Username:

Password:


  • บ้านกลอนน้อยฯ
  • ช่วยเหลือ
  • ค้นหา
  • เข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
บ้านกลอนน้อย - กลอนสบายๆ สไตล์ลิตเติลเกิร์ล >> คำประพันธ์ แยกตามประเภท >> กลอนธรรมะ-สุภาษิต-ปรัชญา-คำคม >> อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
หน้า: 1 [2]   ลงล่าง
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา  (อ่าน 1641 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4457
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 622



| |
Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
« ตอบ #15 เมื่อ: 28, มิถุนายน, 2568, 09:32:15 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา

ต่อหน้า ๑๖/๑๙) ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์

อุปนิสฺสยปจฺจโย ~ ธรรม เป็นปัจจัยโดยเป็นอุปนิสัยที่อาศัยอย่างแรงกล้า ได้แก่อารมณ์อย่างแรงกล้า เหมือนอย่างอารมณ์ที่เป็นอธิปติปัจจัยเป็นที่อาศัย อย่างแรงกล้าให้เกิดธรรมที่เกิดจากอารมณ์นั้นเป็นปัจจัย เรียกว่าอารัมมณูปนิสสยปัจจัย ธรรมเป็นปัจจัยโดยอุปนิสัยที่อาศัยอย่างแรงกล้าคือ อารมณ์ ธรรมที่เกิดเป็นลำดับ ไม่มีระหว่างคั่นอย่างแรงกล้าเหมือนอย่าง อนันตรปัจจัย เป็นอุปนิสสยปัจจัยให้เกิดธรรมที่เกิดจากธรรมนั้นเป็นปัจจัยโดยไม่มีระหว่างคั่น เรียกว่า อนันตรูปนิสสยปัจจัย ธรรมเป็นปัจจัยโดยเป็นอุปนิสัยที่อาศัยอย่างแรงกล้า คือธรรมที่เกิดเป็นลำดับไม่มีระหว่างคั่น เหตุที่มาจนเป็นปกตินิสัยแล้ว ไม่เกี่ยวข้องด้วยอารัมณปัจจัย เป็นเหตุที่ตนทำให้เกิดขึ้นเอง เช่นกุศลธรรม อกุศลธรรมต่างๆ ก็ดี เป็นเหตุฝ่ายกุศลและอกุศล ที่เนื่องจากการเสวนาซ่องเสพบุคคลและอาหารเป็นต้นของตนก็ดี เรียกว่า ปกตูปนิสสยปัจจัย ธรรมเป็นปัจจัยโดยอุปนิสัยที่อาศัยอย่างแรงกล้า คือเหตุที่ทำมาจนเป็นอุปนิสัยแล้ว
ปุเรชาตปจฺจโย ~ ธรรมที่เกิดก่อนเป็นปัจจัย คือธรรมที่เกิดขึ้นก่อนแล้วยังคงมีอยู่ไม่ดับไป ได้แก่รูปธรรมที่เกิดขึ้นก่อนแล้วยังไม่ดับไป เป็นปัจจัยอุดหนุนนามธรรม คือจิตและเจตสิกให้เกิดขึ้น เปรียบเหมือนพระอาทิตย์และพระจันทร์เกิดขึ้นก่อนยังไม่ดับ สัตว์โลกทั้งหลายจึงได้อาศัยเกิดขึ้นเป็นไปอยู่ในโลก
ปจฺฉาชาตปจฺจโย ~ ธรรมที่เกิดภายหลังเป็นปัจจัย ได้แก่นามธรรมคือจิตและเจตสิกที่เกิดทีหลัง เป็นปัจจัยปัจจัยอุดหนุนแก่รูปธรรมที่เกิดก่อนให้ตั้งอยู่ได้จนครบอายุ อายุของรูปธรรมเท่ากับอายุของจิต ๑๗ ดวง รูปธรรมที่เกิดก่อนจะตั้งอยู่ได้ตลอด ๑๗ ขณะจิตนี้ ก็เพราะจิตและเจตสิกที่เกิดทีหลังอุปถัมภ์ให้ตั้งอยู่และให้เจริญ มีอุปมาเหมือนอย่างต้นไม้ที่ปลูกไว้แล้ว จะตั้งอยู่และเจริญขึ้นได้ ก็ด้วยอาศัยน้ำฝนที่ ตกลงมา หรือเอาน้ำรดในภายหลัง หรือมีอุปมาเหมือนอย่างลูกนกแร้งที่ยังเล็ก บินไปหาอาหารมิได้ ก็ได้อาศัยเจตนาที่หวังอาหารนั่นเองบำรุงเลี้ยง จนกว่าจะบินออกไปหาอาหารเองได้
อาเสวนปจฺจโย ~ ธรรมที่ทำหน้าที่เสพอารมณ์บ่อย ๆ เป็นปัจจัย ได้แก่โลกิยชวนจิตที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ชื่อว่าเสพอารมณ์บ่อย ๆ เป็นปัจจัยอุดหนุนธรรมที่เป็นเชื้อสายชาติเดียวกันให้เกิดขึ้น เช่นเมื่อกุศลชวนจิตดวง ๑ เกิดขึ้น ก็เป็นปัจจัยอุดหนุนกุศลชวนจิตชนิดเดียวกันให้เกิดขึ้นเป็นดวงที่ ๒ เป็นปัจจัยอุดหนุนต่อกันไปดังนี้ จนถึงดวงที่ ๗ ซึ่งเป็นตัวเจตนาลงสันนิษฐานให้สำเร็จกิจอย่างหนึ่ง ๆ เหมือนอย่างบุคคลที่เรียนวิชาใดอย่างหนึ่งมาแล้ว ย่อมเรียนวิชาอย่างเดียวกันต่อขึ้นไปได้ง่าย และเร็วขึ้นจนกระทั่งสำเร็จการเรียนวิชาอย่างนั้น
กมฺมปจฺจโย ~ กรรมเป็นปัจจัย กรรมได้แก่เจตสิกธรรม คือเจตนา ความจงใจ เป็นปัจจัยปรุงแต่งจัดแจงจิต เจตสิกธรรมที่เกิดในจิต กัมมชรูป รูปที่เกิดแต่กรรม และจิตตชรูป รูปที่เกิดแต่จิต ที่เกิดรวมกันเป็นสหชาตธรรม เช่นเมื่อจิตและเจตสิกรับรูปารมณ์เป็นต้น เกิดโลภจิตขึ้น กรรมคือเจตนาที่เป็นสหชาตเกิดร่วมอยู่ด้วย ก็เป็นปัจจัยปรุงแต่งจัดแจงโลภจิตนั้นให้เข้ารับรูปารมณ์เต็มที่ เป็นเหตุให้แสดงอาการของโลภะออกมาทางกายวาจา ด้วยอำนาจโลภมูลเจตนา อีกอย่างหนึ่ง กรรมที่เป็น นานาขณิกะเกิดขึ้นในขณะต่าง ๆกัน เป็นปัจจัยเพาะพืชพันธุ์ไว้ เมื่อกุศลเจตนา และอกุศลเจตนาเกิดขึ้นพร้อมกับจิตนั้นดับไปแล้ว กรรมคือ (๔)วิญญาณาหาร -อาหารคือวิญญาณ
สามข้อ(หลัง)นี้เป็นนามอาหาร เป็นปัจจัยอุดหนุนนามธรรม คือจิตเจตสิกที่ประกอบด้วยตน และอุดหนุนจิตตชรูปและปฏิสนธิกัมม


รายนามผู้เยี่ยมชม : ข้าวหอม, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ต้นฝ้าย, หยาดฟ้า, ลิตเติลเกิร์ล

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..

แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4457
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 622



| |
Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
« ตอบ #16 เมื่อ: 28, มิถุนายน, 2568, 06:39:27 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา

