(ต่อหน้า ๔/๘) ๓๘.สัมมาทิฏฐิสูตร
๖๙.อวิชชาอุบัติเดาะอาสฯ...........ลุเกิดยาตรกิเลสนะเคย
อวิชฯดับก็อาสวะเอ่ย.....................สิดับด้วยกิเลสจะผลาญ
๗๐.จะดับสิอาสวะไว....................ก็มรรคไซร้ซิแปดสคราญ
ซิเริ่มสัมมะทิฏฐิชาญ......................ลุสัมมาสมาธิไข
๗๑.สิคราใดพระสงฆ์เจาะรู้...........กุเกิดชูริรู้เสาะไว
สิทางดับกะอาสวะไกล...................ละราคานุสัยรตี
๗๒.กะทิฏฐานุสัยเจาะเห็น.............สิผิดเด่นซิทอนกลี
"ปฏีฆานุฯ"เบาลุชี้............................ลิโกธขึ้งสิหมดเจาะผลาญ
๗๓.ก็ฆานานุสัยสิถือ......................วะตนชื่อยะยิ่งก็ราน
อวิชชาละแล้วก็พาน........................เจาะวิชชาละทุกข์ประสงค์
๗๔.ผิเหตุนี้อรีย์ซิหนา....................วะสัมมาและทิฏฐิคง
เจาะเห็นแน่วและถูกซิตรง................เผดินสู่พระสัทฯกสานติ์
๗๕.พระสารีฯสรุปพระธรรม............สิสิบล้ำและห้าประทาน
พระสงฆ์ชมรตีสราญ........................กะภาษิตสกลสิฉม ฯ|ะ
แสงประภัสสร
ที่มา : มจร.๙ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=12&siri=9เชตฯ= วัดเชตวนาราม
สวัตฯ = กรุงสาวัตถี
พระสารีฯ = พระสารีบุตร อัครสาวกเบื้องขวา ผู้เลิศด้วยปัญญา ของพระโคดมพุทธเจ้า
สัมมะทิฏฐิ = สัมมาทิฎฐิ คือ ความเห็นชอบ มี ๒ อย่าง ดังนี้
(๑) โลกิยสัมมาทิฏฐิ คือ กัมมัสสกตาญาณ (ญาณหยั่งรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน) และ สัจจานุโลมิกญาณ (ญาณหยั่งรู้โดยสมควรแก่การกำหนดรู้อริยสัจ)
(๒) โลกุตตรสัมมาทิฏฐิ ในที่นี้ คือ ปัญญาที่ประกอบด้วยอริยมรรค และอริยผล
อรีย์ฯ = พระอริยสาวก
ปสาทะ = เลื่อมใส, ศรัทธา
พระสัทฯ = พระสัทธรรม คือ คำสอนของพระพุทธเจ้า, ธรรมของสัตบุรุษหรือคนดี
อกูศล = อกุศล คือ กรรมชั่ว, บาป ได้แก่
(๑) การฆ่าสัตว์ (๒)การลักทรัพย์ (๓) การประพฤติผิดในกาม (๔) การพูดเท็จ (๕) การพูดส่อเสียด (๖) การพูดคำหยาบ (๗) การพูดเพ้อเจ้อ (๘)การเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น (๙) การคิดปองร้ายผู้อื่น (๑๐) มิจฉาทิฏฐิ
รากเหง้าแห่งอกุศล = มี ๓ อย่าง
(๑)โลภะ - ความโลภ (๒)โทสะ - ความคิดประทุษร้าย (๓)โมหะ - ความหลง
กุศล = คือ ความเจตนากระทำกรรมดี ได้แก่
(๑) เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์ (๒) เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์ (๓) เจตนางดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม (๔) เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ (๕) เจตนางดเว้นจากการพูดส่อเสียด (๖) เจตนางดเว้นจากการพูดคำหยาบ (๗) เจตนางดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ (๘) การไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น (๙) การไม่ปองร้ายผู้อื่น (๑๐) สัมมาทิฏฐิ
รากเหง้าแห่งกุศล =มูลเหตุแห่งกุศล ได้แก่
(๑) อโลภะ - ความไม่โลภ (๒) อโทสะ - ความไม่คิดประทุษร้าย (๓) อโมหะ - ความไม่หลง
ราคาฯ = ราคานุสัย คือ กิเลสที่นอนเนื่อง คือราคะ(ความกำหนัด, ความยินดีในกาม, ความใคร่)
ปฏิฆะฯ = ปฏิฆานุสัย คือ กิเลสที่นอนเนื่อง คือปฏิฆะ (ความคับแค้น, ความขึ้งเคียด, ความที่จิตหงุดหงิดจากอำนาจโทสะ)
ทิฏฐาฯ = ทิฏฐานุสัย คือ กิเลสที่นอนเนื่อง คือทิฏฐิ(ความเห็นผิด)
มานาฯ = มานานุสัย คือ กิเลสที่นอนเนื่องคือมานะ(ถือตัว)
อวิชชา= ความไม่รู้ในอริยสัจ ๔
วิชชะ = วิชชา คือ ความรู้แจ้งในอริยสัจ ๔
สัมฯ = สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
ปสาทะ= เลื่อมใส, ศรัทธา