Username:

Password:


  • บ้านกลอนน้อยฯ
  • ช่วยเหลือ
  • ค้นหา
  • เข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
บ้านกลอนน้อย - กลอนสบายๆ สไตล์ลิตเติลเกิร์ล >> บ้านกลอนน้อย ลิตเติลเกิร์ล - มยุรธุชบูรพา >> ห้องกลอน คุณอภินันท์ นาคเกษม >> - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
หน้า: 1 ... 15 16 [17] 18 19 ... 27   ลงล่าง
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -  (อ่าน 230372 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
บ้านกลอนน้อยฯ
เลขาคุณอภินันท์
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:39047
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 202
จำนวนกระทู้: 3127



| |
Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
« ตอบ #240 เมื่อ: 22, พฤษภาคม, 2562, 12:17:49 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -


<<< ก่อนหน้า                 ต่อไป  >>>                   .

- ยกทัพกลับกรุงธนบุรี -

พักฟื้นพลจนแข็งแรงได้ที่
ยกกลับตีพม่าไปให้สิ้นสูญ
พม่ายังหลงเหลือเป็นเชื้อมูล
คืออากูลสงครามตามล้างพลัน

พระเจ้าตากสินทรงยินร้าย
เพราะเสียหายไม่น้อยรอยแค้นนั่น
สั่งกวาดล้างเศษริปูอย่างรู้ทัน
อย่าให้มันตกค้างแผ่นดินไทย

ทรงถอยทัพกลับกรุงบำรุงราษฎร์
ขุนศึกขลาดประหารสิ้นหาเลี้ยงไม่
ทราบพม่าเหลือมี ณ ที่ใด
สั่งรีบไปไล่ล่าฆ่าทันที


          อภิปราย ขยายความ..................

          เมื่อวันวานนี้ได้ให้ท่านอ่านความในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาถึงตอนที่  เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) และเจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา)  ขอพระราชานุญาตจากสมเด็จพระเจ้าตากสินพากองทัพและครอบครัวหนีออกจากเมืองพระพิษณุโลก  เดินทัพไปหยุดพักอยู่ที่เพชรบูรณ์  ขณะนั้นทางประเทศพม่าเกิดการเปลี่ยนแปลง  โดยพระเจ้ามังระสวรรคต พระโอรสขึ้นครองแผ่นดินแทนแล้วเรียกหาให้กองทัพอะแซหวุ่นกี้กลับไปอังวะ สงครามไทยพม่าจึงสงบระงับไป เรื่องราวจะเป็นอย่างไรต่อไป อ่านพระราชพงศาวดารดารต่อไปนะครับ


          “ฝ่ายกองทัพเจ้าพระยาจักรี  เจ้าพระยาสุรสีห์  ซึ่งไปตั้งอยู่ ณ เมืองเพชรบูรณ์นั้น  ได้เสบียงอาหารเลี้ยงไพร่พลบริบูรณ์แล้วก็บอกลงมากราบทูลว่าจะขอยกติดตามตีทัพพม่าซึ่งเลิกถอยไป  แล้วยกกองทัพกลับมาทางเมืองสระบุรีขึ้นทางป่าพระพุทธบาท  ยกติดตามทัพพม่าไปทางเมืองสุโขทัย  ขณะนั้นท้าวพระยานายทัพนายกองทั้งปวงซึ่งตั้งค่ายรับพม่าอยู่ในที่ต่าง ๆ ก็บอกลงไปกราบทูลว่าพม่าได้เมืองพระพิษณุโลกแล้วบัดนี้เลิกทัพกลับไป


          สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระโทมนัสน้อยพระทัยแก่ข้าศึกนัก ดำรัสให้หาหลวงศรสำแดงเข้ามาถามหน้าพระที่นั่งว่า จะให้คุมเลกทหารเกณฑ์หัดไปตามรบพม่าจะได้หรือมิได้  หลวงศรสำแดงก้มหน้านิ่งเสียไม่กราบทูลประการใด  ก็ทรงพระโกรธดำรัสให้ประหารชีวิตเสีย  แล้วดำรัสให้พระยาพิชัย (ทองดี) ยกกลับไปบ้านเมือง  ให้พระยาพิชัยสงครามไปด้วย  จัดแจงไพร่พลพร้อมแล้วให้ยกไปก้าวสกัดติดตามตีพม่าจงได้  แล้วให้กองพระยาเทพอรชุน  พระยารัตนพิมล  พระยานครชัยศรี  พระยาทุกขราษฎร์เมืองพระพิษณุโลก  หลวงรักษโยธา  หลวงอัคเนศร  เป็นกองหน้า  ให้พระยาสุรบดินทรเจ้าเมืองกำแพงเพชรเป็นแม่ทัพ  ยกไปติดตามตีพม่าทางเมืองตาก  ให้พระยาธิเบศบดีคุมกองอาสาจาม ยกไปติดตามพม่าทางเมืองสุโขทัย



          ครั้น ณ วันจันทร์ เดือน ๖ แรม ๑๑ ค่ำ ปีวอก อัฐศก  จึงพระราชสงครามนำเอาหนังสือมหาโสภิต  อธิการวัดใหม่ เขียนใส่ใบตาลไปถวาย  เป็นเรื่องความพุทธทำนายว่ามีในคัมภีร์พระธาตุวงศ์ข้อความว่า  “ตระกูลเสนาบดีจะได้เป็นกษัตริย์สี่พระองค์  เสวยราชสมบัติในกรุงศรีอยุธยา  และพระองค์ที่สุดนั้น พม่าจะยกมาย่ำยีพระนครเสียแก่พม่า  แล้วจะมีบุรุษพ่อค้าเกวียนจะได้เป็นพระยาครองเมืองทิศใต้ชายทะเลชื่อเมืองบางกอก  พระยาองค์นั้นจะได้สร้างเมืองเป็นราชธานีขึ้นได้เจ็ดปี  ในที่สุดเจ็ดปีนั้นพม่าจะยกมาพยายามกระทำสงครามอยู่สามปี  ในพุทธศักราชล่วงได้ ๒๓๒๐ ปี  จุลศักราช ๑๑๓๙ ปี  พระนครบางกอกจะเสียแก่พม่าข้าศึก  ให้เสด็จขึ้นไปอยู่ ณ เมืองละโว้คือเมืองลพบุรี  อันเป็นที่ชุมนุมพระบรมธาตุ  ตั้งอยู่ท่ามกลางแผ่นดินไทย  ข้าศึกศัตรูจะทำร้ายมิได้เลย”


          ครั้นทรงอ่านแล้วจึงดำรัสว่า  ซึ่งจะละเมืองบางกอกเสียนั้นมิได้  แต่ปากสมณชีพราหมณ์ว่าแล้ว  จำจะทำตาม  จะไปอยู่เมืองลพบุรีสักเจ็ดวันพอเป็นเหตุ  ครั้น ณ วันจันทร์ เดือน ๖ แรม ๑๑ ค่ำ  ได้ข่าวว่าพม่าข้างทางเมืองอุทัยธานียกแยกขึ้นไปเมืองเพชรบูรณ์จึงดำรัสให้พระยาพลเทพ  หลวงเนาวโชติ  เจ้าหมื่นเสมอใจราช  ยกกองทัพขึ้นไปเมืองเพชรบูรณ์  ถ้าพม่ายกไปพอจะต่อรบได้ก็ให้สู้รบต้านทานไว้  ถ้าเหลือกำลังจะผ่อนครอบครัวเสบียงอาหารลงไปกรุง  แล้วให้กองพระยานครสวรรค์ พระยาสวรรคโลก  ยกไปติดตามพม่าทางเมืองกำแพงเพชรอีกทัพหนึ่ง  และให้กองพระยายมราชยกลงมาอยู่รักษาค่ายหลวง ณ ปากคลองบางข้าวตอก  แต่ทัพหลวงเสด็จแรมอยู่คอยรับครัวซึ่งแตกลงมาแต่เมืองพระพิษณุโลกอยู่สิบเอ็ดเวร


          ครั้นถึง ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๖ แรม ๑๔ ค่ำ  จึงเสด็จยาตราทัพหลวงทางชลมารค  หยุดประทับแรม ณ ค่ายมั่นเมืองนครสวรรค์  จึงดำรัสให้ประหารชีวิตหลวงชาติสุรินทร์ซึ่งหนีตาทัพลงมาแต่กองพระยาธรรมไตรโลกนั้นเสีย  แล้วให้แจกกฎหมายประกาศไว้สำหรับทัพทุกทัพทุกกองว่า  ถ้าไพร่ตามนายมิทันให้ฆ่าเสีย  ถ้าข้าราชการตามเสด็จมิทันให้ลงพระราชอาชญาถึงสิ้นชีวิต  ครั้น ณ วันเสาร์ เดือน ๗ ขึ้น ๑ ค่ำ  จึงเสด็จทางชลมารคล่องมาประทับแรม ณ พลับพลาค่ายมั่นบางแขม จึงหลวงวังเมืองนครสวรรค์ไปสืบราชการมากราบทูลว่า  เห็นพม่าตั้งค่ายอยู่ ณ เมืองกำแพงเพชรประมาณสองพันเศษ  ครั้น ณ วันพุธ เดือน ๗ ขึ้น ๕ ค่ำ  จึงหมื่นชำนิคชสารมากราบทูลว่าพม่าเผาเมืองพระพิษณุโลกเสียสิ้น  ยังเหลือแต่วัดมหาธาตุ  จึงดำรัสให้กองพระยายมราชยกไปทางแม่น้ำโพฟากตะวันตก  ให้กองทัพพระยาราชสุภาวดียกไปทางฟากตะวันออก  ให้พระยานครสวรรค์ยกขึ้นไปบรรจบกัน ณ วังพระธาตุ  ข้ามพร้อมกันทีเดียวไปตามตีทัพพม่า ณ เมืองกำแพงเพชร  ไปพร้อมกันตั้งค่ายอยู่ ณ บ้านโคน  ครั้น ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๗ ขึ้น ๖ ค่ำ  จึงเสด็จทัพหลวงกลับขึ้นไปประทับแรม ณ พลับพลาค่ายฟากตะวันออก  เหนือปากน้ำขลุม  ให้ประหารชีวิตขุนสุนทรนุรัตน  หมื่นสนั่นกับบ่าวคนหนึ่งซึ่งหนีตามทัพ  ตัดศีรษะเสียบไว้ ณ หาดทรายหน้าค่ายหลวง


          ขณะนั้นหลวงวังไปสืบราชการ ณ บ้านสามเรือนมากราบทูลว่า  พม่ายกลงไปประมาณพันเศษ  จึงดำรัสให้ข้าหลวงไปหากองพระยานครสวรรค์ให้ถอยทัพลงมาจากค่ายบ้านโคนมาเข้าในกองทัพหลวง  จึงพระยาสุรบดินทรซึ่งยกไปตามพม่าบอกลงมากราบทูลว่า  พม่าซึ่งตั้งอยู่ ณ เมืองกำแพงเพชรนั้นยกเลิกไปทางตะวันตกสิ้นแล้ว  ครั้น ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๗ ขึ้น ๑๒ ค่ำ  จึงเสด็จถอยทัพหลวงลงมาประทับร้อน ณ เมืองนครสวรรค์  จึงชาวด่านเมืองอุทัยธานีบอกลงมากราบทูลว่า  ทัพพม่ายกผ่านลงมาประมาณพันเศษ  เผาค่ายที่ด่านนั้นเสีย  แทงหลวงตาลำบากอยู่องค์หนึ่งแล้วยกไปทางนารี  จึงดำรัสให้หลวงเสนาภักดีกองแก้วจินดายกติดตามไป  ถ้าทันเข้าตีให้แตกฉาน  แล้วให้ยกตามไปจนถึงเมืองชัยโยค  ครั้น ณ วันเสาร์ เดือน ๗ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีวอก อัฐศก  จึงเสด็จยาตราทัพหลวงมาทางชลมารค  กลับยังกรุงธนบุรีมหานคร”


          * ท่านผู้อ่านครับ  เจ้าพระยาจักรีกับเจ้าพระยาสุรสีห์ที่ทิ้งเมืองพิษณุโลกพากองกำลังหนีไปปักหลักที่เพชรบูรณ์นั้น  เมื่อสะสมเสบียงอาหาร  เลี้ยงดูทแกล้วทหารจนมีกำลังแข็งแรงดีแล้ว  จึงมีหนังสือกราบบังคมทูลสมเด็จพระเจ้าตากสิน  ขอยกกำลังไล่ล่าพม่าที่ยังหลงเหลืออยู่ในแผ่นดินไทยให้สิ้น  แล้วยกกำลังออกไล่ล่าพม่าทันที


          สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเสียพระทัยและน้อยพระทัยที่พ่ายแก่พม่า  ดำรัสสั่งให้กองกำลังของพระองค์ไล่ล่าพม่าที่ยังตกค้างอยู่ทุกหนทุกแห่ง  แล้วถอยทัพกลับคืนกรุงธนบุรี

          เรื่องราวจะเป็นอย่างไรต่อไป พรุ่งนี้มาอ่านพระราชพงศาวดารฯกันอีกนะครับ

เต็ม อภินันท์
ณ อาศรมลายสือไท เมืองสุโขทัย
๒๑ เมษายน ๒๕๖๒
ขอขอบคุณเจ้าของภาพประกอบทุกภาพนี้ในเน็ต


รายนามผู้เยี่ยมชม : เนิน จำราย, ลิตเติลเกิร์ล, Black Sword, กร กรวิชญ์, กลอน123, ลมหนาว ในสายหมอก, ฟองเมฆ, น้ำหนาว, ปลายฝน คนงาม, ชลนา ทิชากร, ก้าง ปลาทู

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอนคุณ  "อภินันท์ นาคเกษม"
..

บ้านกลอนน้อยฯ
เลขาคุณอภินันท์
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:39047
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 202
จำนวนกระทู้: 3127



| |
Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
« ตอบ #241 เมื่อ: 22, พฤษภาคม, 2562, 11:41:53 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -

- เก็บกวาดขยะสงคราม -

เหลือควันหลงสงครามสยาม-พม่า
ทางฝ่ายไทยไล่ล่าพม่าหนี
จากกำแพงฯลงไปอุทัยธานี
ไทยตามตีตอเนื่องถึงเมืองสุพรรณ

ถึงหน้านาทำนาเลิกราทัพ
รอตั้งรับศึกใหม่อย่างไม่ยั่น
ทรงสั่งปราบเสีกเสี้ยนเลี่ยนหล้าพลัน
แล้วจึงหันหลังกลับคืนนคร


          อภิปราย ขยายความ...............

          เมื่อวันวานนี้ผมได้นำพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขามาให้อ่านกัน  จบตอนที่  หลังจากเสียพิษณุโลกให้แก่พม่าแล้ว  เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) กับเจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) พักฟื้นกำลังพล  สะสมเสบียงอาหารอยู่ที่เมืองเพชรบูรณ์  จนกองทัพมีความแข็งแกร่งขึ้นแล้วจึงมีหนังสือกราบบังคมทูลสมเด็จพระเจ้าตากสิน  ขอนำกำลังไล่กวาดล้างกองกำลังพม่าที่ยังหลงเหลืออยู่บนผืนแผ่นดินไทย  สมเด็จพระเจ้าตากสินดำรัสให้กองกำลังของพระองค์เข้าช่วยกองทัพเจ้าพระยาสองพี่น้องกวาดล้างพม่าให้หมดไปจากแผ่นดินไทย  แล้วยกทัพหลวงกลับกรุงธนบุรี  ความจะเป็นอย่างไร  อ่านพระราชพงศาวดารต่อไปครับ


           “ฝ่ายกองทัพพระยายมราช  พระยาราชสุภาวดี  ซึ่งตั้งค่ายอยู่ ณ บ้านโคนนั้น  ครั้นแจ้งว่าทัพพม่า ณ เมืองกำแพงเพชรเลิกไปแล้ว  แล้วได้แจ้งว่าทัพพม่ากองหนึ่งยกลงไปทางเมืองอุทัยธานี  จึงยกกองทัพผ่านลงมาทางด่านเขาปูนและด่านสลักพระ  พบกองทัพพม่าได้รบกันเป็นสามารถ    และทัพพม่ากองหนึ่งกลับยกแยกเข้ามาตั้งอยู่ ณ เมืองนครสวรรค์  คอยรับกองทัพพม่าซึ่งไปหาเสบียงอาหาร ณ แขวงเมืองเพชรบูรณ์


          ครั้น ณ วันอังคาร เดือน ๗ แรม ๒ ค่ำ  จึงพระยายมราช  พระยาราชสุภาวดี  บอกข้อราชการลงมากราบทูล ณ กรุงธนบุรี  สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวจึงดำรัสให้ข้าหลวงไปหาพระเจ้าหลานเธอกรมขุนอนุรักษ์สงคราม (พระเจ้าหลานเธอรามลักณษ์) เข้ามาจากเมืองเพชรบุรี  แล้วดำรัสให้พระเจ้าลูกเธอกรมขุนอินทรพิทักษ์ (พระองค์เจ้าจุ้ย)  ถือพลพันหนึ่งยกทัพเรือหนุนขึ้นไป


          ครั้น ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๗ แรม ๔ ค่ำ  จึงเสด็จยาตรานาวาทัพหลวงจากกรุงธนบุรีโดยทางชลมารค  ขึ้นไปประทับพลับพลาค่ายเมืองชัยนาทบุรีฟากตะวันออก  แล้วโปรดให้พระเจ้าลูกเธอกรมขุนอินทรพิทักษ์กลับลงมารักษากรุงธนบุรี จึงพระยายมราช  พระยาราชสุภาวดี  บอกลงมากราบทูลว่าตั้งค่ายประชิดรบทัพพม่า ณ ด่านเมืองอุทัยธานีนั้น  ขัดสนด้วยเสบียงอาหารนัก  บัดนี้ล่าทัพลงมาตั้งอยู่ ณ ดอนไก่เถื่อน


          ฝ่ายกองหม่อมอนุรุธเทวาและหลวงเสนาภักดีกองแก้วจินดา  บอกมากราบทูลว่า  ได้ยกติดตามพม่าไปทางเมืองอุทัยธานี  พบพม่ากองหนึ่งยกลงมาทางแขวงเมืองสรรคบุรี  ได้รบกัน ณ บ้านเดิมบางนางบวชเป็นสามารถ  ทัพพม่าแตกหนีลงไปทางแขวงเมืองสุพรรณบุรี  จึงดำรัสว่าพม่ามิได้ตามลงมาติดพันแล้วเป็นเทศกาลจะได้ทำนา  ให้มีตราหากองทัพเมืองพิจิตร  เมืองนครสวรรค์  เมืองอุทัยธานี  ลงมายังค่ายหลวง ณ เมืองชัยนาทบุรีให้สิ้น


          แล้วให้มีตราไปถึงพระยายมราช  พระยาราชสุภาวดี ซึ่งตั้งทัพอยู่ ณ ดอนไก่เถื่อน  กับให้กองมอญพระยารามัญวงศ์ (จักรีมอญ) ยกเติมไปอีกกองหนึ่งเป็นสามทัพ  ให้ยกไปทางเมืองสุพรรณบุรี  เมืองนครชัยศรี  เมืองราชบุรี  ถ้าพบทัพพม่าให้ตีจงแตก  ถ้าปะครัวเร้นซ่อนอยู่ในป่าก็ให้กวาดต้อนลงไป ณ กรุง  แล้วดำรัสให้กองพระเจ้าหลานเธอกรมขุนอนุรักษ์สงคราม   กรมขุนรามภูเบศ (พระเจ้าหลานเธอบุญจันทร์)  และเจ้าพระยามหาเสนา  ให้เร่งยกขึ้นไปตีพม่าซึ่งตั้งอยู่ ณ เมืองนครสวรรค์


          ครั้น ณ วันจันทร์ เดือน ๘ ขึ้น ๑ ค่ำ  จึงเสด็จยกทัพหลวงหนุนขึ้นไปแล้วเสด็จกลับในวันนั้น  มาลงเรือพระที่นั่ง ณ สรรพยา  ล่องลงมาประทับแรม ณ บ้านงิ้ว ถึง ณ วันพุธ เดือน ๘ ขึ้น ๓ ค่ำ  จึงเสด็จยาตรานาวาทัพหลวงกลับยังกรุงธนบุรี”


          * ท่านผู้อ่านครับ  อ่านความในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาที่ผมยกมาวางให้อ่านแล้ว  ทุกท่านคงจะเห็นแจ้งประจักษ์ถึงงานกู้ชาติของคนไทย  ภายใต้การนำของสมเด็จพระเจ้าตากสินแล้วนะครับ  ว่าแสนลำบากยากแค้นเพียงใด


          แม้อะแซหวุ่นกี้เลิกทัพกลับไปแล้ว  แต่ก็ยังมีกองทัพย่อย ๆ ของพม่าอีกหลายกองที่พระเจ้าตากสินจะต้องกำจัดกวาดล้างให้สิ้นไปจากแผ่นดินไทย  บรรดาขุนนางนายทหารทั้งแม่ทัพนายกองและพลทหารยังต้องเหน็ดเหนื่อยในการไล่ล่าทหารพม่าจนไม่มีเวลาพักผ่อน  


          เมืองพิษณุโลกถูกพม่าเผาราบพนาสูร  หลงเหลือเพียงวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ  หรือวัดใหญ่ อันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช  พระพุทธชินสีห์  และพระศาสดา  ใครจะบูรณะเมืองนี้ขึ้นมาให้คงสภาพเดิมได้อย่างไรหรือไม่  ดูความกันต่อไปในวันพรุ่งนี้ครับ.

