บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
- พระยาตากเป็น “พระเจ้าตาก” -
จากนครนายกไม่แลหลัง มุ่งชายฝั่งทะเลไทยในเบื้องหน้า รอนแรมผ่านบ้านช่องไพรท้องนา เข้าเขตปราจีนยั้งสั่งสมพล
พม่าตามราวีต้านตีตอบ ริปูบอบช้ำพ่ายเป็นหลายหน ทั้งทหารทุกหมู่รวมผู้คน เชิญขึ้นบนแท่น“เจ้า”เนานามเดิม |
อภิปราย ขยายความ.....
เมื่อวันวานได้กล่าวถึงเรื่องพระยาตากสินพาพรรคพวกหนีพม่าจากกรุงศรีอยุธยาที่ล่มสลายแล้ว มุ่งไปทางทิศตะวันออก ถึงนครนายกก็ได้ผู้คนและช้างเข้าสมทบเป็นกำลังกองทัพน้อยของพระยาตาก จากนั้นเข้ายึดค่ายบ้านดงที่ขุนหมื่นพันทนายบ้าน ได้ตั้งซ่องสุมผู้คนไว้ เป็นการเพิ่มกำลังพลและยุทโธปกรณ์มากขึ้นอีก วันนี้มาดูเรื่องราวกันต่อไปครับ
ท่านเจ้าของนามว่า “ชานนท์ ท.” กล่าวไว้ในหนังสือ “ตามรอยเลือดพระเจ้าตาก วีรบุรุษของชาติ มหาราชของปวงชน” ที่ท่านได้รวบรวมและเรียบเรียงไว้ตอนที่ยึดค่ายบ้านดงได้แล้วว่า “กองทัพน้อยของพระยาตากสินยึดเอาเส้นทางต่อเชื่อมกับเมืองนครนายกมุ่งไปทางชายฝั่งทะเลตะวันออก รอนแรมไปได้สองวันก็ทะลุบ้านนาเริ่ง พักที่บ้านนาเริ่งหลายวันจึงเคลื่อนพลต่อไปยังเมืองปราจีนบุรี ข้ามด่านกบแจะแล้วก็หยุดพักไพร่พลหุงหาอาหารทางฝั่งตะวันออก” จากนั้นเคลื่อนพลข้ามลำน้ำปราจีนถึงหนองน้ำใหญ่ชายดงศรีมหาโพธิแล้วยั้งทัพ ณ ที่นั้น “ชานนท์ ท.” กล่าวถึงการรบกับพม่า ณ ที่นี้สรุปได้ว่า
 ขอบคุณภาพประกอบจากละคร "หนึ่งด้าวฟ้าเดียว" พวกพม่าที่แตกพ่ายหนีรอดจากบ้านพรานนกนั้น กลับไปถึงปากน้ำเจ้าโล้ (โจ้โล้) ด้านใต้เมืองปราจีนบุรี ได้รายงานเหตุการณ์แก่นายทัพพม่าที่ตั้งค่ายอยู่ที่นั้น นายทัพจึงแบ่งทหารจำนวนหนึ่งให้ตามไล่ล่ากองทัพน้อยของพระยาตากสิน โดยให้ยกไปทั้งทางบกทางเรือ กำชับให้ฆ่าทำลายกองกำลังไทยอย่าให้เหลือ
 ขอบคุณภาพประกอบจากละคร "หนึ่งด้าวฟ้าเดียว" ขณะที่พระยาตากสินตั้งค่ายอยู่ที่ชายดงศรีมหาโพธินั้น กองกำลังพม่ายกตามมา โดยทางเรือนั้นขึ้นบกที่ท่าข้ามสมทบกับกองที่ยกมาทางบก แล้วมุ่งสู่ชายดงศรีมหาโพธิ พบครัวไทยที่พากันเดินทางไปขอพึ่งบารมีพระยาตากสินที่ชายดงศรีมหาโพธิ จึงออกวิ่งไล่จับหมายกวาดต้อนเอาเป็นเชลย ครัวไทยเหล่านั้นก็พากันหลบหนีอย่างไม่คิดชีวิต เวลานั้นประมาณบ่าย ๔ โมง พระยาตากได้ยินเสียงฆ้องกลองอึกทึกแว่วมา จึงให้นายบุญมีขึ้นม้าไปสืบดู นายบุญมีรีบขี่ม้าออกไปดูก็พบว่าพม่ากำลังไล่ฟันแทงครัวไทยที่หมดแรงหนี แย่งชิงทรัพย์สินเท่าที่มีติดตัวมา จึงรีบกลับไปรายงานพระยาตากสิน
 ขอบคุณภาพประกอบจากละคร "หนึ่งด้าวฟ้าเดียว"
รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, กลอน123, เนิน จำราย, ก้าง ปลาทู, กร กรวิชญ์, ฟองเมฆ, ลมหนาว ในสายหมอก, น้ำหนาว, ลิตเติลเกิร์ล, ชลนา ทิชากร, ปลายฝน คนงาม, รพีกาญจน์, ปิ่นมุก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
 ขอบคุณภาพประกอบจากละคร "หนึ่งด้าวฟ้าเดียว" - ยึดเมืองระยองตั้งมั่น -
เจ้าเมืองระยองเข้าหาสามิภักดิ์ ลูกน้องหักหลังแบบแอบฮึกเหิม ลอบตีค่ายหมายไม่ให้ต่อเติม แต่เพียงเริ่มก็กลับถูกจับตาย
เจ้าตากสั่งโต้ตอบตีต่อเนื่อง เข้ายึดเมืองระยองสมอารมณ์หมาย ตั้งหลักมั่นมิพลัดกระจัดกระจาย นโยบายร่วมกันกับจันทบุรี |
รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, น้ำหนาว, กร กรวิชญ์, กลอน123, เนิน จำราย, ฟองเมฆ, ลมหนาว ในสายหมอก, ลิตเติลเกิร์ล, ชลนา ทิชากร, ปลายฝน คนงาม, รพีกาญจน์, ก้าง ปลาทู
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
 ขอบคุณภาพประกอบจากละคร "หนึ่งด้าวฟ้าเดียว" - ทุบหม้อข้าวเข้าเมืองจันท์ -
พระยาจันทบุรีคิดมิซื่อ รับหนังสือจากพม่าแล้ว“บ้าจี้” อยากตั้งตนเป็นใหญ่ในทันที วางแผนตีพระเจ้าตากมากอุบาย
พระเจ้าตากรู้เรื่องขัดเคืองยิ่ง สั่งทุบทิ้งหม้อข้าวตั้งเป้าหมาย เข้าตีเมืองจันท์พร้อมยอมอดตาย ผลสุดท้ายได้เมืองไม่เปลืองแรง |
รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, กลอน123, กร กรวิชญ์, ฟองเมฆ, ลิตเติลเกิร์ล, ชลนา ทิชากร, ลมหนาว ในสายหมอก, เนิน จำราย, ปลายฝน คนงาม, น้ำหนาว, รพีกาญจน์, ก้าง ปลาทู
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
 ขอบคุณภาพประกอบจากละคร "หนึ่งด้าวฟ้าเดียว" - ไทยตั้งก๊กหกชุมนุม -
พระเจ้าตากตั้งหลักปักก๊กกลุ่ม เป็นชุมนุมหนึ่งในไทยกำแหง เจ้าพระฝาง,พิษณุโลกล้วนสำแดง ตั้งตำแหน่งเป็นเจ้าเอาตามใจ
กรมหมื่นเทพพิพิธคิดขวนขวาย ตั้งพิมายเป็นกลุ่มชุมนุมใหญ่ นครศรีธรรมราชก๊กเกรียงไกร มิมีใครยอมย่อขึ้นต่อกัน |
อภิปราย ขยายความ...........
