เช่นขวนเสพทางกาย กุศลหายเสื่อมลน อกุศลเติบโต สิ่งนั้นโขไม่เหมาะ เจาะซ่องเสพอีกเลย แต่เผยอกุศล ผลเสื่อมไปไกลแน่ แต่กุศลเจริญ จึงเชิญเสพต่อได้ สงฆ์มุ่งประพฤติไซร้ บ่งชี้สำรวม "ปาฏิ์โมกข์ฯ"
๗.ท้าวสักกะทูลถาม สงฆ์พฤติตามอย่างไร เรียกไวสำรวมครัน อินทรีย์ผลันตา,หู พรูจมูก,ลิ้น,กาย และใจฉายระวัง ทรงตอบหวัง"อารมณ์" สมรู้แจ้งทางทวาร หกกรานแยกแบ่งได้ ควร"ซ่องเสพ"กันไซร้ "ไม่ต้องเสพ"เลย อีกครา
๘.สักกะเปรยพุทธ์องค์ บ่งสมณพราหมณ์ ยาม"พูด,ศีล,ฉันทะ" จะมีจุดหมายเหมือน เตือนอย่างเดียวหรือไม่ ทรงตอบไป่มิใช่ โลกไขว่มีธาตุหลาย สัตว์กรายยึดธาตุแล้ พึงกล่าวธาตุจริงแปล้ อื่นพร้อมพรางผล
๙.ยลสมณ์พราหมณ์หลาย พรายล้วนสำเร็จโลด โชติจากกิเลสพ้น ด้นพรหมจารี มีที่สุด"ล่วงส่วน" มิป่วนปรวนแปรนา พาเปลี่ยนใช่หรือไม่ ทรงตอบไป่จริงเอย สำเร็จเผยจะมี ลีล่วงส่วนเด็ดขาด ไม่ยาตรกำเริบได้ เฉพาะผู้พ้นแล้ว ตัณหาแคล้วหมดไป
๑๐.สักกะไวกราบทูล ทวีคูณตัณหา พาจิตไหวหวั่นคลอน เป็นโรคชอน,หัวฝี ดั่งมีลูกศรวิ่ง ดิ่งฉุดคร่าสัตว์เกิด บรรเจิดถึงภพใด สูง,ต่ำไกลต่างกัน ครันสักกะพอใจ ในคำตอบพุทธ์องค์ ตรงหายสงสัยได้ เคยใกล้ถามพราหมณ์หลาย แทนจะกรายตอบความ กลับย้อนถามเป็นใคร ครันรู้ไวสักกะ กลับจะถามปัญหา กรรมใดหนาจึงเกิด สักกะเลิศยิ่งนา จำตอบหนาด้วยเรียน เพียรฟังสืบต่อมา พราหมณ์พาอิ่มเอิบไซร้ ที่ได้เห็นท้าวสักกะ ปะได้ถามปัญหา สักกะมากล่าวแท้ จึงนอบกายเต็มแปล้ ดั่งแจ้งศิษย์เผย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๓/๓) ๑๘.สักกปัญหสูตร
๑๑.สักกะเอยกล่าวนำ คำภาษิตหลายอย่าง กระจ่างแล้วใช้มือ ครือลูบคลำแผ่นดิน ยินเปล่งคำนอบน้อม พร้อมแด่พระพุทธ์เจ้า เร้า"นโม,ตัสสะ" "ภควโต"กะ "อรหโต"ย้ำ ล้ำ"สัมมาสัมพุทธ-" ธัสสะ"รุดสามจบ แปลนบพระพุทธ์เจ้า เค้าไกลกิเลสจู้ ตรัสรู้ด้วยตน จริงท้นจำแนกธรรม นำสอนแก่ปวงชน ผลกล่าวครบสามจบ พบพาจิตมั่นคง ตรงนมัสการ กรานพระพุทธเจ้า เกล้าสามแบบแจรง แจง"ปัญญาฯ"ยิ่งหล้า คุณ"สัทธาฯ"เยี่ยมฟ้า เปี่ยมล้น"วิริฯ" พากเพียร ฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ ทีฆนิกาย มหาวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๓๔-๓๓๖
ถ้ำอินท์สาละ=ถ้ำอินทสาละ ภูเวทฯ=เวทยิกบรรพต อัมพ์สณฑ์=หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อ อัมพสณฑ์ ราช์คฤห์=กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ ท้าวสักกะ=ผู้ครอบครองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ปัญจ์สิฯ,ปัญจ์ฯ=ปัญจสิขะ บุตรคนธรรพ์ อช์ปาลฯ=อชปาลนิโครธ เป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับเมื่อตรัสรู้ใหม่ๆ เนรัญ=แม่น้ำเนรัญชรา สัมโมฯ=สัมโมทียกถา คือ กล่าวขอบคุณ แสดงอานิสงส์ที่ทำความดีถวาย เป็นเหตุให้ผู้ทำบุญแช่มชื่น และปรารถนาจะทำบุญอีก ปปัญจ์สัญญา=ปปัญจสัญญานิทาน คือกิเลสอันเป็นเครื่องทำความเนิ่นช้า เป็นเครื่องครอบงำ อุปนิสัย สันดาน หรือควา เคยชิน ได้แก่ ๑)ราคะ-ความใคร่ ๒)โทสะ-ความโกรธ ๓)โมหะ-ความหลง ๔)ตัณหา-ความทะยานอยาก ๕)ทิฏฐิ-ความงมงาย ๖)มานะ-ความถือตัวเด่นกว่าผู้อื่น วิตก=ความตรึก วิจาร=ความตรอง เนกขัมมะ=การดำริออกจากกาม,ออกบวช ปฐมฌาน=ฌานคือ ภาวะที่จิตสงบจากการเพ่งอารมณ์เป็นสมาธิ ) ฌานหนึ่ง หรือปฐมยาม มีวิตก(ความตรึก),วิจาร(ความตรอง) และปีติ ความอิ่มใจ อนุสส์ฯ=อนุสสติ คือกรรมฐาน เป็นเครื่องมือให้ใจระลึกถึงมี ๑๐ อย่างคือ ๑)พุทธานุสติ -ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า ๒)ธัมมานุสติ-ระลึกถึงพระคุณของพระธรรม ๓)สังฆานุสติ-ระลึกถึงพระคุณของพระสงฆ์ ๔)สีลานุสติ-ระลึกถึงศีลที่ตนรักษา ๕)จาคานุสติ-ระลึกถึงทาน ๖)เทวตานุสติ-ระลึกถึงคุณที่ทำให้เป็นเทวดา เช่น หิริ โอตตัปปะ ๗)อุปสมานุสติ-ระลึกถึงพระคุณของนิพพาน ๘)มรณานุสติ-ระลึกถึงความตาย ๙)อานาปาณสติ-การกำหนดลมหายใจเข้าออก ๑๐)กายคตาสติ-ระลึกถึงส่วนของกาย เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ปาฏิโมกข์=คือคัมภีร์ที่รวมวินัยสงฆ์ ล่วงส่วน=หมายถึง เด็ดขาด ไม่กลับกำเริบหรือแปรปรวนอีก พระพุทธเจ้าสามแบบ=๑)พระปัญญาธิกพุทธเจ้า-พระพุทธเจ้าที่ทรงสร้างบารมี มีปัญญาแก่กล้า จะยังไม่รีบนิพพาน จะรวบรวมพุทธบริษัท ๔ จำนวนหนึ่งที่จะไปนิพพาน (เช่นพระโคดมพุทธเจ้าในกาลนี้)ระยะเวลาในการสร้างบารมี ๒๐ อสงไขย กับ อีกแสนมหากัปป์ ๒)พระสัทธาธิกพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าที่ทรงสร้างบารมี มีศรัทธาแก่กล้า จะยังไม่รีบนิพพาน จะรวบรวมพุทธบริษัท ๔ ให้ได้มาก เพื่อจะไปนิพพานทีละมาก ใช้ระยะเวลาในการสร้างบารมี ๔๐ อสงไขย กับ อีกแสนมหากัปป์ ๓)พระวิริยาธิกพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าที่ทรงสร้างบารมี มีความเพียรแก่กล้า ปรารถนาจะนำพุทธบริษัท ๔ ไปนิพพานให้ได้มากๆ จะใช้เวลานานแค่ไหนก็ยอม (เหมือนอย่างพระศรีอรียเมตไตรย) ระยะเวลาในการสร้างบารมี ๘๐ อสงไขย กับ อีกแสนมหากัปป์ อสงไขย=เป็นระยะเวลาที่ยาวนานจนไม่อาจคำนวณได้ อุปมาว่าประมาณเม็ดฝน จากเกิดฝนตกใหญ่ทั้งวันคืนเวลานาน ๓ ปี โดยไม่ขาดสาย พุทธศาสนาจึงมักกล่าวถึงระยะเวลาที่พระโพธิสัตว์สั่งสมบารมีเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า กัปป์=คือ กำหนดอายุของโลก ระยะเวลาตั้งแต่กำเนิดของโลกจนโลกสลาย อุปมาเปรียบเหมือนมีภูเขาศิลาล้วน กว้าง ยาว สูง ด้านละ ๑ โยชน์ ทุก ๑๐๐ ปี มีคนนำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป แต่กัปป์หนึ่งยาวนานกว่านั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
ประมวลธรรม : ๑๙.มหาสติปัฏฐานสูตร(สูตรว่าด้วยการตั้งสติอย่างใหญ่)
ร่ายดั้น
๑.พระพุทธ์เจ้าประทับอยู่ กู่นิคม"กัมมาฯ" คราถึงกุรุแคว้น ทรงสอนแม้นชี้ทาง มิพรางมรรคารุด บริสุทธิ์ของสัตว์ ชัดก้าวล่วงโศกตรม ทุกข์ถมใจ,กายพ้น เพราะด้นธรรมถูกต้อง สู่ห้องนิพพานยั้ง ด้วยตั้ง"สติ"สี่อย่าง ตริพร่าง"กายในกาย" สิ่งฉายในกายใหญ่ ใฝ่พิจารณ์"เวทนา" อารมณ์รู้สึกย่อย อ่อยในอารมณ์ใหญ่ เพ่ง"จิตใช่ในจิต" พิศจิตที่เกิด-ดับ ลับต่อไปทุกครา ดู"ธรรมหนาในธรรม" นำธรรมย่อยวิจารณ์ ผลาญฆ่า กิเลส หมายมุ่งจดพร้อมแล้ นิพพาน