เต็ม อภินันท์
สถาบันกวีนพนธ์ไทย
ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
๒๒ เมษายน ๒๕๖๒
ขอขอบคุณเจ้าของภาพประกอบทุกภาพนี้ในเน็ต


รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, ลิตเติลเกิร์ล, ฟองเมฆ, น้ำหนาว, กลอน123, ลมหนาว ในสายหมอก, เนิน จำราย, กร กรวิชญ์, ปลายฝน คนงาม, ชลนา ทิชากร

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอนคุณ  "อภินันท์ นาคเกษม"
..
บ้านกลอนน้อยฯ
เลขาคุณอภินันท์
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:39047
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 202
จำนวนกระทู้: 3127



| |
Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
« ตอบ #242 เมื่อ: 23, พฤษภาคม, 2562, 10:26:39 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -

- ทรงสั่งทำนาสะสมเสบียง -

ครั้นไล่ขับจับพม่าเหลือล่าถอย
เหลือเล็กน้อยล้าหลังกำลังอ่อน
พระเจ้าตากสินห่วงปวงนิกร
จะเดือดร้อนทั่วเมืองเรื่องข้าวปลา

เรียกกองทัพกลับกรุงบำรุงราษฎร์
ทำนุศาสน์ทุกแง่แก้ปัญหา
ให้กองทัพจับงานการทำนา
สั่งสมอาหารเผดียงเสบียงกรัง


          อภิปราย ขยายความ.....................

          เมื่อวันวานนี้ได้นำพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขามาวางให้อ่านกันถึงเรื่องราวของการรบระหว่างพม่าผู้รุกราน  กับไทยผู้ป้องกันรักษาผืนแผ่นดินไทยในบริเวณหัวเมืองฝ่ายเหนือ  อันมีเมืองพิษณุโลกเป็นศูนย์กลาง  แม้อะแซหวุ่นกี้ขุนพลเฒ่าของพม่าผู้เก่งกาจจะถอยทัพกลับไปแล้ว  แต่ก็ยังมีกองทัพย่อย ๆ ของพม่าหลงเหลืออยู่ให้สมเด็จพระเจ้าตากสินต้องขับไล่ให้หมดไปจากผืนแผ่นดินไทย  ศึกระหว่างไทย-พม่าจึงยังไม่สิ้น  วันนี้มาอ่านความในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขากันต่อไปครับ


           “ฝ่ายกองทัพพม่าซึ่งตั้งค่ายอยู่ ณ ด่านเมืองอุทัยธานีนั้น  ขัดสนด้วยเสบียงอาหารนักก็เลิกกลับไป  แต่ที่เมืองนครสวรรค์นั้น  พม่าตั้งอยู่ประมาณแปดร้อยเก้าร้อย  คอยท่าพม่าซึ่งไปหาข้าว ณ แขวงเมืองเพชรบูรณ์  ยังหาเลิกไปไม่  และกองทัพพระเจ้าหลานเธอกรมขุนอนุรักษ์สงคราม (พระเจ้าหลานเธอรามลักณษ์)   กรมขุนรามภูเบศ (พระเจ้าหลานเธอบุญจันทร์) และเจ้าพระยามหาเสนาก็ยกเข้าตี ตั้งค่ายรบติดพันกันอยู่ จึงบอกลงมาให้กราบทูล ณ กรุงธนบุรี


           ครั้น ณ วันเสาร์ เดือน ๙ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีวอก อัฐศก  สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวจึงเสด็จยกพยุหโยธานาวาทัพหลวงพร้อมด้วยพลทหารสิบเอ็ดกองจากกรุงธนบรีไปทางชลมารค  เสด็จไปประทับ ณ พลับพลาค่ายเมืองชัยนาทบุรี  พอกองทัพพระเจ้าหลานเธอตีทัพพม่าแตกหนีไปทางเมืองกำแพงเพชร  จึงบอกลงมากราบทูล ณ เมืองชัยนาทบุรี


           ครั้น ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๙ แรม ๒ ค่ำ  จึงดำรัสให้พระเจ้าหลานเธอกรมขุนรามภูเบศ  กับพระยาอินทรอภัย  อยู่รักษาเมืองนครสวรรค์ แล้วเสด็จทัพหลวงไปทางชลมารคถึงเมืองตาก  และพม่าซึ่งแตกไปอยู่ในป่าดงนั้น  กองทัพทั้งปวงจับมาถวายสามร้อยสามสิบเศษ  จึงดำรัสให้กองทัพทั้งปวงติดตามพม่าไปจนปลายด่านเมืองตาก


           ครั้น ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๙ แรม ๙ ค่ำ  จึงเสด็จถอยทัพหลวงกลับมาถึงบ้านระแหง  ทอดพระเนตรเห็นต้นข้าวซึ่งพม่าทำนาไว้  สั่งให้ถอนเสีย  ครั้นวันจันทร์ เดือน ๙ แรม ๑๓ ค่ำ  เสด็จถึงกรุงธนบุรีแล้ว  ทรงพระวิตกถึงสมณะซึ่งขับต้อนลงมาแต่หัวเมืองฝ่ายเหนือ  จึงให้เผดียงสมเด็จพระสังฆราชว่า  ถ้าพระสงฆ์อนุจรอารามใดขัดสนอาหาร  ก็ให้มาเบิกเอาข้าวในฉางหลวงไปถวาย  แล้วทรงพระราชศรัทธาถวายสมณบริขารแก่พระสงฆ์อาคันตุกะทั้งปวงเป็นอันมาก  และให้เลิกคนซึ่งรักษาหน้าที่เชิงเทินพระนครเสีย  ให้ไปทำไร่นาหากินตามภูมิลำเนา


           ครั้น ณ วันศุกร์ เดือน ๑๐ ขึ้นค่ำ ๑ พระยาราชภักดีและพระยาพลเทพขึ้นไปตามหาพม่าทางเมืองเพชรบูรณ์นั้น  พบพม่าที่บ้านนายมได้รบกัน  ตีทัพพม่าแตกหนีไปทางเมืองอุทัยธานี  จับเป็นได้เก้าคน  บอกส่งลงมาถวาย  จึงโปรดให้มีตราไปถึงพระยาราชภักดีให้ยกไปติดตามพม่าซึ่งแตกหนีไปนั้น  แต่กองพระยาพลเทพให้ยกกลับมา ณ กรุง


           ครั้น ณ วันเสาร์ เดือน ๑๐ ขึ้น ๑๐ ค่ำ  กองพระยายมราช  พระยาราชสุภาวดี  พระยารามัญวงศ์ (จักรีมอญ)  ยกติดตามพม่าไปทางด่านสุพรรณบุรีได้ตามตีพม่าไปจนถึงด่านแม่ลำเมา  จับเป็นได้เจ็ดคน  บอกส่งลงมาถวาย


          ครั้น ณ วันอาทิตย์ เดือน ๑๐ ขึ้น ๕ ค่ำ  จึงกองเจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง)  เจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา)  และกองพระยาธิเบศบดี  ซึ่งยกไปตามพม่าทางเมืองสุโขทัยนั้น  จับเป็นได้สิบแปดคน  กับทั้งเครื่องศัสตราวุธเป็นอันมาก  บอกส่งลงมาถวาย


           ครั้น ณ เดือน ๑๐ ขึ้น ๑๑ ค่ำ  จึงพระยานครสวรรค์  พระยาพิชัย (ทองดี)  ซึ่งยกติดตามพม่าไปทางด่านเมืองตาก จับเป็นได้สี่สิบเก้าคนบอกส่งลงมาถวาย    และกองพระเจ้าหลานเธอกรมขุนอนุรักษ์สงคราม  และเจ้าพระยามหาเสนา  บอกส่งพม่าแต่แควเมืองกำแพงเพชรสิบเอ็ดคนลงมาถวาย  


          จากนั้นจึงดำรัสให้มีตราหากองทัพทั้งปวงกลับลงมายังพระนครพร้อมกัน
          แล้วโปรดให้เจ้าพระยาจักรี   เจ้าพระยาสุรสีห์   พระยาธรรมมา  คุมไพร่พลทั้งปวงไปตั้งทำนา ณ ทะเลตมฟากตะวันออกกรุงธนบุรี  และทุ่งบางกะปิ  สามเสน
          ให้พระยายมราช  พระยาราชสุภาวดี  คุมไพร่พลทั้งปวงตั้งทำนา ณ ทะเลตมฟากตะวันตก  และกระทุ่มแบน  หนองบัว  แขวงเมืองนครชัยศรี


           อนึ่ง  ในเดือน ๑๐ นั้น  กะปิตัน(กัปตันเรือ)เหล็กอังกฤษเจ้าเมืองเกาะหมาก  ส่งปืนนกสับเข้ามาถวายพันสี่ร้อยบอก  กับสิ่งของเครื่องราชบรรณาการต่าง ๆ

           ถึง ณ วันจันทร์ เดือน ๑๐ แรม ๑๒ ค่ำ ปีวอก อัฐศก  เพลาบ่ายสี่โมง  นางพระยาช้างเผือกล้ม  จึงดำรัสให้เอาศพไปฝัง ณ วัดสามเพ็ง  ที่ฝังศพเจ้าพระยาปราบไตรจักรแต่ก่อนนั้น  ครั้น ณ วันศุกร์ เดือน ๑๑ ขึ้น ๓ ค่ำ  ข้าหลวงและกรมการเมืองนครศรีธรรมราชบอกเข้ามาว่า  เจ้านราสุริยวงศ์ผู้ครองเมืองนั้นถึงพิราลัย  จึงทรงพระกรุณาโปรดให้เจ้านคร ฯ(หนู) กลับคืนออกไปครองเมืองนครศรีธรรมราชดังเก่า  พระราชทานเครื่องยศและราชูปโภคเป็นอันมาก”


           * ท่านผู้อ่านครับ  พม่านี่เป็นนักสู้จริง ๆ นะครับ  ทัพใหญ่ยกกลับไปแล้ว  กองกำลังย่อย ๆ ยังหลงเหลืออยู่  แทนที่จะรีบล่าถอยกลับไป  พวกเขายังตั้งกองกำลังต่อสู่ไทยอยู่อีกหลายแห่ง  พระเจ้าตากสินต้องเวลาเวลาไล่ล่าอยู่เป็นนานทีเดียว


           เราได้ความรู้อีกอย่างหนึ่งว่า  สมัยนั้นช่วงเวลาการทำนาของไทยคือ  เดือน ๙ เดือน ๑๐  สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเรียกกองทัพกลับกรุงแล้วมอบหมายให้เจ้าพระยาจักรี   และแม่ทัพต่าง ๆ รับหน้าที่ในการนำกำลังทหารทำนารอบ ๆ กรุงธนบุรีหลายแห่ง  ทุ่งสามเสน  ทุ่งบากะปิ  เป็นทุ่งนาที่สำคัญในเวลานั้น

           เรื่องราวจะเป็นอย่างไรต่อไป พรุ่งนี้มาอ่านกันต่อนะครับ

เต็ม อภินันท์
สถาบันกวีนิพนธ์ไทย
ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไมย
๒๓ เมษายน ๒๕๖๒
ขอขอบคุณเจ้าของภาพประกอบทุกภาพนี้ในเน็ต


รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, กร กรวิชญ์, ลิตเติลเกิร์ล, ฟองเมฆ, กลอน123, น้ำหนาว, เนิน จำราย, ลมหนาว ในสายหมอก, ปลายฝน คนงาม, ชลนา ทิชากร

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอนคุณ  "อภินันท์ นาคเกษม"
..
บ้านกลอนน้อยฯ
เลขาคุณอภินันท์
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:39047
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 202
จำนวนกระทู้: 3127



| |
Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
« ตอบ #243 เมื่อ: 24, พฤษภาคม, 2562, 10:24:44 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -

- พม่ายกมาอีกแล้ว -

สงบศึกสงครามเนาความสุข
แล้วกลับลุกขึ้นรบกันอีกตั้ง
“จิงกูจา”ส่งทัพมาประดัง
ด้วยมุ่งหวังยึดเชียงใหม่เอาไว้ครอง

“อำมลอกหวุ่น”ขุนทัพขับพลพร้อม
มารายล้อมเชียงใหม่อย่างผยอง
เจ้าเมืองหนีลงใต้ไม่ลำพอง
ทำเรื่องร้องขอเมตตาลงมากรุง

          อภิปราย ขยายความ..........................

          เมื่อวันวานนี้ได้นำเนื้อความในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขามากางให้อ่านกัน  ถึงตอนที่สมเด็จพระเจ้าตากสินสั่งไล่ล่าพม่าที่หลงเหลืออยู่จนถึงฤดูการทำนาแล้ว  จึงทรงเรียกกองทัพกลับกรุงแล้วมอบหมายให้เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) และแม่ทัพนายกองคนอื่น ๆ ร่วมกันทำนาข้าว  สะสมเสบียงไว้  และในเวลานั้นกัปตันชาวอังกฤษที่เกาะหมาก(ปีนัง)ได้ส่งปืนนกสับ ๑,๔๐๐ กระบอก  พร้อมเครื่องราชบรรณาการเข้ามาถวาย  และเจ้านราสุริยวงศ์ผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราชถึงแก่พิราลัย  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้านครคนเก่ากลับลงไปครองนครศรีธรรมราชดังเดิม เรื่องราวจะเป็นอย่างไรอีก อ่านกันต่อไปครับ


           “ฝ่ายกองพระยาราชภักดียกติดตามพม่าไปทางด่านเมืองอุทัยธานี  พอฝนตกหนักน้ำนองท่วมป่า  จะติดตามไปลำบากนักจึงถอยทัพกลับลงมา  แล้วบอกลงมากราบทูล ณ กรุงฯ ว่าพม่ายกหนีไปโดยเร็วยกติดตามไม่ทัน  สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบในหนังสือบอกก็ทรงพระพิโรธ  จึงให้ตำรวจลงเรือเร็วรีบขึ้นไปหากองทัพพระยาราชภักดีกลับลงมายังพระนคร  แล้วดำรัสให้ปรึกษาโทษพระยาราชภักดี  และนายทัพนายกองทั้งสิบนาย  ซึ่งเป็นลูกกองนั้น  ว่าเกียจคร้านย่อท้อต่อราชการศึก  ให้ประหารชีวิตเสียทั้งสิ้น


          พระยาราชภักดีจึงกราบทูลว่า  ราชการครั้งนี้โทษผิดแต่ข้าพระพุทธเจ้าผู้เดียว  ด้วยข้าพระพุทธเจ้าเป็นนายทัพ  เมื่อและมิไปแล้ว  นายทัพนายกองทั้งปวงอยู่ในบังคับก็ต้องตามบัญชาถอยมาด้วยกันทั้งสิ้น  จะรับพระราชอาชญาตายแต่ตัวข้าพระพุทธเจ้าผู้เดียว  และนายทัพนายกองทั้งนั้น  ขอพระราชทานชีวิตไว้ให้ทำราชการแก้ตัวสืบไปภายหน้า  จึงดำรัสว่า นายทัพนายกองทั้งปวงไม่ทัดทานกัน  ลงใจพร้อมกันทั้งสิ้น  ครั้นจะไว้ชีวิตก็จะเป็นเยี่ยงอย่างกันต่อไป  จงตายเสียด้วยกันทั้งสิ้นเถิด  แล้วดำรัสให้เอาตัวพระยาราชภักดี  และขุนนางมีชื่อทั้งสิบนายซึ่งเป็นลูกกองนั้นไปประหารชีวิตเสียสิ้น”


          * ท่านผู้อ่านครับ  อ่านพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขามาถึงตรงนี้  ก็เบาใจแล้ว  เพราะกองกำลังพม่าที่หลงเหลือยู่ถูกจับตัวได้บ้าง  หนีรอดไปได้บ้าง  จนเชื่อได้ว่าไม่มีหลงเหลืออยู่บนผืนแผ่นดินไทยในหัวเมืองฝ่ายเหนือและภาคตะวันตกของไทยอีก  เราเห็นความเด็ดขาดของสมเด็จพระเจ้าตากสินที่ทรงให้ประหารชีวิตแม่ทัพนายกองและไพร่พลที่ล่าหนีพม่าบ้าง  หนีทัพบ้าง  แม้กระทั่งแม่ทัพระดับผู้ใหญ่อย่างพระยาราชภักดี  ที่ไล่ล่าพม่าทางเมืองอุทัยธานี  ติดตามไปไม่ทันเพราะเกิดฝนตกหนัก  น้ำป่าบ่านอง  จึงถอยทัพกลับมา  ก็ยังถูกลงพระราชอาชญาถึงขั้นให้ประหารชีวิต  แม้จะยอมรับผิดแต่เพียงผู้เดียว  แต่พระองค์ก็ไม่ทรงยินยอม  ท่านผู้ฟังอาจจะคิดว่าพระเจ้าตากสินทรงโหดร้ายเกินไป  แต่ถ้ายอมรับความจริงที่ว่าในสถานการณ์รบทัพจับศึกจะต้องมีความเด็ดขาด  โหดเหี้ยมทารุณ  ไม่อย่างนั้นการรบจะไม่ประสบชัยชนะ  อย่างนี้แล้วก็ไม่อาจถือได้ว่าพระเจ้าตากสินทรงเหี้ยมโหดเกินไปนัก  ในเมื่อขับไล่พม่าออกไปได้หมดแล้ว การศึกระหว่างไทยกับพม่าจะสิ้นสุดลงแล้วหรือยัง ?  ยังไม่ไม่สิ้นสุดหรอกครับ  ขอให้ดูความในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาต่อไปดังนี้ครับ


           “ฝ่ายข้างกรุงรัตนบุระอังวะ  พระเจ้ามังระสวรรคต  อยู่ในราชสมบัติสิบสามปี  จิงกูจาราชบุตรได้ครองราชสมบัติสืบไปในปีวอก อัฐศก  ครั้นกองทัพอะแซหวุ่นกี้ยกกลับไปถึงจึงเข้าเฝ้าทูลแถลงการณ์ซึ่งไปตีหัวเมืองไทยฝ่ายเหนือใต้ทั้งสิ้น  พระเจ้าจิงกูจาก็พระราชทานบำเหน็จรางวัลแก่อะแซหวุ่นกี้และนายทัพนายกองทั้งปวงโดยสมควรแก่ความชอบ


          ครั้นอยู่มาแชลงจาผู้น้องพระเจ้าจิงกูจา  ซึ่งเป็นเจ้าเมืองแชลงอยู่ก่อนนั้น  คิดกับอะตวนหวุ่นอำมาตย์  เป็นกบฏต่อพระเจ้าจิงกูจา  พระเจ้าจิงกูจาให้จับแชลงจากับอะตวนหวุ่นอำมาตย์ประหารชีวิตเสีย  ยังแต่อาว์สามคน  คือ  บังแวงตแคงปดุงหนึ่ง  มังจูตแคงปคานหนึ่ง  มังโพเชียงตแคงแปงตแลหนึ่ง  มิได้เลี้ยงเป็นเจ้า  ให้แยกบ้านกันอยู่คนละบ้านไกลเมืองอังวะ


           แล้วพระเจ้าจิงกูจาให้อำมลอกหวุ่น  และต่อหวุ่น  กับพระยาอู่รามัญ  ถือพล  ๖,๐๐๐  ยกไปตีเมืองเชียงใหม่อีก  เข้าตั้งค่ายล้อมเมืองไว้  พระยาวิเชียรปราการเจ้าเมืองเชียงใหม่ต่อรบพม่าเหลือกำลังก็ทิ้งเมืองเสีย  พาครอบครัวอพยพเลิกหนีลงมาอยู่เมืองสวรรคโลก  แล้วบอกลงมา ณ กรุงธนบุรี  กราบทูลพระกรุณาให้ทราบ”


           ** ท่านผู้อ่านครับ  พระยาวิเชียรปราการ เจ้าเมืองเชียงใหม่ที่หนีพม่าลงไปอยู่เมืองสวรรคโลก (คือเชลียง-ศรีสัชนาลัย-เชียงชื่น) ผู้นี้  คือ  พระยาจ่าบ้านที่สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงตั้งให้เป็นพระยาวิเชียรปราการเจ้าเมืองเชียงใหม่ เพราะท่านเป็นหัวหน้าคนสำคัญของชาวเชียงใหม่ที่ต่อสู้กับพม่าด้วยลูกล่อลูกชนอันแพรวพราว  โดยร่วมมือกับเจ้าเจ็ดตนแห่งนครลำปาง  อันมีพระยากาวิละเป็นหัวหน้า  “ชักศึก” จากเมืองใต้ขึ้นไปช่วยจนปราบปรามพม่าได้สำเร็จ  และต่อมาถูกพระเจ้าตากสินจำคุกเพราะฆ่าอุปราชก้อนแก้ว  ดังปรากฏความในตำนานเมืองเหนือที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น ๆ   พม่ายกมาตีเชียงใหม่ได้อีกครั้ง  แล้วเหตุการณ์จะเป็นอย่างไรต่อไป  พรุ่งนี้มาอ่านพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขานะครับ.