ฝ่ายเจ้าเมืองจันทบุรีนั้นพาบุตรภรรยาลงเรือหนีทิ้งเมืองออกไปยังปากน้ำบันทายมาศ ทหารไทยจีนของพระเจ้าตาก จับครอบครัวญาติเจ้าเมืองจันทบุรีไว้ได้ทั้งหมด กรมการเมืองที่ยังเหลือก็ยอมวางอาวุธไม่คิดสู้ เมืองจันทบุรีตกอยู่ในเงื้อมมือพระเจ้าตากสินเพียงชั่วไม่ถึงครึ่งคืน ทรงได้เมืองจันทบุรีเมื่อเดือน ๗ ปีกุน พ.ศ. ๒๓๑๐ หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าเพียง ๒ เดือนเศษ ทรงส่งคนออกไปเกลี้ยกล่อมชาวเมืองที่หลบหนีออกไปซ่อนตามป่าดงให้กลับเข้าอาศัยอยู่ตามภูมิลำเนาเดิม จัดการปกครองเมืองจันทบุรีจนเรียบร้อยได้ภายในเวลาไม่ถึงเดือน
เมื่อยึดเมืองจันทบุรีได้แล้ว พระเจ้าตากสินต้องการได้หัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออกมาไว้ในอำนาจทั้งหมด เพื่อจะได้มีกำลังมากพอที่จะขับไล่พม่าที่ยังยึดครองกรุงศรีอยุธยาอยู่นั้นให้แตกพ่ายไป จึงจัดทัพเรือยกไปเมืองตราด เมื่อเลาะเลียบชายฝั่งทะเลไปถึงเมืองตราด พวกกรมการเมืองก็พากันมาอ่อนน้อมสวามิภักดิ์โดยดี ขณะนั้นมีสำเภาพ่อค้าจีนจอดทอดสมออยู่ที่ปากน้ำเมืองตราดหลายลำ พระเจ้าตากสินจึงให้ข้าหลวงไปเชิญตัวพ่อค้าจีนเจ้าของสำเภาเหล่านั้นมาพบ แต่พ่อค้าจีนไม่ยอมให้เรือข้าหลวงเข้าใกล้เรือนตน โดยใช้ปืนยิงสกัดกั้นเอาไว้
 ข้าหลวงถอยกลับมาถวายรายงาน พระองค์ขัดเคืองมากจึงลงเรือนำกองเรือรบเข้าล้อมสำเภาเหล่านั้นไว้ แล้วตรัสสั่งให้พ่อค้าเหล่านั้นยอมอ่อนน้อมเสียโดยดี แต่พ่อค้าเหล่านั้นกลับยิงปืนเข้าใส่ พระองค์จึงยิงสู้และบุกเข้าประชิดเรือสำเภาแต่ละลำจนปีนขึ้นเรือได้ ทหารไทยไล่ฆ่าฟันลูกเรือสำเภาตายไปหลายคน พ่อค้าจีน นายสำเภาจึงยอมแพ้ ยึดได้สินค้าอันเป็นประโยชน์แก่กองทัพมากมาย จีนเจียมผู้เป็นใหญ่กว่าพ่อค้าจีนนายสำเภาทั้งหลายนำบุตรสาวคนหนึ่งมาถวาย จากนั้นพระเจ้าตากสินก็ยกพลกลับเมืองจันทบุรี
เวลานั้นย่างเข้าฤดูฝน มรสุมเคลื่อนตัวมาทางฝั่งทะเลตะวันออก พระเจ้าตากสินทรงปักหลักตั้งทัพสะสมกำลัง บำรุงไพร่พลอยู่ที่เมืองจันทบุรี มีพระบัญชาให้ต่อเรือรบเพิ่มเติมให้มากขึ้นอีกเท่าที่จะมากได้
รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, กลอน123, กร กรวิชญ์, ลิตเติลเกิร์ล, ชลนา ทิชากร, ลมหนาว ในสายหมอก, เนิน จำราย, ปลายฝน คนงาม, ฟองเมฆ, น้ำหนาว, รพีกาญจน์, ก้าง ปลาทู
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
- ก๊กพิมาย กรมหมื่นเทพพิพิธ -
กล่าวถึงองค์กรมหมื่นเทพพิพิธ มีชีวิตเหมือนนิยายคนขายฝัน ถูกเนรเทศไปลังกามินานวัน ก็พัวพันกลุ่มกบฏซ้ำบทเรียน
กลับสยามเร่ร่อนหลายบ่อนพัก ไปปักหลัก ณ พิมายแล้วไม่เปลี่ยน เป็นก๊กเจ้าเผ่าไทยได้แนบเนียน ท่ามกลางเสี้ยนหนามแน่นเต็มแผ่นดิน |
รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, กร กรวิชญ์, ปลายฝน คนงาม, กลอน123, ฟองเมฆ, ลมหนาว ในสายหมอก, น้ำหนาว, เนิน จำราย, ชลนา ทิชากร, ลิตเติลเกิร์ล, รพีกาญจน์, ก้าง ปลาทู
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, กลอน123, กร กรวิชญ์, ลิตเติลเกิร์ล, ลมหนาว ในสายหมอก, ฟองเมฆ, ปลายฝน คนงาม, เนิน จำราย, ชลนา ทิชากร, ก้าง ปลาทู, น้ำหนาว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, กลอน123, ลิตเติลเกิร์ล, ฟองเมฆ, เนิน จำราย, ลมหนาว ในสายหมอก, กร กรวิชญ์, ก้าง ปลาทู, น้ำหนาว, ชลนา ทิชากร, ปลายฝน คนงาม, ปิ่นมุก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
- ปราบก๊กเจ้าพิมายสำเร็จ -
ยังชุมนุมไทยมีอยู่สี่ก๊ก จึงต้องยกทัพไปปราบให้ป่น พิษณุโลกต่อต้านอยู่ทานทน ทรงถอยร่นกลับมาหาลู่ทาง
ยกไปปราบเจ้าพิมายได้สำเร็จ แล้วเสด็จกลับกรุงทรงสะสาง “เทพพิพิธ”แข็งกร้าวไม่เว้นวาง จึ่งมล้างชีวินเสียสิ้นวงศ์ |
รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, กลอน123, ฟองเมฆ, ก้าง ปลาทู, เนิน จำราย, ลิตเติลเกิร์ล, น้ำหนาว, ลมหนาว ในสายหมอก, กร กรวิชญ์, ชลนา ทิชากร, ปลายฝน คนงาม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
- ก๊กเจ้าพิษณุโลกสลาย -
พระยาพิษณุโลกกำเริบฤทธิ์ โดยด่วนคิดวู่วามด้วยความหลง ตั้งตนเป็นเจ้าแผ่นดินสะดุดองค์ ฝีร้ายปลงชีวาพิราลัย
เจ้าพระฝางล้างเมืองพิษณุโลก เป็นหัวโจกเมืองเหนือ”หัวเรือใหญ่” ประวัติศาสตร์วาดภาพ“พระบาปภัย” สยามสมัยห้าก๊กหกชุมนุม |
อภิราย ขยายความ..........