๒.พิจารณ์"กายในกาย" แยกผายหกส่วนหนา แรกมา"อานาปาฯ" จดมาลมหายใจ ไวเข้า-ออกรู้มั่น ครันหายใจเข้ายาว รู้พราวเข้ายาวแล แฉหายใจออกยาว รู้ฉาวออกยาวจริง รู้อิงกองลมได้ ไซร้ต่อ"อิริยาฯ" พิศกายหนาท่าทาง พลางเดิน,ยืน,นั่ง,นอน แล้วจร"สัมป์ชัญญ์" ครันรู้ตัวเคลื่อนไหว ก้าวมาไกลดื่ม,กิน แล้วผินดูร่างกาย ฉายปฏิกูลเด่น เช่นผม,เล็บ,หนัง,ขน ยลต่อตรึก"ธาตุบรรพ" พิศฉับรู้ร่างกาย ฉายความเป็นธาตุสี่ ปรี่ดิน,น้ำ,ลม,ไฟ ต่อไป"ถวิกาฯ" มาพินิจซากศพ นวครบ ประเภท ดูแต่พองขึ้นแปล้ กระดูกผง
๓.คงพิจารณ์เวทนา รู้อารมณ์เก้าอย่าง หนึ่งพร่าง"สุข"ตรึกนิตย์ สองจิต"ระลึกทุกข์" สาม"ไม่สุข,ไม่ทุกข์" รุดรู้อุเบกขา สี่มาระลึกสุข เจือรุก"กามคุณห้า" อ้ามีรูป,เสียง..ล่อ ห้าจ่อทุกข์ประกอบ อามิสครอบสำแดง หกแจงอุเบกขา รู้หนาไม่สุข,ทุกข์ ทุกข์เจือด้วยอามิส เจ็ดจิตรู้สุขแน่ แต่ไม่เจืออามิส จิตรู้จาก"วิปัสส์ฯ" แปดชัดรู้ทุกข์ไร้ อามิสไซร้เพราะด้อย คล้อยสังขารพิการ เก้าขานอุเบกขา ไร้หนาทั้งสุข,ทุกข์ อามิสบุกไม่มี เพราะดีด้วยวิปัสส์ฯ เวท์นาชัดอารมณ์ สมมิใช่รูป,จิต ไม่เรียกชิดเป็นเรา เมื่อเขามีเหตุ,ปัจจัย เวท์นาไซร้ปรากฏ ก็ห้ามหดมิได้ ปัจจัยไซร้กลายแผ่ว เวท์นาแน่วดับลง มิอยู่ คงทน จะสั่งดับลี้พ้น อย่าหมาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๒/๔) ๑๙.มหาสติปัฏฐานสูตร
๔.พิจารณ์กรายใกล้จิต สติคิดรู้อารมณ์ ปมดี,ชั่วในตน เห็นผลจิตไม่เที่ยง ต้องเบี่ยงเปลี่ยนมินิ่ง ทุกสิ่งจึงผันผวน เกิดทุกข์รวนตลอด จะดอดบังคับจิต ให้ชิดอารมณ์เดียว ก็เรียวมิทำได้ เพราะจิตไซร้"อนิจจัง" "ทุกขัง,อนัตตา" จิตหนารู้อารมณ์ คมสิบหกลักษณะ ปะ"มีราคะ"ใคร่ "ไม่มีราคะ"จิต ยินดีชิดในกาม จิตลาม"มีโทสะ" กะ"ไม่มีโทสะ" ดะ"มีโมหะ"จิต คิดดี"ไร้โมหะ" จิตปะ"ความหดหู่" จิตรู้อยู่"ฟุ้งซ่าน" จิต"ใหญ่ผ่านฌาน"แน่ว จิตแผ่ว"ไม่มีฌาน" ขานจิต"สอุตตระฯ" ปะจิตอื่นยิ่งกว่า ว่าเป็น"กามาว์จร"ไกล อยู่ใน"กามภูมิ"เอย เผยจิต"อนุตตระฯ" จะไร้จิตไหนเทียบ เปรียบ"รูปาวจร" ซอน"อรูปาว์จร" สอนจิต"ไม่ตั้งมั่น" กลั่นในสมาธิ จิตริตั้งมั่นยิ่ง ดิ่งในสมาธิ จิตตริมั่นมาดหมาย จึงก่น หลุดเฮย จิตไม่ทนคล้อยโพ้น กิเลสคง
๕.พิจารณ์ตรงธรรมหลาย พรายซับซ้อนตามดู วิเคราะห์พรูกรรมฐาน ห้าอย่างงานเพียรทำ หนึ่งตริธรรม"นิวรณ์" ที่จรกั้นจิตหนา ไกลจากสมาธิ มีริห้าได้แก่ แน่"กามฉันทะ" จิตพยาบาทแล แฉ"ถีนะมิทธะ" จะง่วงเหงาเฝ้าตรม ซม"อุทธัจจะ"คลุ้ง มีฟุ้งซ่านกระวน ยล"วิจิกิจฉา" พาลังเลใจนำ เบญจธรรมเกิดพราวฉาว ควรเบิ่ง สาเหตุ คลำมุ่งละทิ้งพ้น หยุดหนา
๖.สอง,มาพิจารณ์"ขันธ์" ครันห้าอย่างเกิด-ดับ ตรับ"รูป"ส่วนเป็นกาย ฉาย"เวท์นา"รู้สึก ตรึก"สัญญา,จำรู้" กู้"สังขาร"ปรุงแต่ง แกร่ง"วิญญาณ,จิตรู้" สู้ดูเหล่านี้ว่า ฝ่าเกิดขึ้น,ตั้งอยู่ ครู่แล้วดับลงไป ใครหาบังคับได้ เพราะสิ่งไซร้ไม่เที่ยง ขอเพียงแค่เรามี สติมั่น คราเมื่อโกรธแล้วรู้ ไม่ตาม
๗.สาม"อายตนะ" ภายในจะมีหก ปรก"ตา,จมูก,หู" ชู"ลิ้น,กาย,ใจ" และไข"อายต์นะ" ภายนอกจะมีหก ปก"รูป,กลิ่น,เสียง,รส" จด"โผฏฐัพฯ,สัมผัส" ชัด"ธัมมารมณ์,ใจ" คู่ไว"ตา-รูป"กรู "หู-เสียง,จมูก-กลิ่น" ปิ่น"ลิ้น-รส,กาย-โผฏฯ" โชติ"ใจ-ธรรมารมณ์" ตรึกสมอายตนะ ปะรู้ชัด"สังโยชน์" ผูกรัดโลดอาศัย อายตนะไวเกิด เชิดรู้สังโยชน์หนา ตา-รูปก่ออุบัติ จากเหตุใดนา สังโยชน์เกิดแล้วทิ้ง มุ่งวาง ๘.สี่,พลางพิจารณ์ธรรม รินำ"โพชฌงค์" องค์เจ็ดการตรัสรู้ "สติฯ"สู้ระลึก ตรึกใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่องงาน กรานสติทลาย โมหะกรายเกิดหลง คง"อวิชชา"ไกล สติไวลิ"อวิชฯ" ชิด"ธัมม์วิจยะฯ" จะเลือกเฟ้นธรรมเหมาะ เจาะเห็นความเป็นจริง อิงว่าขันธ์ห้าเด่น เช่นตัวตนจึงตัด ปัดละยึดเสียได้ "วิริฯ"ไซร้เพียรมั่น จิตกลั่นกล้าศรัทธา คุณนาพระรัตน์ตรัย ไวลุผลสัมฤทธิ์ จิต"ปีติ"อิ่มใจ ไสพยาบาทชัด "ปัสสัทธิ์"สงบ ครบกาย,ใจอุบัติ ชัดสำรวมอินทรีย์ มีตา,หู,ลิ้น,กาย.. ให้วายห่างจากกาม "ราคะ"ลามมิเกิด เทิด"สมาธิ์สัมฯ"แคล่ว จิตแน่วในอารมณ์ จมใน"อัปปนาฯ" พาขจัดฟุ้ง,หงุดหงิด ชิดระดับสูงใกล้ นิพพานไซร้แน่นอน จร"อุเบกขา"วาง ใจเป็นกลางเห็นจริง อิงเฉยบัญญัติหลาย กรายผัสสะ,เวท์นา ทั้งหยาบหนา,ละเอียด เฉียดเท่ากันข้ามพ้น ด้นสิ่งนี้ดีนา นี้เลวหนากว่าเอย หรือเปรยเท่าครือกัน เพราะมั่น ถือตน ควรบั่นลงคล้อยสิ้น เลิกเสีย
๙.ตรึกเยีย"อริยสัจจ์ฯ" ความจริงชัดสี่อย่าง ทางเดินพระอริยะ ปะทุกข์อริย์สัจจ์ฯ จัดทุกข์คืออะไร ใด"ทุกข์สมุท์ฯ"แจง แฝงเหตุแห่งทุกข์ผลาญ ราน"ทุกข์นิโรธฯ"ลับ คือความดับทุกข์หมด จด"นิโรธคาฯ"พลาง ถึงทางแปดดับทุกข์ รุกกิจทำทุกข้อ ทุกข์ก้อต้องรู้จริง อิงเผชิญปัญหา คราสมุทัยปะ เหตุแล้วละต้นตอ นิโรธขอแจ้งจด ภาวะหมดปัญหา ดับมุ่ง ทุกข์คลาย แปดมรรคเจริญพร้อมแล้ ทุกข์ผลาญ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๓/๔) ๑๙.มหาสติปัฏฐานสูตร
๑๐.พานทุกข์อริยสัจจ์ฯ สภาพชัดคงอยู่ ดูสภาพเดิมมิได้ ไซร้เช่นเกิด,แก่,ตาย วายจากสิ่งที่รัก จักอยากก็พลาดหวัง เศร้าโศกยังเกิดทุกข์ บุกเจ็บป่วยใจ,กาย ยึดมั่น ปัญจ์ขันธ์ เป็นดั่งทุกข์ยื้อแปล้ เช่นกัน
๑๑.ครันทุกข์สมุท์สัจจ์ฯ เหตุทุกข์ชัด"ตัณหา" ควา มอยากมาบังเกิด เหตุเพริดในภพใหม่ ใฝ่"ราคะ"ต้องการ ด้วยพานเหตุทุกข์สาม "กามตัณหา"อยากใน กามคุณไวหลาย กรายรูป,เสียง,กลิ่น,รส.. จด"ภวตัณหา" พายินดีในภพ ครบเห็นโลก,วิญญาณ มิรานสูญจึงเที่ยง ด้วยเพลี่ยงพล้ำเห็นผิด กิจ"วิภว์ตัณหา" พาเห็นผิดตายแล้ว แคล้วสูญวิญญาณหา เกิดหล้าอื่นต่อไป ตัณหาไวเหมือนเบ็ด เกี่ยวเสร็จผูกสัตว์จม ตกตมสู่"โอฆะ" จะเวียนเกิดเวียนตาย มิรู้กรายสิ้นสุด รุดทุกข์สมุทย์สัจจ์ฯ ชัดธรรมที่ควรละ ปะ"ตัณหา"เกิดที่ ปรี่ทวารหกหนา ตา,หู,จมูก,กาย ลิ้น,ใจผายหรือเกิด เพริดที่รูป,เสียง,กลิ่น รส,ปิ่น"โผฏฯ,ธัมมาฯ" "ตัณหาตั้งอยู่"นี่ ที่ได้กล่าวมาแล้ว ตัณหาแจ้วเกิดอยู่ กู่เห็น"จักขุวิญญ์ฯ" ชิน"จักขุสัมผัส" จัดที่สุขเวท์นา คราทุกข์เวท์นาเป็น เห็นที่เกิด,ตั้งอยู่ จู่ขจัดละ"ใคร่" ไม่มัวเมาสิ่งยวน เพลินชวนก่อตัณหา ทราบยิ่ง โทษทัณฑ์ เป็นเรื่องจริงแจ้งแท้ ไม่ผัน