(ต่อหน้า ๑๗/๑๙)๑.อภิธรรม ๗ คัมภีร์

อินฺทฺริยปจฺจโย ~ อินทรีย์เป็นปัจจัย ธรรมที่เป็นใหญ่ คือกระทำซึ่งความเป็นใหญ่ยิ่งชื่อว่าอิทรีย์ มี ๒๒ คือ (๑)จักขุนทรีย์ -อินทรีย์ คือ ตา (๒)โสตินทรีย์ -อินทรีย์คือ หู (๓)ฆานินทรีย์ -อินทรีย์ คือจมูก (๔)ชิวหินทรีย์ -อินทรีย์ลิ้น (๕)กายินทรีย์ -อินทรีย์คือกาย (๖)มนินทรีย์ -อินทรีย์คือใจ (๗)อิตถินทรีย์ -อินทรีย์คือหญิง (๘)ปุริสินทรีย์ -อินทรีย์คือชาย (๙)ชีวิตินทรีย์ -อินทรีย์คือชีวิต (๑๐)สุขินทรีย์ -อิทรีย์คือสุข (๑๑)ทุกขินทรีย์ -อินทรีย์คือทุกข์ (๑๒)โสมนัสสินทรีย์ -อินทรีย์คือโสมนัส (๑๓)โทมนัสสินทรีย์ -อินทรีย์คือโทมนัส (๑๔)อุเปกขินทรีย์ -อินทรีย์คืออุเบกขา (๑๕)สัทธินทรีย์ -อินทรีย์คือศรัทธา (๑๖)วิริยินทรีย์ -อินทรีย์คือเพียร (๑๗)สตินทรีย์ -อินทรีย์คือสติ (๑๘)สมาธินทรีย์ -อินทรีย์คือสมาธิ (๑๙)ปัญญินทรีย์ -อินทรีย์คือปัญญา(๒๐)อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ - อินทรีย์คือโสดาปัตติมรรค (๒๑)อัญญินทรีย์ -อินทรีย์คือโสดาปัตติผลจนถึงอรหัตมรรค (๒๒)อัญญาตาวินทรีย์ -อินทรีย์คืออรหัตผล
อินทรีย์เหล่านี้ทำหน้าที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน ๆ เช่นตา ทำหน้าที่เป็นใหญ่ในการเห็นรูป และยกเว้นอิตถีภาวะเสีย เหลือ ๒๐ เป็นปัจจัยและเป็นผลแห่งปัจจัยของกันและกัน
ฌานปจฺจโย ~ ฌานเป็นปัจจัย ฌานคือการเพ่งอารมณ์อย่างแน่วแน่ประกอบด้วยองค์เป็นปฐม คือ วิตก วิจาร ปีติ เวทนา เอกัคคตา เป็นปัจจัยอุดหนุนนามขันธ์ ๔ และจิตชรูป ปฏิสนธิกัมมชรูป ที่เกิดพร้อมกับตน อีกอย่างหนึ่ง ฌานมี ๒ คือ (๑)อารมมณูปนิชฌาน- เพ่งอารมณ์ทางสมถภาวนา (๒)ลักขณูปนิชฌาน เพ่งลักษณะทางวิปัสสนาภาวนา
คือไตรลักษณ์ต่างเป็นปัจจัยอุดหนุนตามอำนาจของตน
มคฺคปจฺจโย ~ มรรคเป็นปัจจัย มรรคคือธรรมที่เป็นประดุจหนทาง เพราะเป็นธรรมนำให้มุ่งหน้าไปสู่สุคติ ทุคติ และนิพพาน องค์มรรค ๙ได้แก่
(๑)ปัญญา (๒)วิตก (๓)สัมมาวาจา (๔)สัมมากัมมันตะ (๕)สัมมาอาชีวะ (๖)วิริยะ (๗)สติ (๘)เอกัคคตา (๙)ทิฏฐิ
องค์มรรคเหล่านี้ เว้น ทิฏฐิ(ความเห็นผิด)ข้อที่ ๙; เหลือ ๘ เป็นฝ่ายกุศล; องค์มรรค ๔ คือ วิตก วิริยะ เอกัคคตา ทิฏฐิ เป็นฝ่ายอกุศล; และองค์มรรค ๘ ฝ่ายอัพยากฤต เป็นปัจจัยอุดหนุนให้ไปสู่ สุคติ ทุคติ และ นิพพานตามประเภท และอุดหนุนสหชาตธรรมที่เกิดขึ้นพร้อมกับตนให้ ไปสู่อารมณ์ที่เกี่ยวเนื่องกันตน และ ให้ทำกิจ ตามหน้าที่ของตนๆ
สมฺปยุตฺตปจฺจโย ~ ธรรมที่สัมปยุตกันเป็นปัจจัย ธรรมที่ประกอบพร้อมกัน ๔ ประการ คือธรรม ๒ อย่าง
(๑)เมื่อเวลาเกิด ก็เกิดพร้อมกัน
(๒)เมื่อเวลาดับ ก็ดับพร้อมกัน
(๓)มีอารมณ์เป็นอันเดียวกัน
(๔)มีที่อาศัยอันเดียวกัน
เรียกสัมปยุต ได้แก่ จิต และ เจตสิก ที่เป็นนามธรรมด้วยกัน เป็นปัจจัย และผลของปัจจัยของกันและกัน แม้จะมีหน้าที่ ต่างกันแต่ก็สัมปยุตประกอบกันได้สนิท ดังจะยกตัวอย่างนามขันธ์ ๔ เวทนาขันธ์ทำหน้าที่เสวยอารมณ์, สัญญาขันธ์ ทำหน้าที่จำอารมณ์, สังขารขันธ์ทำหน้าที่ปรุงแต่งอารมณ์, วิญญาณขันธ์ ทำหน้าที่รู้อารมณ์ แม้จะต่างหน้าที่กันแต่ก็สัมปยุตกันสนิท เหมือนอย่างเภสัชจตุมธุรส ประกอบด้วยของ ๔ อย่าง คือ น้ำมันเนย ๑ น้ำมันงา ๑ น้ำผึ้ง ๑ น้ำตาล ๑ มีรสเข้ากันสนิทจนไม่อาจจะแยกรสออกจากกันได้
วิปฺปยุตฺตปจฺจโย ~ธรรมที่วิปปยุตกันเป็นปัจจัย ธรรมที่ไม่สัมปยุตกันดังกล่าวในข้อก่อน เรียกวิปปยุตธรรม ได่แก่นามและรูป นามเป็นวิปปยุตธรรมของรูป รูปก็เป็นวิปปยุตตธรรมของนาม เพราะไม่ประกอบด้วยลักษณะของสัมปยุตธรรมครบทุกอย่าง ดังเช่น เมื่อจิตเกิด แม้จิตตชรูปจะเกิดด้วย แต่ก็ขาดลักษณะข้ออื่น ทั้งรูปและนามแม้จะเป็นวิปปยุตธรรมของกัน แต่ก็เป็นปัจจัยอุดหนุนกันและกัน เพราะต่างอาศัยกันเป็นไป เหมือนเงาอาศัยกันเป็นไป เหมือนอย่างคน ๒ คน มิใช่ญาติกัน แต่ก็อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน อีกอย่างหนึ่ง วิปปยุตปัจจัยนี้ เปรียบเหมือนรส ๖ อย่างคือ หวาน๑ เปรี้ยว ๑ ฝาด ๑ เค็ม ๑ ขม ๑ เผ็ด ๑ รวมเป็นรสเดียวกันไม่ได้ แต่ก็อาศัยปรุงเป็นแกงอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงเป็นปัจจัยอุดหนุนกันได้
อตฺถิปจฺจโย ~ ธรรมที่มีอยู่เป็นปัจจัย ธรรมที่มีอยู่คือธรรมที่ปรากฏมีอยู่ในระหว่างอุปปาทะ (ความเกิด) ฐิติ (ความตั้งอยู่) ภังคะ (ความดับ) คือยังมีอยู่ในระหว่างนั้นยังไม่ดับไป ธรรมที่ชื่อว่ามีอยู่อย่างมีกำลังกล้า คือยังมีอยู่ในฐิติ ความตั้งอยู่ เป็นปัจจัยอุดหนุนธรรมที่เป็นผลของตนให้เกิดขึ้น ข้อสำคัญเป็นปัจจัยอุปถัมภ์ธรรมที่เป็นผลของตนให้ดำรงอยู่ เหมือนอย่างพื้นดินที่มีอยู่ อุปถัมภ์ต้นไม้ที่มีอยู่เหมือนกันให้งอกงามและตั้งอยู่ เช่นนามขันธ์ ๔ เป็นอัตถิปัจจัยกันและกัน มหาภูตรูป ๔ เป็นอัตถิปัจจัยกันและกัน นามรูปในขณะปฏิสนธิเป็นอัตถิปัจจัยกันและกัน


รายนามผู้เยี่ยมชม : ข้าวหอม, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ต้นฝ้าย, หยาดฟ้า, ลิตเติลเกิร์ล

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4457
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 622



| |
Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
« ตอบ #17 เมื่อ: 29, มิถุนายน, 2568, 09:35:05 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา

(ต่อหน้า ๑๘/๑๙) ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์

นตฺถิปจฺจโย ~ ธรรมที่ไม่มีเป็นปัจจัย ธรรมที่ไม่มีคือธรรมที่ดับไปแล้วเป็นปัจจัย อุดหนุนธรรมเช่นเดียวกันให้เกิดขึ้น สืบต่อไปในลำดับ ดังที่กล่าวแล้วในอนันตรปัจจัย เช่นจิต เจตสิกดวงที่ ๑ ดับไป ก็เป็นปัจจัยให้ดวงที่ ๒ เกิดสืบต่อไปในลำดับ ถ้าดวงที่ ๑ ไม่ดับ ดวงที่ ๒ ก็เกิดขึ้นมิได้ เหมือนอย่างแสงสว่างกับความมืด เมื่อแสงสว่างดับไป ความมืดจึงปรากฎขึ้นได้
วิคตปจฺจโย ~ ธรรมที่ปราศจากไปเป็นปัจจัย ธรรมที่ปราศจากไป คือธรรมที่ถึงความดับ เป็นปัจจัยอุดหนุนธรรมเช่นเดียงกันให้เกิดขึ้นในลำดับเช่นเดียวกับนัตถิปัจจัย
อวิคตปจฺจโย ~ ธรรมที่ไม่ปราศจากไปเป็นปัจจัย ธรรมที่ไม่ปราศจากไป คือธรรมที่ยังไม่ถึงความดับ เป็นปัจจัยอุปการะที่ยังมีอยู่ด้วยกัน เช่นเดียวกับ อัตถิปัจจัย
วัตถุ ๖=รูปซึ่งเป็นที่เกิดของจิตในภูมิที่มีขันธ์ ๕ นั้น มี เรียกว่า วัตถุรูป ๖ คือ
(๑)จักขุปสาทรูป ๑ เป็นจักขุวัตถุ เป็นที่เกิดของจักขุวิญญาณ ๒ ดวง
(๒)โสตปสาทรูป ๑ เป็นโสตวัตถุ เป็นที่เกิดของโสตวิญญาณ ๒ ดวง
(๓)ฆานปสาทรูป ๑ เป็นฆานวัตถุ เป็นที่เกิดของฆานวิญญาณ ๒ ดวง
(๔)ชิวหาปสาทรูป ๑ เป็นชิวหาวัตถุ เป็นที่เกิดของชิวหาวิญญาณ ๒ ดวง
(๕)กายปสาทรูป ๑ เป็นกายวัตถุ เป็นที่เกิดของกายวิญญาณ ๒ ดวง
(๖)หทยรูป ๑ เป็นหทยวัตถุ เป็นที่เกิดของจิตอื่นทั้งหมดในภูมิที่มีขันธ์ ๕ เว้นเฉพาะทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ ดวงเท่านั้น
ชวนะจิต =คือจิตที่แล่นไปโดยเร็ว ซึ่งเป็นจิตที่เป็นชาติกุศล หรืออกุศล หรือกิริยาจิตของพระอรหันต์ และวิบากจิตที่เป็นโลกุตตระ ที่เรียกว่า ชวนจิต ก็เรียกจิตตามกิจหน้าที่ จิตใดที่ทำชวนกิจ ก็เรียกว่า ชวนจิต
กัมมชรูป =หรือ กฏัตตารูป เป็นรูปที่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน หมายความว่า รูปที่เกิดในขณะนั้นทุกรูปในกลุ่มนั้น เกิดเพราะกรรมทั้งหมด กลุ่มของรูปที่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน ประมวลแล้ว มีทั้งหมด ๙ กลุ่ม
(๑)จักขุทสกกลาป คือ กลุ่มของจักขุปสาทรูปซึ่งมี รูป รวม ๑๐ รูป คือ อวินิพโภครูป ๘ จักขุปสาทรูป ๑ ชีวิตินทริยรูป ๑
(๒)โสตทสกกลาป คือ กลุ่มของโสตปสาทรูปซึ่งมี รูป รวม ๑๐ รูป คือ อวินิพโภครูป ๘ โสตปสาทรูป ๑ ชีวิตินทริยรูป ๑
(๓)ฆานทสกกลาปคือ กลุ่มของฆานปสาทรูปซึ่งมี รูป รวม ๑๐ รูป คือ อวินิพโภครูป ๘ ฆานปสาทรูป ๑ ชีวิตินทริยรูป ๑
(๔)ชิวหาทสกกลาปคือ กลุ่มของชิวหาปสาทรูปซึ่งมี รูป รวม ๑๐ รูป คือ อวินิพโภครูป ๘ ชิวหาปสาทรูป ๑ ชีวิตินทริยรูป ๑
(๕)กายทสกกลาปคือ กลุ่มของกายปสาทรูปซึ่งมี รูป รวม ๑๐ รูป คือ อวินิพโภครูป ๘ กายปสาทรูป ๑ ชีวิตินทริยรูป ๑
(๖)อิตถีภาวทสกกลาปคือ กลุ่มของอิตถีภาวรูปซึ่งมี รูป รวม ๑๐ รูป คือ อวินิพโภครูป ๘ อิตถีภาวรูป ๑ ชีวิตินทริยรูป ๑
(๗)ปุริสภาวทสกกลาปคือกลุ่มของปุริสภาวรูป ซึ่งมี รูป รวม ๑๐ รูป คือ อวินิพโภครูป ๘ ปุริสภาวรูป ๑ ชีวิตินทริยรูป ๑
(๘)หทยทสกลาปคือ กลุ่มของหทยรูปซึ่งมี รูป รวม ๑๐ รูปคือ อวินิพโภครูป ๘ หทยรูป ๑ ชีวิตินทริยรูป ๑
(๙)ชีวิตนวกกลาปคือกลุ่มของชีวิตรูปซึ่งมี รูป รวม ๙ รูป คือ อวินิพโภครูป ๘ ชีวิตินทริยรูป ๑
จิตตชรูป=จิตฺต (จิต) + ช (การเกิด) + รูป (สภาพที่ไม่รู้อารมณ์)
รูปที่เกิดจากจิต หมายถึง รูป ๑๕ รูป คือ
อวินิพโภครูป ๘=อวินิพโภครูป คือ รูปที่ไม่(สามารถ)แยกกันได้เด็ดขาด ในทางพระพุทธศาสนา ถือว่า รูปธาตุในโลกนี้จะต้องมี อวินิพโภครูปเป็นส่วนประกอบ รูปธาตุที่ใหญ่กว่าหรือมีองค์ประกอบร่วมกันของอวินิพโภครูป จะเรียกว่า วินิพโภครูป แปลว่ารูปที่แบ่งแยกได้ รูปทั้ง ๘ จะต้องอยู่ร่วมกัน ต่างรูป ต่างอยู่เป็นไม่มีเลย หรือ มีอีกชื่อว่า สุทธัฏฐกลาป
วิการรูป ๓=เป็นอาการพิเศษของรูปที่เกิดจาก กรรม จิต อุตุ และอาหาร เป็นสมุฏฐานรูปที่เกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ มีชื่อเรียกเฉพาะว่า นิปปผันนรูป วิการรูป ไม่มีรูปโดยเฉพาะ เป็นอาการพิเศษของนิปปผันนรูปที่เกิดขึ้นนั่นเอง
วิญญัติรูป ๒=คือ อาการพิเศษที่เกิดอยู่ในการเคลื่อนไหวทางร่างกาย และการพูดของสัตว์ทั้งหลาย เป็นรูปที่ทำให้ผู้อื่นรู้ถึงความประสงค์ของผู้แสดง เช่น เมื่อต้องการให้อีกฝ่ายเข้ามาหาก็แสดงกิริยากวักมือ หรือเปล่งวาจาเรียก อาการพิเศษที่รวมอยู่ในความเคลื่อนไหวทั้งกายและวาจา


รายนามผู้เยี่ยมชม : ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ต้นฝ้าย, หยาดฟ้า, ข้าวหอม, ลิตเติลเกิร์ล

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4457
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 622



| |
Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
« ตอบ #18 เมื่อ: 29, มิถุนายน, 2568, 03:31:20 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา

(ต่อหน้า ๑๙/๑๙) ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์

สัททรูป ๑=คือ รูปที่ไม่(สามารถ)แยกกันได้เด็ดขาด ในทางพระพุทธศาสนา ถือว่า รูปธาตุในโลกนี้จะต้องมี อวินิพโภครูปเป็นส่วนประกอบ รูปธาตุที่ใหญ่กว่าหรือมีองค์ประกอบร่วมกันของอวินิพโภครูป จะเรียกว่า วินิพโภครูป แปลว่ารูปที่แบ่งแยกได้ รูปทั้ง ๘ จะต้องอยู่ร่วมกัน ต่างรูป ต่างอยู่เป็นไม่มีเลย หรือ มีอีกชื่อว่า สุทธัฏฐกลาป
ปริจเฉทรูป ๑=หมายเอาช่องว่างที่คั่นระหว่างหมวดหมู่ของรูปกายต่อหมวดหมู่ของรูป กายนั่นเอง สิ่งที่มีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตทั้งหลายซึ่งเกิดจากจิตเป็นปัจจัย
จิตที่เป็นปัจจัยให้เกิดรูปได้มี ๗๕ ดวงเท่านั้น เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ อรูปวิบาก ๔ (จิตที่ทำกิจปฏิสนธิ ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดจิตตชรูป เพราะจิตในขณะปฏิสนธิกาลมีกำลังอ่อน จุติจิตของพระอรหันต์ก็ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดจิตตชรูป เพราะเป็นความสิ้นสุดของสังสารวัฏฏ์ หมดความสืบต่อของนามและรูปทั้งปวง)
- อวินิพโภครูป ๘, ปริเฉทรูป ๑, เกิดได้จากสมุฏฐานทั้ง ๔
- วิการรูป ๓ เกิดได้จากสมุฏฐาน ๓ (เว้นกัมมสมุฏฐาน)
- วิญญัติรูป ๒ เกิดได้จากจิตตสมุฏฐานอย่างเดียว
- สัททรูป เกิดได้จาก ๒ สมุฏฐาน คือ จิตตสมุฏฐาน และอุตุสมุฏฐาน


รายนามผู้เยี่ยมชม : หยาดฟ้า, ข้าวหอม, ต้นฝ้าย, ลิตเติลเกิร์ล, ขวัญฤทัย (กุ้งนา)

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4457
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 622



| |
Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
« ตอบ #19 เมื่อ: 01, กรกฎาคม, 2568, 09:26:15 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
อภิธรรมปิฎก : ๒.ธัมมสังคณี
(ว่าด้วยมาติกา แม่บทของพระอภิธรรมและพระสูตร)

กาพย์พรหมคีติ

   ๑."ธัมมสังคณี".....................จัดธรรมรี่ชี้กลุ่มสรรค์
อภิธรรม,สุตตันฯ.....................เทียบเคียงสองตรองเนื้อความ
แม่บทอภิธรรม........................แบ่งข้อพร่ำสิบสี่ผลาม
แต่ละหมวดธรรมตาม..............แต่สาม,หก,เจ็ด,แปด..นา