เต็ม อภินันท์
สถาบันกวีนิพนธ์ไทย
ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
๒๔ เมษายน ๒๕๖๒
ขอขอบคุณเจ้าของภาพประกอบทุกภาพนี้ในเน็ต


รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, น้ำหนาว, ฟองเมฆ, ลมหนาว ในสายหมอก, กลอน123, ปลายฝน คนงาม, เนิน จำราย, กร กรวิชญ์, ชลนา ทิชากร

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอนคุณ  "อภินันท์ นาคเกษม"
..
บ้านกลอนน้อยฯ
เลขาคุณอภินันท์
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:39047
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 202
จำนวนกระทู้: 3127



| |
Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
« ตอบ #244 เมื่อ: 25, พฤษภาคม, 2562, 10:53:55 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -

- เกิดวุ่นวายในแผ่นดินญวน -

พักเรื่องราวพม่าไว้ไม่กล่าวด่วน
มาดูญวนทั่วแดนที่แสนยุ่ง
แย่งอำนาจเป็นใหญ่ให้นังนุง
เกิดรบพุ่งอื้อฉาวทั้งเจ้า,โจร

“ผู้ชนะเป็นเจ้า”กล่าวไม่ผิด
ผู้พิชิตเหี้ยมโหดรบโลดโผน
จากโจรามาจากถิ่นดินเลนโคลน
ปล้นเมืองโอนตำแหน่งเจ้าแต่งตน


          อภิปราย ขยายความ.........................

          เมื่อวันวานนี้ได้ให้อ่านพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา  ถึงเรื่องราวการกวาดล้างกองกำลังพม่าที่หลงเหลืออยู่ในหัวเมืองฝ่ายเหนือจนสิ้น  เหตุการณ์ทางพม่าเปลี่ยนไปเมื่อพระเจ้ามังระสวรรคต  จิงกูจาราชบุตรได้ครองราชย์แล้วให้อำมลอกหวุ่น  และ  ต่อหวุ่น  กับพระยาอู่รามัญ  นำกำลัง ๖,๐๐๐  ยกมาตีเชียงใหม่  พระยาวิเชียรปราการเจ้าเมืองเชียงใหม่ทิ้งเมืองเสีย  พาครอบครัวหนีลงมาอยู่เมืองสวรรคโลกแล้วบอกลงมากราบทูลพระกรุณาให้ทราบ  ความในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาได้พักเรื่องราวทางเชียงใหม่ไว้  แล้วกล่าวถึงเรื่องราวทางเขมร-ญวน  เป็นเรื่องยาว  ผมขออนุญาตไม่นำมากางให้ท่านกันทั้งหมดนะครับ  แต่จะขอเก็บความสำคัญมาบอกเล่าดังต่อไปนี้

           “กล่าวฝ่ายข้างแผ่นดินเมืองญวนนั้น  องเหียวหูเบือง  เจ้าเมืองเว้    ได้ทำสงครามกับเมืองตังเกี๋ยติดพันกันมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว  

     สำหรับองเหียวหูเบืองนี้มีบุตรชายห้าคน  ชื่อ องดิกมู ๑   องคางเบือง ๑   องเทิงกวาง ๑   องเชียงชุน ๑   องทาง ๑  
     องดิกมูนั้นมีบุตรชายชื่อ  องหวางตน  
     องคางเบืองมีบุตรชายสามคนชื่อ  องยาบา ๑   องเชียงสือ ๑   องหมัน ๑  

          ทั้งองดิกมู  และองคางเบือง   ได้ถึงแก่กรรมก่อนองเหียวหูเบืองบิดาของตน  
          ต่อมาองเหียวหูเบืองจึงถึงแก่พิราลัย  
          จากนั้นองกวักภอขุนนางผู้ใหญ่บิดาเลี้ยงขององเทิงกวาง  ได้ครองเมืองเว้โดยที่ขุนนางและราษฎรไม่เต็มใจ

          ในยามนั้นอ้ายหยากผู้เป็นโจรป่าอยู่ ณ แดนเมืองกุยเยิน  ได้พูดจาเกลี้ยกล่อมผู้คนว่า  จะตีเอาเมืองเว้ให้ได้  แล้วจะจับองเทิงกวาง  องกวักภอ ฆ่าเสีย    แล้วจะยกองหวางตนบุตรองดิกมูขึ้นครองเมืองเว้  ผู้คนทั้งปวงได้ฟังดังนั้นก็เชื่อถือ  พากันสมัครเข้าเป็นพวกพ้องจำนวนมาก

          อ้ายหยากนั้นมีน้องชายสองคนคือ อ้ายบาย ๑   อ้ายดาม ๑   เมื่อได้สั่งสมผู้คนจนมีกำลังมากพอแล้วก็ยกเข้าตีเมืองเว้ทันที
          ทางฝ่ายองกลิงเกียมมหาอุปราชเมืองตังเกี๋ย  ได้ทราบข่าวว่าอ้ายหยากจะยกทัพไปตีเมืองเว้  จึงแต่งให้องกวักเหลาเป็นแม่ทัพยกกำลังมาตีเมืองเว้ด้วย

          กองทัพอ้ายหยากตีด้านหนึ่ง    ทัพองกวักเหลาตีอีกด้านหนึ่ง
          ฝ่ายองเทิงกวางกับองกวักภอแต่งกองทัพออกสู้รบก็พ่ายแพ้  เมื่อเห็นว่าเหลือกำลังจะสู้รบก็ทิ้งเมืองเสีย  พาองเชียงชุน  องยาบา  องเชียงสือ  องหมัน   หนีลงเรือแล่นหนีมาทางทะเลมาอยู่ ณ เมืองไซ่ง่อน  

          กองทัพอ้ายหยากและกองทัพเมืองตังเกี๋ยจึงได้เมืองเว้  อ้ายหยากจับองหวางตนบุตรองดิกมูได้  แต่มิได้ตั้งให้เป็นเจ้าเมืองเว้ตามที่เคยพูดไว้  หากแต่พาตัวไปไว้เมืองกุยเยิน  ส่วนองกวักเหลาแม่ทัพเมืองตังเกี๋ยจับองทางได้แล้วให้จำจองไว้  เก็บเอาทรัพย์สินสิ่งของสิ้นแล้วคุมตัวองทางเลิกทัพกลับไปเมืองตังเกี๋ย

          ฝ่ายว่าองหวางตนที่ถูกพาตัวไปอยู่เมืองกุยเยินนั้น  คิดเกรงว่าอ้ายหยากจะฆ่าตนเสีย  จึงหลบหนีลงเรือแล่นมาอยู่ ณ เมืองไซ่ง่อนกับองเทิงกวาง  องเทิงกวางจึงคิดอ่านกับญาติและขุนนางทั้งปวงจะยกองหวางตนขึ้นเป็นเจ้า  แล้วคิดจัดแจงกองทัพจะยกไปตีอ้ายหยาก ณ เมืองกุยเยิน
          แต่ยังมิทันที่จะยกไป  อ้ายหยากได้รู้ข่าวก็รีบยกทัพมาปล้นตีเมืองไซ่ง่อนแตก  จับองเทิงกวางกับองหวางตนได้แล้วให้ประหารชีวิตเสีย องยาบา  องหมัน  หนีไปซุ่มซ่อนอยู่ในป่า  อ้ายหยากก็ให้ทหารไปติดตามจับได้แล้วให้ประหารเสีย

          องเชียงสือนั้นหนีได้แล้วก็ไปซ่องสุมผู้คนอยู่ในป่า ณ ตำบลหนึ่ง  ส่วนองเชียงชุนนั้นหลบหนีมาอาศัยพระยาราชาเศรษฐีญวนอยู่ ณ เมืองพุทไธมาศ  
          อ้ายหยากก็ยกกองทัพตามมาตีเมืองพุทไธมาศแตก  พระยาราชาเศรษฐีญวนกับองเชียงชุน  พาสมัครพรรคพวกลงเรือหนีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ณ กรุงธนบุรี  สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงพระกรุณารับไว้ และพระราชทานบ้านเรือนให้อาศัยในพระนครฟากตะวันออก

          ฝ่ายองเชียงสือนั้นตั้งเกลี้ยกล่อมผู้คนได้ไพร่พลเป็นอันมากแล้วก็ยกทัพเข้าตีอ้ายหยาก  ยึดเมืองไซ่ง่อนคืนได้  อ้ายหยากถอยทัพไปตั้งซ่องสุมรี้พลอยู่ ณ เมืองกุยเยิน  เปลี่ยนชื่อตนเองเป็น  องไก่เซิน   อ้ายบายก็เปลี่ยนชื่อตนเป็น  องติงเวือง   อ้ายดามนั้นเปลี่ยนชื่อตนเป็นองลองเญือง  แล้วไปเป็นเจ้าเมืองเว้

          ขุนนางทั้งปวงในเมืองไซ่ง่อนได้ปรึกษาหารือกันแล้วเห็นพ้องต้องกันให้ยกองเชียงสือ  ขึ้นเป็นเจ้าเมืองไซ่ง่อน  ตั้งซ่องสุมไพร่พลเตรียมทำสงครามกับองไก่เซิน (อ้ายหยาก) ต่อไป

          องเชียงชุนซึ่งหนีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระเจ้ากรุงธนบุรี  และทรงรับชุบเลี้ยงไว้นั้น  คิดการจะหนีกลับคืนไปเมืองญวน  ครั้นพระเจ้าตากสินทรงทราบดังนั้น  ก็ทรงเห็นว่าเขามิได้มีจิตสวามิภักดิ์  จึงให้จับตัวองเชียงชุนพร้อมบุตรภรรยาและสมัครพรรคพวกประหารชีวิตเสียด้วยกันทั้งสิ้น”

          * ท่านผู้อ่านครับ  พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาได้พักเรื่องที่พม่ายกมาตีเมืองเชียงใหม่ไว้  แล้วมากล่าวเรื่องทางเมืองญวนอย่างละเอียดลออ  รายนามคนพม่าในพระราชพงศาวดาร  ผมว่าอ่านออกเสียงยากแล้ว  มาเจอนามคนญวนในพระราชพงศาวดาร  อ่านยากกว่านามคนพม่าเสียอีกนะครับ  การที่ท่านนำเรื่องญวนมากล่าวโดยละเอียดเป็น ”พงศาวดารญวน”  ก็เพื่อจะท้าวความให้ทราบที่มาของเจ้าแผ่นดินญวนพระองค์หนึ่ง  ที่หนีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร  ทรงชุบเลี้ยงไว้แล้วภายหลังกลับไปกอบกู้แผ่นดินญวน  ตั้งประเทศขึ้นมา  เป็นคู่แข่งกับสยามตราบเท่าวันนี้

          เรื่องราวจะเป็นอย่างไร  พรุ่งนี้ผมจะเก็บความมาบอกเล่าให้อ่านกันต่อไปครับ.

เต็ม อภินันท์
สถาบันกวีนิพนธ์ไทย
ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
๒๕ เมษายน ๒๕๖๒
ขอขอบคุณเจ้าของภาพประกอบทุกภาพนี้ในเน็ต


รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, น้ำหนาว, กลอน123, ลิตเติลเกิร์ล, ลมหนาว ในสายหมอก, ฟองเมฆ, กร กรวิชญ์, ชลนา ทิชากร, ปลายฝน คนงาม

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอนคุณ  "อภินันท์ นาคเกษม"
..
บ้านกลอนน้อยฯ
เลขาคุณอภินันท์
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:39047
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 202
จำนวนกระทู้: 3127



| |
Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
« ตอบ #245 เมื่อ: 26, พฤษภาคม, 2562, 11:11:24 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -

- ทรงบำเพ็ญพระกรรมฐาน -

ครั้นพระเจ้าตากสินสิ้นการศึก
ธ ทรงฝึกกรรมฐานการกุศล
บำรุงวัดศรัทธาล้ำหน้าชน
ทรงหวังผลภิญโญโพธิญาณ

ทรงศีลทั้งภาวนาไม่ละเว้น
จึงโดดเด่นทางพระกรรมฐาน
สามารถสอนสั่งสงฆ์องค์อาจารย์
ให้รู้การปฏิบัติวิปัสสนา

          อภิปราย ขยายความ...............................

          เมื่อวันวานนี้ได้นำพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขามาวางกางให้อ่าน  เป็นเรื่องราวความวุ่นวายในประเทศอันนัมหรือเวียดนาม  โดยตังเกี๋ยได้ยกทัพมาตีเมืองเว้ของญวน  และรบติดพันกันเป็นเวลายาวนานยังไม่รู้แพ้ชนะ  ต่อมาเจ้าแผ่นดินญวนสิ้นพระชนม์ลง  เกิดการแย่งชิงบัลลังก์ขึ้น  และมีขุนโจรส้องสุมกำลังใหญ่โตขึ้นแล้วยกเข้าชิงเมืองเว้ได้  ตั้งตนเป็นเจ้าแผ่นดิน  ฝ่ายราชวงศ์เดิมก็ตั้งกองกำลังต่อสู้  มีการรบกันวุ่นวายและในที่สุด  องเชียงสือราชวงศ์คนสำคัญก็ได้รับการยอมรับยกย่องให้เป็นเจ้าแผ่นดิน  ปกครองญวนทางตอนใต้อยู่ ณ เมืองไซ่ง่อน  ตั้งกองกำลังจะไปรบกลุ่มโจรที่ตั้งตนเป็นเจ้าครองแผ่นดิน ณ เมืองกุยเยิน  อยู่ทางเหนือของญวน  ความทั้งหมดนั้นพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขานำมาท้าวความเพื่อจะกล่าวถึงเรื่องราวของญวนที่เกี่ยวของกับไทยต่อไป  วันนี้มาอ่านพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ฉบับเดิมกันต่อนะครับ


           “ในเดือน ๑๒ นั้น  เจ้าพระยาพิชัยราชาผู้เป็นเจ้าพระยาสวรรคโลกลงมารับราชการอยู่ ณ กรุงธนบุรีนั้น  แต่งผู้เฒ่าผู้แก่เข้าไปขอน้องสาวเจ้าจอมฉิมพระสนมเอก  บุตรีเจ้านครศรีธรรมราช  ซึ่งเข้ามาอยู่ในพระราชวัง  ว่าจะเอามาเลี้ยงเป็นภรรยา  สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงทราบดังนั้นก็ทรงพระพิโรธ  ดำรัสว่า  มันทำบังอาจจะมาเป็นคู่เขยน้อยเขยใหญ่กับกูผู้เป็นเจ้าแผ่นดิน”  แล้วดำรัสให้เอาตัวเจ้าพระยาพิชัยราชาไปประหารชีวิตเสีย  ตัดศีรษะเสียบประจานไว้ที่ริมประตูข้างฉนวนลงพระตำหนักแพ  อย่าให้ใครเอาเยี่ยงอย่างสืบไป

          ครั้นถึง ณ วันจันทร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนอ้าย  สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงพระราชศรัทธาเสด็จไปทรงพระเจริญพระกรรมฐาน ณ พระอุโบสถวัดบางยี่เรือใต้  แล้วทรงพระราชอุทิศถวายเรือโขมดยาปิดทองทองทึบลำหนึ่ง  หลังคาบัลลังก์ดาดสีสักหลาดเหลืองคนพายสิบคน  พระราชทานเงินตราคนละสองตำลึง  และผ้าขาว  ให้บวชเป็นปะขาวไว้สำหรับพระอาราม  แล้วทรงถวายหีบปิดทองคู่หนึ่งสำหรับใส่พระไตรปิฎกและวิธีอุปเทศพระกรรมฐาน  แล้วทรงตั้งสัตยาธิษฐานว่า  เดชะผลทานบูชานี้ขอจงยังพระลักขณะพระปีติทั้งห้า  จงบังเกิดแก่ข้าพเจ้าแล้วอย่าได้อันตรธาน  และพระธรรมซึ่งยังมิได้บังเกิดนั้น  ขอจงบังเกิดภิญโญภาพยิ่ง ๆ ขึ้นไป  อนึ่ง  ขอจงเป็นปัจจัยแก่ปรมาภิเษกสมโพธิญาณในอนาคตกาลภายภาคหน้า  แล้วให้เชิญหีบพระไตรปิฎกลงตั้งในบัลลังก์เรือศรีนั้น  ให้เกณฑ์เรือข้าทูลละอองธุลีพระบาทฝ่ายทหารพลเรือน  และเรือราษฎรแห่เรือพระไตรปิฎกขึ้นไปตามแม่น้ำถึงบางยี่ขัน  แล้วแห่กลับคืนเข้าไป ณ วัดบางยี่เรือ  เชิญหีบพระไตรปิฎกขึ้นประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถดังเก่า  แล้วให้พระราชาคณะและเสนาบดีกำกับกัน  เอาเงินตราสิบชั่งไปเที่ยวแจกคนโซทั่วทั้งในและนอกกรุงธนบุรีทั้งสิ้น

          ถึง ณ วันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๕ ค่ำ  ทรงให้เชิญพระโกศพระอัฐิพระพันปีหลวง  กรมพระเทพามาตย์  ลงเรือบัลลังก์ มีเรือแห่เป็นกระบวนไปแต่พระตำหนักแพแห่เข้าไป ณ วัดบางยี่เรือใต้  เชิญพระโกศขึ้นสู่พระเมรุ  นิมนต์พระสงฆ์หมื่นรูปสดับปกรณ์  แล้วทรงถวายไทยทานเป็นอันมาก  ครั้นครบสามวันแล้วเชิญพระโกศลงเรือแห่กลับเข้าพระราชวัง  จากนั้น  สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงสมาทานอุโบสถศีล  แล้วทรงเจริญพระกรรมฐานภาวนา  เสด็จประทับแรมอยู่ ณ วัดบางยี่เรือใต้ห้าเวร  ให้เกณฑ์ข้าราชการปลูกกุฎีร้อยยี่สิบหลัง  ให้บูรณะปฏิสังขรณ์พระพุทธปฏิมากร  และพระอุโบสถ  พระวิหาร  พระเจดีย์  ให้บริบูรณ์ขึ้นทั้งพระอาราม  ที่คูรอบพระอุโบสถนั้นให้ชำระแผ้วถางและขุดให้กว้างไปกว่าเก่า  ให้ปลูกบัวหลวงในคูนั้นโดยรอบ  จากนั้นให้นิมนต์พระสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนาธุระมาอยู่ ณ กุฎีที่ปลูกถวาย  แล้วเกณฑ์ข้าทูลละอองธุลีพระบาทให้ปรนนิบัติทุก ๆ พระองค์  และทรงเสด็จไปถวายพระราชโอวาทแก่พระสงฆ์  โดยอธิบายซึ่งพระองค์ทรงบำเพ็ญได้  ให้ต้องด้วยวิธีพระสมถกรรมฐานภาวนา  จะได้บอกกล่าวกุลบุตรเจริญในปฏิบัติศาสนาสืบไป  แล้วทรงสถาปนาพระอุโบสถและการเปรียญเสนาสนกุฎี ณ วัดหงส์สำเร็จบริบูรณ์


          ครั้น ณ วันศุกร์ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๓  กลางคืนเพลาสองยาม  มีเสือเข้ามากินชาวเขมรซึ่งเฝ้าสวนหลังวัดบางยี่เรือ  จึงพระราชดำรัสให้พระเจ้าลูกเธอ กรมขุนอินทรพิทักษ์  และเจ้าพระยาจักรี   พระยายมราช  กับข้าหลวงทั้งปวงออกไปจับเสือ  ให้วางยาเบื่อ  เสือกินแล้วเมาล้มลงนอนอยู่  จึงให้คนเข้าไปแทงเสือนั้นตาย

          ณ วันจันทร์ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๓  เพลาบ่ายสามโมงเศษ  บังเกิดลมพายุใหญ่  ฝนห่าใหญ่ตก  ลูกเห็บตกเป็นอันมาก  โรงปืนแถวฉนวนน้ำประจำท่าหักพังทลายลง  และเหย้าเรือนในพระนครหักทำลายประมาณร้อยหลัง”


          * ท่านผู้อ่านครับ  ในระยะเวลาหลังจากทำสงครามใหญ่กับพม่าแล้ว  สมเด็จพระเจ้าตากสินมิได้ออกรบทัพจับศึกหนักเหมือนเดิม  หากแต่จะทรงหันเข้าสู่วัด  ปฏิบัติพระกรรมฐาน  บำเพ็ญพระราชกุศลเสียเป็นส่วนใหญ่ (วัดบางยี่เรือที่กล่าวในพระราชพงศาวดารซึ่งสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งนั้น  คือวัดอินทาราม แขวงบางยี่เรือในปัจจุบัน)


          ส่วนเรื่องที่พม่ายกทัพมาล้อมเมืองเชียงใหม่แล้ว  เจ้าเมืองหนีลงมาอยู่ที่เมืองสวรรคโลกนั้น  พระราชพงศาวดารยังมิได้กล่าวถึงว่า  ทางฝ่ายไทยจะทำอย่างไรกับพม่า  เรื่องราวจะเป็นอย่างไรต่อไป  วันพรุ่งนี้จะนำพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขามาเปิดวางให้อ่านกันต่อไปครับ.