๑๒.ครัน"ทุกข์นิโรจสัจจ์" ชัดรอบรู้สัจจะ ละตัณหาเหตุทุกข์ รุกหลุดพ้นตัณหา กิเลสซามิเหลือ ดับเครือมิหวนคืน เรียกยืน"ทุกข์นิโรธสัจจ์" พุทธ์องค์ตรัสหลายสิ่ง เป็นยิ่งของร้อนจัด ชัด"ตา,จักขุวิญญ์ฯ" ยิน"จักขุสัมผัสฯ" ชัดของร้อนเช่นกัน ครันร้อนเพราะไฟหนา ราคะ,โทสะ,โมหะ จะร้อนเพราะเกิด,แก่ แน่ตาย,โศก,ทุกข์,ครวญ กวน"มโนวิญญาณ" กราน"มโนธรรม์รมณ์" ซม"มโนสัมผัส"ร้อน จ้อน"สุขเวทนา" พาทุกขเวทนา พา"อทุกขม์สุขฯ" รุกเกิดจากปัจจัย ไวมโนสัมผัส ชัดเห็นอย่างนี้แล้ว ควรแป้วหน่ายเวทนา พา"เฉย"ก่อ"ทุกข์,สุข" มโนใฝ่ สัมผัส เกิดส่อเดือดร้อนแท้ ยิ่งหนา
๑๓.มา"ทุกข์คามินีฯ" มีธรรมดับทุกข์ได้ ไซร้แปดทางประเสริฐ เลิศทำสู่มรรคผล ดลสิ้นกิเลสหมด จดทางอื่นไม่มี ลีทางนี้อริยะ จะเดินสู่นิพพาน กราน"สัมมาทิฏฐิ" ซิรู้อริยสัจจ์ ชัดรู้ทุกขสัจจ์ ที่จัดข้องไตรลักษณ์ ประจักษ์"สังกัปปะ" จะดำริชอบตรง ไม่หลงในกามใด ใจคิดออกจากกาม ตามมิฆาต,มิเบียน เชียร"สัมมาวาจา" วจีพาสุจริต กิจ"สัมกัมมันตะฯ" กระทำชอบมีกาย ฉายสุจริตสาม ตาม"สัมมาอาชีวะ" จะเลี้ยงชีพชอบเว้น เร้นอาชีพมิจฉา พา"สัมมาวายาฯ" ความพยายามชอบ จิตนอบเพียรตั้งไว้ ไซร้ซึ่งกุศลธรรม นำหนีอกุศลกรรม จำ"สัมมาสติ" ตริระลึกชอบชัด สติปัฏฐานสี่ คลี่"สัมมาสมาธิ์ฯ" พาจิตตั้งมั่นแน่ว มิแผ่วจนลุฌาน กรานฌานหนึ่งต่อเนื่อง กระเดื่องฌานสูงสุด หลุดจากกิเลสพลัน อรหันต์ทรงญาสุด จึงรุดสู่นิพพาน พลันออก วัฏฏะ มิมุ่งหวนดั้นข้อง สืบหนา ๑๔.พิจารณา"กาย" ขจาย"เวทนา" พาดู"จิต"และ"ธรรม" กระทำทั้งสี่อย่าง ต่างต้องพิจารณ์เสริม เติมอีกหกประการ พาน"ที่อยู่ภายใน" ไกล"อยู่ภายนอก"แล แฉ"ทั้งภายนอก,ใน" ไว"มีเกิด"เสมอ เจอ"ความเสื่อม"ประจำ นำ"มีเกิด,เสื่อมไป" ไวเป็นธรรมดา พุทธ์องค์คราแจงผล ยลปฏิบัติตั้ง ยั้ง"สติปัฏฐาน" พานเหตุลุผลเด่น เช่นลุอรหัตต์ผล ยลในปัจจุบัน ครันยังมิได้จะ ประลุสู่"อนาฯ" รอย่าง เจ็ดปี หรือจ่อเร็วดั้นด้น เจ็ดวัน ฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ ทีฆนิกาย มหาวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๓๖-๓๓๗
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๔/๔) ๑๙.มหาสติปัฏฐานสูตร
กัมมมฯ=นิคม ชื่อ กัมมาสธัมมะ แคว้น กุรุ สติฯ=สติปัฏฐาน ๔ คือหนทางเอกเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ เพื่อก้าวออกจากทุกข์กาย,ใจ บรรลุธรรมที่ถูกต้องทำให้แจ้งพระนิพพาน คือการตั้งสติ ๔ อย่าง คือ ๑)ตั้งสติกำหนดพิจารณา กายในกาย(กายส่วนย่อยในกายส่วนใหญ่) ๒)ตั้งสติกำหนดพิจารณา เวทนาในเวทนา(ความรู้สึกอารมณ์ส่วนย่อย ในอารมณ์ส่วนใหญ่) ๓)ตั้งสติกำหนดพิจารณาในจิต(จิตส่วนย่อยในจิตส่วนใหญ่ คือจิตดวงใดดวงหนึ่ง ที่เกิดขึ้นดับไปมากดวง) ๔)ตั้งสติกำหนดพิจารณา ธรรมในธรรม(ธรรมส่วนย่อยในธรรมส่วนใหญ่) พิจารณากาย=แบ่งออกเป็น ๖ ส่วน ๑)อานาปานบรรพ-พิจารณากำหนด ลมหายใจเข้าออก ๒)อิริยาปถบรรพ-พิจารณาอิริยาบทของร่างกาย เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน ๓)สัมป์ชัญญบรรพ-พิจารณาในความเคลื่อนไหว เช่น ก้าวไป ก้าวมา คู้แขน กิน ดื่ม ๔)ปฏิกูลมนสิการบรรพ-พิจารณาความน่าเกลียดของร่างกาย แบ่งออกย่อย มีผม ขน เป็นต้น ๕)ธาตุบรรพ-พิจารณาร่างกายโดยความเป็นธาตุ ๖)นวสีวถิกาบรรพ-พิจารณาร่างกายที่เป็นศพ มีลักษณะ ๙ อย่าง การพิจารณาเวทนา=ความรู้สึกอารมณ์ มี ๙ อย่าง ๑)สุข ๒)ทุกข์ ๓)ไม่ทุกข์ไม่สุข ๔)สุขประกอบด้วยอามิส มี รูป เสียง เป็นตัวล่อ ๕)สุขไม่ประกอบด้วยอามิส ๖)ทุกข์ประกอบด้วยอามิส ๗)ทุกข์ไม่ประกอบด้วยอามิส ๘)ไม่ทุกข์ไม่สุขประกอบด้วยอามิส ๙)ไม่ทุกข์ไม่สุขไม่ประกอบด้วยอามิส กามคุณ ๕=ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ(สัมผัส) ธรรมารมณ์(สิ่งที่รู้ด้วยใจ) อุเบกขา=ความวางเฉย วิปัสฯ=วิปัสสนา ไตรลักษณ์=คือ อนิจจัง(ไม่เที่ยง) ทุกขัง อนัตตา(ไม่ใช่ตัวตน) การพิจารณาจิต= ๑๖ อย่าง ๑)จิตมีราคะ ๒)จิตปราศจาก ราคะ ๓)จิตมีโทสะ ๔)จิตปราศจากโทสะ ๕)จิตมีโมหะ ๖)จิตปราศจากโมหะ ๗)จิตหดหู่ ๘)จิตฟุ้งซ่าน ๙)จิตใหญ่(มหัคคตะ,จิตในฌาน) ๑๐)จิตไม่ใหญ่(จิตที่ไม่ถึงฌาน) ๑๑)จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า(สอุตตระ) ๑๒)จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า(อนุตตระ) ๑๓)จิตตั้งมั่น ๑๔)จิตไม่ตั้งมั่น ๑๕)จิตหลุดพ้น ๑๖)จิตไม่หลุดพ้น กามาว์จร=กามาวจร คือ จิตที่ยังท่องเที่ยวอยู่ใน กามคุณ ๕ รูปาวจร=จิตที่ยังท่องเที่ยวในรูปภพ อรูปาวจร=จิตที่ยังท่องเที่ยวในอรูปภพ การพิจารณาธรรม=แบ่งออกเป็น ๕ ส่วน ๑)นีวรณบรรพ หรือที่เรียกว่านิวรณ์ ๕-พิจารณาธรรมที่กั้นจิตมิให้บรรลุสมาธิ (๑.๑)กามฉันทะ (๑.๒)พยาบาท (๑.๓)ถีนะมิทธะ-ง่วงงุน(๑.๔)อุทธัจจะ-ฟุ้งซ่าน (๑.๕)วิจิกิจฉา-ลังเลสงสัย ๒)ขันธบรรพ พิจารณาขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ๓)อายตนบรรพ-พิจารณาอายตนะ ภายใน ๖ ได้แก่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อายตนะ ภายนอก ๖ = รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ(สัมผัส,ถูกต้อง) และธรรมารมณ์(สิ่งที่ถูกรู้ด้วยใจ) ๔) โพชฌงค์บรรพ -พิจารณาธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ ๗ ๕)สัจจบรรพ-พิจารณาอริยสัจจ์ ความจริงอันประเสริฐ ๔ อย่าง (๑)ทุกข์อริยสัจจ์-ทุกข์คืออะไร? (๒)ทุกขสมุทยสัจจ์-เหตุแห่งทุกข์คือ ตัณหา แยกได้ ๓ คือกามตัณหา-ความอยากในกามคุณ; ภวตัณหา-ความอยากมี อยากเป็น อยากเกิดในภพ;วิภวตัณหา-ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น (๓)ทุกข์นิโรธสัจจ์-ความดับทุกข์ (๔)ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา=ทางปฏิบัติไปสู่ความดับทุกข์ แบ่งได้ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ-ความเห็นชอบ;สัมมาสังกัปปะ- ดำริชอบ;สัมมาวาจา-วาจาชอบ;สัมมากัมมันตะ-กระทำชอบ;สัมมาอาชีวะ-เลี้ยงชีพชอบ; สัมมาวายามะ- ความพยายามชอบ; สัมมาสติ- ความระลึกชอบ;สัมมาสมาธิ-สมาธิชอบ ความตั้งใจมั่นถูกทาง สังโยชน์=กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์ให้จมอยู่ในวัฏฏสงสาร อวิชฯ=อวิชชา คือความไม่รู้ในอริยสัจ ๔ วิชชา=ความรู้แจ้งในอริยสัจ ๔ โพชฌงค์ ๗=ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ ๑)สติ-ความระลึกได้ ๒)ธัมมวิจยะ-การหาความจริง ๓)วิริยะ ๔)ปีติ-ความอิ่มใจ ๕)ปัสสัทธิ-ความสงบ ๖)สมาธิ ๗)อุเบกขา อัปปนาฯ=อัปปนาสมาธิ คือภาวะที่มีสมาธิแนบแน่น ถือว่าเป็นสมาธิในระดับสูงนๆ จักขุวิญญ์ฯ=จักขุวิญญาณ คือ ความรู้ที่เกิดขึ้น เมื่อรูป พบกับตา จักขุสัมผัส=อาการที่รูป ตา และ จักขุวิญาณ เกิดขึ้นพร้อมกันพอดี มโนวิญญาณ=การน้อมจิตไปในธรรมารมณ์ ทั้ง ๓ คือ เวทนา สัญญา และสังขาร มโนธรรมรมณ์ฯ=มโนธรรมรมณ์ คือความรู้สึก ผิดชอบชั่วดี มโนสัมผัส=ความกระทบทางใจ เมื่อ ใจ+ธรรมมารมณ์+มโนวิญญาณ สุขเวทนา=ความพอใจ ทุกขเวทนา=ความบีบคั้น ดิ้นรน อทุกขม์สุขฯ=อทุกขมสุขเวทนา คือไม่สุข ไม่ทุกข์ อนาฯ=พระอนาคามี พระอริยะ อันดับที่ ๓ รองจากพระอรหันต์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