   ๒.หนึ่ง,แม่บทจัดธรรม...........หมวดหนึ่งนำสามธรรมหนา
ยี่สิบสองหมวดกล้า..................หกสิบหกธรรมรวมยล
ธรรม"กุศล"ฝ่ายดี....................ฝ่ายชั่วปรี่'อกุศล"
กับ"อัพยาฯ"ดล........................"ฝ่ายกลางมิชั่วมิดี"

   ๓."เวทนารู้สึก........................เป็น"สุข"ลึกมีทุกข์ปรี่
"ไม่ทุกข์ไม่สุข"มี......................รู้สึกเฉยหรือกลางนา
"ธรรมมีผลวิบาก".....................ธรรมฟาก"เหตุ"ผลธรรมดา
อีกหนึ่ง"มิใช่หนา......................ทั้งสองอย่างเหตุ,ผล"เอย

   ๔."ธรรมถูกยึดถือจัง..............เป็นที่ตั้ง"ยึดถือ"เผย
"ธรรมไม่ถูกยึด"เอ่ย.................แต่เป็นที่ตั้งยึดแล
อีกหนึ่ง"ไม่ยึด"รี่.......................ไม่เป็นที่ตั้งยึดแฉ
แตกต่างกันแล้วแน่...................เรียกมีแท้ทั้งสามเอย

   ๕."ธรรมก่อเศร้าหมองคลี่.......และเป็นที่ตั้งโศก"เอ่ย
"ธรรมไม่เศร้าหมอง"เลย...........แต่เป็นที่ตั้งเศร้าใจ
ธรรมสามไม่เศร้าหมอง.............และไม่ครองเศร้าหมองไหน
ทั้งสามธรรมมีไซร้.....................เป็นธรรมชาติยืนยง

   ๖.ธรรมมี"วิตก,ตรึก"................"วิจาร"นึกตรองถ่องบ่ง
"ธรรมไร้วิตกปลง......................แต่ยังมีวิจาร"แล
ธรรมสามนั้นไม่มี......................ทั้งสองนี้เฉพาะแน่
ผู้ลุฌานสูงแล้...........................วิตก,วิจารละเอย

   ๗."ธรรมกอปรปีติ"ไซร้...........ความอิ่มใจน้ำเนตรเผย
"ธรรมกอปรสุข"มีเอ่ย..............."ธรรมกอปรอุเบกขา"มี
เริ่มธรรมด่ำกับญาณ................ที่เห็นผ่านทัสสนะคลี่
คือ"โสดามรรคฯมี.....................ละสังโยชน์สา ข้อครัน

   ๘.ธรรมสองละโดยฝึก...........ภาวนานึกลุญาณสรรค์
"สกิทาคาฯนั้น...........................ละสังโยชน์สาม,เสริมแล
"อนาคามิมรรค..........................สังโยชน์จักละห้าแฉ
อรหัตต์มรรคแล้........................ลุสังโยชน์สิบเสร็จพา

   ๙.ธรรมสามละไม่ได้...............ด้วยเห็นไซร้และภาวนา
ธรรมมีเหตุละหนา......................ด้วยทัสสนะโสดาฯครัน
ธรรมมีเหตุละด้วย......................ภาวนาช่วยคือมรรคชั้น
สกาทามรรคฯพลัน.....................อนาคาฯ,อรหัตต์ฯแล

   ๑๐.ท้ายธรรมมีเหตุละ..............ไม่ได้ดะทั้งเห็นแฉ
และภาวนาแน่.............................เหตุฝ่ายชั่ว,กาย,พูด,ใจ
เริ่มธรรมนำไปสู่.........................."สั่งสมพรูกิเลส"ใหญ่
ธรรม"ไม่นำสู่ไซร้.........................การสะสมกิเลส"เลย

   ๑๑.ธรรมท้ายไม่เป็นทั้ง.............สองอย่างตั้งสะสมเฉย
และไม่สะสมเอย..........................กับกิเลสไหนสักครา
เริ่มธรรมพระอริยะ.......................ผู้เรียนปะแต่โสดาฯ
ถึงอรหัตต์ฯนา.............................รวมเจ็ดประเภทนั่นแล

   ๑๒.ธรรมผู้ที่ไม่ต้อง...................ศึกษาตรองคือผู้แน่
อรหัตตผลแท้...............................บรรลุเสร็จกิจแล้วนา
ธรรมไซร้ไม่เป็นทั้ง.......................สองอย่างดั่งยังศึกษา
และไม่ศึกษาพา............................แต่อย่างใดไกลว่างกลาง


รายนามผู้เยี่ยมชม : ต้นฝ้าย, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ข้าวหอม, หยาดฟ้า, ลิตเติลเกิร์ล

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4457
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 622



| |
Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
« ตอบ #20 เมื่อ: 01, กรกฎาคม, 2568, 03:03:04 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
(ต่อหน้า ๒/๓๐) ๒.ธัมมสังคณี

   ๑๓.ธรรม"ปริตตะ"ด้อย..............ธรรมเล็กน้อยท่องกามพลาง
ธรรม"มหัคคฯวาง.........................รูปหรืออรูปฌาน
ธรรมโอ่"โลกุตต์ฯชี้......................ธรรมไม่มีประมาณการ
เช่นมีมรรค,ผลกราน.....................นิพพานสงัด,สุขเอย

   ๑๔."ธรรมมีอารมณ์น้อย"............อารมณ์พลอย"ใหญ่"เลยเผย
กับ"อารมณ์มาก"เอ่ย.....................ไม่มีประมาณได้แล
เริ่ม"ธรรมอกุศล".........................."ธรรมกลางยลกุศล"แฉ
และ"อัพยาฯ"แล้...........................ยังมีกิเลสเศษคง

   ๑๕.ท้าย"ธรรมประณีต"นำ.........โลกุตต์ฯธรรมพ้นโลกบ่ง
เริ่ม"ธรรมฝ่ายผิด"ตรง..................อนันตริยกรรม
เป็นธรรมผิดติดแรง......................ห้าอย่างแจงโทษแกร่งหนำ
ธรรมฝ่ายถูกผลล้ำ.......................อริยมรรคสี่แล

   ๑๖.ท้าย"ธรรมไม่แน่นอน"...........ให้ผลจรต่างกันแฉ
ไม่ใช่ฝ่ายผิดแล้.............................หรือฝ่ายถูกแต่อย่างใด
กับธรรมมีมรรคเป็น......................."อารมณ์"เด่น"มีเหตุ"ไข
ธรรมมีมรรคเป็นใหญ่....................มรรคแปดไซร้กิเลสราน

   ๑๗."ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว".............."ธรรมยังแผ่วมิเกิด"สาน
"ธรรมที่จักเกิด"พาน......................."วันข้างหน้า"แลแท้เทียว
เริ่มธรรมนำด้วยกาล.......................อดีตผ่าน,และธรรมเชี่ยว
"ในอนาคต"เจียว.............................กับธรรมเป็นปัจจุบัน

   ๑๘.ด้วยจิต,เจตสิกนับ..................เกิดขึ้นดับลับกาลมีผัน
อดีต,กาลหน้าครัน..........................ปัจจุบันพลันเปลี่ยนแล
ขณะธรรมเกิดอยู่...........................และดับกรูอดีตแน่
มีเหตุปัจจัยแท้................................สภาพธรรมเกิดกาลหน้าแล

   ๑๙.ธรรมมีอารมณ์เป็น................."อดีต"เด่นปรารภแฉ
ธรรมมีอารมณ์แน่..........................เป็นอนาคตจิตจดตรอง
ธรรมมีอารมณดั้น...........................ปัจจุบันจิตคิดผอง
จิต,เจตสิกกล่าวถ่อง.......................กาลใดเกิด"ธรรมอารมณ์

   ๒๐."ธรรมมีเป็นภายใน"...............ธรรมเกิดไซร้ของตนสม
เฉพาะแต่บุคคลซม.........................ถูกตัณหายึดขันธ์เอย
"ธรรมภายนอก"ของสัตว์................ของตนชัดยึดขันธ์เผย
ธรรมที่ชี้"ใน"เคย............................และ"นอก"เอ่ยด้วยกันแล

   ๒๑."ธรรมมีอารมณ์อยู่.................ฝ่ายใน"กู่และ"ภายนอก"แฉ
"ธรรมเป็นภายใน"แท้......................และภายนอกสองอย่างไว
"ธรรมเห็น,ถูกต้อง"เด่น...................."ธรรมไม่เห็น",ถูกต้องได้
"ธรรมเห็นไม่ได้"ไซร้........................และถูกต้องมิได้เลย

   ๒๒.สอง,แม่บท"โคจฉ์กะ"..............เหตุธรรมปะคู่หกเผย
"ธรรมเด่นเป็นเหตุ"เอ่ย....................ฝ่ายเลว,โลภ,โกรธ,หลงแล
"กุศลเหตุ"ไม่โลภ.............................ไม่โกรธโฉบ,ไม่หลงแฉ
อัพยาฯเหตุธรรมแล้.........................ไร้โลภ,โกรธ,หลงเอย

   ๒๓.ธรรม"ไม่เป็นเหตุ"พร่ำ.............เว้นแต่"ธรรมเป็นเหตุ"เผย
กุศล,อกุศลเอ่ย................................อัพยากฤตเหลือแล
ที่เป็น"กามาฯ"สูบ.............................อรูปฯ,รูปฯแท้
โลกุตต์ฯคือขันธ์แน่..........................รูป,อสังขต์ธาตุหมดเอย