เมื่อวันวานได้กล่าวถึงสมเด็จพระเจ้าตากสินยกกองทัพไปปราบชุมนุม หรือ ก๊กเจ้าพิมายได้สำเร็จเป็นก๊กแรก จับได้ตัวกรมหมื่นเทพพิพิธมายังกรุงธนบุรี แต่พระองค์เจ้าแขก หรือ กรมหมื่นเทพพิพิธ ถือองค์ว่าเป็นเจ้า ไม่ยอมทำความเคารพสมเด็จพระเจ้าตากสิน จึงทรงประหารเสีย วันนี้มาดูเรื่องราวตามความในพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาต่อไปครับ
* “และในปีเดียวกันนั้นเอง พระยาพิษณุโลก (เรือง) เมื่อมีชัยในการรบกับพระเจ้าตากสินแล้วก็มีใจเห่อเหิมกำเริบเสิบสานด้วยสำคัญตนว่ามีบุญญาธิการมาก สามารถรบชนะพระเจ้าตากสินผู้ชนะพม่าได้ จึงตั้งตนเป็นเจ้าแผ่นดินรับพระราชโองการเช่นพระเจ้าแผ่นดินทั่วไป แต่ทรงอยู่ในราชสมบัติได้เพียง ๗ วันก็เกิดฝีขึ้นที่ลำพระศอแล้วถึงแก่พิราลัย พระอินอากรน้องชายพระเจ้าพิษณุโลกจึงจัดการพระศพเสร็จแล้วก็ครองเมืองพิษณุโลกสืบไป แต่ไม่ตั้งตนเป็นเจ้าด้วยกลัวจะเป็นเช่นพี่ชายของตน
 ฝ่ายเจ้าพระฝางเมื่อได้ทราบว่าพระเจ้าพิษณุโลกถึงแก่พิราลัยแล้ว จึงยกกองทัพลงมาตีพิษณุโลก ให้ตั้งค่ายล้อมเมืองทั้งสองฟากฝั่งน้ำ พระอินทรอากรเจ้าเมืองพิษณุโลกมีฝีมือและประสบการณ์อ่อนด้อยในการสงคราม ต่อรบต้านทานเจ้าพระฝางอยู่ได้ประมาณสามเดือน ชาวเมืองผู้ที่ไม่รักใคร่นับถือจึงกลายเป็นไส้ศึก เปิดประตูเมืองรับข้าศึกในยามค่ำคืน เจ้าพระฝางก็พากองทัพเข้าเมืองได้ จับตัวพระยาอินทรอากรได้แล้วฆ่าเสียแล้วให้เอาศพขึ้นประจานไว้กลางเมือง จากนั้นให้เก็บริบเข้าของเงินทองของเจ้าเมืองและกรมการเมืองเป็นอันมาก ขนเอาปืนใหญ่น้อยและกวาดต้อนผู้คนชาวเมืองพิษณุโลกขึ้นไปสวางคบุรี ยามนั้นหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวงจึงตกเป็นสิทธิ์ของเจ้าพระฝางทั้งสิ้น ประชาชนชาวเมืองพิษณุโลกและเมืองพิจิตรที่ไม่ยอมรับเจ้าพระฝางจึงพากันอพยพลงมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระเจ้าตากสิน ณ กรุงธนบุรีเป็นจำนวนมาก
พระราชพงศาวดารฉบับเดียวกันกล่าวว่า รุ่งขึ้นปี ๒๓๑๒ ในเดือน ๕ ได้เกิดแผ่นดินไหวขึ้นอีกครั้งหนึ่ง แต่ไม่รุนแรงและยาวนานเหมือนปี ๒๓๑๑
* ในปี ๒๓๑๒ นั้น กรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) กับเมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว เป็นอริแก่กัน พระเจ้ากรุงเวียงจันท์เกรงว่าพระเจ้าหลวงพระบางจะยกทัพมาตีเอาเมืองของตน จึงแต่งราชบุตรีชื่อเจ้าหน่อเมืองพร้อมเครื่องราชบรรณา การ ให้ขุนนางนำไปถวายพระเจ้ากรุงอังวะ ขอเข้าอยู่ในขอบขัณฑสีมาของกรุงอังวะ
 ทางฝ่ายกรุงธนบุรีนั้นมีคดีฟ้องร้องเป็นเรื่องใหญ่ขึ้น กล่าวคือ มีคนกล่าวโทษว่าสมเด็จพระสังฆราชครั้งที่อยู่ในค่ายโพธิ์สามต้นนั้น ได้ร่วมคิดกับสุกี้พระนายกองให้เร่งรัดเอาทรัพย์สมบัติของชาวเมือง เมื่อทรงสอบถามสมเด็จพระสังฆราชก็ปฎิเสธ จึงให้ชำระตัวด้วยการลุยไฟแสดงความบริสุทธิ์ สมเด็จพระสังฆราชแพ้แก่การพิสูจน์จึงให้สึกเสีย ในขณะเดียวกันนั้นมีสามเณรกล่าวโทษพระพนรัตน์ล่วงละเมิดทางเพศด้วยการเสพเมถุนทางทวารหนักของตน จึงโปรดให้พิจารณาแล้วได้ความว่าเป็นจริง จึงให้สึกเสีย แล้วทรงตั้งให้เป็นหลวงธรรมรักษาเจ้ากรมสังฆการี
