แสงประภัสสร
|
Permalink: Re: อภิธรรมปิฎก : ๑.พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ~ กาพย์ทัณฑิกา
(ต่อหน้า ๑๒/๓๐) ๒.ธัมมสังคณี
สังขตะธรรม = ธรรมอันปรุงแต่งได้ แต่จะมีความหมายถึง ธรรมอันเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ใช่สิ่งที่เป็นอมตะ อสังขตะธรรม =คือธรรมอันปรุงแต่งไม่ได้ เป็นธรรมที่คงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เป็นอมตะ เช่น คำสอนที่เป็นอมตะ อย่างปฎิจสมุปบาท เป็นคำสอนที่เป็นความจริง เปลี่ยนแปลงไม่ได้ แม้แต่ ธาตุที่เป็น อสังขตะธาตุ ก็คือ อมตะธาตุ เช่น นิพพานธาตุ เป็นต้น อาสวกิเลส =กิเลสที่หมักหมม นอนเนื่องทับถมอยู่ในจิต ชุบย้อมจิตให้เศร้าหมอง ให้ขุ่นมัว ให้ชุ่มอยู่เสมอ เรียกย่อว่า อาสวะ มี ๔ อย่าง คือ กามาสวะ, ภวาสวะ, ทิฏฐาสวะ, อวิชชาสวะ (๑)กามาสวะ ได้แก่ ความพอใจ, ความใคร่ (๒)ภวาสวะ คือ ความพอใจในภพ, ความกำหนัดในภพ (๓)ทิฏฐาสวะ คือความเห็นว่า โลกเที่ยงก็ดี, ว่าโลกไม่เที่ยงก็ดี, ว่าโลกมีที่สุดก็ดี, ว่าโลกไม่มีที่สุดก็ดี (๔)อวิชชาสวะ คือ ความไม่รู้ในทุกข์, ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย, ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ, ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา, ความไม่รู้ในส่วนอดีต, ความไม่รู้ในส่วนอนาคต, ความไม่รู้ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต, ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น อาสวโคจฉกะ = แม่บทว่าด้วยกลุ่มอาสวะ มี ๖ คู่ ดังนี้ (๑)อาสวทุกะ ก) อาสวา ธมฺมา ~ ธรรมเป็นอาสวะ ได้แก่ สภาวธรรมที่กล่าวแล้วในอาสวกิเลส ข) โน อาสวา ธมฺมา ~ ธรรมไม่เป็นอาสวะ คือ ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ (๒)สาสวทุกะ ก) สาสวา ธมฺมา ~ ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะ คือ รูปขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ข) อนาสวา ธมฺมา ~ ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ คือ มรรค และผลของมรรคที่เป็นโลกุตตระ และอสังขตธาตุ (๓)อาสวสัมปยุตตทุกะ ก) อาสวสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ~ ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ข) อาสววิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ~ ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ (๔)อาสวสาสวทุกะ ก) อาสวา เจว ธมฺมา สาสวา จ ~ ธรรมเป็นอาสวะ และเป็นอารมณ์ของอาสวะ คือ อาสวะเหล่านั้นนั่นแล ชื่อว่า ธรรมเป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ ข) สาสวา เจว ธมฺมา โน จ อาสวา ~ ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะ แต่ไม่เป็นอาสวะ ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ (๕)อาสวอาสวสัมปยุตตทุกะ ก) อาสวา เจว ธมฺมา อาสวสมฺปยุตฺตา จ ~ ธรรมเป็นอาสวะ และสัมปยุต(ประกอบ) ด้วยอาสวะ ได้แก่ □ กามาสวะ สัมปยุตด้วย อวิชชาสวะ □ อวิชชาสวะ สัมปยุตด้วย กามาสวะ □ ภวาสวะ สัมปยุตด้วย อวิชชาสวะ □ อวิชชาสวะ สัมปยุตด้วย ภวาสวะ □ ทิฏฐาสวะ สัมปยุตด้วย อวิชชาสวะ □ อวิชชาสวะ สัมปยุตด้วย ทิฏฐาสวะ ข) อาสวสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา โน จ อาสวา ~ ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะ แต่ไม่เป็นอาสวะ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ (๖) อาสววิปปยุตตสาสวทุกะ ก) อาสววิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา สาสวาปิ ~ ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ แต่ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะ ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ข) อาสววิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา อนาสวาปิ ~ ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ และไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ได้แก่ มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตตระ และอสังขตธาตุ สัญโญชนโคจฉกะ = ธรรมที่ชื่อว่า สัญโญชน์ เพราะ ย่อมประกอบ คือ ผูกพันบุคคลผู้มีสัญโญชน์ไว้ในวัฏฏะ ธรรมนอกจากนั้น ไม่ชื่อว่า สัญโญชน์ มี ๖ ทุกะ คือ (๑) สัญโญชนทุกะ ก) สญฺโญชนา ธมฺมา ~ ธรรมเป็นสัญโญชน์ ได้แก่ สัญโญชน์ ๑๐ (๑.๑) กามราคสัญโญชน์ - ความพอใจ ความใคร่ (๑.๒) ปฏิฆสัญโญชน์ - ความหงุดหงิด โกรธ (๑.๓) มานสัญโญชน์ - ความถือตน ว่าเด่นกว่าเขา ต่ำกว่าเขา (๑.๔) ทิฏฐิสัญโญชน์ -คือ ทิฏฐิ ที่ผูกสัตว์ไว้ ทำให้ไม่ไปสู่ความเห็นถูก
|