   ๒๔."ธรรมมีเหตุ"อย่างไร................คือขันธ์ไซร้เวทนาเอ่ย
สัญญา,สังขารเคย............................และวิญญาณขันธ์นั้นไว
"ธรรมไม่มีเหตุ"นา.............................คือสภาวะธรรมเหตุไร้
ขันธ์และรูปผองไกล..........................อสังขต์ธาตุมิปรุง

   ๒๕.สาม,แม่บทคู่น้อย......................"จูฬันต์ฯ"จ้อยหมดต่างมุ่ง
มีเจ็ดคู่พยุง.......................................สภาวธรรมต่างกัน
"สัปป์จจยาฯ"ชัด...............................ธรรมมีปัจจัยจัดสรรค์
"อัปปัจจยาฯ"ครัน.............................ธรรมไม่มีปัจจัยเอย

   ๒๖."สังขตา ธัมมา".........................ปรุงแต่งนาเปลี่ยนแปลงเผย
"อสังขตา"เอ่ย...................................ปรุงแต่งมิได้ไม่แปร
"สนิทสัสสนา"เด่น..............................ธรรมที่เห็นได้ชัดแฉ
"อนิทสัสสนาฯ"แล้..............................ธรรมที่เห็นไม่ได้เอย


รายนามผู้เยี่ยมชม : ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ข้าวหอม, หยาดฟ้า, ต้นฝ้าย, ลิตเติลเกิร์ล

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4457
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 622



| |
Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
« ตอบ #21 เมื่อ: 02, กรกฎาคม, 2568, 09:39:09 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
(ต่อหน้า ๓/๓๐) ๒.ธัมมสังคณี

   ๒๗."สัปปฏิฏาฯ"นบ..................ธรรมกระทบพบได้เผย
"อัปปฏิฆาฯ"เปรย........................ธรรมกระทบมิได้แล
"รูปิโน ธัมมา"..............................ธรรมรูปหนาเห็นได้แน่
"อรูปิโนฯ"แท้...............................ไม่เป็นรูปคือนามธรรม

   ๒๘."โลกิยา ธัมมา"....................ธรรมเป็นนาโลกีย์ด่ำ
"โลกุตตระฯล้ำ............................ธรรมพ้นวิสัยโลกแล
"เกนจิ วิเยยฯ"ชิด.........................ธรรมที่จิตคิดรู้แฉ
"เกนจิ นะฯ"ธรรมแล้.....................จิตบางดวงมิรู้เลย

   ๒๙.สี่,"อาสวโคจฉ์ฯ"..................แม่บทโดดกิเลสเผย
มีแยกหกคู่เอ่ย.............................เกี่ยวข้องอาสวะแล
"ธรรมเป็นอาสวะ".........................กิเลสปะในกามแฉ
มิเป็นอาส์วะแล้.............................คือเว้นอาสวะนา

   ๓๐."สาสวา,ธรรมเป็น.................อารมณ์"เด่นอาส์วะหนา
"อนาสวาฯ"ธรรมหา.......................เป็นอารมณ์อาส์วะแล
"อาสว์สัมปยุตต์ฯครอบ..................ธรรมประกอบกิเลสแน่
"อาสว์วิปปยุตต์ฯ"แล้......................ธรรมไม่กอปรกิเลสซม

   ๓๑."อาส์วา เจวะฯ"นา..................ธรรมเป็นอาส์วะ,อารมณ์
"สาสวาฯธรรมบ่ม...........................เน้นอารมณ์ไร้อาส์วา
"อาส์สัมปยุตต์ฯชอบ......................ธรรมประกอบอาส์วาหนา
"อาส์วาสัมฯ"กอปรมา.....................ด้วยอาส์หาใช่อาส์ฯแล

   ๓๒."อาสววิปป์ฯ"นอบ...................ไม่ประกอบอาส์วะแฉ
แต่ธรรมอารมณ์แท้.........................ของอาส์วกิเลสพลัน
"อนาสวาฯ"คลาด.............................ไม่กอปรอาสวะดั้น
ไม่เป็นอารมณ์ครัน...........................ของอาสวะอีกแล

   ๓๓.ห้า,สัญโญชน์โคจฉ์ฯเปลื้อง......แม่บทเครื่องผูกมัดแฉ
แบ่งได้หกคู่แล้..............................กิเลสผูกมัดตนเอย
"สัญโญชนา สัมมา".......................ธรรมเป็นนาสัญโญชน์เผย
"โน สัญโญชนาฯ"เชย....................ธรรมไม่เป็นสัญโญชน์นา

   ๓๔."สัญโญชนิยาฯ"ธรรม............อารมณ์ล้ำสัญโญชน์หนา
"อสัญโญชน์ฯ" ธัมมา.....................ธรรมไม่เป็นอารมณ์แล
"สัญโญชน์ สัมปยุตต์ฯ"..................ธรรมกอปรรุดสัญโญชน์แน่
"สัญโญชน์ วิปปยุตต์ฯแล้...............ธรรมมิกอปรสัญโญชน์เอย

   ๓๕."สัญโญชนฯ"ครัน..................ธรรมเป็นสัญโญชน์จริงเผย
และเป็นอารมณ์เคย.......................ของสัญโญชน์อีกด้วยแล
"สัญโญชนิยา"...............................ธรรมเป็นอารมณ์สัญโญชน์แฉ
แต่จะไม่เป็นแน่..............................กับสัญโญชน์ด้วยเลยนา

   ๓๖."สัญโญชน์ สัมปยุตต์ฯ"..........ธรรมรุดเป็นสัญโญชน์หนา
และประกอบได้มา..........................กับสัญโญชน์ได้ดีเทียว
"สัญโญชน์ สัญโญช์นา"..................ธรรมกอปรหนาสัญโญชน์เชี่ยว
แต่ธรรมมิเป็นเจียว..........................กับสัญโญชน์แต่อย่างใด

   ๓๗."สัญโญชน์วิปยุตต์".................ธรรมไม่รุดประกอบใส
กับสัญโญชน์เลยไซร้.......................เป็นอารมณ์สัญโญชน์แล
"สัญโญชน์ อสัญโญฯ"......................ไม่กอปรโอ่สัญโญชน์แฉ
ไม่เป็นอารมณ์แน่..............................ของสัญโญชน์แท้เทียวเอย

   ๓๘.หก,"คันถโคจฉ์ฯ".....................แม่บทโจดกิเลสเผย
เครื่องร้อยรัดหกเอ่ย.........................เรียก"คันถะ"ผูกมัดใจ
"คันถา ธัมมา"นั้น...............................ธรรมเป็นคันถะเพลินไข
กำหนัด,อาฆาตไว..............................เห็นผิดคิดโลกเที่ยงเอย

   ๓๙."โน คันถา"ธรรมครัน.................ไม่เป็นคันถะสี่เผย
ที่เหลือ"กามาฯเอ่ย.............................รูปาฯ,อรูปาฯแล
โลกุตตระ,ขันธ์..................................เวทนาดั้น,วิญญาณแฉ
รูป,อสังข์ฯแล้.....................................ธรรมไม่เป็นคันถะเอย

   ๔๐."คันถนิยา"ธรรม.........................อารมณ์นำคันถะเผย
กุศล,เลว,กลางเอ่ย..............................ที่ยังมีกิเลสแล
กามาฯ,รูปาฯหล้า................................อรูปาฯ,รูปขันธ์แน่
อีกวิญญาณขันธ์แล้............................นี่อารมณ์คันถะแล


รายนามผู้เยี่ยมชม : ข้าวหอม, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ต้นฝ้าย, หยาดฟ้า, ลิตเติลเกิร์ล

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4457
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 622



| |
Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
« ตอบ #22 เมื่อ: 02, กรกฎาคม, 2568, 03:01:40 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา

(ต่อหน้า ๔/๓๐) ๒.ธัมมสังคณี

   ๔๑."อคันถนิยา"..................ไม่เป็นนาอารมณ์แน่
ของคันถะเลยแท้...................คือมรรค,ผลโลกุตต์ฯนา
และอสังขต์ธาตุ.....................ไม่มียาตรปรุงแต่งหนา
สภาวธรรมจ้า........................ปราศจากอารมณ์เอย

   ๔๒."คันถสัมปยุตต์ฯ"...........ธรรมกอปรรุดคันถะเผย
เว้นคันถะนั้นเอ่ย.....................คือขันธ์ต่างเวทนา
อีกวิญญาญขันธ์ซ้ำ................สภาพธรรมประกอบหนา
ด้วยคันถะเหมาะพา................แต่ไม่เป็นคันถะแล

   ๔๓."คันถวิปปยุตต์ฯ"............ธรรมไม่รุดประกอบแฉ
กับคันถะเลยแน่......................เพราะมีโลกุตตรธรรม
มรรค,ผล,อสังข์ฯ.....................ภาวะดั่งไซร้ไร้กอปรหนำ
กับคันถะละนำ.........................และไม่เป็นอารมณ์เลย

   ๔๔."คันถะ เจวะฯ"ครัน..........ธรรมเป็นคันถะแน่เอ่ย
พร้อมเป็นอารมณ์เคย..............ของคันถะแท้เลยแล
"คันถนิยาฯ"หนา......................ธรรมอารมณ์คันถะแฉ
ไม่เป็นคันถะแน่.......................ได้แก่กิเลสเหลือคง