ประมวลธรรม : ๒๐.ปายาสิราชัญญสูตร(สูตรว่าด้วยพระเจ้าปายาสิ)
ร่ายโบราณ
๑.เหตุเกิดแคว้น"โกศล" กัสส์ปะยลพร้อมสงฆ์ ห้าร้อยตรง ณ ป่า กล้าสีเสียดที่เมือง "เสตัพย์ฯ"เรืองกระเดื่อง "ปเสนฯ"เปรื่องส่ง"ปายาฯ" มาครองเมืองแต่รอ แต่งตั้งคลอราชา นั้นแล
๒.ปายาฯตริเห็นผิด คิด"โลกอื่นไม่มี" ขจี"เทพหามี" "อุปปาฯ"ทวีเกิด เพริดโตทันทีนั้น ไม่มีดั้นจริงเลย เผยผลกรรมดี,ชั่ว ก็มัวไม่มีจริง อิงล่ำลือกัสสปะ วะงามพราหมณ์ทั้งหลาย ต่างเยี่ยมกรายไปหา ปายาฯก็ตามไปพลัน ครันปายาฯแจ้งทิฏฐิ ความเห็นตริเรื่องต่าง สะพร่างกัสส์ปะฯยิน เปรียบเลย
๓.กัสส์ปะฯผินถามว่า ทรงเห็นพร่า"โลกอื่น" ดื่นไม่มีเลยครัน จันทร์,อาทิตย์เป็นคน หรือยลเป็นเทพา อยู่นาโลกนี้,อื่น ปายาฯรื่นทรงตอบ โดยชอบพระอาทิตย์ ชิดพระจันทร์อยู่ใน "โลกอื่น"ไกลหาใช่ ใน"โลกนี้"แน่นอน มิจรเทพหรือคน นั่นเลย
๔.ผลปายาฯเล่าตรง คงมีอำมาตย์,มิตร ญาติชิดกระทำชั่ว ครันมัวเจ็บไข้หนัก คิดว่าจักไม่หาย จะเสด็จกรายหา สั่งคราตายไปแล้ว นรกแจ้วให้มาบอก ไม่มีดอกสักผู้ จึงรู้ว่า"โลกอื่น" ชื่นไม่มีแน่เอย กัสส์ปะเผยเปรียบโจร โยนสู่ที่ประหาร ขอซานลาญาติก่อน จะผ่อนได้หรือไม่ ปายาฯไวตอบ"ไม่ได้" กัสส์ปะไซร้ตอบแม้น นรกแร้นกลับมาบอก มิได้หรอกเช่นกัน ดังนี้
๕.ครัน"ปายาฯ"ตรัสนำ ผู้ทำดีเราสั่ง ถึงฝั่งสวรรค์แล้ว ให้แกล้วกลับมาบอก มิมีดอกใครหวน สวนมาบอกกันเลย เผยจึงมิเชื่อว่า ฝ่า"โลกอื่น"มีจริง กัสส์ปะอิงเหมือนคน ตนจมหลุมขี้มิด ดึงขึ้นลิดสะอาด แล้วยาตรสู่ปราสาท บำเรอดาษเสื้อผ้า พร้อมจ้ากามคุณห้า ผู้นั้นกล้าคืนหลุม ปกคลุมอุจจาระ ปะอย่างเดิมหรือไม่ ปายาฯใคร่ตรัส"ไม่" เพราะเหตุใดกัสส์ปะถาม ตอบความอุจจาระ มิสะอาดกลิ่นเหม็น กัสส์ฯตอบเป็นเดียวกัน พลันตัวมนุษย์เอง เล็งเหม็นมิสะอาด คาดน่ารังเกียจมาก ผู้มาจากสวรรค์ ครันกลับมาบอกใคร เรื่องไหนมิได้เลย ฉะนี้
๖.ครันปายาฯทรงตรัส ชัดผู้ทำดีแล้ว มิแคล้วสุคติ ซิโลกสวรรค์ถึง พึงเป็นสหายเทพ เสพชั้นดาวดึงส์ จึงขอให้มาบอก มิมีดอกใครจะ ปะมาบอกกันเลย พระองค์เผยมิเชื่อ โลกอื่นเครือมีจริง กัสส์ปะอิงต่างกาล นานร้อยปีมนุษย์ รุดเท่าหนึ่งคืน-วัน พลันของเทพดาวดึงส์ อายุถึงพันปี ผู้ทำดีไปเกิด เริดบอกสอง-สามวัน พลันมาบอกได้หรือ ปายาฯครือตอบ"ไม่" ชีพเราไขว่ตายแล้ว ปายาฯแกล้วถามต่อ ใครส่อบอกกัสส์ปะ วะชีพดาวดึงส์นาน เราพานไม่เชื่อเลย กัสส์ปะเปรยเหมือนคน ตาบอดยลไม่เห็น เป็นแต่กำเนิดแล้ว กล่าวแจ้วสีขาว,แดง แจงไม่มีคนเห็น เป็นสีนั้นไม่มี ทีพระอาทิตย์,จันทร์ พลันดาวไม่มีเอย เผยผู้เห็นมิมี ตัวข้าศรีไม่รู้ สิ่งอู้จึงไม่มี กล่าวลีชอบหรือไม่ กัสส์ปะไกล่ไม่ชอบ กัสส์ปะตอบพระองค์ ทรงมิรับเทวา ดาวดึงส์นาเช่นนั้น สมณะดั้นความเพียร เชียรสงัดในป่า ฝ่าทิพยจักษุ ลุเห็น"โลกนี้,อื่น" เห็นดื่นสัตว์ผุดเกิด กำเนิดอุปปาฯโต ตาทิพย์โขเหนือกว่า ว่าสูงเกินตามนุษย์ จะรุดด้วยตาเนื้อ เกื้อเห็นไม่ใช่เลย ฉะนั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๒/๔) ๒๐.ปายาสิราชัญญสูตร
๗.ปายาฯเผยเห็นพราหมณ์ ศีลธรรมลามงดงาม ถามอยากมีชีวิต คิดยังไม่อยากตาย อยากกรายใกล้ความสุข ทุกข์เกลียดไม่อยากพบ ปายาฯนบถ้ารู้ว่า ตายแล้วอ่าจะยาตร ดีกว่าชาตินี้แน่ ก็แค่ฆ่าตัวตาย แต่หน่ายไม่รู้ว่า จะดีกว่าชาตินี้ จึงชี้ไม่ยากตาย ปายาฯฉายไม่เชื่อ มิเผื่อโลกอื่นมี อุปปาฯดีโตพลัน ไม่ยันผลกรรมดี หรือชั่วมีจริงเลย กัสส์ปะฯเผยความเปรียบ พราหมณ์หนึ่งเฉียบเมียสอง เมียแรกครองบุตรชาย อีกรายมีครรภ์แก่ แน่ใกล้จะคลอดแล้ว แต่พราหมณ์แป้วถึงตาย มานพผายเรื่องทรัพย์ กับแม่เลี้ยงว่าตน แค่คนเดียวเจ้าของ แม่เลี้ยงตรองให้รอ ถ้าคลอดคลอเป็นชาย จะได้ขยายแบ่งส่วน เป็นหญิงด่วนกรรมสิทธิ์ ชิดของพี่ชายเอง เขามิเกรงเซ้าซี้ ชี้แม่เลี้ยงสามครั้ง นางเผลอพลั้งผ่าท้อง เพื่อดูน้องชาย-หญิง ผู้เขลาจริงด้วยโลภ ละโมบสินมิคิด ชีวิตตน,ลูกวาย พราหมณ์หลายมีศีลมั่น บัณฑิตกลั่นพฤฒิรุก มิชิงสุกก่อนห่าม พราหมณ์ขามยังชีวิต วิจิตรนานเท่าใด ผู้อื่นไวบุญยิ่ง เพราะท่านดิ่งโอบเอื้อ เกื้อกูลชนสุขใจ ประโยชน์ใดช่วยโลก โชคแด่มนุษย์,เทวา นั้นแล
๘.ปายาฯตรัสแย้งต่อ เคยก่อลงโทษโจร โดนใส่หม้อทั้งเป็น ลำเค็ญปิดฝาแล้ว รัดแป้วด้วยหนังสด จรดดินเหนียวพอก บอกยกขึ้นเตาเผา เขาตายแล้วเปิดดู มิกรูเห็นชีวะ มิละหายไปเอย เหตุนี้เลยมิเชื่อ ว่ามีเพื่อโลกอื่น กัสส์ปะฯรื่นทูลถาม ระลึกตามได้หรือ ครือกลางวันฝันเห็น สวนเย็นรื่นรมย์ชัด ปายาฯตรัสรำลึกได้ กัสส์ปะฯไซร้ถามเพิ่ม เสริมคนค่อม,เด็กหลาย กรายมาเฝ้าหรือไม่ ทรงตอบใช่ดังความ กัสส์ปะฯถามพวกนั้น เห็นดั้นชีวะพระองค์ ตรงเข้า-ออกหรือไม่ ทรงตอบไป่เห็นเลย กัสส์ปะฯเผยคนเป็น ไม่เห็นชีวะเข้า เฝ้าออกของพระองค์ ทรงมีชีวิตอยู่ จะกู่เห็นชีวะ ปะคนเข้า-ออกตาย อย่างไร
๙.ปายาฯครันตรัสต่อ เคยจ่อลงโทษโจร โผนชั่ง"น้ำหนักเป็น" เชือกเข็ญรัดคอตาย น้ำหนักกายซิมาก จากเมื่อ"ยังเป็นอยู่" จู่อ่อนแก่แล้วยัง มีพลังทำงานได้ ไซร้ดีกว่าตายคล้อย เหตุนี้ด้อยพระองค์ ทรงมิเชื่อ"โลกอื่น" กัสส์ปะชื่นถามตรอง ลองชั่งเหล็กเผาไฟ เหล็กเย็นไขเทียบกัน อย่างไหนพลันจะเบา อ่อนเกลาใช้งานยิ่ง ปายาฯดิ่งตอบว่า เหล็กจ่ากอปรธาตุไฟ ธาตุลมไวร้อนโพลง จะเบาโหวงอ่อนกว่า ใช้งานค่าสูงเพียบ เมื่อเปรียบเหล็กเย็นเอย กัสส์ปะเผยร่างกาย ฉายเหมือนไฟกอปรกับ "อายุ"นับต่อหล่อเลี้ยง "ไออุ่น"เพี้ยงรวมทั้ง "วิญญาณ"ตั้งใจรู้ คู้"เบา"และ"อ่อนกว่า" อ่าใช้งานดีนา ยิ่งแล