เต็ม อภินันท์
สถาบันกวีนิพนธ์ไทย
ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
๒๖ เมษายน ๒๕๖๒
ขอขอบคุณเจ้าของภาพประกอบทุกภาพนี้ในเน็ต


รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, ลิตเติลเกิร์ล, กลอน123, ฟองเมฆ, ลมหนาว ในสายหมอก, ชลนา ทิชากร, น้ำหนาว, กร กรวิชญ์, เนิน จำราย, ปลายฝน คนงาม

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอนคุณ  "อภินันท์ นาคเกษม"
..
บ้านกลอนน้อยฯ
เลขาคุณอภินันท์
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:39047
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 202
จำนวนกระทู้: 3127



| |
Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
« ตอบ #246 เมื่อ: 28, พฤษภาคม, 2562, 12:09:41 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -

- ตั้งเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก -

เจ้าพระยาจักรีมีความชอบ
หลังปราบปลอบกล่อมเกณฑ์เขมรป่า
เมืองตะลุง,สุรินทร์ถิ่นไกลตา
สังขะ,ขุขันธ์อาณาโขงนั้น

นางรอง,อัตปือ,จำปาศักดิ์
อาณาจักรเอกเทศไร้เขตคั่น
ปราบแล้วรวบรวมเข้าสยามพลัน
จึงเขตขัณฑสีมายิ่งกว้างไกล

พระเจ้าตากสินยินดียิ่ง
ทรงมอบสิ่งสำคัญอั้นยิ่งใหญ่
“เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก”ไท
ที่อวยให้รู้กันแต่นั้นมา

ส่วนพระองค์ทรงพระกรรมฐาน
จนเกิดการสำคัญผิดปริศนา
ลักษณะพระกายคล้ายศาสดา
จึงให้หารูปลักษณะเคียง


          อภิปราย ขยายความ................

          เจ้าพระยาสองพี่น้องยกกำลังแหกค่ายพม่าเมืองพิษณุโลกไปตั้งหลักที่เพชรบูรณ์  พักฟื้นกำลังพลและสะสมเสบียงได้แล้วนำกำลังกลับช่วยพระเจ้าตากสินกวาดล้างพม่าจนสิ้นไป  ในขณะที่ทางเมืองญวนเกิดรบชิงอำนาจกัน  สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงฝักใฝ่ในด้านการพระศาสนา  ประพฤติปฏิบัติธรรมด้านสมถวิปัสสนาภาวนาอย่างเคร่งครัดนั้น  วันนี้มาดูความในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขากันต่อไปครับ


          “ ณ วันศุกร์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๔ สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงให้หล่อปืนพระพิรุณ  ที่สวนมังคุด  ในเดือนนั้นกรมการเมืองนครราชสีมาบอกลงมาว่า  พระยานางรองคบคิดกันกับเจ้าโอ้  เจ้าอิน  และอุปฮาดเมืองจำปาศักดิ์  กระทำการกำเริบเป็นกบฏ  จึงมีพระราชดำรัสให้เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) เป็นแม่ทัพ  ยกกองทัพไปเมืองนครราชสีมา  แล้วให้กองหน้ายกไปจับตัวพระยานางรองมาได้  พิจารณาเห็นเป็นความจริงว่าคิดกบฏจึงให้ประหารชีวิตเสีย  แต่เจ้าโอ้  เจ้าอิน  กับอุปฮาดนั้นยังตั้งซ่องสุมอยู่ที่เมืองจำปาศักดิ์  มีไพร่พลทั้งลาวทั้งข่ามากประมาณหมื่นเศษ  จึงบอกข้อราชการลงมากราบทูล


          ครั้นทรงทราบจึงให้เจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) คุมทัพหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวง  ยกขึ้นไปเข้าบรรจบกองทัพเจ้าพระยาจักรีแม่ทัพใหญ่ ณ เมืองนครราชสีมา  จากนั้นเจ้าพระยาจักรี  เจ้าพระยาสุรสีห์  จึงยกทัพไปตีเมืองจำปาศักดิ์  เมืองโขง  เมืองอัตปือ  ได้ทั้งสามเมือง  จับตัวเจ้าโอ้  เจ้าอิน  และอุปฮาดได้แล้วให้ประหารชีวิตเสีย  แล้วตั้งเกลี้ยกล่อมได้เขมรป่าดง  เมืองตะลุง  เมืองสุรินทร์  เมืองสังขะ  เมืองขุขันธ์  มาเข้าสวามิภักดิ์ทั้งสี่เมือง  ไพร่พลประมาณสามหมื่นเศษ  จึงบอกข้อราชการมากราบทูล  สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงพระโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง  ดำรัสให้มีตราหากองทัพกลับยังกรุงธนบุรี


          เจ้าพระยาทั้งสองเลิกทัพกลับมาถึงพระนครในเดือน ๖ ปีระกานพศก ศักราช ๑๑๓๙ (พ.ศ. ๒๓๒๐)  จึงทรงพระกรุณาโปรดปูนบำเหน็จเจ้าพระยาจักรี  ตั้งให้เป็น   “เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก  พิลึกมหิมา  ทุกนัคราระอาเดช  นเรศราชสุริยวงศ์ องค์อัครบาทมุลลิกากร  บวรรัตนบรินายก ณ กรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุธยา”  แล้วพระราชทานพานทอง  เครื่องยศเหมือนอย่างเจ้าต่างกรม  ใหญ่ยิ่งกว่าท้าวพระยาข้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งปวง

          วันพฤหัสบดี แรม ๘ ค่ำ เดือน ๗ ปีระกา นพศก  สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงนั่งเข้าสมาธิให้โต๊ะแขกดู  ประมาณห้าบาทออกจากที่ทรงนั่งแล้วตรัสถามโต๊ะแขกว่า  เห็นเป็นประการใดบ้าง  โต๊ะแขกกราบทูลว่า  ซึ่งทรงนั่งสมาธิอย่างนี้  อาจารย์ซึ่งได้เล่าเรียนมาแต่ก่อนจะได้เห็นเสมอพระองค์ดังนี้หามิได้ เ พลาเช้าของวันพุธแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๗  สมเด็จพระสังฆราช  พระราชาคณะทั้งปวง  เข้ามาถวายบาลีวิธี  ซึ่งเข้านั่งภาวนาพระสมาธิกรรมฐาน  และโต๊ะฤทธิ์  โต๊ะทอง  โต๊ะนก  แขกสามคนก็เอาหนังสือแขกซึ่งนั่งรักษาสมาธิจิตเข้ามาอ่านถวาย


          ในวันเดียวกันนั้นก็มีหนังสือบอกเมืองนครศรีธรรมราชส่งมากราบทูลว่า  เมืองตานีแข็งเมืองอยู่มิได้มาอ่อนน้อม  ถึงปีหน้าเจ้านครจะยกทัพออกไปตี  จึงมีพระราชดำรัสว่ามีราชการศึกพม่ายกกองทัพมาตีเมืองเชียงใหม่  พระยาเชียงใหม่เลิกครัวอพยพลงมาตั้งอยู่ที่เมืองสวรรคโลก  ยังมิได้ทันจัดกองทัพขึ้นไปตีทัพพม่าที่เชียงใหม่  พม่าเลิกทัพกลับไปเองโดยเร็ว  ด้วยมีข่าวลือมาว่ามีศึกกระแซยกมาตีเมืองอังวะ  ทั้งทัพฮ่อก็ยกมาด้วย  จะตีเป็นศึกกระหนาบ  เราคิดจะให้ราชทูตออกไปแจ้งราชกิจแก่พระเจ้ากรุงปักกิ่ง  ว่าจะยกกองทัพขึ้นไปช่วยตีเมืองด้วย  ราชการสงครามยังติดพันกันมากอยู่  ให้เจ้านครรอทัพไว้ก่อนอย่าเพ่อยกไปตีเมืองแขกก่อนเลย  ต่อเมื่อใดราชการข้างกรุงธนบุรีสงบแล้วจึงจะให้มีตรากำหนดการออกไปให้กองทัพเมืองนครศรีธรรมราชยกไปตีเมืองตานีเมื่อนั้น

          มีดำรัสดังนั้นแล้วก็ทรงประภาษถึงเรื่องกรรมฐานกับพระราชาคณะว่า  พระนาภีของพระองค์นั้นแข็งไป  กระแหมบมิเข้า  ผิดกับสามัญสัตว์โลกทั้งปวงเป็นอัศจรรย์  แล้วดำรัสถามพระราชาคณะด้วยพระรูปและลักขณะว่า  ทรงส่องพระฉายดูเห็นพระกายเป็นปริมณฑลฉะนี้จะต้องพระบาลีประการใดบ้าง  พระราชาคณะถวายพระพรว่า  พระบาลีพระพุทธลักขณะสมเด็จพระสัพพัญญูมีพระกายเป็นปริมณฑล  เหมือนดุจปริมณฑลแห่งต้นไทร  มิได้สูงต่ำยาวสั้น  และพระกายซึ่งสูงนั้นวัดเท่ากับวาของพระองค์  อนึ่ง  มีมังสะที่หนานั้นเจ็ดแห่ง คือหลังพระหัตถ์ซ้ายขวาและหลังพระบาทซ้ายขวา  พระองสาทั้งสองซ้ายขวา  กับลำพระศอ  เป็นเจ็ดแห่งด้วยกัน  ทรงทราบดังนั้นจึงสั่งให้ช่างหล่อ ๆ พระพุทธรูปให้ต้องด้วยพระพุทธลักขณะพร้อมบริบูรณ์ทุกประการ

          ให้สมเด็จพระสังฆราชเอาพระบาลีพระพุทธลักขณะออกมาบรรยายให้ช่างทำ  สมเด็จพระสังฆราชแปลพระบาลีพระพุทธลักขณะถวายว่า  “พระทวัดดึงสมหาบุรุษลักขณะใหญ่นั้นสามสิบสองประการคือ  พระลักขณะอย่างนั้น ๆ และพระอสีตยานุพยัญชนะ  พระลักขณะน้อยนั้นสิบแปดประการ  คืออย่างนั้น ๆ”  จึงทรงส่องพระฉายทอดพระเนตรดูพระลักขณะในพระองค์  สอบกับพระบาลีเห็นต้องพระพุทธลักขณะคือ  พระกายสูงเท่ากับวาของพระองค์ประการหนึ่ง  มีเส้นพระอุณาโลมอยู่ที่หว่างพระขนงประการหนึ่ง  พระอุทรเวียนเป็นทักขิณาวัฏประการหนึ่ง  พื้นพระปฤษฎางค์เสมอประการหนึ่ง  และพระมังสะที่หนานั้นพร้อมทั้งเจ็ดแห่งประการหนึ่ง  พระปรางอิ่มบมิได้บกพร่องประการหนึ่ง  จากนั้นให้สมเด็จพระสังฆราชอ่านพระบาลีสอบกับพระลักขณะในพระองค์ไปทุก ๆ พระลักขณะ  ก็ต้องด้วยพระพุทธลักขณะทั้งสามสิบสองประการ  สิ่งที่ไม่ต้องก็ตรัสบอกว่าไม่ต้อง”


          * ท่านผู้อ่านครับ  หลังจากทรงกรากกรำศึกสงครามมาอย่างหนัก  สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงหันเข้าวัดปฏิบัติพระ
กรรมฐานอย่างจริงจัง  ทรงเคร่งครัดจนเครียดถึงขนาดคิดว่า  พระกายของพระองค์มีส่วนเหมือนหรือคล้ายพระกายของพระพุทธองค์  ตรัสให้สมเด็จพระสังฆราชนำพระบาลีจากพระไตรปิฎกมาตรวจสอบเทียบกับพระกายของพระองค์  และนี่น่าจะเป็นที่มาของพระอาการที่ว่ากันว่าพระองค์มีพระสติฟั่นเฟือน  จริงหรือไม่อย่างไร  พรุ่งนี้มาอ่านความกันต่อไปครับ.

เต็ม อภินันท์
สถาบันกฝีนิพนธ์ไท
ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
๒๗ เมษายน ๒๕๖๒
ขอขอบคุณเจ้าของภาพประกอบทุกภาพนี้ในเน็ต


รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, ลิตเติลเกิร์ล, ปลายฝน คนงาม, กร กรวิชญ์, ฟองเมฆ, กลอน123, น้ำหนาว, เฒ่าธุลี, ลมหนาว ในสายหมอก

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอนคุณ  "อภินันท์ นาคเกษม"
..
บ้านกลอนน้อยฯ
เลขาคุณอภินันท์
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:39047
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 202
จำนวนกระทู้: 3127



| |
Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
« ตอบ #247 เมื่อ: 28, พฤษภาคม, 2562, 10:28:09 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -


- พระวอขอพึ่งโพธิสมภาร -

กล่าวถึง“พระวอ”อุปฮาดล้านช้าง
หนีมาสร้างเมืองใหม่แล้วบ่ายเบี่ยง
ไม่ขึ้นต่อล้านช้างอย่างลำเอียง
ให้นามเวียงใหม่ว่า“จำปานคร”

เจ้าล้านช้างยกทัพมาปราบแรก
ถูกตีแตกกลับไปมือไม้อ่อน
“พระวอ”ขอพม่าช่วยกลัวม้วยมรณ์
กลับถูกซ้อนกลศึกอันลึกล้ำ

ล้านช้างพาพม่ามาตีปล้น
เกินทานทนทัพพม่ามาเหยียบย่ำ
ทิ้ง“จำปานคร”ไว้ให้จดจำ
ถอยลงต่ำถึงตอน“ดอนมดแดง”

แล้วจึงตั้งเมืองใหม่ในที่นั้น
ส่งเครื่องบรรณาการให้ไร้เล่ห์แฝง
ขอพึ่งโพธิสมภารอันร้อนแรง
เป็นข้าแห่งธนบุรีกรุงศรีไทย


          อภิปราย ขยายความ..................

          เมื่อวันวานนี้ได้นำพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา มาวางเปิดกางให้อ่านถึงตอนที่ สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงหมกมุ่นในการปฏิบัติพระกรรมฐานจนได้ฌาน  และเกิดความเข้าพระทัยว่า  พระกายของพระองค์มีบางสิ่งบางอย่างหลาย ๆ อย่างเหมือนพระวรกายของพระพุทธองค์  จึงให้สมเด็จพระสังฆราชนำพระบาลีในพระไตรปิฎกซึ่งว่าด้วยลักษณะพระวรกายของพระพุทธองค์มาอ่านเปรียบเทียบกับพระกายของพระองค์  สมเด็จพระสังฆราชทรงอ่านพระบาลีแล้วแปลความที่ว่าด้วย  พระลักษณะมหาบุรุษสามสิบสองประการ (ทวัตตึงสมหาบุรุษลักษณะ) และลักษณะอื่น ๆ มาประกอบ  วันนี้มาอ่านความในพระราชพงศาวดารฉบับเดิมกันต่อไปครับ

           “ในขณะที่ทรงให้ตรวจสอบพระลักษณะของพระองค์ว่าจะมีสิ่งใดต้องตามพระพุทธลักษณะบ้างหรือไม่นั้น  พระมหาอำมาตย์ทูลเบิกพระยาวิเชียรปราการเจ้าเมืองเชียงใหม่ลงมาเฝ้า  พระองค์ดำรัสว่า  “พม่ามันเลิกทัพไป  มันมีศึกอยู่แล้ว  พระยาวิเชียรปราการจะพาครอบครัวกลับไปเมืองเชียงใหม่ก็ไปเถิด”

          ตรัสว่าราชการเพียงเท่านั้นก็ทรงหันกลับมาให้หลวงวิจิตรนฤมลปั้นพระพุทธรูปให้ต้องด้วยพระพุทธลักษณะปางสมาธิพระองค์หนึ่ง  ยืนพระองค์หนึ่ง  จะให้ช่างหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์  แล้วให้นิมนต์พระเทพกระวีให้ออกไปกรุงกัมพูชา  ให้พระพรหมมุนีออกไปเมืองนครศรีธรรมราช  ค้นพระคัมภีร์วิสุทธิมรรคนำเข้ามาเป็นฉบับสร้างไว้ในกรุงธนบุรี

          พระอาลักษณ์ได้กราบถวายบังคมลาออกบวช  และเมื่อบวชแล้วทรงพระกรุณาตั้งให้เป็น พระรัตนมุนี  โดยแปลงนามเดิมว่า  “แก้ว”  นั้นมาเป็นชื่อสมณศักดิ์  จากนั้นทรงแสดงความอัศจรรย์ในการทำนายทายทักให้ปรากฏแก่คนทั่วไป  โดยสั่งให้ปลัดวังไปหาแม่ค้าในตลาดบกและชาวเรือมาเฝ้าแล้วตรัสทำนายว่า  “หญิงคนนั้นกับสามีคนนั้นจะอยู่ด้วยกันยืด  ผัวเมียคู่นั้นจะอยู่ด้วยกันไม่ยืด  หญิงคนนั้นราคะกล้ายินดีในกามคุณมาก  หญิงคนนั้นราคะเบาบางรักแต่ทรัพย์สิน  หญิงคนนั้นใจบาป  หญิงคนนั้นใจบุญพอใจทำการกุศล”  ทรงทายแม่ค้าทุก ๆ คน

          * ศักราช ๑๑๔๐ ปีจอ สัมฤทธิศก (พ.ศ. ๒๓๒๑)  พระเจ้าหลานเธอ กรมขุนอนุรักษ์สงคราม  ซึ่งออกไปรักษาเมืองเพชรบุรี  กับพระยาทุกขราษฎร์กรมการเมืองและพระกุย  พระปราณ บอกส่งคนบ่าวข้อราชการซึ่งลามุลนายออกไปหากินและหนีออกไปทั้งครอบครัวก็มีเป็นอันมาก  ส่งเข้ามายังกรุงธนบุรี  ทรงพระกรุณาให้ส่งให้แก่เจ้าหมู่มุลนายทั้งปวงตามหมู่ตามกรรม

          ในปีเดียวกันนั้น มีเรื่องทางกรุงศรีสัตนาคนหุต  โดยพระวอซึ่งเป็นอุปฮาดอยู่ก่อนมีความพิโรธขัดเคืองกับเจ้าล้านช้าง  จึงพาสมัครพรรคพวกออกจากเมืองมาตั้งอยู่หนองบัวลำภู  ซ่องสุมผู้คนได้มากจึงสร้างขึ้นเป็นเมืองตั้งค่ายเสาไม้แก่น  ให้ชื่อเมืองจำปานครขวางกาบแก้วบัวบาน  แล้วแข็งเมืองต่อพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต

          ทางกรุงศรีสัตนาคนหุตจึงแต่งกองทัพยกมาตี  พระวอก็ต่อรบตีทัพล้านช้างแตกกลับไป  แล้วก็แต่งขุนนางนำเครื่องบรรณาการขึ้นไปเมืองอังวะ  ขอกองทัพพม่ายกลงมาตีกรุงศรีสัตนาคนหุต  พระเจ้าอังวะให้แมงละแงเป็นแม่ทัพถือพลสี่พัน ยกมาตีกรุงศรีสัตนาคนหุต  ยกทัพมาถึงกลางทางพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตทรงทราบ  จึงให้ท้าวเพี้ย (ตำแหน่งหนึ่งของขุนนางลาว) นำเครื่องบรรณาการไปให้แม่ทัพพม่า  ขอขึ้นกับกรุงอังวะ  แล้วให้กองทัพไปตีพระวอ ณ เมืองหนองบัวลำภู  โดยนำกองทัพพม่ามาพักที่ศรีสัตนาคนหุต  จัดการต้อนรับเป็นอันดี  จากนั้นจึงจัดพลสมทบกองทัพพม่า  ให้แมงละแงเป็นแม่ทัพยกกำลังพม่าลาวไปตีเมืองหนองบัวลำภู  พระวอออกต่อสู้เห็นเหลือกำลังก็ทิ้งเมืองเสีย  พาครอบครัวอพยพแตกหนีไปตั้งอยู่ตำบลดอนมดแดงเหนือเมืองจำปาศักดิ์  แล้วแต่งท้าวเพี้ยถือศุภอักษรและเครื่องบรรณาการมาถึงพระยานครราชสีมา  ขอเป็นเมืองขึ้นขอบขัณฑสีมากรุงธนบุรี  เอาพระเดชานุภาพสมเด็จพระเจ้าตากสินเป็นที่พึ่งพำนักสืบไป  พระยานครราชสีมาจึงบอกส่งทูตและศุภอักษรเครื่องราชบรรณาการลงมายังกรุงธนบุรี  จึงพระราชทานสิ่งของตอบแทนไปแก่พระวอ  และโปรดให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ ดอนมดแดงนั้น”

          * ท่านผู้อ่านครับ  หลังจากที่ทรงกรำศึกมาอย่างหนักจนมีพระทัยเหี้ยมเกรียมแล้ว  นึกไม่ถึงว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินจะกลับมามีพระทัยฝักใฝ่ในพระพุทธศาสนาถึงขนาดที่จะเปรียบเทียบพระองค์ให้เป็นเช่นพระพุทธเจ้า  จนไม่มีพระทัยที่จะคิดการศึกเหมือนแต่ก่อนมา  ในขณะที่พระเจ้าตากสินกำลังหมกมุ่นอยู่กับเรื่องราวในพระพุทธศาสนาอยู่นั้น  เกิดเหตุการณ์ทางการเมืองหลายเรื่องเช่น  มหาอำมาตย์นำพระยาวิเชียรปราการ  เจ้าเมืองเชียงใหม่เข้าเฝ้า  พระองค์ก็ตรัสให้พาครอบครัวกลับไปครองเชียงใหม่ตามเดิม

          ทรงตรัสให้พระเถระองค์หนึ่งไปกัมพูชา  องค์หนึ่งไปนครศรีธรรมราช  เพื่อค้นต้นฉบับคัมภีร์วิสุทธิมรรคมาทำเป็นฉบับสร้างของกรุงธนบุรี  แล้วยังแสดงความอัศจรรย์ทางการทำนายทายทักลักษณะบุคคล  โดยการนำแม่ค้าในตลาดบกและน้ำมาให้ทรงทำนายว่าจะดีร้ายประการใด  นัยว่าการทำนายของพระองค์นั้นถูกต้องเป็นส่วนมากทีเดียว

          มีเรื่องสำคัญเกิดขึ้นเรื่องหนึ่ง  กล่าวคือ  พระวอ อุปฮาดแห่งศรีสัตนาคนหุต   เกิดความขัดแย้งแตกหักกับพระเจ้ากรุงศรีสัตนาฯ  จึงพาครัวและบริวารหนีมาสร้างเมืองใหม่ที่หนองบัวลำภู  ให้ชื่อเมืองใหม่ว่า  “จำปานครขวางกาบแก้วบัวบาน”  พระเจ้าล้านช้างยกทัพมาปราบแต่พ่ายแพ้กลับไป   พระวอเกรงว่าพระเจ้าล้านช้างจะยกมาตีอีก  จึงส่งเครื่องบรรณาการไปถวายพระเจ้ากรุงอังวะ  ขอเป็นเมืองขึ้น  ให้พม่ายกทัพมาช่วยตีกรุงศรีสัตนาฯ  พระเจ้าล้านช้างทรงทราบ  จึงจัดส่งเครื่องบรรณาการไปถวายพระเจ้ากรุงอังวะขอเป็นข้าขอบขัณฑสีมา  พม่าเข้าด้วยกับเจ้าล้านช้างจึงแปรทัพเข้าตีจำปานคร  พระวอหนีลงไปถึงบ้านดอนมดแดง  และตั้งเมืองขึ้นใหม่ ณ ที่นั้น  แล้วส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย  ขอเป็นข้าขอบขัณฑสีมากรุงธนบุรี  ทรงพระราชทานสิ่งของให้  แล้วให้พระวอตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ ที่นั้น (ต่อมาคือ อุบลราชธานี) โดยมีได้สนพระทัยมากนัก

          ด้วยเหตุนี้กระมังนักประวัติศาสตร์ ไทยส่วนมากจึงเชื่อกันว่า  พระองค์ทรงเสียพระสติไปในที่สุด  เรื่องราวของพระองค์จะเป็นอย่างไร  พรุ่งนี้ตื่นแต่เช้ามาอ่านพระราชพงศาวดารฉบับนี้กันต่อนะครับ.

เต็ม อภินันท์
สถาบันกวีนิพนธ์ไทย
ณ พิพิธภัณฑ์หุานขี้ผึ้งไทย
๒๘ เมษายน ๒๕๖๒
ขอบคุณเจ้าของภาพนี้ในเน็ต


รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, น้ำหนาว, ลิตเติลเกิร์ล, ฟองเมฆ, ปลายฝน คนงาม, กลอน123, เนิน จำราย, กร กรวิชญ์, เฒ่าธุลี, ลมหนาว ในสายหมอก

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอนคุณ  "อภินันท์ นาคเกษม"
..
บ้านกลอนน้อยฯ
เลขาคุณอภินันท์
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:39047
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 202
จำนวนกระทู้: 3127



| |
Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
« ตอบ #248 เมื่อ: 31, พฤษภาคม, 2562, 02:36:08 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -

- ยกทัพไทยไปตีล้านช้าง -

พระเจ้าล้านช้างล้ำลุอำนาจ
ช่างบังอาจอวดเก่งหาเกรงไม่
ตีเมืองดอนมดแดงแล่งแตกไป
ครั้นจับได้“พระวอ”ก็ฆ่าพลัน

พระเจ้าตากสินทรงพระพิโรธ
จึงได้โปรดจัดทัพใหญ่เร่งผายผัน
ยกไปตีล้านช้างพังเวียงจันทน์
อย่าให้ทันที่พม่ามาแทรกแซง

เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
เร่งผนึกกำลังเต็มความเข้มแขง
อีกเจ้าพระสุรสีห์ที่ร้อนแรง
ทั้งสองแบ่งหน้าที่เข้าตีลาว


          อภิปราย ขยายความ........................

          เมื่อวันวานนี้เก็บความในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขามาบอกเล่าถึงตอนที่  พระวออุปราชกรุงศรีสัตนาคนหุต  บาดหมางกับพระเจ้าล้านช้างจึงพาพรรคพวกหนีมาสร้างเมืองใหม่ที่หนองบัวลำภูให้ชื่อเมืองว่า  จำปานครขวางกาบแก้วบัวบาน  พระเจ้าล้านช้างยกทัพมาปราบ  พระวอจึงขอกำลังจากพม่ามาช่วย  แต่พระเจ้าล้านช้างดักต้อนทัพพม่าเข้าเป็นพรรคพวกแล้วร่วมกันตีเมืองจำปานครแตก  พระวอพาครัวหนีไปตั้งหลักที่ดอนมดแดง  แล้วขอเป็นข้ากรุงธนบุรี  สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงโปรดให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ ดอนมดแดงนั้น  เรื่องราวจะเป็นอย่างไร  มาดูความในพระราชพงศาวดารกันต่อไปครับ


           “กองทัพพม่าตีเมืองหนองบัวลำภูได้แล้วก็เลิกทัพกลับไปล้านช้าง  พระเจ้าล้านช้างให้บำเหน็จรางวัลแก่แมงละแงแม่ทัพพม่า  และเครื่องราชบรรณาการส่งขึ้นไปถวายพระเจ้ากรุงอังวะ  แล้วขอเป็นเมืองขึ้นแก่กรุงอังวะด้วย  ครั้นแมงละแงยกทัพกลับกรุงอังวะแล้ว  พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตได้ทราบว่าพระวอไปตั้งอยู่ ณ ดอนมดแดง  จึงแต่งให้พระยาสุโภเป็นนายทัพยกพลไปตีเมืองดอนมดแดง  พระยาสุโภตีเมืองดอนมดแดงแตกและจับตัวพระวอได้ให้ประหารชีวิตเสีย  แล้วยกทัพกลับล้านช้าง


          ยามนั้นท้าวก่ำบุตรพระวอและท้าวเพี้ยทั้งปวง  ได้มีหนังสือบอกถึงพระยานครราชสีมาให้ทราบว่ากองทัพล้านช้างยกมาตีเมืองดอนมดแดงแตกและฆ่าพระวอเสียแล้ว  พวกตนมีกำลังน้อยสู้รบตอบโต้มิได้  จะขอกองทัพกรุงธนบุรียกไปตีเมืองล้านช้างแก้แค้น


          ครั้นพระยานครราชสีมาบอกลงมากรุงธนบุรี  สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงทราบก็ทรงพระพิโรธ  ดำรัสว่า  “พระวอเป็นข้าขอบขัณฑสีมาเมืองเรา  และพระเจ้าล้านช้างมิได้ยำเกรง  กระทำบังอาจมาตีบ้านเมืองและฆ่าพระวอเสียฉะนี้  ควรเราจะยกกองทัพไปตีเมืองล้านช้างให้ยับเยินตอบแทนแก้แค้นให้จงได้”


          * ครั้นถึงเดือนอ้าย ปีจอ สัมฤทธิศก  จึงมีพระราชดำรัสให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) เป็นแม่ทัพ  กับเจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) และท้าวพระยามุขมนตรีผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งในกรุงและหัวเมือง  นำพลทหาร ๒๐,๐๐๐  มีช้างม้าเครื่องสรรพาวุธพร้อมเสร็จ  ยกไปตีกรุงศรีสัตนาคนหุต


          เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก  ยกพลไปตั้งชุมนุมทัพ ณ เมืองนครราชสีมา  ให้เจ้าพระยาสุรสีห์ยกทัพลงไปกัมพูชา  สั่งให้เกณฑ์พลเมืองเขมร ๑๐,๐๐๐ ต่อเรือรบเรื่อไล่ให้มาก ๆ และให้ขุดคลองอ้อมเขาลีผียกทัพเรือขึ้นไปตามลำแม่น้ำโขง  ไปบรรจบกับทัพบกพร้อมกัน ณ เมืองล้านช้าง  เจ้าพระยาสุรสีห์รับคำสั่งแล้วรีบเร่งดำเนินการตามบัญชาทันที


          เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก แม่ทัพใหญ่ยกทัพจากเมืองนครราชสีมา  เดินทัพถึงเมืองล้านช้าง  ให้กองหน้าล่วงไปตีหัวเมืองรายทางได้หลายตำบล  ฝ่ายเจ้าพระยาสุรสีห์ เมื่อต่อเรือรบเสร็จแล้วก็เกณฑ์พลลาวเขมรทั้งปวงขุดคลองอ้อมเขาลีผีซึ่งตั้งขวางแม่น้ำอยู่นั้น   แล้วยกทัพเรือขึ้นตามคลองขุดถึงเมืองจำปาศักดิ์  เข้าตีเมืองนครพนมและหนองคายซึ่งขึ้นแก่ล้านช้างได้ทั้งสองเมือง


          พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตได้ทราบข่าวกองทัพไทยยกมาตีเมือง  จึงแต่งแสนท้าวพระยาลาวทั้งปวง  ยกออกต่อรบต้านทานเป็นหลายทัพหลายตำบล  ได้รบกันเป็นสามารถ  พลทหารลาวสู้รบต้านทานมิได้ก็แตกพ่ายหนีไปหลายครั้งหลายแห่ง


          ขณะนั้นพระเจ้าร่มขาว  เจ้าเมืองหลวงพระบางซึ่งเป็นอริอยู่กับพระเจ้าล้านช้าง  ด้วยพระเจ้าล้านช้างเคยไปเอากองทัพพม่ามาตีเมืองหลวงพระบาง  เมื่อทราบว่ากองทัพไทยยกมาตีล้านช้างก็มีความยินดีนัก  รีบแต่งขุนนางให้ยกกองทัพลงมาช่วยตีเมืองล้านช้าง  พร้อมกับบอกลงมาขอเป็นเมืองขึ้นกรุงธนบุรีด้วย


          เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกจึงให้กองพระยาเพชรบูรณ์กำกับทัพเมืองหลวงพระบางเข้าตีทางด้านเหนือเมือง  แล้วยกทัพใหญ่ไปตีเมืองพะโคและเวียงคุก  ตั้งค่ายล้อมไว้ทั้งสองเมือง  เจ้าเมืองขับพลทหารออกมาต่อรบเป็นสามารถจึงเข้าหักเอาเมืองยังมิได้”


          * ท่านผู้อ่านครับ  อ่านพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขามาถึงตรงนี้แล้วได้ความรู้ใหม่ ๆ หลายเรื่องนะครับ พระเจ้าล้านช้างแห่งนครเวียงจันทน์ขอเป็นข้าขอบขัณฑสีมาในพระเจ้ากรุงอังวะ  ข้ามสยามประเทศไปโดยมิได้เกรงสมเด็จพระเจ้าตากสินเลย  เมื่อได้พม่าหนุนหลังแล้วยิ่งเหิมเกริม  สั่งให้พระยาสุโภนำกองทัพไปตีเมืองดอนมดแดง (อุบลราชธานี)  จับตัวพระวอได้แล้วประหารเสียทันที  ทั้งที่รู้อยู่ว่าพระวอเป็นข้าของพระเจ้ากรุงธนบุรีแล้ว  ก็หาได้ยำเกรงสยามไม่


          เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกในตำแหน่งแม่ทัพใหญ่แห่งกรุงธนบุรี  รับพระราชบัญชายกทัพไปตีเมืองล้านช้าง  โดยยกไปตั้งต้นที่นครราชสีมา  แล้วแยกเป็นสองทัพ  ให้เจ้าพระยาสุรสีห์เจ้าพระยาผู้น้องยกลงไปกัมพูชา  รวบรวมกำลังพลเขมรเข้าสมทบแล้วยกขึ้นตีล้านช้าง  เจ้าพระยาสุรสีห์ต่อเรือรบได้จำนวนมากตามต้องการแล้วยกขึ้นตามลำน้ำโขง  ถึงแก่งลีผีซึ่งเป็นโขดเขาหินตั้งกั้นกลางลำน้ำโขงอยู่  เดินเรือข้ามไม่ได้  จึงสั่งให้ขุดคลองอ้อมแก่งลีผี  ยกกองทัพขึ้นไปจนได้  แล้วผ่านจำปาศักดิ์ขึ้นไปตีเมืองนครพนมและหนองคายได้ทั้ง ๒ เมือง  จึงได้ความรู้อีกอย่างหนึ่งว่าเมืองนคร พนมกับหนองคายยุคสมัยนั้นขึ้นอยู่กับอาณาจักรล้านช้าง


          พระเจ้าร่มขาวแห่งเมืองหลวงพระบางซึ่งเป็นอริแก่พระเจ้าล้านช้าง  ทราบว่าสยามยกมาตีล้านช้าง  จึงให้ขุนนางแต่งบรรณาการลงมาขอเป็นเมืองขึ้นกรุงธนบุรี  และยกกำลังลงมาช่วยไทยตีเมืองล้านช้างด้วย  เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกจึงให้กองกำลังจากหลวงพระบางเข้ากับกองทัพพระยาเพชรบูรณ์  ตีนครเวียงจันทน์ทางทิศเหนือ  เจ้าพระยาสุรสีห์เข้าตีทางทิศใต้  ส่วนแม่ทัพใหญ่ยกเข้าตีทางด้านทิศตะวันตก

          เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกจะตีล้านช้างได้สำเร็จอย่างไร  พรุ่งนี้มาอ่านกันต่อนะครับ.

เต็ม อภินันท์
สถาบันกวีนิพนธ์ไทย
ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
๒๙ เมษายน ๒๕๖๒
ขอขอบคุณเจ้าของภาพประกอบทุกภาพนี้ในเน็ต


รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, ลิตเติลเกิร์ล, กร กรวิชญ์, ปลายฝน คนงาม, กลอน123, เนิน จำราย, ฟองเมฆ, น้ำหนาว, ลมหนาว ในสายหมอก

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอนคุณ  "อภินันท์ นาคเกษม"
..
บ้านกลอนน้อยฯ
เลขาคุณอภินันท์
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:39047
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 202
จำนวนกระทู้: 3127



| |
Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
« ตอบ #249 เมื่อ: 31, พฤษภาคม, 2562, 10:10:43 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -

- พระแก้วมรกตกลับไทย -

ไทย,ลาวรบสี่เดือนเศษจึงเสร็จศึก
เจ้าลาวนึกท้อแท้ยอมแพ้อ้าว
ทิ้งเวียงจันทน์ทันทีมิอยู่ยาว
ยอมเป็นจ้าวไร้บัลลังก์จะนั่งครอง


          อภิปราย ขยายความ...................

          เมื่อวันวานนี้ได้นำพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขามาเปิดกางวางให้อ่านกันถึงตอนที่  หลังจากเจ้านครเวียงจันทน์ล้านช้างยกกำลังมาตีเมืองดอนมดแดง (อุบราชธานี)  แล้วจับตัวพระวอประหารชีวิตเสีย  สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงพระพิโรธ  โปรดให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง)  เป็นแม่ทัพใหญ่ยกไปตีล้านช้าง  ขณะที่กองทัพไทยเข้าล้อมนครเวียงจันทน์นั้น  เจ้าเมืองหลวงพระบางได้ส่งกำลังลงมาขอวามิภักดิ์และอาสาเข้าตีนครเวียงจันทน์ด้วย  เรื่องราวจะเป็นอย่างไร  วันนี้มาอ่านกันต่อครับ


          “ฝ่ายเจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) เมื่อตีเมืองหนองคายได้แล้วก็เข้าตั้งอยู่ในเมืองนี้  สั่งให้ตัดศีรษะลาวชาวเมืองเสียเป็นอันมาก แล้วให้เอาศีรษะเหล่านั้นใส่ลงในเรือ  ให้หญิงลาวพายเรือนั้นขึ้นไปร้องขายศีรษะลาวที่หน้าเมืองพะโค  ชาวเมืองเห็นดังนั้นก็มีใจย่อท้อต่อการรบ  ทัพไทยจึงเข้าหักเอาเมืองพะโคและเวียงคุกได้ทั้งสองเมือง


          จากนั้นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกจึงให้ยกทัพใหญ่เข้าตีเมืองพานพร้าว  ซึ่งตั้งอยู่ฟากฝั่งตะวันตกตรงหน้าเมืองล้านช้าง  ชาวเมืองออกต่อรบเป็นสามารถแต่ก็ต้านทานไม่ไหว  ทหารไทยพากันปีนเข้าปล้นเอาเมืองได้แล้วฆ่าลาวตายเป็นอันมาก  เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกสั่งให้ทัพเรือรับกองทัพทั้งปวงข้ามไปฟากตะวันออกพร้อมกัน  แล้วเข้าตั้งค่ายล้อมเมืองล้านช้างไว้


          พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตเกณฑ์พลทหารขึ้นประจำการรักษาหน้าที่เชิงเทินรอบเมือง  ป้องกันเมืองเป็นสามารถ  ให้เจ้านันทเสนราชบุตรขี่ช้างพลายคำเพียงอกสูงหกศอกสามนิ้ว  คุมพลทหารออกจากเมืองเข้าตีกองทัพไทยที่ตั้งค่ายล้อมด้านข้างท้ายเมืองนั้น  พลทหารไทยยกออกตีทัพเจ้านันทเสนแตกพ่ายกลับเข้าเมืองพลลาวล้มตายเป็นอันมาก  กองทัพไทยกับลาวรบกันอยู่นานถึงสี่เดือนเศษ  พระเจ้าศรีสัตนาคนหุตเห็นเหลือกำลังจะต่อรบต้านทานทัพไทยมิได้  ก็ทิ้งเมืองเสีย  พาเจ้าอินทร์เจ้าพรหมราชบุตรและข้าหลวงคนสนิทลอบลงเรือหนีไป ณ เมืองคำเกิดอันเป็นเมืองขึ้นแก่ล้านช้าง


          กองทัพไทยเข้าเมืองได้แล้วจับตัวอุปฮาด  เจ้านันทเสน  และราชบุตร  บุตรีกับวงศานุวงศ์ชะแม่สนมกำนัลและขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งปวง  กับทรัพย์สิ่งสิน  เครื่องสรรพศัสตราวุธปืนใหญ่น้อยเป็นอันมาก  เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกให้กวาดขนเข้ามาไว้ ณ เมืองพานพร้าว (ศรีเชียงใหม่) ฟากตะวันตกกับทั้งครอบครัวชาวเมืองทั้งปวง