   ๔๕."คันถา สัมปยุตต์ฯ"..........ธรรมนี้คุดคันถะบ่ง
และสัมปยุตต์ฯตรง..................กอปรด้วยคันถะต่างเอย
"คันถสัมปยุตต์ฯ".....................ธรรมกอปรรุดคันถะเผย
แต่ไป่คันถะเอ่ย.......................เพราะเว้นคันถธรรมแล

   ๔๖."คันถวิปปยุตต์ฯ".............ธรรมที่ซุดไม่กอปรแน่
กับคันถะเลยแต่.......................เป็นอารมณ์คันถะไง
"อคันถนิยาฯ"...........................ไม่กอปรนาคันถะไส
และไร้อารมณ์ใด......................กับคันถะทั้งสิ้นเอย

   ๔๗.เจ็ด,"โอฆโคจฉ์ฯ"คลุม.......แม่บทกลุ่มโอฆะเผย
โอฆะห้วงน้ำเปรย......................ดึงสัตว์จมลงต่ำแล
แต่อบายภูมิรึง...........................แหวกว่ายถึง"โคตรภูฯ"แฉ
โอฆะ,กิเลสแท้...........................แยกได้สี่ประเภทเอย

   ๔๘."โอฆา ธัมมา"เด่น...............ธรรมอันเป็นโอฆะเผย
"โน โอฆา"ธรรมเอ่ย....................ธรรมไม่เป็นโอฆะแล
"โอฆนิยา"ธรรม..........................อารมณ์นำโอฆะแฉ
"อโนฆะฯ"ธรรมแล้.....................ไม่ได้เป็นอารมณ์เอย

   ๔๙."โอฆสัมปยุตต์ฯ"................ธรรมกอปรรุดโอฆะเผย
"โอฆวิปป์ฯธรรมเกย...................ไม่ประกอบโอฆะแล
"โอฆา เจวะ"โร่............................ธรรมเป็นโอฆะแน่แฉ
เป็นนาอารมณ์แล้........................ของโอฆะแท้เทียวนา

   ๕๐."โอฆนิยาฯ"งม....................เป็นอารมณ์โอฆะหนา
อารมณ์เป็นธรรมกล้า...................แต่ไป่โอฆะแล
"โอฆสัมปยุตต์ฯโผล่....................ธรรมเป็นโอฆะแน่แฉ
และยังประกอบแท้......................เข้ากับโอฆะด้วยเอย

   ๕๑."โน จ โอมา"ธรรม...............สัมปยุตต์ฯนำประกอบเผย
กอปรด้วยโอฆะเปรย...................แต่ไม่เป็นโอฆะแล
"โอฆวิปป์ฯ"ธรรมไม่.....................ประกอบไซร้โอฆะแน่
แต่เป็นอารมณ์แท้........................ของโอฆะหลายแท้เทียว

   ๕๒."โอฆวิปปยุตต์ฯ"..................เป็นธรรมรุดไม่กอปรเอี่ยว
จากโอฆะเลยเชียว.......................และไม่เป็นอารมณ์แล
แปด,"โยคโคฯ"นะ.........................แม่บท"โยคะ"กอปรแฉ
ผูกสัตว์ซัดจมแล้...........................ในวัฏฏะหกคู่เอย

   ๕๓."โยคา ธัมมา"หล้า................ธรรมเป็นนาโยคะเผย
"โน โยคา"ธรรมเอ่ย......................ไม่เป็นโยคะเลยนา
"โยคนิยาฯ"ธรรม..........................อารมณ์ด่ำโยคะหนา
"อโยคนิยา"..................................ธรรมไม่เป็นอารมณ์แล

   ๕๔."โยคสัมปยุตต์ฯ"..................ธรรมกอปรรุดโยคะแน่
"โยควิปป์ฯซิแท้............................ไม่ประกอบโยคะเอย
"โยคา เจวะฯ"โผล่........................ธรรมเป็นโยคะเหตุเผย
และเป็นอารมณ์เกย.....................ของโยคะกิเลสนา


รายนามผู้เยี่ยมชม : ต้นฝ้าย, ข้าวหอม, หยาดฟ้า, ลิตเติลเกิร์ล, ขวัญฤทัย (กุ้งนา)

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4457
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 622



| |
Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
« ตอบ #23 เมื่อ: เมื่อวานนี้ เวลา 12:30:50 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
(ต่อหน้า ๕/๓๐) ๒.ธัมมสังคณี

   ๕๕."โยคนิยาฯ"มี...................อารมณ์ชี้โยคะหนา
ธรรมมาอารมณ์กล้า.................แต่ไม่เป็นโยคะแล
"โยคา เจวะ"โด่.........................ธรรมเป็นโยคะแน่
และสัมปยุตต์กอปรแล้..............ด้วยโยคะแนบชิดเอย

   ๕๖."โยคสัมปยุตต์ฯ"..............ธรรมข้องสุดโยคะเผย
กอปรด้วยโยคะเคย..................แต่ไม่เป็นโยคะแล
"โยควิปปยุตต์ฯ".......................ธรรมไม่รุดประกอบแฉ
เบือนกับโยคะแต่......................เป็นอารมณ์โยคะคง

   ๕๗."อโยคนิยาฯ"....................ไม่กอปรนาโยคะบ่ง
ไม่ข้องกิเลสตรง.......................โยคะไม่เป็นอารมณ์
เก้า,แม่บท"นีวรณ์".....................กิเลสชอนบ่อนจิตล่ม
มิแน่วสมาธิ์ซม..........................จิตพลาดนำทำความดี

   ๕๘."นีวรณา"ปก.....................ธรรมนี้หกนิวรณ์ปรี่
"โน นีวรณ์ฯ"ธรรมชี้...................ไม่เป็นนิวรณ์หกแล
"นีวรณิยา"................................ธรรมเป็นอารมณ์ตรมแฉ
ของนิวรณ์เหลือแต่....................กิเลสในกามา..เอย

   ๕๙."อนีวรฯ"เด่น......................ธรรมไม่เป็นอารมณ์เผย
มรรค,ผล,โลกุตต์ฯเอ่ย................อสังขตธาตุนา
"นีวรณสัมฯ"...............................ธรรมกอปรช่ำนิวรณ์หนา
มาพร้อมกับขันธ์ห้า.....................เวทนา..และวิญญาณ

   ๖๐."นีวรณ์วิปป์ฯ".....................ธรรมไกลลิบไม่กอปรสาน
กับนิวรณ์ธรรมซ่าน......................เช่นอสังขต์ธาตุแล
"นีวรณา เจวะฯ"............................ธรรมที่ปะนิวรณ์แฉ
เป็นหนาอารมณ์แล้.......................ของนิวรณ์อีกด้วยเอย

   ๖๑."นีวรณิยา"...........................ธรรมเป็นอารมณ์คล้ายเผย
กับนิวรณ์แต่เอ่ย...........................หาเป็นนิวรณ์ไม่แล
ด้วยกิเลสเหลือใน.........................กามาฯไซร้,รูปาฯแน่
อรูปาฯ,ขันธ์แท้.............................รูป,วิญญาณขันธ์พานไกล

   ๖๒."นีวรณาฯ"เด่น......................ธรรมเป็นเช่นนี้นิวรณ์ไส
และสัมปยุตต์ฯไว...........................ประกอบด้วยนิวรณ์คง
"นีวรณสัมป์ฯ"................................ประกอบย้ำนิวรณ์บ่ง
ไม่เป็นนิวรณ์ทรง...........................เพราะเว้นนิวรณ์ธรรม

   ๖๓."นีวรณวิปป์ฯ"........................ไม่กอปรลิบนิวรณ์ด่ำ
เป็นนาอารมณ์นำ...........................ของนิวรณ์ที่เหลือชู
"นีวรณ์วิปปยุตต์ฯ".........................ไม่กอปรรุดนิวรณ์สู่
ไร้หนาอารมณ์รู้.............................กับนิวรณ์เพราะมรรคแล

   ๖๔.สิบ,แม่บท"ปรามาสฯ"............กิเลสบาดทางผิดแฉ
มีห้าคู่ผิดแท้..................................พลาดจากความตามจริงเอย
"ปรามาสา ธัมมา"..........................ธรรมเป็นนาทิฏฐิเผย
เห็นผิดชิดเกิดเอ่ย.........................ในจิตกอปรทิฏฐิแล

   ๖๕."โน ปรามาสา"ธรรม...............ไม่เป็นนำปรามาสแฉ
ธรรมที่เหลือเช่นแล้........................โลกุตต์ฯ,อสังขต์ธรรม
"ปรามัฏฐาฯ"นา...............................ธรรมเป็นอารมณ์ปรี่นำ
ของปรามาสะพร่ำ...........................ยังมีกิเลสกามาฯ

   ๖๖."อปรามัฏฯ"เน้น.......................ธรรมไม่เป็นอารมณ หนา
ของปรามาสะกล้า...........................เช่นมรรค,ผลโลกุตต์ธรรม
"ปรามาสะสัมฯจับ............................ประกอบกับธรรมอื่นกล้ำ
เช่นสัมปยุตต์นำ...............................กับเวทนาขันธ์ดล

   ๖๗."ปรามาสวิปป์ฯ"ไซร้.................ธรรมใดไม่ประกอบด้น
กับปรามาสะยล...............................เช่นอสังขต์ธาตุครัน
"ปรามาสาา เจวะฯ"..........................ปรามาสะแลธรรมดั้น
เป็นปรามาสะพลัน...........................ยังเป็นอารมณ์อีกเลย