๑๐.ปายาฯตรัสแย้งต่อ จ่อโทษโจรให้ฆ่า ผิวหนังอย่ามีรอย เมื่อตายผลอยจับหงาย หมายดูชีวะหลุด รุดจากร่างมิยล พลิกตนหันซ้าย-ขวา จับกายมาห้อยหัว รัวใช้มือ,ไม้เคาะ เจาะพลิกตัวไปมา ไม่เห็นนาชีวะ จะออกจากร่างเลย เผยโจรก็มี"หู" พรู"ตา,จมูก,ลิ้น" จิ้นมี"รูป,เสียง,รส.." แต่มิจด"เห็น,ฟัง" กัสส์ปะขลังทูลเล่า คนเป่าสังช์สามครั้ง ยั้งหยุดแล้ววางลง คนยินตรงชอบใจ ชุมนุมไวเสียงเพราะ เจาะจับต้องพร้อมเร่ง เจ้าสังข์เปล่งเสียงเอย สังข์เฉยไม่เปล่งใด แม้ไสพลิกคว่ำผาย ใช้มือกรายเคาะเมียง ก็ไร้เสียงเหมือนเก่า คนเป่าสังข์คิดเอา ชนหลายเขลาไม่ตรับ จึงจับสังข์มาเป่า เหล่าชนทราบสังข์กอปร ตอบด้วย"คน"ตั้ง"เพียร" มี"ลม"เชียรจึงเปล่ง เร่งเสียงออกมาได้ กายไซร้เช่นเดียวกัน ครันกอปรด้วย"อายุ" จุ"ไออุ่น,วิญญาณ" จึงพาน"เดิน,ยืน,เห็น" เป็น"รูป,ฟังเสียง"ไกล "ลิ้มรส"ไว"สัมผัส" ชัดใจรู้อารมณ์ มิระดมสิ่งนี้ กายชี้แน่นิ่งเอย นั่นแล
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๓/๔) ๒๐.ปายาสิราชัญญสูตร
๑๑.ปายาฯเผยตรัสเพิ่ม เสริมสั่งลงโทษโจร จับโยนตัด"เนื้อ,หนัง" พังส่วน"เอ็น,ดระดูก"เพื่อ เผื่อดูชีวะออก มิมีดอกไม่พบ จึงจบไม่เชื่อว่า "โลกอื่น"หล้าจะมี กัสส์ปะตีความแจง แถลงมี"ชฎิล" ผู้ชินบูชาไฟ อาศัยกุฎีมุง พยุงด้วยใบไม้ ที่ใกล้มีกลุ่มคน ปะปนพักแรมกัน ครันเขาจากไปแล้ว ชฎิลแกล้วสำรวจ ตรวจของทิ้งยังใช้ ได้หรือไม่กลับพบ ทารกครบเพศชาย จึงกรายเลี้ยงจนโต วัยโขสิบสองปี ชฎิลมีธุระ จะต้องไปเมืองไกล ให้เด็กบูชาไฟ อย่าห่างไกลเมียงมอง ผองไฟอย่าให้ลับ ถ้าไฟดับจุดใหม่ จัดใส่วาง"มีด,ไม้" พร้อมไซร้"ไม้สีไฟ" เด็กเพลินไปไฟดับ ฉับถากไม้สีไฟ หวังไวจะได้ไฟ แต่มิไยไม่ได้ เด็กไซร้ผ่าเป็นสอง ลองสาม-ยี่สิบซีก ฉีกบิใส่ครกตำ ทำแล้วโปรยคอยลม ก็ซมมิได้ผล ชฎิลยลเด็กอ่อน ค่อนหาไฟมิตรง ชงทำให้เด็กดู ถูไม่สีไฟกัน พลันจะติดไฟได้ พระองค์ไซร้เหมือนกัน ยืนยันหา"โลกอื่น" วิธีดื่นผิดทาง พลางกัสส์ปะแนะให้ สละไซร้เห็นผิดครัน นี้แล
๑๒.พลันปายาฯทรงอ้าง จะเลิกร้างมิได้ ไซร้เห็นผิดเยี่ยงนี้ ชี้ปเสนฯและราชา ทั่วหล้ารู้กันแล้ว พระองค์แจ้วคิดต่าง ติไม่สร่างคลายเอย กัสส์ปะเลยจูงใจ เปลี่ยนไกลความเห็นผิด พระองค์คิดไม่ยอม กัสส์ปะออมชอมยก ปรกอุปมาสี่ข้อ ง้อพิจารณา นั่นแล
๑๓.หนึ่ง,หนาเปรียบพ่อค้า กล้ามีเกวียนหมู่ใหญ่ ใคร่จรจากตะวันตก วกสู่ออกตรงข้าม คร้ามแบ่งเกวียนสองกอง ครองแต่ละห้าร้อย กองแรกคล้อยไปก่อน ถูกคนบ่อนสวนทาง ขวางหน้าหญ้า,น้ำเปี่ยม เรี่ยมทิ้งของหมดแล้ว หน้ามิแคล้วกันดาร คนซานไปตายหมด ขบวนหลังจดรู้รอบ มิถูกครอบงำใด ถึงแดนไกลกันดาร กิจการรื่นราบเรียบ กัสส์ปะเปรียบปายาฯ แสวงหา"โลกอื่น"โดย คิดโกยไม่แยบคาย ชวนคนกรายผิดทาง พลางผู้อื่นพินาศ พลาดเหมือนเกวียนแรกเลย ฉะนี้
๑๔.สอง,เปรียบดังชายหนึ่ง ซึ่งเลี้ยงหมูเดินทาง พลางถึงหมู่บ้านอื่น เห็นดื่นคูถแห้งมาก จากคิดไกลประโยชน์ โลดอาหารหมูได้ ไซร้คลี่ผ้าห่มห่อ จ่อคูถเทินศีรษะ ระหว่างทางฝนตก คูถปรกไหลเปรอะหน้า คนติบ้าเยี่ยงนี้ เขากลับชี้อาหาร พระองค์ปานเปรียบเหมือน ขอจงเบือนหนีละ กะความเห็นผิดเอย ฉะนั้น
๑๕.สาม,เผยเปรียบสองคน ยลเล่นสกากัน พลันหนึ่งกลืนลูกโทษ หวังโลดชัยจะพาน ถูกว่าขานชนะบ่อย จงปล่อยลูกสกาดี ทำพิธีชัยกู้ ผู้ชนะจึงมอบให้ คนแพ้ใช้ยาพิษ คิดทาลูกสกา คราเล่นครั้งสองยืน คนแรกกลืนลูกโทษ โดดถึงความตายพลัน พระองค์พลันเปรียบดั่ง นักเลงคลั่งกลืนสกา นำพาพิษถึงตน ขอจงทนสละ กะความเห็นผิดปลง นั้นแล
๑๖.สี่,คงมีชายสอง ตรองจรชนบท จรดหาสินทรัพย์ พบกับ"ป่าน"ระหว่างทาง พลางก็ห่อป่านพก เห็น"ด้าย"ปกค่าสูง คนหนึ่งจูงทิ้งป่าน ซ่านเอาแต่ด้ายไป อีกคนไขมิทิ้ง ผูกรัดพริ้งด้วยกัน เดินต่อทันพบเลือก "ผ้าเปลือกไม้,ผ้าฝ้าย" พบละม้าย"เหล็ก,โลหะ" ปะ"ดีบุก,ตะกั่ว" จั่ว"เงิน,ทอง"มากมาย คนหนึ่งกรายทิ้งเก่า เคร่าใหม่ราคาแพง อีกคนแจงมิทิ้งเลย เผยแบกมาไกลแล้ว เมื่อแพร้วกลับถึงบ้าน ญาติค้านผู้แบกป่าน พล่านมิชมเชยเอย เผยผู้แบกห่อทอง ครอบครองทองมากมาย ญาติฉายชื่นชมพูน กัสส์ปะทูลปายาฯ พระองค์นาจะเหมือน เยือนผู้แบกป่านเอง จงเกรงเห็นผิดเอย ฉะนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(ต่อหน้า ๔/๔) ๒๐.ปายาสิราชัญญสูตร
๑๗.เผยปายาฯเลื่อมใส กัสส์ปะไขภาษิต ตั้งจิต"อุบาสก" "พระรัตน์ฯ"ปกที่พึ่ง บึ่งพระธรรมชั่วกาล ทรงถามกรานวิธี พลีบูชายัญ กัสส์ปะยันเว้นฆ่า ปายาฯว่าพฤติตาม มีลามแจกทานเติม เสริมคุณภาพเยี่ยม เปี่ยมตามลำดับกาล นั่นแล ฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ ทีฆนิกาย มหาวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๓๓๗-๓๔๑
กัสส์ปะฯ=พระกุมารกัสสปะเถระ คือพระสาวกของพระพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก ๘๐ องค์ สำคัญในสมัยพุทธกาล ประวัติของท่าน มีมารดาพึ่งบวชเป็นภิกษุณี โดยมิรู้ว่าตั้งครรภ์ แต่ได้รับการตัดสินว่าศีลมิขาด และได้อยู่ในพระอุปถัมภ์ของพระเจ้าปเสนทิโกศล และได้บวชตั้งแต่เป็นสามเณร เสตัพย์=เสตัพยนคร เป็นเมืองที่ พระเจ้าปายาสิ ครองอยู่ ปเสนฯ=พระเจ้าปเสนทิโกศล ปายาฯ=พระเจ้าปายาสิ เป็น ราชัญญะ คือพระราชาที่มิได้อภิเศก อุปปาฯ=อุปปาติกะ คือสัตว์ที่เกิดใหญ่โตขึ้นทันที เช่น เทพ กามคุณห้า=สิ่งที่น่าปรารถนา ชวนให้รักใคร่ พาใจให้กำหนัดยินดี คือ ๑)รูป-สิ่งที่ตามองเห็น ๒)เสียง ๓)กลิ่น ๔)รส ๕)โผฏฐัพพะ-สิ่งที่กายสัมผัส ชฎิล=นักบวชเกล้าผมมุ่นเป็นมวยสูง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
ประมวลธรรม : ๒๑.อัมพัฏฐสูตร(สูตรว่าด้วยการโต้ตอบกับอัมพัฏฐมาณพ)
ร่ายยาว
๑.พระพุทธเจ้าเสด็จไป ไกลก้องแคว้นโกศลพรั่งพร้อม ภิกษุน้อมค้อมตามหมู่ใหญ่คง ทรงหยุดยั้งหมู่บ้านพราหมณ์ชื่อ ลือ"อิจฉาพังคละ"กรายใกล้ ไซร้เมือง"อุกกัฏฐา"ในอาณัติ ชาญชัดด้วย"โปกขรสาติ"พราหมณ์ "ปเสนฯ"ตามให้พราหมณ์มาครอบครอง โปกขรฯตรองถ่องข่าวสรรเสริญพุทธองค์ จึงสั่งตรง"อัมพัฏฐมานพ" จ้องจบเฝ้าดูพระพุทธเจ้าจะมีมาด คาด"มหาปุริสลักษณะ"ครบ จบคล้ายคัมภีร์มนต์ของตนหรือไร แล้วแล
๒.อัมพัฏฐไปเฝ้าแต่เร้าอวดดี มีอาการมิเคารพคือเดิน,ยืน ฝืนสนทนาขณะพุทธองค์นั่ง พระองค์สั่งเตือนติมิฟังเลย เผยตนเป็นพราหมณ์ต้องแสดงอาการเช่นนี้ ชี้กับคนไพร่ที่โกนศีรษะ และปะโกรธเกรี้ยวเมื่อพุทธองค์ ทรงติติงอัมพัฏฐชัดยังมิจบ ครบพรหมจรรย์ของพราหมณ์ แต่ลามเลือนว่าตนจบแล้ว อัมพัฏฐแจ้วด่าว่าสกุลศากยะ ของพระพุทธเจ้าสกุลทาส,ไพร่ ไม่เคารพนบวรรณะพราหมณ์ นั่นแล