 ในเดือน ๓ ปีเดียวกันนั้น แขกเมืองลาวเมืองหล่ม นำช้างเชือกหนึ่ง ม้าห้าตัวมาทูลเกล้าถวาย ขอเข้าเป็นข้าขอบขัณฑสีมาอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภาร ในปีนั้นเกิดทุพภิกขภัยข้าวยากหมากแพง อาณาประชาราษฎรขัดสนด้วยอาหารการกินอย่างหนัก จึงทรงพระกรุณาสั่งให้ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อยพร้อมกันทำนาปรังทุกแห่งทุกตำบล ในเวลาเดียวกันนั้นกรมการเมืองจันทบุรีมีหนังสือบอกมาว่า กองทัพเมืองพุทไธมาศจะยกมาตีกรุงธนบุรี จึงโปรดให้พระยาพิชัยจีนเป็นที่โกษาธิบดี ให้ลงไปตั้งค่าย ณ พระประแดง และปากน้ำเมืองสาครบุรี เมืองสมุทรสงคราม รอรับศึกญวน แต่ข่าวทัพญวนก็เงียบหายไป หาได้ยกมาตีไทยไม่ กลับปรากฏว่ามีหนูมากมายเข้ากัดกินข้าวในยุ้งฉางและกัดกินสิ่งต่างๆมากมาย ทรงรับสั่งให้แก้ไขด้วยการให้ทุกคนช่วยกันดักหนู เมื่อได้แล้วให้ส่งกรมพระนครบาลทุกวัน ๆ หนูจึงหายไป
 สำหรับขัตติยวงศ์ครั้งกรุงเก่าที่ทรงนำมาอยู่กรุงธนบุรีด้วยและทรงพระกรุณาเลี้ยงไว้ในพระราชวังนั้น เจ้าฟ้าสุริยา เจ้าฟ้าจันทวดี ทั้งสองพระองค์ที่ประชวรกระเสาะกระแสะมาแต่กรุงเก่า ได้สิ้นพระชนม์ลงในกาลต่อมา ที่ยังมีพระชนม์อยู่คือ เจ้าฟ้าพินทวดี พระองค์เจ้าฟักทอง พระองค์เจ้าทับทิม (เจ้าครอกจันทบูร) เจ้ามิตรธิดาเจ้าฟ้ากุ้ง โปรดให้ชื่อใหม่ว่า เจ้าประทุม หม่อมเจ้าจาดธิดากรมหมื่นจิตรสุนทรโปรดให้ชื่อใหม่ว่า เจ้าบุปผา ส่วนหม่อมเจ้าอุบลธิดากรมหมื่นเทพพิพิธ หม่อมเจ้าฉิมธิดาเจ้าฟ้าจีดทรงพระกรุณาเลี้ยงเป็นหม่อมห้าม
 ต่อมา หม่อมเจ้าอุบล หม่อมเจ้าฉิม กับนางละครสี่คนเป็นชู้กับฝรั่งมหาดเล็กสองคน เมื่อพิจารณาได้ความเป็นจริงแล้วจึงสั่งให้พวกฝีพายทนายเลือกไปทำชำเราประจาน จากนั้นให้ตัดแขน ตัดศีร์ษะ ผ่าอกทั้งชายหญิง ประกาศอย่าให้ใครเอาเยี่ยงอย่างต่อไป ซึ่งการเล่นชู้กันนั้นนับเป็นโทษที่จะต้องได้รับอย่างทารุณโหดร้ายที่สุดในสมัยนั้น”
* ข้อที่ว่า “สมเด็จพระสังฆราชแพ้แก่การพิสูจน์” นั้น หมายถึง ไม่ทรงลุยไฟพิสูจน์ความบริสุทธิ์ แสดงให้เห็นว่า การพิสูจน์ความบริสุทธิ์นั้น มิใช่มีแต่ในเรื่องนิทานนิยายดังที่เราเรียนรู้กันมาว่า “สีดาลุยไฟ” บ้าง “ศรีมาลาลุยไฟ” บ้าง การให้พระสังฆราชลุยไฟพิสูจน์ความบริสุทธิ์นั้นเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
ข้อที่ว่า หม่อมเจ้าอุบล หม่อมเจ้าฉิม และนางละครสี่คนเป็นชู้กับฝรั่งมหาดเล็ก ถูกจับได้ไต่สวนได้ความจริง จึงให้ลงโทษ ดังความในพระราชพงศาวดารฯข้างต้นนั้น ให้เราเห็นได้ว่า การเป็นชู้กันนั้นมีโทษหนักที่อภัยผ่อนผันกันมิได้ โทษถึงตายอย่างโหดร้ายทารุณที่สุด
ก๊กเจ้าพิษณุโลก ไม่ทันที่ต้องให้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจะยกขึ้นไปปราบซ้ำสอง ก็ถึงพิราลัยด้วยโรคแพ้บุญบารมี และเมืองพิษณุโลกก็แตกสลายด้วยน้ำมือของเจ้าพระฝางไปแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินจะปราบอีก ๒ ก๊กที่เหลืออยู่อย่างไร ติดตามอ่านต่อพรุ่งนี้ครับ
เต็ม อภินันท์ สถาบันกวีนิพนธ์ไทย ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผี้งไทย ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๒ ขอขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพนี้ในเน็ต |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
- ยกไปตีนครศรีธรรมราช -
เจ้าเขมรแย่งอำนาจญาติปั่นป่วน น้องพึ่งญวนพี่พึ่งไทยให้ซ่องสุม ส่งกำลังรบพร้อมไล่ล้อมรุม กำจัดกลุ่มญวนใหญ่ให้พ้นเมือง
ส่งพระยารณฤทธิพิชิตศึก แล้วทรงตรึกปราบนครฯ ให้อ่อนเขื่อง ยกทัพเรือลงไปไม่เปล่าเปลือง เดชกระเดื่องแดนใต้ไร้เทียมทาน |
อภิปราย ขยายความ..........