   ๖๘."ปรามัฏฐา เจวะฯ"....................ธรรมใดจะเป็นดั่งเผย
ย้ำหนาอารมณ์เคย...........................มิเป็นปรามาสะนา
"ปรามาสวิปป์ฯ"ไหน.........................ธรรมใดไม่กอปรปรามาฯ
แต่เป็นอารมณ์พา............................ของปรามาสะแท้เทียว


รายนามผู้เยี่ยมชม : หยาดฟ้า, ต้นฝ้าย, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ข้าวหอม

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4457
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 622



| |
Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
« ตอบ #24 เมื่อ: เมื่อวานนี้ เวลา 03:02:06 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
(ต่อหน้า ๖/๓๐) ๒.ธัมมสังคณี

   ๖๙."ปรามาสวิปปยุตต์ฯ"..........ไม่กอปรยุดปรามาฯเอี่ยว
ไม่เป็นอารมณ์เชียว...................ของปรามาสะแท้ครอง
สิบเอ็ด,แม่บทไซร้......................"มหันตร์ฯ"คู่ใหญ่ไม่เกี่ยวข้อง
มีสิบสี่คู่ตรอง.............................แต่ละคู่ต่างเรื่องกัน

   ๗๐."สารัมมณะฯนา.................ธรรมมีอารมณ์สี่สรรค์
คือขันธ์,เวทนาครัน....................สัญญา,สังขาร,วิญญาณ
"อนารัมมณา"............................ธรรมไร้อารมณ์ซ่าน
คือรูปทั้งหมดกราน....................และอสังขต์ธาตุแล

   ๗๑."จิตตา ธัมมา"เด่น..............ธรรมที่เป็นจิตชิดแฉ
คือวิญญาณรู้แท้........................จักขุ ,โสต,ฆานะ..เอย
"โน จิตตา"ธรรมไซร้..................ธรรมที่ไม่เป็นจิตเผย
นามขันธ์"เวทนา"เอ่ย.................รูป,อสังขต์ธาตุมา

   ๗๒."เจตสิกาฯ"เหตุ.................ธรรมเป็นเจตสิกหนา
นามขันธ์"เวทนา"......................สัญญา,สังขารแล
"อเจตสิกฯ"เว้น..........................ธรรมไม่เป็นเจตสิกแฉ
คือจิต,รูปหลายแล้.....................และอสังขต์ธาตุเอย

   ๗๓."จิตตสัมปยุตต์ฯ"...............ธรรมกอปรรุดกับจิตเผย
นามขันธ์เวทนาเกย....................กับสัญญา,สังขาร
"จิตตวิปปยุตต์ฯ"........................ธรรมที่หยุดกอปรจิตแฉ
เช่นรูปทั้งหมดแน่.......................และอสังขต์ธาตุนา

   ๗๔."จิตตสังสัฏฯ"นับ................ธรรมเจือกับจิตรู้หนา
นามขันธ์เวทนากล้า....................สัญญา,สังขารเอย
"จิตตวิสัสฯ"เอื้อ..........................ธรรมไม่เจือกับจิตเผย
คือรูปทั้งหมดเกย.......................และอสังขต์ธาตุแล

   ๗๕."จิตตสมุฏฯ"ชิด.................ธรรมมีจิตเป็นเหตุแฉ
เช่นนามขันธ์,รูปแท้....................ที่เกิดตรงชิดจิตเอย
"โน จิตต์สมุฏฐฯ"รี่......................ธรรมไม่มีเหตุจิตเผย
เช่นจิต,รูปที่เหลือเอ่ย..................และอสังขต์ธาตุนา

   ๗๖."จิตตสหฯ"รวม....................ธรรมเกิดร่วมกับจิตหนา
คือนามขันธ์,สัญญา.....................เวทนา,สังขารช่วยไว
"โน จิตตสหะฯ"............................ธรรมไม่ปะเกิดกับใจ
เช่นจิต,รูปเหลือไซร้.....................และอสังขต์ธาตุแล

   ๗๗."จิตตานุฯ"พร้อมช้อย...........ธรรมเกิดคล้อยตามจิตแน่
เช่นนามขันธ์ร่วมแท้.....................เวทนา,สังขาร,สัญญา
"โน จิตตานุฯ"เชิด.........................ธรรมไม่เกิดคล้อยหนา
เช่นรูปที่เหลือนา..........................อสังขตธาตุเอย

   ๗๘."จิตตสังสัฏฯ"เกื้อ.................คือธรรมเจือกับจิตเผย
มีจิตจ่อเหตุเปรย..........................เช่นนามขันธ์รู้,จำ,ปรุง
"โน จิตตสังฯ"ไซร้.........................คือธรรมไม่เจือจิตมุ่ง
คือจิต,รูปผดุง...............................และอสังขต์ธาตุนา

   ๗๙."จิตตสหภูฯ".........................ธรรมเจืออยู่คู่จิตหนา
มีจิตเป็นเหตุกล้า...........................และเกิดร่วมกับจิตแล
คือขันธ์สาม"เวทนา"......................สัญญา,สังขารแฉ
"โน จิตตสังฯ"แท้...........................ธรรมไม่เจือกับจิตเอย

   ๘๐.และจิตไร้เหตุสวม.................ไม่เกิดร่วมกับจิตเผย
เช่นจิต,รูปถ้วนเอ่ย.........................กับอสังขต์ธาตุแล
"จิตตปริวัตต์ฯ"นับ..........................ธรรมเจือกับจิตอยู่แฉ
มีจิตเป็นเหตุแล้..............................และเกิดคล้อยตามจิตนา

   ๘๑.เช่นนามขันธ์เวทนา...............พร้อมสัญญา,สังขารหล้า
"โน จิตตปริฯ"กล้า..........................ธรรมไม่เจือกับจิตแล
จิตไม่มีเหตุด้อย..............................ไม่เกิดคล้อยตามจิตแฉ
เช่นจิต,รูปถ้วนแท้...........................และอสังขต์ธาตุเอย

   ๘๒."อัชฌัตติกา"นำ......................สภาพธรรมภายในเผย
เป็นอารมณ์อันเคย..........................เช่น"จักขาย์ตนะ"แล
"พาหิรา ธัมฯ"กราย.........................ธรรมเป็นภายนอกกายแฉ
เช่น"รูปายะฯแล้.............................."ธัมมายตนะ"ครา


รายนามผู้เยี่ยมชม : ต้นฝ้าย, ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ข้าวหอม, หยาดฟ้า

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4457
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 622



| |
Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
« ตอบ #25 เมื่อ: วันนี้ เวลา 10:56:37 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา

(ต่อหน้า ๗/๓๐) ๒.ธัมมสังคณี

   ๘๓."อุปาทาธัมฯ"ไซร้...........ธรรมอาศัยที่เกิดหนา
"มหาภูต์รูป"หล้า.....................ดิน,น้ำ,ไฟ ลมสี่พาน
เช่น"จักขายตนะฯ"อิง.............."กวฬิงการาหาร"
"โน อุปาทาฯ"ผ่าน...................ธรรมไม่อาศัยเกิดเลย

   ๘๔.จากมหาภูตฯนั้น.............เช่นนามขันธ์สี่เผย
เวทนา,สัญญาเอ่ย...................สังขาร..,อสังขต์ฯแล
"อุปาทินนาฯ"..........................ธรรมที่พาเจตนาแฉ
เกิดกรรมกอปรด้วยแท้............ตัณหา,ทิฏฐิยึดครอง

   ๘๕.เช่นวิบากกรรมดี.............และชั่วคลี่กิเลสผอง
นามขันธ์,เวทนาข้อง.................สัญญา,สังขารเอย
อีกวิญญาญขันธ์ชี้....................และรูปที่กรรมตกแต่งเผย
"อนุปาทินฯ"เปรย......................ธรรมที่เจตนากอปรแล

   ๘๖.ตัณหา,ทิฏฐิถ่อง...............ไม่ยึดครองปองใดแฉ
เช่นมรรคและผลแล้..................และอสังขต์ธาตุนา
สิบสอง,"อุปาทานฯ"...................แม่บทพานเหตุยึดหนา
มีหกคู่เหตุอ้า..............................สี่สิ่งให้ยึดติดแล

   ๘๗."กามุปาทาน"ชัด................ความกำหนัด,ตัณหาแฉ
"ทิฏฐุปาทาน"แท้........................ความเห็นผิดปิดความจริง
"สีลัพพตุปาฯ"............................เลื่อมใสหนาศาสน์อื่นดิ่ง
"อัตตาวาทุฯ"อิง..........................ยึดตนวิปลาสเอย

   ๘๘."ธรรมเป็นอุปาทาน"...........มั่นสี่ขานยึดติดเผย
"ธรรมไม่เป็นอุปาฯ"เอ่ย...............ไร้เหตุจะยึดถือแล
เช่นนามขันธ์,เวทนา....................สัญญา,สังขาร,วิญญ์แฉ
รูปทั้งหมดและแน่........................อสังขตธาตุเอย

   ๘๙."ธรรมเป็นอารมณ์"นา..........ของอุปาทานแลเผย
คือขันธ์ห้า,รูปเอ่ย........................เวทนา..และวิญญาณ
"ธรรมไม่เป็นอารมณ์"..................ไม่ยึดตรมอุปาทาน
กิเลสที่เหลือพาน.........................เช่นขันธ์ห้าทั้งหลายแล