๓.พุทธองค์ทรงตรัสถาม ความศากยสกุลทำผิดอะไร อัมพัฏฐไวตอบได้ไปกรุงกบิลพัสดุ์ ธุระชัดของโปกขรพราหมณ์ เพื่อพบถามเจ้าศากยะ ปะเจ้าศากยะนั่งบนที่สูง พร้อมจูงเหล่าศากยะกุมารมา คราเด็กระริกซิกซี้ ชะรอยชี้หัวเราะเยาะตนได้ ไซร้มิมีใครเชิญนั่งเลย เผยไม่เคารพอ่อนน้อม ค้อมพราหมณ์ของศากยะไพร่ จึงไม่สมควรเยี่ยงนี้ ชี้เป็นการประนามศากยสกุล ไพร่สถุลครั้งที่สอง พุทธองค์ตรองตรัสแม้นกไส้ ได้อยู่ในรังยังส่งเสียงร้อง พร้องตามชอบใจเคย กุมารเอยเข้าใจเป็นถิ่นตนแน่ อัมพัฏฐแค่ไม่ควรด่วนโทษเหตุอันน้อยเอย ฉะนี้
๔.อัมพัฏฐเผยวรรณะทั้งสี่นั้น มีสามดั้นคือกษัตริย์,แพทย์,ศูทร มักพูดกันเป็นผู้บำเรอพราหมณ์ ตามที่ศากยะไพร่ไม่นบน้อมพราหมณ์ จึงมิงามไม่สมควรเลย เผยประนามศากยสกุลครั้งสาม ทรงมิขามแต่ถามอัมพัฏฐโคตรใด อัมพัฏฐไวว่องแจ้ง"กัณหายนโคตร" โปรดตรัสต้นสกุลศากยะคือ กษัตริย์ชื่อ"โอกกากราช" แต่ชาติสกุล"กัณหายน"เด่น เป็นเช่นนางทาสีชื่อ"ทิสา" มาเป็นทาสของโอกกากราช ศากยะยาตรจากลูกกษัตริย์ กัณหาฯชัดจากลูกนางทาสี นึกให้ดีถึงสกุลดั้งเดิมเถิดเอย นั่นแล
๕.เผยมานพทั้งหลายที่ตามมา พาอื้ออึงแย้งพระพุทธองค์ อย่าทรงกล่าวอัมพัฏฐเป็นลูกทาสี เพราะชาติดีถ้อยคำงาม สดับความมากและเป็นบัณฑิต พุทธองค์คิดตรัสถามอัมพัฏฐ เรากล่าวชัดเป็นความจริงหรือไร ทรงย้ำไวถึงสามครา อัมพัฏฐพาตอบเป็นความจริง ผู้อื่นติงติเตียนกำเนิดต่ำ ด่ำหลงว่าพระโคดมพูดมิตรง พุทธองค์ห้ามและเล่าเรื่อง"กัณหะ" แม้จะเป็นบุตรทาสีแต่พากเพียร เรียนพรหมมนต์ชำนาญยิ่ง มิกริ่งเกรงขอธิดาพระเจ้าโอกกากราช ครั้งแรกพลาดครั้งสองจึงสำเร็จ เพราะเข็ดกลัวฤทธิ์กัณหะครัน ฉะนี้
๖.พลันพุทธองค์ถามอัมพัฏฐเรื่องประเพณี กษัตริย์,พราหมณ์มีดีกว่ากันอย่างไร ไขสี่ข้อเพื่ออัมพัฏฐคลายถือตน หนึ่ง,คนที่เกิดจากพ่อเป็นกษัตริย์ และม่ชัดเป็นพราหมณ์จะได้ ไซร้ที่นั่ง,น้ำในพวกพราหมณ์หรือไร อัมพัฏฐไวตอบได้ยอมให้ ได้บริโภคอาหารในพิธีต่างเช่น เด่นพิธีสารท,งานมงคล ยลร่วมยัญญพิธี,ต้อนรับแขก พุทธองค์แทรกจะสอนมนต์ไหม อัมพัฏฐไวตอบสอนได้ ทรงถามให้แต่งงานกับสตรีพราหมณ์ไหม อัมพัฏฐไขมิห้ามเลย ทรงเปรยถามจะอภิเษกเป็นกษัตริย์ได้ไหม ตอบไวมิได้เพราะฝ่ายแม่ เป็นพราห มณ์แน่มิบริสุทธิ์เอย นั่นแล
๗.สอง,เผยพุทธองค์ทรงถามบุตรเกิด เริดจากพ่อเป็นพราหมณ์,แม่กษัตริย์ จะจัดที่นั่ง,ได้น้ำหรือไย ห้ามไปแต่งงานกับสตรีพราหมณ์ ทรงถามว่าจะเป็นกษัตริย์ได้ไหม อัมพัฏฐไวตอบทำได้ทุกข้อ เว้นป้อเป็นกษัตริย์เพราะฝ่ายพ่อ ส่อไม่บริสุทธ์นา นั่นแล
๘.สามครา,ทรงถามพราหมณ์ได้โทษ โฉดถูกโกนศีรษะขี้เถ้าโปรย ถูกไล่โกยออกจากเมือง จะยังเนืองได้ที่นั่ง,น้ำ ร่วมย้ำในพิธีกรรม,สอนมนต์ให้ ไซร้จะแต่งงานกับสตรีพราหมณ์ได้หรือไม่ อัมพัฏฐไล่ความถูกห้ามทั้งหมดเลย ฉะนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(หน้า ๒/๔) ๒๑.อัมพัฏฐสูตร
๙.สี่เผย,ทรงถามกษัตริย์ได้โทษ ถูกโลดโกนศีรษะ,ขี้เถ้าโปรย เนรเทศโกยจากนคร จะยังจรได้ที่นั่ง,น้ำ ร่วมซ้ำในพิธีกรรม,สอนมนต์ให้ จะได้แต่งงานกับสตรีพราหมณ์หรือไม่ อัมพัฏฐไกล่ความ ลามทุกข้อมิได้ห้ามเลย ฉะนั้น
๑๐.พุทธเจ้าเผยแสดงว่ากษัตริย์ประเสริฐ เลิศกว่าพราหมณ์และทรงรับรอง ภาษิตของสนังกุมารที่ว่า โคตรที่ค่าสูงสุดในหมู่ชนคือ กษัตริย์ลือเลี่องวิศิษฐ์เปี่ยม แต่ใครเรี่ยมสมบูรณ์ด้วย"วิชชา,ความรู้" และผู้"จรณะ,ประพฤติ"ยิ่งแล้ว มิแคล้วได้ชื่อยอดเยี่ยมสุด ในมนุษย์และเทวา นั่นแล
๑๑.คราอัมพัฏฐทูลถามการมี ความรู้ดีกับประพฤติบรรเจิด จะเกิดเป็นอย่างไร พุทธองค์ไขความถ้าผู้ใด ยังไป"ถือตัว,ถืออวาหะแต่งงาน" พาน"วิวาหะ,ชายแต่งไปบ้านหญิง" ผู้นี้จริงแล้วห่างร้าง"ความรู้" อู้ไกลประพฤติอันเลิศล้ำ เมื่อกล้ำกลืนถือชาติ,ถือโคตร โฉด"ถือตัว,ถืออาวาหะ,วิวาหะ"ได้ จึงใกล้การแจ้งรู้และพฤติอันยิ่ง ทรงแจ้งดิ่งแน่วผู้ออกบวชคงศีลธรรม บำเพ็ญฌานสี่,ลุวิชชาแปดนา จึงพารอบรู้และประพฤติเยี่ยมไกล ความรู้ไหนพฤติใดไม่เทียบเทียมเลย แล้วแล
๑๒.เผยพระพุทธเจ้าแจงทางแห่งความเสื่อมสี่ ที่ไม่สมบูรณ์ด้วยความรู้,ประพฤติตรอง ของสมณพราหมณ์ที่ยังไม่ลุกิจนั้น หนึ่ง,กระชั้นหาบเครื่องใช้,กินผลไม้ร่วงในป่า สอง,ท่าหนึ่งทำมิได้ต้องขุดเผือก,มัน สาม,ครันพลาดทำทั้งหนึ่ง,สองต้องอ้าง สร้างโรงบูชาไฟบูชาอัคนีเทพ สี่,เสพสามข้อมิได้ไซร้ก็ปลูกบ้าน ประตูสี่ด้านคอยดักสมณพราหมณ์ทุกทิศ ทรงพิศถามอัมพัฏฐพร้อมอาจารย์ พานสมบูรณ์ด้วยรู้และประพฤติหรือไม่ ตอบมิใช่ยังห่างเหินไกลอยู่ กู้ตรัสถามต่อทำแบบดาบส จรดทั้งสี่แบบได้หรือไม่ อัมพัฏฐใฝ่ตอบทำมิได้ ตรัสไซร้สรุปว่าอัมพัฏฐและอาจารย์ กรานเสื่อมความสมบูรณ์รอบรู้,พฤติเยี่ยม เลี่ยมทั้งสี่คลาดแคล้วทุกอย่าง กร่างเตือนว่าที่ทนงตนล้วน ถ้วนมิเป็นแก่นสารเพียงจด อย่างดาบสยังทำมิได้เลย นั่นแล
๑๓.เผยพุทธเจ้าทรงบ่งแจ้งความผิดพลาด ยาตรสองข้อของ"โปกขรฯพราหมณ์" หนึ่ง,ตามกล่าวสมณโล้นเป็นไพร่ ใช่พวกดำเกิดจากท้าวพรหม สมจะเจรจากับพราหมณ์ผู้รู้ไตรเพทอย่างไร แต่ตนไกลก็เสื่อมไร้วิชชามิสมบูรณ์ สอง,ได้พูนของบริโภคจาก"ปเสนฯ"ผู้เป็น. ใหญ่ แต่มิใฝ่ให้โปกขรฯเฝ้าหน้าพระพักตร์ จักต้องมีม่านกั้นทุกครา ฉะนี้
๑๔.เผยพุทธองค์ทรงตรัสกับอัมพัฏฐ ชัดขานว่าขณะพระเจ้าปเสนฯ เจนประทับบนคอช้าง ด้านข้างมีคนวรรณศูทรยืนอยู่ สักครู่ปเสนฯมีพระดำรัสกับอำมาตย์ แล้วศูทรกาจเลียนคำพูดแพร้วไปพร้อง จะเรียกก้องเป็นคำพูดราชา,อมาตย์ได้หรือ อัมพัฏฐครือตอบเป็นไปไม่ได้ พุทธเจ้าไซร้ตรัสเปรียบเปรย พราหมณ์เคยสวดมนต์เก่าแก่ แน่ฤษีรุ่นเก่าสวดมาแล้ว ชื่อแกล้วกล้า"อัฏฐะ,วามกะ" ปะ"วามเทพ,เวสสามิตต์,อังคีรส" แล้วจรดตัวอัมพัฏฐอาจารย์ ก็พานร่ำเรียนมนต์เหล่านั้น ดั้นจะเป็นฤษีหรือผู้กำลังปฏิบัติ จะแน่ชัดเป็นไปได้หรือ อัมพัฏฐพรือตอบเป็นฤษีไม่ได้เลย นั่นแล
๑๕.เผยพุทธเจ้าตรัสถามอัมพัฏฐ ชัดฤษีรุ่นเก่าเพียบพร้อมกามคุณห้า อาหารจ้าคุณภาพดีสตรีบำเรอ เจอขี่รถทียมม้าล่าแทงปฏักสัตว์ จัดท่องเที่ยวตามแหล่งต่าง สะพร่างพร้อมบุรุษอารักขา กล้าเหมือนแม้นตัวท่านและอาจารย์ พานพบในสมัยนี้ใช่หรือไม่ อัมพัฏฐไกล่ความฤษีสมัยก่อน มิร่อนทำเหมือนอย่างนี้ พุทธองค์ชี้สรุปอัมพัฏฐมานพ และจบอาจารย์มิได้เป็นฤษี หรือผู้ลีปฏิบัติเพื่อเป็นฤษี นี้แล
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(หน้า ๓/๔ ) ๒๑.อัมพัฏฐสูตร
๑๖.อัมพัฏฐทีสังเกตพระพุทธลักษณะ ปะมหาบุรุษชัดยกเว้น เร้น"พระคุยหฐาน"ตั้งอยู่ในฝัก และจักมิเห็นพระชิวหาใหญ่ยาว ที่พราวปิดช่องจมูก,ช่องหูได้ พุทธเจ้าไซร้แสดง"อิทธาภิสังขาร" แจ้งฤทธิ์กรานให้อัมพัฏฐยลนา ฉะนี้