          ในบรรดาทรัพย์สิ่งสินเหล่านั้นมีปูชนียวัตถุสำคัญสิ่งหนึ่งคือ  พระพุทธปฏิมากรแก้วมรกต  และพระบาง  ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ พระวิหารในพระราชวังพระเจ้าล้านช้าง  เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกให้อัญเชิญออกจากพระวิหารลงข้ามฟากมาประดิษฐาน ณ เมืองพานพร้าว (ศรีเชียงใหม่) ด้วย  ให้สร้างพระอารามขึ้นใหม่ที่เมืองนี้  แล้วก็แต่งให้ไทยลาวไปเกลี้ยกล่อมหัวเมืองลาวทั้งปวงฝ่ายตะวันออกได้สิ้น  แล้วบอกลงมากราบทูลให้ทรงทราบข้อราชการซึ่งตีกรุงศรีสัตนาคนหุตได้สำเร็จ  และได้องค์พระพุทธปฏิมากรแก้วมรกตกับพระบางด้วย


          สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงพระโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง  เมื่อทรงทราบความในหนังสือบอกจากเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกดังกล่าว  ดำรัสให้มีตราหากองทัพกลับพระนครทันที  เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกจึงจัดแจงบ้านเมืองโดยตั้งให้พระยาสุโภขุนนางเมืองล้านช้างอยู่รั้งเมือง  แล้วกวาดครอบครัวลาวชาวเมืองกับทั้งพระราชบุตรธิดาวงศานุวงศ์และขุนนางท้าวเพี้ยทั้งปวง พร้อมทรัพย์สิ่งของเครื่องศัสตราวุธช้างม้าเป็นอันมาก  พร้อมกับอัญเชิญพระพุทธปฏิมาแก้วมรกตกับพระบางเลิกทัพกลับกรุงธนบุรีโดยพระราชกำหนด


          กองทัพเดินทางกลับถึงเมืองสระบุรีในเดือนยี่ ปีกุน เอกศก ศักราช ๑๑๔๑ (พ.ศ. ๒๓๒๒)  จึงบอกลงมากราบทูลให้ทรงทราบ  สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงมีพระราชดำรัสให้นิมนต์สมเด็จพระสังฆราชและพระราชาคณะทั้งปวง  ขึ้นไปรับพระพุทธปฏิมากรแก้วมรกตถึงเมืองสระบุรี  แล้วให้แต่งเรือชัยกิ่งขึ้นไปรับพระพุทธรูปด้วย  ครั้นอัญเชิญพระพุทธรูปมาถึงตำบลบางธรณี  จึงเสด็จพระราชดำเนินโดยทางชลมารคขึ้นไปรับ  จัดขบวนนาวาพยุหะแห่ลงมาตราบถึงพระนคร  ทรงให้ปลูกโรงรับเสด็จพระพุทธปฏิมากรแก้วมรกตและพระบาง  อัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ ณ โรงข้างพระอุโบสถวัดแจ้งภายในพระราชวัง  ตั้งเครื่องสักการบูชามโหฬาราธิการโดยยิ่ง  แล้วมีงานมหรสพถวายพุทธสมโภชครบสามวัน  พระราชทานบำเหน็จรางวัลแก่เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก  และท้าวพระยานายทัพนายกองทั้งปวงโดยสมควรแก่ความชอบในราชการสงครามนั้น”


          * ท่านผู้อ่านครับ  พระพุทธปฏิมากรแก้วมรกตองค์นี้คือองค์เดียวกันกับที่ผมเคยกล่าวมาแล้วในตอนต้น ๆ ว่า  สร้างขึ้นที่เมืองพันพานซึ่งอยู่ในท้องที่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีในปัจจุบัน  เคยประดิษฐานอยู่ ณ เมืองไชยา  แล้วย้ายไปเมืองนครศรีธรรมราช  ต่อไปอยู่ที่นครวัดในกัมพูชา  แล้วมาอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา – กำแพงเพชร - เชียงราย –นครลำปาง -เชียงใหม่  แล้วสุดท้ายไปอยู่ที่หลวงพระบาง  แล้วงมาประดิษฐาน ณ ศรีสัตนาคนหุต  หรือนครเวียงจันทน์  จนถึงวันที่เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเข้ายึดนครเวียงจันทน์ได้  ในที่สุดพระแก้วมรกตก็กลับสู่แผ่นดินไทย


          เมืองและสถานที่ซึ่งกล่าวถึงในพระราชพงศาวดารตอนนี้คือ ลีผี นั้น  ได้แก่เขื่อนหรือแก่งลีผี  กั้นแม่น้ำโขงอยู่ตอนใต้นครจำปาศักดิ์  ในพระราชพงศาวดารนี้กล่าวว่าเป็นภูเขากั้นลำน้ำโขง  เจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) เกณฑ์เขมรลาวให้ช่วยกันขุดทำลายภูเขา  เพื่อให้กองทัพเรือเดินทางขึ้นสู่ล้านช้างได้เมืองพานพร้าวที่อยู่ตรงกันข้ามกับนครเวียงจันทน์  ซึ่งเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยึดเป็นที่พักทัพก่อนและหลังยึดนครเวียงจันทน์นั้น  ปัจจุบันคืออำเภอศรีเชียงใหม่  จังหวัดหนองคาย  เมืองนี้ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวล้านนาที่อพยพไปจากเมืองพร้าว-เชียงใหม่

          เมื่อ ยึดล้านช้างได้แล้วเรื่องราวจะเป็นอย่างไรต่อไป  ดูความในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาต่อในวันพรุ่งนี้ครับ.

เต็ม อภินันท์
สถาบันกวีนิพนธ์ไทย
ณ พิพิธภัณฑ์หั่นขี้ผึ้งไทย
๓๐ เมษายน ๒๕๖๒
ขอขอบคุณเจ้าของภาพประกอบทุกภาพนี้ในเน็ต


รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, กร กรวิชญ์, ลิตเติลเกิร์ล, ฟองเมฆ, น้ำหนาว, ลมหนาว ในสายหมอก, ชลนา ทิชากร, ปลายฝน คนงาม, กลอน123

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอนคุณ  "อภินันท์ นาคเกษม"
..
บ้านกลอนน้อยฯ
เลขาคุณอภินันท์
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:39047
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 202
จำนวนกระทู้: 3127



| |
Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
« ตอบ #250 เมื่อ: 01, มิถุนายน, 2562, 11:26:07 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -

- มหาดากรุงเก่าเป็นกบฏ -

เกิดกบฏหลวงชีที่กรุงเก่า
“มหาดา”อยากเป็นเจ้าศาสน์เศร้าหมอง
พระเจ้าตากสินสั่งสึกจำจอง
พร้อมพวกพ้องถูกประหารหมดทันที

          อภิปราย ขยายความ....................

          เมื่อวันวานนี้ได้นำพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขามาวาง  เปิดกางให้อ่านกันถึงตอนที่สมเด็จพระเจ้าตากสินตรัสให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) เป็นแม่ทัพยกไปตีกรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้าง (หรือเวียงจันทน์ในปัจจุบัน)  สาเหตุสำคัญก็เพราะเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตยกทัพมาตีเมืองดอนมดแดงและฆ่าอุปฮาดซึ่งเป็นข้าขอบขัณฑสีมากรุงธนบุรี  เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยกทัพไปทางบก  เจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) เกณฑ์พลทหารเขมรยกไปทางน้ำ  ในที่สุดก็ยึดกรุงศรีสัตนาคนหุตได้  เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกอัญเชิญพระพุทธปฏิมากรแก้วมรกตและพระบางจากล้านช้างมากรุงธนบุรี  เรื่องราวในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาจะเป็นอย่างไร  เชิญอ่านกันต่อไปครับ


           “ในปีกุน จุลศักราช ๑๑๔๑ (พ.ศ. ๒๓๒๒) นั้น  มีเรื่องร้ายเกิดขึ้นที่กรุงเก่า  กล่าวคือ  พระมหาดา วัดพระรามกรุงเก่า  ไม่ตั้งอยู่ในพระธรรมวินัย  ตั้งตัวเป็นเกจิอาจารย์  โกหกหลอกลวง  แจกน้ำมนต์แก่ประชาชน  มีผู้คนเคารพนับถือศรัทธาเข้าเป็นพรรคพวกมาก  จึงคิดกำเริบเป็นกบฏต่อแผ่นดิน  แต่งตั้งชาวชนบทเป็นขุนนางทุกตำแหน่ง  ขาดเพียงตำแหน่งที่พระยายมราชเท่านั้น  ผู้รักษากรุงเก่าจึงบอกลงมากราบทูลให้ทรงทราบ

          เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงทราบแล้วจึงให้ข้าหลวงขึ้นไปจับตัวพระมหาดากับพรรคพวกทั้งหมด  เอาตัวลงมากรุงธนบุรี  ให้พระมหาดาผลัดผ้าเหลืองเป็นผ้าขาวแล้วลงพระราชอาชญาเฆี่ยนทั้งพวกจำครบไว้  ทรงสอบสวนได้ความแน่ชัดว่ามหาดาคิดมิชอบ  แต่งตั้งขุนนางทุกตำแหน่งเว้นไว้แต่ตำแหน่งพระยายมราชเท่านั้น

          ขณะนั้นพระยายมราชแขกเป็นโทษต้องพระราชอาชญาอยู่ในเรือนจำ  จึงดำรัสว่า  ที่พระยายมราชของมันยังมิได้ตั้งขาดอยู่  ให้เอาพระยายมราชของเราไปใส่ให้มันจงครบตำแหน่งขุนนาง  แล้วให้เอาพระยายมราชและอ้ายดากบฏกับทั้งสมัครพรรคพวกทั้งปวงซึ่งแต่งตั้งเป็นขุนนางนั้น  ไปประหารชีวิตเสียที่หน้าป้อมวิชัยประสิทธิ์ตัดศีรษะเสียบไว้ทั้งสิ้น


          ศักราช ๑๑๔๒  ทรงพระกรุณาให้พระยาคำแหงสงคราม  เจ้าเมืองนครราชสีมาลงมารับราชการ ณ กรุงธนบุรี
          แล้วโปรดให้หลวงนายฤทธิ์  หลานเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก  เป็นพระยาสุริยอภัย  ขึ้นไปครองเมืองนครราชสีมาแทน  
          ให้นายจ่าเรศ  น้องชายพระยาสุริยอภัย เป็นพระสุริยอภัยปลัดเมือง  
          ให้นายเล่ห์อาวุธ  น้องชายคนเล็กของพระยาสุริยอภัย  เป็นหลวงนายฤทธิ์  รับราชการสืบไป

          วันอังคาร ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๕ ปีเดียวกันนั้น  มีโจทก์มาฟ้องหลายคนว่า  พระพิพลธรรมวัดโพธารามล่วงปาราชิกข้ออทินนาทาน  พระธรรมโคดม  พระอภัยสารทวัดหงส์  พระพรหมมุนีวัดบางยี่เรือ  ล่วงปาราชิกข้อเมถุนกับศิษย์ทาง
เว็จมรรค  จึงดำรัสให้พระยาพระเสด็จชำระความ  เมื่อได้ความเป็นสัตย์แล้วจึงให้สึกเสียทั้งหมด
          แต่พระธรรมโคดม  กับ  พระอภัยสารท นั้น  กลับเข้าบวชเข้าเป็นเถร
          สำหรับนายอินพิมลธรรมนั้นโปรดตั้งให้เป็น  หลวงธรรมรักษา  เจ้ากรมสังฆการีขวา
          นายอินทรพรหมมุนี เป็นหลวงธรรมาธิบดี  เจ้ากรมสังฆการีซ้าย  พระราชทานภรรยาหลวงราชมนตรีผู้ถึงแก่กรรมให้เป็นภรรยาทั้งสองคน  
          แล้วโปรดให้พระธรรมเจดีย์วัดนาค  เลื่อนเป็นพระพิมลธรรมมาอยู่ครองวัดโพธารามสืบไป
          โปรดให้พระญาณสมโพธิวัดสลัก  เลื่อนเป็นพระธรรมเจดีย์

          วันเสาร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ปีเดียวกันนั้น  สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเครื่องใหญ่แล้วส่องพระฉายทอดพระเนตรเห็นพระเกศาเหนือพระกรรณเบื้องซ้ายเหลือยู่เส้นหนึ่ง  ทรงพระพิโรธเจ้าพนักงานชาวพระภูษามาลาซึ่งทรงเครื่องนั้นว่า  แกล้งทำประจานพระองค์เล่น  ดำรัสถามพระเจ้าลูกเธอกรมขุนอินทรพิทักษ์ว่า  โทษคนเหล่านี้จะเป็นประการใด  กรมขุนอินทรพิทักษ์กราบทูลว่า  เห็นจะไม่พิจารณาดูทั่ว  พระเกศาจึงเหลือหลงอยู่เส้นหนึ่ง  ซึ่งจะแกล้งทำประจานพระองค์เล่นนั้นเห็นจะไม่เป็น ๆ แท้

          ฟังดังนั้นก็ทรงพระโกรธพระเจ้าลูกเธอเป็นกำลัง  ดำรัสว่า  มันเข้ากับผู้ผิดกล่าวแก้กัน  แกล้งให้เขากระทำประจานพ่อดูเล่นได้ไม่เจ็บแค้นด้วย  จึงให้ลงพระราชอาชญาเฆี่ยนพระเจ้าลูกเธอกรมขุนอินทรพิทักษ์ร้อยทีแล้วจำไว้  ให้เอาตัวชาวภูษามาลาซึ่งทรงเครื่องทั้งสองคน  กับทั้งพระยาอุทัยธรรมจางวาง  ว่าไม่ดูแลตรวจตรากำกับเอาไปประหารชีวิตเสียทั้งสามคน

          ต่อมาอีก ๖ วันก็ดำรัสให้รื้อตำหนักพระเจ้าลูกเธอกรมขุนอินทรพิทักษ์แล้วริบเครื่องยศ  ให้ถอดเสียจากยศ  ครั้นนานมาทรงหายพระโกรธแล้วจึงโปรดให้พ้นโทษ  พระราชทานเครื่องยศให้คงยศดังเก่า”

          * อ่านพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขามาถึงตรงนี้แล้วจะเห็นได้ว่า  ได้เกิดเรื่องไม่ดีไม่งามขึ้นในวงการสงฆ์ไทยหลายประการ  เริ่มแต่พระมหาดาแห่งกรุงเก่า  เป็นเกจิอาจารย์หลอกลวงชาวบ้าน  กำเริบเสิบสานถึงกับเป็นกบฏต่อแผ่นดิน  บังอาจแต่งตั้งชาวบ้านดำรงตำแหน่งขุนนางต่าง ๆ  สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงทราบ  จึงตรัสให้ไปเอาตัวลงมา  ให้ผลัดผ้าเหลืองเป็นผ้าขาวแล้วทรงให้เฆี่ยนจำครบไว้  ต่อมาจึงสั่งประหารชีวิต  ตัวศีร์ษะเสียบประจานที่หน้าป้อมวิชัยประสิทธิ์  นี่เรื่องหนึ่ง

          ทรงแต่งตั้งหลานเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก  เป็นพระยาสุริยอภัยขึ้นไปครองเมืองนครราชสีมา  แทนพระยาคำแหงพระราม  ที่ทรงเรียกเข้ามารับราชการในกรุงธนบุรี  และในเวลานั้นมีโจทก์มาฟ้องว่า  พระพิมลธรรมวัดโพธารามต้องอาบัติปาราชิกข้ออทินนาทาน  พระธรรมโคดม  พระอภัยสารทวัดหงส์  พระพรหมมุนีวัดบางยี่เรือต้องอาบัติปาราชิก โดยเสพสังวาสทางทวารหนักของศิษย์  ตรัสให้ชำระความแล้วเป็นความจริงตามโจทก์  จึงให้สึกเสียทั้งหมด  

          พระธรรมโคดมกับพระอภัยสารท  กลับบวชเข้าเป็นเถร  คือนุ่งขาวห่มขาว  รักษาศีล ๕ ศีล ๘ ต่อไป  
          ส่วนนายอิน  อดีตพระพิมลธรรมนั้น  ทรงตั้งให้เป็นหลวงธรรมรักษา  เจ้ากรมสังฆการีขวา
          นายอิน  อดีตพระพรหมบุรีนั้น  ตั้งให้เป็นหลวงธรรมาธิบดี  เจ้ากรมสังฆการีซ้าย  และยังพระราชทานหญิงหม้าย ๒ นาง  อดีตภรรยาหลวงราชมนตรี  ให้เป็นภรรยาทั้งสองคน

          เรื่องเล็กที่กลายเป็นเรื่องใหญ่คือ  นายภูษามาลา  ตัดพระเกศาพระเจ้าตากสินไม่เรียบร้อย  มีเส้นพระเกศาหลงเหลืออยู่เส้นเดียว  ทรงพระพิโรธจนถึงกับให้ประหารเสียทั้งสามคน  เรื่องนี้นักประวัติศาสตร์ชี้ว่า  ทรงเริ่มมีพระอาการฟั่นเฟือนไปแล้ว

          พรุ่งนี้มาอ่านความต่อไปครับ


เต็ม อภินันท์
สถาบันกวีนิพนธ์ไทย
ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ขอขอบคุณเจ้าของภาพประกอบทุกภาพนี้ในเน็ต


รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, ลมหนาว ในสายหมอก, กร กรวิชญ์, ลิตเติลเกิร์ล, ฟองเมฆ, เนิน จำราย, น้ำหนาว, ชลนา ทิชากร, ปลายฝน คนงาม

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอนคุณ  "อภินันท์ นาคเกษม"
..
บ้านกลอนน้อยฯ
เลขาคุณอภินันท์
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:39047
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 202
จำนวนกระทู้: 3127



| |
Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
« ตอบ #251 เมื่อ: 02, มิถุนายน, 2562, 11:53:40 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -


- ทรงมี “สัญญาวิปลาส” -

เกิดเหตุการณ์วุ่นวายในเขมร
จึงทรงเกณฑ์กองทัพอย่างเร็วรี่
ยกไปปราบกลุ่มกบฏอย่าเหลือมี
เขมรดีเลี้ยงไว้ไม่ฆ่าฟัน

เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
แม่ทัพคึกฤทธิ์เดชวิเศษสรรพ์
“เจ้าฟ้าทะละหะมู”คนรู้ทัน
จึงหวาดหวั่นพาครัวตัวหนีไป

ฝ่ายกรุงธนบุรีมีเรื่องมาก
พระเจ้าตากสินคิดผิดยิ่งใหญ่
ด้วยสัญญาวิปลาสเป็นราชภัย
สำคัญในตนว่า “โสดาบัน”


          อภิปราย ขยายความ.............................