เมื่อวันวานก่อนนี้ได้กล่าวถึงพระเจ้าตากสินทรงปราบชุมนุมหรือก๊กเจ้าพิมายได้สำเร็จ ทรงปูนบำเหน็จรางวัลแก่ข้าราชการที่สำคัญคือ เลื่อนให้พระราชวรินทร์ (ทองด้วง) ขึ้นเป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์ ดำรงตำแหน่งจางวางพระตำรวจขวา เลื่อนให้พระมหามนตรี (บุญมา) เป็นพระยาอนุชิตราชา ดำรงตำแหน่งจางวางพระตำรวจซ้าย ซึ่งทั้งสองท่านนี้มีคุณูปการแก่ประเทศชาติไทยอย่างใหญ่หลวงในกาลต่อมา วันนี้มาดูเรื่องราวตามพระราชพงศาวดารกันต่อไปครับ
 * ความในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขากล่าวอีกว่า ในปี ๒๓๑๒ นั้น พระเจ้าตากสินทรงสถาปนาท่านนกเอี้ยงราชมารดาเป็นกรมพระเทพามาตย์ตามโบราณราชประเพณี โปรดให้เจ้าครอกหอกลางพระมเหสีเดิม เป็นกรมหลวงบาทบริจาริกา ตั้งพระเจ้าหลานเธอสามพระองค์เป็นเจ้าราชินิกูล ชื่อ เจ้านราสุริยวงศ์องค์หนึ่ง เจ้ารามลักษณ์องค์หนึ่ง เจ้าประทุมไพจิตรองค์หนึ่ง และพระเจ้าลูกเธอใหญ่พระองค์เจ้าจุ้ยกับพระเจ้าหลานเธอแสงเจ้าบุญจันทร์ สองพระองค์นี้ยังหาได้พระราชทานพระนามใหม่ไม่
 และในปีนั้น ทางฝ่ายประเทศกัมพูชาก็เกิดความวุ่นวายขึ้น กล่าวคือ นักพระองค์ตน ซึ่งเป็นพระอุทัยราชาได้ไปขอทัพญวนมาตีเมืองพุทไธเพชร นักพระรามาธิบดี (นักองค์นนท์)ผู้ครองเมืองสู้ไม่ได้ก็พาสมัครพรรคพวกครอบครัวอพยพหนีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงตรัสสั่งให้พระยาอภัยรณฤทธิ์ (ทองด้วง) และ พระยาอนุชิตราชา (บุญมา) ยกกองทัพมีกำลังพลสองพันไปทางเมืองนครราชสิมาทัพหนึ่ง ให้พระยาโกษาธิบดียกกองทัพมีกำลังพลสองพันไปทางเมืองปราจีนบุรีทัพหนึ่ง ให้ตีนักพระอุทัยราชาเอาเมืองพุทไธเพชรคืนแก่พระรามาธิบดี (นักองค์นนท์)จงได้ กองทัพทั้งสองจึงกราบถวายบังคมลาไปโดยพลัน
 จากนั้นทรงคิดราชการสงคราม เกณฑ์กองทัพยกไปตีเมืองนครศรีธรรมราช จึงโปรดให้เจ้าพระยาจักรี (แขก) เป็นแม่ทัพ กับพระยายมราช พระยาศรีพิพัฒ พระยาเพชรบุรี ถือพลห้าพัน ยกไปตีเมืองนครศรีธรรมราชอีกทัพหนึ่ง เจ้าพระยาจักรี (แขก) นำทัพผ่านราชบุรี เพชรบุรี ไปถึงเมืองปทิว ปรากฏว่าชาวเมืองปทิวเมืองชุมพรพากันยกครอบครัวหนีเข้าป่าไปสิ้น แต่มีหัวหน้าชุมชนคนหนึ่งชื่อนายมั่น พาสมัครพรรคพวกเป็นอันมากเข้าหาแม่ทัพขอสวามิภักดิ์เป็นข้าราชการ เจ้าพระยาจักรี (แขก) มีหนังสือกราบบังคมทูลให้ทรงทราบ จึงมีพระกรุณาโปรดตั้งให้นายมั่นเป็นพระชุมพรและให้เกณฑ์เข้ากองทัพด้วย ครั้นยกทัพไปถึงเมืองไชยา หลวงปลัดเมืองไชยาก็พาไพร่พลออกมาเข้าสวามิภักดิ์ เมื่อทรงทราบจึงโปรดตั้งให้หลวงปลัดเมืองไชยาเป็นพระยาวิชิตภักดีเจ้าเมืองไชยา และให้เกณฑ์เข้ากองทัพด้วยอีกเช่นกัน
 ฝ่ายเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชเมื่อทราบข่าวศึก จึงเกณฑ์กองทัพยกมาตั้งรับศึก ณ ตำบลท่าหมาก กองทัพเจ้าพระยาจักรี (แขก) ยกข้ามแม่น้ำบ้านดอนไปถึงค่ายท่าหมากจึงได้รบกับกองทัพเมืองนครฯ เป็นสามารถ ฝ่ายเจ้าพระยาจักรี (แขก) เพลี่ยงพล้ำ พระยาเพชรบุรี พระยาศรีพิพัฒ ตายในที่รบ หลวงลักษณมนาบุตรเจ้าพระยาจักรีถูกจับตัวไป เจ้าพระยาจักรีจึงสั่งให้ล่าทัพถอยกลับมาตั้งที่เมืองไชยา พระยายมราชจึงมีหนังสือบอกกล่าวโทษเข้ามาว่า เจ้าพระยาจักรี (แขก) เป็นกบฏ มิเต็มใจทำสงคราม
สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงพิจารณาเห็นว่า “นายทัพนายกองเหล่านี้ทำสงครามไปไม่ตลอดแล้ว จึงวิวาทแก่กัน และการศึกเมืองนครศรีธรรมราชครั้งนี้เป็นศึกใหญ่ แต่กำลังเสนาบดีเห็นจะทำการไม่สำเร็จเป็นแท้ จำจะต้องยกพยุหโยธา ทัพหลวงไปจึงจะได้เมืองนครศรีธรรมราช”