๑๗.คราอัมพัฏฐกลับแล้วเล่าความ ตามประสบแก่โปกขรฯพราหมณ์ฟัง โปกขรฯชังโกรธมากที่รุกรานพุทธองค์ ใช้เท้าตรงเตะอัมพัฏฐ ตั้งใจชัดเฝ้าพุทธเจ้าแม้ค่ำแล้ว จุดไฟแกล้วกล้าเร่งเดินทาง พลางขอโทษแทนอัมพัฏฐ ทรงตรัสอัมพัฏฐจงเป็นสุขเถิดนา ฉะนั้น
๑๘.คราโปกขรฯพราหมณ์พิจารณา หาครบพระพุทธลักษณะยกเว้น เร้นข้อสองมีกงจักรใต้ฝ่าพระบาท พลาดยังมิเห็นพุทธองค์จึงแสดงฤทธิ์ ให้ชิดเห็นได้ตามต้องการ โปกขรฯกรานนิมนต์ถวายอาหารวันรุ่ง พุทธองค์จุ่งพร้อมสงฆ์รับภัตตาหาร แล้วประทานเทศนาหลายเรื่อง กระเดื่อง"อนุบุพพิกถา" แจงพารู้ทาน,ศีล,สวรรค์ ตามครันโทษของกามทุกข์ทน ผลอานิสงส์การออกบวช พร้อมยิ่งยวดธรรมอริยสัจจ์สี่ โปกขรฯรี่มีดวงตาเห็นธรรม ประกาศนำตนเป็นอุบาสก ถือปรกพระรัตนตรัยตลอดชีวิน นี้แล ฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา : สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ ทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์ พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน หน้า ๒๙๕- ๒๙๘
อิจฉาพังคละ=ชื่อหมู่บ้านพราหมณ์ ใกล้เมือง อุกกัฏฐา แคว้นโกศล โปกขรฯ=โปกขรสาติพราหมณ์ ผู้ครองเมือง อุกกัฏฐา ปเสนฯ=พระเจ้าปเสนทิโกศล อัมพัฏฐ=อัมพัฏฐมานพ ลูกศิษย์ของโปกขรสาติพราหมณ์ มหาปุริสลักษณะ=ลักษณะมหาบุรุษทั้ง ๓๒ ประการ เกิดจากกรรมดีที่พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญสั่งสมไว้ในอดีตชาติต่าง ๆ ที่ทรงแสดงเรื่องนี้เพราะทรงประสงค์จะชี้ให้เห็นกฎแห่งกรรมว่า บุคคลทำกรรมเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น ทำดีได้ ทำชั่วได้ชั่ว ลักษณะ ๓๒ คือ ๑) มีฝ่าพระบาทราบเสมอกัน สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้สมาทานมั่นในกุศกรรมบถ ๑๐ สมาทานมั่นในสุจริต ๓ บริจาคทาน รักษาศีล ๕ รักษาอุโบสถศีล เกื้อกูลมารดาบิดาสมณ-พราหมณ์ ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลและสมาทานมั่นในกุศลธรรมอื่น ๆ อีก ๒) พื้นฝ่าพระบาททั้งสองมีจักรซึ่งมีกำ ข้างละ ๑,๐๐๐ ซี่ มีกง มีดุม และมีส่วนประกอบครบทุกอย่าง สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้นำความสุขมาให้แก่คนหมู่มาก บรรเทาภัยคือความหวาดกลัวและความสะดุ้ง จัดการป้องกันคุ้มครองอย่างเป็นธรรม และให้ทานพร้อมทั้งของที่เป็นบริวาร ๓) มีส้นพระบาทยื่นยาวออกไป ๔)มีพระองคุลียาว ๕) มีพระวรกายตั้งตรงดุจกายพรหม สาเหตุลักษณะ ๓,๔,๕ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ มีความละอายต่อบาป มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ๖)มีพระมังสะในที่ ๗ แห่ง เต็มบริบูรณ์ สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ให้ของที่ควรเคี้ยว ของ ที่ควรบริโภค ของที่ควรลิ้ม ของที่ควรชิม น้ำที่ควรดื่มอันประณีตและมีรสอร่อย ๗)มีพระหัตถ์และพระบาทอ่อนนุ่ม และ ๘) ฝ่าพระหัตถ์ และฝ่าพระบาทมีเส้นที่ข้อพระองคุลีจดกันเป็นรูปตาข่าย ลักษณะ ๗,๘ มีสาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ได้สงเคราะห์ประชาชนด้วยสังคหวัตถุ ๔ (คือ ทาน-การให้; เปยยวัชชะ- วาจาเป็นที่รัก; อัตถจริยา -การประพฤติประโยชน์; สมานัตตตา -การวางตนสม่ำเสมอ) ๙)มีข้อพระบาทสูง และ ๑๐) มีพระโลมชาติปลายงอนขึ้น คือ พระโลมชาติขอดเป็นวงเวียนขวา ดังกุณฑล สีครามเข้มดังดอก อัญชัน สาเหตุลักษณะ ๙,๑๐ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้กล่าววาจาประกอบด้วยประโยชน์ ประกอบด้วยธรรม แนะนำคนหมู่มาก เป็นผู้นำประโยชน์และความสุขมาให้แก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้บูชาธรรมโดยปกติ ๑๑) มีพระชงฆ์เรียวดุจแข้งเนื้อ ทราย สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ตั้งใจสอนศิลปะ (วิชาชีพ) วิชา (เช่น วิชาหมอดู) จรณะ (ศีล) หรือกรรม (ความรู้เรื่องกฎแห่งกรรม) โดยประสงค์ให้คนทั้งหลายได้รับความรู้อย่างรวดเร็ว ปฏิบัติได้เร็ว ไม่ต้องลำบากนาน ๑๒) มีพระฉวีละเอียดจนละอองธุลี ไม่อาจติดพระวรกายได้ สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ ได้เข้าไปหาสมณะพรือพราหมณ์ แล้วซักถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไร มีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเกี่ยวข้อง อะไรไม่ควรเกี่ยวข้อง อะไรที่ทำอยู่พึงเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน อะไรที่ทำอยู่พึงเป็นไปเพื่อความเกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาลนาน แล้วตั้งใจฟัง คำตอบด้วยดี มุ่งประโยชน์ ไตร่ตรองเรื่องที่เป็น ประโยชน์ ๑๓)มีพระฉวีสีทอง สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ไม่โกรธ ไม่แค้น (คือทำให้บรรเทาได้) แม้ถูกว่ากล่าวอย่างรุนแรงก็ไม่ขัดเคือง ไม่พยายาท ไม่จองล้างจองผลาญ ไม่สำแดงความ โกรธ ความอาฆาตและความเสียใจให้ปรากฏ เป็น ผู้ให้เครื่องลาดเนื้อดีอ่อนนุ่ม ให้ผ้าห่มที่เป็นผ้า โขมพัสตร์เนื้อดี ผ้าฝ้ายเนื้อดี ผ้าไหมเนื้อดีและผ้ากัมพลเนื้อดี ๑๔)มีพระคุยหฐานเร้นอยู่ในฝัก สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้นำพวกญาติมิตรสหาย ผู้มีใจดีที่หายไปนาน จากกันไปนาน ให้กลับมาพบกันคือนำมารดาให้พบกับบุตร นำบุตรให้พบกับมารดา นำบิดาให้พบกับบุตร นำบุตรให้พบกับบิดา นำพี่ชายน้องชายให้พบกับพี่ชายน้องชาย นำพี่ชายน้องชายให้พบพี่สาวน้องสาว นำพี่สาวน้องสาวให้พบพี่ชายน้อง ชาย นำพี่สาวน้องสาวให้พบพี่สาวน้องสาว ๑๕)มีพระวรกายเป็นปริมณฑลดุจปริมณฑลแห่งต้นไทร พระวรกายสูง เท่ากับ ๑ วา ของพระองค์ ๑ วาของพระองค์เท่ากับส่วนสูงของพระวรกาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
(หน้า ๔/๔) ๒๑.อัมพัฏฐสูตร