          เมื่อวันวานนี้ได้นำพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา  มาวางกางให้อ่านกันถึงตอนที่สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเครื่องแล้วส่องกระจก  ทอดพระเนตรเห็นพระเกศาเหนือพระกรรณเบื้องซ้าย ๑ เส้น  ทรงพระพิโรธว่าพนักงานภูษามาลาแกล้งทำประจานพระองค์  ทรงสั่งให้ประหารชีวิตเสีย  เรื่องราวต่อจากนั้นจะเป็นอย่างไร วันนี้มาอ่านกันต่อไปครับ


           “ในปีชวด ศักราช ๑๑๔๒ นั้น  เกิดการจลาจลขึ้นในประเทศกัมพูชา  ต้นเหตุคือ เจ้าฟ้าทะละหะ(มู)  กับพระยากลาโหม(ชู)  พระยาเดโช(แทน)  พระยาแสนท้องฟ้า(พาง)  สี่คนคบคิดกันเป็นกบฏ  คุมสมัครพรรคพวกเข้าจับนักองค์รามาธิบดี (นักองค์นนท์) เจ้ากรุงกัมพูชา  ซึ่งตั้งอยู่ ณ เมืองพุทไธเพชรนั้นฆ่าเสีย
           แล้วไปรับเอาราชบุตรธิดานักพระองค์ตน ผู้เป็นพระอุทัยราชาซึ่งถึงพิราลัยแล้วนั้น  มาจากเมืองบาพนม  เป็นชายสอง  คือ  พระองค์เอง  พระองค์มิน  เป็นหญิงสองคือ  พระองค์อี  พระองค์เภา  เชิญมาไว้ ณ เมืองพุทไธเพชร
           แล้วเจ้าฟ้าทลหะก็ตั้งตัวเป็นเจ้าฟ้ามหาอุปราช
           พระยากลาโหมเป็นสมเด็จเจ้าพระยา  
           พระยาเดโชเป็นพระองค์พระยา
           พระยาแสนท้องฟ้าเป็นพระยาจักรี

           นั่งเมืองรักษาเจ้าสี่องค์ว่าราชการแผ่นดิน


           พระยายมราชและพระยาเขมรทั้งปวงซึ่งเป็นข้านักพระองค์รามาธิบดี (นักองค์นนท์) จึงพากันหนีเข้ามา ณ เมืองปัตบอง (พระตะบอง) แล้วบอกข้อราชการที่บ้านเมืองเกิดการจลาจลนั้นมายังกรุงธนบุรี  


           สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงทราบดังนั้นจึงดำรัสให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) เป็นแม่ทัพถืออาญาสิทธิ  
           ให้เจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) เป็นแม่ทัพหน้า
           พระเจ้าลูกเธอกรมขุนอินทรพิทักษ์  กับพระยากำแหงสงครามเจ้าเมืองนครราชสีมาเก่าเป็นเกียกกายกองหนุน
           พระยานครสวรรค์เป็นยกกระบัตรทัพ
           พระเจ้าหลานเธอกรมขุนรามภูเบศเป็นทัพหลัง
           พระยาธรรมาเป็นกองลำเลียง
           ทั้งหกทัพเป็นพล ๑๐,๐๐๐ ยกไปตีเมืองพุทไธเพชร  จับเจ้าฟ้าทลหะและขุนนางพรรคพวกซึ่งเป็นกบฏนั้นฆ่าเสียให้สิ้น  ปราบแผ่นดินให้ราบคาบ แล้วให้พระเจ้าลูกเธอกรมขุนอินทรพิทักษ์อยู่ครองกรุงกัมพูชาสืบไป


          เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกน้อมรับพระบัญชาแล้วยกทัพขึ้นไปทางเมืองนครราชสีมา  และเดินทัพต่อไปกัมพูชา  กองทัพใหญ่ไปตั้ง ณ เมืองเสียมราบ
           ให้กองทัพเจ้าพระยาสุรสีห์ยกไปทางเมืองพระตะบองฟากทะเลสาบข้างตะวันตก
           เอากองทัพเขมรพระยายมราชและพระยาเขมรทั้งปวงยกออกไปตีเมืองพุทไธเพชร
           ทัพพระเจ้าลูกเธอกรมขุนอินทรพิทักษ์และพระยากำแหงสงครามยกหนุนออกไป
           และให้ทัพพระเจ้าหลานเธอกรมขุนรามภูเบศและพระยาธรรมายกไปทางฟากทะเลสาบฝ่ายตะวันตก  ตั้งอยู่ ณ เมืองกำพงสวาย


          ฝ่ายกบฏกัมพูชา  คือ  เจ้าฟ้าทลหะผู้ตั้งตัวเป็นเจ้าฟ้ามหาอุปราช   พระยากลาโหมผู้ตั้งตัวเป็นสมเด็จเจ้าพระยา  พอรู้ว่ากองทัพไทยยกมาตีกัมพูชาก็ตกใจกลัวมิได้ตั้งอยู่สู้รบ  พาครอบครัวหนีลงไปอยู่ ณ เมืองพนมเปญ  แล้วบอกขอกองทัพญวนเมืองไซ่ง่อนมาช่วย  ทัพญวนยกมาเมืองพนมเปญพร้อม ๆ กับที่ทัพเจ้าพระยาสุรสีห์ยกไปถึงพนมเปญเช่นกัน  แล้วต่างก็ตั้งค่ายรอกันอยู่โดยที่ยังมิได้รบกัน  กองทัพพระเจ้าลูกเธอกรมขุนอินทรพิทักษ์ก็ยกหนุเข้าไปตั้งอยู่ที่เมืองพุทไธเพชร

          ขณะที่กองทัพไทยยกไปตีกัมพูชาและทัพหน้ากำลังประจันหน้าทัพญวนนั้น  ทางกรุงธนบุรีก็เกิดเหตุวุ่นวายขึ้น  เหตุเพราะสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงนั่งพระกรรมฐานเสียพระสติ  พระจริตก็ฟั่นเฟือนไป  ฝ่ายพุทธจักรและอาณาจักรก็แปรปรวนวิปริตมิได้ปกติเหมือนแต่ก่อน  ปีศักราช ๑๑๔๓ ตรงกับพุทธศักราช ๒๓๒๔ นั้น  ทรงให้แต่งทูตานุทูตจำทูลพระราชสาส์น  คุมเครื่องราชบรรณาการลงสำเภาออกไปเมืองจีนเหมือนแต่ก่อนมา  โดยในปีนี้โปรดให้หลวงนายฤทธิเป็นอุปทูตออกไปด้วย  ครั้นส่งทูตานุทูตออกไปแล้ว ถึง ณ วันอาทิตย์ แรม ๖ ค่ำ เดือน ๙  สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จออก ณ โรงพระแก้ว  ให้ประชุมพระราชาคณะพร้อมกันแล้วดำรัสถามพระราชาคณะว่า  “พระสงฆ์บุถุชนจะไหว้นบเคารพคฤหัสถ์ซึ่งเป็นพระโสดาบันบุคคลนั้น  จะได้หรือมิได้ประการใด”  เหตุที่ทรงดำรัสถามเช่นนั้นก็เพราะในยามนั้นทรงมีพระสติฟั่นเฟือนถึงสัญญาวิปลาส  สำคัญพระองค์ว่าได้บรรลุพระโสดาปัตติผลแล้ว  พระราชาคณะที่มีสันดานโลเลมิได้ถือมั่นในพระบาลีบรมพุทโธวาท  และเกรงพระราชอาชญาประกอบกับเป็นคนประจบประแจง  จึงประสมประสานเจรจาให้ชอบพระราชอัธยาศัยพากันถวายพระพรว่า  “สงฆ์บุถุชนควรจะไหว้นบคฤหัสถ์ซึ่งเป็นโสดาบันนั้นได้”

          * ท่านผู้อ่านครับ  ถึงตรงนี้เป็นความสำคัญที่นักประวัติศาสตร์ไทยส่วนมากฝังความเชื่อลงในความรู้ของคนไทยยุคหลัง ๆ ว่า  สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเสียพระสติจนสร้างความวุ่นวายให้เกิดแก่พุทธจักรและราชอาณาจักร  แล้วที่สุดก็ทรงถูกสำเร็จโทษ  ความในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาและฉบับอื่น ๆ กล่าวตรงกัน  มีรายละเอียดอย่างไร  อ่านกันต่อไปในวันพรุ่งนี้ครับ

เต็ม อภินันท์
สถาบันกวีนิพนธ์ไทย
ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
๒ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ขอขอบคุณเจ้าของภาพประกอบทุกภาพนี้ในเน็ต


รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, ลิตเติลเกิร์ล, ฟองเมฆ, กลอน123, น้ำหนาว, ลมหนาว ในสายหมอก, ชลนา ทิชากร, เนิน จำราย, กร กรวิชญ์, ปลายฝน คนงาม, ก้าง ปลาทู

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอนคุณ  "อภินันท์ นาคเกษม"
..
บ้านกลอนน้อยฯ
เลขาคุณอภินันท์
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:39047
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 202
จำนวนกระทู้: 3127



| |
Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
« ตอบ #252 เมื่อ: 03, มิถุนายน, 2562, 10:11:02 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -


- พระสติฟั่นเฟือน -

สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงวิปลาส
สำคัญพลาดผิดหลักปักไม่มั่น
คิดว่าเป็น“อริยะ”คุณอนันต์
สงฆ์ทั่วกันกราบไหว้ไม่ผิดธรรม

พระสังฆราชตรัสค้านทรงพิโรธ
สั่งลงโทษถอดถอนทิ้งตกต่ำ
เฆี่ยนตีพระหลายร้อยพลอยรับกรรม
เกิดระส่ำสับสนกลางสงฆ์ไทย


          อภิปราย ขยายความ.......................

          เมื่อวันวานนี้ได้นำพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขามาวาง  เปิดกางให้อ่านถึงตอนที่  เกิดความวุ่นวายขึ้นในเขมร  โดยเจ้าฟ้าทะละหะ(มู)กับพวกเป็นกบฏ  สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) เป็นแม่ทัพยกไปปราบ  และในขณะที่เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกำลังดำเนินการปราบเขมรอยู่นั้น  ทางกรุงธนบุรีก็เกิดความวุ่นวายขึ้น  ด้วยสมเด็จพระเจ้าตากสินบำเพ็ญพระกรรมฐานจนเสียพระสติไป  เรื่องราวจะเป็นอย่างไร  ดูความในพระราชพงศาวดารกันต่อไปครับ

          พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขากล่าวว่า  สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงถามพระเถรานุเถระในที่ประชุมว่า  พระภิกษุปุถุชนจะกราบไหว้คฤหัตถ์ที่เป็นพระโสดาบันบุคคลได้หรือไม่  พระเถระที่ประจบประแจงในที่ประชุมนั้นมี  พระพุทธโฆษาจารย์วัดบางหว้าใหญ่  พระโพธิวงศ์  พระรัตนมุนีวัดหงส์  เป็นต้น  พากันถวายพระพรว่า  “สงฆ์บุถุชนควรจะไหว้นบคฤหัสถ์ซึ่งเป็นโสดานั้นได้”     แต่มีพระภิกษุที่ยึดมั่นในพระพุทธพจน์  คือ  สมเด็จพระสังฆราชวัดบางว้าใหญ่  พระพุฒาจารย์วัดบางหว้าน้อย  พระพิมลธรรมวัดโพธาราม   ๓ องค์นี้พากันถวายพระพรว่า  “ถึงมาตรว่าคฤหัสถ์เป็นพระโสดาก็ดี  แต่เป็นหินเพศต่ำ  อันพระสงฆ์ถึงเป็นบุถุชน  ก็ตั้งอยู่ในอุดมเพศอันสูง  เหตุทรงผ้ากาสาวพัสตร์และจตุปาริสุทธิศีลอันประเสริฐ  ซึ่งจะนบไหว้คฤหัสถ์อันเป็นพระโสดาบันนั้นก็บมิควร”

          สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงฟังดังนั้นก็ทรงพระพิโรธ  ตรัสว่าเสียงข้างมากกล่าวว่าควร  แต่สามองค์นี้กลับกล่าวไม่ควร  เป็นการกล่าวผิดพระบาลี  แล้วดำรัสให้พระโพธิวงศ์  กับ  พระพุทธโฆษาจารย์  เอาตัวสมเด็จพระสังฆราช  พระพุฒาจารย์  พระพิมลธรรม  กับพระฐานานุกรมของพระเถระทั้งสามพร้อมด้วยพระเปรียญศิษยานุศิย์ทั้งหมดไปลงทัณฑ์ ณ วัดหงส์  พระราชาคณะนั้นให้ตีหลังองค์ละร้อยที  พระฐานานุกรมและพระเปรียญให้ตีหลังองค์ละห้าสิบที  ปรากฏว่ามีพระภิกษุซึ่งอยู่ในศีลสัตย์ว่าพระภิกษุบุถุชนไม่ควรไหว้คฤหัสถ์ที่เป็นพระโสดาบันนั้นทั้งสามอารามรวมแล้วมีถึงห้าร้อยองค์ล้วนถูกลงทัณฑ์ตีหลังทั้งสิ้น  เมื่อตีหลังครบแล้วก็ให้ทั้งหมดไปขนอาจมและชำระเว็จกุฎีทั้งหมดในวัดหงส์  และให้ถอดสมณะฐานันดรศักดิ์ลงเป็นอนุจรทั้งสิ้น

          จากนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินก็ทรงตั้งให้พระโพธิวงศ์เป็นสมเด็จพระสังฆราช  พระพุทธโฆษาจารย์เป็นพระวันรัตน  มหาภัยพิบัติจึงบังเกิดแก่พระพุทธศาสนาควรจะสังเวชยิ่งนัก  บรรดาชนที่เป็นสัมมาทิฐิถือมั่นในพระรัตนตรัยทั้งหลายล้วนสลดจิตคิดสงสารพระพุทธศาสนาและพระภิกษุสงฆ์ผู้บริสุทธิ  บางคนถึงกับขอรับโทษแทนให้ตีหลังตนเองก็มี  ยามนั้นเสียงร่ำไห้จึงระงมไปทั้งเมือง  บรรดาพระภิกษุมิจฉาทิฐิอลัชชีที่ว่าพระภิกษุบุถุชนกราบไหว้คฤหัสถ์ที่เป็นพระโสดาบันได้นั้น  ก็เข้าเฝ้ากราบถวายบังคมหมอบกรานเหมือนอย่างข้าราชการฆราวาส  สมเด็จพระเจ้าตากสินดำรัสให้คุมตัวพระเถระทั้งสามองค์ที่ถูกถอดนั้นไว้ที่วัดหงส์อย่าให้กลับไปวัดเดิมของตนได้

          ตรัสให้พระญาณไตรโลกวัดเลียบไปอยู่ครองวัดโพธาราม  แล้วตรัสให้พระรัตนมุนีขนานพระนามของพระองค์เสียใหม่  พระรัตนมุนีจึงขนานพระนามให้ต้องพระอัธยาศัยว่า  “สมเด็จพระสยามยอดโยคาวจร  บวรพุทธางกูร  อดูลยขัตติยราช ว งศ์ ดำรงพิภพกรุงเทพมหานคร  บวรทวาราวดีศรีอยุธยา  มหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย์  อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน”  ทรงชื่นชอบพระนามใหม่นี้เป็นอย่างมาก

          ท่านผู้อ่านครับ  ผมดูความตรงนี้ในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีฉบับหมอบรัดเลแล้วก็เห็นตรงกัน  แม้ในฉบับอื่น ๆ ก็ได้สาระสำคัญตรงกัน  มีคำที่ควรขยายความตรงนี้คือคำว่า  พระโสดาบัน  หรือเรียกสั้นว่า  โสดา  คำนี้เป็นชื่อของพระอริยบุคคลชั้นต้น  ซึ่งแปลว่า  “ผู้ไปจากกิเลส”  คือสามารถตัดกิเลสอย่างหยาบได้แล้ว ๓ ข้อ  ได้แก่  สักกายทิฏฐิ  ความเห็นว่าเป็นตัวเป็นตนแล้วยึดถือมั่นอยู่ในวัตถุบุคคล  ตัวตนเราเขา ๑    วิจิกิจฉาความสงสัยในพระรัตนตรัย ๑   สีลัพพตปรามาส  ความยึดถือมั่นในศีลพรต  คือถือตาม ๆ กันมาอย่างงมงาย  เช่นว่าคนรักษาศีลแล้วจะมีความขลังความศักดิ์สิทธิ์  สามารถบันดาลสิ่งที่ตนปรารถนาได้ ๑   ผู้ที่เป็นพระโสดาบันจะต้องละกิเลสเบื้องต่ำ ๓ ข้อนี้ได้

          กิเลส ๓ ข้อนี้มีชื่อเรียกว่า  สังโยชน์  แปลว่า  สิ่งที่ผูกมัดรัดรึงจิตใจสัตว์ให้ติดให้ข้องอยู่ในชาติภพ  เป็นความรู้สึกที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน

          พระอริยะเจ้าในพุทธศาสนานี้มี ๔ จำพวก  คือ  พระโสดาบัน ๑   พระสกทาคามี ๑   พระอนาคามี ๑   พระอรหันต์ ๑   พระโสดาบันเป็นจำพวกแรก  ท่านแปลตามศัพท์ว่า  ผู้เข้าสู่กระแสพระนิพพาน  หมายความว่าผู้ที่บรรลุ  หรือ  สำเร็จเป็นพระโสดาบันแล้วจะเกิดอีกเพียง ๑ ครั้ง (เอกพีชี) ๓ ครั้ง (โกลังโกละ) และ ๗ ครั้ง (สัตตักขัตตุปรมะ)  ก็จะบรรลุพระอรหันต์ได้นิพพานไปเลย  พวกนี้จะไม่มีโอกาสตายไปเกิดในนรกหรือในอบายภูมิเป็นอันขาด  ดังนั้นผู้ที่บรรลุหรือสำเร็จพระโสดาบันจึงถือว่าเป็นพระอริยะ  แปลว่าผู้ประเสริฐ (ผู้ไปจากกิเลสเพียงดังว่าข้าศึก)  สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงบำเพ็ญพระกรรมฐานจนกรรมฐานแตก  มีสติฟั่นเฟือน  เข้าพระทัยว่าพระองค์บรรลุหรือสำเร็จเป็นพระโสดาบันแล้ว  และเห็นว่าพระภิกษุที่เป็นปุถุชน คือผู้มีกิเลสหนาแน่นจะต้องเคารพนบไหว้คฤหัสถ์ที่เป็นพระโสดาบันได้

          ** ท่านผู้อ่านครับเรื่องนี้ยังไม่สิ้นกระแสความ  พรุ่งนี้มาอ่านกันต่อนะครับ.

เต็ม อภินันท์
สถาบันกวีนิพนธ์ไทย
ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
๓ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ขอขอบคุณเจ้าของภาพประกอบในเน็ต


รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, ฟองเมฆ, ลิตเติลเกิร์ล, กร กรวิชญ์, ลมหนาว ในสายหมอก, น้ำหนาว, กลอน123, ปลายฝน คนงาม, เนิน จำราย, ก้าง ปลาทู

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอนคุณ  "อภินันท์ นาคเกษม"
..
บ้านกลอนน้อยฯ
เลขาคุณอภินันท์
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:39047
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 202
จำนวนกระทู้: 3127



| |
Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
« ตอบ #253 เมื่อ: 06, มิถุนายน, 2562, 12:05:03 AM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -

- ชาวกรุงเก่าเป็นกบฏ -

ในยามนั้นบ้านเมืองมีเรื่องวุ่น
พวก“เจ้าขุน”ช่างประจบต่างเป็นใหญ่
เพ็ดทูลฟ้องใส่ความเอาตามใจ
แม้เจ้าจอมข้างในไม่เว้นทัณฑ์

ข้าราชการซื่อสัตย์ประชาราษฎร์
เดือดร้อนขาดที่พึ่งจึงโศกศัลย์
ชาวกรุงเก่ามีนาม“บุนนาก”นั้น
ทนอดกลั้นมิได้ยอมตายดี

พาชาวบ้านปล้นจวนเจ้าเมืองหมด
เป็นกบฏตั้งใจสู้ไม่หนี
ได้กำลัง “พระยาสรรค์บุรี”
ยกเข้าตีกรุงธนอย่างมั่นใจ


          อภิปราย ขยายความ......................