 จากนั้นทรงจัดทัพเรือมีพลรบหมื่นหนึ่ง พลกระเชียงหมื่นหนึ่ง มีปืนใหญ่น้อยพร้อมเครื่องศัสตราวุธครบครัน ครั้นได้พิชัยฤกษ์จึงเสด็จลงเรือพระที่นั่งสุวรรณพิชัยนาวาท้ายรถ ยาวสิบเอ็ดวา ปากกว้างสามวาเศษ พลกระเชียง ๒๙ คน ยกพยุหโยธาโดยทางชลมารคจากกรุงธนบุรีออกปากน้ำเมืองสมุทรปราการสู่ทะเลหลวง ถึงตำบลบางทลุก็เกิดพายุคลื่นลมหนัก เรือรบข้าราชการในกองหลวงกองหน้ากองหลังล่มบ้างแตกบ้าง จึงเข้าจอดบังอยู่ในอ่าว ทรงดำรัสสั่งให้ปลูกศาลเพียงตาบนฝั่ง แล้วแต่งเครื่องกระยาสังเวยบวงสรวงเทพารักษ์ผู้พิทักษ์สมุทร ทรงกล่าวคำสัตยาธิษฐานเอาคุณพระศรีรัตนตรัยเป็นที่ตั้งกับทั้งบารมีที่พระองค์ทรงบำเพ็ญมาแต่บุเรชาติและในปัจจุบันเป็นเครื่องสนับสนุน ก็ปรากฏเป็นอัศจรรย์ว่าคลื่นลมสงบลงในทันที กองทัพเรือของพระองค์ก็เดินทางไปในทะเลหลวงอย่างปลอดภัย จนถึงท่าพุมเรียง เมืองไชยา ครั้นเสด็จพระราชดำเนินขึ้นประทับ ณ พลับพลาแล้วดำรัสสั่งให้กองพระยาพิชัยราชาเข้ารวมกับทัพเจ้าพระยาจักรี (แขก) แล้วยกไปทางบกเข้าตีค่ายทัพเมืองนครฯ ให้ได้ ส่วนพระองค์ลงเรือพระที่นั่งสั่งให้ยาตราทัพเรือไปยังปากน้ำเมืองนครโดยเร็ว”
* สมเด็จพระเจ้าตากสิน ตรัสให้พระยาอภัยรณฤทธิ์ (ทองด้วง) พระยาอนุชิตราชา (บุญมา) สองพี่น้องผู้เป็นขุนศึกคู่บารมีถูกใช้ให้ไปตีกัมพูชาไล่กองทัพญวนให้ออกไป แล้วยึดเมืองพุทไธเพชรคืนให้แก่พระรามาธิบดี (นักองค์นนท์) แล้วทรงให้พระยาจักรี (แขก) พระยายมราช เป็นแม่ทัพยกลงไปตีนครศรีธรรมราช แต่พระยาทั้งสองกระทำการมิสำเร็จ สมเด็จพระเจ้ากรุง ธนบุรีจึงทรงจัดทัพหลวงยกลงไปด้วยพระองค์เอง เรื่องจะเป็นอย่างไร ตามอ่านต่อวันพรุ่งนี้ครับ
เต็ม อภินันท์ สถาบันกวีนิพนธ์ไทย ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๒ ขอขอบคุณเจ้าของภาพประกอบทุกภาพนี้ในเน็ต |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
- ปราบนครศรีธรรมราชสำเร็จ -
ทัพฝ่ายเจ้านครอ่อนแอนัก ถูกตีหักหาญรุกแตกทุกด้าน เจ้านครพ่ายล้มหนีซมซาน อยู่ตานีมินานถูกจับตัว
ปราบนครเสร็จสรรพกลับกรุงแล้ว ทรงแน่แน่วในธรรมล้างความชั่ว ปลดปล่อยเจ้านครพร้อมครอบครัว โทษถ้วนทั่วทิ้งไปไม่เอาความ |
อภิปราย ขยายความ........
เมื่อวันวานนี้ได้กล่าวถึงสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงยกทัพเรือลงไปตีนครศรีธรรมราช เสด็จถึงเมืองไชยาแล้วสั่งให้พระยาพิชัยราชาเข้าร่วมกับทัพเจ้าพระยาจักรี (แขก) ยกไปทางบกเข้าตีค่ายทัพเมืองนครทันที ส่วนพระองค์ลงเรือพระที่นั่งให้ยาตราทัพเรือไปยังปากน้ำเมืองนครโดยเร็ว วันนี้มาดูเรื่องราวตามความในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขากันต่อไปครับ
 * “ทัพบกนั้นพระยายมราชเป็นกองหน้ายกข้ามท่าข้ามไปถึงลำพูนเข้าตีกองทัพเมืองนครฯ ที่ท่าหมากนั้นแตกพ่ายหนีไป จึงยกติดตามไปตั้งค่าย ณ เขาหัวช้าง ฝ่ายทัพเรือของสมเด็จพระเจ้าตากสินเดินทางถึงปากน้ำเมืองนครฯ ก็ยกขึ้นบก ยาตราทัพเข้าตีเมืองนครทันที
เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชให้เจ้าอุปราชยกทัพออกมาตั้งรับที่ท่าโพธิ์ก็พ่ายแก่ทัพหลวงกรุงธนบุรี หนีเข้าเมืองทำให้เจ้านครฯ ตกใจกลัวพระเดชานุภาพ มิได้สู้รบ จึงทิ้งเมืองหนีไป เวลานั้น นายคง ไพร่ในกองพระเสนาภิมุขเห็นช้างพลายเพชรที่นั่งเจ้าเมืองนครผูกเครื่องสรรพปล่อยอยู่ จึงจับเอามาถวาย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงเสด็จขึ้นทรงช้างที่นั่งพลายเพชร เสด็จเข้าเมืองนครศรีธรรมราชโดยราบรื่น
 ผลการรบกับเจ้าอุปราชนั้นปรากฏว่านายเพชรทนายเลือกถูกปืนตายเพียงคนเดียว นอกนั้นปลอดภัย เมื่อเข้าเมืองได้แล้วพลข้าหลวงจับได้ราชธิดาและญาติวงศา นางสนมมเหสีล่าชแม่พนักงานบริวารของเจ้านคร กับทั้งอุปราชและขุนนางทั้งปวง และได้ทรัพย์สินเงินทองเครื่องราชูปโภคต่าง ๆ เป็นอันมากนำมาถวาย ในขณะที่เสด็จเข้าเมืองนั้นปรากฏว่านายทัพนายกองตามเสด็จทันบ้างไม่ทันบ้าง ครั้นท้าวพระยานายทัพนายกองทัพบกทัพเรือมาถึงพร้อมกันแล้ว จึงมีพระราชดำรัสภาคโทษไว้ครั้งหนึ่ง