และ ๑๖) เมื่อประทับยืน ไม่ต้องน้อมพระองค์ลงก็ทรงลูบคลำถึงพระชานุด้วยฝ่า พระหัตถ์ทั้งสองได้ ลักษณะทั้ง ๑๕,๑๖ มีสาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เมื่อตรวจดูมหาชนที่ควรสงเคราะห์ ก็รู้จักบุคคลเท่าเทียมกัน รู้จักตนเอง รู้จักฐานะของบุคคล รู้จักความแตกต่างของบุคคล หยั่งรู้ว่าบุคคลนี้ควรกับสิ่งนี้ บุคคลนี้ควรกับสิ่งนี้ แล้วทำให้เหมาะกับความแตกต่างในฐานะนั้น ๆ ในกาลก่อน ๑๗)มีพระวรกายทุกส่วน บริบูรณ์ดุจลำตัวท่อนหน้าของราชสีห์ และ ๑๘)มีร่องพระปฤษฎางค์เต็มเสมอกัน ๑๙)มีลำ พระศอกลมเท่ากันตลอด ลักษณะ ๑๗,๑๘,๑๙ เป็นสาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้หวังประโยชน์ หวังความ เกื้อกูล หวังความผาสุก หวังความเกษมจากโยคะแก่คนหมู่มาก ด้วยความคิดนึกตรึกตรองว่า ทำอย่างไร ชนเหล่านี้จะเจริญด้วยศรัทธา ศีล สุตะ พุทธิ จาคะ ธรรม ปัญญา ทรัพย์ และธัญชาติ เจริญด้วยนา และสวน สัตว์สองเท้าและสัตว์สี่เท้า บุตรและภรรยา ทาสกรรมกรและคนรับใช้ ญาติ มิตร และเจริญด้วยพวกพ้อง ๒๐)มีเส้นประสาทรับรส พระกระยาหารได้ดี สาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยฝ่ามือ ด้วยก้อนหิน ท่อนไม้ หรือด้วยศัสตรา ๒๑)มีดวงพระเนตร ดำสนิท และ ๒๒) มีดวงพระเนตรแจ่มใสดุจลูกโคเพิ่งคลอด ลักษณะ ๒๑,๒๒ เป็นสาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ ไม่ถลึงตาดู (ไม่จ้องดูด้วยความโกรธ) ไม่ค้อน ไม่เมิน มองตรง มองเต็มตา และแลดูคนหมู่มากด้วยดวงตาเปี่ยมด้วยความรัก ๒๓)มีพระเศียรดุจประดับด้วย กรอบพระพักตร์ สาเหตุเพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้นำของคนหมู่มากใน กุศลธรรม เป็นประมุขของคนหมู่มากในกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ในการจำแนกแจกทาน ในการสมาทานศีล ในการรักษาอุโบสถศีล ในความเกื้อกูลมารดาบิดา สมณะและพราหมณ์ ในความอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล และในกุศลธรรมอันยิ่ง อื่น ๆ ๒๔)มีพระโลมชาติเดี่ยว คือในแต่ละขุมมีเพียงเส้นเดียว และ ๒๕)มี พระอุณาโลมระหว่างพระโขนงสีขาวอ่อนเหมือนนุ่น ลักษณะ ๒๔,๒๕ มีสาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ละเว้นจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่คำสัตย์ ดำรงความสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลักเชื่อถือได้ ไม่หลอกลวงชาวโลก ๒๖)มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ และ ๒๗)มีพระทนต์ไม่ห่างกัน ลักษณะ ๒๖,๒๗ มีสาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ละเว้นจากคำส่อเสียด คือ ฟังความจากฝ่ายนี้แล้วไม่ไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้หรือฟังความจากฝ่ายโน้นแล้ว ไม่มาบอกฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกกัน ส่งเสริมคนที่ปรองดองกัน ชื่นชมยินดีเพลิดเพลินต่อผู้ที่สามัคคีกัน พูดแต่คำที่สร้างสรรค์ความสามัคคี ๒๘)มีพระชิวหาใหญ่ยาว และ ๒๙)มีพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม ตรัสดุจเสียงร้องของนกการเวก ลักษณะ ๒๘,๒๙ มีสาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ละเว้นจากคำหยาบ คือ พูดแต่คำที่ไม่มีโทษ ไพเราะ น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ ๓๐)มีพระหนุดุจคางราชสีห์๑ สาเหตุเพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ละเว้นจากคำเพ้อเจ้อ คือพูดถูกกาล พูดแต่คำจริง พูดอิงประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ เหมาะแก่เวลา ๓๑)มีพระทนต์เรียบเสมอกัน และ ๓๒)มีพระเขี้ยวแก้วขาวงาม ลักษณะ ๓๑,๓๒ มีสาเหตุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ละมิจฉาอาชีวะ ดำรง ชีวิตอยู่ด้วยสัมมาอาชีวะ คือ เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง การโกงด้วยของปลอม การโกงด้วยเครื่องตวงวัด การรับสินบน การล่อลวง การตลบตะแลง การตัด อวัยวะ การฆ่า การจองจำ การตีชิงวิ่งราว การปล้น และการขู่กรรโชก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: ประมวลธรรม: ๘.เกวัฏฏสูตร
ประมวลธรรม : ๒๒.ปาฏิกสูตร(สูตรว่าด้วยชีเปลือยบุตรแห่งปาฏิกะ ช่างทำถาด)
กาพย์ทัณฑิกา
๑.พุทธ์เจ้าประทับ......ณ "อนุปฯ"ฉับ......แคว้นมัลละหนา เช้าทรงบิณฑ์บาตร....แวะยาตรสนทนา....นักบวช"ภัคค์วา"....ผู้ทูลถามความ ๒.เรื่อง"สุนักฯ"นี้......ผู้บุตรลิจฉวี......บวชแล้วสึกผลาม ให้เหตุผลหลาย....หนึ่ง,หน่ายมิตาม....พุทธ์องค์ทุกยาม....อุทิศต่อไป
๓.สอง,ด้วยพุทธ์องค์......มิแจงฤทธิ์บ่ง......ให้ดูไฉน สาม,มิบัญญัติ....ใดจัดเลิศไซร้....ไหนเทิดสุดไว....หรือชี้ต้นตอ
๔.พุทธ์เจ้าเล่า"หนึ่ง".......ทรงถามเขาถึง......ทรงเคยร้องขอ ให้เขาอุทิศ....ประชิดองค์จ่อ.....หรือเขาทูลก่อ....เป็นข้ารับรอง
๕.สุนักฯตอบเปล่า......ทรงตรัสไร้เง่า......มิมีกล่าวผอง จึงมิใช่เรื่อง.....ใครเขื่องบอกร้อง....เลิกรามิต้อง....เอ่ยอ้างกับใคร
๖.พุทธ์องค์เล่า"สอง"......ทรงเคยตัดข้อง......ชวนมาอยู่ไข แล้วจะแสดง....ฤทธิ์แจ้งเร็วไว....สุนักฯตอบไซร้...."เปล่า"ไม่เคยเลย
๗.ตรัสถามต่อไป......ถ้าแสดงฤทธิ์ไซร้......หรือไม่แสดงเผย จะสิ้นทุกข์หมด....จบลดไหมเอ่ย....สุนักฯตอบเปรย....มิสิ้นทุกข์ปลง
๘.พุทธ์องค์ตรัสว่า.......แสดงฤทธิ์หนา......มิช่วยใดบ่ง ทรงเล่า"สาม"คัด....เคยตรัสชวนจง....อุทิศตนคง....มาบวชหรือไร
๙.บวชแล้วทรงรุด......บัญญัติเลิศสุด......แจ้งแก่เขาไหม สุนักฯตอบเปล่า....ตรัสเร้ามีไว....สิ่งเลิศแล้วไซร้....ตัดทุกข์หรือไย
๑๐.สุนักฯตอบว่า......ไม่สิ้นทุกข์นา......ทรงชี้แจงไข การบัญญัติเลิศ....ใดเทิดยังไกล....มิช่วยอะไร....แก่ตนเองเลย
๑๑.พระองค์ตรัสเตือน......สุนักฯอย่าเลือน......เคยพรรณนาเผย คุณพระรัตน์ตรัย....เอาไว้มากเอย....ประโยชน์ล้ำเลย....ณ วัชชีคาม
๑๒.พุทธ์องค์ตรัสเล่า......กับสุนักฯเร้า.....ถึง"โกรักฯ"นาม เป็นชีเปลือยรี่....คลานสี่เท้าตาม....หากินพื้นทราม....คล้ายสุนัขแล
๑๓.ทรงตรัสชีเปลือย.....จะท้องอืดเนือย.....อีกเจ็ดวันแฉ ตายลงถูกพา.....ทิ้งป่าช้าแน่....สุนักฯเห็นแก่....ชีเปลือยเล่าเตือน
๑๔.แนะนำชีเปลือย......งับอาหารเฉื่อย.......น้ำอย่ามากเบือน พุทธ์พยากรณ์....จะถอนและเคลื่อน....ครบเจ็ดวันเยือน....ชีเปลือยตายลง
๑๕.ศพทิ้งป่าช้า.....มิพลิกผันหนา......พุทธ์องค์บอกบ่ง ทรงถามสุนักฯ....นี้จักเรียกส่ง....อิทธิฤทธิ์คง....อีกหรือไม่นา
๑๖.สุนักฯทูลตอบ.....ทรงแสดงฤทธิ์รอบ.....โดยชอบแล้วหนา พุทธ์องค์กล่าวแล้ว....ฤทธิ์แคล้วคุณค่า....ทุกข์ยังอยู่ฆ่า....มิหมดสิ้นเลย
๑๗.พุทธ์องค์ตรัสเรื่อง......"กฬารฯ"ผู้เปรื่อง.....เจริญลาภ,ยศเผย เป็นชีเปลือยนา...."เวสาลี"เกย....วัชชีคามเอย....วัตรเจ็ดประการ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|