          เมื่อวันวานนี้ได้นำพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาบางตอนมาวางให้อ่าน  และแทรกความเห็นลงไปเพื่อความเข้าใจชัดเจนขึ้น  สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงชื่นชอบพระนามใหม่ที่พระรัตนมุนีขนานพระนามให้ใหม่ว่า  “สมเด็จพระสยามยอดโยคาวจร บวรพุทธางกูร อดูลยขัตติยราชวงศ์ ดำรงพิภพกรุงเทพมหานคร บวรทวาราวดีศรีอยุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานี บุรีรมย์อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน”  แต่ยังมิได้ทรงประกาศใช้  เพราะทรงมีพระสติฟั่นเฟือนเสียก่อน  วันนี้มาดูความกันต่อไปครับ

          * คำว่าหินเพศ  แปลว่าเพศที่ต่ำทราม  คำถวายพระพรของสมเด็จพระสังฆราช  พระพุฒาจารย์  และ  พระพิมลธรรม นั้นถูกต้องตามพระพุทธพจน์แล้ว  เพราะโดยความเป็นจริงแล้ว  พระอริยบุคคล  มีพระโสดาบัน  พระสกทาคามี  พระอนาคามี  และ  พระอรหันต์  แม้กิเลสจะเบาบางและถึงหมดกิเลสแล้ว  หากครองเพศเป็นฆราวาสหรือคฤหัสถ์  ก็ถือว่ามีเพศต่ำ  ส่วนปุถุชนผู้ยังมีกิเลสหนา  แต่ถ้าครองเพศเป็นพระภิกษุนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์รักษาศีลบริสุทธิ์  ก็ถือว่าเป็นอุดมเพศ  คือเพศสูงกว่าฆราวาส  บุคคลที่อยู่ในเพศสูงจึงไม่ควรเคารพนบไหวผู้ที่อยู่ในเพศต่ำได้

          ในสมัยพุทธกาลนั้นปรากฏว่า  มีผู้สำเร็จพระอรหันต์แต่ยังมิได้ถือเพศเป็นพระภิกษุ  ท่านถูกโคขวิดตายถึงอนุปาทิเสสนิพพานในที่สุด  พระพุทธเจ้าตรัสว่า  พระอรหันต์ไม่อาจครองเพศฆราวาสได้เกิน ๗ วัน  เพราะเพศฆราวาสเป็นหินเพศ คือเพศต่ำ (เลว) พระอรหันต์ฆราวาสจึงต้องนิพพานภายในเวลา ๗ วัน  โดยไม่อาจอยู่นานเกินกว่านั้นได้  ส่วนพระอริยบุคคล อีก ๓ จำพวกนั้นอยู่ในเพศฆราวาสได้จนกว่าจะวายชนม์  เช่น  อนาถปิณฑิกเศรษฐี  และนางวิสาขามหาอุบาสิกา  เป็นต้น


          ความในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัถเลขา  และพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีฉบับหมอบรัดเลกล่าวตรงกันว่า  ในยามนั้นบ้านเมืองเกิดจลาจลเดือดร้อนทั้งฝ่ายพุทธจักรและอาณาจักร  เหล่าคนพาลมีอำนาจทำเรื่องฟ้องร้องให้คนดีเดือดร้อน ด้วยพระเจ้าแผ่นดินมิได้ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม  ผู้ที่ถูกใส่ความก็ถูกลงโทษนานาประการ  ไม่เว้นแม้กระทั้งเจ้าจอมข้างใน  ถูกกล่าวโทษว่าลักเงินเหรียญในพระคลังในจนถูกลงพระราชอาชญาให้โบยและจำไว้เป็นอันมาก  ผู้ที่ถูกลงโทษหนักที่สุดคือเจ้าจอมโนรีชาวคลังถูกย่างเพลิงจนตาย  พันศรี  พันลา มีอำนาจมากเพราะได้รับความไว้วางพระราชหฤทัย  จึงกดขี่ข่มเหงข้าราชการและอาณาประชาราษฎรให้เดือดร้อนไปทั่วทั้งในพระนครและหัวเมือง   ความในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาตอนหนึ่งว่า

           “ครั้น ณ วันอาทิตย์ แรม ๙ ค่ำ เดือนอ้าย  มีผู้เป็นโจทก์มาฟ้องพระราชาเศรษฐีญวนว่าคิดจะหนีไปเมืองพุทไธมาศ จึงดำรัสให้จับตัวพระยาราชาเศรษฐีญวนกับญวนพรรคพวก  ให้ประหารชีวิตเสียสามสิบเอ็ดคนด้วยกัน

          ครั้น ณ วันพุธ แรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๒  ให้ประหารชีวิตคนโทษเก้าคน  ครั้น ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๓ ให้ประหารชีวิตจีนลูกค้าแปดคน”


          เพราะเหตุที่บ้านเมืองเป็นจลาจลเดือดร้อนวุ่นวายไปทุกหย่อมหญ้า  ดังนั้นในแรมเดือน ๔ ปีฉลู ตรีศกนั้น  นายบุนนาก  นายบ้านแม่ลา  แขวงกรุงเก่า  กับขุนสุระ  ร่วมคิดกันว่าพระเจ้าแผ่นดินไม่เป็นธรรม  กระทำข่มเหงเบียดเบียนประชาราษฎรด้วยการเร่งเอาทรัพย์สิน  เมื่อแผ่นดินเป็นทุจริตดังนี้จะละไว้มิชอบ  ควรที่เราจะชักชวนประชาชนทั้งปวงยกลงไปตีกรุงธนบุรี  จับเจ้าแผ่นดินอาสัตย์สำเร็จโทษเสีย  แล้วจะถวายราชสมบัติเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) ให้ครอบครองต่อไป การจลาจลจึงจะสงบราบคาบ  แผ่นดินจะอยู่เย็นเป็นสุข


          เมื่อคบคิดกันดังนั้นจึงซ่องสุมผู้คน  มีชาวชนบทเห็นด้วยกับความคิดสมัครเข้าเป็นพรรคพวกด้วยเป็นอันมาก  นายบุนนากกับขุนสุระจึงยกพวกเข้าเมืองในเวลากลางคืน  ปล้นจวนพระพิชิตณรงค์ผู้รักษากรุงเก่าซึ่งกำลังตั้งกองเร่งรัดเก็บเงินชาวเมืองอยู่นั้น  เมื่อจับตัวผู้รักษากรุงเก่าได้แล้วก็ฆ่าเสีย  กรมการซึ่งหนีรอดได้นั้นก็รีบลงมากรุงธนบุรี  นำความขึ้นกราบทูลว่า  เกิดพวกเหล่าร้ายเข้ามาฆ่าผู้รักษากรุงและกรมการเสียแล้ว


          ขณะนั้นพระยาสรรค์บุรีลงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี  สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงดำรัสให้พระยาสรรค์ขึ้นไปกรุงเก่า  แล้วเร่งจับตัวคนร้ายให้จงได้  แต่ปรากฏว่าเมื่อพระยาสรรค์บุรีขึ้นไปถึงกรุงเก่าแล้ว  กลับไปเข้าด้วยกับนายบุนนากและขุนสุระเสีย  นายบุนนากกับขุนสุระจึงมอบให้พระยาสรรค์บุรีเป็นนายทัพ  ยกกำลังลงมาตีกรุงธนบุรี  โดยให้พวกพลทหารใส่มงคลแดงทั้งสิ้น


          ณ วันเสาร์ เดือน ๔ แรม ๑๑ ค่ำ ปีฉลู ตรีศก  กองทัพพระยาสรรค์บุรีลงมาถึงพระนคร  เพลาค่ำสิบทุ่มก็ให้ทหารโห่ร้องยกเข้าล้อมกำแพงพระราชวังไว้รอบ  ตัวพระยาสรรค์บุรีนั้นตั้งกองอยู่ริมคุกฟากเหนือคลองนครบาล  ที่บ้านพวกกรมการเมือง”


          * นายบุนนาก กำนันบ้านแม่ลา แขวงกรุงเก่า ทนดูพระเจ้าตากสินบริหารบ้านเมืองไปในทางเลวร้ายมิได้  จึงปลุกปั่นขาวบ้านเป็นกบฏ  ร่วมกับขุนสุระ เข้าปล้นจวนเมืองอยุธยา  จับตัวเจ้าฆ่าเสีย  พระเจ้าตากสินทรงทราบจึงตรัสให้พระยาสรรค์บุรีนำกำลังไปปราบ  พระยาสรรค์บุรีกลับถูกนายบุนนากเกลี้ยกล่อมให้เป็นพวกเดียวกัน  แล้วให้เป็นนายทัพยกกองกำลังกลับเข้าตีกรุงธนบุรี

          ผลจะเป็นอย่างไร พรุ่งนี้มาอ่านกันต่อนะครับ.

เต็ม อภินันท์
สถาบันกวีนิพนธ์ไทย
ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขึผึ้งไทย
๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ขอขอบคุณเจ้าของภาพประกอบทุกภาพนี้ในเน็ต


รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, ลมหนาว ในสายหมอก, กลอน123, ลิตเติลเกิร์ล, กร กรวิชญ์, ปลายฝน คนงาม, น้ำหนาว, ฟองเมฆ, ก้าง ปลาทู

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอนคุณ  "อภินันท์ นาคเกษม"
..
บ้านกลอนน้อยฯ
เลขาคุณอภินันท์
****

จำนวนผู้เยี่ยมชม:39047
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ID Number: 202
จำนวนกระทู้: 3127



| |
Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -
« ตอบ #254 เมื่อ: 06, มิถุนายน, 2562, 11:31:42 PM »
บ้านกลอนน้อยฯบ้านกลอนน้อยฯ

Permalink: Re: - สุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์ชาติไทย -

- พระเจ้าตากสินขอบวช -

ฝ่ายกบฏล้อมวังไว้ทั้งสิ้น
เจ้าแผ่นดินสั่งสู้อยู่หวั่นไหว
ตลอดคืนยิงกันสนั่นไป
ทรงเห็นไม่อาจต้านทานริปู

จึงนิมนต์พระสงฆ์ให้ออกหน้า
เจรจายอมแพ้ไม่ขอสู้
สละราชสมบัติเปิดประตู
ขอเป็นผู้ทรงพรตปลดปล่อยตน

บวชในโบสถ์วัดแจ้งไม่แสร้งบวช
แต่น่าปวดใจแทนที่ถูกปล้น
จับสึกจำตรวนขังประทังทน
ไม่รู้ผลเบื้องหน้าประการใด


          อภิปราย ขยายความ..................

          เมื่อวันวานนี้ได้เก็บความในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขามาบอกเล่าให้ฟังถึงตอนที่สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงบำเพ็ญพระกรรมฐานจนมีพระสติฟั่นเฟือน (กรรมฐานแตก) เกิดความเดือดร้อนทั้งฝ่ายพุทธจักรและอาณาจักร  จนนายบุนนาก นายบ้าน(กำนัน)แม่ลา  แขวงกรุงเก่ากับขุนสุระคบคิดกันเป็นกบฏซ่องสุมผู้คนแล้วเข้าปล้นจวนเจ้าเมือง  จับตัวผู้รักษากรุงเก่าได้แล้วฆ่าเสีย  สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงตั้งให้พระยาสรรค์บุรีขึ้นไปปราบกบฏ  แต่พระยาสรรค์บุรีกลับไปเข้ากับกบฏแล้วได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้ายกกำลังลงมาล้อมพระราชวังกรุงธนบุรีไว้  วันนี้มาดูเรื่องราวกันต่อไปครับ


           “สมเด็จพระเจ้าตากสินทราบว่าพระยาสรรค์บุรีไปเข้ากับพวกกบฏแล้วยกกำลังมาล้อมพระราชวังดังนั้น  จึงสั่งข้าราชการซึ่งนอนเวรประจำซองอยู่นั้นเกณฑ์กันขึ้นประจำหน้าที่เชิงเทินรอบพระราชวัง  ทั้งสองฝ่ายยิงปืนโต้ตอบต่อรบกันจนรุ่ง  เมื่อพิจารณาเห็นว่าฝ่ายตนเสียบเปรียบหาทางเอาชนะมิได้แล้ว  สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงให้นิมนต์พระสังฆราช  พระวันรัตน  และพระรัตนมุนีเข้ามา  แล้วให้ออกไปเจรจาความเมืองกับพระยาสรรค์บุรี  รับสารภาพผิดยอมแพ้โดยมีเงื่อนไขต่อรองว่า  ขอชีวิตพระองค์ไว้แล้วจะออกบรรพชา  พระยาสรรค์บุรีก็ยอมรับข้อเสนอนั้น


          เพลาค่ำยามเศษของวันนั้นพระเจ้าตากสินก็ออกทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดแจ้งภายในพระราชวัง  พระยาสรรค์บุรีจึงจัดพลทหารให้ไปตั้งล้อมพระอุโบสถวัดแจ้งไว้อย่างแน่นหนาเพื่อมิให้พระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงผนวชนั้นหนีไปได้  แล้วให้จับพระเจ้าหลานเธอ กรมขุนอนุรักษ์สงครามและวงศานุวงศ์ทั้งปวงมาจำไว้ในพระราชวัง


          รุ่งขึ้นวันจันทร์ แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๔ อันเป็นวันจ่ายตรุษไทย  พระยาสรรค์บุรีกับหลวงเทพผู้น้องจึงเข้าพระราชวัง  สู่ท้องพระโรงแล้วว่าราชการแผ่นดิน  ให้ถอดนักโทษข้าราชการฝ่ายหน้าฝ่ายในและราษฎรซึ่งอยู่ในเรือนจำทั้งหมดออกมา  คนทั้งหลายที่ต้องโทษเมื่อพ้นโทษจำจองออกมาแล้ว  พากันโกรธแค้นพวกโจทก์ที่กล่าวหาใส่ความตนจนได้รับโทษคุมขัง จึงเที่ยวไล่จับพวกโจทก์  มีพันศรี  พันลา  เป็นต้น  เมื่อจับได้แล้วก็ฆ่าฟันจนสมความแค้น  พวกโจทก์ก็พากันหลบหนีไปเที่ยวซุ่มซ่อนในวัดบ้าง  ในบ้านบ้าง  ที่หนีรอดไปได้นั้นมีจำนวนน้อย  ที่ถูกฆ่าตายนั้นมีจำนวนมาก  ยามนั้นจึงเกิดฆ่าฟันกันทุกแห่งทุกตำบลทั่วทั้งเมือง


          พระยาสุริยอภัย (หลานชายเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก) ผู้ครองเมืองนครราชสีมาได้ทราบข่าวแผ่นดินกรุงธนบุรีเป็นจลาจล  จึงแจ้งเหตุไปยังเมืองเสียมราบรายงานให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) ทราบ  เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกจึงสั่งให้พระยาสุริยอภัยรีบยกกองทัพลงไปกรุงธนบุรีก่อน  โดยตนจะยกทัพใหญ่ตามลงมาภายหลัง  พระยาสุริยอภัยจึงมอบหมายให้พระอภัยสุริยาปลัดเมืองผู้น้องอยู่รักษาเมืองนครราชสีมาแล้วยกกองทัพลงมากรุงธนบุรี  กองทัพพระยาสุริยอภัยยกลงมาถึงกรุงธน บุรี ณ วันศุกร์ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๕  อันเป็นเวลาที่พระยาสรรค์บุรีได้เข้านั่งเมืองอยู่แล้ว


          ครั้นพระยาสรรค์ทราบว่าพระยาสุริยอภัยยกทัพมาถึงจึงให้ไปเชิญเข้ามาปรึกษาราชการ ณ ท้องพระโรงในพระราชวัง  ชี้แจงเหตุการจลาจลให้ทราบตั้งแต่ต้นจนจบ  ตรงที่เข้ายึดพระราชวังแล้วพระเจ้าตากสินทรงผนวช  แล้วกล่าวยืนยันว่าได้จัดแจงบ้านเมืองเตรียมพร้อมไว้เพื่อถวายแด่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ครอบครองแผ่นดินสืบไป  พระยาสุริยอภัยกับพระยาสรรค์ปรึกษาเห็นพ้องกันให้สึกพระเจ้าตากออกมาแล้วพันธนาไว้ด้วยเครื่องสังขลิกพันธ์ (เครื่องจองจำ,โซ่ตรวน)  แล้วพระยาสุริยอภัยก็ไปตั้งกองทัพอยู่ ณ บ้านเดิม  คือที่บ้านปูนเหนือสวนมังคุด

          ภายหลังพระยาสรรค์บุรีกลับคิดจะเอาราชสมบัติเสียเอง  ได้คบคิดกันกับพระยามหาเสนา  พระยารามัญวงศ์ (จักรีมอญ) เอาเงินตราในท้องพระคลังออกมาแจกจ่ายข้าราชการฝ่ายหน้าฝ่ายในและทหารเป็นอันมาก  ในบรรดาขุนนางข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งปวงก็แตกออกเป็นสองฝ่าย  พวกที่ได้รับแจกเงินส่วนมากก็เข้ากับฝ่ายพระยาสรรค์  พวกที่นับถือบุญญาบารมีเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกมิยอมรับเงินจากพระยาสรรค์ก็เข้ากับพระยาสุริยอภัย


          ณ วันอังคารแรม ๕ ค่ำ เดือน ๕  พระยาสรรค์กับเจ้าพระยามหาเสนา  และพระยารามัญวงศ์  ร่วมคิดกันให้ถอดกรมขุนอนุรักษ์สงคราม (พระเจ้าหลานเธอรามลักษณ์) จากเวรจำ  แล้วตั้งให้เป็นนายทัพยกกำลังไปบ้านพระยาสุริยอภัยในเพลาพลบค่ำ  ตั้งค่ายวางคนรายโอบลงมาวัดบางหว้า   เพลายามสามก็จุดเพลิงขึ้น ณ บ้านปูน  แล้วยกเข้าโจมตีบ้านพระยาสุริยอภัย  พระยาสุริยอภัยก็มิได้สะดุ้งตกใจกลัว  สั่งให้ไพร่พลออกต่อรบ  ได้ยิงปืนโต้ตอบกันทั้งสองฝ่าย


          ครั้นเห็นเพลิงลุกลลามเข้ามาใกล้บ้านแล้ว  พระยาสุริยอภัยจึงอธิษฐานว่า  “ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญศีลทานการกุศลสิ่งใด ๆ ก็ตั้งใจปรารถนาพระโพธิญาณสิ่งเดียว  เดชะอำนาจความสัตย์นี้ขอจงยังพระพายให้พัดกลับขึ้นไป  อย่าให้เพลิงไหม้มาถึงบ้านเรือนข้าพเจ้าเลย”  พอขาดคำอธิษฐานลมก็บันดาลพัดกลับขึ้นไป  เพลิงจึงไหม้อยู่แต่ภายนอกไม่ลามเข้าไปถึงบ้านพระยาสุริยอภัย  ทั้งสองฝ่ายรบกันอยู่จนรุ่งแจ้งได้เห็นเห็นตัวกันและรบกันต่อจนถึงห้าโมงเช้า  ทัพกรมขุนอนุรักษ์สงครามจึงแตกพ่ายหนีไปข้ามคลองบางกอกน้อย  พระยาสุริยอภัยให้พลทหารตามจับตัวกรมขุนอนุรักษ์สงครามมาได้แล้วให้จำครบไว้และสืบเอาพวกเพื่อนได้อีกเป็นอันมาก


          ครั้งนั้นกองรามัญก็แตกกันออกเป็นสองพวก  ที่มาเข้ากับพระยาสุริยอภัยนั้นคือ  กองพระยาพระราม  พระยาเจ่ง  
          ที่เข้ากับพระยาสรรค์คือ  พระยารามัญวงศ์ กับกองพระยากลางเมือง  เมื่อพระยาสรรค์ทราบว่ากรมขุนอนุรักษ์สงครามพ่ายแพ้และถูกจับตัวได้แล้วก็คิดเกรงกลัวย่อท้อมิอาจยกออกไปรบอีก  รักษาตัวอยู่แต่ในพระราชวังเท่านั้น  พระยาสุริยอภัยก็ให้ตั้งค่ายใหญ่อยู่ ณ บ้านปูนอันเป็นบ้านของตน  แล้วจัดแจงพลทหารตั้งรายกองทัพลงมาจนถึงคลองนครบาล”


          * ท่านผู้อ่านครับ  สถานการณ์บ้านเมืองไทยในช่วงนี้วิกฤติอีกแล้ว  สมเด็จพระเจ้าตากสินไม่มีกำลังพอที่จะต่อต้านฝ่ายกบฏที่มีพระยาสรรค์บุรีเป็นหัวหน้าได้  ทรงยอมแพ้แต่โดยดี  แล้วขอบวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดแจ้ง (อรุณราชวราราม)  พระยาสรรค์ไม่ไว้วางใจ  จัดกองกำลังล้อมวัดไว้อย่างแน่นหนา  แล้วจับตัวกรมขุนอนุรักษ์สงครามพร้อมบรมวงศ์จำจองไว้  ปล่อยนักโทษที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำออกมา  อดีตนักโทษเหล่านั้นก็ตามล่าล้างแค้นบรรดาโจทก์ที่กล่าวโทษให้ตนติดตะราง  วุ่นวายไปทั้งเมืองทีเดียว


          พระยาสุริยอภัย  รายงานเหตุการณ์ให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทราบแล้ว  รีบยกกำลงลงมาจากนครราชสิมา  พระยาสรรค์เชิญเข้าร่วมปรึกษาราชการแล้วจับพระเจ้าตากสินให้ลาสมณะเพศแล้วจำตรวนไว้


          จากนั้นกำเริบเสิบสานใคร่จะเป็นพระเจ้าแผ่นดินเสียเอง  จึงปลดปล่อยกรมขุนอนุรักษ์สงครามจากที่คุมขังให้ยกกำลังเข้าโจมตีบ้านพระยาสุริยอภัยที่ตั้งเป็นกองทัพอยู่  ด้วยบุญญาบารมีของเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก  กองกำลังของฝ่ายพระยาสรรค์จึงมิอาจทำอะไรพระยาสุริยอภัยได้

          แผ่นดินสยามว่างพระเจ้าแผ่นดินปกครองบ้านเมืองอีกครั้งหนึ่งแล้ว  เหตุการณ์จะเป็นอย่าไรต่อไป  พรุ่งนี้มาอ่านกันใหม่นะครับ.

<<< ก่อนหน้า                 ต่อไป  >>>

เต็ม อภินันท์
สถาบันกวีนิพนธ์ไทย
ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
๕ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ขอขอบคุณเจ้าของภาพประกอบทุกภาพนี้ในเน็ต


รายนามผู้เยี่ยมชม : Black Sword, ลมหนาว ในสายหมอก, ลิตเติลเกิร์ล, กร กรวิชญ์, ฟองเมฆ, ก้าง ปลาทู, เนิน จำราย, น้ำหนาว, กลอน123, ปลายฝน คนงาม

บันทึกการเข้า

..
สารบัญบทกลอนคุณ  "อภินันท์ นาคเกษม"
..
หน้า: 1 ... 15 16 [17] 18 19 ... 27   ขึ้นบน
พิมพ์
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.14 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC
Simple Audio Video Embedder
| Sitemap
NT Sun by Nati
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.975 วินาที กับ 311 คำสั่ง
กำลังโหลด...