* ฝ่ายเจ้านครศรีธรรมราชนั้น นำบุตรธิดาวงศานุวงศ์และเก็บทรัพย์สมบัติไปได้ส่วนหนึ่ง หนีลงไป ณ เมืองสงขลา หลวงสงขลาพาหนีต่อไปถึงเมืองเทพา เมืองตานี จึงมีดำรัสสั่งให้เจ้าพระยาจักรี (แขก) พระยาพิชัยราชา เร่งยกทัพติดตามไปจับตัวให้จงได้ ถ้ามิได้จะลงอาญาถึงสิ้นชีวิต
สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงตีเมืองนครศรีธรรมราชได้ในวันพฤหัสบดี แรม ๖ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีฉลู เอกศก จุลศักราช ๑๑๓๑ ตรงกับพุทธศักราช ๒๓๑๒ ประทับอยู่เมืองนครฯ ถึงวันขึ้น ๖ ค่ำเดือน ๑๑ ก็เสด็จโดยทางชลมารครอนแรมไปตามชายฝั่งทะเลจนถึงเมืองสงขลาจึงเสด็จขึ้นประทับในเมือง
 ฝ่ายเจ้าพระยาจักรี (แขก) แม่ทัพเรือ พระยาพิชัยราชาแม่ทัพบก ยกติดตามเจ้านครไปถึงเมืองเทพา ทราบจากชาวเมืองเทพาว่าหลวงสงขลา พระยาพัทลุง พาเจ้านครหนีไปเมืองตานี แม่ทัพทั้งสองจึงมีหนังสือไปถึงพระยาตานีศรีสุลต่าน ขอให้ส่งตัวเจ้านครและพรรคพวกมาถวายสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสียให้สิ้น หาไม่แล้วจะยกทัพเข้าตีเมืองตานีชิงตัวเจ้านครและพวกต่อไป พระยาตานีกลัวบ้านเมืองจะเป็นอันตราย จึงส่งตัวเจ้านคร พระยาพัทลุง หลวงสงขลา เจ้าพัด เจ้ากลาง กับบุตรภรรยาให้แก่กองทัพหลวง เจ้าพระยาจักรีจึงจำคนโทษทั้งหมดลงเรือมาถวายพระเจ้ากรุงธนบุรี ณ เมืองสงขลา ทรงยกทัพกลับเมืองนครศรีธรรมราช
 เมื่อถึงเมืองนครแล้วทรงประกาศห้ามมิให้ ไพร่พลไทยจีนทั้งปวงฆ่าโค กระบือ และข่มเหงสมณะชีพราหมณ์อาณาประชาราษฎรให้ได้ความเดือดร้อน ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถวิหารการเปรียญ อารามใหญ่น้อย แล้วให้มีการสมโภชเวียนเทียนพระมหาธาตุเจดีย์ใหญ่เป็นเวลาสามวัน เมื่อเสร็จสิ้นการสมโภชพระบรมสารีริกธาตุแล้ว ดำรัสสั่งให้เสนาบดีและลูกขุนปรึกษาโทษเจ้านคร เสนาบดีปรึกษากันแล้วเห็นว่ามีโทษถึงประหารชีวิต แต่ทรงพระกรุณาไม่เห็นด้วย ให้จำเจ้านครไว้กลับไปถึงกรุงก่อนค่อยพิจารณาโทษใหม่ จากนั้นโปรดตั้งพระเจ้าหลานเธอเจ้านราสุริยวงศ์ไว้ครองเมืองนครศรีธรรมราช ให้พระยาสุภาวดีกับพระศรีไกรลาศอยู่ช่วยราชการ ให้ราชบัณฑิตรวบรวมพระไตรปิฎกลงบรรทุกเรือเชิญเข้ากรุงเพื่อคัดลอกแล้วส่งกลับคืนภายหลัง และให้สังฆการีนิมนต์พระอาจารย์ศรีวัดพแนงเชิง ซึ่งหนีพม่ามาอยู่เมืองนครนั้นกลับกรุงธนบุรีด้วย และเมื่อกลับถึงกรุงธนบุรีแล้ว ทรงตั้งพระอาจารย์ศรีเป็นสมเด็จพระสังฆราช
ส่วนเจ้านครนั้น ก็พระราชทานโทษให้ถอดออกจากพันธนาการแล้วให้รับพระราชทานน้ำพระพิพัฒสัตยาอยู่เป็นข้าราชการพระราชทานบ้านเรือนที่อาศัยให้อยู่เป็นสุข จำเดิมแต่นั้นมาพระพุทธศาสนาก็ค่อยวัฒนาการรุ่งเรืองเฟื่องฟูขึ้นเหมือนแต่ก่อน”
* น้ำพระทัยพระเจ้าตากสินในบางครั้งจะเห็นว่าทรงโหดเหี้ยม ดังเช่นสั่งให้ลงโทษอย่างโหดเหี้ยมทารุณแก่หม่อมเจ้าอุบล และหม่อมเจ้าฉิม ที่เป็นชู้กับฝรั่งหาดเล็ก บางคราวก็อ่อนโยนเปี่ยมไปด้วยพระเมตตาปรานี ดังเช่นที่ทรงอภัยโทษแก่เจ้านคร เป็นต้น เรื่องราวของพระองค์จะเป็นอย่างไรต่อไป ติดตามกันต่อในวันพรุ่งนี้ครับ
เต็ม อภินันท์ สถาบันกวีนิพนธ์ไทย ณ พิพิธภัณธ์หุ่นขี้ปึ้งไทย ขอขอบคุณเจ้าของภาพประกอบทุกภาพนี้ในเน็ต
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
บ้านกลอนน้อยฯ
|
Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
- ปราบหมดสิ้นทุกก๊ก -
ฝ่ายว่าเจ้าพระฝางตั้งหลักสู้ สามวันรู้เหลือการต้านทานได้ จึ่งค่ำหนึ่งหนีมิรู้สู่ที่ใด ตามหาไม่พบตัวตน“อ้ายเรือน”
จับ“ขุนศึก”ให้สึกจากเพศพระ ทรงชำระศาสนาที่แปดเปื้อน ด้วยพระฝางช่างคิดทำบิดเบือน จนพระเหมือนคฤหัสถ์วิบัติบุญ |
อภิปราย ขายความ......