   ๙๐."ธรรมกอปรอุปาทาน...........วิญญาณขันธ์,เวทนาแฉ
"ธรรมไม่กอปรอุปาฯ"แล้"..............เช่นรูป,อสังข์ธาตุเอย
"ธรรมเป็นอุปาทาน"......................และยังซ่านอารมณ์เผย
"ธรรมนาอารมณ์"เคย....................ของอุปาทานแน่ครัน

   ๙๑.แต่มิเป็นอุปาฯ......................ยังเหลือนากิเลสปั่น
ตัวอย่างรูปขันธ์นั้น.......................และวิญญาณขันธ์ไซร้แล
"ธรรมเป็นอุปาทาน"......................และกอปรขานอุปาฯแฉ
เช่น"ทิฏฐุปาทาน".........................กอปรพาน"กามุปาทาน"

   ๙๒."ธรรมกอปรอุปาฯ"เด่น.........มิได้เป็นอุปาฯขาน
เช่นขันธ์เวทนาพาน......................สัญญา,สังขาร,วิญญ์ฯเอย
"ธรรมไม่กอปรอุปาฯ."...................แต่มีอารมณ์บ่มเผย
เช่นรูปขันธ์มีเคย..........................และวิญญาณขันธ์พานแล

   ๙๓."ธรรมไม่กอปรอุปาฯ............ไม่เป็นอารมณ์ซมแฉ
คือมรรค,ผลแน่แท้........................และอสังขต์ธาตุเอย
สิบสาม,แม่บทโลด........................"กิเลสโคจฉกะ"เผย
ว่าด้วยกิเลสเอ่ย............................แปดคู่ทำใจเศร้าตรม

   ๙๔."กิเลสา ธัมมา"......................ธรรมนาเป็นกิเลสขม
"กิเลสวัตถุ"ซม..............................มีสิบเช่นโลภ,โกรธแล
"โน กิเลสาฯ"เน้น...........................ธรรมไม่เป็นกิเลสแฉ
เว้นกิเลสสิบแล้..............................เช่นอสังขต์ธาตุครัน

   ๙๕."สังกิเลสิกา".........................อารมณ์พากิเลสผัน
เช่นวิญญาณขันธ์พลัน..................เป็นอารมณ์กิเลสเอย
"อสังกิเลฯเน้น...............................ธรรมไม่เป็นอารมณ์เผย
ได้แก่มรรค,ผลเกย........................และอสังขต์ธาตุแล

   ๙๖."สังกิลิฏฐาฯ"เร้า...................ธรรมที่เศร้าหมองใจแฉ
อกุศลมูลแท้..................................โลภ,โกรธ,หลงทางกาย,ใจ
"อสังกิลิฏฐา".................................ธรรมพาไม่เศร้าหมองไข
เช่นรูปทั้งหมดไกล........................และอสังขต์ธาตุมา


รายนามผู้เยี่ยมชม : ขวัญฤทัย (กุ้งนา), ข้าวหอม, หยาดฟ้า, ต้นฝ้าย

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
แสงประภัสสร
ผู้มีจินตนาการ
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:4457
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 1076
จำนวนกระทู้: 622



| |
Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
« ตอบ #26 เมื่อ: วันนี้ เวลา 02:00:26 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา

(ต่อหน้า ๘/๓๐) ๒.ธัมมสังคณี

   ๙๗."กิเลสสัมปยุตต์"...........ธรรมกอปฉุดกิเลสหนา
คือนามขันธ์,เวทนา................สัญญา,สังขาร,วิญญาณ
"กิเลสวิปปยุตต์"....................ธรรมไม่รุดประกอบขาน
กับกิเลสเลยผ่าน...................เช่นอสังขต์ธาตุแล

   ๙๘."สังกิเลสิกา".................ธรรมเป็นหนากิเลสแย่
และเป็นอารมณ์แท้................ของสังกิเลสด้วยเอย
"โน จะ กิเลสา"......................ธรรมเป็นอารมณ์ซมเผย
ของสังกิเลสเคย...................แต่มิเป็นกิเลสนา

   ๙๙."สังกิลิฏฯ"เด่น..............ธรรมเป็นกิเลสเศร้าหนา
"โน จะ กิเลสา"......................ธรรมที่เศร้าหมองอย่างเดียว
ไม่เป็นกิเลสเลย....................เช่นขันธ์เผย,เวทนาเกี่ยว
สัญญา,สังขารเจียว...............และวิญญาณขันธ์แน่นอน
   
   ๑๐๐."กิเลสสัมปยุตต์".........ธรรมผุดเป็นกิเลสจร
ประกอบกิเลสซ้อน................อีกอย่างหนึ่งเพิ่มแล
เช่น"โลภ"กอปรกับ"หลง"......."โกรธ"กอปรบ่งกับ"หลง"แฉ
"ทิฏฐิ"กอปร"หลง"แน่............."มานะ"ประกอบ"หลง"เอย

   ๑๐๑."โน จะ กิเลสา"...........ธรรมกอปรหนากิเลสเผย
มิเป็นกิเลสเอย......................เช่นนามขันธ์,เวทนา
"วิปปยุตตา โข".....................ธรรมไม่โผล่กิเลสหนา
แต่มีอารมณ์พา.....................สังกิเลสเช่น"รูป"แล

   ๑๐๒."อสังกาปิฯ"ชอบ.........ธรรมมิกอปรกิเลสแฉ
ไร้หนาอารมณ์แน่..................กับกิเลสเช่น"มรรค"ยล
สิบสี่,"ปิฏฐิฯ"ซึ่ง......................แม่บทพึงละให้พ้น
มีสิบแปดคู่ดล........................เพื่อละสังโยชน์หมดนา

   ๑๐๓."ทัสสเนน ปาตฯ".........ธรรมต้องฆาตด้วยโสดาฯ
ตัดสังโยชน์สามลา................."สักกายทิฏฯ"เลิกยึดตน
"วิจิกืจฯ"สงสัย.......................พุทธเจ้าไซร้เคลือบแคลงท้น
"สีลัพพะฯ"ยึดล้น...................ศีล,พรตนอกศาสน์แล

   ๑๐๔."นะ ทัสสเนนฯ"ไซร้.....ธรรมที่ไม่ต้องละแท้
ด้วยโสดาปัตฯแล้...................เช่นรูป,อสังข์ธาตุฯเอย
"ภาวนายะ ปะ".......................ธรรมที่ละด้วยมรรคเผย
คือโลภ,โกรธ,หลงเกย............กอปรด้วยขันธ์ห้าแล

   ๑๐๕."น ภาวนาฯ"ครอง........ธรรมไม่ต้องตัดละแฉ
คือธรรมที่เหลือแล้..................เช่นรูป,อสังข์ธาตุฯเอย
"ทัสสเนน ปหาฯ".....................ธรรมหลายนากอปรเหตุเผย
คือสังโยชน์สามเปรย..............ต้องละด้วยมรรคโสดาฯ

   ๑๐๖."นะ ทัสสเนนฯ"ตอบ.....ธรรมไม่กอปรด้วยเหตุหนา
ไม่ต้องใช้มรคกล้า..................ละครันเช่น"รูป"ผองแล
"ภาวนา ปหา"..........................ธรรมละนาด้วยมรรคแฉ
โลภ,โกรธและหลงแท้.............เพราะมีเหตุประกอบเอย

   ๑๐๗."น ภา ปหา"นี้...............ธรรมไม่มีเหตุละเผย
เช่นรูปทั้งหมดเปรย................และอสังขต์ธาตุนา
แม่บทฝ่าย"สุตตันฯ"................พระสูตรนั้น"สี่สอง"หนา
พุทธวจน์มา............................ตรัสสอนธรรมเจาะจงคน

   ๑๐๘."วิชชาภาคิโนฯ"...........วิชชาโอ่ธรรมล้ำผล
คือวิชชาแปดดล.....................เช่น"วิปัสสนาญาณ
"อวิชชาภาฯ"ครอบ..................ธรรมกอปรอวิชชางาน
คือไม่รู้จริงพาน.......................อริยสัจจ์สี่เอย

   ๑๐๙."วิชชูปมาฯ"ดั่ง.............ธรรมเหมือนดังฟ้าแลบเผย
ปัญญามรรคต่ำเชย................ละกิเลสถูกครอบงำ
"วชิรูปมา"...............................ธรรมเหมือนฟ้าผ่าลงหนำ
ปัญญามรรคสูงล้ำ...................กำจัดกิเลสสิ้นเชิง

   ๑๑๐."พาลา ธัมมา"ไซร้.........ธรรมนำให้เป็นพาลเบิ่ง
อกุศลธรรมเริง.........................อหิริ,อโนตฯแล
"ปัณฑิตา ธัมฯ"เด่น..................ธรรมล้ำเป็นบัณฑิตแฉ
"หิริ,โอตตัปฯแท้.......................กุศลกรรมทั้งหมดเอย


รายนามผู้เยี่ยมชม : ข้าวหอม, หยาดฟ้า, ต้นฝ้าย

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอน  "แสงประภัสสร"
..
หน้า: 1 [2]   ขึ้นบน
พิมพ์
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.14 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC
Simple Audio Video Embedder
| Sitemap
NT Sun by Nati
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.228 วินาที กับ 130 คำสั่ง
กำลังโหลด...