กองทัพพระยายมราช (บุญมา) และพระยาพิชัยราชาซึ่งเป็นทัพบกนั้น ยกขึ้นไปถึงเมืองสวางคบุรีก็ให้ตั้งค่ายล้อมไว้มั่น อันเมืองสวางคบุรีนั้น ตั้งแต่ระเนียดไม้ขอนสักถมเชิงเทินดิน หามีกำแพงไม่ เจ้าพระฝางเกณฑ์พลทหารขึ้นรักษาหน้าที่เชิงเทินรอบเมือง ยิงปืนใหญ่น้อยต่อรบป้องกันเมือง
* ขณะนั้นช้างพังเชือกหนึ่งอยู่ในเมืองตกลูกเป็นช้างเผือกสมพงศ์ เจ้าพระฝางเห็นเช่นนั้นก็กล่าวว่า “ช้างเผือกนี้มิได้บังเกิดเป็นของคู่บุญของเรา เกิดเป็นพาหนะสำหรับบุญแห่งท่านแม่ทัพใต้ซึ่งยกขึ้นมานั้น” แล้วก็เกิดความคิดครั่นคร้ามเกรงกลัวพระบารมียิ่งนัก
 เมื่อสู้รบอยู่ได้เพียงสามวัน เจ้าพระฝางก็พาสมัครพรรคพวกหนีออกจากเมืองไปทางทิศเหนือในเวลากลางคืน พวกทหารก็นำเอาลูกช้างเผือกและพังแม่หนีตามไปด้วย กองทัพกรุงธนบุรีเข้าเมืองได้ก็มีหนังสือกราบบังคมทูลมายังทัพหลวง ณ เมืองพิษณุโลก ในหนังสือกราบบังคมทูลนั้นใจความสำคัญว่า “ได้เมืองสวางคบุรีแล้ว แต่อ้ายเรือนพระฝางนั้นพาลูกช้างเผือกซึ่งเกิดในเมืองหนีไป ข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวงยังให้ติดตามอยู่” ทรงได้รับหนังสือกราบบังคมทูลนั้นในระหว่างทางขณะที่เสด็จทางชลมารคขึ้นไปจากพิษณุโลกได้ ๓ วันแล้ว จึงรีบเร่งเรือพระที่นั่งไปทั้งกลางวันกลางคืนจนไปถึงที่ประทับพระตำหนักค่ายหาดสูงซึ่งกองหน้าตั้งไว้รับเสด็จ ทรงขึ้นประทับแล้วมีพระราชดำรัสสั่งให้นายทัพนายกองเกณฑ์กันติดตาม “อ้ายเรือนพระฝาง” และลูกช้างเผือกให้จงได้
* ถึงวันอาทิตย์ เดือน ๙ แรม ๑๓ ค่ำ หลวงคชศักดิ์กับกองพระยาอินทรวิชิตเจ้าเมืองวิเศษไชยชาญ จับได้นางพญาเศวตมงคลคชสารตัวประเสริฐนำมาทูลเกล้าฯ ถวาย ทรงพระกรุณาพระราชทานบำเหน็จรางวัลแก่พระยาอินทรวิชิตกับหลวงคชศักดิ์โดยสมควรแก่ความชอบ
 วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๐ ค่ำเดือน ๑๐ ยกทัพไปโดยทางชลมารคถึงตำบลน้ำมืด จึงตรัสให้ตั้งด่านทางชั้นในชั้นนอก และเกลี้ยกล่อมอาณาประชาราษฎรชาวหัวเมืองเหนือทั้งปวง ห้ามอย่าให้ข่มเหงริบทรัพย์สิ่งของราษฎรชาวบ้าน และฆ่าโคกระบือสัตว์ของเลี้ยง นายทัพนายกองผู้ใดได้ปืนและช้างพลายพังลักษณะดีก็ให้ส่งเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวาย อย่าได้เบียดบังเอาไว้
 * วันพฤหัสบดี ขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ มีใบบอกขึ้นไปแต่กรุงธนบุรี กราบบังคมทูลว่า แขกเมืองตานีเข้ามาสู่พระบรมโพธิสมภาร ถวายดอกไม้เงินดอกไม้ทอง และเมืองยักตราถวายปืนใหญ่ร้อยบอก และวันจันทร์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๑๑ ทรงพระกรุณาให้สืบเสาะจับพระสงฆ์พวกเหล่าร้ายบริวารเจ้าพระฝาง ได้ตัวพระครูคิริมานนท์ ๑ อาจารย์ทอง ๑ อาจารย์จันทร์ ๑ อาจารย์เกิด ๑ ล้วนเป็นแม่ทัพอ้ายเรือนพระฝางทั้งสี่รูป
 แต่พระครูเพชรรัตน์กับอ้ายเรือนพระฝางนั้นหาได้ตัวไม่ จึงตรัสให้ผลัดผ้าเป็นคฤหัสถ์ทั้งสี่คน แล้วจำคงส่งลงมาใส่คุก ณ กรุงธนบุรี ในวันนั้นทรงให้นิมนต์พระภิกษุสงฆ์เมืองเหนือมาพร้อมกันหน้าพระที่นั่ง และให้หาขุนนางใหญ่น้อยมาประ ชุมพร้อมกัน ทรงปรึกษาหารือในที่ประชุมว่า พระภิกษุสงฆ์เมืองเหนือล้วนเป็นพรรคพวกอ้ายเรือนพระฝาง ส่วนใหญ่มักล่วงสิกขาบทปาราชิกข้อใดข้อหนึ่ง เห็นควรมีการชำระให้พระศาสนาบริสุทธิ์ จึงขอให้พระภิกษุสารภาพกรรมทั้งปวงของตนตามความเป็นจริง หากองค์ใดกระทำล่วงปาราชิกก็จะพระราชทานผ้าคฤหัสถ์ให้สึกออกมาทำราชการโดยมิเอาโทษทัณฑ์ องค์ใดไม่ยอมรับตามความจริง ก็จะให้พิสูจน์ด้วยการดำน้ำสู้นาฬิกาสามกลั้น ถ้าชนะนาฬิกาก็จะตั้งให้เป็นอธิการและพระครูราชาคณะฝ่ายเหนือโดยควรแก่คุณธรรมที่รู้ ถ้าสู้นาฬิกาไม่ได้ก็ให้เฆี่ยนแล้วสักข้อมือห้ามิให้บวชอีก
* วิธีการชำระความบริสุทธิ์พระภิกษุสงฆ์ของพระเจ้าตากสินนี่แปลกดีนะครับ “ดำน้ำสู้นาฬิกา” นั้นท่านทำกันอย่างไร รายละเอียดของเรื่องนี้เห็นจะต้องยกไปว่ากันอีกทีในวันพรุ่งนี้ก็แล้วกันครับ.
เต็ม อภินันท์ สถาบันกวีนิพนธ์ไทย ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๒ ขอขอบคุณเจ้าของภาพนี้ในเน็ต |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|